กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 20-10-2011, 11:06
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default สมุทัยหรือต้นเหตุแห่งความทุกข์นั้น

สมุทัยหรือต้นเหตุแห่งความทุกข์นั้น
เป็นอันเดียวกับตัณหา ๓

๑. “การฟังคำสอนของท่านฤๅษีเมื่อเย็นวานนี้ มีประโยชน์มาก เพราะชี้ให้เห็นชัดว่าสมุทัยหรือเหตุแห่งความทุกข์นั้น เป็นอันเดียวกับตัณหา ๓ ประการ

กามตัณหา ความทะยานอยากในสิ่งที่ยังไม่มี อยากให้มีขึ้น
ภวตัณหา เมื่อมีแล้ว ก็อยากให้สภาวะนั้นทรงตัวอยู่อย่างนั้น
วิภวตัณหา ทุกสิ่งทุกอย่างที่สุดก็เป็นอนัตตา จิตไม่ยอมรับความจริง มีความอยากดึงสภาวะนั้น ๆ ให้ทรงตัวกลับคืนมา

สิ่งเหล่านี้อาศัยอายตนะสัมผัส ทำให้เกิดเป็นเหตุของความทุกข์

๒. “จุดนี้เมื่อพวกเจ้าได้ฟังแล้ว ให้มีสติ-สัมปชัญญะกำหนดรู้ ตรวจสอบอารมณ์ของจิตดู จักได้ประโยชน์จากการปฏิบัติมาก แม้แต่คุณหมอเองวันที่ไปเมืองนอก ก็จักมีอารมณ์ตัณหาเหล่านี้กระทบมาก ให้ลองสำรวจดูอารมณ์ของจิตเอาไว้ด้วย ดูความทะยานอยาก ๓ ประการ ว่ามีความสิ้นสุดลงหรือยัง ถ้ายังมี ก็จัดว่ายังตกเป็นทาสของตัณหา”

๓. “นักปฏิบัติจักต้องศึกษาความรู้สึกของจิตอย่างละเอียดลึกซึ้ง การมีขันธ์ ๕ อย่างผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบาน ทุกอย่างทำเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น อะไรที่จักเกินเลยกว่าที่มีความจำเป็นนั้น ไม่มี ดูจุดนี้ไว้ให้ดี ถ้ามีความเพียรปฏิบัติอย่างเอาจริง การตัดกิเลสก็เป็นของไม่ยาก เมื่อเข้าใจในอารมณ์จิตว่าตกอยู่ภายใต้อำนาจของตัณหา ๓ ประการอย่างไรบ้าง ก็จงเพียรตรวจสอบจิต เพราะเพียงแค่เข้าใจเท่านั้น ยังไม่ใช่หนทางตัดกิเลส จักต้องนำมาปฏิบัติให้เกิดมรรคผลของจิตอีกด้วย”

๔. “อย่างกามตัณหา อยากมีในสิ่งที่เกินความเป็นจริงของชีวิต นี่จักต้องถามจิตอยู่เสมอในทุก ๆ ขณะจิตที่มีอารมณ์ทะยานอยากขึ้นมาว่า สิ่งที่อยากได้นั้นเกินพอดีหรือเปล่า มีความจำเป็นต่อชีวิตหรือเปล่า อย่าเข้าข้างความต้องการของจิตตนเอง ต้องตรวจสอบให้ถึงที่สุด จิตก็จักยอมรับและมีเพียงแค่ประทังชีวิตให้เป็นไปโดยไม่เดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น ไม่เดือดร้อนทั้งกาย วาจา ใจ”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 21-10-2011, 11:34
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๕. “แล้วตัวภวตัณหาก็เช่นกัน ให้ตรวจสอบจิตดู อารมณ์เรายังฝืนกฎของกรรมหรือเปล่า ก็รู้ ๆ อยู่ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่ร่างกายของเราก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของไตรลักษณญาณ ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นแล้วไม่เสื่อม จิตมีบ้างไหมที่จักไม่ยอมรับความเสื่อม คนแก่ไม่ยอมรับว่าแก่ คนป่วยไม่ยอมรับว่าป่วย ของวัตถุธาตุ ทรัพย์สิน บ้าน โรงเรียน มันจำเป็นต้องเก่า ก็ไม่อยากให้มันเก่า นี่คืออารมณ์ที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของภวตัณหา จักต้องดูให้รู้หน้าตาของมันด้วย”

๖. “มาวิภวตัณหามีบ้างไหมที่จิตยังมีความทะยานอยาก อยากให้สิ่งที่สลายตัวไปแล้ว กลับคืนมา มีแน่ ๆ อย่างพวกเจ้าอยากให้ท่านฤๅษีที่ทิ้งขันธ์ ๕ ไปแล้ว ให้กลับคืนมา จุดนั้นยังเห็นได้ชัดมาก แล้วในบางครั้งคนที่รักหรือรู้จักก็ดี สัตว์ที่เคยเลี้ยงก็ดีตายไป จิตยังมีกังวล มีความกังขา เขาตายแล้วไปไหน คอยห่วงสอบสวนดู นี่ก็เป็นอารมณ์ของวิภวตัณหานะ ให้รู้ไว้ด้วย แม้กระทั่งจิตข้องอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสอย่างนั้นดี อย่างนี้ไม่ดี ทั้ง ๆ ที่สภาวะเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่จิตที่จดจำสภาวะนั้น ๆ มาฝังอยู่ในอารมณ์ ไม่รู้จักปล่อยวาง อย่างกามสัญญาเป็นต้น ก็เรียกว่าจิตตกอยู่ในวิภวตัณหา ทะยานอยากกลับไปสู่สภาวะนั้น ๆ อย่างเปรียบเทียบง่าย ๆ ติดในรสอร่อย ก็อยากจะกลับไปให้ได้บริโภคในรสอย่างนั้นอีก นี่เรียกว่าวิภวตัณหา เป็นเหตุทำให้เกิดต่อภพต่อชาติไปอีก

๗. “ให้สอบอารมณ์ตามนี้อย่างรู้เท่าทันกิเลส แล้วจึงจักเข้าถึงจุดรู้เหตุของการเกิด คือสมุทัยหรือจิตที่วนติดอยู่ในตัณหา ๓ ประการนี้

แต่ในการที่บางครั้งเจ้าซื้อของบริโภคมามากเกินไป อย่างของกิน ซื้อด้วยความโลภ ว่าถูกดี ซื้อมามากก็บริโภคไม่ทัน ของเหล่านั้นอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ มันก็เสื่อมไปทุกขณะ มากเกินไปกินไม่ทันก็เกิดทุกข์ ของจักเสียไม่อยากทิ้ง จำใจกินเพราะเสียดาย ของเหล่านั้นก็เป็นพิษแก่ร่างกาย อารมณ์นั้นก็คืออยากมี อยากได้เกินพอดี เกินความจำเป็นของร่างกาย เป็นกามตัณหา เป็นอารมณ์โลภเกินพอดีเป็นความทุกข์ นี่ก็ยกให้เห็นอีกจุดหนึ่ง แล้วจงหมั่นตรวจสอบจิตของตนอย่างนี้ จักมีผลให้ตัดกิเลสได้คือ ดับที่ต้นเหตุหรือสมุทัยที่ทำให้เกิดทุกข์อย่างแท้จริง


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-10-2011 เมื่อ 13:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:42



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว