กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 13-05-2009, 15:55
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,280 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default ประวัติศาสตร์ฉบับแพะชนแกะ "ว่าด้วยก่อนอยุธยา"

ด้วยเหตุที่ท่านทิดใช้ศิลปะลิ้นกระหวัดถึงใบหูประกอบคาถามหาระรวย ออดอ้อนให้อีตาคนเก่านำบทความที่เคยเขียนไว้มาลงในเว็บนี้ ใจจึงอ่อนระทวย มิอาจขัดความประสงค์ท่านทิดได้ ตะกายค้นหา ได้บทความที่เขียนไว้เมื่อเกือบ ๑๐ ปีที่แล้ว ลงเว็บวิชาการดอทคอมตั้งแต่แรกเริ่มตั้ง และต่อมายังถูกก๊อบไปลงเว็บอื่นอีก

ขัดสีฉวีวรรณอย่างเร็ว ๆ เพื่อให้ไม่ผิดนโยบายของเว็บท่าขนุน หากยังหลงเหลือที่ผิดพลาดประการใด ขอท่านทิด และท่านอื่น ๆ เมตตาแก้ไขให้ด้วยนะครับ โปรดอย่าให้อีตาคนเก่าต้องมีอาการขี้หูเต้นร็อกอีกเลย ระยะหลังยิ่งชักเริ่มจะตึง ๆ ไปสักหน่อย เกรงจะพิการเสียก่อนวัยอันควร

อาจขัด ๆ กับที่หลวงพ่อเล่าไว้บ้างนะครับ เพราะเมื่อครั้งที่เขียนบทความนี้ยังไม่ทันได้ศึกษาคำบอกเล่าประวัติศาสตร์ของหลวงพ่ออย่างละเอียดนัก

เชิญอ่านและวิจารณ์กันได้ตามสะดวกครับ ไม่ใช่ตำราทางวิชาการที่สลักสำคัญอะไร เป็นเพียงแนวคิดของอีตาคนเก่านี้เท่านั้นเอง เพราะรำคาญใจที่นักวิชาการยุคใหม่ต่างปฏิเสธตำนานแล้วพาลหั่นประวัติศาสตร์ชาติไทยลงเหลือสั้นจู๋ ย้อนกลับไปได้ถึงเพียงสร้างกรุงสุโขทัยและอยุธยาเท่านั้น

จึงลุกขึ้นมาแต่งเองโลด ดังนี้

....................................................


ว่าด้วยยุคก่อนอยุธยา


มีการพบหลักฐานของการตั้งบ้านเมืองในบริเวณภาคกลางของประเทศไทยมากมายย้อนหลังไปได้ถึงยุคพุทธกาล เมืองโบราณต่าง ๆ ในบริเวณนี้ มีอาทิเช่น อู่ทอง อโยธยา ศรีมโหสถ ไตรตรึงส์ นครปฐม(พระปถม) ละโว้ เป็นต้น

ในเดือน กันยายน ๒๕๔๓ ก็ปรากฏข่าวการค้นพบซากเมืองโบราณในเขตบ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี ที่เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุวรรณภูมิที่ถูกกล่าวถึงในพระไตรปิฎก

ความมั่งคั่ง และความหนาแน่นของผู้ที่หากินอาศัยในบริเวณนี้ เป็นเหตุให้เกิดชุมชนเมืองมาแต่โบราณ ที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของชุมชนอื่น ๆ โดยรอบ ซึ่งพิจารณาได้จากความเป็นศูนย์กลางการค้า โดยดูจากตำนานความมั่งคั่งของสุวรรณภูมิ แดนสวรรค์ของเหล่าพ่อค้าสำเภา และความเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของภูมิภาคโดยดูจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ ตำนานหลายตำนานได้แสดงถึงแรงดึงดูดให้ราชวงศ์กษัตริย์เข้ามาแย่งชิงอำนาจเหนือภูมิภาคแห่งนี้ ไปพร้อม ๆ กับแสนยานุภาพที่เข้มแข็ง สามารถแผ่เดชานุภาพ ครอบงำภูมิภาคส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะทางตอนเหนือ เช่น ตำนานการเสียเมืองเชียงแสนให้กับพวกไทยใหญ่ และเชื้อสายพระเจ้าพรหมมาตั้งเมืองไตรตรึงส์ (อยู่ในเขตจังหวัดนครสวรรค์) สอดรับกับตำนานการกำเนิดเมืองอู่ทองที่ว่า

พระธิดาของเจ้าเมืองไตรตรึงส์ได้เสวยมะเขือของท้าวแสนปมจนตั้งครรภ์ และพระอินทร์เนรมิตเมืองอู่ทองให้ท้าวแสนปมขึ้นครอง ทั้งยังมีตำนานที่กล่าวถึงการว่างกษัตริย์ของเมืองสุพรรณบุรี เชื้อสายพระเจ้าพรหมได้ยกกำลังมาซุ่มดูเหตุการณ์ ชาวเมืองเห็นลักษณะเข้าตำรา จึงยกขึ้นเป็นกษัตริย์สืบราชวงศ์สุพรรณบุรีต่อมา

ในตำนานจามเทวีกล่าวถึง การรุกรานของขุนวิลังคะ กษัตริย์ชาวลัวะ ซึ่งมีกองทัพที่เข้มแข็ง เมืองหริภุญชัยไม่สามารถ ต้านทานได้ จนพระนางจามเทวีใช้มารยาหญิง จึงรอดพ้นจากการถูกครอบครองได้

พิจารณาจากตำนานเมืองเชียงแสนที่ว่าต้นราชวงศ์คือปู่จ้าวลาวจก หรือพระเจ้าลวจักรราช ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางท่านตีความว่าเป็นผู้นำชาวลัวะ ประกอบกับการเสียเมืองเชียงแสนให้กับขอมในรัชสมัยพระเจ้าพังคราช แล้วกู้คืนได้โดยพระเจ้าพรหมผู้เป็นบุตร

ผมสงสัยว่าตำนานทั้งสองอาจมีรากฐานจากข้อเท็จจริงเดียวกันก็ได้

ละโว้และหริภุญชัยยังถูกกล่าวถึงในตำนานที่เกี่ยวกับศรีวิชัย ("เอ หรือว่า นครศรีธรรมราชก็ไม่รู้ซิ ชักเลือน ๆ") ว่าครั้งหนึ่ง กษัตริย์ละโว้ยกไปรบกับกษัตริย์หริภุญชัย ทัพของศรีวิชัยก็ฉวยโอกาสเคลื่อนกำลังมาครอบครองละโว้ เมื่อทัพละโว้ทราบข่าวว่าเสียเมืองก็รีบตรงเข้าเมืองหริภุญชัยได้ก่อน วงศ์เดิมของหริภุญชัยจึงสาบสูญตั้งแต่นั้นมา

นักโบราณคดียังพบความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างละโว้ กับพระนคร (เขมร) ซึ่งเดิมเชื่อว่าพระนครมีอำนาจเหนือละโว้ แต่ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้สร้างอยุธยา ลพบุรี (ละโว้) กลับเป็นดังเมืองลูกหลวงของอยุธยา และพระเจ้าอู่ทองได้ส่งกองทัพนำโดยขุนหลวงพะงั่ว (น้องเมีย) แห่งราชวงศ์สุพรรณบุรี ไปตีพระนครได้สำเร็จ โดยให้เหตุผลที่ไปตีว่า "ขอมแปรพักตร์" จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ราชวงศ์อู่ทองมีอำนาจสูงสุดเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคนี้แล้วตั้งแต่ก่อนสร้างอยุธยา

ประวัติศาสตร์ยังได้กล่าวถึง สามพ่อขุน คือ พญาเม็งรายแห่งล้านนา พญางำเมืองแห่งภูกามยาว และพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย เป็นศิษย์สำนักเดียวกัน ต่างก็ถูกส่งไปเรียนต่อเมืองนอกในสมัยนั้น คือ ละโว้

พ่อขุนผาเมืองผู้ร่วมรบขับไล่ขอมกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ดูจะสาบสูญไปจากประวัติศาสตร์ หลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งสุโขทัย แต่ก็ไม่น่าเป็นเช่นนั้นเพราะพิจารณาจากที่พ่อขุนผาเมืองได้รับพระราชทานพระธิดาจากผีฟ้าแห่งยโสธรปุระ (พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗?) เป็นมเหสี ย่อมแสดงถึงศักดานุภาพที่ไม่ธรรมดาเกินกว่าจะสาบสูญไปง่าย ๆ จากหน้าประวัติศาสตร์

ถ้าจำไม่ผิด ดูเหมือนศิลาจารึกหลักที่ ๓ มีระบุนัยยะสำคัญว่า เมื่อสูงวัยพ่อขุนผาเมืองได้กลายเป็นอาจารย์ สอนศิลปศาสตร์แก่กษัตริย์ทั้งปวง ผมจึงเอาแพะมาชนแกะ สงสัยว่าท่านคงจะเป็นครูของพ่อขุนทั้งสาม และในจารึกเดียวกันนี้ได้กล่าวถึงบิดาและตัวหลวงพ่อศรีศรัทธา ผู้เป็นหลานของพ่อขุนผาเมือง ว่ามีรากฐานเดิมอยู่ที่ละโว้ ผมจึงยิ่งเกิดแรงบันดาลใจมากยิ่งขึ้นว่า แพะกับแกะคงจะชนกันได้พอดี ประกอบกับนักประวัติศาสตร์หลายท่านยังมองว่า พ่อขุนผาเมืองได้ไปครองเขมร หรืออย่างน้อยเมืองใหญ่เมืองหนึ่งใต้อิทธิพลเขมร

ฉะนั้นประวัติศาสตร์ฉบับแพะ ๆ แกะ ๆ ของผมจึงมองว่า เชื้อสายของพ่อขุนผาเมืองคงจะได้ตั้งราชวงศ์ที่ทั้งเขมรและไทยต่างก็กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ เป็นศูนย์กลางอำนาจในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสืบทอดมาถึงพระเจ้าอู่ทองนั่นเอง หลักสำคัญประการหนึ่งของทฤษฎีนี้ คือข้อสรุปของจิตร ภูมิศักดิ์ ว่าด้วยการเรียกชาวใต้ว่า ขอม ของชาวเหนือ ซึ่งผมตีความว่า ชาวเชียงแสนในยุคเดียวกับพระนางจามเทวีคงจะเรียกชาวหริภุญชัยว่า ขอม ครั้นต่อมาชาวสุโขทัยก็เรียกผู้ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาว่าขอม

ในยุคที่ละโว้กับพระนครมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คำว่าขอมในสายตาของชาวเหนือ จึงรวมเอาเขมรไปด้วย ซึ่งก็เป็นเหตุเป็นผลไม่น้อยที่ผมเหมาว่าพระเจ้าอู่ทองท่านเป็นเชื้อสายชาวเหนือ ท่านจึงสมรสกับเชื้อสายชาวเหนือด้วยกัน (ที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าทั้งราชวงศ์สุพรรณบุรีและต้นราชวงศ์อู่ทองสืบเชื้อสายจากพระเจ้าพรหม) แถมน้องเมียของท่าน คือขุนหลวงพะงั่ว ก็ได้สมรสกับชาวสุโขทัยเสียอีก เข้าตำราการสงวนวงศ์อสัญแดหวาอย่างยิ่ง พระเจ้าอู่ทองจึงทรงเรียกเขมรว่าขอมเป็นธรรมดา ประสาชาวเหนือ

แพะและแกะจึงชนกันได้ด้วยประการฉะนี้ละครับ ท่านสารวัตร

ยังไม่เท่านั้นนะครับ อันว่าเมืองราดเมืองเดิมของพ่อขุนผาเมืองนั้น บางกระแสก็ว่าอยู่แถบนครไทย (พิษณุโลก ค่อนมาทาง เพชรบูรณ์-เลย) และยังมีที่ว่าว่าเป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมเสียอีก บางทีในยุคสุโขทัย-ต้นอยุธยา อาจมีความเชื่อว่าราชวงศ์สุโขทัยสืบทอดมาแต่พระเจ้าพรหมเช่นกัน

การค้นพบวัตถุโบราณร่วมสมัยทวารวดีในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีความประณีตบรรจงยิ่งกว่าศิลปวัตถุในยุคเดียวกันที่ค้นพบในที่อื่น แม้ตามเมืองท่า ดูจะเป็นหลักฐานบ่งชี้ความเจริญ และอำนาจที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่าที่อื่น

วัดพนัญเชิงซึ่งถูกสร้างตั้งแต่ก่อนสร้างกรุงศรีฯ ยังมีตำนานของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับพระราชทานพระราชธิดาจากพระเจ้ากรุงจีน ซึ่งผมสงสัยว่าน่าจะเป็นราชวงศ์สุพรรณบุรี เพราะในยุคต้นกรุงศรีฯ ที่กษัตริย์อยุธยาแตกคอกับทางสุพรรณบุรี เมืองจีนก็ยังรับรองกษัตริย์แห่งเมืองสุพรรณว่าเป็นอ๋อง โดยพระราชทานตราตั้งให้ แทนที่จะให้กับกษัตริย์อยุธยาซึ่งมีพระราชอำนาจมากกว่า ก็คงด้วยสนิทใจว่าเป็นญาติกันกระมัง ?

