กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 05-12-2013, 06:50
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,328
ได้ให้อนุโมทนา: 149,906
ได้รับอนุโมทนา 4,395,378 ครั้ง ใน 33,917 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

ขอให้ทุกคนนั่งในท่าที่ถนัดและสบายของตน จะนั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบก็ได้ ถ้าเป็นตัวอาตมาเองจะถนัดพับเพียบมาตลอด เนื่องจากด้วยความเคยชินก็คือ เมื่อเห็นพระท่านก็จะกราบ การนั่งขัดสมาธิกราบพระเป็นกิริยาที่ไม่สมควร จึงเคยชินกับการนั่งพับเพียบมาตลอด ให้ทุกคนยืดกายของตนเองให้ตรง แต่ไม่ใช่เกร็งตัว เหมือนกับว่าให้กระดูกสันหลังของเราทุกข้อเรียงกันเป็นเส้นตรง จะทำให้เราสามารถนั่งได้นาน แล้วก็ไม่เกิดอาการง่วงโงก แต่ถ้าเรานั่งหลังค่อม ถึงเวลาก็จะเกิดเผลอสติแล้วหลับได้ง่าย

เอาความรู้สึกทั้งหมดของเราอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานของเดือนพฤศจิกายนครั้งสุดท้าย ในเรื่องของการปฏิบัติกรรมฐานนั้น สิ่งที่ทิ้งไม่ได้เลยคือ การรู้ลมหายใจเข้าออกหรืออานาปานสติ เพราะว่าจะช่วยสร้างความมั่นคง สร้างสมาธิให้เกิดขึ้นแก่จิตใจของเรา จะได้เป็นพื้นฐาน เป็นกำลังในการตัดกิเลส ลำดับถัดไปก็คือพุทธานุสติซึ่งเป็นกองกรรมฐานที่ช่วยให้เราไปสู่พระนิพพานได้ง่ายที่สุด

ดังนั้น..โดยความเคยชินของอาตมาก็คือ จะจับลมหายใจเข้าออกพร้อมกับภาพพระ หายใจเข้าให้ภาพพระไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออกให้ภาพพระไหลตามลมหายใจออกมา ดังนี้เป็นต้น กรรมฐานกองต่อไปสำหรับนักปฏิบัติที่จะละทิ้งไม่ได้เลยก็คือพรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะการแผ่เมตตา เพราะว่าพรหมวิหารนั้นเป็นตัวคุมศีลของเราให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ถ้าเราระมัดระวังศีลของเราให้บริบูรณ์ได้ สมาธิก็จะทรงตัวได้ง่าย พรหมวิหาร ๔ จะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้ชุ่มชื่น เยือกเย็น ไม่รู้สึกว่าแห้งแล้ง ทำให้ไม่เบื่อไม่หน่ายในการปฏิบัติ

ถ้าถามว่าต้องใช้พรหมวิหาร ๔ ในเวลาใดบ้าง ก็ขอตอบว่าต้องใช้อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าไม่สามารถที่จะทำได้ตลอดเวลา อย่างน้อย ๆ เวลาปฏิบัติกรรมฐานเช้า ๆ เย็น ๆ ของเรา ก็ให้ซักซ้อมแผ่เมตตาให้เคยชิน เนื่องจากว่าจะทำให้ตัวเราเป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งจะไม่ให้มาเบียดเบียนเราเองโดยประการต่าง ๆ เมื่อแผ่เมตตาจนเคยชินแล้ว ไม่ว่าจะไปที่ใดก็ตาม สภาพจิตของเราก็จะชุ่มชื่น เบิกบาน เยือกเย็น ทรงตัวอยู่ ทำให้สามารถรักษากองกรรมฐานที่ตนเองกระทำได้โดยง่าย

กองกรรมฐานต่อไปที่จะต้องระลึกถึงเสมอ ก็คือมรณานุสติกรรมฐาน การนึกถึงความตายว่ามีแก่เราทุกลมหายใจเข้าออก เราจะได้ไม่เป็นผู้ประมาท เมื่อรู้ว่าเราอาจจะสิ้นชีวิตลงไปเมื่อใดก็ได้ หายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกเราก็ตายแล้ว หายใจออกถ้าไม่หายใจเข้าเราก็ตายอีกเช่นกัน เมื่อความตายอยู่ใกล้ชิดเราได้ขนาดนี้ จึงเป็นเรื่องที่เราจะต้องเร่งรีบในการปฏิบัติ เพื่อที่จะหลุดพ้นจากกองทุกข์นี้ให้ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-12-2013 เมื่อ 10:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 64 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 06-12-2013, 10:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,328
ได้ให้อนุโมทนา: 149,906
ได้รับอนุโมทนา 4,395,378 ครั้ง ใน 33,917 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ขอทบทวนว่า กองกรรมฐานที่จะต้องใช้อยู่อย่างสม่ำเสมอ ในการปฏิบัติธรรมของพวกเรา ประกอบไปด้วยอานาปานสติ พุทธานุสติ พรหมวิหาร ๔ และ มรณานุสติกรรมฐาน เมื่อกำลังใจของเราภาวนาจนทรงตัวแล้ว พอคลายออกมาต้องนำวิปัสสนาญาณต่างๆ มาพินิจพิจารณา ไม่เช่นนั้นแล้วความรัก โลภ โกรธ หลง จะอาศัยกำลังในการภาวนาของเรา ไปใช้ในการฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ฟุ้งซ่านอย่างหนักแน่น เป็นหลักเป็นฐาน เป็นการเป็นงาน ดึงกลับได้ยาก เพราะได้กำลังจากสมาธิไปช่วย

การพินิจพิจารณานั้นส่วนใหญ่ ก็ยึดหลักในการดูให้เห็นสามัญลักษณะ คือความเป็นจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย ๓ ประการ ได้แก่ อนิจจัง ความไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด ทุกขังความเป็นทุกข์ การดำรงชีวิตอยู่ของเรา ตั้งแต่ลืมตาตื่นจนหลับตาลงไป เราเดินอยู่บนกองทุกข์ตลอดเวลา อนัตตาไม่มีอะไรยึดถือเป็นตัวตนเราเขาได้ ล้วนแล้วแต่ประกอบขึ้นมาจากธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้เราอาศัย ให้เขาอาศัยอยู่เพียงชั่วคราว จนถึงเวลาก็เสื่อมสลายตายพังไปตามสภาพ

เมื่อเราเห็นความเป็นจริงของร่างกายอันนี้แล้ว ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย ถอดถอนจิตของตนออกมาจากการปรารถนาในร่างกายของตน เมื่อไม่ปรารถนาในร่างกายของตนเอง ก็ย่อมไม่ปรารถนาในร่างกายของคนอื่น เมื่อไม่ปรารถนาในร่างกายของตนเองและคนอื่น ก็ย่อมไม่ปรารถนาในโลกนี้ เมื่อไม่ปรารถนาในโลกนี้ ก็ย่อมไม่ปรารถนาในโลกอื่น ๆ คือ เทวโลกหรือพรหมโลกเช่นกัน

เมื่อเป็นดังนั้น ถ้าใครสามารถยกจิตไปสู่พระนิพพานได้ ก็ขึ้นไปกราบพระบนนั้น ถ้าใครไม่สามารถยกจิตไปสู่พระนิพพานได้ ก็ให้ตั้งใจนึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง ที่เรารักเราชอบเป็นพิเศษ ให้คิดว่านั่นเป็นพระพุทธนิมิต คือภาพองค์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเรากำหนดจิตเห็นท่าน ก็คือเราอยู่ใกล้ชิดกับท่าน การที่เราอยู่ใกล้ชิดกับพระองค์ท่าน ก็คือการที่เราอยู่บนพระนิพพานนั่นเอง ให้เอาจิตสุดท้ายของเราจดจ่ออยู่กับพระนิพพานดังนี้ แล้วภาวนาและพิจารณาไปตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันอาทิตย์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยรัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-12-2013 เมื่อ 02:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 22-02-2014, 18:19
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,189 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

สามารถรับชมได้ที่

http://www.sapanboon.com/vdo/demo.ph...ame=2556-11-03

ป.ล.
- สามารถชมบนไอโฟนและแอนดรอยด์ได้
- ห้ามคัดลอกไฟล์ไปเผยแพร่ที่อื่นเด็ดขาด !
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 17 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:27



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว