กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 22-06-2011, 11:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,209 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๔

ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัวเอง ตั้งกายให้ตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจ หายใจเข้าให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออกให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๔ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานวันแรกของเดือนมิถุนายน ระยะนี้ไม่ว่าจะเดินทางไปไหน ก็จะเห็นแต่ป้ายหาเสียงเต็มไปหมด แต่ละป้ายต่างก็ชูคนดีของพรรคตนขึ้นมาให้เราทุกคนได้เลือกเป็นผู้แทนเข้าไป

คำจำกัดความว่า "คนดี" นั้น ส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เฉพาะตน ดังนั้น..คนดีในความหมายของแต่ละคน อาจจะมีความประพฤติที่ไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน เราจึงควรจะยึดคนดีในความหมายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแทน

คนดีในความหมายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง เป็นผู้ทำความดีถึงพร้อม เป็นผู้ชำระจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส เมื่อเป็นดังนี้ คนดีในความหมายของพระพุทธเจ้า ถ้าจะเป็นนักการเมืองในสังคมปัจจุบัน คนอื่นจะไม่ยินดีต้อนรับ โดยเหตุผลว่าคุณดีเกินไป..!

แต่แม้สังคมเขาจะไม่ต้อนรับอย่างไรก็ตาม เราที่เป็นผู้ปฏิบัติก็ต้องเป็นคนดีของพระพุทธเจ้าให้ได้ เนื่องจากว่าพระพุทธเจ้านั้นไม่ได้บอกว่าใครดีใครชั่ว พระองค์ท่านเห็นแต่คนที่เป็นไปตามกรรม เพียงแต่ว่าการแยกสมมติดีชั่วนั้น เป็นการมาแยกแยะกันในภายหลัง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-06-2011 เมื่อ 19:48
สมาชิก 84 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 22-06-2011, 11:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,209 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การจะเป็นคนดีในความหมายของพระพุทธเจ้านั้น นอกจากต้องละเว้นความชั่วทั้งปวงแล้ว ยังต้องทำความดีให้ถึงพร้อม จะว่าไปแล้วทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นเหรียญเดียวกันแต่คนละหน้าเท่านั้น

การเว้นจากความชั่วทั้งปวงก็คือ การเว้นจากการทำชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ที่เรียกว่า กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เราต้องเว้นจากทุจริตทั้ง ๓ นี้

การทำความดีให้ถึงพร้อมนั้น ก็คือการทำความดีด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็คือการประพฤติปฏิบัติในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

ดังนั้น..ถ้าหากว่าเราเว้นความชั่วก็ดี หรือทำความดีก็ตาม ไม่ว่าจะทำด้านใดด้านหนึ่งก็เท่ากับได้อีกด้านหนึ่งไปด้วย เพราะอย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า ๒ ข้อนี้เป็นเหรียญเดียวกัน แต่คนละหน้าเท่านั้น

เพื่อความเคยชินจะกล่าวถึงการปฏิบัติเฉพาะในส่วนของความดี เพราะว่าถ้าเราทำดี ก็คือเราเว้นชั่วโดยอัตโนมัตินั่นเอง การทำความดีด้วยกายสุจริตนั้น ก็คือการเว้นจากการฆ่าสัตว์ การทรมานสัตว์ให้ลำบากโดยเจตนา เว้นจากการลักขโมย หยิบฉวยสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ไม่ละเมิดของรักของผู้อื่น ไม่ละเมิดคนรักของผู้อื่น

การประพฤติในวจีสุจริตนั้น คือการเว้นจากการโกหก เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดวาจาที่ไร้ประโยชน์
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-06-2011 เมื่อ 19:49
สมาชิก 84 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 23-06-2011, 09:40
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,209 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การปฏิบัติในมโนสุจริตนั้น คือไม่คิดโลภอยากได้จนเกินพอดี ต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องหามาให้ถูกต้องตามศีลตามธรรม เว้นจากการโกรธเกลียดอาฆาตพยาบาทผู้อื่น แม้มีความโกรธเป็นปกติก็อย่าให้ความโกรธนั้นฝังใจ จนถึงขนาดอาฆาตพยาบาทต้องเอาคืนให้ได้

และมีความเห็นเป็นสัมมาทิฐิ คือเห็นว่าในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเรามาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญานั้น เป็นความดีที่เราพึงจะต้องกระทำให้ครบถ้วนสมบูรณ์

ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเว้นจากการประพฤติทุจริต และประกอบสุจริตครบถ้วน ก็แปลว่าท่านมีส่วนเป็นคนดีของพระพุทธเจ้าได้ แต่ก็ยังดีไม่ครบ เพราะว่ายังต้องมีการชำระจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลสด้วย

กิเลสใหญ่ที่กินใจเราตลอดเวลามี ๓ ตัว คือรัก โกรธ หลง บางท่านอาจจะคิดว่ากิเลสมี ๔ ตัว คือมีโลภด้วย แต่ความจริงแล้วรักกับโลภเป็นตัวเดียวกัน เพราะยินดีจึงอยากมีอยากได้ กิเลสทั้ง ๔ ตัวใหญ่นี้เราจะต้องชำระสะสางให้หมดไปจากจิตใจของเราให้ได้ ก็ต้องมาแยกให้ชัดว่าเราต้องจัดการกับราคะ คือความรักระหว่างเพศอย่างไร

อันดับแรกก็ตีกรอบด้วยศีลก่อน คือยินดีเฉพาะคู่ครองของตน ถ้ากำลังใจสูงขึ้นมาอีกก็ใช้ศีล ๘ เว้นจากการอยู่ร่วมกันฉันคู่ผัวตัวเมีย

ถ้าหากว่ากำลังสูงขึ้นไปกว่านั้น ก็ใช้สมาธิข่มกลั้นไว้ ก็คือการทรงฌานระดับใดระดับหนึ่งตั้งแต่ปฐมฌานละเอียดขึ้นไป ถ้าเป็นปฐมฌานหยาบ ยังไม่มีอำนาจรั้งในเรื่องของความรัก ความโกรธได้

และท้ายสุดใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ว่าสิ่งทั้งหลายนี้เป็นเครื่องร้อยรัดเราให้ติดอยู่ในวัฏสงสาร พิจารณาให้เห็นว่าราคะนั้นไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง แต่เป็นสิ่งที่แฝงไว้ด้วยความทุกข์อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการมีคู่ครอง การมีครอบครัว การมีบุตร ล้วนแล้วแต่นำทุกข์มาให้เราทั้งสิ้น ถ้าหากว่าเรารู้แจ้งเห็นจริง เกิดการคลายกำหนัด จิตใจปล่อยวางลงได้ ตัวราคะก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-06-2011 เมื่อ 10:24
สมาชิก 75 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 23-06-2011, 21:44
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,209 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อันดับถัดไป ราคะอีกรูปแบบหนึ่งก็คือโลภะ ความโลภอยากได้ เพราะเกิดราคะ ยินดี จึงเกิดโลภะ อยากมีอยากได้ ให้ตัดด้วยการให้ทาน ซึ่งพวกเราทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอามิสทานก็ดี หรือว่าธรรมทานก็ดี คือเราไม่ตระหนี่ถี่เหนียวในทรัพย์สินยังไม่พอ ยังไม่ตระหนี่ในความรู้ด้วย

และท้ายที่สุดเป็นอภัยทาน ก็คือไม่ตระหนี่ในอารมณ์ใจของตนเอง ไม่เก็บเอาสิ่งที่ไม่ดีไว้ในใจ รู้จักให้อภัยผู้อื่น ถ้าท่านสามารถทำอย่างนี้ได้จนเป็นปกติ เรื่องของโลภะก็จะไม่มีอำนาจเหนือจิตใจของเราได้

ส่วนในเรื่องของโทสะนั้น แก้ไขโดยการทรงพรหมวิหาร ๔ ให้เป็นปกติ เมื่อปฏิบัติภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ให้ซักซ้อมแผ่เมตตาไว้เสมอ แรก ๆ ก็ส่งให้คนที่เรารักก่อน พอคล่องตัวมากแล้วก็ให้คนที่เรารักน้อย ให้คนที่เราไม่รักไม่เกลียด ให้คนที่เราเกลียดน้อย ให้คนที่เราเกลียดมากไปตามลำดับ ถ้าไปให้คนที่เราเกลียดมากหรือให้ศัตรูทีเดียว กำลังใจจะไม่ยอมรับแล้วเกิดการต่อต้านขึ้นมา

ถ้าหากว่าเรารักเขาเสมอด้วยตัวเรา เราก็จะเกิดการสงสาร ไม่โกรธไม่เกลียดใคร ถ้าหากว่ากำลังใจไม่ชอบในการแผ่เมตตา ก็ให้ใช้กสิณทั้ง ๔ ก็คือ วรรณกสิณ อันประกอบไปด้วย โอทาตกสิณ การเพ่งสีขาว โลหิตกสิณ การเพ่งสีแดง ปีตกกสิณ การเพ่งสีเหลือง และนีลกสิณ การเพ่งสีเขียว กสิณสีทั้ง ๔ อย่างนี้มีอำนาจพิเศษก็คือ ถ้าทำได้ทรงตัวจะช่วยระงับโทสะได้ดี
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-06-2011 เมื่อ 02:39
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 24-06-2011, 11:39
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,209 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การที่เราจะระงับโทสะนั้น ต้องใช้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ในเรื่องของศีล ถ้าเรามีเมตตาพรหมวิหารเป็นปกติ รักเขาเสมอตัวเรา ก็จะไม่ล่วงละเมิดศีล คือไม่คิดฆ่า ไม่คิดด่า ไม่คิดทำร้ายใคร ในเรื่องของสมาธินั้น จิตใจก็ต้องทรงตัว ไม่ว่าจะโดยการแผ่เมตตาจนทรงตัว หรือว่าการปฏิบัติในวรรณกสิณจนทรงตัว

ส่วนในเรื่องของปัญญานั้นต้องพิจารณาให้เห็นว่า ไม่ว่าเขาหรือเราก็ประกอบไปด้วยความทุกข์อยู่แล้ว เราจะโกรธจะเกลียดเขาหรือไม่ก็ตาม เขาก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น และตัวเราเองก็ทุกข์ด้วย เรามีความทุกข์เช่นเดียวกับเขา ถ้าเราปล่อยให้ใจของเรามีความโกรธความเกลียดอีก เท่ากับว่าเราไปแบกความทุกข์มาเพิ่มเติมไว้ โดยที่ผู้อื่นอาจจะไม่รับรู้เลย แต่เราเองรับทุกข์ไว้เต็ม ๆ แล้ว

ถ้าปัญญาเราสามารถเห็นจริงในตรงจุดนี้ จิตใจก็จะเริ่มปล่อยวาง คลายความโกรธลงได้ ถ้ากำลังใจทรงตัวในระดับฌาน ๔ คล่องตัว แล้วมีปัญญารู้เห็น จิตใจก็จะตัดละวางความโกรธลงไปได้

ส่วนในเรื่องของโมหะความหลงนั้น ถ้าเราก้าวเข้ามาเป็นนักปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญาเช่นนี้ ความหลงของเราก็มีน้อยมากแล้ว เหลืออยู่อย่างเดียวคือความหลงยึดว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา

ต้องพยายามแยกแยะให้เห็นชัดว่า ร่างกายนี้เป็นเพียงส่วนประกอบขึ้นมาจากธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้เราอาศัยอยู่ชั่วคราวเพื่อปฏิบัติความดีเท่านั้น ถ้าหากว่าเราไม่ใช้ร่างกายนี้ในการปฏิบัติความดี นอกจากไม่สามารถที่จะนำตนให้หลุดพ้นแล้ว เรายังอาจอาศัยร่างกายนี้ไปปฏิบัติความชั่ว สร้างเวรสร้างกรรมจนกระทั่งเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จบก็ได้

ดังนั้น..ร่างกายซึ่งเราอาศัยอยู่ชั่วคราว มีสภาพเหมือนเสื้อผ้าที่เราใช้อยู่ทุกวัน หรือเหมือนกับรถยนต์ที่เราอาศัยขับ นำพาเราไปสู่เป้าหมาย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-06-2011 เมื่อ 12:38
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 25-06-2011, 16:50
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,209 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเราเห็นชัดดังนี้ จิตก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย เห็นความทุกข์ที่ปรากฏกับร่างกายนี้เป็นปกติ เห็นความทุกข์ที่ปรากฏกับร่างกายคนอื่นเป็นปกติ เห็นความทุกข์ที่ปรากฏกับสัตว์ทั้งหลายเป็นปกติ ก็จะหมดอยาก ไม่มีความอยากดี อยากมี อยากได้ในร่างกายนี้อีก จิตใจก็จะปล่อยวาง กำลังใจสุดท้ายก็จะเกาะอยู่ที่พระนิพพานเท่านั้น

ดังนั้น..ถ้าท่านทั้งหลายปฏิบัติตนเพื่อเป็นคนดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องดีพร้อมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจดังที่กล่าวมานี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงจะภาคภูมิใจในความเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรสของเราทั้งหลาย

ลำดับต่อจากนี้ไปก็ให้ทุกท่าน กำหนดภาพพระของตนเอาไว้ให้มั่นคง ถ้าหากว่ายังมีลมหายใจอยู่ ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยังมีคำภาวนาอยู่ ให้กำหนดรู้คำภาวนาไปด้วย ถ้าไม่มีลมหายใจไม่มีคำภาวนา ก็กำหนดภาพพระของเราไว้อย่างเดียว ตั้งใจว่า..ถ้าตายเมื่อไรขอไปอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น ให้ตั้งใจทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๔
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-06-2011 เมื่อ 18:44
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 10-04-2012, 23:21
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 259
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,227 ครั้ง ใน 1,280 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

สามารถรับชมได้ที่

http://www.sapanboon.com/vdo/demo.ph...ame=2554-06-03

ป.ล.
- สามารถชมบนไอโฟนและแอนดรอยด์ได้
- ห้ามคัดลอกไฟล์ไปเผยแพร่ที่อื่นเด็ดขาด !
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:38



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว