กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 29-12-2010, 09:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,501 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓

ขยับนั่งในท่าที่สบายของเรา ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า กำหนดความรู้สึกทั้งหมดให้ไหลตามลมหายใจเข้าไป ไหลตามลมหายใจออกมา ใช้คำภาวนาตามอัธยาศัยที่เราชอบใจ หรือจะกำหนดภาพพระไปพร้อมกันด้วยก็ได้

สำหรับวันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นวันมหามงคลสมัย ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๓ พรรษา

สำหรับการปฏิบัติในวันนี้นั้น อยากจะเน้นย้ำกับพวกเราว่า ในเรื่องของการปฏิบัติภาวนานั้น สมาธิเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าอย่างไรพวกเราก็ต้องพยายามปฏิบัติไป จนกว่าจะทรงฌานระดับใดระดับหนึ่งได้ ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ไม่อย่างนั้นแล้ว เราก็ยังมีกำลังไม่พอที่จะสู้กับกิเลส แม้ปฐมฌานจะสามารถสู้กิเลสได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะนับไปแล้ว ก็ยังอ่อนแอจนเกินไป เพียงแต่ว่าหัวหาดขั้นแรก คือปฐมฌานนั้น เราจำเป็นต้องยึดได้เสียก่อน โดยการที่เรากำหนดภาวนา

ถ้าหากว่าผู้ใดกำหนดภาวนาโดยจับลม ๓ ฐานไปด้วย คือ จมูก อก ท้อง ถ้าสามารถรู้ลมได้ตลอด ๓ ฐานนี้อาตมาขอยืนยันกับทุกท่านว่านี่เป็นปฐมฌาน เพียงแต่ว่าท่านทั้งหลายจะสามารถทรงอาการรู้อย่างนี้ได้ยาวนานเท่าไร

ถ้าท่านสามารถทำได้จนถึงระดับปฐมฌานละเอียด ท่านจะสามารถรู้ลมหายใจเข้าออกโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับ สติก็กำหนดรู้ได้ด้วยตนเอง เราแค่เพิ่มคำภาวนาเข้าไปเท่านั้นก็พอ หรือว่าจะเพิ่มการกำหนดภาพพระขึ้นมาด้วยก็ได้

การปฏิบัติของพวกเรานั้น ส่วนใหญ่แล้วขาดความอดทน ถึงเวลาทำก็ใจร้อน อยากจะได้นั่นได้นี่เร็ว ๆ การจะให้ได้เร็วนั้นมี ๒ อย่างด้วยกัน อย่างแรกก็คือ ทำถูกวิธี ถ้าถูกวิธีก็ได้เร็ว อย่างที่สองก็คือ ต้องทุ่มเทอย่างจริงจัง ถ้าหากว่าทุ่มเทอย่างจริงจังก็จะได้เร็วเช่นกัน

แต่ถ้าหากว่าท่านใจร้อนอยากได้เร็วเฉย ๆ โดยที่ทำไม่ถูกวิธี ซ้ำยังไม่ทุ่มเทจริงจังอีก โอกาสที่จะทรงฌานทรงสมาบัติอย่างผู้อื่นเขาก็เป็นเรื่องยาก ในเมื่อท่านทั้งหลายขาดความอดทนซึ่งเป็นพื้นฐานใหญ่ของการปฏิบัติ โอกาสที่เราจะมีกำลังชนะกิเลสได้ก็ห่างไกล
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-12-2010 เมื่อ 16:06
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 31-12-2010, 09:54
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,501 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ขอทุกท่านอย่าได้ลืมว่า โอวาทปาฏิโมกข์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทรงขึ้นว่า ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา ขันติคือความอดกลั้น เป็นตบะเครื่องเผากิเลสอันยอดเยี่ยมอย่างยิ่งของนักปฏิบัติ คือ ถ้าหากว่าจะเราประสบความสำเร็จนั้น เราจะต้องมีความอดทนอดกลั้น

ความอดทนอดกลั้นนั้นมีทั้ง ๒ อย่าง คือ ความอดทนอดกลั้นทางกาย และความอดทนอดกลั้นทางใจ ความอดทนอดกลั้นทางกาย อย่างเช่น ทนต่อความเจ็บปวด ทนต่อความหิวโหย ทนต่อความเมื่อยขบ เป็นต้น ส่วนความอดทนทางใจนั้น คืออดทนต่อแรงกระทบต่าง ๆ ที่เกิดด้วยอำนาจของรัก โลภ โกรธ หลง พยายามอดทนไว้ไม่คล้อยตามไป เพราะถ้าเราคล้อยตามไปเมื่อไหร่ กิเลสจะมีกำลังมากกว่า แล้วเราจะรั้งกลับได้ยาก

นักปฏิบัติที่ดีจึงควรที่มีความอดทนอดกลั้น เพื่อจะปฏิบัติไปถึงจุดหมายของตนให้ได้ แล้วทุ่มเทปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่าทำเป็นเล่น และอย่าทำ ๆ ทิ้ง ๆ การที่เราปฏิบัติภาวนา เหมือนกับการเดินทวนน้ำ หรือการว่ายน้ำทวนกระแส จะเหนื่อยและยาก ถ้าเราปล่อยเมื่อไรก็จะไหลตามน้ำไปทันที

เราจึงจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง ไม่อย่างนั้นก็กลายเป็นว่าปฏิบัติไปเสียเวลาเปล่า เพราะว่าทำไปแล้วเราก็ปล่อยทำให้ลอยกลับไปที่เดิม หรืออาจจะไกลว่าเดิมเสียด้วย เมื่อถึงเวลาปฏิบัติก็เป็นการว่ายทวนน้ำขึ้นมาใหม่ อย่างเก่งก็คงจะได้ที่เท่าเดิมของวันก่อน พอปล่อยก็ลอยไกลไปอีก ถ้าทำอย่างนี้บ่อย ๆ ผลงานก็ไม่มีให้เห็น ความปีติใจไม่เกิดขึ้น อาจจะทำให้ท่านทั้งหลายทิ้งการปฏิบัติไปเลยก็ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-12-2010 เมื่อ 14:16
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 03-01-2011, 09:26
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,501 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..ในการปฏิบัติ นอกจากจะตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติแล้ว ยังต้องทุ่มเทจริงจังและสม่ำเสมอ เมื่อทำได้แล้วให้รักษาอารมณ์การปฏิบัติให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ พร้อมกับซักซ้อมให้มีความคล่องตัว อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในวันแรกของเดือนนี้ว่า จะต้องสร้างวสีภาพให้เกิดขึ้นกับเราให้ได้

ให้เรามีความชำนาญในการกำหนดรู้ว่า ตอนนี้เราอยู่ในฌานสมาบัติระดับใด มีความชำนาญในการเข้าฌานแต่ละระดับได้อย่างใจต้องการ สามารถกำหนดระยะเวลาในการเข้าฌานได้อย่างที่ต้องการ ไม่ว่าจะอยู่ในฌานไหนก็สามารถที่จะออกจากฌานได้อย่างคล่องตัว และสุดท้ายสามารถที่จะทบทวนเปลี่ยนผันเข้าฌานสลับฌานได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ก็เรียกว่า เราเป็นผู้ทรงวสีภาพในการเข้าฌาน ทำให้สามารถรักษากำลังใจจากกิเลสได้ง่ายขึ้น

ทันทีที่รู้ตัวว่ากิเลสจะเข้ามาถึงใจ ก็พุ่งกำลังใจเข้าสู่องค์ฌานเสียก่อน อำนาจของฌานสมาบัติจะกดกิเลสทั้ง รัก โลภ โกรธ หลง ให้ดับลงไปได้ชั่วคราว ทำให้จิตใจของเราผ่องใส จะได้มีปัญญาพิจารณา หาหนทางในการจัดการกับกิเลส เพื่อที่จะทำลายกิเลสให้หมดสิ้นกำลังลงไปให้ได้

ดังนั้น..ในการปฏิบัติเดือนนี้ การบ้านใหญ่ที่จะฝากทุกท่านไว้ก็คือว่า ให้ทุกคนทุ่มเทในการปฏิบัติภาวนา เพื่อทรงให้ได้อย่างน้อยปฐมฌาน และควรจะเป็นปฐมฌานอย่างละเอียด ขณะเดียวกันก็ต้องซักซ้อมเข้าออกให้คล่องตัว จนถึงระดับตั้งเวลาได้ ว่าต้องการจะเข้าสักกี่ชั่วโมง กี่นาที เป็นต้น

ถ้าท่านทั้งหลายสามารถทำได้คล่องตัว หนทางที่เราจะชนะกิเลสก็เริ่มเปิดกว้างขึ้น ถ้ายังไม่สามารถที่จะทำได้ ก็แปลว่าเรายังมีโอกาสที่จะแพ้กิเลสอยู่เต็ม ๆ อย่างที่อาตมาเคยกล่าวไปแล้วว่า ในขั้นตอนของการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นนั้น คำตอบแทบทั้งหมดอยู่ที่สมาธิภาวนา

ยกเว้นตอนช่วงท้ายที่เป็นการใช้ปัญญาพิจารณาเพื่อละกิเลสเท่านั้น ที่เป็นการใช้ปัญญาในการพิจารณาหาหนทาง แต่ก็ต้องเป็นปัญญาที่มีอำนาจของสมาธิหนุนเสริม อยู่ดี ไม่อย่างนั้นแล้วก็จะไม่แหลมคม ไม่ว่องไว และปราศจากกำลัง ไม่สามารถที่จะตัดกิเลสให้ขาดลงได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-01-2011 เมื่อ 15:23
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 03-01-2011, 09:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,501 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อท่านทั้งหลายเห็นแล้วว่า เรื่องของสมาธิสมาบัตินั้น สำคัญต่อการปฏิบัติอย่างไร ก็ขอให้พวกเราทุ่มเทให้กับการปฏิบัติ อย่างน้อย ๆ ก็ให้ทรงฌานในระดับใดระดับหนึ่งให้ได้ เพื่อที่จะได้เหมือนดังคำพิจารณาของพระที่ว่า บรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่บ้างหรือไม่ เพื่อที่จะได้ไม่เก้อเขิน เมื่อเพื่อนสหธรรมิกไต่ถามในภายหลัง

ถ้าเราสามารถทรงฌานระดับหนึ่งได้ ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป กำลังก็เพียงพอที่จะละกิเลสได้ในบางส่วน จะทำให้เราสามารถต่อสู้กับกิเลสได้ง่ายยิ่งขึ้น

เมื่อท่านทั้งหลายเห็นคุณค่าของการทรงสมาธิภาวนาแล้ว ก็ขอให้ทุ่มเทปฏิบัติอย่างจริงจัง และสม่ำเสมอ เพื่อที่ผลจะได้เกิดกับเราอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เนื่องจากว่ากาลเวลาล่วงไป ๆ เราเองอาจจะหมดอายุขัย สิ้นชีวิตลงไปเมื่อใดก็ไม่แน่ จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งรีบในการปฏิบัติ ศีล สมาธิ และปัญญาของเราให้สมบูรณ์บริบูรณ์ เพื่อเป้าหมายคือการหลุดพ้นไปสู่พระนิพพานของเรา

ลำดับต่อจากนี้ไป ก็ขอให้ทุกท่านกำหนดภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย ท่านใดที่กำลังใจทรงตัวแล้ว ให้พยายามกำหนดดูในเรื่องของไตรลักษณ์ คือสภาพความไม่เที่ยงของร่างกายนี้ สภาพของการดำรงชีวิตอยู่บนกองทุกข์ของร่างกายนี้ และท้ายสุดความไม่สามารถยึดถือเป็นตัวเป็นตนของร่างกายนี้ ให้เห็นจริงและจิตยอมรับให้ได้ ขอให้ท่านทั้งหลายปฏิบัติไปตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-01-2011 เมื่อ 15:25
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:47



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว