กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 17-08-2018, 19:03
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,328
ได้ให้อนุโมทนา: 149,906
ได้รับอนุโมทนา 4,395,429 ครั้ง ใน 33,917 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๑

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกของเราไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ ในส่วนที่พบเห็นมาจากการปฏิบัติธรรมนั้น ส่วนใหญ่แล้วพวกเราทำเพราะอยาก อย่างเช่นว่า อยากทรงฌาน อยากเห็นผี อยากเห็นเทวดา อยากประสบความสำเร็จ เช่น ฝึกอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ได้ ซึ่งความอยากทั้งหลายเหล่านี้ จะว่าไปแล้วก็เป็นสิ่งที่ดี เรียกว่าเป็นธรรมฉันทะ คือความยินดี ความพอใจในการปฏิบัติธรรมนั่นเอง

เพียงแต่ว่าในส่วนของความอยากนั้น เราต้องควบคุมให้อยู่ในกรอบที่พอเหมาะ พอดี พอควร ถ้าหากว่าเราควบคุมได้ ก็จะเกิดประโยชน์แก่เราอย่างมหาศาล แต่ถ้าเราควบคุมความอยากไม่ได้ ก็จะกลายเป็นความฟุ้งซ่าน ถ้าความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น เราก็ไม่สามารถควบคุมกำลังใจให้เป็นหนึ่งได้ การปฏิบัติธรรมของเราย่อมไร้ผล

สิ่งที่ท่านทั้งหลายอยาก ถือว่าเป็นการดี แต่เมื่อเราปฏิบัติภาวนาแล้วต้องลืมความอยากนั้นเสีย เรามีหน้าที่ภาวนา จะได้หรือไม่ได้ก็ช่างมัน ถ้าเราสามารถวางกำลังใจอย่างนี้ได้ การปฏิบัติธรรมนั้นก็จะเป็นของง่ายสำหรับเรา คำว่าง่ายในที่นี้ก็คือ สามารถทรงฌานต่าง ๆ ได้โดยง่าย

และอีกประการหนึ่งก็คือ เรามักจะเกิดความกังวล คิดฟุ้งซ่านล่วงหน้าไป อย่างเช่นว่าห่วงพ่อแม่พี่น้องที่อยู่ทางบ้าน ห่วงกิจการงานที่ทำค้างอยู่ หลายคนก็ห่วงหมาห่วงแมวไปเลย ให้เรานึกอยู่เสมอว่า ตอนนี้เราอยู่ที่นี่ ต่อให้เกิดความห่วงขนาดไหนก็ตาม เราก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ เพราะฉะนั้น..มีวิธีเดียวก็คือ ต้องทำใจยอมรับ ให้เห็นว่าธรรมดาของอารมณ์ใจเป็นเช่นนั้น

จนในที่สุด เราก็สามารถที่จะทำกำลังใจให้ทรงตัว เกิดอาการที่ท่านทั้งหลายจะได้ล่วงพ้นจากกองทุกข์ เพราะว่าเมื่อกำลังใจของเราทรงตัวแล้ว รัก โลภ โกรธ หลง ก็จะโดนกดดับลงชั่วคราว เมื่อสภาพจิตของเราไม่มี รัก โลภ โกรธ หลง คอยกวนอยู่ ก็จะเกิดความผ่องใส ทำให้เราทั้งหลายเห็นช่องทางว่าจะรักษาศีล เจริญภาวนาอย่างไรถึงจะก้าวหน้า จะพิจารณาอย่างไรถึงจะเกิดประโยชน์แก่เราอย่างแท้จริง อย่างเช่นว่า ถ้าไปสนใจของยาก ของที่ไม่ตรงกับจริตนิสัยของเรา เราปฏิบัติไปก็อาจจะไม่ได้อะไรเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 20-08-2018 เมื่อ 08:32
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 19-08-2018, 21:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,328
ได้ให้อนุโมทนา: 149,906
ได้รับอนุโมทนา 4,395,429 ครั้ง ใน 33,917 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ฉะนั้น...ในเรื่องของความกังวลต่าง ๆ ก็ควรที่จะละทิ้งเสียให้หมด ในเมื่อเราอยู่ตรงนี้แล้ว สิ่งที่สมควรทำก็คือ ทุ่มเทกำลังใจเอาไว้เฉพาะหน้า เมื่อกำลังใจของเราอยู่เฉพาะหน้า ความห่วงความกังวลต่าง ๆ ก็จะเหลือน้อย

อีกเรื่องหนึ่งที่พบกันอย่างมากก็คือ ส่วนใหญ่แล้วเราไม่เข้าใจว่าศัตรูของเรา หลัก ๆ เลยคือนิวรณ์ ๕ ประกอบด้วย

๑. อาการข้องอยู่กับรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ
๒. ข้องเกี่ยวอยู่กับความโกรธ เกลียด อาฆาตพยาบาทผู้อื่น
๓. มีความง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจปฏิบัติ
๔. มีความฟุ้งซ่านรำคาญใจ หงุดหงิดกลัดกลุ้ม
๕. มีความลังเลสงสัยว่า ผลของการกระทำคือการปฏิบัติธรรมนี้ จะดีจริงหรือเปล่า ? จะเกิดผลแก่เราจริงหรือเปล่า ? เป็นต้น

ในเมื่อเราไม่รู้ เราก็ไม่สามารถที่จะตัดจะละได้ เพราะไม่รู้จักหน้าของข้าศึก วิธีละนิวรณ์ที่ง่ายที่สุดก็คือ เอาความรู้สึกของเราอยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน อยู่กับตอนนี้ อยู่กับเดี๋ยวนี้ อยู่กับลมหายใจเข้าออก ถ้าสติของเราตามลมหายใจเข้าไป ตามลมหายใจออกมา ใช้คำภาวนาควบคู่ไปด้วย ไม่ได้เลื่อนเคลื่อนคล้อยไปสู่อารมณ์ไหน สภาพจิตของเราก็จะห่างไกลจากนิวรณ์ ๕ โดยอัตโนมัติ ถ้าเผลอสติไปฟุ้งซ่านถึงเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ รู้ตัวเมื่อไรก็ให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจเข้าออกเสียใหม่ เป็นต้น

ถ้าเราสามารถทำสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้โดยพร้อมเพรียงกัน ขึ้นชื่อว่าการปฏิบัติสมาธิภาวนาให้ได้ผล คือ เข้าถึงอัปปนาสมาธิตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปก็ดี หรือว่าการปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้ผล เพราะว่าเรามีกำลังสมาธิช่วยตัดช่วยละกิเลสก็ตาม สิ่งดี ๆ ทั้งหลายเหล่านี้ก็จะมีขึ้น จะเกิดขึ้นแก่ตัวเรา ดังนั้น...ท่านทั้งหลายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาว่า อย่างไรถึงจะทำดี อย่างไรถึงจะทำถูก อย่างไรถึงจะพอเหมาะพอควร เป็นต้น

ลำดับต่อไป ให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๑

(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย รัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นายกระรอก : 31-03-2022 เมื่อ 22:48
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:23



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว