กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 22-08-2011, 10:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,040 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔

ให้ทุกคนขยับนั่งในท่าที่สบายของตนเอง หายใจเข้าออกยาว ๆ สัก ๒-๓ ครั้ง เพื่อระบายลมหยาบออกให้หมดก่อน เวลาสมาธิเริ่มทรงตัวลมละเอียดลง จะได้ไม่เกิดอาการอึดอัด หลังจากนั้นก็ปล่อยลมหายใจให้เป็นไปตามสภาพปกติ แต่เอาความรู้สึกของเรากำหนดรู้ตามเข้าไป

หายใจเข้า..เอาความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..เอาความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราพร้อมกับลมหายใจนี้เคลื่อนไปด้วยกัน เข้าไปจนสุดตั้งแต่ต้นยันปลาย ออกมาจนสุดตั้งแต่ต้นยันปลาย จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ตามที่เราเคยถนัด

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ เป็นการปฏิบัติธรรมวันที่สองของเดือนนี้ สำหรับวันนี้มีญาติโยมหลายคนที่สอบถามปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ ส่วนใหญ่เวลาพวกเราปฏิบัติไป พออารมณ์ใจทรงตัวภาวนาต่อไม่ได้แล้ว ก็มักจะเลิกการภาวนานั้นเสีย

ซึ่งความจริงแล้วการที่เราภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวนั้น เป็นการที่เราได้เพาะสร้างกำลังให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะใช้กำลังนั้นมาพิจารณาวิปัสสนาญาณสำหรับตัดกิเลสรัก โลภ โกรธ หลงต่าง ๆ พอเราภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้วเลิก ไม่ได้เอากำลังใจนั้นมาช่วยในการพิจารณาวิปัสสนาญาณเพื่อตัดกิเลส ถึงเวลาจิตก็จะฟุ้งซ่านไปหารัก โลภ โกรธ หลง ของตนเองตามสภาพความเคยชิน

แต่ว่าการที่เราภาวนานั้น ทำให้กำลังใจของเราเข้มแข็งขึ้นเสียแล้ว มีกำลังเสียแล้ว เมื่อไปฟุ้งซ่านก็จะฟุ้งซ่านได้มากกว่าปกติ จนกระทั่งหลายคนสงสัยว่า ยิ่งปฏิบัติธรรมทำไมกิเลสยิ่งมาก ? ขอยืนยันว่ากิเลสไม่ได้มากขึ้น เพียงแต่ว่ากิเลสแข็งแรงขึ้น เพราะเราเอากำลังไปส่งให้เขา เหมือนกับว่าเลี้ยงโจรไว้ปล้นเราเอง

ดังนั้น..เมื่อทุกท่านภาวนาจนกำลังใจทรงตัวแล้ว ให้คลายออกมาหาวิปัสสนาญาณเพื่อพิจารณา ไม่อย่างนั้นสภาพจิตก็จะไหลไปหารัก โลภ โกรธ หลง ตามความเคยชิน แล้วจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่เรามากกว่าปกติ เพราะมีกำลังของสมาธิหนุนเสริมอยู่
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-08-2011 เมื่อ 16:08
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 23-08-2011, 05:26
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,040 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้น เราจะดูตามแนวอริยสัจ ๔ ก็ได้ ซึ่งถ้าว่ากันตามแบบของหลวงพ่อวัดท่าซุง ก็คือดูทุกข์ให้เห็น เมื่อเห็นทุกข์แล้ว ไม่มีความปรารถนาที่จะเกิดมาทุกข์อย่างนั้นอีกก็จะจบ เพราะว่าใจไม่ต้องการที่จะเกิดต่อไป เนื่องจากรู้ชัดเจนว่าความเกิดทั้งหลายนั้นเป็นทุกข์ ไม่ไปดิ้นรนไขว่คว้าที่จะเกิดมาทุกข์อีก

หรือว่าจะดูเพิ่มอีกอย่างหนึ่ง คือ ทุกข์เกิดจากอะไร? เรียกว่าสมุทัย คือสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ เมื่อรู้เหตุชัดแล้วเราไม่สร้างสาเหตุนั้น ทุกข์ก็ไม่สามารถที่จะเกิดได้ ก็เข้าถึงนิโรธคือความดับ

ถ้าไม่ได้ดูตามหลักของอริยสัจ ๔ ก็ให้ดูตามหลักของไตรลักษณ์ คือให้เห็นว่าสภาพร่างกายของเราก็ดี ของบุคคลอื่นก็ดี ของสัตว์ทั้งหลายก็ดี ของวัตถุธาตุสิ่งของก็ดี มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง และสลายไปในที่สุด

ระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ก็ประกอบไปด้วยความทุกข์อยู่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นทุกข์ของการเกิด การแก่ การเจ็บ การตายเหล่านี้ และท้ายสุดก็ไม่มีอะไรทรงตัวให้ยึดถือเป็นตัวตนเราเขาได้ ทุกอย่างต้องเสื่อมสลายตายพัง คืนเป็นสมบัติของโลกไปตามเดิม

เมื่อเราพิจารณาจนกระทั่งเห็นชัดเจน จิตถอนออกมาจากความอยากได้ใคร่ดีในร่างกายนี้ จิตถอนออกมาจากการปรารถนาจะเกิดในโลกนี้หรือเทวโลก พรหมโลก จิตไม่ยึดเกาะทั้งความดีความชั่ว ก็จะหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพานได้

หรือว่าจะพิจารณาตามนัยวิปัสสนาญาณ ๙ อย่าง เริ่มจากอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ คือพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับ อย่างเช่นว่า เห็นเด็กคลอดเคลื่อนออกมาจากท้องแม่ ค่อย ๆ เติบโตขึ้นจากเด็กเล็ก เป็นเด็กโต เป็นเด็กหนุ่มเด็กสาว เป็นวัยกลางคน เป็นคนแก่ เป็นคนตาย ถ้าหากว่าเราพิจารณาอย่างนี้ ก็จะเห็นว่าสภาพร่างกายนี้มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปนั่นเอง

หรือจะพิจารณาถึงความดับโดยส่วนเดียว เรียกว่า ภังคานุปัสสนาญาณก็ได้ คือเห็นว่าทุกอย่างดับหมด ตายหมด พังหมด สลายตัวหมด ไม่มีอะไรหลงเหลือให้ยึดถือมั่นหมายได้ แม้กระทั่งร่างกายเราหรือคนอื่น เมื่อเห็นชัดเจนจิตก็จะปลดออกจากการยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ ในโลกนี้ ก็สามารถที่จะหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพานได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-08-2011 เมื่อ 15:00
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 24-08-2011, 04:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,040 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หรือว่าพิจารณาว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์เป็นภัย เป็นของน่ากลัว ที่เรียกว่า ภยตูปัฏฐานญาณ เป็นต้น การที่เราพิจารณาเห็นดังนั้น ก็ต้องเห็นว่าสภาพร่างกายของเรานี้ มีโรคาพยาธิคอยเบียดเบียนอยู่เสมอ เดี๋ยวหิว เดี๋ยวกระหาย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น

เหมือนกับสัตว์ดุร้ายตัวหนึ่งที่เลี้ยงเท่าไรก็ไม่เชื่อง ให้กินเข้าไปตอนเช้า ยังไม่ทันกลางวันก็หิวอีกแล้ว กินตอนกลางวันเข้าไป ยังไม่ทันจะเย็นก็หิวอีกแล้ว ความหิวที่มาเบียดเบียน ถ้าเราไม่หาอาหารไปสนองให้ ร่างกายนี้ก็จะอาละวาด

ถ้าสถานเบาก็ปวดท้องปวดไส้ เป็นลม เป็นต้น ถ้าสถานหนักหน่อยก็อาจจะถึงขนาดกระเพาะทะลุ อาจจะถึงกับเลือดตกในเสียชีวิตได้ ดังนั้น..ร่างกายนี้เป็นทุกข์เป็นภัย เหมือนกับเลี้ยงสัตว์ร้ายไว้ตัวหนึ่ง ถึงเวลาก็ขบกัดเราอยู่ตลอดเวลา

หรือจะพิจารณาว่าสภาพร่างกายนี้ เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพึงปรารถนา น่าจะหลีกหนีไปให้พ้นที่เรียกว่า อาทีนวานุปัสสนาญาณก็ได้ ถ้าหากว่าเห็นชัดเจนแล้ว สภาพจิตยอมรับ ไม่ไปดิ้นรนอยากได้ใคร่ดีในร่างกายนี้อีก จิตก็จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หมดความปรารถนาในร่างกายของตนเองและของคนอื่น เมื่อถอนจิตออกมาจากความปรารถนาอันนั้น ไม่มีอะไรที่จะยึดมั่นถือมั่น จิตก็จะมีสภาพที่เบา สะอาด สว่าง สงบ หลุดพ้นจากแดนเกิดทั้งปวง เข้าสู่พระนิพพานได้เช่นกัน

ดังนั้น..เมื่อท่านทั้งหลายภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว สิ่งที่สำคัญ ก็คือ ต้องใช้กำลังนั้นมาพิจารณาในวิปัสสนาญาณ ไม่ว่าจะเป็นแนวอริยสัจ แนวไตรลักษณ์ หรือแนววิปัสสนาญาณ ๙ ก็ดี ไม่เช่นนั้นแล้ว สภาพจิตจะเอากำลังอันนั้นไปฟุ้งซ่านกับรัก โลภ โกรธ หลง สร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่เรามาก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-08-2011 เมื่อ 09:39
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 25-08-2011, 05:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,040 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พวกเราทุกคนที่ปฏิบัติก็มุ่งหวังความหลุดพ้น การที่เราจะหลุดพ้นได้ เราต้องรู้จักพระนิพพาน บุคคลที่จะไปสู่พระนิพพานได้นั้น ก็ต้องเป็นผู้ที่เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างจริงจัง ไม่ล่วงเกินด้วย กาย วาจา ใจ

จะต้องเป็นผู้ที่มีศีลทุกสิกขาบทบริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ทำให้ศีลขาดด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นทำ ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นทำ

เป็นผู้ที่รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตายอย่างแน่นอน ตายเมื่อไรเรามีที่ไปคือพระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น แล้วเอาจิตสุดท้ายของเราเกาะพระนิพพาน หรือเกาะภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบนพระนิพพานไว้ก็ได้

หรือว่าท่านใดไม่ได้มโนมยิทธิ ไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้ ให้นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งที่เรารักเราชอบ ตั้งใจว่านั่นคือพระพุทธนิมิตแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เดียวคือพระนิพพานเท่านั้น

เราสามารถเห็นท่านคือเรากำลังอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน ให้เอากำลังใจจดจ่ออยู่กับภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างนั้น

ถ้ายังมีลมหายใจอยู่ กำหนดรู้ลมหายใจไป ถ้ายังมีคำภาวนาอยู่ ก็กำหนดรู้คำภาวนาไปด้วย ถ้าหากว่าลมหายใจหมดไป คำภาวนาหายไป ก็กำหนดรู้อยู่เช่นนั้น อย่าอยากให้เป็น และอย่าอยากให้หายไป ปล่อยทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ เรามีหน้าที่ตามดูตามรู้เพียงประการเดียว ให้รักษาอารมณ์เช่นนี้เอาไว้ จนกว่าจะได้รับสัญญานบอกว่าหมดเวลา

พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-08-2011 เมื่อ 13:44
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:50



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว