กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 29-12-2010, 09:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,447
ได้ให้อนุโมทนา: 151,085
ได้รับอนุโมทนา 4,399,762 ครั้ง ใน 34,036 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓

ขยับนั่งในท่าที่สบายของเรา ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า กำหนดความรู้สึกทั้งหมดให้ไหลตามลมหายใจเข้าไป ไหลตามลมหายใจออกมา ใช้คำภาวนาตามอัธยาศัยที่เราชอบใจ หรือจะกำหนดภาพพระไปพร้อมกันด้วยก็ได้

สำหรับวันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นวันมหามงคลสมัย ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๓ พรรษา

สำหรับการปฏิบัติในวันนี้นั้น อยากจะเน้นย้ำกับพวกเราว่า ในเรื่องของการปฏิบัติภาวนานั้น สมาธิเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าอย่างไรพวกเราก็ต้องพยายามปฏิบัติไป จนกว่าจะทรงฌานระดับใดระดับหนึ่งได้ ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ไม่อย่างนั้นแล้ว เราก็ยังมีกำลังไม่พอที่จะสู้กับกิเลส แม้ปฐมฌานจะสามารถสู้กิเลสได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะนับไปแล้ว ก็ยังอ่อนแอจนเกินไป เพียงแต่ว่าหัวหาดขั้นแรก คือปฐมฌานนั้น เราจำเป็นต้องยึดได้เสียก่อน โดยการที่เรากำหนดภาวนา

ถ้าหากว่าผู้ใดกำหนดภาวนาโดยจับลม ๓ ฐานไปด้วย คือ จมูก อก ท้อง ถ้าสามารถรู้ลมได้ตลอด ๓ ฐานนี้อาตมาขอยืนยันกับทุกท่านว่านี่เป็นปฐมฌาน เพียงแต่ว่าท่านทั้งหลายจะสามารถทรงอาการรู้อย่างนี้ได้ยาวนานเท่าไร

ถ้าท่านสามารถทำได้จนถึงระดับปฐมฌานละเอียด ท่านจะสามารถรู้ลมหายใจเข้าออกโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับ สติก็กำหนดรู้ได้ด้วยตนเอง เราแค่เพิ่มคำภาวนาเข้าไปเท่านั้นก็พอ หรือว่าจะเพิ่มการกำหนดภาพพระขึ้นมาด้วยก็ได้

การปฏิบัติของพวกเรานั้น ส่วนใหญ่แล้วขาดความอดทน ถึงเวลาทำก็ใจร้อน อยากจะได้นั่นได้นี่เร็ว ๆ การจะให้ได้เร็วนั้นมี ๒ อย่างด้วยกัน อย่างแรกก็คือ ทำถูกวิธี ถ้าถูกวิธีก็ได้เร็ว อย่างที่สองก็คือ ต้องทุ่มเทอย่างจริงจัง ถ้าหากว่าทุ่มเทอย่างจริงจังก็จะได้เร็วเช่นกัน

แต่ถ้าหากว่าท่านใจร้อนอยากได้เร็วเฉย ๆ โดยที่ทำไม่ถูกวิธี ซ้ำยังไม่ทุ่มเทจริงจังอีก โอกาสที่จะทรงฌานทรงสมาบัติอย่างผู้อื่นเขาก็เป็นเรื่องยาก ในเมื่อท่านทั้งหลายขาดความอดทนซึ่งเป็นพื้นฐานใหญ่ของการปฏิบัติ โอกาสที่เราจะมีกำลังชนะกิเลสได้ก็ห่างไกล
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-12-2010 เมื่อ 16:06
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 31-12-2010, 09:54
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,447
ได้ให้อนุโมทนา: 151,085
ได้รับอนุโมทนา 4,399,762 ครั้ง ใน 34,036 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ขอทุกท่านอย่าได้ลืมว่า โอวาทปาฏิโมกข์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทรงขึ้นว่า ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา ขันติคือความอดกลั้น เป็นตบะเครื่องเผากิเลสอันยอดเยี่ยมอย่างยิ่งของนักปฏิบัติ คือ ถ้าหากว่าจะเราประสบความสำเร็จนั้น เราจะต้องมีความอดทนอดกลั้น

ความอดทนอดกลั้นนั้นมีทั้ง ๒ อย่าง คือ ความอดทนอดกลั้นทางกาย และความอดทนอดกลั้นทางใจ ความอดทนอดกลั้นทางกาย อย่างเช่น ทนต่อความเจ็บปวด ทนต่อความหิวโหย ทนต่อความเมื่อยขบ เป็นต้น ส่วนความอดทนทางใจนั้น คืออดทนต่อแรงกระทบต่าง ๆ ที่เกิดด้วยอำนาจของรัก โลภ โกรธ หลง พยายามอดทนไว้ไม่คล้อยตามไป เพราะถ้าเราคล้อยตามไปเมื่อไหร่ กิเลสจะมีกำลังมากกว่า แล้วเราจะรั้งกลับได้ยาก

นักปฏิบัติที่ดีจึงควรที่มีความอดทนอดกลั้น เพื่อจะปฏิบัติไปถึงจุดหมายของตนให้ได้ แล้วทุ่มเทปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่าทำเป็นเล่น และอย่าทำ ๆ ทิ้ง ๆ การที่เราปฏิบัติภาวนา เหมือนกับการเดินทวนน้ำ หรือการว่ายน้ำทวนกระแส จะเหนื่อยและยาก ถ้าเราปล่อยเมื่อไรก็จะไหลตามน้ำไปทันที

เราจึงจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง ไม่อย่างนั้นก็กลายเป็นว่าปฏิบัติไปเสียเวลาเปล่า เพราะว่าทำไปแล้วเราก็ปล่อยทำให้ลอยกลับไปที่เดิม หรืออาจจะไกลว่าเดิมเสียด้วย เมื่อถึงเวลาปฏิบัติก็เป็นการว่ายทวนน้ำขึ้นมาใหม่ อย่างเก่งก็คงจะได้ที่เท่าเดิมของวันก่อน พอปล่อยก็ลอยไกลไปอีก ถ้าทำอย่างนี้บ่อย ๆ ผลงานก็ไม่มีให้เห็น ความปีติใจไม่เกิดขึ้น อาจจะทำให้ท่านทั้งหลายทิ้งการปฏิบัติไปเลยก็ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-12-2010 เมื่อ 14:16
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 03-01-2011, 09:26
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,447
ได้ให้อนุโมทนา: 151,085
ได้รับอนุโมทนา 4,399,762 ครั้ง ใน 34,036 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..ในการปฏิบัติ นอกจากจะตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติแล้ว ยังต้องทุ่มเทจริงจังและสม่ำเสมอ เมื่อทำได้แล้วให้รักษาอารมณ์การปฏิบัติให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ พร้อมกับซักซ้อมให้มีความคล่องตัว อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในวันแรกของเดือนนี้ว่า จะต้องสร้างวสีภาพให้เกิดขึ้นกับเราให้ได้

ให้เรามีความชำนาญในการกำหนดรู้ว่า ตอนนี้เราอยู่ในฌานสมาบัติระดับใด มีความชำนาญในการเข้าฌานแต่ละระดับได้อย่างใจต้องการ สามารถกำหนดระยะเวลาในการเข้าฌานได้อย่างที่ต้องการ ไม่ว่าจะอยู่ในฌานไหนก็สามารถที่จะออกจากฌานได้อย่างคล่องตัว และสุดท้ายสามารถที่จะทบทวนเปลี่ยนผันเข้าฌานสลับฌานได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ก็เรียกว่า เราเป็นผู้ทรงวสีภาพในการเข้าฌาน ทำให้สามารถรักษากำลังใจจากกิเลสได้ง่ายขึ้น

ทันทีที่รู้ตัวว่ากิเลสจะเข้ามาถึงใจ ก็พุ่งกำลังใจเข้าสู่องค์ฌานเสียก่อน อำนาจของฌานสมาบัติจะกดกิเลสทั้ง รัก โลภ โกรธ หลง ให้ดับลงไปได้ชั่วคราว ทำให้จิตใจของเราผ่องใส จะได้มีปัญญาพิจารณา หาหนทางในการจัดการกับกิเลส เพื่อที่จะทำลายกิเลสให้หมดสิ้นกำลังลงไปให้ได้

ดังนั้น..ในการปฏิบัติเดือนนี้ การบ้านใหญ่ที่จะฝากทุกท่านไว้ก็คือว่า ให้ทุกคนทุ่มเทในการปฏิบัติภาวนา เพื่อทรงให้ได้อย่างน้อยปฐมฌาน และควรจะเป็นปฐมฌานอย่างละเอียด ขณะเดียวกันก็ต้องซักซ้อมเข้าออกให้คล่องตัว จนถึงระดับตั้งเวลาได้ ว่าต้องการจะเข้าสักกี่ชั่วโมง กี่นาที เป็นต้น

ถ้าท่านทั้งหลายสามารถทำได้คล่องตัว หนทางที่เราจะชนะกิเลสก็เริ่มเปิดกว้างขึ้น ถ้ายังไม่สามารถที่จะทำได้ ก็แปลว่าเรายังมีโอกาสที่จะแพ้กิเลสอยู่เต็ม ๆ อย่างที่อาตมาเคยกล่าวไปแล้วว่า ในขั้นตอนของการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นนั้น คำตอบแทบทั้งหมดอยู่ที่สมาธิภาวนา

ยกเว้นตอนช่วงท้ายที่เป็นการใช้ปัญญาพิจารณาเพื่อละกิเลสเท่านั้น ที่เป็นการใช้ปัญญาในการพิจารณาหาหนทาง แต่ก็ต้องเป็นปัญญาที่มีอำนาจของสมาธิหนุนเสริม อยู่ดี ไม่อย่างนั้นแล้วก็จะไม่แหลมคม ไม่ว่องไว และปราศจากกำลัง ไม่สามารถที่จะตัดกิเลสให้ขาดลงได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-01-2011 เมื่อ 15:23
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 03-01-2011, 09:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,447
ได้ให้อนุโมทนา: 151,085
ได้รับอนุโมทนา 4,399,762 ครั้ง ใน 34,036 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อท่านทั้งหลายเห็นแล้วว่า เรื่องของสมาธิสมาบัตินั้น สำคัญต่อการปฏิบัติอย่างไร ก็ขอให้พวกเราทุ่มเทให้กับการปฏิบัติ อย่างน้อย ๆ ก็ให้ทรงฌานในระดับใดระดับหนึ่งให้ได้ เพื่อที่จะได้เหมือนดังคำพิจารณาของพระที่ว่า บรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่บ้างหรือไม่ เพื่อที่จะได้ไม่เก้อเขิน เมื่อเพื่อนสหธรรมิกไต่ถามในภายหลัง

ถ้าเราสามารถทรงฌานระดับหนึ่งได้ ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป กำลังก็เพียงพอที่จะละกิเลสได้ในบางส่วน จะทำให้เราสามารถต่อสู้กับกิเลสได้ง่ายยิ่งขึ้น

เมื่อท่านทั้งหลายเห็นคุณค่าของการทรงสมาธิภาวนาแล้ว ก็ขอให้ทุ่มเทปฏิบัติอย่างจริงจัง และสม่ำเสมอ เพื่อที่ผลจะได้เกิดกับเราอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เนื่องจากว่ากาลเวลาล่วงไป ๆ เราเองอาจจะหมดอายุขัย สิ้นชีวิตลงไปเมื่อใดก็ไม่แน่ จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งรีบในการปฏิบัติ ศีล สมาธิ และปัญญาของเราให้สมบูรณ์บริบูรณ์ เพื่อเป้าหมายคือการหลุดพ้นไปสู่พระนิพพานของเรา

ลำดับต่อจากนี้ไป ก็ขอให้ทุกท่านกำหนดภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย ท่านใดที่กำลังใจทรงตัวแล้ว ให้พยายามกำหนดดูในเรื่องของไตรลักษณ์ คือสภาพความไม่เที่ยงของร่างกายนี้ สภาพของการดำรงชีวิตอยู่บนกองทุกข์ของร่างกายนี้ และท้ายสุดความไม่สามารถยึดถือเป็นตัวเป็นตนของร่างกายนี้ ให้เห็นจริงและจิตยอมรับให้ได้ ขอให้ท่านทั้งหลายปฏิบัติไปตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-01-2011 เมื่อ 15:25
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 03:04



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว