กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 27-12-2014, 08:52
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า รวมความรู้สึกทั้งหมดไว้ที่ลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ตามอัธยาศัย

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นการปฏิบัติธรรมประจำเดือนธันวาคมวันสุดท้าย การปฏิบัติธรรมของพวกเรานั้น ขอให้ทุกคนจำให้แม่นว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เราปฏิบัติในไตรสิกขา คือการศึกษาในศีล ในสมาธิ ในปัญญา เรื่องของศีลพวกเราคงไม่มีอะไรหนักใจแล้ว เพราะว่าส่วนใหญ่สามารถรักษาศีล ๕ ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ มีจำนวนไม่น้อยที่รักษาศีล ๘ เป็นปกติ และอีกหลายท่านก็พยายามที่จะรักษากรรมบถ ๑๐ แม้ว่าจะขาดตกบกพร่องบ้าง ก็พยายามที่จะทำให้ได้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่น่าสรรเสริญ ดังนั้น..ในเรื่องของอธิสีลสิกขา คือการศึกษาในศีลนั้น เราก็แค่ทบทวนศีลทุกสิกขาบทของเราให้สมบูรณ์บริบูรณ์ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล

ในเรื่องของสมาธิ ส่วนใหญ่แล้วพวกเราจำนวนหนึ่ง มีความชำนาญในการเข้าสมาธิ เมื่อถึงเวลาก็สามารถทรงสมาธิได้เร็ว แต่ไม่สามารถที่จะทรงสมาธิแบบตั้งเวลาได้ และไม่สามารถที่จะออกสมาธิได้ทุกเวลาตามที่ตนต้องการ ตรงจุดนี้จำเป็นที่เราจะต้องซักซ้อมการเข้าออกสมาธิ จนกระทั่งมีความคล่องตัว นึกเมื่อไรก็เข้าหรือออกได้เมื่อนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าฌานตามลำดับ การเข้าฌานสลับไปมา การที่เราจะเข้าฌานในขณะที่เราทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งว่าการที่เราสามารถเข้าฌานได้ ในลักษณะของการดับเสียซึ่งสัญญาและเวทนาทั้งปวง เป็นต้น

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ต้องมีการซักซ้อมอย่างจริงจัง เพื่อที่ถึงเวลา รัก โลภ โกรธ หลง เข้ามา ในชั่วเสี้ยววินาทีที่เรารู้ตัว เราสามารถยกจิตขึ้นสู่ระดับฌานได้ทันทีทันใด ถ้าเป็นดังนั้น รัก โลภ โกรธ หลง ก็จะทำอันตรายเราไม่ได้ ถ้าเป็นดังนี้จึงเรียกได้ว่าเราศึกษาในส่วนของอธิจิตสิกขา คือในส่วนของการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพียงพอที่จะรักษาตัวได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 27-12-2014 เมื่อ 21:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 27-12-2014, 18:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ส่วนในเรื่องของปัญญานั้นมีหลายระดับด้วยกัน ระดับต้น ๆ ก็แค่รู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ระดับสูงขึ้นไปมากกว่านั้น ก็รู้สึกว่าร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของคนอื่นก็ดี มีแต่ความสกปรกโสโครกเป็นปกติ ไม่มีอะไรน่ารักน่าใคร่ สภาพความเป็นจริงที่โจทย์ฟ้องอยู่ตลอดเวลา ก็คือสภาพร่างกายของเรามีแต่ความสกปรก ต้องคอยขัดสีฉวีวรรณ ทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ถ้าไม่ทำความสะอาดสักวัน ๒ วัน ๓ วันเราเองยังทนไม่ได้ แล้วผู้อื่นจะทนได้อย่างไร ?

กำลังใจระดับที่สูงขึ้นมาอีกจะเห็นว่า สภาพร่างกายนี้มีความสกปรกโสโครกเป็นปกติ เราไม่มีความปรารถนาในร่างกายนี้อีก ถ้าหากว่ามีปัญญามากกว่านั้น ก็สามารถที่จะแยกแยะได้ชัดเจนว่า ร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี เป็นเพียงธาตุ ๔ คือดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบกันขึ้นมาเป็นรูปร่างชั่วคราว ให้เราได้อาศัยอยู่ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด ไม่มีอะไรที่ยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนเราเขาได้ ก็จะถอนจิตจากความยึดมั่นถือมั่นในสภาพร่างกายของตน ในสภาพร่างกายของคนอื่น ถ้าสามารถที่จะทำอย่างนี้เรามีสิทธิ์ที่จะหลุดพ้นไปสู่พระนิพพาน ถ้าเราใช้ปัญญาลักษณะนี้ จึงจะเรียกได้ว่าเราศึกษาในปัญญาสิกขา ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเอาไว้

ในส่วนของศีลนั้นเป็นส่วนหนุนเสริมให้สมาธิทรงตัวได้ง่าย เพราะว่าเราต้องใช้สติในการระมัดระวังรักษาสิกขาบทต่าง ๆ จึงเกิดสมาธิขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ เมื่อมีสมาธิขึ้นมาก็จะหนุนเสริมปัญญาให้ชัดเจนแจ่มใสยิ่งขึ้นไป เพราะสภาพจิตซึ่งสงบด้วยอำนาจสมาธิ รัก โลภ โกรธ หลง กวนไม่ได้ ก็สามารถใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ง่าย ดังนั้น..การปฏิบัติในไตรสิกขา หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงต้องปฏิบัติทั้ง ๓ อย่างควบคู่กันไป ไม่สามารถที่จะทิ้งอย่างใดอย่างหนึ่งได้

ถ้าเราปฏิบัติในไตรสิกขาก็ชื่อว่าเราปฏิบัติอยู่ในมรรค ๘ ซึ่งเป็นหนทางนำเราไปสู่ความพ้นทุกข์ เพราะว่าสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะนั้น จัดอยู่ในส่วนของศีล สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดอยู่ในส่วนของสมาธิ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ จัดอยู่ในส่วนของปัญญา เมื่อเราปฏิบัติอยู่ในมรรค ๘ ได้สมบูรณ์บริบูรณ์ ทางพ้นทุกข์ของเราก็จะเปิดกว้าง สามารถที่จะล่วงพ้นได้ในชาตินี้ หรือไม่ก็ตัดหนทางในการเวียนว่ายตายเกิดได้สั้นลง สามารถที่จะบรรลุมรรคผลได้ในชาติต่อ ๆ ไป

ลำดับต่อไปก็ให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันอาทิตย์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยรัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-12-2014 เมื่อ 20:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:12



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว