#1
|
|||
|
|||
พระธรรมอันเป็นหัวใจที่ต้องการให้รู้เพื่อปฏิบัติให้เกิดผล
วันเสาร์ที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๕
ครบ ๕๐ วันงานหลวงพ่อ หลวงพ่อสมเด็จพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นประธาน ท่านเทศน์ ๑ กัณฑ์ ท่านยกย่องหลวงพ่อเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับผลงานในพระพุทธศาสนา มีรายละเอียดทั้งในเทปและในธัมมวิโมกข์ โปรดช่วยตนเอง ขอสรุปธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเมตตาสอนในระหว่าง ๕๐ วันแรก เท่าที่ผมเห็นว่าควรจะมีประโยชน์กับผู้อ่าน ดังนี้ ๑. ทรงเน้นเรื่องการตัดสังโยชน์ ๓ ข้อแรก เป็นสำคัญ ด้วยอุบายต่าง ๆ เพื่อปิดนรกให้ได้เร็วที่สุด เพราะความตายเป็นของเที่ยงแต่ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ไม่ขอเขียนรายละเอียด แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 02-11-2009 เมื่อ 11:32 |
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
๒. สังโยชน์ ๓ ข้อแรก ทรงเน้นเรื่องศีลเป็นสำคัญ คือ สีลัพพตปรามาส (สีลัพพตปรามาส ซึ่งแปลเอาความหมายทางธรรมว่า รักษาศีลให้บริสุทธิ์ จนเป็นอธิศีล)
๓. "มีเหตุจึงจักมีผล" พิจารณาได้หลายระดับ หลายวิธีตามบารมีธรรมของแต่ละคน ซึ่งไม่เสมอกัน เช่น
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 28-10-2009 เมื่อ 16:38 |
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
ข) ทำตามเจตนาที่ตนคิดชั่วไว้ ค) ทำแล้วก็สมตามเจตนา หากมีกรรม (การกระทำ) ครบ ๓ ข้อนี้ ศีลขาด ๑๐๐% หากเพียงแค่คิดชั่ว แต่ยังไม่ได้ลงมือทำ ศีลก็ยังไม่ขาด แต่ศีลก็ด่าง เป็นความชั่วระดับมโนกรรม หากลงมือกระทำชั่วตามที่คิด แต่ไม่สำเร็จตามที่คิด ศีลก็ยังไม่ขาด ศีลทะลุเป็นรู ๆ ยังไม่ถึงขาด เช่น วางแผนคิดจะโกหกเขา โดยเจตนาเพื่อเอาประโยชน์ใส่ตน แล้วก็ทำตามแผนคือพูดโกหก พูดไม่ตรงกับความเป็นจริง เพื่อหวังผลประโยชน์ให้ตัวเอง แต่บังเอิญผู้รับฟังไม่เชื่อ ศีลก็ยังไม่ขาด แต่ทะลุเป็นรูแล้ว เป็นความชั่วขั้นวจีกรรม โดยมีมโนกรรมเป็นหัวหน้า ขอให้ผู้อ่านเอาไปคิดพิจารณาต่อเอง ปัญญาจึงจะเกิดขึ้นจริง ๆ หมายความว่า จริงที่เรา จริงที่ผลของการปฏิบัติของเราเองเท่านั้น การพูด การสนทนาธรรม การอ่านหนังสือธรรมะมาก ๆ ยังไม่ใช่ของจริง เป็นเพียงแค่แนวทาง เป็นเพียงแค่หนทางของการปฏิบัติเท่านั้น ของจริงอยู่ที่ผล ซึ่งไม่สามารถจะทำแทนกันได้ โมทนากันไม่ได้ ของใครก็ของมันหรือกรรมใครกรรมมันทั้งสิ้น |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
|||
|
|||
สรุปในข้อนี้ก็คือ จะต้องใช้กรรมบท ๑๐ เป็นหลักในการปฏิบัติร่วมด้วย จึงจะทำให้ศีลบริสุทธิ์ขึ้น (กรรมบท ๑๐ แบ่งเป็น ๓ หมวด มีกายกรรม ๓ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม, วจีกรรม ๔ มีไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเรื่องไร้สาระ, มโนกรรม ๓ มีไม่คิดอยากได้ของผู้อื่นโดยไม่ชอบ ไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่น ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า) ในข้อนี้ทรงตรัสไว้ย่อ ๆ มีความว่า ไม่ทำ ไม่พูด ไม่คิด (ชั่ว) หมายความว่า ไม่เอากายไปทำชั่ว ๕ ประการ ก็คือศีล ๕ นั่นเองไม่พูดก็คือ ระวังกรรมบท ๑๐ หมวดวาจา ๔ นั่นเอง ไม่คิดก็คือระวังมโนกรรม ๓ เกี่ยวกับอารมณ์ โลภ โกรธ หลง นั่นเอง |
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
|||
|
|||
หมายเหตุ จากหนังสือธรรมะหลวงพ่อ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน เล่ม ๑
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 02-11-2012 เมื่อ 17:38 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|