กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 20-02-2011, 00:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,124 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐานวันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

ขอให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตน แล้วกำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเรา อยู่กับลมหายใจเข้าออกเฉพาะหน้า หายใจเข้าออกยาว ๆ สัก ๒ – ๓ ครั้ง เพื่อระบายลมหยาบออกให้หมดก่อน แล้วหลังจากนั้นก็หายใจตามปกติ

หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดพร้อมกับคำภาวนา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดพร้อมกับคำภาวนา ไหลตามลมหายใจออกมา

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๔ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานต้นเดือนกุมภาพันธ์วันสุดท้ายของพวกเรา เรียกว่าเกือบจะเป็นเดือนสุดท้ายของบ้านอนุสาวรีย์ด้วย เพราะว่าเราจะมาปฏิบัติกรรมฐานอย่างนี้ที่บ้านอนุสาวรีย์ ในต้นเดือนมีนาคมคือเดือนหน้า อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วหลังจากนั้น จะย้ายไปที่บ้านใหม่คือบ้านวิริยบารมี ที่ซอยวุฒากาศ ๒๔ ฝั่งธนบุรี

วันนี้ช่วงก่อนกรรมฐาน ที่เราได้ปรารภกันว่า กิเลสต่าง ๆ ที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้น เป็นเครื่องร้อยรัดและดึงเราให้จมอยู่กับวัฏสงสาร ไม่สามารถที่จะหลุดพ้นไปได้ กิเลสที่เข้ามาทางตาคือรูป เห็นรูปแล้วชอบใจ กิเลสที่เข้ามาทางหูคือเสียง ได้ยินเสียงแล้วชอบใจ กิเลสที่เข้ามาจมูกคือกลิ่น ได้กลิ่นแล้วชอบใจ กิเลสที่เข้ามาทางลิ้นคือรส ได้รสแล้วชอบใจ กิเลสที่เข้ามาทางกาย คือสัมผัส ได้รับสัมผัสแล้วชอบใจ กิเลสที่เข้ามาทางใจ คือ อารมณ์คิด

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้ามาในด้านดี ที่เรียกว่า อิฏฐารมณ์ เป็นอารมณ์ที่น่ายินดี น่าปรารถนา ถ้ามาในด้านที่ไม่ดี ไม่ชอบใจ เรียกว่า อนิฏฐารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่ปรารถนา ทั้ง ๒ อย่างล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งสิ้น

อารมณ์ที่เราชอบใจก็ก่อให้เกิดราคะ ยินดี อยากมีอยากได้ อารมณ์ที่เราไม่ชอบใจก็ก่อให้เกิดโทสะ กระทบกระทั่งแล้วไม่ชอบใจ ก็พยายามที่จะผลักไสหลีกหนี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างกิเลสให้เกิดกับใจทั้งสิ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นราคะหรือโทสะก็ตาม ก็ล้วนแล้วแต่เป็นรากเหง้าใหญ่ของกิเลสทั้งนั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-02-2011 เมื่อ 02:52
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 20-02-2011, 18:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,124 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การที่เราจะรู้เท่าทัน เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส หรือใจครุ่นคิดนั้น สติ สมาธิ และปัญญาของเรา ต้องแหลมคมและว่องไวเพียงพอ ถึงสามารถที่จะหยุดอยู่เพียงนั้นได้

สำหรับพวกเราแล้ว ในเรื่องของศีล เชื่อว่าทุกคนสามารถที่จะรักษาได้ ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามกำลังของตน หรือถ้าเป็นสามเณรก็ศีล ๑๐ พระภิกษุ ๒๒๗ ดังนั้น..ในเรื่องศีลในที่นี้ขอยกไว้ไม่กล่าวถึง เพราะมั่นใจว่าพวกเราสามารถที่จะรักษาศีลได้อย่างแน่นอนและมั่นคง

ก็ต้องมากล่าวถึงเรื่องของสมาธิเป็นหลัก เพราะว่าสมาธิจะทำให้จิตของเรามีกำลัง สามารถที่จะหยุดยั้งเอาไว้ไม่ให้ไหลตามกิเลสไปได้ ขณะเดียวกันสมาธิก็สร้างสติและปัญญาให้เกิด สติจะรู้จักหยุดยั้ง ปัญญาจะรู้จักหลบหลีก หรือว่าปล่อยวางไม่รับเอาไว้ให้เกิดโทษแก่ตน

ดังนั้น..การปฏิบัติของเราในระดับนี้ จึงต้องเน้นสมาธิเป็นพิเศษ เพื่อสร้างให้จิตของเรามีกำลัง ถึงเวลาตาเห็นรูปจะได้หยุดยั้งเอาไว้ทัน หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัสก็เช่นกัน ถ้าเราหยุดเอาไว้ทัน ไม่ไปปรุงแต่งให้เกิด รัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายแก่เราได้

แต่ว่าส่วนใหญ่แล้ว กำลังของเรายังไม่พอ เหตุที่กำลังไม่พอ เพราะว่าเราไม่สามารถที่จะรักษาอารมณ์ฌานของเราให้ต่อเนื่องยาวนานได้ ส่วนหนึ่งตอนปฏิบัติอยู่สมาธิทรงตัวได้ดี แต่พอลุกขึ้นก็ทิ้งเสียหมด ไม่มีการประคับประคองรักษาอารมณ์สมาธิเอาไว้ ก็ทำให้กิเลส รัก โลภ โกรธ หลง งอกงามขึ้นมาใหม่
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-02-2011 เมื่อ 19:55
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 21-02-2011, 02:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,124 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การปฏิบัติของพวกเรานั้น อาตมาเคยเปรียบเทียบอยู่บ่อยครั้งว่า เหมือนเป็นการว่ายทวนน้ำ เราต้องว่ายอยู่ตลอดเวลา ไม่อย่างนั้นก็จะไหลตามน้ำไป แต่ในการปฏิบัติของพวกเรา พอถึงเวลาก็ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ แต่พอเลิกปฏิบัติก็ปล่อยทิ้งเลย

การปฏิบัติก็เหมือนกับว่ายทวนน้ำ พอปล่อยทิ้งก็ไหลตามน้ำไป พอปฏิบัติกลายเป็นก็เริ่มต้นว่ายทวนน้ำใหม่ ดังที่กล่าวไว้เสมอ ๆ ว่า เราจะกลายเป็นคนขยัน ทำงานทุกวันแต่ไม่มีผลงาน เพราะว่าการว่ายทวนน้ำใหม่ อย่างดีก็ได้เท่าเดิม หรือถ้าหากว่าวันไหนเหนื่อยล้า หรือร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย อาจจะได้น้อยกว่าเดิมเสียอีก

พวกเราทั้งหมดในที่นี้ จึงจำเป็นต้องย้ำในเรื่องของสมาธิ พยายามสร้างฌานสมาบัติให้เกิดขึ้นให้ได้ จริง ๆ แล้ว สมาธิไม่ใช่ของยาก การที่เราสามารถกำหนดรู้ลมได้โดยตลอด หายใจเข้ารู้ว่าผ่านจมูก..ผ่านกึ่งกลางอก..ลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกรู้ว่าลมออกจากท้อง..ผ่านกึ่งกลางอก..มาสิ้นสุดที่ปลายจมูก จะใช้คำภาวนาหรือไม่ภาวนาก็ตาม

ถ้าท่านสามารถรู้ลมครบ ๓ ฐานทั้งเข้าออก อาตมาขอยืนยันว่าท่านกำลังทรงปฐมฌานอยู่ เพียงแต่ว่าท่านจะสามารถทรงเอาไว้ได้นานแค่ไหนเท่านั้น

ดังนั้น..ท่านทั้งหลายจึงสมควรที่จะปฏิบัติ เพื่อให้เกิดฌานสมาบัติขึ้นในใจของตน แล้วจะได้อาศัยกำลังของฌานสมาบัตินี้ ในการระงับยับยั้งและตัดกิเลสของเรา สมาธิจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเราในตอนนี้ เพราะว่านอกจากจะสร้างสติสร้างปัญญาแล้ว ยังใช้ในการระงับยับยั้งกิเลสต่าง ๆ และใช้ในการตัดกิเลสด้วย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-02-2011 เมื่อ 02:57
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 21-02-2011, 21:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,124 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าหากว่าเราปฏิบัติไปถึงระดับที่สมาธิทรงตัว แล้วเกิดปัญญารู้ทุกข์รู้โทษว่า ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส ใจครุ่นคิดนั้น พาให้เราทุกข์แบบไหน ? เมื่อเห็นทุกข์เห็นโทษ ปัญญาก็จะเริ่มหาทางให้เราปล่อยวาง ก็จะไม่แบกสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไว้อีก

ก็จะพิจารณาว่าเหตุใด ตาเห็นรูปจึงสร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่เราได้ ? เหตุใดหูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิด จึงสร้างทุกข์สร้างให้โทษแก่เราได้ ? เราก็จะเห็นว่า เกิดจากการที่เราไปช่วยนึกคิดปรุงแต่งเพิ่มเติมนั่นเอง

ตาเห็นรูปแล้วไปคิดว่าสวยหรือไม่สวย ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ทั้งราคะและโทสะก็จะเกิดขึ้นตามอารมณ์นั้น ๆ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิดก็เช่นกัน ถ้าหากว่าเราไปต่อเติมว่า ชอบหรือไม่ชอบ ก็จะเกิดเป็นราคะและโทสะขึ้นมาทันที

เมื่อเป็นดังนี้ อันดับแรก ถ้าหากว่าสมาธิเราทรงตัว กำลังเพียงพอ เราก็จะใช้วิธีเหมือนการรั้งม้าไว้ที่หน้าผา ขี่ม้ามา ม้าถลำจะตกหน้าผาแล้ว เราต้องฉุดรั้งเอาไว้ให้ได้ โดยการใช้กำลังสติและสมาธิหยุดเอาไว้ ไม่ให้สภาพจิตเราคิดต่อ ถ้าจิตใจของเราหยุดอยู่ในปัจจุบัน ไม่ไปปรุงแต่งเพิ่มเติม การคิดต่อไม่มี อารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง ก็ไม่สามารถที่จะเจริญงอกงามได้

หลังจากที่เราหยุดไว้บ่อย ๆ จนกระทั่งสภาพจิตเคยชิน ความเบาก็จะมีมากขึ้น จนกระทั่งเราเห็นโทษว่า การที่หยุดไว้อย่างนี้ ก็ต้องใช้กำลังมาบังคับอยู่ ถ้าเผลอเมื่อไรกิเลสตีกลับ เราก็ยังเสียท่า ตกเป็นทาสของ รัก โลภ โกรธ หลง เหมือนเดิม จิตใจก็จะเริ่มปลดวาง จากการที่เราต้องบังคับให้หยุด คราวนี้ก็ไม่ต้องบังคับแล้ว

เพราะว่าในเมื่อเห็นโทษ รู้ว่าเมื่อตาเห็นรูปแล้วเราไปคิด ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ทำให้เกิด รัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมา เราก็จะหยุดคิดเอง ในเมื่อหยุดคิดหยุดการปรุงแต่ง กิเลสไม่สามารถจะเกิดต่อไปได้ นิโรธคือความดับก็จะเกิดขึ้นในใจของเรา ถ้าเราสามารถรักษาระยะของการดับกิเลสได้นานเพียงพอ กิเลสทั้งหลายไม่สามารถที่จะเจริญงอกงามต่อไปได้ สภาพจิตของเราก็จะผ่องใส เกิดการหลุดพ้นขึ้นมา นั่นคือหนทางที่เราจะก้าวไปสู่พระนิพพานของเรา

สำหรับตอนนี้ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายกำหนดลมหายใจเข้าออก พร้อมกับคำภาวนาและภาพพระที่เราชอบใจ หายใจเข้ากำหนดรู้ตามไป หายใจออกกำหนดรู้ตามออกมา พร้อมกับคำภาวนาหรือพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-02-2011 เมื่อ 03:02
สมาชิก 50 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:13



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว