กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี

Notices

เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี เก็บข้อธรรมจากบ้านวิริยบารมีมาฝาก สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไป

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #61  
เก่า 02-12-2013, 16:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : การเห็นรูปเห็นนามเป็นอะไร เป็นภาวนามยปัญญาหรือเปล่าครับ ?
ตอบ : การเห็นรูปเห็นนามเป็นทั้งจินตามยปัญญา ก็คือการนึกคิดแล้วเห็นแจ้งเข้าใจ และภาวนามยปัญญาก็คือการเห็นด้วยปัญญา ยอมรับว่าสภาพจริง ๆ เป็นอย่างนั้น อย่างแรกเหมือนกับเห็นตามตำรา อย่างที่สองเห็นเพราะเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ

ถาม : อย่างในฌานต้องเห็นเป็นนิมิต เป็นรูป แต่ในวิปัสสนาต้องเห็นว่าไม่มี ?
ตอบ : ต้องดูด้วย เรื่องของรูปนาม ถ้าอยู่ในฌานส่วนใหญ่เหลือแต่นาม ไม่มีรูป เพราะสมาธิของเราดิ่งอยู่ข้างใน เหลือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณให้เรารับรู้อยู่ เพราะว่าจิตกับกายแยกออกจากกัน แล้วเรื่องของรูปก็กลายเป็นหุ่นอยู่เฉย ๆ เราไปรู้ในเรื่องของนามเสียมากกว่า

แต่ถ้าวิปัสสนา วิ แปลว่าวิเศษ แจ้ง ต่าง ปัสสนา คือ เห็น ก็คือเห็นอย่างวิเศษ เห็นตามสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอย่างไร นั่นเป็นการเห็นด้วยปัญญาจริง ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 179 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #62  
เก่า 02-12-2013, 16:41
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ที่เขาบอกว่าญาณทัสนะ ?
ตอบ : ญาณทัสนะก็คือการที่รู้เห็น คราวนี้การรู้เห็น ตราบใดที่ยังไม่เป็นวิมุตติญาณทัสนะ ยังไม่ใช่การรู้เห็นเพื่อการหลุดพ้น สักแต่ว่ารู้เห็นตามสภาพเท่านั้น แต่ถ้าจิตใจรู้เห็นแล้วยอมรับปล่อยวางได้ จึงจะเป็นวิมุตติญาณทัสนะ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 183 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #63  
เก่า 02-12-2013, 16:48
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : บางท่านบอกว่า ทรงสมาธิแล้วร่างกายนี่หายไป ?
ตอบ : ถ้าเป็นในส่วนของการปฏิบัติ ก็แปลว่าเริ่มทรงฌานระดับสูงได้ ถือว่าสภาพของจิตกับประสาทเริ่มแยกออกจากกัน ไม่รับรู้อาการทางร่างกาย เหมือนกับร่างกายนี่หายไป ถ้าเป็นส่วนของวิปัสสนาญาณ ก็จัดว่าเป็นภังคานุปัสสนาญาณ คือเห็นการดับสลายของร่างกาย ว่าไม่มีอะไรเหลืออยู่ ถ้ารู้เห็นละเอียดจริง ๆ แล้วอาศัยยกรูปขึ้นพิจารณาแล้วเพิกรูปทิ้งเสีย จะเป็นอากิญจัญญายตนฌานด้วย

ถาม : แล้วทำไมทิ้งต้องทิ้งรูป ?
ตอบ : แล้วจะเก็บไปทำไม ?

ถาม : ก็อยู่ ๆ หายไปเลย ?
ตอบ : แค่รับรู้ว่าเป็นอย่างไร แล้วไม่ไปปรุงแต่งก็พอ

ถาม : บางทีเราก็สงสัย ?
ตอบ : แค่ไม่รับรู้เฉย ๆ บางทีเราสนใจทำอะไรอยู่ตรงหน้า คนนั่งรอบข้างเยอะแยะไปหมด เราไม่รับรู้เขาเลย แล้วเขาหายไปไหน ? เขาก็อยู่ตรงนั้นนั่นแหละ

ถาม : ปฏิภาคนิมิต ?
ตอบ : ถ้าทำในเรื่องของกสิณ ก็พิจารณาองค์กสิณ จัดว่าเป็นรูป แต่ก็เป็นเพียงรูปในนามเท่านั้น เพราะว่าไม่ได้สัมผัสจับต้องจริง ๆ กำหนดขึ้นมาเป็นรูปในความรู้สึกของเรา แต่คนอื่นสัมผัสจับต้องไม่ได้ จัดเป็นเพียงรูปในนามเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการทรงฌานธรรมดา ๆ ลักษณะของรูปในนามที่ชัดที่สุด ก็คือลมหายใจเข้าออก ไม่ใช่รูปที่แท้จริง เป็นรูปในส่วนที่เป็นนามธรรม คือสามารถกำหนดได้ รู้ได้ แต่จับต้องไม่ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 02-12-2013 เมื่อ 18:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 179 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #64  
เก่า 02-12-2013, 16:54
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ทำสมาธิให้ทรงตัวแล้วก็ค่อยพิจารณารูป แต่ไม่ได้ตั้งพิจารณาไว้ก่อน ?
ตอบ : นั่นก็คือวิปัสสนาธรรมชาติ เห็นแล้วมีความเข้าใจว่า สภาพความเป็นจริงของทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอย่างนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ถ้าดูจากวิปัสสนาญาณก็คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เห็นการเกิดและการดับของสรรพสิ่งทั้งหลาย

คราวนี้ในเรื่องของปัญญาที่รู้เห็น ไม่ใช่ว่าไปตามขั้นตอน หากแต่ว่าไปตามกำลังของสมาธิของเรา สมาธิของเรายิ่งสูงมากเท่าไร ก็ส่งให้ปัญญามีกำลังรู้เห็นได้มากเท่านั้น ดังนั้น..ท่านเองพอท่านมองเห็น ท่านก็รู้ว่าขนาดทองคำแท้ ๆ ยังเสื่อมสลายได้ แล้วสภาพร่างกายของเรา ไม่ใช่โลหะ ไม่ได้แข็งแกร่งขนาดนั้น ก็ไม่เหลือเหมือนกัน ของคนอื่นก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ท่านก็ถอนความปรารถนาในร่างกายออก ก็จบ

เรื่องของคนที่ทำ ต้องบอกว่าพอเขาทำได้แล้วดูง่าย แต่ตอนที่ตะเกียกตะกายทำนี่แทบตายเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 173 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #65  
เก่า 02-12-2013, 16:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ในธัมมจักรฯ ที่ว่าพระอัญญาโกณฑัญญะเห็นแจ้ง ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ?
ตอบ : ในส่วนที่ท่านเห็นก็คือ เป็นการสรุปในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาตั้งแต่ต้น ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ เราจะดูว่าตั้งแต่ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสมาในเบื้องต้น ตั้งแต่บอกว่า ๒ ส่วนที่ภิกษุไม่ควรไปเสวนาด้วย ก็คือการทรมานตน และการทำตนสบายจนเกินไป แล้วท้ายที่สุดก็ต้องเลี้ยวเข้ามาหาอริยสัจ ๔ ก็คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ท่านก็สรุปได้ว่า สิ่งใดที่เกิดขึ้น ถ้าเราไม่ไปยุ่งด้วย สิ่งนั้นก็ดับไป นั่นก็คือการที่ท่านอัญญาโกณฑัญญะท่านสรุปมา เพราะฉะนั้น..ในส่วนที่ว่า ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมัง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดแต่เหตุ ถ้าเหตุดับสิ่งนั้นก็ดับ เป็นการสรุปผลของท่านอัญญาโกณฑัญญะ ท่านสรุปจากสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสมาทั้งหมด ว่าที่แท้เป็นอย่างนี้

ในเมื่อท่านเข้าใจ ก็คือท่านเห็นหลักธรรมในตรงนั้นว่า ความเป็นจริงของธรรมชาติเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะฉะนั้น..สิ่งที่ท่านเห็นก็คือเห็นสัจธรรมแท้ ๆ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป


ถาม : การเห็นนี่คือ ?
ตอบ : การเข้าใจ เป็นการเห็นด้วยปัญญา เรียกปัญญาจักษุ เข้าใจ เห็นแจ้ง แล้วก็ยอมรับว่าความจริงเป็นเช่นนั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 173 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #66  
เก่า 02-12-2013, 17:02
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : อย่างรู้ว่ารูปกระทบภาวะแข็ง ภาวะเย็น ภาวะร้อน อย่างนี้ถือว่าเห็นรูปแล้วใช่ไหมครับ ?
ตอบ : เป็นการกำหนดรูปนามเฉย ๆ กำหนดรู้สึกในส่วนของความรู้สึกทั้งหมด เป็นเวทนาก็จัดเป็นนาม แต่ถ้าสัมผัสในส่วนที่เรารู้สึกได้ก็จัดเป็นรูป ความรู้สึกที่สัมผัสก็เป็นนาม แค่นั้นเอง

ส่วนทั้งหลายเหล่านี้ ถ้ากำลังใจของเราจดจ่อต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ก็แค่เราไม่ปรุงแต่งให้เกิด รัก โลภโกรธ หลง เท่านั้น ยังไม่สามารถที่จะเอาไปใช้งานจริงได้ เผลอสติเมื่อไรกิเลสจะตีกลับคืน แต่ถ้าเราไม่เผลอสติ สามารถดำเนินจดจ่อต่อเนื่องได้โดยตลอด กิเลสไม่มีโอกาสเกิด ถ้าทำได้ยาวนานพอ การที่กิเลสเกิดไม่ได้ กิเลสก็จะดับไปเอง แต่ถ้าทำลักษณะอย่างนั้นต้องบอกว่าเดินทางไกล คำว่าเดินทางไกลก็คือถึงได้ยาก เพราะว่าคนที่จะเอาสติจดจ่อต่อเนื่องตามกัน ทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งหลับทั้งตื่นนั้น หาได้ยากมาก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 162 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #67  
เก่า 02-12-2013, 17:05
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : อุทยัพพยญาณ ท่านจะเห็นลักษณะไหน ?
ตอบ : สมมติที่เขายก..ย่าง..เหยียบ ยกหนอ...ทันทีที่ยก พอหนอก็คือสิ้นสุดลง ก็คือเกิดขึ้น ดับไป ย่างหนอ...ระหว่างย่างก็คือเกิดขึ้น หนอสุดลงก็คือดับไป เหยียบหนอ..เหยียบก็คือเกิดขึ้น หนอก็คือดับไป ก็คือลักษณะของการเกิดดับ ๆ เป็นระยะ ๆ เขาเรียกว่าสันตติ สืบเนื่องไป แต่ความละเอียดของจิตที่แยกแยะออก ทำให้เห็นชัดว่าความเกิดดับเป็นชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ไล่กันไปเรื่อย ๆ จึงดูเหมือนตั้งอยู่ แต่ความจริงดับอยู่ตลอดเวลา
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 164 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #68  
เก่า 02-12-2013, 17:50
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : บางท่านบอกว่า แม้แต่ความตั้งใจทำ ก็มีกิเลสแฝงอยู่ ?
ตอบ : ทุกอย่างมีกิเลสแฝงอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าในส่วนของกิเลสตัวนี้ เป็นสิ่งที่เกิดกับปัญญา ก็คือเรามีปัญญาเห็นว่าควรจะทำอย่างนั้น ถึงจะเป็นทางของการหลุดพ้น ท่านก็เลยไม่ได้เรียกเป็นกิเลสตัณหา แต่เรียกเป็นธรรมฉันทะ เพราะถ้าไม่อยากเราจะไม่ทำ

ถาม : ท่านกล่าวถึงเพราะมีความปรารถนาให้สติตามรู้ทัน ท่านละเอียดลึกซึ้งมากเลยครับ
ตอบ : จะว่าไปแล้วก็คือทำให้ได้ก่อน อย่าเพิ่งไปคิดเรียกว่าอะไร หรือว่าเป็นอย่างไร ถ้าทำได้จริง ๆ สภาพสติจะตามทัน ก็จะอ๋อ...ที่แท้เป็นอย่างนี้เอง จะได้ระมัดระวังตัวเอง ไม่เช่นนั้นจะมัวแต่กลัวกิเลสแล้วไม่ได้ทำอะไรเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 02:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 167 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #69  
เก่า 02-12-2013, 17:53
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : บางท่านสอนรู้อิริยาบถ ให้ปล่อยตามธรรมชาติ ?
ตอบ : จริง ๆ แล้วควรจะให้รับรู้ตามธรรมชาติ เพราะว่าคนเราเองไม่มีเวลาที่จะไปยกย่างเหยียบอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น..สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราทำ ไม่ว่าจะเดิน กิน นั่ง นอน คิด พูด ทำ หรืออะไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องเอาสติไปใส่ไว้ตลอด เพื่อที่จะได้ไม่เผลอไปปรุงแต่ง ไปรักหรือไม่รัก ชอบหรือไม่ชอบ ฯลฯ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 02:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 170 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #70  
เก่า 02-12-2013, 18:25
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : อย่างกายคตาสติ ที่บอกว่าเราดูเส้นผมขณะปัจจุบัน ?
ตอบ : ดูทั้งในอดีต ก็คือระลึกรู้อยู่ว่า ก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร ดูอยู่ในปัจจุบัน คือตอนนี้เป็นอย่างไร ดูไปในอนาคต สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันท่านบอกว่า ให้พิจารณาในส่วนของปฏิกูลสัญญาร่วมกันไปด้วย ก็คืออย่างเช่นว่า ปฏิกูลโดยสภาพ ต่อให้เราสระผมใหม่ ๆ สะอาดเอี่ยมเลย ถ้าเส้นผมตกไปในอาหาร เราก็ไม่กินเพราะเรารังเกียจ นี่คือปฏิกูลโดยสภาพ

ปฏิกูลโดยการสัมผัส คืออยู่กับร่างกายของเรา โดนเหงื่อไคลจับต้องเข้า ก็เกิดกลิ่นสาบกลิ่นสางขึ้นมา ท่านให้เอาปฏิกูลสัญญาประกอบเข้าไปด้วย


ถาม : ไม่ใช่อารมณ์นึกหรือครับ ?
ตอบ : ตอนแรกเหมือนกับนึก คือว่าจำว่าเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าพิจารณาไปจนกระทั่งสภาพจิตยอมรับ จะเป็นปัญญา มองเห็นจริง ๆ ว่าเป็นอย่างนั้น

ถาม : อย่างอดีตเราเจอสภาพศพอย่างนั้น แต่ปัจจุบันซากศพที่เน่าเปื่อยแบบนั้นเราไม่ได้เจอ ?
ตอบ : เจออันไหนก็ทำเหมือนกัน อย่างเจอเขียงหมู เป็นต้น

ถาม : แล้วน้อมมาใส่ตัว ?
ตอบ : เหมือนกัน เรากับหมูโดนหั่นเป็นชิ้น ๆ ก็มีลักษณะเหมือนกัน มีเลือดมีเนื้อ มีอวัยวะภายในเหมือนกัน

ถาม : ถ้าเราไปเจอแล้วน้อมเข้ามาสู่ภาพนั้นก็เป็นอดีต ?
ตอบ : เป็น..แต่ในขณะเดียวกันอารมณ์ของเราดึงมาอยู่ในปัจจุบัน ก็คือเปรียบเทียบกับตัวของเราเอง ท่านใช้คำว่าโอปนยิโก ต้องน้อมนำเข้ามาในตัวเราเสมอ ว่าสภาพร่างกายแบบนั้น ตัวเราก็เป็นแบบนั้น ในเมื่อน้อมนำมาเข้าแล้วก็กระจายออกว่า ตัวเราก็เป็นแบบนี้ คนอื่นก็เป็นเช่นนี้ ในเมื่อสภาพความเป็นจริงเป็นอย่างนี้ แล้วตัวเราจะยังมีความปรารถนาในสภาพร่างกาย ที่เต็มไปด้วยความสกปรกเหมือนอย่างกับซากศพเหล่านี้ไปทำไม แล้วในเมื่อร่างกายของเรา เรายังไม่ต้องการ แล้วของคนอื่นเราจะต้องการไหม ? กระจายออกแล้วรวมเข้า รวมเข้าแล้วกระจายออก ดังนั้น..แม้ว่าจะเป็นส่วนของอดีต แต่ถ้าเราดึงขึ้นมาพิจารณา ก็กลายเป็นปัจจุบัน

ถาม : ร่างกายคนอื่นก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ก็เป็นอนุมานไม่ได้เห็นจริง ?
ตอบ : ถ้าปัญญาถึงจะเห็นจริง ๆ ก็คือในเมื่อตัวเราเป็นอย่างนั้น คนอื่นก็เป็นอย่างนั้น สภาพทุกอย่างเหมือนกันหมด ไม่มีอะไรต่างกัน ลักษณะเหมือนกับเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหมือนกัน ประกอบไปด้วยอาการ ๓๒ เหมือนกัน ถ้าลักษณะทางโลกทั่ว ๆ ไปจะเป็นการอนุมาน แต่ถ้าสภาพจิตของเรายอมรับ มีปัญญาเห็นจริง จะรู้แจ้งแทงตลอดไปหมดเลย จะไม่โดนสิ่งที่มาบดบัง เคลือบแคลง หรือว่าสงสัยอยู่ เพราะว่าในส่วนของดวงปัญญา สว่างเหมือนกับแสงที่สว่างมาก เมื่อฉายไปในที่มืด ย่อมเห็นภาพทุกอย่างได้อย่างชัดเจน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 03-12-2013 เมื่อ 10:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 159 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #71  
เก่า 02-12-2013, 18:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : จิตตานุปัสสนากับธัมมานุปัสสนา ในส่วนที่ว่าจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ และในธัมมานุปัสสนา รู้ว่ามีกามฉันทะก็รู้ว่ามีกามฉันทะ อันนี้แตกต่างกันอย่างไรครับ ?
ตอบ : จริง ๆ ก็คือรู้อยู่ในปัจจุบันขณะว่าจิตเสวยอารมณ์อย่างไร ? ส่วนในเรื่องของธัมมานุปัสสนานั้น ท่านยกขึ้นมาในเรื่องการพิจารณาว่าอารมณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร ? ในเมื่ออารมณ์ใจที่ประกอบไปด้วยราคะอย่างนี้ ตอนนี้ทำให้เราเกิดความร้อนรุ่มกระวนกระวายอย่างไร ? เกิดความทุกข์อย่างไร ? แล้วเราเองยังปรารถนาความทุกข์เช่นนั้นอีกหรือไม่ ? ถ้าเราไม่ปรารถนา เราวางลงได้ไหม ? ถ้าวางได้ก็จะจบ แต่ถ้าเราไม่วางลง เอาไปปรุงแต่งต่อ ก็จะเกิดปัญหาต่อไป

ในส่วนของธัมมานุปัสสนาส่วนใหญ่จะเป็นการพิจารณาแล้ว ในส่วนของจิตตานุปัสสนาเป็นการรู้เท่าทันในปัจจุบันขณะ


ถาม : ธัมมานุปัสสนานี่คือเข้าใจที่ปรากฏ ?
ตอบ : เข้าใจในสิ่งที่มาปรากฏตามสภาพความเป็นจริง อย่างเช่น นิวรณ์ ๕ กามฉันทะ ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย ที่เกิดขึ้นกับตัวเองก็รู้อยู่ แต่สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่เรา ในเมื่อสร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่เรา ถ้าเราไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งต่อ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะสร้างทุกข์สร้างโทษแก่เราได้ ก็เท่ากับว่าดับไป ส่วนหนึ่งอยู่ในลักษณะแค่รู้เท่าทัน อีกส่วนหนึ่งประเภทรู้แล้วปล่อยวาง

ถาม : ถ้ามีสติรู้ทันจะดับไปเอง ?
ตอบ : จะดับไปเอง แต่ว่าในส่วนของสติรู้เท่าทันนั้น จะอยู่ในลักษณะว่าดับโดยการไม่ปรุงแต่งต่อ ในเมื่อดับโดยไม่ปรุงแต่งต่อ ก็จะอยู่ในลักษณะของ ตทังควิมุตติ การหลุดพ้นด้วยองค์ของวิปัสสนาญาณนั้น ๆ แต่ถ้าเราเองรู้เหตุจริง ๆ ว่าเกิดอย่างไร แล้วเราไม่ไปแตะต้องสาเหตุนั้น จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ถ้าอย่างนั้นจะเป็นสมุจเฉทวิมุตติ ก็คือตัดขาดได้อย่างสิ้นเชิง

ถาม : จะกินข้าวให้อร่อย ?
ตอบ : เขาไม่ได้ต้องการให้อร่อย

ถาม : ถ้าไม่อร่อยก็ไม่กินนี่คะ ?
ตอบ : อร่อยกว่าปกติด้วย เพียงแต่ว่ารู้เท่าทันแล้วไม่ไปคิดเท่านั้น ที่อร่อยกว่าปกติ เพราะพอสภาพจิตยิ่งละเอียด การรู้รสยิ่งละเอียดขึ้น

ขออภัยโยมบางคนที่ฟังไม่รู้เรื่องนะจ๊ะ เพราะว่าบางอย่างที่โยมเขาถาม ต้องยกศัพท์บาลีขึ้นมาประกอบด้วย ถ้าเราไม่มีพื้นฐานเรื่องทั้งหลายเหล่านั้นมาก่อนก็จะไม่เข้าใจ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 02:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 144 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #72  
เก่า 03-12-2013, 10:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : เวลากิเลสเกิดขึ้น ไม่รู้ทันขณะเกิด มารู้ทีหลัง ต้องมาตั้งรู้ใหม่
ตอบ : วิ่งตามหลังกิเลส แต่ยังดีที่รู้ทันว่ากิเลสเกิด

ถาม : (ไม่ชัด)
ตอบ : สองอย่างจริง ๆ ต้องทำคู่กันไป เรื่องของสมถะเหมือนกับเราสร้างกำลังให้เกิด แล้วก็ใส่เกราะป้องกันตัวเอง ไม่อย่างนั้นถึงเวลากิเลสตีเรา ถ้าไม่มีกำลังของสมาธิซึ่งเป็นสมถกรรมฐานมาช่วย เราจะทนทุกข์ทรมานมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะตอนที่จะทำอย่างไรให้ระงับยับยั้งอยู่ จะทำอย่างไรจะรู้เท่าทัน แต่ถ้าเรามีตัวสมาธิเหมือนกับเราใส่เกราะอยู่ กิเลสมีปัญญาแค่ไหนก็กระทบไป ฉันไม่สะดุ้งสะเทือน ไม่หวั่นไหว ในเมื่อไม่สะดุ้งสะเทือนไม่หวั่นไหว เดี๋ยวก็มองเห็นเองว่าตัวไหนกวนเรา เราจะได้ตีหัวกิเลสได้ถูก

แต่ในเรื่องของวิปัสสนาก็คือการที่เรามีอาวุธคมกล้าอยู่ในมือ ฝ่ายหนึ่งมีกำลัง ฝ่ายหนึ่งมีอาวุธ ก็สามารถที่จะตัดอะไรให้ขาดได้ง่าย แต่ถ้าเราไปพิจารณาอย่างเดียว เหมือนกับเราไม่มีกำลัง พยายามไปยกอาวุธหนัก ๆ ยกเท่าไรก็ไม่ขึ้น ใช้งานไม่ได้ ดังนั้น ๒ อย่างต้องทำด้วยกัน

แต่ว่ามีบางสายเขาให้ทำอย่างเดียว ก็เป็นการทรมานบันเทิงมาก เพราะว่าถึงเวลาก็โดนกิเลสตีกระหน่ำเสียจนไม่เป็นผู้เป็นคน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 148 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #73  
เก่า 03-12-2013, 10:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเหมาะกับสายไหน ?
ตอบ : อยู่ที่เราว่าชอบแบบไหน และอยู่ที่เราว่าสร้างบุญมาดีพอไหม ถ้าเราชอบแบบนี้ เราทำของเราแบบนี้ ถ้าสร้างบุญมาดีพอ ได้สายกรรมฐานที่เหมาะสมแก่ตัวเอง ก็ได้มรรคได้ผลได้ง่าย แต่ถ้าเราไม่ชอบแบบนี้ ต่อให้เขาสอนให้ตายก็เหมือนกับไม่เข้าหู ต้องแล้วแต่เวรแต่กรรมว่าไปสร้างบุญร่วมกับใครมา เดี๋ยวพอฟังของเขาเข้าหูก็ปฏิบัติตามได้เอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 158 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #74  
เก่า 03-12-2013, 10:39
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : คำว่ามีวิปัสสนานำหน้าและสมถะตามหลัง แปลว่าอย่างไรครับ ?
ตอบ : พิจารณาไปเรื่อย ๆ สภาพจิตจะน้อมดิ่งเข้าไป จนกระทั่งกลายเป็นสมาธิไปเอง ขณะที่พิจารณาสมาธิจะค่อย ๆ เกิดขึ้น เพราะถ้าสมาธิไม่เกิด กำลังจะไม่พอตัดกิเลส ก็เลยกลายเป็นการเอาวิปัสสนานำหน้า แล้วในที่สุดสมถะก็จะตามมา แต่ถ้าลักษณะอย่างนี้ต้องปัญญาเยอะจริง ๆ ไม่อย่างนั้นแล้วกิเลสตีหงายท้องไปเสียก่อน

แต่ถ้าจะใช้สมถะในการหยุดยั้งกิเลสไว้ก่อน แล้วค่อยใช้กำลังพิจารณาทีหลังจะปลอดภัยกว่า แต่ก็จะมีโอกาสเผลอสติ ติดสุขอยู่ในสมาธินั้นจนลืมพิจารณา ต่างคนต่างก็มีข้อบกพร่องของตัวเอง จึงควรที่จะทำคู่กันไป สลับกันเดิน พิจารณาไปจนกระทั่งสมาธิเกิด แล้วก็หันมาภาวนา ภาวนาเสร็จไปต่อไม่ได้ ก็คลายออกมาพิจารณา จะผลัดกันเดินอย่างนี้จึงจะก้าวหน้า


ถาม : ไปพร้อมกันไม่ได้
ตอบ : เป็นไปไม่ได้ ลองเดิน ๒ ขาพร้อมกันดูสิ ก็กลายเป็นนกกระจอกเท่านั้น คือกระโดดไปอย่างเดียว นกกระจอกก้าวเดินไม่เป็น

ถาม : พอทำสมาธิถึงระดับหนึ่งแล้วผ่อนลงมาคิด ?
ตอบ : ความเคยชินทำให้เราคลายลงมาคิดเอง บางทีเราก็ไม่รู้ แต่เป็นการคิดโดยที่มีสมาธิระดับสูงคุมอยู่ สมาธิระดับสูงที่คุมอยู่ เป็นการประกันความปลอดภัยให้แก่เรา ว่าจะไม่พลาดหลุดออกไป

ถาม : ถ้าอยู่ในสมถะเข้าฌานเท่าไรก็เป็นตามกำลังที่ถอยออกมา ?
ตอบ : ตอนที่เราถอยมานั่นกำลังของฌานยังคุมอยู่

ถาม : การเข้ามรรคนี่อยู่ในอัปปนาสมาธิ ?
ตอบ : อย่าลืมว่าสมาธิที่เราเข้าต้องเป็นอัปปนาสมาธิ เพราะถ้ากำลังไม่ถึงอัปปนาสมาธิขึ้นไปก็ไม่พอตัดกิเลส ในเมื่อพอตัดกิเลสก็แสดงว่าอยู่ในอัปปนาสมาธิแล้ว ก็คืออยู่ในส่วนของมรรคที่เราจะก้าวไปหาผล
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 155 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #75  
เก่า 03-12-2013, 15:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : การเข้าถึงมรรคต้องเป็นฌานสี่หรือเปล่า ?
ตอบ : จะมรรคไหนก็ตาม อย่างน้อยต้องปฐมฌานขึ้นไป ไม่อย่างนั้นตัดกิเลสไม่ไหวหรอก แต่ถ้าตั้งแต่อนาคามีมรรคขึ้นไปก็ต้องฌาน ๔ ไม่อย่างนั้นกำลังไม่พอ กิเลสจะแรงกว่า

ถ้าโยมไม่เข้าใจก็เอาที่ง่าย ๆ นะจ๊ะ ตอนนี้เขาว่าของยากเพราะว่ากันตามตำรา ในเมื่อว่ากันตามตำรา ถ้าเราไม่ได้อ่านตำรามานี่ตายเลย โยมบางคนฟังไม่รู้เรื่อง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 156 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #76  
เก่า 03-12-2013, 16:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : อนิมิตตเจโตสมาธิ ?
ตอบ : ก็อยู่ในลักษณะของอรูปฌาน ไม่ต้องการนิมิต ยกนิมิตทิ้งเสีย ในเมื่อยกนิมิตทิ้ง เราก็พิจารณาจนอารมณ์ใจทรงตัวเต็มที่ ก็คือกำลังของฌาน ๔ ธรรมดานั่นแหละ ตั้งรูปขึ้นมาก่อน แล้วทิ้งรูปนั้นเสีย เป็นอรูปฌาน เพราะฉะนั้นอรูปฌานก็คืออนิมิตตเจโตสมาธิ

ถาม : ไม่ใช่วิปัสสนาใช่ไหมครับ ?
ตอบ : ไม่ใช่..อย่าลืมว่าเจโตฯ ยังเป็นกำลังสมาธิอยู่ เจโตวิมุตติไม่ใช่ปัญญาวิมุติ

ถาม : ลักษณะเหมือนกับเป็นวิปัสสนา ?
ตอบ : กำลังคล้ายคลึงกัน เพราะอย่าลืมว่าอากิญจัญญายตนฌาน ก็คือพิจารณาว่าทุกอย่างไม่มีอะไรเหลือเลย แม้แต่น้อยหนึ่งก็ไม่มี ก็เป็นวิปัสสนาญาณดี ๆ นี่เอง แต่ยังไม่ใช่ เพราะว่าเกาะฌานอยู่เต็มที่เลย

ถาม : ผมอ่านในมหาสุญญตสูตร ท่านพูดถึงฌานนิมิตกับอนิมิตตเจโตสมาธิ ท่านได้เข้ารูปฌาน และอรูปฌาน แล้วเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิ ?
ตอบ : บุคคลที่ทำได้จริง ๆ ถ้ามาถึงส่วนท้ายของอรูปฌานแล้ว ต้องใช้คำว่ายังมีส่วนของการยึดเกาะอยู่ ก็คือน้อย ๆ เกาะความดี เกาะกำลังสมาธินั้น ในเมื่อคุณไม่ต้องการที่จะเกาะตรงจุดนั้น ทำอย่างไรที่คุณจะปล่อย จะมีช่องว่างอยู่ตรงกลางส่วนหนึ่ง ซึ่งอธิบายได้ยาก เพราะว่าเป็นกำลังคล้าย ๆ กับระหว่างสมถะกับวิปัสสนาพอดี ๆ ที่เขาจะผ่ากลางเข้าไปได้

ตรงจุดของส่วนนั้น จัดว่าเป็นอนิมิตตเจโตสมาธิก็ได้ แต่อยู่ในลักษณะเห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นรูปฌานหรืออรูปฌานก็ตาม ก็ยังทำให้ยึดติดอยู่ เพราะฉะนั้น..ในส่วนที่ไม่ต้องการจริง ๆ ก็จะต้องปล่อยวาง จะอยู่ในลักษณะเหมือนกับว่า ซ้ายก็ไม่แตะ ขวาก็ไม่แตะ แต่ไม่ใช่เหยียบเรือสองแคม หากแต่ไปตรงกลางซอยพอดี

ในส่วนของสมถะ เราเกาะด้านนี้ก็ติดสมาธิ ในส่วนของวิปัสสนา ถ้าเห็นแล้วจิตยังปล่อยวางไม่ได้ ก็จะยังติดที่การรู้เห็นนั้น จุดนี้จะผ่ากลางไปพอดี
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:51
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 140 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #77  
เก่า 03-12-2013, 16:17
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ทำไมวิปัสสนาแล้วขี้โกรธ ?
ตอบ : คนเขาพูดไปเอง ก็คือคนที่ไปปฏิบัติธรรมระยะแรก ๆ จะอยู่ในลักษณะของการเก็บกด ในเมื่อเก็บกด โดนสะกิดมาก ๆ กดไม่อยู่ ก็ไประเบิดใส่เขา เขาก็เลยไปบอกว่าวิปัสสนาขี้โกรธ ก็หมายถึงพวกนักปฏิบัติ ถ้าไม่รู้จักระวังตัวเอง กิเลสจะตีกลับ..โดนฟัดตาย นั่นชาวบ้านพูดกันไป

ถาม : เกิดขึ้นได้เพราะอะไรครับ ?
ตอบ : สติขาด สมาธิหลุด กดกิเลสไม่อยู่ กิเลสเจริญงอกงามใหม่ เพราะฉะนั้น..บางสำนักที่เขาบอกว่า ไม่ให้ใช้สมาธิลึก ให้ใช้แค่ขณิกสมาธิ พวกนั้นจะโดนบ่อยเลย เพราะกำลังไม่พอ

ถาม : บางทีเราก็ปลอบใจว่าไม่เป็นไร คนอื่นก็ล้ม ?
ตอบ : ปลอบใจตัวเองดีเหมือนกัน เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งว่าเราพลาดตรงจุดไหน แล้วเราจะได้ระมัดระวังไว้ พอถึงจุดนั้นเราจะไม่พลาดอีก แต่ก็ยังมีโอกาสพลาดในจุดต่อไป ก็จะหกล้มหกลุกอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ แต่ว่าจะก้าวหน้าไปทีละน้อย ๆ

ถาม : แสดงว่าจะต้องไม่ปลอดภัยจนกว่าจะถึงเส้นชัย ?
ตอบ : ตราบใดที่ยังไม่ไปอยู่บนพระนิพพาน ยังหาความปลอดภัยไม่ได้หรอก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 154 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #78  
เก่า 03-12-2013, 16:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ผมอ่านในตำราว่า เรายิ้ม เรานึกถึงความว่าง ๆ ก็เป็นความสุขได้เหมือนกัน เราก็คิดว่าทำแบบนี้ไม่ผิดหรอก ?
ตอบ : อยู่ที่เราว่าตั้งใจทำเพื่ออะไร ถ้าต้องการความสุขเฉพาะหน้าแค่ชั่วครั้งชั่วคราว คุณทำอารมณ์อย่างไรก็ได้ ให้เกาะอยู่ในข้างสุขมากกว่าทุกข์ แต่เป็นกามาวจรล้วน ๆ ก็คือตายไปเต็มที่ก็ไม่เกินเทวดา

แต่ถ้าตั้งใจที่จะปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจริง ๆ เขาให้เน้นกองกรรมฐานกองใดกองหนึ่งที่เราชอบมากที่สุด แล้วตั้งหน้าตั้งตาทำจนได้ผลไปเลย พอถึงเวลาถ้าได้ผลสักกองหนึ่งแล้ว กองอื่นก็ใช้กำลังเท่ากัน เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการหรือนิมิตนิดหน่อยเท่านั้น แต่ต่อให้เปลี่ยนไปทำกองอื่น เขาก็ให้ทวนกองเก่าให้เต็มที่ก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนไป จะเป็นการขึ้นหน้าถอยหลัง ย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนเกิดความชำนาญจริง ๆ

อย่างที่คุณว่ามาเป็นแค่ผิวเผินในการรักษาอารมณ์ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น แต่ถ้าทำตามลักษณะที่ว่ามาตามกองกรรมฐานตั้งแต่ต้นจนจบ คือสามารถใช้ผลได้ ต่ำ ๆ คุณก็ไปเป็นพรหม แต่ถ้าปัญญามีมากพอ ตัดกิเลสได้ตามลำดับ แล้วสภาพจิตก็หลุดพ้นไปตามกำลังปัญญาของตนเองในช่วงนั้น ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 148 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #79  
เก่า 03-12-2013, 16:34
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ในที่ทำงานหนูทำสมาธิอยู่ แล้วมีพี่เขามาบ่นเรื่องโปรแกรม ซึ่งเครื่องก็ยังใช้ได้อยู่ บ่นข้าง ๆ หนูเลย หนูเลยคิดในใจไปเลยว่าให้เครื่องพังไปเลย จะได้หยุดบ่นเสียที ปรากฏว่าเครื่องพัง ?
ตอบ : ถ้าเป็นพระอาจจะปาราชิกไปแล้ว เพราะทำลายทรัพย์สินชาวบ้าน

ถาม : หนูแค่คิดแรง ๆ เท่านั้นเอง ?
ตอบ : ต่อไปไปคิดที่บ้าน ให้ที่พังเป็นของเรา ถ้าทำงานหลวงเดี๋ยวของหลวงเจ๊ง ทำงานเกี่ยวกับหน่วยงานก็ของกลางเจ๊ง เอาของที่บ้านเราให้เจ๊งไปเลย จะได้เสียเงินซื้อเอง

กำลังสมาธิของเราจริง ๆ แรงพอที่จะทำอะไร ๆ หลายอย่างแล้ว เราไปทำส่งเดชจะเกิดผลร้ายมากกว่าผลดี เราจะสังเกตว่า บุคคลที่มาทางสายอภิญญาสมาบัติ ถ้าสภาพจิตยังไม่ยอมรับกฎของกรรมจริง ๆ จะใช้กำลังได้ไม่เต็มที่สักราย เพราะถ้าใช้เต็มที่เดี๋ยวบรรลัยหมด จนกว่าเราจะยอมรับกฎของกรรมจริง ๆ ว่าสภาพทุกอย่างปกติธรรมดาเป็นอย่างนั้น คนมากวนเราให้โกรธ คนที่ไม่รู้ว่ากาย วาจา ใจ ของตัวเองเป็นทุกข์เป็นโทษกับคนอื่นอย่างไร ก็มีสภาพน่าสงสารอย่างนั้นเอง ช่างเขาเถอะ

ถ้าตราบใดสภาพจิตยังไม่เห็นธรรมดา ยังช่างเขาไม่ได้ เดี๋ยวก็ไปเล่นคนอื่นเขา ต่อไปจะไม่พังแต่เครื่อง คนจะพังด้วย ต่อไปก็จะกลายเป็นกรรมที่จะมาตัดรอนตัวเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 169 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #80  
เก่า 05-12-2013, 12:16
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : อานิสงส์การบวชต้องบอกพ่อแม่ไหมครับ ?
ตอบ : ยกเว้นพ่อแม่แล้วคนอื่นต้องบอก อานิสงส์การบวชยกให้พ่อแม่เท่านั้น ไม่ต้องบอกท่านก็ได้บุญ เพราะว่าเราเกิดมาเนื่องด้วยท่าน ถ้าไม่มีท่านเราก็ไม่ได้เกิดมาจนได้บวช เขายกให้พ่อกับแม่เท่านั้น คนอื่นก็ต้องโมทนาหรือไม่ก็ต้องไปร่วมงานด้วย

ถาม : มีบุญอะไรที่นอกจากการบวชแล้ว ไม่ต้องบอกด้วยปากให้เขาโมทนา เขาก็ได้บุญ ?
ตอบ : ยังไม่มี มีอยู่อย่างเดียว บอกท่านว่าฝากเงินฉันไว้แล้วกัน ถึงเวลาฉันทำอะไรจะได้มีส่วนของเธอด้วย ฝากไว้เดือนละร้อยครึ่งร้อยบาท ถึงเวลาทำให้เขา ๕ บาท ๑๐ บาทไปเรื่อย บุญจะได้เป็นของเขาไปเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-12-2013 เมื่อ 17:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 151 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:37



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว