กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 25-10-2011, 11:24
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default จิตมันฟุ้งอยู่ในสัญญา

จิตมันฟุ้งอยู่ในสัญญา
เพราะมัวไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่น

หลวงพ่อฤๅษี กับ หลวงพ่อสิม ท่านมีเมตตาสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. “จิตมันฟุ้งอยู่ในสัญญา คือความจำได้หมายรู้ แต่จิตมันชอบจำแต่ความเลวของผู้อื่นไม่ยอมวาง แล้วเก็บเอามาสร้างเป็นธรรมารมณ์ อันเป็นพิษภัยทำร้ายจิตของตนเองให้เศร้าหมอง เพราะมัวไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่น คิดถึงเรื่องคนโน้นคนนี้ไปเรื่อย จัดว่าขาดพรหมวิหาร ๔ สองข้อแรกคือ เมตตากับกรุณาจิตตนเอง การที่จิตของเอ็งไม่รวมตัวเป็นสมาธิได้ เพราะไม่ใช้กายวิเวก วจีวิเวก จิตวิเวก รวมตัวให้เป็นหนึ่ง (เอโกธัมโม) จึงจะเกิดสมาธิได้ ความจริงแล้วที่พึ่งอันสุดท้ายก็คือตัวเราเอง เราเป็นคน ๆ เดียวจริง ๆ กายเรา ปากเรา จิตเราทำความสงบรวมให้เป็นหนึ่งก็อยู่ที่เราคนเดียว จึงจะเจริญพระกรรมฐานได้ผล”

๒. “ตั้งแต่ตื่นลืมตาขึ้นมาจิตก็เริ่มออกนอกตัว คิดแต่เรื่องของชาวบ้านทั้งสิ้น จัดเป็นอารมณ์หลง ฟุ้งเลวออกนอกตัว เป็นธัมเมา (ยังไม่ทันเสพของมึนเมา จิตก็เมาเสียแล้ว) จิตเลยไม่รวมตัวเป็นสมาธิ สาเหตุก็เพราะอ่อนอานาปานุสติ ลืมกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก ซึ่งเป็นคาถาเรียกจิต ทำจิตให้รวมตัวอยู่กับตัวได้ตลอดเวลา จิตก็สงบเย็นเป็นสุขได้”

๓. “จิตที่มีสมาธิไม่ทรงตัวเพราะอ่อนอานาปานุสติ มีผลทำให้สติ-สัมปชัญญะไม่ต่อเนื่อง พิจารณาอะไรก็ไม่ได้นาน ก็เลยฟุ้งซ่านออกนอกตัว ไปคิดเรื่องอื่นที่ไม่เป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติธรรม จัดว่าเป็นคนใจร้อน ขาดเมตตาบารมี ชอบจุดไฟเผาตนเองอยู่เสมอ และขาดขันติบารมีด้วย เพราะมีอะไรมากระทบเพียงเล็กน้อย (มีอุปสรรคเล็กน้อย) จิตก็หวั่นไหวไปตามสิ่งกระทบนั้น (ขาดการสำรวมอายตนะหรืออินทรีย์สังวรณ์) ท่านก็บอกว่า “เอ็งนี่ไม่ได้เรื่องจริง ๆ เพราะขาดสมาธิ แล้วเรื่องที่คิดอยู่ในขณะนี้ พอมันผ่านไปแล้ว เอ็งรู้เรื่องหรือไม่” (เพื่อนของผมตอบว่า ยังรู้เรื่องอยู่) ท่านว่า “นั่นซิ แล้วจะมาบอกว่าไม่มีสมาธิได้อย่างไร” (เพื่อนผมก็ยอมรับ)

๔. ท่านอธิบายว่า “มันเป็นสมาธิในสัญญา มิใช่สมาธิในปัญญา”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 70 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 26-10-2011, 12:22
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สมาธิในสัญญากับสมาธิในปัญญา

๑. “เรื่องสัญญาอันเป็นอุปสรรคของการปฏิบัติธรรม พึงกำหนดรู้เอาไว้ให้มาก และพึงละเสียให้ได้ในสัญญานั้น ๆ หากต้องการที่จักปฏิบัติให้ได้ดี(ให้ลืมสัญญาเลว จำของเลว ๆ ให้จำแต่ของดี ๆ)

๒. “สัญญาทางโลกที่ฟุ้งออกไปภายนอก ให้พยายามสงบระงับเสีย เพราะจัดว่าเป็นนิวรณธรรม ตัวร้ายแรงตัวหนึ่งที่ทำปัญญาให้ถอยหลัง สัญญาตัวนี้แหละที่ไม่เที่ยง เป็นหนึ่งในขันธ์ ๕ ที่พึงจักต้องละ” (ร่างกายเราประกอบด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

๓. “ฟุ้งเรื่องอะไรให้พยายามแก้เรื่องนั้น นำมาพิจารณาเป็นกรรมฐานได้ ถ้าแก้ไม่ไหว ก็เอาอานาปานุสตินั่นแหละเข้ามาเป็นกำลังสงบระงับ ให้ใช้อริยสัจหรือกรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา หากยังคิดไม่ออกให้ระงับไว้ด้วยสมถะภาวนา คือใช้อานาปานุสติระงับไว้ก่อนชั่วคราว

๔. “อารมณ์จิตมันดิ้นรน (ฟุ้งซ่าน) ให้อบรมจิตอยู่ในอานาปานุสติให้มาก ๆ เพราะความสงบของกาย วาจา ใจ นั้นสำคัญมาก พึงจักทำให้เข้าถึงความสงบให้มาก จักได้มีกำลังใหญ่ เป็นเหตุให้เห็นความเคลื่อนไหวของจิตที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลาได้ ธรรมของตถาคตจักต้องหยุด (อารมณ์จิตให้สงบ) ก่อน จึงจักเห็นความเคลื่อนไหวของ จิต (กิเลส) ที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลาได้ สรุปการศึกษากระแสจิต (อารมณ์ของจิต) จักต้องอาศัยความสงบจึงจักเห็นได้

๕. “เป็นการดีแล้วที่รู้ตัวเองว่า ที่เจริญพระกรรมฐานไม่ได้ผลเท่าที่ควรนั้น มาจากชอบมีอารมณ์ไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่น แม้จักเป็นความหวังดีต่อเขาก็ตาม ก็เป็นเหตุให้เสียเวลาทำจิตให้ฟุ้งซ่าน”

๖. “อนึ่ง การแก้ไขอารมณ์ฟุ้งซ่านที่ชอบยุ่งกับเรื่องของผู้อื่น โดยใช้วิปัสสนาแก้ดีกว่าใช้สมถะนั้น ถูกต้อง เพราะสมถะที่ใช้อานาปานุสตินั้น เป็นเพียงแต่ระงับไว้ชั่วคราวเท่านั้น หากใช้พิจารณาเรื่องเราเกิดมาก็คนเดียว เวลาตายก็ตายคนเดียว ไม่เกี่ยวเนื่องกับใคร จึงมีอารมณ์สงบ ไม่ฟุ้งซ่านเรื่องของคนอื่นได้นั้น ถูกต้อง ค่อย ๆ พิจารณาไป แล้วจักวางอารมณ์ฟุ้งซ่านลงได้”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-10-2011 เมื่อ 16:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 50 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 27-10-2011, 10:35
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๗. “จับหลักวิปัสสนาญาณให้ได้ตามที่ท่านฤๅษีบอก การเจริญวิปัสสนาทุกครั้ง จำเป็นต้องพิจารณาให้เข้าถึงความเบื่อหน่ายในร่างกายทุกครั้ง จะมากจะน้อยก็ต้องพยายามให้เข้าถึง คือ ปฏิบัติให้เกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ อย่างจริงใจ วันละเล็ก วันละน้อย ไม่ช้ากำลังใจจักรวมตัว ก็จักสามารถตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้(อุบายในการพิจารณาทุกชนิดที่มีผลทำให้ตัดขันธ์ ๕ ได้ ว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จนเกิดอารมณ์เบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ อย่างจริงใจหรือนิพพิทาญาณแล้ว จัดว่าเป็นวิปัสสนาญาณทั้งสิ้น)

๘. “งานที่ทำอยู่ก็ทำไปตามปกติตามหน้าที่ แต่ให้ดูสุขภาพของร่างกายไปด้วย ให้เหมาะสม ไม่ตึงไปหรือเบียดเบียนกายมากไป ไม่หย่อนไปหรือขี้เกียจเกินไป ให้เดินสายกลางตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา โดยมีพรหมวิหาร ๔ เป็นหลักสำคัญในการควบคุม ให้ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริงไว้ด้วย และอย่าลืมความตาย ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง หมั่นซ้อมตาย และพร้อมที่จะตายได้ตลอดเวลาด้วยความไม่ประมาท (รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน) ตั้งเข็มทิศของจิตจักไปพระนิพพานเอาไว้ให้มั่นคง พยายามทรงจิตในอุปสมานุสติให้มาก เพื่อความไม่ประมาทในชีวิต แล้วหมั่นพิจารณาธาตุ ๔ อาการ ๓๒ เข้าไว้ ให้จิตยอมรับสภาพของขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง และการเกาะอยู่ในอายตนะ ๑๒ ทั้งภายใน ๖ และภายนอก ๖ ที่แท้จริง ก็คือจิตอยู่ในอุปาทานขันธ์นั่นเอง ให้พยายามปลดตรงนี้ให้มาก

๙. “เรื่องการพิจารณาอารมณ์ของจิตตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจักต้องรู้ว่าอารมณ์อะไรเกิดขึ้นกับจิต และอารมณ์นั้นเกิดขึ้นได้เพราะสัญญาหรือปัญญา (สัญญาสมาธิหรือปัญญาสมาธิ) จุดนี้ทบทวนให้ดี จึงจักแยกแยะได้ถูกต้องว่า อารมณ์นั้นเป็นสัญญาหรือปัญญา ถ้าเป็นสัญญานึกขึ้นมาได้ ประเดี๋ยวก็ลืม ถ้าเป็นปัญญาจิตก็จักรู้อยู่อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ปัญญามีความทรงตัว รอบรู้ในกองสังขาร (ของกายและจิต) อยู่ตลอด เห็นอะไรจิตน้อมยอมรับทันที ว่านี่เป็นกฎของธรรมดา จิตมันจักบอกตนอยู่อย่างนี้เสมอ จิตของผู้มีปัญญาจักเป็นจิตที่รู้เท่าทันความจริงในอริยสัจอยู่เสมอ พระอรหันต์ท่านทรงอธิปัญญาก็อยู่ที่ตรงนี้ หมั่นสำรวจใจให้ดี ๆ อย่าตรากตรำร่างกายมากเกินไป เหนื่อยก็ต้องให้ร่างกายพักผ่อน อย่าฝืนสังขารเพราะจักได้แต่ตัวทุกข์เท่านั้น ผลของการปฏิบัติจักได้น้อย พยายามหาทางพอดีให้ได้ทั้งทางจิตและทางกาย แล้วปฏิบัติตามนั้น จักได้ผลดีกว่าทรมานกายและจิตใจ จุดนี้ต้องหากันเอาเอง เพราะมัชฌิมาปฏิปทาของแต่ละคนไม่เท่ากัน ให้เป็นไปตามแต่ความเหมาะสมของแต่ละคน

๑๐. “การที่วางอารมณ์ราคะและปฏิฆะไม่ได้อย่างสนิทใจ ก็เพราะบกพร่องในกายคตานุสติและพรหมวิหาร ๔ จักต้องพิจารณาร่างกายให้มาก ๆ คำว่าให้มากก็จงสำรวมใจว่า มากจนกระทั่งจิตคลายความรักในร่างกายตนเอง เห็นร่างกายตนเองเป็นธาตุ ๔ กายคตา-อสุภะ อยู่ตลอดเวลาที่ระลึกนึกขึ้นมาได้ มีความเบื่อหน่ายและรังเกียจในร่างกายตนเองอยู่เสมอ นั่นแหละ จึงจักวางราคะได้ ปฏิฆะก็เช่นกัน ให้เจริญพรหมวิหาร ๔ ให้เมตตาจิตของตนเองให้มาก ๆ เห็นไฟโทสะเป็นความร้อนที่เป็นโทษอยู่ในจิตเสมอ ให้เห็นคุณคือความเย็นของพรหมวิหาร ๔ อย่างจริงใจ เมื่อนั้นแหละ จึงจักตัดปฏิฆะได้ หนทางอื่นที่จัดตัดได้นั้นไม่มี มีแต่ทางเดินไปอย่างนี้เท่านั้น จึงจักบรรลุมรรคผลได้”


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 27-10-2011 เมื่อ 14:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:50



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว