ตัวเล็ก
08-08-2024, 18:12
ปูราชินี (Regal Crab) : Thaiphusa sirikit
https://i.ibb.co/PD6kyR8/2.jpg
เป็นปูน้ำจืดกลุ่มปูป่าที่มีสีสวยงาม และเป็นชนิดพันธุ์ประจำถิ่น
https://i.ibb.co/8B7YsDP/3.jpg
ปูราชินี มี ๓ สี คือ
ขาสีแดง
กระดองด้านบนสีน้ำเงินอมม่วง
ตรงโคนขา ก้ามหนีบ บริเวณขอบกระดองเป็นสีขาว
บางคนแยกเป็น ๕ สี คือเพิ่มสีเหลือง และสีส้มเข้ามาด้วย
พบว่าสามารถเปลี่ยนสีได้เรื่อย ๆ ตามฤดูกาล
https://i.ibb.co/gyKZfVP/5.jpg
ปูราชินี เมื่อโตเต็มวัยจะมีความกว้างของกระดองประมาณ ๕ เซนติเมตร
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ ๗ - ๑๒ เซนติเมตร
สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ
พบได้เฉพาะในประเทศไทย บริเวณป่าพรุน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำน้อยของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ตามลำธาร ช่องเขาหรือหุบเขา
โดยพบมากในพื้นที่ ห้วยพัสดุกลาง ห้วยปากคอก พุท่ามะเดื่อ
และพุปูราชินี (อ.อ.ป. - องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ
https://i.ibb.co/sm72dKN/8.jpg
ปูราชินีกินเศษซากพืชซากสัตว์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นอาหาร
เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญต่อห่วงโซ่อาหาร ในระบบนิเวศป่าภาคตะวันตกของประเทศไทย
โดยจะพบได้มากพบได้มากในช่วงฤดูฝน พบได้น้อยในฤดูร้อน
เนื่องจากปูราชินี จะปิดปากรูที่อาศัยเพื่อรักษาความชื้นไว้ จึงทำให้พบปูได้น้อยในฤดูร้อนและพบมากในฤดูฝน
https://i.ibb.co/KLzCLP2/15.jpg
ปูราชินี ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
โดย นายสุรพล ดวงแข นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล
และ ว่าที่ ร้อยตรี พิทักษ์ ชิดเครือ ตำแหน่ง หัวหน้าหน่วยทหารพราน (กองทัพภาคที่ ๔) ในขณะนั้น
เมื่อนำมาเทียบเคียงกับสายพันธุ์ในต่างประเทศ จึงพบว่าเป็นปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก
โดยทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตใช้ชื่อ สิริกิติ์ เป็นชื่อวิทยาศาสตร์
เพื่อเทิดพระเกียรติและเฉลิมพระเกียรติในวาระครบ ๕ รอบ
ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
และได้ทรงพระราชทานให้ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
https://i.ibb.co/km6QNyG/17.jpg
ปัจจุบันพบเป็นปูประจำถิ่นในป่าพรุน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำน้อย อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
และไม่เคยมีรายงานว่าพบที่อื่นอีกเลย
https://i.ibb.co/rsnyNsf/18.jpg
ในประเทศไทยปูราชินี Thaiphusa sirikit เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
ห้ามมิให้ผู้ใดล่า ครอบครอง ค้าขาย นำเข้าหรือส่งออก
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย :
๑. ข้อมูลจาก สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=401243968701882&id=100064488470995&set=a.307764471383166)
๒. ข้อมูลจาก กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (https://www.facebook.com/DNP1362/posts/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5-regal-crab-th/344707791175594/)
๓. ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ปูราชินี (https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5)
๔. ข้อมูลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเขย่ง (https://www.huaikhayeng-sao.go.th/site/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B5)
๕. ข้อมูลจาก ททท.สำนักงานกาญจนบุรี : TAT Kanchanaburi Office (https://www.facebook.com/tatkan)
๖. ข้อมูลจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (http://www1a.biotec.or.th/BRT/index.php/2009-06-23-04-27-44/185-poo-rachinee)
๗. รูปจาก facebook คุณ Naruchai Runda (https://www.facebook.com/naruchai.runda)
https://i.ibb.co/PD6kyR8/2.jpg
เป็นปูน้ำจืดกลุ่มปูป่าที่มีสีสวยงาม และเป็นชนิดพันธุ์ประจำถิ่น
https://i.ibb.co/8B7YsDP/3.jpg
ปูราชินี มี ๓ สี คือ
ขาสีแดง
กระดองด้านบนสีน้ำเงินอมม่วง
ตรงโคนขา ก้ามหนีบ บริเวณขอบกระดองเป็นสีขาว
บางคนแยกเป็น ๕ สี คือเพิ่มสีเหลือง และสีส้มเข้ามาด้วย
พบว่าสามารถเปลี่ยนสีได้เรื่อย ๆ ตามฤดูกาล
https://i.ibb.co/gyKZfVP/5.jpg
ปูราชินี เมื่อโตเต็มวัยจะมีความกว้างของกระดองประมาณ ๕ เซนติเมตร
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ ๗ - ๑๒ เซนติเมตร
สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ
พบได้เฉพาะในประเทศไทย บริเวณป่าพรุน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำน้อยของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ตามลำธาร ช่องเขาหรือหุบเขา
โดยพบมากในพื้นที่ ห้วยพัสดุกลาง ห้วยปากคอก พุท่ามะเดื่อ
และพุปูราชินี (อ.อ.ป. - องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ
https://i.ibb.co/sm72dKN/8.jpg
ปูราชินีกินเศษซากพืชซากสัตว์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นอาหาร
เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญต่อห่วงโซ่อาหาร ในระบบนิเวศป่าภาคตะวันตกของประเทศไทย
โดยจะพบได้มากพบได้มากในช่วงฤดูฝน พบได้น้อยในฤดูร้อน
เนื่องจากปูราชินี จะปิดปากรูที่อาศัยเพื่อรักษาความชื้นไว้ จึงทำให้พบปูได้น้อยในฤดูร้อนและพบมากในฤดูฝน
https://i.ibb.co/KLzCLP2/15.jpg
ปูราชินี ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
โดย นายสุรพล ดวงแข นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล
และ ว่าที่ ร้อยตรี พิทักษ์ ชิดเครือ ตำแหน่ง หัวหน้าหน่วยทหารพราน (กองทัพภาคที่ ๔) ในขณะนั้น
เมื่อนำมาเทียบเคียงกับสายพันธุ์ในต่างประเทศ จึงพบว่าเป็นปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก
โดยทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตใช้ชื่อ สิริกิติ์ เป็นชื่อวิทยาศาสตร์
เพื่อเทิดพระเกียรติและเฉลิมพระเกียรติในวาระครบ ๕ รอบ
ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
และได้ทรงพระราชทานให้ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
https://i.ibb.co/km6QNyG/17.jpg
ปัจจุบันพบเป็นปูประจำถิ่นในป่าพรุน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำน้อย อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
และไม่เคยมีรายงานว่าพบที่อื่นอีกเลย
https://i.ibb.co/rsnyNsf/18.jpg
ในประเทศไทยปูราชินี Thaiphusa sirikit เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
ห้ามมิให้ผู้ใดล่า ครอบครอง ค้าขาย นำเข้าหรือส่งออก
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย :
๑. ข้อมูลจาก สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=401243968701882&id=100064488470995&set=a.307764471383166)
๒. ข้อมูลจาก กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (https://www.facebook.com/DNP1362/posts/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5-regal-crab-th/344707791175594/)
๓. ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ปูราชินี (https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5)
๔. ข้อมูลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเขย่ง (https://www.huaikhayeng-sao.go.th/site/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B5)
๕. ข้อมูลจาก ททท.สำนักงานกาญจนบุรี : TAT Kanchanaburi Office (https://www.facebook.com/tatkan)
๖. ข้อมูลจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (http://www1a.biotec.or.th/BRT/index.php/2009-06-23-04-27-44/185-poo-rachinee)
๗. รูปจาก facebook คุณ Naruchai Runda (https://www.facebook.com/naruchai.runda)