แต่ประเด็นสำคัญที่จะชี้ให้เห็นจากตำนานนี้ ก็คือพระบรมเดชานุภาพที่ยิ่งใหญ่ของกษัตริย์แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่แม้พระเจ้ากรุงจีนยังต้องเกรงใจมาตั้งแต่ก่อนตั้งกรุงศรีฯ ซึ่งก็เป็นประเด็นสนับสนุนที่ชวนให้เชื่อได้ว่าพระนครอยู่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่ก่อนสร้างกรุงศรีฯ

คุณไมเคิล ไร้ท์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าในแถบนี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลอารยะธรรมอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมหาภารตยุทธ์ หรือเทวานุภาพของพระราม แต่กลับมีแต่เพียงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่นำเอาชื่อเมืองเหล่านี้มาใช้ ในเขมรกลับไม่ใช้ ในความเห็นผม มองว่าก็ด้วยความเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจมาตั้งแต่ยุคอโยธยา พระเจ้าอู่ทองจึงทรงเฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แห่งกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ด้วยพระบรมเดชานุภาพที่สมกับพระนามและชื่อเมืองอย่างแท้จริง

นึกได้อีกตำนานที่มีนัยยะสำคัญแสดงการสู้รบอันยาวนาน ระหว่างชาวเหนือกับชาวใต้ (ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) นั้นคือ ตำนานพระร่วง ซึ่งมีอยู่หลายสำนวนด้วยกัน แต่ก็ล้วนกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงบุญญาธิการยิ่งของสุโขทัย ในยุคก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (เข้าใจว่า หลายร้อยปี) ผู้เป็นราชโอรสของกษัตริย์สุโขทัยกับนางนาค ซึ่งภายหลังเป็นผู้ที่สามารถต่อต้านขอมผู้ครอบครองได้ และเป็นที่มาของตำนานปลีกย่อยไปอีก เช่น ขอมดำดิน และการใช้ชะลอมส่งส่วยน้ำให้ขอมแทนตุ่ม

เรื่องราวที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สื่อประเด็นสำคัญของความเป็นมาในภูมิภาคนี้ในอดีต ที่บ่งชี้ความเจริญและศูนย์กลางแห่งอำนาจนั้นอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตลอด โดยแผ่อำนาจขึ้นไปทางเหนือเป็นเวลานับพันปีมาแล้ว ในขณะที่ฝ่ายเหนือก็พยายามสู้รบ ต่อต้านมาโดยตลอดเช่นกัน จนมารวมกันได้ติดอย่างแท้จริงในสมัยอยุธยา (ผนวกสุโขทัย) และยุครัตนโกสินทร์ (ผนวกล้านนา) และความพยายามในการรวมดินแดนแถบเหนือและใต้ (ลุ่มน้ำเจ้าพระยา) ก็มีมาโดยตลอดพันปีเช่นกัน ดูจากตำนานต่าง ๆ ที่ล้วนอ้างสิทธิความชอบธรรม ในราชสมบัติของอาณาจักรฝ่ายเหนือ จากความเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขราชวงศ์ฝ่ายเหนือของผู้ครองบัลลังก์ฝ่ายใต้ จนดูจะพัฒนาเป็นราชประเพณีสำคัญของราชสำนักไป แม้ในยุครัตนโกสินทร์เองก็มีหนังสือ "อภินิหารบรรพบุรุษ" ที่กล่าวถึงการสืบราชวงศ์จักรีมาแต่ราชวงศ์พระร่วง

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์อารยะธรรมต่าง ๆ ก็ดูมีเค้ามูลความเป็นไปได้อยู่มากเช่นกัน เช่น จีนที่ถูกมองโกลรุกราน แต่กลับกลืนผู้ครอบครองให้กลายเป็นจีนไป หากความเจริญและร่ำรวยที่ยาวนานก็สร้างความอ่อนแอให้กับระบบ จนทำให้ผู้ที่เคยอยู่ใต้การปกครองลุกขึ้นมาต่อต้าน แล้วกลับกลายเป็นผู้ปกครองได้ หากผู้ปกครองใหม่ย่อมถูกดึงดูดให้ไปอยู่ที่ที่เป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริงเพื่อประโยชน์ในการปกครองและเศรษฐกิจ ด้วยอารยธรรมที่เข้มแข็งกว่า หรืออาจผสมด้วยนโยบายทางรัฐศาสตร์ที่ต้องการสร้างความกลมกลืน เป็นเหตุให้ราชวงศ์ใหม่กลายเป็นขอมไปด้วย ตำนานที่เล่าสืบกันมาแต่โบราณจึง อาจเป็นเค้าเงื่อนที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมาในอดีตอย่างเที่ยงตรงกว่า การสร้างทฤษฎีของนักวิชาการบางท่านด้วยซ้ำไป

ดังนั้นจากแนวคิดนี้เราจึงเห็นความเป็นขอมที่ไม่ใช่เขมร หากเป็นคำเรียกชนกลุ่มหนึ่ง โดยชนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ทั้งผู้เรียกและผู้ถูกเรียก เมื่อ ๑,๐๐๐ ปีก่อนก็จะเป็นคนละกลุ่มกับในเวลา ๕๐๐ ปีต่อมา ยิ่งไปกว่านั้นความเป็นไทยในปัจจุบัน จึงมีที่มาอันหลากหลายและกว้างขวางยิ่งจนไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ปราสาทหินและวัตถุโบราณแบบขอมที่เราพบอยู่เกลื่อนกลาดในภูมิภาคนี้ คือมรดกของไทยอันชอบธรรม ฉะนั้นจงช่วยกันไปตีเอาเขาพระวิหารคืนจากเขมรกันเถิด ไชโย !?!

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนเก่า : 14-05-2009 เมื่อ 09:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 13-05-2009, 17:54
ทิดตู่ ทิดตู่ is offline
สมาชิกยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 168
ได้ให้อนุโมทนา: 27,852
ได้รับอนุโมทนา 47,500 ครั้ง ใน 1,464 โพสต์
ทิดตู่ is on a distinguished road
Default

๕๕๕ ถ้าอย่างนั้นต้องเชิญพี่คนเก่า และคลังวัตถุมงคลมหาสมบัติของพี่ นำทัพไปตีเอาเขาพระวิหารสมบัติของชาติเรากลับมาแล้วครับ ผมจะระวังหลังให้ครับ ๕๕๕
__________________
๑۩۞۩๑ ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่าน ๑۩۞۩๑
ช่วยกันใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง และโปรดหลีกเลี่ยงการนำภาษาพูดมาใช้เป็นภาษาเขียนด้วย

ขอเชิญร่วมบุญธรรมทานเว็บไซต์"วัดท่าขนุน"
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ทิดตู่ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 14-05-2009, 01:01
สายท่าขนุน สายท่าขนุน is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 759
ได้ให้อนุโมทนา: 160,001
ได้รับอนุโมทนา 133,090 ครั้ง ใน 5,305 โพสต์
สายท่าขนุน is on a distinguished road
Wink

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Tidtou อ่านข้อความ
๕๕๕ ถ้าอย่างนั้นต้องเชิญพี่คนเก่า และคลังวัตถุมงคลมหาสมบัติของพี่ นำทัพไปตีเอาเขาพระวิหารสมบัติของชาติเรากลับมาแล้วครับ ผมจะระวังหลังให้ครับ ๕๕๕
มาเสนอหน้าเป็นกองเชียร์ เชียร์เต็มที่
แต่แวบ ๆ ว่าเคยได้ยินหลวงพี่เล็กกล่าวว่า แถวรอบ ๆ ข้างบ้านนี้ญาติกันทั้งนั้น
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน
ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว...
กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน

อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ
กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 14-05-2009, 11:13
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,280 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default

กราบขอบพระคุณท่านพี่ และขอบคุณคุณตัวเล็กครับ

ขอเพิ่มเติมเนื้อหาว่าหลังจากได้อ่าน พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ ราชบุรีกถา ตำนานขุนไท ของหลวงปู่อ่ำแล้วก็กระจ่างชัด เกิดความเข้าใจว่า

๑. เมืองราดของพ่อขุนผาเมืองคือราชบุรี และมีความเกี่ยวเนื่องกับตำนานพระยากง-พระยาพาน และชื่อเมืองนครไชยศรี

๒. ขอมกับไทเป็นญาติสนิท ดั้งเดิมจริง ๆ ขอมเป็นครู (คล้ายวรรณะพราหมณ์) เป็นผู้รวบรวมศิลปศาสตร์ต่าง ๆ ไว้ รวมทั้งเป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์อักษรต่าง ๆ

๓. บรรพบุรุษของเรามีอักขระ ๒ ชุด อักขระชุดที่พัฒนามาเป็นอักษรไทยทุกวันนี้ เป็นชุดที่ใช้สื่อสารทั่วไป ส่วนอักษรขอมใช้บันทึกศิลปวิทยาการต่าง ๆ ครั้นบังเกิดพระพุทธศาสนาก็ใช้บันทึกพระธรรมจนบางท้องถิ่นพัฒนาและเรียกเป็นอักษรธรรม วัฒนธรรมการเคารพในธรรม ระมัดระวังแม้กับอักษรตัวหนังสือนี้ ครั้งคนเก่ายังเด็กยังพบเห็นสัมผัสการกราบไหว้หนังสือเป็นปกติ คนเก่ายังถูกสอนให้กราบขอขมาทันทีหากบังเอิญเท้าไปสัมผัสถูกหนังสือเข้า

๔. ผู้คนแถบเขมรโบราณเดิมเป็นชาวป่า ที่ขุนเทียนเกิดพบรักกับธิดาหัวหน้าเผ่า บังเกิดเป็นต้นตำนานพระทองกับนางนาค หรือพราหมณ์โกญฑัญญะกับธิดาพญานาค ต้นกำเนิดชาติเขมร แล้วจึงนำวิทยาการต่าง ๆ ไปสอนกระทั่งชาวเขมรเกิดวัฒนธรรมต่าง ๆ คล้ายวัฒนธรรมไท-ไทยมาก แม้กระทั่งอักษรก็นำอักขระขอมของไท-ไทยไปใช้

๕. ชาวอินโดนีเซียโบราณที่พบหลักฐานโบราณคดีว่าใช้วัฒนธรรมคล้ายขอมก็มีที่มาจากยุคสุวัณณภูมิ-ศรีวิชัยที่บรรพบุรุษชาวไท-ไทยแผ่อำนาจไปถึง นำวิทยาการต่าง ๆ ไปสั่งสอนชาวป่าท้องถิ่นไว้จนพัฒนาเป็นระบบสังคมที่ซับซ้อนเหมือนต้นตำรับ ยังปรากฎร่องรอยแม้ทุกวันนี้เช่นการกราบไหว้บูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของชาวบาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรียกขานเทพเจ้าแห่งข้าวว่า เทวีศรี (แม่ศรี ?) ฮิ ๆ ศาสนาอื่นก็ครอบงำไม่ได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-04-2010 เมื่อ 03:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 14-05-2009, 12:20
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,280 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default

ขอคัดลอกเนื้อความในเอกสารประกอบการสร้างพระผงว่านอุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ รุ่นทำบุญครบ ๑๐๘ ปี ขุนพันธ์ฯ มาประกอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ

เริ่มสร้างเจดีย์ทรงศรีวิชัย

ในราวปี พ.ศ. ๒๗๒ พระโอรสสองพี่น้องของพระเจ้าตะวันอธิราช เจ้าผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ (จังหวัดนครปฐมราชบุรีและเพชรบุรีในปัจจุบัน) คือ เจ้าเดือนเด่นฟ้าและเจ้าดาวเด่นฟ้า ผู้จดจารึกกระเบื้องจาร จากคำพยากรณ์ของพระโสณะมหาเถระ (หัวหน้าพระอรหันต์ที่มาเผยแพร่ศาสนาครั้งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ) ในคำโสณะพยากรณ์ได้กล่าวไว้ว่าสุวรรณภูมิจะถึงกาลอวสานในภายภาคหน้า และจะได้เมืองหลวงใหม่ชื่อว่าศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ซึ่งต่อมาเมืองนั้นก็คือเมืองช้างค่อมศิริธัมมราช และก็กลายเป็นเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบันนั่นเอง จากคำพยากรณ์ทำให้เจ้าเดือนเด่นฟ้าและเจ้าดาวเด่นฟ้าเดินทางมายังเมืองช้างค่อมและได้สร้างบ้านเรือน ก่อตั้งกองทัพเรือและโรงเรียนนายเรือ โดยมีชาวชวากะชนพื้นเมืองเดิมเป็นกำลังช่วยเหลือ จนได้มาค้นพบเนินดินอันเป็นที่ฝังพระบรมธาตุ จึงสร้างพระเจดีย์ทรงศรีวิชัยคร่อมเนินดินไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาเป็นต้นมา

จากตำนานที่ได้ถูกค้นพบในกระเบื้องจาร ที่มีชาวบ้านขุดพบในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพชรบุรี ราชบุรี และในอีกหลายๆ จังหวัดของประเทศไทย ได้มีการกล่าวถึงประวัติของเมืองศรีวิชัยสุวรรณภูมิหรือเมืองช้างค่อมศิริธัมมาราชในอดีต ที่มาขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ตำนานของต้นกำเนิดของพระสงฆ์ไทยซึ่งเป็นพระอรหันต์สมัยแรกของประเทศไทย และตำนานของพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับการบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ในทุกๆ รอบ ๗๐๐ ปี จนได้กลายมาเป็นตำนานแห่งอาถรรพ์ลึกลับ เชื่อมโยงกาลเวลากับการบูรณะให้เป็นอัศจรรย์ปรากฏแก่ชาวพุทธ ซึ่งจะได้กล่าวดังต่อไปนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนเก่า : 14-05-2009 เมื่อ 15:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 14-05-2009, 12:22
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,280 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default

การบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ครั้งที่ ๑ ประมาณปีพ.ศ.๑๐๒๖ – ๑๐๔๐ (หลังสร้างมาได้ประมาณ ๗๐๐ ปี)

ในขณะนั้นกษัตริย์ผู้ปกครองสุวรรณภูมิ (ดินแดนนับตั้งแต่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี เรื่อยลงมาจนสุดแหลมมาลายู) คือ พระเจ้าจันทรภานุ มีพระบารมีบุญญาธิการมาก ได้แผ่อำนาจขยายอาณาเขตออกไปถึงประเทศอินเดีย ไม่ยอมกลับมาสุวรรณภูมิเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี พระโอรสสองพี่น้องของพระเจ้าจันทรภานุ คือ ขุนอินไสเรนทรและขุนอินเขาเขียวเห็นบ้างเมืองทรุดโทรมลง ขาดกษัตริย์ปกครอง จะตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์แทนบิดาก็ไม่ได้ จึงร่วมกันย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองช้างค่อมศิริธัมมาราช เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าศรีวิชัยสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. ๑๐๔๐ ตรงตามคำทำนายของพระโสณะมหาเถระ

ในฐานะที่ท่านเป็นปฐมกษัตริย์ของเมืองศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ได้สร้าง ขยายเมือง และซ่อมแซมบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ที่เริ่มทรุดโทรมลงเป็นครั้งแรกร่วมกับชาวชวากะชนพื้นเมืองเดิมด้วย ด้วยคุณงามความดีของพระโอรสสองพี่น้องหลังจากที่ได้สิ้นประชนม์ลง ประชาชนทั้งหลายจึงได้ยกย่องให้เป็นเสื้อเมืองและทรงเมือง มีฐานะเป็นเทวดาประจำเมือง และเรียกพระนามของท่านทั้งสองว่า " ท้าวจัตตุคาม " และ " ท้าวรามเทพ " ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

(หมายเหตุ ถ้าจำไม่ผิด เคยได้ยินพระอาจารย์เล่าว่า จตุคามรามเทพคือคู่พระเจ้าจันทรภานุกับขุนหาญบุญไทย)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนเก่า : 14-05-2009 เมื่อ 16:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 14-05-2009, 12:23
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,280 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default

ด้านหน้า ประกอบด้วยรูปแบบและความหมาย

..........................
..........................

๗. รอบองค์พระสาวก เหนือตัวนะครอบจักรวาลเป็นชื่อกำกับพระสาวก ดังนี้

๗.๑ พระปุณณมหาเถระ อรหันต์ไทยองค์แรก ที่ได้ไปรับเอหิภิกขุจากพระบรมศาสดา ณ กรุงสาวัตถี เมื่อวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ พุทธพัสสา ๑๙ ได้ชื่อว่า ปุณณเถระ ศึกษาอยู่ ๓ ปี จึงกลับมา สูนาปรันตพริบพรี ในพุทธพัสสา ๒๑ ตรงศักราชปีโลที่ ๑๑๖๖ ได้นำพระศาสนาเผยแพร่ที่สุวรรณภูมิพร้อมด้วยพระสาวก ๔๔๙ รูปถึงสุวรรณภูมิเมื่อวันขึ้น ๘ ค่ำเดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๒

๗.๒ พระสัจจะพันธะมหาเถร อรหันต์ไทยรูปที่ ๒ ที่ได้รับเอหิภิขุจากพระศาสดา เป็นรูปแรกในประเทศไทย เขาสัจจะพันคีรี จังหวัดสระบุรีและได้ทูลขอรอยตีนพุทธ ไว้ที่เขาสัจจะพันคีรี (พระพุทธบาท สระบุรี)

๗.๓ พระโสณมหาเถร พระอุตตรมหาเถร พระฌานียมหาเถร พระภูริยมหาเถร พระมูนียะมหาเถร พระอรหันต์ทั้ง ๕ รูปนี้เป็นชุดสมณทูตที่พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งมาเผยแพร่พระศาสนาสายที่ ๘ ถึงเมืองนครศรีธรรมราช แวะพักอยู่ระยะหนึ่งจึงเดินทางต่อมายังสุวรรณภูมิเมื่อ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๕ ปีฉลู

๗.๔ พระญาณจรณมหาเถระ เดิมชื่อ ทองดำ พระโสณเถระเป็นพระอุปัชฌาชย์ พระอุตตระเถระสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาต่อมาเป็นพระสังฆราชองค์แรกของสุวรรณภูมิ

๗.๕ พระกัจจายนะเถระ เดิมชื่อผิว เป็นพระสงฆ์ไทยที่ไปช่วยพระโสณะเผยแพร่ศาสนาในอินโดนีเซีย (จอกตากอ) และอยู่ชวาช่วยขุนลตูสุวาเทียนสร้างวัดพุทธภูมิจนเสร็จ

๗.๖ พระธัมมสุนันทโธ เป็นโอรสของพระเจ้าโลกลว้ากับนางหวานชื่นใจ บวชเป็นสามเณรรูปแรกของไทย เมื่อขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๔ พ.ศ. ๒๓๖ สามารถท่องพระไตรปิฎกจบภายในระยะเวลา ๘ เดือน ต่อมาเป็นสังฆราชองค์ที่ ๒ ของไทย เมื่อ พ.ศ. ๓๑๔

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนเก่า : 14-05-2009 เมื่อ 15:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 14-05-2009, 12:24
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,280 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default

ด้านหลัง ประกอบด้วยรูปแบบและความหมาย

๑. ตรงกลางมีวงกลม ภายในวงกลมมีชื่อ ทัพไทยทอง เป็นตัวหนังสือแบบที่จดจารลงบนกระเบื้อง หมายถึง พระเจ้าทัพไทยทอง เป็นกษัตริย์ที่ครองสุวรรณภูมิ เมื่อศักราชปีโล ๑๑๑๒ และเสด็จไปเวฬุวันเฝ้าพระพุทธเจ้า รับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เปลี่ยนชื่อจากเมืองทองไทยลว้าเป็นสุวัณณภูมิและสร้างวัดแรกในไทยชื่อ วัดปุณณาราม

๒. ภายในวงกลมรอบนอกที่ ๒ มีอักขระชื่อ ขุนสรวง ขุนนางสาง กลายร่างมาจากภัสสรเทพมหาพรหม หลังจากชิมง้วนดินแล้วเป็นต้นตระกูลไทยมีลูกหลานสืบมา

- อักขระชื่อ ขุนไทยแก้ว ขุนหญิงแก้วขวัญฟ้า เป็นชื่อของผู้มีหน้าที่เป็นเจ้าทะเล และแม่ย่านางเรือ ดูแลคนไทยในทะเลมาตั้งแต่ปลายยุคพุทธันดรที่ ๒ น้ำท่วมโลก (เป็นเรื่องตามตำนานของไทยที่เชื่อถือกันมาในอดีต)

- อักขระชื่อ ขุนอินเขาเขียว ขุนหญิงกวักทองมา เป็นชื่อของต้นครูไทย มีลูกชาย ๑๓ คน ครองเมือง ๑ คน อีก ๑๒ คน มีชื่อตามนามปี มีลูกหญิง ๗ คน มีชื่อตามนามวัน บรรดาลูกชายหญิงของท่านทั้ง ๒ ต่างก็คิดวิธีทำมาหากินเพื่อดำรงชีพจนกลายเป็นต้นตระกูลไทยในสายวิชาต่างๆ สืบมา

๓. ภายในวงกลมที่ ๓ เป็นเปลวเพลิง และรัศมีสั้นยาวสลับกัน เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระเจ้าตะวันอธิราช กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของสุวรรณภูมิ และทำนุบำรุงพระศาสนาจนตั้งมั่นยืนยาวถึงปัจจุบัน

๔. รอบรัศมีดวงอาทิตย์ มีอักขระ ๘ ตัว เป็นหัวใจพาหุงทั้ง ๘ บท เป็นบทสวดบวงสรวงสมโภชอนุโมทนา เพื่อให้เทวดาบนสรวงสวรรค์เพื่อประกาศถึงความสำเร็จ

๕. ระหว่างรัศมีพระอาทิตย์ มีวงกลมล้อมรอบดวงอาทิตย์ ๘ ดวง แทนองค์เจ้าดาวเด่นฟ้าและเดือนเด่นฟ้า โอรส ๒ พี่น้องของพระเจ้าตะวันอธิราช เปรียบเสมือนดาวนพเคราะห์ที่หมุนรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์ตามระบบสุริยะจักรวาลและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด ระยะเวลาแห่งกาลเวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไปเพื่อให้ทุกชีวิตที่เกิดมาได้มีโอกาสสร้างความดีและความชั่วตามขันธสันดานของแต่ละบุคคล

๖. ภายในวงกลมทั้ง ๘ ดวง เป็นหัวใจอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องประสบทุกคน และอักขระอีก ๔ ตัว เป็นธาตุทั้ง ๔ ของมนุษย์ ที่อาศัยดำรงชีวิตบนดาวนพเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล เพราะมนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดตามวัฏจักร ตราบใดที่ยังไม่บรรลุธรรม

๗. ระหว่างดวงดาวทั้ง ๘ ดวง เป็นที่ว่างเปรียบเสมือนท้องฟ้าอันเป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ชื่อของบรรดาขุนชาย ขุนหญิงที่มีพระคุณต่อแผ่นดินและลูกหลานไทย ตามรายชื่อและประวัติดังนี้ จากซ้ายมือด้านปีชวดตามเข็มนาฬิกา

๗.๑ ขุนลือต้นไทยทอง ขุนหญิงโพสพ ครองสุวรรณภูมิ เมื่อศักราชปีอินที่ ๑๔๐๒ ในสมัยของท่านทั้ง ๒ ได้คิดพิธีทำขวัญข้าว บวงสรวงเกี่ยวกับพืช และคิดค้นการเพาะปลูก การทำนาปลูกข้าวให้เป็นระบบ และการเก็บเข้ายุ้งฉาง เมื่อตายไปพระมเหสีคนนับถือเป็นเจ้าแม่โพสพ

๗.๒ ขุนสือไทยและขุนขอมฟ้าไทย ครองสุวรรณภูมิเมื่อศักราชปีอินที่ ๑๒๑๕ ทั้ง ๒ ท่านช่วยกันคิดลายสือไทยและลายสือขอม เป็นครั้งแรก ส่วนขุนหญิงไทยงามเป็นมเหสีของขุนสือไทย คิดการทอผ้าดอก ผ้ายก ลายสือ ลายนกคู่ มีมาในแผ่นดินไทยนับพันปี เป็นต้นครูทอผ้า

๗.๓ พระเจ้าโลกลว้า พระนางก้านตาเทวี ครองสุวรรณภูมิเมื่อศักราชปีโลที่ ๑๔๑๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๒๐ (พระบิดาของพระเจ้าตะวันอธิราช) เป็นผู้รับสมณทูตทั้ง ๕ รูป ที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งมาเผยแพร่ศาสนาหลังจากสังคายนาแล้ว เป็นกษัตริย์ไทยที่ให้มีพิธีกฐิน ถวายกฐินเป็นพระองค์แรกและพิธีจุลกฐินก็มีขึ้นในสมัยของท่านเป็นครั้งแรก กลายเป็นประเพณีสืบมาและในสมัยของท่าน มีการส่งพระภิกษุสงฆ์ของไทยไปศึกษาที่ประเทศอินเดีย ๑๑ รูป สามเณร ๓ รูป

๗.๔ พระเจ้าตะวันอธิราช พระนางสิริงามตัวเทวี ครองสุวรรณภูมิเมื่อ พ.ศ.๒๔๕ ในสมัยของท่านนอกจากการเสริมสร้างโรงเรียนและกองทัพบ้านเมืองแล้ว ยังส่งเสริมให้พระสงฆ์เรียนการสวด"สาธยายพระไตรปิฎก"เรียนสวดสังโยคมีการปั้น ให้ปั้นพระพุทธรูปตั้งเป็นพระประธาน ณ ศาลา นำวิธีการกราบพระ ตั้งนะโม การสวดคณะสัชฌายสังคีติ คือ สังคีตีสาธยายเป็นคณะจัดให้มีการไหว้พระสวดมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ และในพิธีการต่างๆ เช่นการถวายพรพระอนุโมทนาวิธี โกนจุก ทำบุญอายุ พิธีการศพ เช่น สวดมาติกา สวดอภิธัมม ๗ พระคัมภีร์ และสวดหน้าไฟ โดยมีพระโสณมหาเถระ เป็นผู้นำฝึกสอน และพระเจ้าตะวันอธิราชเป็นผู้วางระเบียบให้เป็นประเพณีไทย จึงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

๗.๕ พระเจ้าเดือนเด่นฟ้าอธิราช ครองสุวรรณภูมิเมื่อปี พ.ศ. ๓๐๕ พระโอรสของพระเจ้าตะวันอธิราช เดือนเด่นฟ้าและดาวเด่นฟ้าได้ช่วยกันวางรากฐานทางศาสนา ดูแลพระสมณทูตตลอดเวลา ช่วยในการจดจารจารึกเรื่องราวคำสอน พิธีการ และเรื่องของบ้านเมือง ท่านทั้งสองได้สร้างวัดหลายวัด เช่น สร้างวัดพระธาตุเจดีย์ที่เมืองช้างค่อมแล้วให้ชื่อว่า นครธัมมราช นิมนต์พระมูนียะไปอยู่ช่วย

- สร้างวัดพระธาตุและวัดดงสัก ที่เมืองนองทอง (กาญจนบุรี) นิมนต์พระอุตตรไปอยู่ช่วย
- สร้างวัดพระธาตุ ที่เมืองเถือมทอง (นครปฐม) นิมนต์พระภูริยะไปอยู่ช่วย
- สร้างวัดพระธาตุ เมืองอู่ทองและวัดป่าเรไร (สุพรรณบุรี) นิมนต์พระอุตตรไปอยู่ช่วย
- นำศาสนาไปเขมร สร้างวัดพระธาตุ นิมนต์พระภูริยะไปอยู่ช่วย เมื่อวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๘๒
- สำหรับนครศรีธรรมราชนั้น นอกจากสร้างวัดพระธาตุแล้วยังสร้างโรงเรียนนายเรือ และตั้งกองทัพเรือใหญ่เพื่อสะดวกในการดูแลอาณาประเทศทางทะเลใต้ได้ทั่วถึง

๗.๖ ขุนจัทรภาณุครองสุวรรณภูมิ พ.ศ. ๑๐๐๐ เมื่อถึง พ.ศ. ๑๐๑๘ มอบเมืองให้อนุชาชื่อขุนหาญบุญไทยอยู่รักษาเมืองแล้วยกทัพไปชมพูทวีป (อินเดีย) ถึง พ.ศ. ๑๐๒๐ ไปเป็นมหาราชในอินเดีย หลังจากนั้นเพียง ๒ - ๓ ปี ขุนอินไสเรนทร ลูกขุนจันทรภาณุคงจะนึกไปถึงคำโสณทำนายชะตาบ้านเมืองของสุวรรณภูมิ จึงมีความเห็นว่าควรย้ายเมืองและผู้คนไปเมืองธัมมราช (นครศรีธรรมราช) เพราะชอบดินฟ้าอากาศ ขุนหาญบุญไทยผู้เป็นอาคัดค้าน ให้รอขุนจันทรภาณุกลับมาก่อน ขุนอินไสเรนทรไม่ฟังคำ จึงพาผู้คน ๒,๐๐๐ ไปสร้างเมืองใหม่ที่เมืองธัมมราชเมื่อ พ.ศ. ๑๐๒๓ และให้ชื่อว่า ศิริธัมมราช หรือศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ครั้น พ.ศ.๑๐๒๖ สร้างเมืองเสร็จกลับมาอพยพ เอาแม่และน้อง ขุนอินเขาเขียวพร้อมพลเมืองอีก ๑๕,๐๐๐ คนไปอยู่ที่ศรีวิชัยสุวรรณภูมิ เมื่อขุนจันทรภาณุกลับมาก็ลงมาอยู่ที่ศิริธัมมราชด้วย สุวรรณภูมิหมดกษัตริย์ หลังจากนั้นขุนจันทรภาณุกลับไปเยี่ยมสุวรรณภูมิพร้อมขุนหญิงทองสีมา มเหสีอีกครั้ง เมื่อวันขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๖ ปี พ.ศ. ๑๐๒๗ จากข้อความในกระเบื้องจารจารึกขุดได้ที่ตำบลท่าเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่าในปี พ.ศ. ๑๔๑๐ ขุนอินไสเรนทรครองศรีวิชัยสุวัณณภูมิ แสดงว่าเมื่อ พ.ศ. ๑๔๑๐ นครศรีธรรมราชยังใช้ชื่อ ศรีวิชัยสุวัณณภูมิ

๗.๗ ขุนหาญบุญไทย ครองสุวรรณภูมิ พ.ศ. ๑๐๓๐ - ๑๐๓๕ สร้างเมืองใหม่ย้ายมาจากสุวรรณภูมิเดิมมาตั้งที่หน้าเขางูและสร้างวัดสี่มุมเมืองบรรจุพระธาตุ ทิศตะวันออกสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ทิศเหนือสร้างวัดพระธรรมเจดีย์ ทิศใต้สร้างวัดพระพุทธเจดีย์ ทิศตะวันตกสร้างวัดอรัญญิกาวาส วัดนี้มีเจดีย์หินแกรนิตบนเจดีย์สลักหินรูปพญาราหูอมจันทร์รอบ สร้างเสร็จ พ.ศ. ๑๐๓๕

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนเก่า : 14-05-2009 เมื่อ 16:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 14-05-2009, 12:25
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,280 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default

หลังจากสุวรรณภูมิเสื่อมอำนาจ เกิดเมืองใหม่ขึ้นอีก ๓ เมือง เป็น ๓ ก๊กไทย
- พ.ศ. ๑๐๒๓ - ๑๐๒๖ ศรีวิชัยธัมมราช (นครศรีธรรมราช) ขุนอินไสเรนทรสร้าง
- พ.ศ. ๑๐๓๐ - ๑๐๓๕ ราชพลี (สุวัณณภูมิ) ขุนหาญบุญไทยสร้าง
- พ.ศ. ๑๑๑๒ - ๑๑๒๒ ไทยทวาลาว (เถือมทองนครปฐม) ขุนฟ้าเมืองไทยสร้าง

ต่อมาทั้ง ๓ เมืองได้มีการรบกันหลายครั้งในชั้นหลังและเมื่อ พ.ศ. ๑๗๒๐ ขุนศรีเฉลิมฟ้า ครองไทยทวาลาวไม่ยอมเสียค่าขวัญเมืองแก่ขุนราชพลี ปีละ ๑,๐๐๐ ตำลึง จึงเกิดรบกัน ขุนศรีเฉลิมฟ้าปราชัยและสิ้นชีพ

- พ.ศ. ๑๗๒๐ - ๑๗๒๑ ขุนศรีนาวนำถมครองไทยทวาลาวต่อจากขุนศรีเฉลิมฟ้า เกรงอิทธิพลและการทวงค่าขวัญเมืองของขุนราชพลีจึงอพยพขึ้นไปทางเหนือถึงถิ่นแดนสระหลวง ริมแม่น้ำสมพาย (แม่น้ำสำพัน) ตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า สุโขทัย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #10  
เก่า 14-05-2009, 15:55
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,280 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default

กราบขอบพระคุณท่านพี่เป็นอย่างสูงขอรับ

อยากชี้ให้สังเกตคำว่า ละว้า ลว้า ลัวะ ละโว้ ลว ลาว เหล่านี้ล้วนมีที่มาจากรากศัพท์เดียวกันอันมีความหมายเป็นชาติเชื้อไท หลวงพ่อเคยกล่าวชมนักวิชาการที่ตั้งข้อสังเกตนี้ไว้ ซึ่งเท่าที่ทราบก็มี จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นต้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนเก่า : 14-05-2009 เมื่อ 16:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #11  
เก่า 14-05-2009, 16:00
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,280 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ คนเก่า อ่านข้อความ
หลังจากสุวรรณภูมิเสื่อมอำนาจ เกิดเมืองใหม่ขึ้นอีก ๓ เมือง เป็น ๓ ก๊กไทย
- พ.ศ. ๑๐๒๓ - ๑๐๒๖ ศรีวิชัยธัมมราช (นครศรีธรรมราช) ขุนอินไสเรนทรสร้าง
- พ.ศ. ๑๐๓๐ - ๑๐๓๕ ราชพลี (สุวัณณภูมิ) ขุนหาญบุญไทยสร้าง
- พ.ศ. ๑๑๑๒ - ๑๑๒๒ ไทยทวาลาว (เถือมทองนครปฐม) ขุนฟ้าเมืองไทยสร้าง

ต่อมาทั้ง ๓ เมืองได้มีการรบกันหลายครั้งในชั้นหลังและเมื่อ พ.ศ. ๑๗๒๐ ขุนศรีเฉลิมฟ้า ครองไทยทวาลาวไม่ยอมเสียค่าขวัญเมืองแก่ขุนราชพลี ปีละ ๑,๐๐๐ ตำลึง จึงเกิดรบกัน ขุนศรีเฉลิมฟ้าปราชัยและสิ้นชีพ

- พ.ศ. ๑๗๒๐ - ๑๗๒๑ ขุนศรีนาวนำถมครองไทยทวาลาวต่อจากขุนศรีเฉลิมฟ้า เกรงอิทธิพลและการทวงค่าขวัญเมืองของขุนราชพลีจึงอพยพขึ้นไปทางเหนือถึงถิ่นแดนสระหลวง ริมแม่น้ำสมพาย (แม่น้ำสำพัน) ตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า สุโขทัย
ตรงนี้แหละครับ ที่หลวงปู่อ่ำท่านบอกไว้ว่าเป็นที่มาของตำนานพระยากง-พระยาพาน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #12  
เก่า 14-05-2009, 16:35
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,280 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default

ศึกษาแล้วยังหาร่องรอยรูปต่อที่ลงตัวระหว่างเนื้อหาในสุวัณณภูมิปกรณฯ กับเรื่องราวที่หลวงพ่อเล่าไว้บางเรื่องไม่ได้ เช่น

เรื่องของเชื้อสายพระเจ้าพรหมที่ลงมาครองเมืองสำคัญทางใต้สืบทอดราชวงศ์เชื้อสายเชียงแสน หลังถูกพวกไทยใหญ่รุกราน

พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ผู้ทรงบุญญาธิการใหญ่ พระเจ้ากรุงจีนยกพระธิดาให้ และสามารถประกาศลบศักราชได้

หรือเรื่องของพระนางจามเทวี เจ้าหญิงแห่งละโว้กับพระสวามี พระเจ้ารามราช

ฝากท่านทิด อ่านสุวัณณภูมิปกรณฯไป ลองพิจารณาไปด้วยนะครับ ได้ความอย่างไรขอมาเล่าสู่กันฟังบ้าง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนเก่า : 18-05-2009 เมื่อ 15:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:24



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว