กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 13-12-2014, 07:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,152 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า เอาความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา พยายามให้จิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก อย่าให้ขาดได้ ส่วนคำภาวนานั้น จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดและเคยชินมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ความจริงเป็นการปฏิบัติธรรมประจำเดือนธันวาคม แต่เนื่องจากวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์แรกของเดือนธันวาคมนั้น ทางวัดท่าขนุนมีงานบวชปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงต้องเลื่อนวันสอนกรรมฐานขึ้นมาเป็นอาทิตย์นี้

สำหรับในการปฏิบัติของเรานั้น ที่พบมามากต่อมากเลยก็คือ เมื่อปฏิบัติแล้ว ไม่สามารถที่จะรักษาอารมณ์ใจให้ต่อเนื่องได้ พูดง่าย ๆ ว่า เวลานั่งภาวนาแล้ว พอเปลี่ยนอิริยาบถลุกขึ้นหรือไปทำสิ่งอื่น ก็จะหลุดจากการภาวนาไปเลย ไม่สามารถที่จะรักษาอารมณ์เอาไว้ให้ต่อเนื่อง ดังนั้น..จึงหาความก้าวหน้าในการปฏิบัติได้ยาก

อีกประเภทหนึ่งก็คือพออารมณ์ใจทรงตัวแล้ว เกิดความปีติ อิ่มอกอิ่มใจ ชุ่มชื่นเยือกเย็นใจ ที่จิตสงบจากกิเลสชั่วคราว แต่ไม่ทราบว่าตนเองทำได้อย่างไรสภาพจิตจึงเป็นอย่างนั้น เมื่อเสวยผลไปจนหมด รัก โลภ โกรธ หลง เข้ามากลุ้มรุมตนเองใหม่ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปสู่อารมณ์สงบได้อย่างเดิมอีก ซึ่งความจริงแล้วถ้าเรารู้จักพิจารณาว่า ก่อนที่จิตของเราจะสงบนั้น เราคิดอย่างไร ? พูดอย่างไร ? ทำอย่างไร ? อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ? แล้วเราก็ย้อนกลับไปคิดอย่างนั้น พูดอย่างนั้น ทำอย่างนั้น อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบนั้น เราก็สามารถที่จะสร้างกำลังใจคืนมาได้อีก

อีกประเภทหนึ่งก็คือ เมื่อปฏิบัติไปแล้วกำลังสมาธิสูง กดใจของตัวเองให้สงบจากกิเลสคือ รัก โลภ โกรธ หลง ได้เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะได้เป็นอาทิตย์ เป็นครึ่งเดือน เป็นเดือน เป็นหลาย ๆ เดือน แล้วเกิดความประมาท ไม่ทราบว่าอาการนี้คืออาการที่กำลังของสมาธิกด รัก โลภ โกรธ หลง ให้สงบลง ไปเข้าใจว่าตนเองได้มรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าหากว่ามีแรงกระทบเข้ามา เกิดความขุ่นมัว เกิด รัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมาอีก จึงได้รู้ตัวว่าที่แท้ตนเองยังไม่ได้อะไรเลย

ดังนั้น..นักปฏิบัติที่ดีนั้น ไม่ควรที่จะไปปักใจมั่นว่าตนเองได้อะไรแล้ว หากแต่กติกาความเป็นพระอริยเจ้ามีอย่างไร ก็ให้ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติไป ไม่ต้องไปใส่ใจว่าทำแล้วได้อะไร ทำแล้วได้ถึงไหน ถ้าหากว่าได้จริง อารมณ์ใจทรงตัวจริง ก็จะอยู่กับเราไปนานแสนนาน แต่ถ้าไม่ได้จริง เมื่อพบแรงกระทบ เดี๋ยวก็จะพังไปเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-12-2014 เมื่อ 09:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 15-12-2014, 10:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,152 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลำดับต่อไปที่พบมาก็คือ เมื่อภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ไม่ได้คิดพิจารณาในวิปัสสนาญาณต่อ ตรงจุดนี้จะเป็นทุกข์เป็นโทษใหญ่แก่ตนเอง เนื่องจากสภาพจิตของเราเมื่อคลายออกจากสมาธิมา ก็ย่อมไปแสวงหาที่อื่นเป็นที่ยึดเกาะและเสวยอารมณ์ เมื่อเราไม่หาสิ่งที่ดี ๆ คือวิปัสสนาญาณต่าง ๆ ให้พิจารณา สภาพจิตก็จะไปไขว่คว้า รัก โลภ โกรธ หลง มาเอง

เมื่อถึงเวลานั้นก็จะฟุ้งซ่านไปกับ รัก โลภ โกรธ หลง อย่างรุนแรงและน่ากลัว เนื่องจากได้กำลังของสมาธิไปช่วยในการฟุ้งซ่าน ทำให้หยุดยั้งได้ยาก หักห้ามได้ยาก เพราะว่าอกุศลกรรมมีกำลังสูงกว่าเสียแล้ว ดังนั้น..เมื่อท่านภาวนาจนจิตสงบเป็นระดับที่สุดของตนเองแล้ว สภาพจิตจะค่อย ๆ คลายออกมาโดยอัตโนมัติ ให้ทุกคนเร่งหาวิปัสสนาญาณให้สภาพจิตพินิจพิจารณา ให้เห็นความจริงของร่างกายนี้ ของโลกนี้ ว่ามีสภาพเป็นอย่างไร

จะดูตามลักษณะของไตรลักษณ์ ก็คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่มีอะไรเป็นตัวตนของเราก็ได้ จะดูตามแบบอริยสัจ ก็ดูให้เห็นชัดว่าความทุกข์นั้นเกิดจากสาเหตุอะไร แล้วเราละเว้นไม่ไปสร้างเหตุนั้น ความทุกข์นั้นก็ไม่เกิดขึ้น

หรือจะดูตามนัยของวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ เริ่มตั้งแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นทั้งการเกิดและการดับ ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างดับสลายไปสิ้น ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นโทษเป็นภัย เป็นของน่ากลัว จนกระทั่งท้ายสุดไปถึงสังขารุเปกขาญาณ สภาพจิตยอมรับความจริงก็จะปล่อยวาง เห็นธรรมดาในทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วเราก็ทบทวนญาณทั้ง ๘ นี้ย้อนหน้าย้อนหลัง สลับไปสลับมา ก็จะเป็นวิปัสสนาญาณที่ ๙ ที่เรียกว่าสัจจานุโลมิกญาณ เป็นต้น

ดังนั้น..ในการปฏิบัติของเรา ต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาท พยายามรักษาอารมณ์ใจในการปฏิบัติ ให้ต่อเนื่องยาวนานให้มากที่สุด เมื่อกำลังสมาธิคลายตัวออกมา ก็เริ่มน้อมนำเอาวิปัสสนาญาณมาพินิจพิจารณาให้เห็นจริง เมื่อสภาพจิตยอมรับ ก็สามารถก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริยเจ้าในระดับใดระดับหนึ่ง ตามกำลังที่เราจะพึงมีพึงได้

ลำดับต่อไปให้ทุกท่านภาวนาพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกา)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-12-2014 เมื่อ 16:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:49



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว