กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)

Notices

พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 17-08-2010, 15:15
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เรานับถือศาสนาพุทธแท้จริงหรือไม่?

มีโยมเอาพระนาคปรกมาถวายสังฆทาน จึงนึกขึ้นมาได้ว่า บรรดานักวิชาการเขามีข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องพระนาคปรกหลายแนวด้วยกัน

แนวคิดที่หนึ่ง พญานาคตั้งใจที่จะมาแผ่พังพานปรกพระพุทธเจ้า ก็มีคนเสนอเป็นแนวคิดว่า ถ้าพญานาคคืองูใหญ่ทั่ว ๆ ไป ไม่น่าจะตั้งใจมาแผ่พังพานเพื่อป้องกันฝนให้พระพุทธเจ้า หากแต่ว่าฝนที่ตกหนักทำให้น้ำท่วม และงูก็ไหลตามน้ำมา ด้วยความที่เจออะไรก็เอาหางเกี่ยวไว้ก่อน พอเจอพระพุทธเจ้าท่านนั่งสมาธิอยู่ ก็เลยเอาหางเกี่ยวเอาไว้ เพื่อไม่ให้ตนไหลตามน้ำไป ในเมื่อขดรัดจนกระทั่งมั่นใจว่าไม่ลอยตามน้ำไปแล้ว ก็ชูหัวขึ้นเพื่อสำรวจภูมิประเทศ เขาคิดกันแบบนี้

แนวคิดที่สอง เขาว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้นั่งอยู่บนขนดพญานาค น่าจะเป็นพญานาคขดล้อมองค์ท่านไว้ แล้วก็แผ่พังพาน แนวคิดนี้เชื่อว่าพญานาคขึ้นมาแผ่พังพานกันฝนให้จริง ๆ แต่ไม่น่าจะอยู่ในลักษณะพระพุทธเจ้านั่งอยู่บนขนดพญานาค น่าจะเป็นพญานาคโอบรอบพระพุทธเจ้าเอาไว้

แนวคิดนี้ทางด้านประเทศไทยของเราก็มี จนมีการสร้างพระพุทธรูปโดยมีพญานาคโอบรอบพระพุทธเจ้าอยู่ครึ่งองค์ ถ้าไม่เคยเห็นให้ไปดูที่วัดบวรนิเวศวิหาร มีอยู่ ๑ องค์

แนวคิดที่สาม เขาคิดว่าเป็นการที่บุคคลกล่าวสรรเสริญศาสดาตนเองว่ามีฤทธิ์ โดยที่เนื้อเรื่องหาความเป็นจริงไม่ได้ แนวคิดนี้เขาค้านโดยตรงเลย

ฉะนั้น เรื่องแนวคิดต่าง ๆ สำหรับนักศึกษารุ่นหลังนั้น เกิดจากการขาดความศรัทธา เมื่อเช้าได้กล่าวไปแล้วว่า ศรัทธาเป็นที่เริ่มต้นของความเชื่อทุกอย่าง โดยเฉพาะความเชื่อในศาสนา ถ้าไม่มีศรัทธาก็จะไม่บังเกิดความเชื่อ

ศรัทธานั้นพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่ามี

๑) กัมมสัทธา ความเชื่อในกรรม ก็คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๒) วิปากสัทธา เชื่อผลของการส่งการกระทำนั้น ๆ ไม่ว่าจะทำดีทำชั่ว ทำแล้วได้ผลแน่ ๆ
๓) กัมมัสสกตาสัทธา คือเชื่อว่าแต่ละคนมีกรรมเป็นของตน ใครจะดีหรือชั่ว ก็เพราะการกระทำของตนเอง ไม่มีใครหรือสิ่งใดมาบันดาลให้เป็นไป
๔) ตถาคตโพธิสัทธา ข้อนี้สำคัญ ต้องมีความศรัทธาเชื่อมั่นในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีศรัทธาตรงจุดนี้ อย่างที่ท่านสอนในเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว เราก็จะพลอยไม่เชื่อไปด้วย

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ ตัวศรัทธาเสื่อมถอยไปมาก ทำให้คนเอาวิชาการสมัยใหม่จากโลกตะวันตก ถ้านับไปแล้วก็ล้าหลังกว่าศาสนาพุทธเป็นพัน ๆ ปี เอามาจับเข้ากับหลักของพระพุทธศาสนา แล้วก็เลือกเชื่อเป็นส่วน ๆ ไป

ส่วนไหนที่บุคคลทั่วไปทำได้เขาก็เชื่อ ส่วนไหนที่ทำได้แค่บางหมู่คณะ ส่วนบางหมู่คณะทำไม่ได้ ก็ละไว้ก่อนว่ายังไม่เชื่อ ส่วนไหนที่คนทั่ว ๆ ไป ทำไม่ได้เลย อย่างเรื่องของฤทธิ์อภิญญา ก็ไม่เชื่อเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 128 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 17-08-2010, 15:26
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเรื่องของวิชาการต่าง ๆ ถือเป็นอันตรายต่อศาสนาของเราหรือไม่ ? จะว่าไปแล้วก็ไม่เป็นอันตรายต่อศาสนาของเรา เพราะว่าถ้าเป็นของแท้ต้องพิสูจน์ได้

แต่สำคัญที่ว่าพุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มีความสามารถที่แท้จริงเท่าไร ? ถ้าหากเราสามารถที่จะปฏิบัติจนเข้าถึงหลักธรรมได้จริง ๆ สามารถที่จะกล่าวแก้ต่างคำตู่ของคนนอกศาสนาได้จริง เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ก็จะไม่เป็นอันตรายต่อศาสนาของเราเลย

แต่ถ้าความสามารถของเราไม่ถึง ตอนนี้จะอันตราย เพราะถ้าเขาท้าพิสูจน์ เราไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ ต้องนึกถึงที่บรรดาเดียรถีย์ประกาศจะแสดงฤทธิ์แข่งกับพระพุทธเจ้า บรรดาภิกษุและภิกษุณีต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่อาสาว่า ขอพระพุทธองค์ไม่ต้องทรงแสดงฤทธิ์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะยังให้เหล่าเดียรถีย์พ่ายไปด้วยฤทธิ์อำนาจที่ตนเองมีอยู่

ทั้งภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี ล้วนแต่อาสา พูดง่าย ๆ ว่าเด็กก็พร้อมที่จะท้าพิสูจน์ ผู้ใหญ่ก็พร้อมที่จะท้าพิสูจน์ แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า การแสดงยมกปาฏิหาริย์เป็นพุทธประเพณี พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ต้องทำอย่างนี้ เพราะฉะนั้น..จึงเป็นหน้าที่ของตถาคต ไม่ใช่หน้าที่ของพวกเธอ

ตรงจุดนี้เราจะเห็นว่า บุคคลสมัยก่อนท่านมีความสามารถที่แท้จริง พร้อมที่จะท้าพิสูจน์ได้ โดยเฉพาะอย่างพระโมคคัลลานะ ถึงเวลาก็ไปเที่ยวนรกเที่ยวสวรรค์ แล้วก็นำเอาเรื่องของญาติโยมต่าง ๆ ที่ล่วงลับไปแล้วมาบอกกล่าวแก่บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่

บอกชื่อ บอกฉายา บอกลักษณะท่าทาง บอกการตาย บอกสิ่งที่เขาชอบในขณะที่มีชีวิตอยู่ได้ คนก็ต้องเชื่อว่าไปพบมาจริง สั่งความมาถึงใคร มีอะไรอยู่ที่ไหนที่ญาติเขายังไม่รู้ สามารถบอกได้หมด คนก็เชื่อและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก

เรื่องนี้เราต้องไปดูใน เปตวัตถุ และ วิมานวัตถุ ในขุททกนิกาย แต่อาจจะงงเพราะคำว่า เปตะ เรามักจะคิดว่าเป็นเปรต อันนี้เราเข้าใจผิด เปตชน เขาหมายถึงบุคคลที่ตายไปแล้ว เราจะเห็นว่าเรื่องมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรก็อยู่ในเปตวัตถุเช่นกัน

เปตะ แปลว่า ผู้ตายไปแล้ว แต่ในวิมานวัตถุจะเป็นเรื่องของเทวดานางฟ้าทั้งนั้น ไปเปิดอ่านได้ พระโมคคัลลานะพอไปถึงก็จะชมเขาก่อน ว่าท่านทำบุญอะไรมาถึงได้มีวิมานสวยงาม มีรัศมีผ่องใสยิ่งนัก มีอทิสมานกายสวยอย่างนั้นอย่างนี้ พอถามถึงบุรพกรรม ท่านเหล่านั้นก็เล่าให้พระโมคคัลลานะฟัง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 121 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 18-08-2010, 06:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อคนสมัยก่อนมีความสามารถ ศาสนาอื่นที่ลงรากปักฐานมาก่อนศาสนาพุทธมีเป็นจำนวนมากและคนเคารพเชื่อถือ ศาสนาพุทธก็ยังสามารถที่จะเบียดแทรกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นหนึ่งในศาสนาหลักได้

แต่ในปัจจุบันถ้าความสามารถของเรายังไม่พอ ไม่สามารถจะพิสูจน์ให้คนอื่น ศาสนาอื่นหรือบุคคลที่มากล่าวตู่พระพุทธศาสนา ได้รู้เห็นและแจ้งชัดในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า หรือความสามารถที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ ศาสนาของเราจะง่อนแง่นและอันตรายมาก

เราจะไปภูมิใจว่าประชากรประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ของเรานับถือศาสนาพุทธ อย่าลืมว่า"เราเป็นพุทธแต่ทะเบียนบ้าน"กันเยอะมาก ส่วนที่เหลืออาจจะ ๕๐-๖๐ เปอร์เซ็นต์ บางคนพอถึงเวลาบอกว่าผมนับถือศาสนาพุทธ แต่งัดปลัดขิกออกมาโชว์ ซึ่งความจริงคือศิวลึงค์ของศาสนาพราหมณ์

เพราะฉะนั้น..เราจะต้องทราบด้วยว่าอะไรเป็นอะไร ไม่อย่างนั้นประกาศว่าเราเป็นศาสนาพุทธ แต่พกปลัดขิกสามสี่ตัวรอบเอว ถ้าอย่างนี้ศาสนาอื่นก็โจมตีเราได้ว่าไม่ใช่พุทธแท้ ขณะเดียวกันศาสนาพุทธสอนอะไรยังไม่รู้เลย ยังมีการหลงงมงาย เป็นต้น

ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า พวกเราต้องใช้ความพยายามให้มากกว่านี้ เพราะว่าสิ่งที่เราทำอยู่ ปฏิบัติอยู่ ตัวเราเองยังไม่พออาศัยเลย แล้วจะไปให้คนอื่นอาศัยได้อย่างไร เราต้องทุ่มเทชนิดตายเป็นตาย ทำให้เกิดผลให้ได้ ถ้าเกิดผลเมื่อไร คราวนี้เราก็พูดได้เต็มปากเต็มคำ ว่าเรานับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราเห็นดีเห็นงาม เห็นคุณค่าของพระศาสนาจริง ๆ แล้ว

ไม่ใช่เรานับถือศาสนาพุทธแค่ตามทะเบียนบ้าน หรือเรานับถือศาสนาพุทธตามพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แต่ว่าเรานับถือศาสนาพุทธเพราะเราเห็นคุณประโยชน์ เห็นความดีของศาสนาพุทธจริง ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 108 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 18-08-2010, 07:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การศึกษาเล่าเรียนในพระพุทธศาสนา ที่บอกว่าเราต้องทำให้เกิดผลนั้น จริง ๆ แล้วแบ่งออกเป็นสามอย่างก็ได้ แบ่งออกเป็นสองอย่างก็ได้ ถ้าแบ่งออกเป็นสองก็คือ คันถธุระกับวิปัสสนาธุระ ถ้าแบ่งออกเป็นสามก็คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ

ในส่วนของคันถธุระ เกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน เกี่ยวกับหน้าที่การงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบูรณะซ่อมสร้าง ทำการสงเคราะห์ญาติโยมในด้านอื่น ๆ ในเรื่องของวิปัสสนาธุระ ก็คือ ปฏิบัติให้เกิดผล แล้วนำเอาไปสั่งสอนญาติโยมเขา

ในส่วนของปริยัติ คือการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎก โดยเฉพาะการทรงจำเพื่อที่จะสืบทอดเนื้อหาที่ถูกต้องต่อ ๆ ไป ถามว่ามีความสำคัญไหม ? มีความสำคัญมาก เพราะถ้าขาดหลักปริยัติ นักปฏิบัติก็ไม่รู้ว่าจะเอาข้อมูลที่ไหนมาใช้ในการปฏิบัติ

ส่วนในการปฏิบัตินั้น ต้องทุ่มเท ลงไม้ลงมือทำเลย จนกระทั่งเกิดผลขึ้นมา สิ่งใดที่ข้องขัดก็ไปสอบทานกับปริยัติ เพราะฉะนั้น..จริง ๆ แล้ว ปริยัติกับปฏิบัติต้องไปด้วยกัน แยกจากกันไม่ได้

ตั้งแต่มีประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนของเรา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยาลงมา ถึงธนบุรี รัตนโกสินทร์ ทางการศึกษาของพระเรานั้น ศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติคู่กันมาตลอด เพิ่งจะมาโดนแยกออกจากกัน ตอนที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กำหนดหลักสูตรนักธรรมบาลีออกมา ก็เลยแยกออกมาว่านี่เป็นส่วนที่ต้องศึกษา ก็คือ ปริยัติล้วน ๆ ในส่วนของปฏิบัติ ใช้คำว่าแล้วแต่ศรัทธา

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการปฏิบัติก็เริ่มตกต่ำ แรก ๆ ก็ยังไม่ตกต่ำชัดเจนนัก เพราะหลวงปู่หลวงพ่อครูบาอาจารย์ที่มีความสามารถ ยังมีเต็มบ้านเต็มเมือง แต่ในส่วนที่ตกต่ำชัดเจนก็คือ บรรดาผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนปริยัติ ทั้งนักธรรมและบาลี จะได้รับการสนับสนุนให้เป็นฝ่ายปกครอง

คนที่อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากมียศมีตำแหน่ง จึงต้องดิ้นรนศึกษาให้จบนักธรรมชั้นเอก ให้จบเปรียญเก้าประโยค เพื่อที่จะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งในการปกครอง จึงทิ้งการปฏิบัติไปหมด ทุ่มเทให้กับปริยัติอย่างเดียว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 101 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 19-08-2010, 10:40
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พอมาถึงยุคสมัยของเรา หลักสูตรต่าง ๆ ก็ยังเป็นหลักสูตรตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วางรูปแบบมา ยังเรียนเหมือนเดิมทุกประการ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย การเรียนก็ยากขึ้น ที่ยากขึ้นเพราะว่าคนเราในปัจจุบันความอดทนมีน้อย

ประการที่สอง สมาธิสั้น ประการที่สาม หลักสูตรค้านกับหลักการศึกษาปัจจุบันทั่วไป ปกติอย่างหลักสูตรทั่ว ๆ ไป พอทำข้อสอบ อาจารย์เขาจะตรวจว่าถูกเท่าไร แล้วก็ให้คะแนน แต่ของบาลีเขาตรวจว่าผิดเท่าไร ถ้าผิดครบ ๑๒ แห่ง ต่อให้ที่เหลือถูกหมดก็ตกแล้ว

ฉะนั้น..บาลีมีโอกาสผิดได้ไม่เกิน ๑๒ คำ ตีเสียว่าส่วนอื่นได้คะแนนเต็ม ก็แปลว่าต่อให้ได้คะแนน ๘๘ เต็ม ๑๐๐ แต่ก็ต้องตก เพราะฉะนั้น..หลักการบาลีก็เลยสวนทางกับทางโลก

ผู้ที่จบประโยค ๙ ในปัจจุบันก็เลยกลายเป็นอะไรที่ประหลาด ๆ อยู่หน่อย คือ เรื่องที่ไม่น่าทำได้ เขาก็ทำได้ ความจริงแล้วถ้าเป็นความเห็นของอาตมา ปริยัติในปัจจุบันควรจะปรับปรุงได้แล้ว ปรับในลักษณะที่ว่า ใครเรียนนักธรรมตรีก็ให้เรียนควบประโยค ๑-๒ ไปเลย เรียนนักธรรมโทก็ประโยค ๓ , ๔ , ๕ ควบไป เรียนในลักษณะเก็บสะสมคะแนนแบบหน่วยกิต

เรียนแล้วทิ้งไปเลย ท่านใดก็ตามที่ต้องการใช้งานในส่วนของปริยัติเกี่ยวกับการแปลจริง ๆ ให้ไปเรียนเป็นการเฉพาะ ชำนาญเป็นการเฉพาะทางไป แล้วการเรียนบาลีจะง่ายขึ้น ง่ายขึ้นเพราะเก็บสะสมหน่วยกิตได้ เพราะว่าการเรียนนั้น ส่วนใหญ่ก็เรียนเพียงเพื่อรู้ว่ามีอะไรบ้าง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 93 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 19-08-2010, 10:45
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อเรื่องปริยัติของเราก็เอาตัวไม่รอด พยายามจะรักษาข้อมูลต่าง ๆ ให้ฝ่ายปฏิบัติ คนเขาก็เห็นประโยชน์น้อย เพราะว่าพระปฏิบัติมักจะไม่มียศ ไม่มีตำแหน่ง จึงไม่ถูกอารมณ์เขา ก็เลยกลายเป็นว่า ปัจจุบันนี้เขาเรียนปริยัติกันมากกว่า

ทำให้บุคคลที่จะเข้าถึงการปฏิบัติจริง ๆ ในลักษณะที่จะเป็นทนายแก้ต่างให้พระพุทธศาสนาได้ก็เลยมีน้อย ในเมื่อปริยัติตกต่ำ ปฏิบัติตกต่ำ โอกาสที่จะเข้าถึงปฏิเวธ คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาและปฏิบัติก็ยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่

โดยเฉพาะปัจจุบัน พระนักเรียนที่เรียนด้านของบาลี เรียนจบประโยค ๙ แล้ว เขาเทียบวุฒิเท่ากับปริญญาตรีเท่านั้น ประโยค ๙ ถ้ายอดฝีมือเรียนแบบไม่ตกเลยก็ต้องเรียนถึง ๘ ปี ถ้าตกก็นานกว่านั้น ถ้ายิ่งท่านเจ้าคุณพระราชสิทธิเวที ประโยค ๙ ชั้นเดียว ท่านตกถึง ๑๔ ปี..!

ประโยคเก้าคนต้องเรียนอย่างน้อยถึง ๘ ปี น่าจะเทียบวุฒิให้มากกว่านั้น แต่เขาให้เท่าปริญญาตรี และถ้าจะเทียบ เขาให้ไปศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมด้วย ต้องไปเรียนคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฯลฯ วิชาทางโลกหลัก ๆ เพิ่มเข้ามาอีก ไม่อย่างนั้นเขาไม่เทียบให้

พระผู้ใหญ่ของเราน่าจะผลักดันว่า การเรียนบาลีเป็นการเรียนเฉพาะทาง อย่างในลักษณะเอกภาษาจีน เอกภาษาไทย เอกภาษาอังกฤษ ของเราก็ให้เป็นเอกภาษาบาลี แต่ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เขายังไม่กล้าแตะต้อง เพราะเขาเชื่อว่าหลักสูตรเก่า ๆ ขลัง สอบพันกว่าคน ได้ ๒๐ คน รู้สึกว่าขลังมากเลย..! หรือใครเอ่ยปากขึ้นมา ก็อาจจะโดนดองเค็ม ก็เลยยังไม่มีใครกล้าไปลุยตรง ๆ เสียที

บรรดานักศึกษาบาลีส่วนใหญ่จะท้อถอย แล้วก็เลิกเรียนบาลี หันมาเรียนพุทธศาสตรบัณฑิตแทน พุทธศาสตรบัณฑิตแม้ว่าจะเรียนยากกว่าทางโลก แต่ง่ายกว่าบาลีเยอะ คือถ้าหากคุณตั้งใจเรียนอย่างไรก็จบแน่ ส่วนบาลีถึงคุณตั้งใจเรียนก็อาจจะตกแน่..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 96 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 20-08-2010, 09:11
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อีกจุดหนึ่งที่ทำให้ศาสนาของเราอยู่ในลักษณะที่เสื่อมถอย ก็คือ บุคคลากรที่จะมาบวชมีน้อย อย่าลืมที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า เกิดมาเป็นมนุษย์ก็แสนยาก กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การจะดำรงชีวิตอยู่รอดไปจนกระทั่งบวชก็แสนยาก กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ กว่าจะมีอายุถึง ๒๐ ปี โอกาสตายก็มีเยอะเลย กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ การจะได้ฟังธรรมนั้นแสนยาก กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้านั้นยากที่สุด

ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ยาก แล้วคนในปัจจุบันยังติดข้องอยู่กับกระแสบริโภค โดยเฉพาะในส่วนของหน้าที่การงานต่าง ๆ ไม่อำนวยให้ลาบวชนาน ๆ อย่างเก่งก็ลาได้ ๗ วัน ๑๕ วัน ราชการยังดีอนุญาตให้ลาได้ ๑๒๐ วัน แต่ก็ให้คนละครั้งเดียวตลอดชีวิต..!

ในเมื่อบุคคลากรที่จะเข้ามาบวชมีน้อย แล้วจะให้ศาสนาเจริญรุ่งเรืองจึงเป็นไปได้ยาก อย่างของวัดท่าขนุนปีนี้ส่งรายชื่อพระเณรจำพรรษาทั้งหมด ๓๔ รูป วัดอื่นเขาเห็นเป็นของประหลาด วัดบ้านนอกเอาพระเณรจากที่ไหนมาเยอะขนาดนั้น ? ส่วนใหญ่จะมีให้ครบ ๕ รูปเพื่อรับกฐินก็ยากแล้ว

พอการเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะในระดับปริญญา ไม่ว่าจะเป็นศาสนศาสตรบัณฑิตหรือพุทธศาสตรบัณฑิต ได้รับการรับรองและกำหนดขั้นเงินเดือนโดย ก.พ. ขึ้นมา พระเณรก็สึกไปทำงานกันเสียมาก จากที่เราเคยภูมิใจว่า ประเทศไทยมีพระเณรอยู่ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูป ปรากฏว่าตอนนี้มีอยู่ประมาณ ๑๒๕,๐๐๐ รูปเท่านั้น หายไปเกินครึ่ง

คราวนี้เรามาดูว่า การสำรวจประมาณปี ๒๕๓๐ บ้านเรามีพระเณรประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ รูป ตอนนี้ปี ๒๕๕๓ ตีเสียว่า ๒๐ ปีเหลือประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วถ้าเราคิดเทียบบัญญัติไตรยางค์ อีก ๒๐ ปีข้างหน้าจะเหลือเท่าไร ? ก็น่าจะเหลือไม่ถึงแสน..!

ถามว่าในเมื่อการศึกษาทำให้พระสึกหาลาเพศไปเยอะ เราจะไม่สนับสนุนการศึกษาหรือ ? ไม่ใช่..จำเป็นต้องสนับสนุน เพราะถ้าหากความรู้ไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถที่จะออกไปทำมาหากินได้ พระศาสนาของเราถือว่าเปิดกว้างสำหรับทุกคน การเปิดกว้างก็อยู่ในลักษณะว่า คุณจะเข้ามาบวช มีศรัทธาเท่าไรเราก็ไม่ว่า บวชยาวก็ยินดีต้อนรับ บวชสั้นก็ยินดีต้อนรับ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 89 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 20-08-2010, 09:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ย้อนกลับมาตรงที่กล่าวเอาไว้ว่า พวกเราปฏิบัติแล้วยังไม่เกิดผลจริง ถ้าเราปฏิบัติแล้วเกิดผลจริง เราก็จะยืนยันได้ว่าหลักปริยัติธรรมนั้นถูกต้อง การปฏิบัติเห็นผลเกิดเป็นปฏิเวธ คือผลลัพธ์เฉพาะของแต่ละคนขึ้นมา ถ้าทุกคนสามารถทำได้ ศาสนาเราจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกวาระหนึ่ง

ปัจจุบันนี้แล้วน่ายินดีมาก ที่บรรดาแม่ชีและฆราวาสจำนวนมาก กลายเป็นที่ยึดเหนี่ยวของญาติโยมได้ แม่ชีเองยังอยู่ในสถานภาพของนักบวช แต่ฆราวาสที่ปฏิบัติจนกลายเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้อื่นได้ ต้องถือว่าสุดยอดฝีมือจริง ๆ เรียกว่า Born To Be เกิดมาเพื่อเป็นอย่างนั้น

ยกตัวอย่าง คุณแม่สิริ กรินชัย ลูกศิษย์เต็มบ้านเต็มเมือง แต่ละปีเปิดการอบรมวิปัสสนากรรมฐานเป็นสิบ ๆ ครั้ง และยังมีบรรดาอาจารย์ท่านอื่น ๆ อีกเยอะแยะ จนกระทั่งมีประโยคที่ทำให้ชอกช้ำระกำใจว่า "อยากรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ให้ถามพระ อยากรู้เรื่องธรรมะให้ถามโยม"

บรรดาแม่ชีต่าง ๆ อย่างแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เจ้าของเสถียรธรรมสถานและสาวิกาสิกขาลัย เปิดการเรียนการสอนถึงในระดับปริญญาตรี

แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม ก็เป็นที่พึ่งให้แก่ญาติโยมเขา เงินทองไหลมาเทมา แม่ชีเอาไปเลี้ยงพระหมด เอาไปก่อสร้างหมด โดยเฉพาะท่านเลี้ยงพระที่ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา กี่รุ่นต่อกี่รุ่นแม่ชีเหมาเลี้ยงหมด

นอกจากนี้ยังมีแม่ชีมโนราห์อีก บรรดาแม่ชีต่าง ๆ จะว่าไปแล้ว สามารถให้ความใกล้ชิดและเข้าใจต่อญาติโยมที่เป็นอุบาสิกาได้ดีกว่า บางรายก็ไปกอดแม่ชีร้องไห้ อาตมาก็ยืนดู เออ..โชคดีที่เราไม่มีเวรกรรมอย่างนี้ ไม่อย่างนั้นคงได้ซักจีวรกันวันละหลายรอบ..!

เวลาแม่ชีเขาไปเลี้ยงพระ ตอนที่อาตมาไปปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามกติกาของมหาวิทยาลัย แม่ชีเขาทิ้งงานหมดเลยนะ ไปอยู่เลี้ยงพระ แต่ญาติโยมเขาไม่ยอมทิ้งแม่ชี ขับรถตามไปเป็นกลุ่ม ๆ ๑๐-๒๐ คน แม่ชีทำกับข้าวเลี้ยงพระเหนื่อยแทบตาย มีเวลานิดหนึ่งก็ยังต้องมารับฟังความทุกข์ของเขาอีก

ในจุดนี้เราจะเห็นว่า เรื่องของพระศาสนา ที่พระพุทธเจ้าฝากไว้กับพุทธบริษัททั้ง ๔ นั้น ถูกต้องเลย เพียงแต่ว่าภิกษุมีอยู่ แต่ภิกษุณีถ้านับสายเถรวาทไม่มีแล้ว อย่างภิกษุณีธัมมนันทา ที่วัตรทรงธรรมกัลยาณี ก็บวชของสายมหายาน ในส่วนของอุบาสกอุบาสิกาเรายังมีเป็นปกติ แต่อุบาสกอุบาสิกาที่เป็นหลักยึดให้แก่คนอื่นได้ในหลักธรรมก็มีน้อย คงต้องฝากความหวังไว้กับพวกเราทั้งหมดนี่แหละ..!


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงเย็น ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันเสาร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 101 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:20



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว