กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > ปกิณกธรรมจากเกาะพระฤๅษี

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 01-07-2010, 10:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๐

อบรมที่เกาะพระฤๅษี วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๐


วันนี้มีพระใหม่มากหน่อย พระใหม่ให้จำไว้ว่า เรื่องศีลเราต้องเน้นให้หนักที่สุด ถ้าหากรู้สึกว่าศีลมีมาก ระวังรักษายาก ให้ระวังใจตัวเดียวก็พอ แต่ว่านวโกวาท* หรือหนังสือศีลของพระ** อย่าให้ห่างมือ

สมัยที่ผมบวชใหม่ ๆ ผมจะอ่านนวโกวาททุกเย็น ทั้ง ๆ ที่มีพระวินัยที่หลวงพ่อท่านเปิดเป็นปรกติ แต่ว่าผมจะดูหนังสือเทียบเคียงไปด้วย ว่าผมตีความตรงกับหลวงพ่อไหม ?

ผมจะไปดูรายละเอียดในหนังสืออุปกรณ์วินัยมุข*** จะมีอธิบายว่า ศีลแต่ละข้อเป็นอย่างไร ? ผมจะมีรหัสเฉพาะของผม ข้อไหนที่อันตราย ต้องอาบัติได้ง่าย โดนแล้วขาดความเป็นพระ หรือว่าขาดความเป็นพระชั่วคราว ผมจะมีดาวสีแดง ๆ กาไว้สามดวงสี่ดวงเลย

ถ้าข้อไหนโดนยากขึ้นมานิดหนึ่ง ก็จะเป็นสองดาวสีแดง ข้อไหนที่โดนยากขึ้นมาอีกหน่อย ก็ดาวเดียวสีแดง ถ้าข้อไหนโอกาสที่จะขาดไม่มี ผมก็วงกลมสีน้ำเงินเอาไว้

เพราะฉะนั้น พอเวลาผมเปิดทวนจะเร็วมาก เร็วตรงที่ว่า เราควรจะดูข้อไหนก่อนข้อไหนหลัง โดยเฉพาะเรื่องของเสขิยวัตร**** แม้ว่าจะเป็นศีลที่พวกเราคิดว่าเล็กน้อย แต่ว่าไม่ใช่

จริง ๆ แล้วเสขิยวัตรเป็นศีลที่ใหญ่และสำคัญมาก เพราะว่าเกี่ยวกับสารูปและจริยาวัตรต่าง ๆ ที่เราต้องปฏิบัติ จัดเป็นส่วนของรายละเอียด ถ้าหากว่าจิตของเราไม่ละเอียดพอ ก็จะมองข้ามไป แล้วถ้ามองข้ามเมื่อไร ก็จะสร้างความเสียหาย นอกจากตัวเองแล้ว ยังเสียหายแก่พระศาสนาเป็นอย่างมากด้วย

สมัยก่อนภิกษุฉัพพัคคีย์***** มีพระปัณฑุกะ****** เป็นต้น มีพรรคพวกรวม ๖ ท่านด้วยกัน พวกนี้เป็นต้นบัญญัติศีลทั้งนั้น ท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะมีสารูปและการแสดงออกที่ไม่เหมือนกับพระ ทำให้ชาวบ้านเขาตำหนิติเตียนศาสนาพุทธได้มาก

ผมเองก็สงสัยว่า ท่านทั้งหลายเหล่านี้ ทำแล้วทำอีก โดนอาบัติแล้วโดนอาบัติอีก แหกคอกไปเรื่อย ทำไมไม่มีโทษหนักเสียที ? ปรากฏว่าแทบทุกครั้งท่านจะเป็นอาทิกัมมิกะ******* คือเป็นคนแรกที่ทำ ในเมื่อเป็นคนแรกที่ทำ ข้อห้ามยังไม่มี ถือว่ายกประโยชน์ให้ ครั้งต่อไปถ้าทำเมื่อไรถึงจะโดนอาบัติ


หมายเหตุ :

*คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง : นวโกวาท ฉบับมาตรฐาน : เลี่ยงเชียง : กรุงเทพ ฯ : พ.ศ. ๒๕๓๕
**สมปอง สุธมฺมสนฺตจิตฺโต ; พระครูปลัด : ศีลของพระ : วชิรินทร์สาส์นรัชดา : กรุงเทพฯ : พ.ศ. ๒๕๔๗
***คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง : วินัยมุข เล่ม ๑ ฉบับมาตรฐาน : เลี่ยงเชียง : กรุงเทพ ฯ : พ.ศ. ๒๕๓๕
****พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ : พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ : ปริวารวรรค : หน้าที่ ๒๒๕
*****ภิกษุมีพวก ๖ ได้แก่ พระปัณฑุกะ พระโลหิตกะ พระเมตติยะ พระภุมมชกะ พระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุ
******พระวินัยปิฎก : มหาวิภังค์ เล่มที่ ๑ : ภาคที่ ๓ : หน้าที่ ๖๓๑
*******ผู้เป็นต้นบัญญัติสิกขาบท(ล่วงอาบัติเป็นคนแรก) พระพุทธเจ้าทรงยกเว้นให้ไม่ปรับอาบัติ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-07-2010 เมื่อ 16:02
สมาชิก 92 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 01-07-2010, 10:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แต่ว่าอย่างภิกษุฉัพพัคคีย์ มาตอนหลังโดนอาบัติปาราชิก เพราะว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไปเผาป่าทำให้คนตาย ครั้งแรกที่ท่านเผาป่า พระพุทธเจ้าถามว่า ท่านมีเจตนาหรือไม่ ? ท่านบอกว่าไม่มี พระพุทธเจ้าก็ปรับอาบัติที่รองลงมา

แต่ว่าครั้งต่อมาถามว่ามีเจตนาไหม ? ท่านบอกว่า “มี ตั้งใจเผาจะให้เขาตาย”พระพุทธเจ้าตรัสว่า พวกท่านโดนอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระไปแล้ว เพราะฉะนั้น พวกท่านสบายใจได้ว่า ฉัพพัคคีย์นี้ไม่รอดแน่ โดนอาบัติปาราชิกไปแล้ว

พวกเราเป็นพระ โดยเฉพาะเป็นพระใหม่ นอกจากเรื่องของการรักษาศีลแล้ว ยังมีการสวดมนต์ไหว้พระที่เป็นเรื่องสำคัญ ต้องรีบท่องบทสวดมนต์ให้ได้ ถ้าหากว่าท่องคำสวดมนต์ไม่ได้ภายในสองพรรษา พวกคุณจะไม่มีอารมณ์ที่จะไปท่องอีกเลย

เพราะว่ายิ่งภาวนาแล้วอารมณ์ใจเราดี เราจะไม่เสียเวลาไปท่องคำสวดมนต์ แต่ว่าตัวผมเองนั้น ผมเอาดีได้จากการสวดมนต์ สมัยก่อนตอนที่ตั้งใจจะสวด ผมจะลองทรงสมาธิดูว่า ผมจะสามารถสวดมนต์ได้ในระดับสมาธิที่ลึกตื้นแค่ไหน ?

ถ้าสมาธิลึกเกินไปก็ไม่เอากับเราหรอก บางทีผิดไปเลย แต่ถ้าหากว่าถอยออกมาในระดับพอดี ๆ อย่างอุปจารสมาธิหรือปฐมฌาน เราจะสวดได้ ได้ดีด้วย แล้วก็จะไม่พลาด จำแม่นอีกต่างหาก

หรือไม่ผมก็ซ้อมทำทิพจักขุญาณ ถึงเวลาสวดมนต์ไปก็นึกถึงตัวหนังสือ ให้วิ่งขึ้นมาเป็นแถว ๆ เราเห็นตัวหนังสือนั้นชัดเจนเท่าไร เราก็เห็นผี เห็นเทวดา ชัดเท่านั้น หรือบางทีก็ขึ้นพระนิพพานไปเลย ไปสวดถวายพระพุทธเจ้า ถ้าหากว่าเราไปอยู่บนนิพพาน ถ้าเราตายขึ้นมาตอนนั้น เราก็ไปนิพพานเลย

การที่เราเอาใจเกาะพระนิพพาน ซึ่งเป็นสถานที่ละเอียดด้วยอารมณ์ ถ้าหากว่าเราไม่เคยชิน จะเกาะไม่ติด ไม่ทันรู้ตัวก็ลงมาแล้ว เราก็..อ้าว..ยังไม่ทันคิดจะลงเลย ลงมาตั้งแต่ตอนไหนก็ไม่รู้ ?

ดังนั้น..ผมจึงสวดมนต์ได้เยอะ แล้วผมใช้วิธีขึ้นไปสวดมนต์ถวายเป็นพุทธบูชา ต่อหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบนพระนิพพาน ถ้าหากว่าจิตเราบอกว่ายังมีงานทำ ก็ยังผูกอยู่ตรงนั้น งานยังไม่หมดก็จะไม่ลงมา

ผมใช้วิธีสวดมนต์ให้มาก ยิ่งสวดได้มากเท่าไรก็อยู่ได้นานเท่านั้น ทำให้จิตของเราเคยชินกับพระนิพพาน พอชินกับอารมณ์พระนิพพาน เราก็สามารถจะทรงตัวอยู่กับพระนิพพานได้นานอย่างที่เราต้องการ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 01-07-2010 เมื่อ 21:40
สมาชิก 100 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 01-07-2010, 18:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การสวดมนต์ พยายามอย่าให้ผิด ถ้าผิดจนติดเป็นนิสัย เราจะแก้ไม่หาย อย่างท่านสมปอง* นั้น “วิญญาณูปาทานักขันโธ” วิญญาณคืออุปาทานขันธ์ ท่านจะสวดเป็น “วิญญาญู” ทุกที ไม่ใช่ “วิญญาณู”

อย่างของพระอาจารย์สมพงษ์** นั้น “วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน” ขอให้มีความเจริญอยู่ในพระศาสนาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา แต่ของท่านจะเป็น “วัฑเสยยัง”ทุกที บาลีนี่จะเป็น ฒ. ผู้เฒ่า ตาม ฑ.นางมณโฑ จะไม่มี ส.เสือตาม ฑ.นางมณโฑ หรอก

คราวนี้ถ้าเราไม่แก้ให้ดี เราจะติดเป็นนิสัย แล้วแก้ไม่หาย ก็จะผิดไปตลอด ผิดในลักษณะที่เคยชิน ผิดจนถูกเสียแล้ว ถ้ามาถึงลูกศิษย์รุ่นหลัง ๆ ก็จะผิดเป็นถูกไปเรื่อย แล้วอาจจะไปตำหนิว่าคนอื่นสวดผิดเสียอีก โดยที่ตำราอยู่ข้างมือก็ไม่กางมาดูกัน เลยพาผิดยาวไปเรื่อย

แบบเดียวกับ บทอุทิศส่วนกุศล “อิมินาปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายาคุณุตตะรา อาจาริยูปะการา จะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา” แล้วก็ไป “สุริโย จันทิมา ราชา” ในส่วนของ “ปิยา มะมัง” นั้นบางวัดหายไปเลย

ผมมั่นใจว่าหลวงพ่อที่เป็นต้นตำรับท่านลืม หรือไม่ก็สวดข้ามไปด้วยความเคยชิน พวกลูกศิษย์ก็เคารพอาจารย์ จึงว่าต่อกันเรื่อยมา ตำรามีก็ไม่เปิด หรือถึงเปิดก็คิดว่า “อาจารย์อาจจะตัดออก ด้วยเหตุผลอะไรที่ลึกล้ำเกินกว่าที่ตัวเราจะนึกถึง” ก็เลยไม่ทักท้วง จึงผิดยาวกันมาถึงทุกวันนี้

ผมเจอมาหลายวัดนะไม่ใช่เฉพาะแต่วัดท่าขนุน “ปิยา มะมัง” บุคคลที่รัก หายไปหมด เราไม่ให้คนที่เรารัก ให้แต่คนอื่น กลายเป็นว่า ทำบุญทำกุศลมาทั้งที ให้คนอื่นหมด แต่คนที่เรารัก อาจจะเป็นญาติพี่น้องของเรากลับไม่ให้

ดังนั้น ต้องสวดให้ถูก ว่าตามอักขระ “พะหุง เว สะระณัง ยันติ” นั่นเป็นรัสสะ คือ เสียงสั้น ไม่ใช่ “พาหุง” พาหุงนั่นต้องบทสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า ๘ บท ถ้าเราว่าให้ถูกตั้งแต่แรกก็จะถูก แต่ถ้าผิดตั้งแต่แรกก็จะผิดไปเรื่อย อีกอย่างที่ถูกต้องคือ “อัญชะลิกะระณีโย” แต่ปัจจุบันนี้ผิดจนถูก กลายเป็น “อัญชะลีกะระณีโย” กันหมดทั้งประเทศไปแล้ว


หมายเหตุ :
*พระครูปลัดสมปอง สุธมฺมสนฺตจิตฺโต อาศรมบ้านสบายใจ ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี ๖๑๐๐๐
**
พระสมุห์สมพงษ์ เขมจิตฺโต วัดท่าขนุน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๘๐
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-07-2010 เมื่อ 03:02
สมาชิก 88 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 06-07-2010, 18:39
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าหากว่าพวกคุณไปเรียนบาลีไวยากรณ์ก็จะรู้ “อัญชะลิกะระณีโย” จะลงเสียงยาวไม่ได้ ต้องเป็นเสียงสั้น เพราะสูตรของเขาจะมีว่า รัสสะกับรัสสะจะต้องเป็นฑีฆะ สั้นบวกสั้นเป็นยาว ยาวบวกยาวเป็นยาว ยาวบวกสั้นเป็นสั้น

แต่พวกเราไม่ได้ศึกษาตรงจุดนี้ แล้วท่านที่รู้ก็แก้อะไรไม่ได้แล้ว “อัญชะลี” กันทั้งประเทศไปแล้ว

อย่างเช่น “โสตถิ ภาคะยัง สุขัง พะลัง” พวกเราสวดเป็น“โสตถี”กันเรื่อย แต่ถ้า“สะทา โสตถี”นั้นใช่ ต้องระวังให้ดี ๆ เพราะว่าถ้าผิดก็จะผิดไปเรื่อย ถ้าถึงเวลาเราไปอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ของเรา ก็จะอบรมกันผิดต่อไปอีก

ภายในสองพรรษาต้องสวดมนต์ให้ได้ทั้งหมด ถ้าไม่ได้ใจเราก็จะไม่เอากับเราแล้ว จะเอาแต่ภาวนาอย่างเดียว อันนี้ผมขอยืนยัน ตอนอยู่วัดท่าซุงนี่ สองพรรษาแรกถ้ามีงานอะไรผมออกหมดทุกงาน พระวัดท่าซุงสวดมนต์ไม่ค่อยเป็น เพราะว่ามักจะเอาแต่ภาวนา พอสวดไม่เป็นก็ไม่กล้าไป ไปก็ไปนั่งหลับตาเงียบ จึงมักจะให้ผมที่สวดได้ออกงานแทน

เดี๋ยวจะเป็นอย่างที่เขาเล่ากันว่า มีเถ้าแก่ท่านหนึ่งรักเมียมาก เมียตายไปแล้วก็ทำบุญไปให้ แกก็ทำไปเรื่อย ถึงเวลาพระสวดมนต์ แกจะแอบฟังแอบดู พระก็ไม่ได้สังเกต พอถึงเวลาเลี้ยงเพลเสร็จ ตอนถวายปัจจัยไทยธรรม

เถ้าแก่ก็ “เอ้า..องค์นี้เสียงลังลี อั๊วถวายร้อยหนึ่ง องค์นี้เสียงลังลี อั๊วถวายร้อยหนึ่ง” ไปถึงท้ายแถวพระใหม่ยังสวดไม่ได้ “องค์นี้ไม่สวกเลย ลื้อเอาไปยี่สิบ..!”

แต่พระใหม่รูปนั้นท่านเก่ง ท่านบอกว่า “เถ้าแก่..องค์อื่นที่เขาสวดกันดัง ๆ นั้น เขาสวดให้ลื้อฟัง ที่อั๊วสวดในใจเงียบ ๆ นั้น อั๊วตั้งใจสวดให้เมียลื้อฟัง..”

เถ้าแก่ก็ “ฮ้อ..ลีจิน ๆ ลื้อสวดให้เมียอั๊วฟัง เอาไปสองร้อย..!” ตกลงพระใหม่เก่งกว่า เพราะฉะนั้น..ถ้าหากว่าสวดไม่ได้ ก็จะไปนั่งเหงื่อหยดอยู่อย่างนั้น ต้องรีบทำให้ได้

ในเรื่องของการเรียนนั้นสำคัญมาก โดยเฉพาะนักธรรมตรี เพราะว่าเราศึกษาศีลของพระ ซึ่งเป็นเครื่องป้องกันตัวของเราเอง ถ้าเรารู้ศีลไม่ละเอียด ถึงเวลาเราอาจจะไปสอนเขาผิด ๆ พลาด ๆ หรือว่าตัวเองก็อาจจะทำผิดทำพลาดได้

วันก่อนมีแม่ชีโทรมาจากปราจีณบุรี บอกว่า “ท่านอาจารย์เจ้าขา..มีพระมาจากไหนก็ไม่รู้ ท่านธุดงค์มาขออยู่ที่วัด เจ้าอาวาสก็ให้อยู่ ท่านตำหนิด่าว่าแม่ชีมากเลย ว่าเป็นแม่ชีแล้วหุงข้าวกิน จะต้องลงนรก เป็นแม่ชีจับเงินก็ต้องลงนรก..!” ผมถามไปว่า

“แม่ชีมีศีลกี่ข้อ ?” “แปดข้อเจ้าค่ะ”
“มีข้อไหนห้ามจับเงินบ้าง ?” “ไม่มีเจ้าค่ะ”
“มีข้อไหนห้ามหุงข้าวบ้าง ?” “ไม่มีเจ้าค่ะ”
“แล้วจะไปฟังเขาทำไม ในเมื่อศีลเรามีแค่นี้..?”
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-07-2010 เมื่อ 02:18
สมาชิก 85 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 07-07-2010, 08:04
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ที่พระพุทธเจ้าท่านห้ามนั้น ท่านห้ามพระ ที่ห้ามพระจับเงินเพราะกลัวว่าจิตจะเกิดความโลภขึ้น ห้ามพระหุงข้าวทำกับข้าวเอง เพราะกลัวว่าทำแต่ของอร่อยตามใจปากท้องตัวเอง

ส่วนท่านนั้นไปสอนเขาผิด ๆ แล้วไปตำหนิเขาด้วย ทำเขากำลังใจเสียหมดเลย ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าแม่ชีไปได้เบอร์ผมมาจากไหน ยังดีที่โทรมาถาม ไม่อย่างนั้นดีไม่ดีก็สึกหาลาเพศไปเลย

กติกาเรามีเท่าไรให้ทำเท่านั้น เมื่อศึกษาละเอียดแล้วถึงเวลาก็สามารถบอกต่อเขาได้ ปัจจุบันนี้แม้กระทั่งพระผู้ใหญ่ ก็ปล่อย ๆ วาง ๆ ในเรื่องของศีลเป็นจำนวนมาก

เวลาคุณไปงานตามกรุงเทพฯ คุณจะเจอน้ำข้าวโพด น้ำฟักทอง น้ำถั่วเขียว นั่นไม่ใช่น้ำ พวกเล่นปั่นเนื้อมาข้นคลั่กเลย พวกถั่วพวกงาพวกนี่ท่านจัดเป็นอาหาร จะฉันหลังเพลไปแล้วไม่ได้

แล้วหลายต่อหลายที่ก็มีเมล็ดแตงโม เมล็ดทานตะวัน ไปนั่งขบนั่งแทะกันอยู่ ผมเห็นแล้วทุเรศลูกตา แต่ผมก็ว่าอะไรไม่ได้ เพราะว่าเขาทำผิดกันจนกลายเป็นถูกไปแล้ว ดังนั้น พวกเราต้องศึกษาให้ดีว่าอะไรถูก แล้วเราต้องทำให้ถูกเอาไว้ ไม่อย่างนั้นก็จะพาคนอื่นผิดไปเรื่อย ๆ เกิดความเสียหายแก่พระศาสนามาก

ในเรื่องของการภาวนานั้น ในส่วนของลมหายใจเข้าออกเราจะทิ้งไม่ได้ ทิ้งเมื่อไรก็แย่เมื่อนั้น เพราะจิตหลุดออกจากลมเมื่อไรก็จะฟุ้งซ่าน ถ้าเวลาทำการทำงาน อย่างเมื่อวานผมบอกกับท่านยุทธว่า “เวลาทำงานเอาสติกำหนดไปด้วย เวลากวาดพื้นให้กำหนดไปด้วย จะไปข้างหลัง จะไปข้างหน้า ไปแรง ไปเบา ไปยาว ไปสั้น ให้ตามรู้ไปด้วย”

ถ้าเราเอาสติเข้าไปกำหนดอยู่ในงานไหนก็ตาม งานนั้นก็คือกรรมฐาน คุณจะถูศาลา จะเก็บจะกวาด จะทำกับข้าว หุงข้าวหุงปลา ซักผ้าซักผ่อนอะไรก็ตาม ถ้ากำหนดสติตามไปด้วย ก็เป็นกรรมฐานทั้งนั้น


เพราะฉะนั้น..เรื่องของการภาวนานี่ทิ้งไม่ได้ ทิ้งเมื่อไรเราจะไม่มีแรงสู้กิเลส ถ้าใครภาวนาอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ให้หัดเข้าออกฌานให้คล่องตัว ถึงเวลาจะเข้าระดับไหนต้องได้ หนึ่ง..สอง..สาม..สี่ ; สี่..สาม..สอง..หนึ่ง สลับไปสลับมาก็ต้องทำให้ได้

ไม่อย่างนั้นความเคยชินของอารมณ์ เมื่อวิ่งไปสู่อารมณ์สูงสุดแล้ว เราจะทำอะไรไม่ได้ พอเราทำอะไรอย่างอื่นไม่ได้ ก็ได้แต่นิ่งอยู่อย่างนั้น การภาวนาพิจารณาก็ไปต่อไม่ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-07-2010 เมื่อ 10:22
สมาชิก 78 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 07-07-2010, 16:16
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เรื่องของการภาวนาพิจารณา ถ้าพวกคุณพิจารณารายละเอียดไม่ได้ เอาซีดีที่ผมเทศน์ที่วัดทองผาภูมิมาเปิดฟัง แล้วคิดตามไปเลย ช่วงนั้นผมพูดให้คิดตาม ถ้าจิตของเรากำหนดตัดตามไปได้ก็จะทำได้เลย ไม่ต้องไปเสียเวลาไปใช้ปัญญาด้วยตัวเอง

ระยะหลัง ๆ นี่ต้องบอกว่า สัญญากับปัญญาของคนเรา ทรามลงไปมากจริง ๆ อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้ แม้กระทั่งเพื่อนพระในรุ่นเดียวกัน ผมไปถามเรื่องการพิจารณา ก็ไม่มีใครทำละเอียดอย่างที่ผมทำ

ที่ผมทำละเอียดนี่ก็ไม่ใช่อะไร เพราะว่าถ้าหากว่าเราไม่พิจารณาให้ละเอียด จิตก็จะไม่ยอมรับ ในเมื่อไม่ยอมรับ ก็ปล่อยไม่ได้ตัดไม่ขาดเสียที แรก ๆ ก็เหมือนกับเราตีอวนจะเอาปลาทั้งทะเล

เราต้องพิจารณาให้ละเอียดที่สุดก่อน หลังจากนั้นพอมีความชำนาญ คล่องตัวมากเข้า ก็เหมือนกับเล็งเอาปลาที่ดีที่สุดตัวเดียว ก็จะเหลือเพียงนิดเดียว แค่คุณบอกว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา แล้วใจเราไม่เถียงก็ใช้ได้

แต่ถ้าบอกว่าร่างกายนี่ไม่ใช่ของเราแล้ว ใจเรายังเถียง..ไม่ใช่อย่างไรวะ ? ตีกูก็เจ็บ หิวก็กูหิว อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้


เพราะฉะนั้น..ในวันนี้ที่อยากฝากไว้คือว่า เราเข้ามาอยู่ในสถานที่นี้แล้ว เรื่องของคันถธุระคือการศึกษาเล่าเรียนนั้นเป็นเรื่องจำเป็น อย่างน้อยให้ได้นักธรรมเอกไว้ ถ้าหากว่าทำได้มากกว่านั้นก็จะดี หูตาจะกว้างไกลขึ้น ความรู้ในพระพุทธศาสนาจะได้มากขึ้น

แม้ว่าเราจะไม่ได้เรียนถึงขนาดนั้น ก็ให้อ่านพระไตรปิฎก น่าเสียดายที่ผมถวายให้กับทางห้องเรียนวัดไร่ขิงไปแล้ว เดี๋ยวจะหาชุดใหม่มาให้ เปิดพระไตรปิฎกอ่านไปเรื่อย ทุกบท ทุกตอน ทุกพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ มีคนได้มรรคผลทั้งนั้น

อ่านเข้าไว้ ยิ่งรู้รายละเอียดมากเท่าไร ต่อไปจะเป็นคนมีเสน่ห์ เพราะว่าเราสามารถเล่าเรื่องโน้นเรื่องนี้ให้ญาติโยมเขาฟังไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีจนแต้มหรอก แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ สามวันสามคืนก็เล่าไม่หมด

เรื่องของวิปัสสนาธุระ ไม่ว่าจะเป็น ศีล สมาธิ หรือ ปัญญา เราทิ้งไม่ได้ ทิ้งเมื่อไรก็จะไม่ใช่นักบวช แล้วขณะเดียวกัน เราจะโดนกิเลสตีตาย

ฉะนั้น..เรื่องของงานอื่น ๆ แม้ว่าจะสำคัญ แต่เรื่องงานในใจสำคัญที่สุด พยายามรักษาไว้ให้ดี เราจะอยู่รอดหรือไม่รอดก็ตรงนี้ เสียดายท่านที่สึกหาลาเพศไป ผมก็ไม่มีหน้าที่ไปห้ามปราม แต่ถ้าหากว่าเขาตั้งใจปฏิบัติ ผมเชื่อว่าอยู่ได้กันทุกคน

-----------------------------------
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-07-2010 เมื่อ 02:41
สมาชิก 74 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:29



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว