กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 01-11-2011, 10:52
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,547 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default บารมี ๑๐ ประการ ต้องรักษาให้ครบ

บารมี ๑๐ ประการ ต้องรักษาให้ครบ

๑. “ให้ดูคำว่ากำลังใจเต็ม คือบารมี ๑๐ ประการ ได้รับการรักษาให้เต็มอยู่ในจิตครบทั้ง ๑๐ ประการหรือเปล่า นี่เป็นเพียงแค่บารมีต้น ๑๐ ประการ ลองสอบอารมณ์จิตดูว่า ยังพร่องหรือขาดข้อไหนบ้าง ขั้นแรกต้องให้เต็มอย่าพร่อง จนแน่ใจว่าทำได้ครบทั้ง ๑๐ บารมีแล้ว จึงค่อยก้าวเข้าสู่ขั้นที่สองคือ อุปบารมี และขั้นที่ ๓ ปรมัตถบารมีต่อไป”

๒. “การรับทานหรือการให้ทานก็ดี พึงดูบารมี ๑๐ ควบคู่ไปด้วยเสมอ จักทำให้การปฏิบัตินั้นเป็นการเจริญพระกรรมฐานไปในตัว เช่น อย่าขัดศรัทธาของผู้ให้ ใครจักให้สิ่งอันใดแก่เราก็จงรับไว้ก่อน แล้วค่อยพึงแจกจ่ายขยับขยายไปให้บุคคลอื่นต่อไปในภายหลัง และพึงวางอารมณ์ให้ถูก อย่าได้มีความพอใจหรือไม่พอใจของที่เขาให้ทั้งปวง จิตจักได้ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวไปด้วยกิเลส”

๓. “วันนี้เป็นวันสงกรานต์ (๑๔ เม.ย. ๒๕๓๙) มีคนมาวัดขอร่วมพักในห้องของเจ้า ก็ต้องวางกำลังใจให้สบาย หากมีคนต้องการสนทนาธรรมกับเจ้า ก็พึงให้ได้ตามที่ได้ปฏิบัติมา อย่าคิดว่าเป็นภาระหรือวิตกกังวลจนเกินเหตุ อย่าลืมการให้ธรรมะเป็นทานชนะทานทั้งปวง อย่าติดความสงบสุขในส่วนตนจนเกินไป พึงทำไปด้วยความเหมาะสม เราปฏิบัติได้แค่ไหนก็แนะนำแค่นั้นต่อบุคคลที่มีศรัทธาต่อเรา พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ก็แนะนำตามนี้ คือถ้าเขาไม่มีศรัทธาก็จักไม่แนะนำเลย”

๔. “เรื่องศีลระดับที่ ๓ ซึ่งท่านพระ.... นำมาพูด โดยอ้างว่าท่านฟังจากคำสอนของท่านฤๅษี แล้วนำมาพิจารณาและปฏิบัติตามจนได้ผลแล้ว ความว่า..

ศีลขั้นที่ ๑ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง เป็นการเอาศีลคุมกายให้เรียบร้อย

ศีลขั้นที่ ๒ ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล เป็นการเอาศีลคุมวาจาให้เรียบร้อย

ศีลขั้นที่ ๓ ไม่ยินดีด้วย เมื่อบุคคลอื่นได้ละเมิดศีลแล้ว เป็นการเอาศีลคุมใจให้เรียบร้อย

ถ้าหากทำได้สมบูรณ์ตามลำดับ จิตก็จักเข้าถึงอุเบกขา ไม่เดือดร้อนในกรรมของใคร ๆ จิตจักเยือกเย็นมาก มีความเคารพในกฎของกรรมสูงนั้น จุดนี้ถูกต้องแล้ว และเป็นจุดเดียวกับการที่ทำให้ไม่ไปยุ่งกับจริยาของผู้อื่นได้เป็นอย่างดี จุดนี้พวกเจ้าสมควรพิจารณาและปฏิบัติตามท่านพระ... ให้มาก”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 85 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 02-11-2011, 10:42
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,547 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๕. “ปัญญาในพุทธศาสนาคือ การรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ หรือการรู้เท่าทันกองสังขารของกายและจิตได้ชื่อว่าปัญญา ให้ลบสัญญาเก่า ๆ อันเกี่ยวกับการยึดมั่นถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นเรามาโดยตลอดนี้เสีย หมั่นทำให้บ่อย ๆ โดยการพิจารณาขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง พิจารณาด้วยอารมณ์ที่ยอมรับนับถืออย่างจริงใจ แล้วจิตจักมีความสุขมาก มีความสดชื่นมาก”

๖. “ในการพิจารณาขันธ์ ๕ ก็ดี พิจารณาศีล สมาธิ ปัญญาก็ดี ให้พิจารณาให้ลึก ๆ ลงไปตามลำดับ จนกว่าจิตจักมีอารมณ์สงบ-สบาย ยอมรับนับถือในความจริงของขันธ์ ๕ และยอมรับนับถือในความจริงของศีล-สมาธิ-ปัญญา และจงอย่าคิดว่าที่รู้อยู่นั้นดีแล้ว จงเตือนจิตของตนเองไว้เสมอ ๆ ว่า ตราบใดที่ยังไม่เข้าถึงพระอรหัตผล ตราบนั้นอย่างคิดว่าตนเองดีแล้วเป็นอันขาด และจงหมั่นศึกษาพระธรรมวินัยให้มาก ๆ จิตจักได้มีความสงบเยือกเย็น และมีความละเอียดในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป”

๗. “ให้เห็นการเจ็บป่วยเป็นกฎของกรรม เป็นเรื่องธรรมดาของผู้มีร่างกายซึ่งเป็นรังของโรค แม้แต่พวกเจ้าเองก็เหมือนกัน ไม่มีใครหนีความเป็นโรคไปได้พ้น แม้ในที่สุด.. ร่างกายนี้ก็ต้องมีความตายเป็นของธรรมดา กรรมเป็นผลมาจากการกระทำของตนเองซึ่งมีมาแต่อดีต จึงเป็นคนหลงอย่างยิ่งที่มีการตัดพ้อต่อว่ากฎของกรรม

ให้ดูตัวอย่างพระมหาโมคคัลลานะ ก็ยังถูกกฎของกรรมเข้าเล่นงาน หรือแม้แต่องค์สมเด็จปัจจุบันผู้มีความดีสูงสุดในพุทธันดรนี้ ก่อนจักเข้าสู่ปรินิพพานก็ยังประชวรหนัก ถ่ายออกมาเป็นเลือด ยังทุกขเวทนาให้เกิดแก่พระวรกายยิ่งนัก ทุกท่านทุกองค์ยอมรับกฎของกรรมโดยดุษฎี ถ้าหากพวกเจ้าได้ยินใครกล่าวเช่นนี้ ก็ให้ชี้แจงไปอย่างนี้ ถ้าหากบุคคลผู้นั้นมีศรัทธาอันพอจักชี้แจงได้”

๘. “การพิจารณาทุกข์ทุกครั้งให้ลงตรงขันธ์ ๕ ตัวรับทุกข์ แต่ก็ไม่ควรลืมต้นเหตุแห่งทุกข์ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันเป็นผลทำให้เกิดมามีขันธ์ ๕ พิจารณาอย่างนี้แล้ว เพียรละซึ่งสมุทัยเหล่านี้เสีย มองให้ครบวงจรก็จักเป็นทางออกทางไปให้พ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 70 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 04-11-2011, 10:47
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,547 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๙. “อย่าฝืนจิต ในเมื่อไม่มีอารมณ์วิปัสสนาก็จงอย่าฝืน ให้คอยตามดูอย่างเดียว ทำอารมณ์ใจให้สบาย ๆ จักได้ไม่หนักใจ อย่าใช้ปัญญาออกนอกลู่นอกทาง ให้คิดไว้เสมอว่า ปัญญาในพุทธศาสนาคือการรอบรู้ในกองสังขาร ก็จงมองจุดนี้จุดเดียว ซึ่งเป็นจุดสำคัญอันจักนำไปให้จิตหลุดพ้นจากสักกายทิฏฐิ หรือความผูกพันเกาะติดในขันธ์ ๕ หรือร่างกายนี้ อย่าไปคิดว่าเรื่องของคนอื่นจักสำคัญ ให้เห็นจุดนี้แหละ ที่โยงมาจากศีล-สมาธิมาเป็นปัญญา นี่แหละสำคัญ... เป็นสัมมาทิฏฐิอย่างแท้จริง ปฏิบัติไปก็จักได้มรรคผลปฏิปทาที่พ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง และให้ดูมัชฌิมาไว้ด้วย อย่าเครียด อย่าหย่อนจนเกินไป ทำให้พอดี ๆ จิตจักมีความสุขมาก ความหน่วงเหนี่ยวในขันธ์ ๕ จักเบาบางลงไป พิจารณาลงกฎของธรรมดาให้มาก จิตจักได้มีอารมณ์เยือกเย็น และยอมรับกฎของธรรมดา จนสามารถพ้นทุกข์ได้จนถึงที่สุด

๑๐. “อย่าไปแก้ธรรมภายนอก ให้แก้ธรรมภายใน อารมณ์ใจของเรานี้คือธรรมภายใน ธรรมภายนอกจักเป็นอย่างไรก็ช่างมัน ให้เห็นเป็นธรรมดาเข้าไว้ ไม่จำเป็นต้องไปแก้ไข เหมือนกับอายตนะ ๖ รับสัมผัสธรรม แก้ไขอะไรไม่ได้ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รับรส กายได้รับสัมผัส ก็เป็นอยู่ตามปกติอย่างนั้น ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กายก็เป็นอย่างนั้น รูป-เสียง-กลิ่น-รส-สัมผัสก็เป็นอย่างนั้น ธรรมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องไปแก้ไข เป็นปกติธรรมทุกอย่าง เป็นธรรมดาหมดทุกอย่าง ให้แก้ไขอารมณ์ใจที่ไปเกาะติดและปรุงแต่งธรรมเหล่านั้นขึ้นมาให้เป็นกิเลส

๑๑. “ให้ดูจิต เห็นอารมณ์ของจิตเข้าไว้เป็นสำคัญ จงพยายามดูไฟภายในเข้าไว้ กิเลสหรือสังโยชน์ตัวไหนยังกินใจอยู่ หนักอยู่หรือไม่ แล้วทำอย่างไรให้จิตมีปัญญาพิจารณาสังโยชน์ตามความเป็นจริง อย่าให้อารมณ์จิตมันหลอก ดีแต่จำ นึกได้แค่สัญญา จุดนั้นประโยชน์จักเกิดขึ้นน้อยมาก ให้พยายามใคร่คราญด้วยเหตุผลอยู่เสมอ ๆ แล้วผลของการปฏิบัติพระกรรมฐานจักก้าวหน้าไปได้


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-11-2011 เมื่อ 17:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:01



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว