เถรี
02-09-2009, 11:45
ถาม : อรูปฌานนะครับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราทำได้แล้ว ?
ตอบ : ต้องทรงกสิณให้คล่องตัวเลย คล่องตัวนี่มันต้องใช้ผลของกสิณได้ ถ้าหากว่าไม่สามารถใช้ผลของกสิณได้คล่องตัวอรูปฌานไปไม่รอด เพราะอรูปฌานต้องตั้งต้นด้วยกสิณ ตั้งภาพกสิณกองใดกองหนึ่งขึ้นมา แล้วก็กำหนดใจเพิกภาพกสิณนั้นเสีย ให้เห็นว่าแม้แต่ภาพกสิณมันยังเป็นส่วนหยาบ มันยังมีรูปอยู่ เราไม่ต้องการรูปนี้เราต้องการความว่างเปล่าของอากาศ กำหนดใจจับความว่างของอากาศไปเรื่อย จนกระทั่งเป็นวงสว่างแจ่มใสอยู่ตรงหน้า ใหญ่ก็ได้ เล็กก็ได้ กำหนดความว่างของอากาศไป
พอมันเต็มที่เสร็จแล้ว คลายอารมณ์ขึ้นมาแล้วก็ว่าอรูปฌานที่ ๒ ต่อ ตั้งภาพนิมิตของกสิณขึ้นมาใหม่ แล้วกำหนดใจคิดว่า ถึงมันจะเป็นอากาศแต่มันก็ยังมีความหยาบอยู่ จับความว่างไม่มีขอบเขตของวิญญาณแทน เพราะฉะนั้นต้องเริ่มด้วยกสิณก่อนถ้ากสิณไม่คล่องทำอรูปฌานไม่รอด
ถาม : แล้วอย่างมโนมยิทธิถือเป็นการใช้ผลของกสิณไหมครับ ?
ตอบ : มโนมยิทธิถือเป็นผลของกสิณอยู่แล้ว เพราะว่ากสิณ ๓ กอง คือ อาโลกกสิณการกำหนดแสงสว่าง โอทาตกสิณการกำหนดสีขาว เตโชกสิณการกำหนดไฟ เหล่านี้ ผลของมันจะทำให้เกิดทิพจักขุญาณ ขณะเดียวกันถ้าหากว่าเป็นมโนมยิทธิเต็มกำลังก็เป็นอภิญญาด้วยเพราะว่าสามารถถอดจิตไปได้ อันนี้เป็นการใช้ผลของกสิณอยู่แล้ว
ถาม : ถ้าอย่างนั้นทรงมโนมยิทธิก็ได้เหมือนกัน ?
ตอบ : ได้อยู่ แต่ว่ากติกาของอรูปฌานต้องตั้งรูปขึ้นมาก่อน ถ้าจะทรงมโนมยิทธิก็ต้องกำหนดรูปที่เราถนัดขึ้นมาก่อนเช่นว่าภาพพระก็ได้ พูดง่าย ๆ ก็คือว่าจะเล่นอรูปฌานนี่ต้องได้ฌาน ๔ ก่อน
สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนกรกฏาคม ๒๕๔๔
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ
ตอบ : ต้องทรงกสิณให้คล่องตัวเลย คล่องตัวนี่มันต้องใช้ผลของกสิณได้ ถ้าหากว่าไม่สามารถใช้ผลของกสิณได้คล่องตัวอรูปฌานไปไม่รอด เพราะอรูปฌานต้องตั้งต้นด้วยกสิณ ตั้งภาพกสิณกองใดกองหนึ่งขึ้นมา แล้วก็กำหนดใจเพิกภาพกสิณนั้นเสีย ให้เห็นว่าแม้แต่ภาพกสิณมันยังเป็นส่วนหยาบ มันยังมีรูปอยู่ เราไม่ต้องการรูปนี้เราต้องการความว่างเปล่าของอากาศ กำหนดใจจับความว่างของอากาศไปเรื่อย จนกระทั่งเป็นวงสว่างแจ่มใสอยู่ตรงหน้า ใหญ่ก็ได้ เล็กก็ได้ กำหนดความว่างของอากาศไป
พอมันเต็มที่เสร็จแล้ว คลายอารมณ์ขึ้นมาแล้วก็ว่าอรูปฌานที่ ๒ ต่อ ตั้งภาพนิมิตของกสิณขึ้นมาใหม่ แล้วกำหนดใจคิดว่า ถึงมันจะเป็นอากาศแต่มันก็ยังมีความหยาบอยู่ จับความว่างไม่มีขอบเขตของวิญญาณแทน เพราะฉะนั้นต้องเริ่มด้วยกสิณก่อนถ้ากสิณไม่คล่องทำอรูปฌานไม่รอด
ถาม : แล้วอย่างมโนมยิทธิถือเป็นการใช้ผลของกสิณไหมครับ ?
ตอบ : มโนมยิทธิถือเป็นผลของกสิณอยู่แล้ว เพราะว่ากสิณ ๓ กอง คือ อาโลกกสิณการกำหนดแสงสว่าง โอทาตกสิณการกำหนดสีขาว เตโชกสิณการกำหนดไฟ เหล่านี้ ผลของมันจะทำให้เกิดทิพจักขุญาณ ขณะเดียวกันถ้าหากว่าเป็นมโนมยิทธิเต็มกำลังก็เป็นอภิญญาด้วยเพราะว่าสามารถถอดจิตไปได้ อันนี้เป็นการใช้ผลของกสิณอยู่แล้ว
ถาม : ถ้าอย่างนั้นทรงมโนมยิทธิก็ได้เหมือนกัน ?
ตอบ : ได้อยู่ แต่ว่ากติกาของอรูปฌานต้องตั้งรูปขึ้นมาก่อน ถ้าจะทรงมโนมยิทธิก็ต้องกำหนดรูปที่เราถนัดขึ้นมาก่อนเช่นว่าภาพพระก็ได้ พูดง่าย ๆ ก็คือว่าจะเล่นอรูปฌานนี่ต้องได้ฌาน ๔ ก่อน
สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนกรกฏาคม ๒๕๔๔
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