กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 20-04-2011, 16:21
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,074 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๔

ทุกคนขยับนั่งในท่าที่สบายของตัวเอง ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อเรานั่งตัวตรงแล้ว ให้กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..กำหนดความรู้สึกไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..กำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเราไหลตามลมหายใจออกมา ถ้าจิตไปคิดถึงเรื่องอื่น รู้ตัวเมื่อไรก็ให้ดึงกลับมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกนี้เท่านั้น

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๔ เมื่อเช้ามืดอาตมาได้นำหนังสือไปส่งมอบให้ท่านอาจารย์พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ ที่วัดใหม่ยายแป้น เพราะว่าพระอาจารย์ท่านจัดงานสาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ๕๖ พรรษา

หากเรามาดูว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีนั้น ทรงเจริญพระชนมพรรษามาถึงป่านนี้แล้ว ถ้าเป็นคนทั่ว ๆ ไปก็อีก ๔ ปี จะเกษียณอายุราชการแล้ว

จากที่พวกเราได้เห็นพระองค์ท่าน ตั้งแต่ยังเป็นเจ้าหญิงพระองค์น้อย ๆ จนกระทั่งเติบโตขึ้นมา จบการศึกษา ทรงสนองงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปเหนือไปใต้ ทุ่มเทการงานทุกอย่างเพื่อความสุขของมหาชนทั่วทั้งประเทศ โดยที่ไม่ได้ดูแลใส่ใจพระองค์เองเลยแม้แต่น้อย

เราจะได้เห็นว่าในเรื่องของการแต่งองค์ทรงเครื่องของพระองค์ท่าน ก็แค่พอออกสังคมได้ ไม่ให้คนตำหนิว่าเอาได้เท่านั้น แต่ว่าไม่ได้ใส่ใจในความสวยความงามเช่นคนทั่วไป

การที่จะปล่อยวางในสภาพสังขารให้ได้อย่างพระองค์ท่าน ลองมาคิดดูว่าถ้าเป็นพวกเรา เราจะทำได้หรือไม่ ? เราอาจจะไม่เคยเห็นพระองค์ท่านทรงสมาธิ อย่างดีก็เห็นพระองค์ท่านเสด็จไปประกอบกองบุญกองกุศลตามวาระ แต่ว่าพระองค์ท่านทรงศีล ทรงสมาธิ ทรงปัญญาเป็นปกติ ถึงขนาดสามารถปล่อยวางสภาพร่างกายได้

จะทรุดโทรมอย่างไรก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นธรรมดาของร่างกายนี้ ไม่มีอะไรที่จะต้องขายหน้า ไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวคนอื่นเขามาว่า สภาพร่างกายมีความแก่เป็นธรรมดา ก็ปล่อยให้แก่ไป เจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาก็รักษาไปตามสภาพ จะหายก็หาย ถ้าไม่หายก็ช่างมัน

สิ่งที่สำคัญก็คือ หน้าที่การงานที่ทรงอยู่ตลอดเวลา เพื่อความสุขโดยรวมของประชาชนทั้งประเทศ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-04-2011 เมื่อ 17:38
สมาชิก 74 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 21-04-2011, 06:39
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,074 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเราพิจารณาในเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ก็จะเห็นว่า นี่คือการปฏิบัติธรรมที่แท้จริง การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่ว่าต้องมานั่งหลับตาทำสมาธิกัน หากแต่ว่าปรับเอาการปฏิบัติธรรมนั้น ไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการปฏิบัติหน้าที่การงานของตน

อย่าลืมว่า ธรรมะนั้นแปลได้หลายศัพท์ด้วยกัน จะแปลว่า ธรรมชาติก็ได้ จะแปลว่าความดีความงามก็ได้ ในขณะเดียวกัน ถ้าหากว่า เราตั้งใจจะแปลจริง ๆ คำว่า ธรรมะ ก็ยังแฝงความหมายเอาไว้อีกหลายอย่างหลายประการ เพราะว่า ธรรมะ สามารถแปลได้อย่างหนึ่งว่า การปฏิบัติหน้าที่ การทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด

พวกเราจึงต้องมาดูตัวเองว่า เราได้กระทำตามปฏิปทาที่พระองค์ท่านได้กระทำให้เห็นบ้างหรือไม่ ? คือเราได้ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดแล้วหรือไม่ ? ในหน้าที่ของความเป็นลูก เราได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อพ่อแม่ อย่างสุดความสามารถแล้วหรือไม่ ? ในหน้าที่ของความเป็นพี่เป็นน้อง เราทำหน้าที่ของความเป็นพี่น้อง อย่างสุดความสามารถของเราแล้วหรือไม่ ?

เมื่อขึ้นมาถึงหน้าที่ของคนเป็นพ่อเป็นแม่ เราทำหน้าที่ของความเป็นพ่อเป็นแม่ อย่างเต็มสติกำลังแล้วหรือไม่ ? ถ้าก้าวสูงขึ้นไปอีก คือหน้าที่ของความเป็นปู่ย่าตายาย ความเป็นครูบาอาจารย์ เราได้กระทำหน้าที่ทั้งหลายเหล่านั้น อย่างเต็มที่เต็มกำลังแล้วหรือไม่ ?

โดยเฉพาะหน้าที่ซึ่งสำคัญที่สุด คือหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน หน้าที่ของความเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส ซึ่งเราจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

นอกจากกระทำให้เกิดผลต่อตัวเองแล้ว ยังต้องนำผลนั้นไปเผยแผ่ เพื่อยังให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองต่อไป ถึงแม้ว่าจะไม่ได้นำธรรมนั้นไปสั่งสอนผู้อื่นโดยตรง เราก็ต้องปฏิบัติอย่างที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้เราเห็น ก็คือทำตัวเป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่นเขา ทำในลักษณะที่ไม่ต้องมาจ้ำจี้จ้ำไช สั่งสอน หากแต่ว่าทำให้ดู อยู่ให้เห็น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-04-2011 เมื่อ 03:59
สมาชิก 66 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 21-04-2011, 18:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,074 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สิ่งที่หลายเหล่านี้ เราได้กระทำเต็มที่แล้วหรือไม่ ? เราลองมาประเมินทบทวนตนเองว่า เป้าหมายในการปฏิบัติของเราคือพระนิพพาน เครื่องมือที่จะวัดว่าเราปฏิบัติตรงตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่นั้น มีหลายต่อหลายอย่างด้วยกัน มีทั้งเครื่องมือที่ไม่ดี แต่เป็นเครื่องวัดที่ดี และมีเครื่องมือที่ดี ซึ่งใช้เป็นเครื่องวัดได้ดีอย่างยิ่ง

อย่างเช่นว่า นิวรณ์ ๕ ประการ คือความยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ๑ ความโกรธเกลียด อาฆาตพยาบาทผู้อื่น ๑ ความง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจในการปฏิบัติ ๑ ความฟุ้งซ่าน อารมณ์ใจไม่ตั้งมั่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ๑ และความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๑

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นความไม่ดีทั้งสิ้น แต่เราใช้เป็นเครื่องวัดตนเองได้ว่า ถ้าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มีอยู่ในจิตในใจของเรา แสดงว่าเราสอบตก การประเมินครั้งนี้ เราไม่สามารถที่จะก้าวข้ามไปได้ แต่ถ้ากำลังใจของเราในปัจจุบันไม่มีนิวรณ์ ๕ แสดงว่ากำลังใจของเราอยู่ในข้างดีมากกว่า ก็ถือว่าสอบได้ แต่ว่ายังได้แค่ระดับโลกียะเท่านั้น

เครื่องมือวัดในส่วนต่อไปคือ ศีล ๕ เราลองทบทวนดูว่า ในแต่ละวัน ศีลทั้ง ๕ สิกขาบท หรือว่าท่านใดรักษาศีล ๘ ก็ศีลทั้ง ๘ สิกขาบทของเรา สมบูรณ์บริบูรณ์แล้วหรือไม่ ? เรารักษาศีลด้วยตนเองได้สมบูรณ์แล้วหรือไม่ ? เมื่อเรารักษาด้วยตนเองได้สมบูรณ์แล้ว เรายังไปยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีลหรือไม่ ? เรารักษาศีลด้วยตนเองได้สมบูรณ์แล้ว ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีลแล้ว แต่เราเห็นบุคคลอื่นละเมิดศีล เรามีความยินดีบ้างหรือไม่ ?

ถ้าหากว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง การประเมินการปฏิบัติของตนก็แปลว่าสอบตก แต่ว่าไม่ต้องไปเสียกำลังใจ ไม่ต้องไปสมาธิตก กำลังใจตก เพราะว่าเป็นเรื่องปกติของบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะยังไม่สมบูรณ์ ก็ต้องมีผิดพลาดบ้าง แต่ให้เราตั้งใจใหม่ในเวลานั้น เดี๋ยวนั้น เลยว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะเป็นผู้มีศีลทุกสิกขาบทบริสุทธิ์บริบูรณ์ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาระมัดระวังรักษาของเราต่อไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-04-2011 เมื่อ 04:01
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 22-04-2011, 07:52
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,074 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ส่วนตัวชี้วัดอีกตัวหนึ่งนั้นก็คือ กิเลสใหญ่ที่เรียกว่าสังโยชน์ เครื่องร้อยรัดให้เราติดอยู่ในวัฏสงสาร มีอยู่ทั้งหมด ๑๐ ประการด้วยกัน เราเอาแค่ ๓ ประการแรกก็พอ

สังโยชน์ข้อที่ ๑ คือ สักกายทิฐิ ความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา มีตัวกูของกูอยู่อย่างเต็มที่ เราพิจารณาดูอย่างไม่เข้าข้างตนเองแล้ว เห็นว่าสังโยชน์ข้อนี้ของเรา ยังยึดครองจิตใจของเราอยู่หรือไม่ ? ถ้ายังยึดครองจิตใจของเราอยู่ ก็ต้องรีบสลัดตัดทิ้งไปให้เร็วที่สุด เพื่อที่เราจะได้ก้าวล่วงเข้าไปสู่ความดีให้มากกว่านี้

สังโยชน์ข้อที่ ๒ คือ วิจิกิจฉา หน้าตาเหมือนกับวิจิกิจฉาในส่วนของนิวรณ์ ๕ คือความลังเลสงสัย ไม่เชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เชื่อมั่นในหลักปฏิบัติที่หลักที่ครูบาอาจารย์สั่งสอน ในเมื่อมัวแต่โลเลอยู่ ไม่เริ่มลงมือปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ทราบเสียที เราก็ไม่ได้รับผลที่ควรจะได้อย่างน่าเสียดาย

ถ้าหากว่าสังโยชน์ข้อนี้มีอยู่ในใจของเรา ต้องรีบขับไล่ให้พ้นไป แล้วก็เร่งปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ของเราให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น เพื่อที่จะได้ก้าวพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดตัวนี้

สังโยชน์ข้อที่ ๓ คือ สีลัพพตปรามาส การรักษาศีลแบบไม่จริงไม่จัง รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่ยอมทุ่มเทแม้ด้วยชีวิต การรักษาศีลต้องทำให้ได้ถึงระดับตัวตายดีกว่าศีลขาด ไม่อย่างนั้นแล้ว กำลังใจที่เด็ดขาดไม่พอ ทำให้กิเลสแทรกแฝงเข้ามาได้ง่าย แต่ถ้าเรายอมสละแม้ชีวิต กำลังใจขนาดนั้น เรามีสิทธิ์ที่จะหลุดพ้นได้ เพราะว่าไม่มีอะไรที่เรารักไปยิ่งกว่าตัวตนนี้อีกแล้ว

ในเมื่อร่างกายนี้ ตัวตนนี้เรายังสละละทิ้งได้ ชีวิตนี้เรายังสามารถตัดทิ้งได้เพื่อการปฏิบัติ ก็แปลว่า เราสามารถที่จะหลุดพ้นจากร่างกายนี้ได้ จุดมุ่งหมายของเราก็สามารถที่จะหวังได้ นั่นคือพระนิพพาน

เมื่อทุกคนตรวจสอบตนเอง ไม่ว่าจะโดยอาศัยสิ่งที่ไม่ดี ก็คือนิวรณ์ ๕ หรือสังโยชน์ ๑๐ ก็ดี หรือว่าอาศัยสิ่งที่ดี คือศีล ๕ ศีล ๘ ของเราก็ดี ประเมินตนเองแล้วเรายังเห็นว่าบกพร่อง ก็ต้องเร่งการปฏิบัติให้มาก ประเมินแล้วเราไม่บกพร่อง ก็จำเป็นที่จะต้องเร่งการปฏิบัติเช่นกัน เพื่อก้าวไปสู่จุดหมายคือพระนิพพานของเรา

เมื่อมาถึงตรงจุดนี้แล้ว หากว่าท่านทั้งหลายยังมีลมหายใจอยู่ ก็กำหนดรู้ลมหายใจไป มีคำภาวนาอยู่ ก็กำหนดรู้ในคำภาวนา ถ้าไม่มีลมหายใจ ไม่มีคำภาวนา ก็กำหนดรู้เฉย ๆ ว่าตอนนี้ไม่มีลมหายใจ ไม่มีคำภาวนา อย่าไปดิ้นรนอยากให้เป็นอย่างนั้น และอย่าไปดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากสภาพอย่างนั้น

เรามีหน้าที่กำหนดรับรู้ไว้เฉย ๆ สภาพจิตจะดำเนินไปตามสมาธิที่ลึกไปตามลำดับนั้นเอง ขอให้ทุกคนตั้งใจกำหนดดู กำหนดรู้ อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับสัญญานบอกว่าหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๔
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-04-2011 เมื่อ 10:00
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 03:53



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว