กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 27-03-2011, 13:35
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,231 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๔

ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตน แล้วกำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..กำหนดรู้ตามลมหายใจเข้าไปจนสุด หายใจออก..กำหนดรู้ตามลมหายใจออกมาจนสุด หายใจเข้า..กำหนดรู้ลมพร้อมกับคำภาวนาที่เราถนัด หายใจออก..กำหนดรู้ลมพร้อมกับคำภาวนาที่เราถนัด

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานวันสุดท้ายของต้นเดือนมีนาคม และเป็นครั้งสุดท้ายของบ้านอนุสาวรีย์แห่งนี้ ซึ่งตลอดระยะเวลา ๑๘ ปีที่ผ่านมา อาตมภาพนั่งรับสังฆทาน ตอบปัญหาธรรม ตลอดจนกระทั่งสอนกรรมฐานอยู่ที่นี้ ถ้าญาติโยมทั้งหลายถามว่า เมื่ออยู่ ๆ จะต้องจากไปอยู่ที่ใหม่ มีความอาลัยอาวรณ์ต่อที่เก่าบ้างหรือไม่? ก็ขอบอกจากใจจริงว่า ไม่มีแม้แต่ความคิดสักนิดเดียวที่จะอาลัยต่อสถานที่แห่งนี้

อย่างที่เคยบอกไปแล้วว่า ถ้าแม้กระทั่งวัดท่าซุง ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ที่เอื้อต่อการปฏิบัติมากที่สุด ดีที่สุดเท่าที่จะมีได้ อาตมายังสามารถที่จะทิ้งมาได้ สถานที่อื่นที่จะทิ้งไม่ได้นั้นไม่มี

ก็ขอให้ญาติโยมทั้งหลาย เมื่อภาวนาจนกำลังใจทรงตัวแล้ว ให้พิจารณาดูอารมณ์ใจของเราว่า ยังมีความห่วงใย มีความอาลัยอาวรณ์ต่อสิ่งต่าง ๆ บ้างหรือไม่ ? อย่างเช่นว่า คนที่เรารัก ของที่เรารัก ทรัพย์สมบัติที่เราหวงแหน เป็นต้น ถ้าหากว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ยังมีอยู่ ท่านต้องรีบขับไล่ให้พ้นไปจากจิตใจของตนไปโดยเร็วที่สุด เพราะว่าจะเป็นเครื่องร้อยรัดเราให้ติดอยู่ในวัฏสงสาร ไม่สามารถที่จะหลุดพ้นไปได้

การที่เราหลุดพ้นได้นั้น ทางด้านภาษาบาลีได้ใช้ศัพท์หลายต่อหลายคำด้วยกัน เพื่อแสดงออกซึ่งบุคคลที่สามารถชำระจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลสทั้งปวง จนสามารถที่จะหลุดพ้นไปได้

บุคคลที่จิตใจผ่องใสจากกิเลสทั้งปวงนั้น ท่านใช้ศัพท์แรกว่า มทนิมฺมทโน แปลว่า ย่ำยีเสียซึ่งความเมา ความเมาในที่นี้คือเมาในกิเลส เมาในตัณหา ในอุปาทาน ในอกุศลกรรมต่าง ๆ นั่นเอง

ซึ่งถ้าหากว่าเป็นสมัยที่หลวงปู่แหวนท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่แหวนท่านจะบอกเสมอว่า "ต้องปฏิบัติให้เป็นธรรมโมนะ..อย่าให้เป็นธรรมเมา" ถ้าปฏิบัติเป็นธรรมโม โอกาสที่เราหลุดพ้นก็จะมี แต่ถ้าปฏิบัติเป็นธรรมเมา ก็จะโดนร้อยรัดติดอยู่กับวัฏสงสารต่อไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 28-03-2011 เมื่อ 18:32
สมาชิก 61 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 28-03-2011, 00:55
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,231 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..การที่เราจะพ้นจากความเมาเสียได้ ก็ต้องปฏิบัติตรงอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา โดยอาศัยอิทธิบาท ๔ เป็นเครื่องช่วย ก็คือ เมื่อยินดีพอใจที่จะปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นแล้ว ก็พากเพียรพยายามทำให้เต็มที่ มีจิตใจแน่วแน่ต่อเป้าหมายไม่เปลี่ยนแปลง และท้ายสุด คอยทบทวนอยู่เสมอว่าเราปฏิบัติไปถึงไหนแล้ว

ศัพท์ที่สองที่แสดงออกซึ่งความสิ้นกิเลสนั้น ท่านเรียกว่า วฏฺฏููปจฺเฉโท แปลว่า ตัดขาดซึ่งวัฏฏะ คำว่า วัฏฏะหรือการหมุนวนนั้น ประกอบไปด้วย กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์

กิเลสวัฏฏ์ ก็คืออำนาจของกิเลส ซึ่งทำให้เราจะต้องหมุนวน เกิดอยู่ไม่รู้จบ เนื่องจากว่าบังคับให้เรากระทำตามกิเลส กลายเป็นกรรมวัฏฏ์ ก็คือ วัฏสงสารที่หมุนวนเพราะการกระทำของเรา และเมื่อกระทำแล้วก็กลายเป็นวิปากวัฏฏ์ คือการส่งผลของกรรมนั้น ทำให้เกิดการหมุนวนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

ถ้าหากว่าสามารถตัดขาดซึ่งวัฏฏะ ก็คือการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จบ เขาก็จะใช้คำแทนว่า วฏฺฏูปจฺเฉโท คือบุคคลที่ตัดขาดซึ่งวัฏฏะเสียได้

คำต่อไปที่แสดงออกซึ่งความสิ้นกิเลสในจิตในใจนั้น บาลีว่า อาลยสมุคฆาโต แปลว่า ถอนเสียซึ่งความอาลัย ซึ่งเมื่อครู่ได้บอกให้พวกเราดูว่า จิตใจยังมีความห่วงใย มีความอาลัยอาวรณ์ต่อสิ่งต่าง ๆ อยู่หรือไม่ ? ถ้ายังมีอยู่ก็แปลว่า เรายังไม่สามารถที่จะถอดถอนให้เด็ดขาดได้

ก็ต้องเร่งปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญาให้มากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้มีกำลัง มีปัญญา เห็นช่องทาง สามารถถอนตัวออกจากหล่มแห่งวัฏสงสารนี้ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-03-2011 เมื่อ 03:20
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 28-03-2011, 12:23
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,231 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คำต่อไปที่แสดงถึงความสิ้นกิเลส ท่านกล่าวว่า ตณฺหกฺขโย แปลว่า สิ้นหมดแล้วซึ่งกิเลสตัณหา คือ หมดความอยาก ความอยากในที่นี้ มีทั้งความอยากที่เป็นกามตัณหา ก็คืออยากในกาม ต้องการสิ่งใด ก็ไขว่คว้าหามา

ภวตัณหา อยากตามสภาพปกติ อย่างเช่น อยากสวย อยากรวย อยากที่จะมีร่างกายแข็งแรง เป็นต้น ต่อไปท่านเรียกว่า วิภวตัณหา มีความอยากที่เป็นสภาพตรงกันข้าม เช่น ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย เป็นต้น

แม้ว่าจะขึ้นต้นด้วยคำว่า ไม่อยาก แต่ที่แท้จริงแล้ว เป็นความอยาก คือ อยากที่จะไม่แก่ อยากที่จะไม่เจ็บ อยากที่จะไม่ตาย ท่านถึงเรียกว่า วิภวะ คือ สภาพตรงกันข้ามกับภวะ ถ้าหากว่าเราสามารถทำให้สิ้นตัณหา คือความอยากนี้ได้ ก็แปลว่าเข้าถึงความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงนั่นเอง

คำต่อไปที่กล่าวถึงบุคคลที่สิ้นกิเลสแล้ว ท่านใช้คำว่า วิราโค , วิราคะ ในที่นี้คือ หมดแล้วซึ่งความยินดี อยากมีอยากได้ในสิ่งทั้งปวง ในเมื่อหมดความยินดี ความอยากมีอยากได้ในสิ่งทั้งปวง ก็ไม่ไปดิ้นรนไขว่คว้าหามา จิตใจก็จะสามารถปลดปล่อยวางซึ่งภาระต่าง ๆ ได้อย่างสิ้นเชิง มีความผ่องใส พ้นจากกิเลส เข้าสู่พระนิพพานได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-03-2011 เมื่อ 17:19
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 29-03-2011, 10:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,231 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ศัพท์ต่อไปซึ่งแสดงความหมดกิเลส ท่านใช้คำว่า นิโรโธ , นิโรธ คือความดับ คือการสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมทั้งปวงได้ โดยเฉพาะดับสาเหตุของการเกิดทุกข์

การที่เราจะดับการเกิดทุกข์ได้ ก็คือการที่จิตของเราไม่ไปปรุงแต่ง เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิด เราไม่ไปปรุงแต่งต่อให้เกิด รัก โลภ โกรธ หลงขึ้นมา เมื่อไม่ไปปรุงแต่งต่อ ก็แปลว่าทุกอย่างหยุดหมด ดับหมด นิโรธคือความดับที่แท้จริง ก็จะปรากฏขึ้นแก่เรา

คำสุดท้ายที่ท่านกล่าวถึงบุคคลที่สิ้นกิเลส ท่านใช้คำว่า นิพพานัง แปลว่า ธรรมชาติหาความเสียดแทงไม่ได้ ความเสียดแทงในที่นี้ ก็คือธรรมชาติที่ทำให้จิตใจของเราต้องทุกข์ ต้องโทมนัส ต้องเศร้าโศก ต้องเหือดแห้งใจ เสียใจ น้อยใจ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะหมดสิ้นไป เมื่อกำลังใจของท่านผ่องใสจากกิเลสโดยสิ้นเชิง ทำให้เข้าถึงธรรมชาติอันหาความเสียดแทงไม่ได้

ในเมื่อหาความเสียดแทงไม่ได้ ก็เป็นอันว่าไม่ต้องเกิดต่อ เพราะสิ้นเชื้อเสียแล้ว เมื่อไม่มีเชื้อให้เกิดต่อ การเข้าถึงความดับอย่างสิ้นเชิงก็ปรากฏขึ้นแก่พวกเรา

ดังนั้น..ในการปฏิบัติในวันนี้ เมื่อภาวนาไปแล้ว ก็ขอให้ทุกท่านพิจารณาดูว่าเรายังมีความห่วงใย มีความอาลัยอาวรณ์ต่อคนที่รัก อย่างเช่น พ่อแม่ สามีภรรยา ลูก ๆ พี่น้อง หรือญาติต่าง ๆ ตลอดจนกระทั่งสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ว่ายังรัก ยังห่วงเขาอยู่หรือไม่ ?

ของที่เรารัก ทรัพย์สมบัติที่เราหามาได้โดยยาก อย่างเช่นว่า บ้านที่เราทุ่มเททรัพย์สินเงินทองสร้างมา ซื้อหามาก็ดี รถยนต์ที่เราอุตส่าห์ผ่อนทีหนึ่ง ๕ ปี ๖ ปี ตลอดจนกระทั่งสิ่งของต่าง ๆ ที่เราใช้สอยอยู่ในชีวิตประจำวัน เรามีความห่วงใย มีความกังวลอยู่หรือไม่ ? ทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ที่เราสะสมเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเงิน เป็นทอง เป็นหุ้น เป็นพันธบัตรต่าง ๆ ก็ตาม เรายังมีความห่วงใยกังวลบ้างหรือไม่ ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2011 เมื่อ 15:39
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 30-03-2011, 16:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,231 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ให้จิตใจของเราตอบตนเองอย่างแท้จริงว่า ห่วงหรือไม่ห่วง ? อย่าตอบว่าไม่ห่วงเพราะรู้ว่าคำตอบนี้ถูก แต่ให้ตอบจากใจจริงของเรา เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเรายังมีความห่วงหาอาลัย กังวลกับสิ่งทั้งหลายเหล่านี้อยู่หรือไม่ ?

ถ้าหากว่ายังมีอยู่ เราต้องเร่งการปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้มีความเข้มแข็งมากขึ้น สามารถถอนจิตถอดใจจากความห่วงหาอาลัย และความกังวลทั้งหลายเหล่านี้ได้สะดวกขึ้น

แต่ถ้าหากว่า เราตอบตนเองได้อย่างแท้จริงว่า ไม่มีความห่วงใยเลย ก็ให้ถามตัวเองต่อไปว่า ถ้าตายแล้วเราจะไปที่ไหน ? ก็คงจะมีสถานที่เดียวเท่านั้นที่เราต้องการ ก็คือพระนิพพาน

เมื่อเป็นดังนั้น ก็ให้เรายกกำลังใจขึ้นเกาะพระนิพพานเอาไว้ หรือเกาะภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ที่เรารักเราชอบเอาไว้ พยายามรักษากำลังใจให้ทรงอยู่ตรงนั้น ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

โดยตั้งกำลังใจเอาไว้ว่า ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราให้ยึดถือมั่นหมายได้ ไม่มีสิ่งใดให้ห่วงใยให้อาลัยอาวรณ์ให้กังวลแล้ว ถ้าตายลงไปตอนนี้เดี๋ยวนี้ เราก็ขอมาอยู่ที่พระนิพพานแห่งเดียว แล้วให้รักษาอารมณ์ใจ ประคับประคองให้อยู่ตรงจุดนี้ของเราไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับสัญญานบอกว่าหมดเวลา


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันอาทิตย์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๔
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-03-2011 เมื่อ 17:22
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:37



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว