กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องบูรพาจารย์ > ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน

Notices

ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #101  
เก่า 28-08-2012, 10:27
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลวงปู่มั่น ลึกซึ้งในพระวินัย

คราวสมัยหนึ่งที่หลวงปู่มั่นยังพักอยู่ทางจังหวัดเชียงใหม่ เป็นช่วงที่ท่านพระอาจารย์เฟื่องได้เข้าไปศึกษาอยู่ด้วย มีเหตุการณ์สำคัญแสดงถึงความลึกซึ้งรอบรู้ในพระวินัยของหลวงปู่มั่น ซึ่งองค์หลวงตาได้เล่าไว้ ดังนี้

“... ทีนี้อาจารย์เฟื่องไปอยู่กับท่าน (พระอาจารย์มั่น) ใหม่ ๆ พอบิณฑบาต ท่านได้น้ำตาลมาก้อนหนึ่ง ห่อมาอย่างดี ท่านก็ยกขึ้นมาแล้วว่า ‘นี่น้ำตาลนี่ดี ไม่เปื้อนอะไร ใครจะเก็บไว้ฉันในเวลาวิกาลก็ได้


ท่านว่าอย่างนั้น ท่านไม่ได้บอก ๗ วันเพราะพระรู้เรื่องแล้ว เรื่องสัตตาหกาลิกนี่ สำหรับอันนี้เป็นสัตตาหกาลิก แต่เอาออกมาจากบาตรนะซี ที่ทำให้อาจารย์เฟื่องสงสัย

‘นี่ก็บิณฑบาตมากับข้าวแล้ว ทำไมท่านอาจารย์องค์นี้ว่าเป็นผู้ปรากฏชื่อลือนามทางด้านธรรมวินัยเคร่งครัดที่สุดแล้ว ทำไมจึงต้องเอาน้ำตาลที่เขาใส่บาตรมานี่.. เก็บไว้ฉันในเวลาวิกาล มันสมควรที่ไหน ?’


คิด..คิดแล้วไม่ลงท่านนะ

พอเช้าวันหลังนี่ ท่านว่า
พระองค์ไหนมาอยู่กับเรานี่ แบกคัมภีร์มาตีหัวเราเมื่อคืนนี้ นั่นเห็นไหม แบกคัมภีร์มาตีหัวเรา เรานี่เป็นภิกษุเฒ่า ไม่รู้คัมภีร์วินัยอะไรเลย พระองค์นั้นอยู่แถวนี้แหละ จะยกคัมภีร์มาตีหัวเรา คืนนี้จะพิจารณาให้ชัดเจน


ความจริงท่านชัดเจนแล้ว ท่านตีแต่ฉากไปฉากมาเสียก่อน เข้าใจหรือเปล่า วันนี้ยังไม่ชัดเจนเท่าไร เอาไว้วันพรุ่งนี้จะพิจารณาให้ชัดเจน อาจารย์เฟื่องหมอบ ต้องไปขอขมาท่าน ท่านก็เลยอธิบายพระวินัยให้ฟัง‘พระวินัยข้อนี้น่ะ เห็นไหม กาลิกระคนกัน เช่น สัตตาหกาลิก น้ำอ้อย น้ำตาล มาผสมกับข้าว นี่ฉันได้เพียงถึงอายุเที่ยงวันเท่านั้น หมดอายุ ฉันต่ออีกไม่ได้ แต่ถ้าน้ำตาลนี่ ไม่เปื้อนเปรอะอะไรเลย ห่อมาเรียบร้อย ก็ฉันได้ตามกาลของมัน แม้จะมาในบาตรก็ตาม นี่เราทำอย่างนั้นนั่น’

เวลาท่านสอน..ท่านสอนอย่างนั้น หาที่ค้านไม่ได้ พระวินัยมีอย่างนี้ แต่คนไม่เห็นกาลิกที่แยกนะซี เห็นแต่กาลิกระคนกันแล้ว..ใช่ไหม ? พระวินัยมีทั้งกาลิกระคนกัน และกาลิกแยกกัน แม้จะมาในขณะเดียวกัน เช่น เขาถวายอะไรมาพร้อมกับอาหาร ถ้าเป็นคนละประเภท เรายกตัวอย่างหมาก มันก็เป็นหมากไปเสีย ผสมกับข้าวไม่ได้ ก็จัดเป็นคนละประเภท ๆ ไป...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-08-2012 เมื่อ 12:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #102  
เก่า 29-08-2012, 14:13
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลวงปู่มั่น ทำนายฝันปฏิปทาทางดำเนิน

หลังจากที่อยู่กับหลวงปู่มั่นได้ประมาณสัก ๔ - ๕ คืนเท่านั้น ท่านก็ฝันเรื่องประหลาดอัศจรรย์เรื่องหนึ่ง ดังนี้

“...ความฝันนี้ก็เป็นความฝันเรื่องอัศจรรย์เหมือนกัน ฝันว่าได้สะพายบาตร แบกกลด ครองผ้าด้วยดี ไปตามทางอันรกชัฏ สองฟากทางแยกไปไหนไม่ได้ มีแต่ขวากแต่หนามเต็มไปหมด นอกจากจะพยายามไปตามทางที่เป็นเพียงด่าน ๆ ไปอย่างนั้นแหละ รกรุงรัง หากพอรู้เงื่อนพอเป็นแถวทางไป พอไปถึงที่แห่งหนึ่งก็มีกอไผ่หนา ๆ ล้มทับขวางทางไว้ หาทางไปไม่ได้ จะไปทางไหนก็ไปไม่ได้ มองดูสองฟากทางก็ไม่มีทางไป ‘เอ นี่เราจะไปยังไงนา ?’


เสาะที่นั่นเสาะที่นี่ไป ก็เลยเห็นช่อง ช่องที่ทางเดินไปตรงนั้นแหละ เป็นช่องนิดหน่อยพอที่จะ 'บึกบืน' ไป ให้หลวมตัวกับบาตรลูกหนึ่งพอไปได้ เมื่อไม่มีทางไปจริง ๆ ก็เปลื้องจีวรออก มันชัดขนาดนั้นนะความฝัน เหมือนเราได้ฝัน เปลื้องจีวรออกพับเก็บอย่างที่เราพับเก็บเอามาวางนี้แล เอาบาตรออกจากบ่า เจ้าของก็คืบคลานไป แล้วก็ดึงสายบาตรไปด้วย กลดก็ดึงไปไว้ที่พอเอื้อมถึง 'พอบืน' ไปได้ก็ลากบาตรไปด้วย ลากกลดไปด้วย แล้วก็ดึงจีวรไปด้วย

'บืน' ไปอยู่อย่างนั้นแหละ ยากแสนยาก พยายาม 'บึกบืน' กันอยู่นั้นเป็นเวลานาน พอดีเจ้าของก็พ้นไปได้ เดี๋ยวก็ค่อยดึงบาตรไป บาตรก็พ้นไปได้ แล้วก็ดึงกลดไป กลดก็พ้นไปได้ พยายามดึงจีวรไป จีวรก็พ้นไปได้ พอพ้นไปได้หมดแล้วก็ครองผ้า มันชัดขนาดนั้นนะ..ความฝัน ครองจีวรแล้วก็สะพายบาตร นึกในใจว่า ‘เราไปได้ละทีนี้’ ก็ไปตามด่านนั้นแหละ ทางรกมากพอไปประมาณสัก ๑ เส้นเท่านั้น สะพายบาตร แบกกลด ครองจีวรไป

ตามองไปข้างหน้าเป็นที่เวิ้งว้างหมด คือข้างหน้าเป็นมหาสมุทร มองไปฝั่งโน้นไม่มี เห็นแต่ฝั่งที่เจ้าของยืนอยู่เท่านั้น และมองเห็นเกาะหนึ่งอยู่โน้น ไกลมาก มองสุดสายตาพอมองเห็นเป็นเกาะดำ ๆ นี่แหละ นี่เราจะไปเกาะนั้น

พอเดินลงไปฝั่งโน้น เรือไม่ทราบมาจากไหน เราก็ไม่ได้กำหนดว่าเรือยนต์ เรือแจว เรือพายอะไร เรือมาเทียบฝั่ง เราก็ขึ้นนั่งเรือ คนขับเรือเขาก็ไม่พูดอะไรกับเรา พอลงไปนั่งเรือแล้วก็เอาบาตรเอาอะไรลงวางบนเรือ เรือก็บึ่งพาไปโน้นเลยนะ โดยไม่ต้องบอก มันอะไรก็ไม่ทราบ บึ่ง ๆ ๆ ไปโน้นเลย ไม่รู้สึกว่ามีภัยมีอันตรายมีคลื่นอะไรทั้งนั้นแหละ ไปแบบเงียบ ๆ ครู่เดียวเท่านั้นก็ถึงเพราะเป็นความฝันนี่

พอไปถึงเกาะนั้นแล้ว เราก็ขนของออกจากเรือแล้วขึ้นบนฝั่ง เรือก็หายไปเลย เราไม่ได้พูดกันสักคำเดียวกับคนขับเรือ เราก็สะพายบาตรขึ้นไปบนเกาะนั้น พอปีนเขาขึ้นไป ๆ ก็ไปเห็นหลวงปู่มั่นกำลังนั่งอยู่บนเขาบนเตียงเล็ก ๆ กำลังนั่งตำหมาก จ๊อก ๆ อยู่ พร้อมกับมองมาดูเราที่กำลังปีนเขาขึ้นไปหาท่าน

‘อ้าว! ท่านมหามาได้ยังไงนี่ ? ทางสายนี้ใครมาได้เมื่อไหร่ ท่านมหามาได้ยังไงกัน?’


‘กระผมนั่งเรือมา ขึ้นเรือมา’

‘โอ้โฮ ทางนี้มันมายากนา ใคร ๆ ไม่กล้าเสี่ยงตายมากันหรอก เอ้า ถ้าอย่างนั้นตำหมากให้หน่อย’

ท่านก็ยื่นตะบันหมากให้ เราก็ตำ จ๊อก ๆ ๆ ได้ ๒-๓ จ๊อกเลยรู้สึกตัวตื่น แหม...เสียใจมาก อยากจะฝันต่อไปอีกให้จบเรื่องค่อยตื่นก็ยังดี...”

พอตื่นเช้ามา ท่านเลยเอาเรื่องนี้ไปเล่าถวายให้หลวงปู่มั่นฟัง หลวงปู่มั่นก็ได้เมตตาพูดเสริมกำลังใจให้ศิษย์เพิ่มเติมอีก ให้พากเพียรดำเนินปฏิปทาตามฝันนั้น อดทนประพฤติปฏิบัติจนให้กลายเป็นจริงขึ้นมา หลวงปู่มั่นเมตตาพูดอธิบายความฝันว่า

“เอ้อ! ที่ฝันนี่เป็นมงคลอย่างยิ่งแล้วนะ นี้เป็นแบบเป็นฉบับในปฏิปทาของท่านไม่เคลื่อนคลาดนะ ให้ท่านดำเนินตามปฏิปทาที่ท่านฝันนี้ เบื้องต้นจะยากลำบากที่สุดนะ... ท่านต้องเอาให้ดี ท่านอย่าท้อถอย เบื้องต้นนี้ลำบาก ดูท่านลอดกอไผ่มาทั้งกอนั่นแหละ ลำบากมากตรงนั้น เอาให้ดี อย่าถอยหลังเป็นอันขาด


พอพ้นจากนั้นไปแล้ว ก็เวิ้งว้างไปได้สบายจนถึงเกาะ .. อันนั้นไม่ยาก ตรงนี้ตรงยากนา...พอพ้นจากนี้แล้ว ท่านจะไปด้วยความสะดวกสบายไม่มีอุปสรรคอันใดเลย มีเท่านั้นแหละ เบื้องต้นเอาให้ดีอย่าถอยนะ ... ถ้าถอยตรงนี้ ไปไม่ได้นะ

เอ้า! เป็นก็เป็น ตายก็ตาย ฟาดมันให้ได้ตรงนี้น่ะ ... มันจะยากแค่ไหน มันก็ไปได้นี่ อย่าถอยนะ”

ท่านฟังอย่างถึงใจพร้อมกับเก็บความมุ่งมั่นจริงจังอยู่ภายในว่า แม้การปฏิบัติจะยากเพียงใด เราก็จะต้องสู้อย่างไม่มีถอย เป็นก็เป็น ตายก็ตาย

หมายเหตุ : บืน = ดันทุรังไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-08-2012 เมื่อ 16:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #103  
เก่า 30-08-2012, 09:34
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

คติเตือนใจจากฝัน “โรงเลี้ยงหมู”

ระยะที่ท่านเข้าอยู่ศึกษาใหม่ ๆ ท่านรู้สึกเกรงกลัวหลวงปู่มั่นมาก อาจเป็นเพราะเหตุนี้เอง ทำให้วันหนึ่งในตอนกลางวันหลังจากเอนกายลงพักผ่อนอิริยาบถได้ไม่นาน ก็เลยเคลิ้มหลับไป ขณะที่เคลิ้มหลับไปนั้นปรากฏว่า หลวงปู่มั่นมาดุเอาเสียยกใหญ่ว่า

ท่านมานอนเหมือนหมูอยู่ทำไมที่นี่ ? เพราะที่นี่มิใช่โรงเลี้ยงหมู ผมจึงไม่เสริมพระที่มาเรียนวิชาหมู เดี๋ยววัดนี้จะกลายเป็นโรงเลี้ยงหมูไป


เสียงของหลวงปู่ในฝันนั้น เป็นเสียงตะโกนดุด่าขู่เข็ญให้ท่านกลัวเสียด้วย จึงทำให้ท่านสะดุ้งตื่นขึ้นด้วยความตระหนกตกใจ ท่านพยายามโผล่หน้าออกมาที่ประตูเพื่อมองหาหลวงปู่มั่น แต่ก็ไม่พบ ท่านเล่าความรู้สึกของท่านในตอนนั้นว่า

ทั้งตัวสั่น ใจสั่น แทบเป็นบ้าไปในขณะนั้น เพราะปกติก็กลัวท่านแทบตั้งตัวไม่ติดอยู่แล้ว แต่บังคับตนอยู่กับท่าน ด้วยเหตุผลที่เห็นว่าชอบธรรมเท่านั้น แถมท่านยังนำยาปราบหมูมากรอกเข้าอีก นึกว่าสลบไปในเวลานั้น พอโผล่หน้าออกมา มองโน้นมองนี้ไม่เห็นท่านมายืนอยู่ตามที่ปรากฏ จึงค่อยมีลมหายใจขึ้นมาบ้าง


พอได้โอกาสท่านจึงกราบเรียนเล่าถวาย หลวงปู่มั่นก็เมตตาแก้ให้เป็นอุบายปลอบโยน โดยอธิบายความฝันนั้นให้ฟังว่า
“...เรามาหาครูอาจารย์ใหม่ ๆ ประกอบกับมีความระวังตั้งใจมาก เวลาหลับไปทำให้คิดและฝันไปอย่างนั้นเอง


ที่ท่านไปดุว่าเราเหมือนหมูนั้น เป็นอุบายของพระธรรม ท่านไปเตือนไม่ให้เรานำลัทธินิยมของหมูมาใช้ในวงของพระและพระศาสนา

โดยมาก คนเราไม่ค่อยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของตัวว่ามีคุณค่าเพียงไร เวลาอยากทำอะไรทำตามใจชอบ ไม่คำนึงถึงความผิดถูกชั่วดี จึงเป็นมนุษย์เต็มภูมิได้ยาก...

พระธรรมท่านมาสั่งสอนดังที่ท่านปรากฏนั้น เป็นอุบายที่ชอบธรรมดีแล้ว จงนำไปเป็นคติเตือนใจตัวเอง เวลาเกิดความเกียจคร้านขึ้นมา จะได้นำอุบายนั้นมาใช้เตือนสติกำจัดมันออกไป

นิมิตเช่นนี้เป็นของดีหายาก ไม่ค่อยปรากฏแก่ใครง่าย ๆ ผมชอบนิมิตทำนองนี้มาก เพราะจะพลอยได้สติเตือนตน มิให้ประมาทอยู่เนือง ๆ ความเพียรจะได้เร่งรีบ... ถ้าท่านมหานำอุบายที่พระธรรมท่านมาเทศน์ให้ฟัง ไปปฏิบัติอยู่เสมอ ๆ ใจท่านจะสงบได้เร็ว....

เรามาอยู่กับครูอาจารย์ อย่ากลัวท่านเกินไป ใจจะเดือดร้อนนั่งนอนไม่เป็นสุข ผิดถูกประการใดท่านจะสั่งสอนเราไปตามจารีตแห่งธรรม

การกลัวท่านอย่างไม่มีเหตุผลนั้น ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย จงกลัวบาปกลัวกรรม..ที่จะนำทุกข์มาเผาลนตนให้มากกว่ากลัวอาจารย์ ผมเองมิได้เตรียมรับหมู่คณะไว้เพื่อดุด่า เฆี่ยนตี โดยไม่มีเหตุผลที่ควร...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-08-2012 เมื่อ 09:59
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #104  
เก่า 31-08-2012, 10:30
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ฝึกฝนการฟังธรรมด้วยภาคปฏิบัติ

เมื่อเข้าพรรษา หลวงปู่มั่นพาหมู่คณะจำพรรษาที่สำนักป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร ด้วยความผาสุกทั้งทางกายและจิตใจ ไม่มีการเจ็บไข้ได้ทุกข์ตลอดเวลา ท่านเล่าถึงความรู้สึกในครั้งนั้นว่า

ท่านพระอาจารย์มั่นได้เมตตารับเราไว้แบบท่อนซุงทั้งท่อน ไม่เป็นท่าเป็นทางอะไรเลย อยู่กับท่านแบบทัพพีไม่รู้รสแกง คิดแล้วน่าอับอายขายหน้า.. ที่พระซุงทั้งท่อนไปอยู่กับท่านผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องลือระบือทั่วทั้งจักรวาลเบื้องบนเบื้องล่าง


หลวงปู่มั่นประชุมธรรมเป็นประจำทั้งในและนอกพรรษา ๖ - ๗ คืนต่อครั้ง การแสดงธรรมแต่ละครั้ง มีตั้งแต่ ๒ ชั่วโมงขึ้นไปถึง ๔ ชั่วโมง ในขณะฟังธรรม ผู้ฟังนั่งทำจิตภาวนาไปพร้อมอย่างเพลิดเพลิน ลืมเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แม้องค์ท่านเองก็รู้สึกเพลิดเพลินไปด้วย

ในการแสดงธรรมแก่พระเณรแต่ละครั้ง ท่านแสดงอย่างถึงเหตุถึงผลและถึงใจผู้ฟัง ซึ่งมุ่งมั่นต่ออรรถธรรมจริง ๆ ท่านเล่าว่า
“ขณะที่ฟังท่านแสดง ทำให้จิตประหวัดถึงครั้งพุทธกาล ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุบริษัทโดยเฉพาะ เป็นที่แน่ใจว่า พระองค์ทรงหยิบยกเอาแต่ธรรมมหาสมบัติ คือมรรคผลนิพพานออกแสดงล้วน ๆ ไม่มีธรรมอื่นแอบแฝงอยู่ในขณะนั้นเลย


แม้ท่านจะได้ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกมาไม่น้อย อีกทั้งมีความรู้ระดับจบนักธรรมเอกและมหาเปรียญ แต่ในระยะแรกการฟังธรรมภาคปฏิบัติ ขณะที่อยู่กับหลวงปู่มั่นกลับไม่เข้าใจเท่าใดนัก ดังนี้

“...ฟังท่านเทศน์เรื่องสมาธิปัญญาไม่ว่าขั้นไหน ไม่รู้เรื่องเลย เหมือนกับร้องเพลงให้ควายฟังนั่นแล แต่ดีอย่างหนึ่งที่ไม่เคยตำหนิติเตียนท่านว่า ‘ท่านเทศน์ไม่รู้เรื่องรู้ราว


แต่ย้อนกลับมาตำหนิเจ้าของว่า ‘นี่เห็นไหม ท่านอาจารย์มั่น ชื่อเสียงท่านโด่งดังกิตติศัพท์ กิตติคุณท่านลือกระฉ่อนไปทั่วโลกมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก เรามีความพอใจที่จะได้พบ ได้เห็น ได้ฟังโอวาทของท่าน บัดนี้ เราได้มาฟังแล้วไม่เข้าใจ เราอย่าได้เข้าใจว่าเราฉลาดเลย นี่...เราโง่แค่ไหนรู้หรือยังทีนี้ ?

เราเคยฟังเทศน์ทางด้านปริยัติ ฟังจนกระทั่งเทศน์ของสมเด็จฯ เราเข้าใจไปหมด แต่เวลามาฟังเทศน์ท่านอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นองค์ประเสริฐทางภาคปฏิบัติและจิตใจ แต่ไม่เข้าใจ เราเชื่อแล้วว่า ท่านเป็นพระประเสริฐที่ปรากฏชื่อเสียงมานานถึงขนาดนั้น เรายังไม่เข้าใจ นี่.. เห็นแล้วหรือยัง ความโง่ของเรา’

ครั้นพอฟังเทศน์ท่านไปนาน ๆ เราก็ปฏิบัติไปทุกวี่ทุกวันทุกเวลา ฟังเทศน์ท่านค่อยเข้าใจ จิตค่อยได้รับความสงบเย็นเข้าไป เย็นเข้าไปเป็นลำดับ ทีนี้รู้สึกว่าเริ่มค่อยซึ้งเพราะฟังธรรมเทศนาของท่านก็เข้าใจ

พูดถึงเรื่องสมาธิแล้ว ‘ใสแจ๋ว’ภายในจิตใจ จากนั้นก็เริ่มเข้าใจโดยลำดับ ๆ ซาบซึ้งโดยลำดับ ๆ เลยกลายเป็นคนหูสูงไป คนหูสูงคือ นอกจากท่านแล้ว ไม่อยากฟังเทศน์ของใครเลย เพราะเทศน์ไม่ถูกจุดที่ต้องการ เทศน์ไม่ถูกจุดของกิเลสที่ซุ่มซ่อนตัว เทศน์ไม่ถูกจุดของสติปัญญาซึ่งเป็นธรรมแก้กิเลส เทศน์ไม่ถูกจุดแห่งมรรคผลนิพพาน...

ท่านสรุปความว่า การประพฤติปฏิบัติจากการอบรมตนอยู่โดยสม่ำเสมอนี้ คือการสร้างวาสนาทำให้จิตใจมีการเปลี่ยนแปลงเจริญขึ้น ธรรมที่หลวงปู่มั่นแสดงจึงเหมือนกับเทน้ำล้างสิ่งสกปรกในจิตใจเรา ให้ค่อยสะอาดขึ้นมา ๆ ใจก็จะปรากฏเป็นของมีค่าขึ้นมาโดยลำดับไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-08-2012 เมื่อ 16:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #105  
เก่า 04-09-2012, 09:40
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระสาวก... ครั้งพุทธกาล

พระอนุรุทธะ รู้วาระจิตผู้อื่น

“...พระอนุรุทธะนี้ก็เป็นเชื้อกษัตริย์ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ เหล่านี้เป็นเชื้อกษัตริย์ในวงศ์พระศาสดานั่นแหละ เสด็จออกบวชเสียหมดเลย เป็นพระอรหันต์ล้วน ๆ ... พระอนุรุทธะเก่งในทางเจโตปริยญาณหรือปรจิตวิชชา คือวาระจิตของคนอื่นคนใดก็ตาม แม้แต่เทวบุตรเทวดา พระอนุรุทธะก็ทราบได้ละเอียดลออ...

ขณะที่พระองค์ทรงหน้าที่ปรินิพพาน เมื่อประทานพระโอวาทวาระสุดท้าย โอวาทวาระสุดท้ายนั้น เป็นภาษาไทยก็ว่า ‘ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เราเตือนเธอทั้งหลาย สังขารมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปดับไปอยู่อย่างนี้เป็นประจำ จงพิจารณาสังขารอันนี้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด’ … เวลานั้นไม่ใช่เวลาธรรมดา เป็นวิสามัญธรรมดา ๆ เป็นวิสามัญ

๑) จะปรินิพพานอยู่แล้วในขณะนั้น

๒) พระสงฆ์ที่เฝ้าพระองค์อยู่เวลานั้นมีแต่ผู้เตรียมพร้อมแล้ว ตั้งแต่พระอรหันต์ลงมาจนกระทั่งถึงกัลยาณปุถุชน คือภิกษุเรื่อยลงมาเป็นลำดับ...

พอจากนั้นแล้วก็ปิดพระโอษฐ์ ทรงทำหน้าที่ปรินิพพาน ในขณะที่ทำหน้าที่นั้น พระสงฆ์สาวกก็ห้อมล้อมอยู่ พระอนุรุทธะก็อยู่ที่นั่นด้วย... พระอนุรุทธะตามเสด็จพระพุทธเจ้าในขณะที่จะปรินิพพาน จนกระทั่งปรินิพพานแล้วนั่นแหละ เวลาพระพุทธเจ้าจะปรินิพพานเพียงเสด็จเข้าสู่ปฐมฌานเรื่อยไป ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ฌาน ๔ นี้เป็นรูปฌาน แล้วก็ก้าวเข้าไปถึงอากาสานัญจยตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่เป็นอรูปฌาน ๔

จิตก้าวเข้าไป ๆ ผ่านไป ๆ ผ่านไปตรงไหน พระอนุรุทธะรู้หมด ๆ จนกระทั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ดับสัญญาและเวทนาทั้งหมด สงบพระองค์อยู่นั้น พระทั้งหลายก็สงสัย มีพระอานนท์เป็นต้นนี้ สงสัยถามพระอนุรุทธะว่า ‘นี่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วหรือ ?’

พระอนุรุทธะก็ตอบทันทีว่า ‘ยัง’ นั่น..ฟังซิ ‘เวลานี้เข้าประทับอยู่ที่สัญญาเวทยิตนิโรธ’

เพราะผู้ดู..ดูอยู่นี่ นั่นละ พระจิตที่บริสุทธิ์นั่น ดูซิ ...สูญไหม ? ถ้าสูญ..พระอนุรุทธะเห็นได้อย่างไร ? นั่นเอายันกันตรงนี้ซิ พระอนุรุทธะก็เป็นพระอรหันต์ แต่เก่งทางปรจิตวิชชา ตามเสด็จตามพระจิตของพระพุทธเจ้า ตามเสด็จในเวลาเข้าฌานเรื่อย ๆ พอเคลื่อนไหวออกมาก็บอก เคลื่อนออกมาจากสัญญาเวทยิตนิโรธเรื่อยมา จนกระทั่งถึงพระจิตอันบริสุทธิ์ธรรมดาแล้วก้าวเข้าอีก

พอก้าวเข้าฌาน คราวนี้ก็ถึงแค่จตุตถฌานซึ่งเป็นรูปฌาน ๔ พอผ่านจากรูปฌาน ๔ แล้วก็ไม่ก้าวเข้าไปอรูปฌาน ๔ แล้ว เพราะทั้งสองอย่างนี้เป็นสมมุติด้วยกัน พระจิตที่เป็นวิมุตติก็ผ่านออกตรงกลาง เมื่อผ่านออกไปไม่มีอะไรพาดพิงแล้ว ก็พูดไม่ได้ว่าไปโน้น ไปอยู่ที่โน่นที่นี่ เพราะไม่มีที่พาดพิง รูปฌาน อรูปฌาน เป็นสมมุติ สัญญาเวทยิตนิโรธก็เป็นสมมุติ พระจิตเข้าไปเกี่ยวข้องกับสมมุติใดก็บอกได้ว่า เวลานี้อยู่ตรงนั้น ๆ

พอออกจากสมมุตินี้โดยประการทั้งปวงแล้ว..นั่นพูดไม่ได้ จิตดวงนั้นแหละ จิตดวงบริสุทธิ์นั่นแหละ เวลาไม่มีอะไรพาดพิงแล้วก็พูดไม่ได้ แล้วสูญไหมล่ะ ? ฟังซิ..แต่อยู่ในนี้มีสิ่งที่พาดพิงอยู่นี้ก็พูดได้ว่า พระจิตของพระพุทธเจ้าเวลานี้เสด็จไปตรงนั้น ๆ พระจิตที่บริสุทธิ์นั่นไปไหนก็รู้หมด เพราะมีสมมุติเป็นเครื่องพาดพิงกัน พอให้ได้พูด พอออกจากนั้นแล้วไม่มีสมมุติ ก็ทีนี้ปรินิพพานแล้วเท่านั้น นั่นชัด

ท่านผู้รู้นิพพาน พูดเรื่องนิพพาน พูดได้เต็มปากซิ ก็พระอรหันต์เป็นผู้สอุปาทิเสสนิพพาน จิตเป็นนิพพานทั้ง ๆ ที่ยังมีธาตุมีขันธ์อยู่นี้... พระองค์ทรงรับสั่งข้อไหนเป็นพุทธพจน์แล้ว โอ้โห...เด็ดมาก ๆ ทุกประโยคเชียวนะ พระไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องยุ่งเหยิงวุ่นวาย ปล่อยให้ประชาชนเขามีกษัตริย์ มัลลกษัตริย์เป็นต้น มาจัดทำ

เวลาจะทรงเคลื่อนไหวพระสรีระศพออก ทีแรกออกไปทิศใต้ เทวดาไม่เห็นด้วย พระอนุรุทธะเก่งทางปรจิตวิชชาบอกว่า ‘เทวดาไม่ยินดีด้วย เทวดาให้ไปทางทิศเหนือ’ พอหมุนปั๊ปให้ไปทางทิศนั้นก็ไปได้เลย นั่นเห็นไหม ? พระอนุรุทธะบอกเทวดาไม่ยินดี ไม่เห็นด้วย เทวดาให้ไปทางนั้น ...

พอไปถึงแล้วบรรจุไฟละ..ที่นี่นะ..เอ้า..ไม่ติดอีก ‘ทำไมจึงไม่ติด ?’
‘ยังรอพระกัสสปะ พระกัสสปะกำลังเดินทางมาจะมาเฝ้าพระศาสดาเรา’ จึงต้องรอพระกัสสปะ พอพระกัสสปะมาก็พรึบเองเลยเทียว เป็นเองขึ้นเลยเทียว พอกราบฝ่าพระบาทของพระพุทธเจ้าแล้ว ไฟก็ขึ้นเองพรึบเลย...

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-09-2012 เมื่อ 19:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #106  
เก่า 05-09-2012, 10:20
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default




ศิษย์อาจารย์เหมือนพ่อกับลูก


กล่าวถึงหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ซึ่งติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นมาจากเชียงใหม่ และอยู่จำพรรษากับหลวงปู่มั่น ๒ พรรษาที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ต่อมาได้ติดตามไปสกลนครตามคำอาราธนานิมนต์ของคณะศรัทธาทางสกลนคร มีคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ เป็นต้น จากนั้นหลวงปู่มั่นได้มอบหมายให้หลวงปู่เจี๊ยะ ไปดูแลอุปัฏฐากอาการอาพาธของหลวงปู่เสาร์ที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

เหตุที่ทำให้หลวงปู่เสาร์ป่วยกระออดกระแอด เนื่องจากบ่ายวันหนึ่ง เหยี่ยวตัวหนึ่งบินโฉบมาหาเหยื่อ แล้วถูกรังผึ้งขาดตกลงมาด้านข้าง ขณะที่หลวงปู่กำลังนั่งสมาธิอยู่ใต้โคนต้นยางใหญ่ ผึ้งได้รุมต่อยหลวงปู่หลายตัวจนต้องหลบเข้าไปในมุ้งกลด ตอนที่หลวงปู่เจี๊ยะมาถึงวัดดอนธาตุ ก็ปรากฏว่ามีอาการหนักขึ้นโดยลำดับ ท่านจึงอยู่ปฏิบัติจนเป็นปกติดี จากนั้นหลวงปู่เสาร์จึงออกธุดงค์ไปทางหลี่ผี ประเทศลาว เพื่อทำบุญอุทิศให้ท่านแดดัง (พระครูทา โชติปาโล) ผู้เป็นอุปัชฌาย์

เดิมหลวงปู่เจี๊ยะคิดจะกลับไปหาหลวงปู่มั่น แต่ก็ให้หวนรู้สึกประหวัด ๆ อยู่ในใจว่า
“เจี๊ยะเอ้ย... ดูแลหลวงปู่เสาร์แทนผมให้ดีนะ ถึงการป่วยอาพาธของท่านจะหาย ก็อย่าได้ไว้วางใจเป็นอันขาด


หลวงปู่เจี๊ยะเชื่อในญาณความรู้พิเศษของหลวงปู่มั่นว่า ต้องทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่นอน จึงตัดสินใจออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่เสาร์แต่ก็คลาดกัน

ในกาลต่อมา มีจดหมายแจ้งให้ทราบว่า หลวงปู่เสาร์ป่วยหนัก กำลังจะมาถึงนครจำปาศักดิ์ประมาณ ๕ โมงเย็น พอมาถึง หลวงปู่เจี๊ยะพร้อมพระเพ็งจึงลงไปรับในเรือ พบว่าท่านมีอาการหนักมาก จึงจัดเปลหามเข้าไปในอุโบสถวัดอำมาตย์ หลวงปู่ก็ทำกิริยาให้ประคองท่านขึ้นกราบพระ พอกราบลงครั้งที่สาม เห็นท่านกราบนานผิดปกติ เมื่อพยุงหลวงปู่เข้าสู่อิริยาบถนอน ท่านก็หายใจยาว ๆ ๓ ครั้ง แล้วก็ถึงแก่กาลกิริยาโดยสงบ เมื่อเวลา ๑๗.๓๐ น. วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ (สิริอายุรวม ๘๓ ปี)

หลวงปู่เจี๊ยะจัดเรื่องงานศพทุกอย่างสุดความสามารถ เมื่อตั้งไว้สักการะระยะหนึ่งแล้ว จึงนำศพท่านลงเรือกลับมาอุบลราชธานี และรีบเดินทางกลับไปจำพรรษากับหลวงปู่มั่น เพื่อกราบเรียนเรื่องงานการให้ท่านทราบ พรรษานี้จึงเป็นพรรษาที่ ๓ ที่อยู่ร่วมกับหลวงปู่มั่นและองค์หลวงตาที่วัดป่าบ้านโคกแห่งนี้ องค์หลวงตาเพิ่งมาอยู่กับหลวงปู่มั่นใหม่ ๆ ได้สังเกตเห็นความสนิทสนมระหว่างหลวงปู่มั่นกับหลวงปู่เจี๊ยะ ดูเหมือนพ่อแม่กับลูก ได้แอบคิดอยู่ในใจว่า “ทำไมท่านถึงสนิทกันนักหนา

องค์หลวงตาได้เล่าถึงเหตุการณ์ในวันหนึ่ง ขณะกำลังเดินจงกรมอยู่ในป่า ได้ยินเสียงดังขึ้นมาจากภายในวัดป่าบ้านโคกแห่งนี้นี่เอง ดังนี้

“...ท่านเย็บผ้าอยู่สององค์ ท่านอาจารย์เจี๊ยะกับท่านนั่นแหละ เย็บผ้า ท่านปะท่านชุนผ้าเช็ดมือ ท่านประหยัดมาก ท่านไม่ลืมตัว ทีนี้เย็บผ้าไปเย็บผ้ามา ฟังเสียงบ๊งเบ๊ง ๆ ขึ้น


‘เอาแล้ว..ทีนี้อะไรน้า ?’ เราก็ไปอยู่ใหม่ ๆ เสียงลั่นศาลาเล็ก ๆ นี่’

แต่ว่าเสียงมันไม่เล็กละสิ เสียงลั่นกระเทือนไปหมด เรายืนฟังอยู่โน้น หากได้ยินไม่ได้ศัพท์ได้แสง ยืนไปยืนมาเลยตัวสั่นโดยไม่รู้ตัว ตัวสั่นอยู่ในป่าโน่นนะ ‘ดูสินะ มันเป็นบ้าอยู่ในป่าคนเดียว ท่านไม่ได้ดุเรา เรายังเป็นบ้าไปได้

คราวนี้พอเงียบเสียงไปสักครู่หนึ่ง เราก็ออกมา พอขึ้นไปท่านกำลังเลิก เก็บอะไรต่อมิอะไร กำลังเลิกกันประมาณ ๑๑ โมงเช้า พอเก็บของแล้วก็ลงมา

‘ท่านดุอะไร ? ตะกี้นี้ท่านดุใคร ?’ เราถาม

‘ก็ดุผมล่ะสิ’ อาจารย์เจี๊ยะตอบ

‘แล้วทำไมท่านถึงดุ ?’

‘ก็ผมเย็บผ้าผิดนี่’ ท่านพูดดีนะ อาจารย์เจี๊ยะท่านพูดตรงไปตรงมา

เราสังเกตดู เราไปอยู่ใหม่ ๆ ท่านอาจารย์เจี๊ยะอยู่ก่อนเราแล้วนี่ อะไรก็ตาม เอะอะ ๆ อะไร ๆ ท่านพระอาจารย์จะดุอาจารย์เจี๊ยะนี้ก่อน ทางนั้นก็ไม่ถอยนี่ ซัดกันเลย ซัดทีไรอาจารย์เจี๊ยะหน้าผากแตกทุกที สู้ท่านไม่ได้ ก็ท่านเป็นอาจารย์ฉลาดแหลมคม ในสมัยปัจจุบันใครจะเหมือนพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-09-2012 เมื่อ 16:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #107  
เก่า 06-09-2012, 10:55
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default



หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล


หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เกิดเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ ณ บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน (ปัจจุบัน ตำบลปะอาว) อำเภอเมือง (ปัจจุบันอำเภอเขื่องใน) จังหวัดอุบลราชธานี

อุปสมบท ท่านอุปสมบท ณ วัดใต้ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดใต้ เมื่อบวชได้ ๑๐ พรรษา ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) มีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์

อุปนิสัย หลวงปู่เสาร์มีอัธยาศัย ชอบปลูกพริกหมากไม้ ลักษณะจิตเยือกเย็น มีพรหมวิหาร ทำจิตดุจแผ่นดิน มีเมตตาเป็นสาธารณะ เป็นคนเอื้อเฟื้อในพระวินัย ทำความเพียรเป็นกลางไม่ยิ่งหย่อน พิจารณาถึงขั้นภูมิธรรมละเอียดมาก จิตของท่านชอบสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง หมากไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ เดินจงกรมภาวนาเสมอไม่ละกาล น้ำใจดี ไม่เคยโกรธขึ้งให้พระเณร อุบาสก-อุบาสิกา

มักจะวางสังฆทานอุทิศให้สงฆ์สันนิบาต แก้วิปัสสนูปกิเลสแก่สานุศิษย์ได้ อำนาจวางจริตเฉย ๆ เรื่อย ๆ ชอบดูตำราเรื่องพระพุทธเจ้า รูปร่างใหญ่ สันทัด เป็นคนภูมิใหญ่กว้างขวาง ยินดีทั้งปริยัติปฏิบัติ ลักษณะเป็นคนโบราณ พร้อมทั้งกาย วาจา ใจ เป็นโบราณทั้งสิ้น ไม่เห่อตามลาภยศ สรรเสริญ

ปกตินิสัยของท่านเป็นคนไม่ชอบพูด พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒-๓ ประโยค เวลานั่งก็ทนทาน นั่งอยู่ได้เป็นหลาย ๆ ชั่วโมง เดินก็ทำนองเดียวกัน แต่ลักษณะท่าทางของท่านมีความสง่าผ่าเผย น่าเคารพเลื่อมใสมาก มองเห็นท่านแล้วเย็นตาเย็นใจ

การปฏิบัติในการเดินธุดงค์กรรมฐานถือว่า หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระอาจารย์องค์แรกและเป็นผู้นำหมู่คณะลูกศิษย์ลูกหา ท่านชอบพักพิงอยู่ตามป่าตามที่วิเวก อาศัยอยู่ตามถ้ำบ้าง ตามโคนต้นไม้บ้าง พักพิงอาศัยอยู่ในราวป่าห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕๐๐ เมตร ท่านจะออกแสวงหาวิเวกในราวป่าห่างไกลกันจริง ๆ บางทีไปอยู่ในป่าเขาที่ไกล ตื่นเช้าเดินจากที่พักลงมาสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว กลับไปถึงที่พักเวลา ๑๑.๐๐ น. ก็มี

ปฏิปทา ท่านจะสอนให้ลูกศิษย์หัดนอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ ในขณะที่ยังไม่ได้นอน หรือตื่นขึ้นมาแล้วก็ทำกิจวัตร มีการสวดมนต์ไหว้พระ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา อันนี้เป็นการฝึกหัดดัดนิสัยให้มีระเบียบ นอนก็มีระเบียบ ตื่นก็มีระเบียบ การฉันก็ต้องมีระเบียบ คือฉันหนเดียวเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร บิณฑบาตฉันเป็นวัตร อันนี้เป็นข้อวัตรที่ท่านถือเคร่งนัก

มรณภาพ ท่านได้มรณภาพในอิริยาบถขณะกราบครั้งที่ ๓ ในอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากร นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ แล้วเชิญสรีระมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทำพิธีเผาสรีระในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖ สิริชนมายุ ๘๓ ปี ๓ เดือน ๑ วัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-09-2012 เมื่อ 14:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #108  
เก่า 07-09-2012, 10:55
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เทพบันดาล ช่วยหลวงปู่มั่น

ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ นั้นเป็นปีแรกที่ท่านจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มั่นที่บ้านโคก พรรษานั้นมีพระ ๙ รูป เณร ๒ รูป ช่วงนั้นเป็นระยะที่สงครามญี่ปุ่นกำลังเริ่ม ผ้าหายากมีไม่พอแจกจ่ายกัน ช่วงเวลานั้นกำลังอดอยาก พอถึงวันเข้าพรรษาฉันจังหันเสร็จแล้ว หลวงปู่มั่นแจกผ้าพระเณร แต่มีผ้าไม่ครบ ขาดอยู่ผืนเดียว หลวงปู่มั่นก็เลยไปหยิบเอาผ้าอาบน้ำ (ผ้าขาว ยังไม่ได้ย้อม) ที่พระท่านไปวางไว้ในห้องของท่านออกมาให้

แต่ท่านอาจารย์กงมา ท่านเป็นคนตรงไปตรงมา เห็นอย่างนั้นจึงพูดค้านอย่างอาจหาญว่า
“อันนั้นก็สำหรับแจกท่านอาจารย์ต่างหากนี่ เอามาทำไม ? ขาดก็ขาดไปสิจะเป็นอะไรไป ขอให้ครูบาอาจารย์ได้เถอะ” พระเณรทุกองค์เวลานั้นก็พอใจ เห็นด้วยกับท่านอาจารย์กงมา


แต่หลวงปู่มั่นท่านก็ตอบอย่างมีเหตุมีผลเช่นกันว่า “โอ๊ย! เรามันเป็นผู้ใหญ่เมื่อไรมันก็ได้ ผู้ใหญ่ได้อยู่เรื่อย ๆ อะไร ๆ ก็ได้ ใครเอามา ๆ ก็ให้แต่ผู้ใหญ่เองแหละ เอาล่ะ..หากบุญมีก็ได้เองแหละ”

ท่านเองก็อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้น และคอยสังเกตดูอยู่ตลอด พอหลวงปู่มั่นพูดคำว่า หากบุญมีก็ได้เองแหละ” ขึ้นมา ‘ปุ๊บ’ ท่านก็จับคำพูดนี้เอาไว้ทันที จากนั้นก็คอยสังเกตว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ! ปรากฏว่าตอนค่ำวันนั้นพวกบริษัทแม่นุ่ม ชุวานนท์ (องค์หลวงตากล่าวว่า แม่ของคุณแม่โยมนุ่ม เป็นโยมอุปถัมภ์อุปัฏฐากหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นมาดั้งเดิม ท่านเหล่านี้เป็นคนสำคัญที่อาราธนานิมนต์ท่านมาสร้างวัดป่าสุทธาวาส) นำผ้ามาถวาย

เขาพากันคาดคะเนพระเณรว่าน่าจะมีประมาณ ๙ - ๑๐ องค์ เขาจึงหาผ้าขาวด้ายเทศ ไม่ใช่ผ้าขาวด้ายบ้านแบบที่เราทอกัน แต่เป็นด้ายดิบอย่างดี เนื้อแน่นเท่ากัน จากสกลนครจำนวน ๑๑ ผืน แล้วว่าจ้างโยมขี้ยาคนหนึ่ง (แกติดฝิ่น) ในราคาแพง ให้ไปส่งผ้าที่วัดภายในวันนั้น ระยะทางจากสกลนครมาหาบ้านโคกประมาณ ๒๒ ก.ม. เข้าไปในวัดอีก ๑ ก.ม. รวม ๒๓ ก.ม. จนกระทั่งค่ำ โยมขี้ยาคนนี้ก็ไปส่งผ้าจำนวน ๑๑ ผืนถึงวัด ซึ่งเท่ากับจำนวนพระเณรที่จำพรรษาในครั้งนั้นพอดิบพอดี

ที่ท่านต้องคอยจับคำพูดของหลวงปู่มั่นขนาดนี้นั้น ท่านให้เหตุผลว่า
“เพราะพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ทำให้เราคิดไม่รู้กี่ครั้งกี่หน เหมือนว่ามีเทพคอยแทรกอยู่ตลอด คอยรับทราบความเคลื่อนไหวของท่านอยู่ตลอด เหมือนกับว่าเทวดาบันดลบันดาลนะ ! แปลกอยู่ หลายอย่างที่เราไม่เอามาพูดมาก เอาแต่ว่าเทพบันดาลเทพเนรมิต แค่นี้ก็พอแล้วแหละ”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-09-2013 เมื่อ 18:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #109  
เก่า 10-09-2012, 09:44
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เคร่งครัดข้อวัตรปฏิบัติ พูดคุยเป็นอรรถธรรม

ในปีแรกที่ได้อยู่ศึกษากับหลวงปู่มั่น ท่านก็ได้ยินหลวงปู่มั่นพูดถึงเรื่องธุดงควัตร ๑๓ เพราะหลวงปู่มั่นเคร่งครัดมากตามนิสัย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงถือเป็นข้อปฏิบัติเสมอมา ในการสมาทานธุดงค์เมื่อถึงหน้าพรรษาอย่างไม่ลดละ เฉพาะอย่างยิ่งในธุดงค์ข้อที่ว่า ฉันอาหารเฉพาะของที่ได้มาในบาตรจากการบิณฑบาตเท่านั้น สำหรับธุดงค์ข้ออื่น ๆ ก็ถือสมาทานอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว เช่น การฉันหนเดียวในวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น การถือผ้าบังสุกุล การใช้ผ้าสามผืน (สบง จีวร สังฆาฏิ) การฉันในบาตร การอยู่ป่าเขา เป็นต้น

ธุดงค์ ๑๓* และขันธวัตร ๑๔ เป็นข้อปฏิบัติประจำโดยทั่วไปของพระกรรมฐาน ยิ่งนิสัยที่เคารพรักและจริงจังในข้อวัตรปฏิบัติของท่านด้วยแล้ว ก็ยิ่งให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น ท่านจึงไม่ยอมให้ข้อวัตรทำความสะอาดเช็ดถูกุฏิ ศาลา บริเวณ ตลอดข้อวัตรใด ๆ ขาดตกบกพร่องเลย ท่านพยายามรักษาทั้งความตรงต่อเวลา ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด ความพร้อมเพรียงกันในการทำข้อวัตรปฏิบัติ ความละเอียดถี่ถ้วน ความคล่องแคล่ว ไม่เหนื่อยหน่ายท้อแท้อ่อนแอ ทำสิ่งใดให้ทำอย่างมีสติ ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาใคร่ครวญให้รอบคอบ ไม่ทำแบบใจร้อนใจเร็ว การหยิบจับวางสิ่งใดจะพยายามมิให้มีเสียงดัง

ข้อวัตรต่าง ๆ เหล่านี้ พระเณรท่านจะช่วยกันดูแลรับผิดชอบบริเวณอย่างทั่วถึง ตั้งแต่กุฏิหลวงปู่มั่น กุฏิตนเอง ศาลา ทางเดิน ตลอดแม้ในห้องน้ำ ห้องส้วม มีการเติมน้ำใส่ตุ่มใส่ถังให้เต็ม ไม่ให้พร่อง และข้อปฏิบัติต่าง ๆ เช่นนี้ พระเณรท่านจะพยายามทำอย่างตั้งใจ สมกับที่ท่านเป็นสมณะผู้รักความสงบ สะอาด และรักธรรมรักวินัย

การปฏิบัติจิตภาวนาเป็นงานหลักอันสำคัญที่สุด ดังนั้นในแต่ละวัน ท่านจึงพยายามพูดคุยแต่น้อย หากมีความจำเป็นต้องพูดสนทนากันบ้าง ก็ให้มีเหตุผล มีอรรถธรรม ไม่พูดคะนอง เพ้อเจ้อ หยาบโลน พูดตามความจำเป็น และเป็นไปเพื่อความเจริญในธรรม การตักเตือนชี้แนะหมู่คณะภิกษุสามเณรให้เป็นไปด้วยความเมตตากรุณาต่อกัน เพื่อให้รู้ให้เข้าใจคุณและโทษจริง ๆ ดังนี้

“...ควรพูดคุยกันในเรื่องความมักน้อย สันโดษ ความวิเวกสงัด ความไม่คลุกคลีซึ่งกันและกัน พูดในเรื่องความเพียร ศีล สมาธิ ปัญญา ในการต่อสู้กิเลส ... พระในครั้งพุทธกาล ท่านไม่ได้คุยถึงการบ้านการเมือง การได้การเสีย ความรื่นเริงบันเทิง การซื้อการขายอะไร ท่านมีความระแวดระวังว่า อันใดจะเป็นภัยต่อความเจริญทางจิตใจของท่าน ท่านจะพึงละเว้นหลบหลีกเสมอ ส่วนสิ่งใดเป็นไปเพื่อส่งเสริมให้จิตใจมีความหนักแน่น มั่นคง จนสามารถถอดถอนกิเลสออกได้เป็นลำดับลำดานั้น ควรส่งเสริมให้มีมากขึ้น ให้สูงขึ้น...”



================================================

* ธุดงควัตร ๑๓ หลักปฏิบัติเพื่อการปราบปรามกิเลส ประกอบด้วย

๑. บิณฑบาตเป็นวัตร (พระเณรส่วนใหญ่จะปฏิบัติข้อนี้ เพราะถ้าไม่บิณฑบาตก็จะไม่มีอาหารฉัน)

๒. บิณฑบาตตามลำดับบ้าน

๓. ไม่รับอาหารที่ตามส่งทีหลัง

๔. ฉันในบาตร (นอกจากจะฉันในบาตร องค์หลวงตายังฉันด้วยมือเท่านั้น)

๕. ฉันวันละครั้งเท่านั้น (พระวัดป่าจะฉันมื้อเช้าเพียงมื้อเดียวเรียกว่า ฉันจังหัน และเมื่อลุกจากที่นั่งแล้วก็จะไม่ฉันอีก ซึ่งวัตรข้อนี้เป็นข้อที่องค์หลวงตาปฏิบัติจนถึงวันที่ท่านมรณภาพ)

๖. ถือผ้าสามผืน

๗. ถือผ้าบังสุกุล

๘. อยู่รุกขมูลร่มไม้ (อยู่โคนต้นไม้)

๙. อยู่ป่า

๑๐.อยู่ป่าช้า

๑๑.อยู่กลางแจ้ง

๑๒.อยู่ในเสนาสนะ (ที่อยู่อาศัยของภิกษุสงฆ์ เช่น กุฏิ วิหาร ศาลา) ที่เขาจัดให้

๑๓.ถือไม่อยู่ในอิริยาบถนอน (ไม่ติดการนอน)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-09-2012 เมื่อ 16:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #110  
เก่า 12-09-2012, 11:23
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลวงปู่มั่นเคารพธรรม

นอกเหนือจากความเคร่งครัดตามหลักธรรมวินัยแล้ว หลวงปู่มั่นยังแสดงความเคารพในธรรมอย่างละเอียดลออลึกซึ้ง อย่างหาได้ยากยิ่งในสมัยปัจจุบัน ดังนี้

“...ท่านอาจารย์มั่นเป็นตัวอย่างในสมัยปัจจุบัน ในห้องนอนใดที่ถูกนิมนต์ไปพัก ถ้ามีหนังสือธรรมะอยู่ต่ำกว่าท่าน ท่านจะไม่ยอมนอนในห้องนั้นเลย ท่านจะยกหนังสือนั้นไว้ให้สูงกว่าศีรษะท่านเสมอ ท่านจึงยอมนอน ท่านว่า


‘นี่ธรรมของพระพุทธเจ้า เราอยู่ด้วยธรรม กินด้วยธรรม เป็นตายเรามอบกับธรรม ปฏิบัติได้รู้ได้เห็นมากน้อยเพราะธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น เราจะเหยียบย่ำทำลายได้อย่างไร ! เอาธรรมมาอยู่ต่ำกว่าเราได้อย่างไร !’

ท่านไม่ยอมนอน ยกตัวอย่างที่ท่านมาพักวัดสาลัน เป็นต้น ในห้องนั้นมีหนังสือธรรมอยู่ ท่านไม่ยอมนอน ให้ขนหนังสือขึ้นไว้ที่สูงหมด นี่แหละ ! ลงเคารพละต้องถึงใจทุกอย่างเพราะธรรมถึงใจ

ความเคารพ ไม่ว่าจะฝ่ายสมมุติ ไม่ว่าจะอะไร ท่านเคารพอย่างถึงใจ ถึงเรียกว่าสุดยอด กราบพระพุทธรูปก็สนิท ไม่มีใครที่กราบสวยงามแนบสนิทยิ่งกว่าท่านอาจารย์มั่นในสมัยปัจจุบันนี้ เห็นประจักษ์ด้วยตากับใจเราเอง ความเคารพในอรรถในธรรมก็เช่นกัน แม้แต่รูปพระกัจจายนะ ที่อยู่ในซองยาพระกัจจายนะ พอท่านได้มา
‘โอ้โห! พระกัจจายนะเป็นสาวกของพระพุทธเจ้านี่!’


ท่านรีบเทยาออก เอารูปเหน็บไว้เหนือที่นอนท่าน ท่านกราบ “นี่องค์พระสาวก นี่รูปของท่าน มีความหมายแค่ไหน พระกัจจายนะ จะมาทำเป็นเล่นอย่างนี้ได้เหรอ?”

‘แน่ะ!’ ฟังดูซิ นี่แหละ..เมื่อถึงใจแล้ว ถึงทุก ๆ อย่าง เคารพทุกอย่าง บรรดาสิ่งที่ควรเป็นของเคารพท่านเคารพจริง นั่น ท่านไม่ได้เล่นเหมือนปุถุชนคนหนาหรอก เหยียบโน่นเหยียบนี่เหมือนอย่างพวกเราทั้งหลาย เพราะไม่รู้นี่ คอยลูบ ๆ คลำ ๆ งู ๆ ปลา ๆ ไปในลักษณะของคนตาบอดนั้นแล ถ้าคนตาดีแล้วไม่เหยียบ อันไหนจะเป็นขวากเป็นหนามไม่ยอมเหยียบ สิ่งใดที่จะเป็นโทษเป็นภัยขาดความเคารพ ท่านไม่ยอมทำ นักปราชญ์ท่านเป็นอย่างนั้น ไม่เหมือนคนตาบอดเหยียบดะไปเลย โดยไม่คำนึงว่าควรหรือไม่ควร...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-09-2012 เมื่อ 17:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #111  
เก่า 13-09-2012, 10:43
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระสาวก... ครั้งพุทธกาล

พระสังกัจจายน์


“...พระสังกัจจายน์ท่านแต่ก่อนรูปหล่อ ตามตำราที่บอกไว้ มองดูคล้ายคลึงกับพระพุทธเจ้า ... ไปที่ไหนผู้หญิงติด ผู้หญิงชอบ ผู้ชายก็ชอบ ไม่ใช่มีแต่ผู้หญิงนะ ... นี่ละ ผู้ชายที่กลับตัวเป็นผู้หญิงได้ก็เพราะไปชอบท่านนะสิ พอมองเห็นท่าน ‘พระรูปนี้ทำไมจึงรูปหล่อนักหนา ถ้าเราได้เมียอย่างนี้จะดีมาก’

จากผู้ชายแล้ว (เป็นกรรม) กลายเป็นผู้หญิงไปเลย แล้วอายใหญ่ เลยหนีไปอยู่เมืองอื่น นี่ต้นเหตุ ไปที่ไหนเป็นอย่างนั้น พระกัจจายนะ ท่านจึงไปอธิษฐานเสียใหม่ ทีนี้เลยเป็นรูปพุงหลวงอุ้มบาตรไปเลย ทีนี้ไม่ว่าใคร ผู้ชายผู้หญิงเห็นท่านแล้วไม่อยากมอง

(คนที่เคยเป็น) ผู้ชายแล้วกลายไปเป็นผู้หญิงนี้ ต่อมาก็ไปมีสามีมีลูกอีกตั้งสองคน ทีแรกเพศผู้ชาย พอไปรักชอบท่าน (กรรม) จึงพลิกเป็นเพศผู้หญิงไป ไปมีลูกอีกตั้งสองคน ... แต่ท่านก็มีนิสัย ต่อมาออกบวชก็ได้เป็นพระอรหันต์นะ ท่านมีอุปนิสัยอยู่ ไปที่ไหนอายคน ใครไปจ้อถามเรื่องราวแล้วอาย...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-09-2012 เมื่อ 10:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #112  
เก่า 17-09-2012, 11:43
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลวงปู่เจี๊ยะอุทาน “เจอแล้วองค์นี้”

หลวงปู่เจี๊ยะบอกว่า หลวงปู่มั่นมักเรียกท่านว่า “เฒ่าขาเป๋” หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” ตามแต่ท่านจะพูดเพื่อเป็นคติแก่พระเณร ท่านยังเล่าด้วยว่าในระหว่างพรรษานั้น หลวงปู่มั่นได้พูดถึงหลวงปู่ขาวขึ้นมาในวันหนึ่งว่า

“หมู่เอ๊ย! ให้รู้จักท่านขาวไว้นะ ท่านขาวนี่..เธอได้พิจารณาถึงที่สุดแล้ว


พอกล่าวชมหลวงปู่ขาวแล้วก็หันมาพูดเรื่องของหลวงปู่เจี๊ยะบ้างว่า
“เออ หมู่เอ๊ย! มีหมู่มาเล่าเรื่องการภาวนาให้เราฟังที่เชียงใหม่ เธอปฏิบัติของเธอสามสี่ปีเหมือนเราลงที่นครนายก ‘มันลงเหมือนกันเลย’...” หลวงปู่มั่นย้ำอย่างนั้น
ท่านองค์นี้ภาวนา ๓ ปีเท่ากับเราภาวนา ๒๒ ปี อันนี้เกี่ยวเนื่องกับนิสัยวาสนาของคนมันต่างกัน


ต่อมาเมื่อการจำพรรษาผ่านไปได้สักระยะหนึ่ง หลวงปู่เจี๊ยะซึ่งได้สังเกตเห็นพระเณรที่มาเกี่ยวข้องกับหลวงปู่มั่นมาโดยตลอดเป็นเวลาถึง ๓ ปี จนกระทั่งคราวนี้ได้มาพบและร่วมจำพรรษากับท่าน (องค์หลวงตา) ในที่แห่งนี้ ได้เห็นถึงความจริงจังและลักษณะที่เหมือนดั่งนิมิตคำทำนายของหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่มาก ท่านได้เล่าเหตุการณ์และความรู้สึกในครั้งนั้นว่า

“ในที่สุด พระอาจารย์มหาบัวก็มาหาท่านพระอาจารย์มั่นที่เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร เราเห็นลักษณะ ถามความเป็นมาเป็นไป จึงแน่ใจเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นมาท่านพระอาจารย์มั่นก็ไม่พูดเรื่อง (คำทำนาย) นี้อีกเลย...


หลังจากได้อยู่ร่วมกับท่านพระอาจารย์มั่นเป็นเวลา ๓ ปี ๔ แล้งแล้ว ผ่านฤดูแล้ง ปี ๒๔๘๖ ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านปรารภจะไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านนามน เราเห็นว่าท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากขึ้นแล้ว

ท่านมหาบัวก็เป็นที่ตายใจ ท่านเก่ง ฉลาด เป็นที่ตายใจในเรื่องเกี่ยวกับท่านพระอาจารย์ได้เป็นอย่างดีเยี่ยม เรื่องข้อวัตรปฏิบัติที่เราเคยทำมาเป็นเวลานานสมควรกับท่านอาจารย์มหา เพราะท่านมีวิชาความรู้ กล้าสู้หน้าไม่อายใคร และจะเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่หมู่คณะต่อไปในอนาคต เหมือนดั่งนิมิตที่ท่านพระอาจารย์มั่นทำนายไว้ที่ดอยคำ บ้านแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ว่า

‘ท่านองค์นี้ มีลักษณะเหมือนท่านเจี๊ยะ แต่มิใช่ท่านเจี๊ยะ จะทำประโยชน์ให้แก่หมู่คณะกว้างขวาง และท่านนิมิตเห็นพระหนุ่ม ๒ รูป นั่งช้าง ๒ เชือก ติดตามท่านซึ่งนั่งสง่างามบนช้างตัวขาวปลอด จ่าโขลงเป็นช้างใหญ่ พระหนุ่มสองรูปนี้จะสำเร็จก่อนและหลังท่านนิพพานไม่นานนัก และจะทำประโยชน์ใหญ่ให้พระศาสนา’


เมื่อเราเห็นท่านอาจารย์มหาบัวเข้ามา ก็ตรงตามลักษณะที่ท่านทำนายไว้ก็เบาใจเป็นที่ยิ่ง ถึงได้กับอุทานภายในใจว่า ‘นี่แหละ องค์นี้แหละ ต้องเป็นองค์ที่ท่านทำนายไว้อย่างแน่นอน เจอแล้วทีนี้’

เมื่อท่านเจออาจารย์มหาบัวเข้ามา รู้สึกว่าท่านเมตตาเป็นพิเศษ ข้อวัตรปฏิบัติอะไรท่านตั้งใจปฏิบัติรักษาสุดความสามารถ สุดชีวิตเหมือนดังที่เราเคยทำ ความเพียรท่านก็แรงกล้า มีสติปัญญาไวเป็นเลิศ สมเป็นผู้มีบุญมาเกิด ประเสริฐด้วยความดี อย่างนี้อีกไม่นานต้องพบพานธรรมอันเลิศ บุญเขตอันประเสริฐจะบังเกิดในวงพุทธศาสน์ เป็นปราชญ์ทางธรรม ค้ำชูพระศาสนา เหมือนอย่างที่ท่านพระอาจารย์มั่นทำนายเอาไว้อย่างแน่นอน

เมื่อคิดดังนี้จึงดำริว่า สมควรที่หมู่ผู้ที่ไม่เคยมาจะได้ช่องเข้าศึกษาปฏิบัติ ในขณะนั้นพระเณรที่ติดตาม และลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นมีมากขึ้นโดยลำดับ ชื่อเสียงเรื่องคุณธรรมของท่านเป็นที่เลื่องลือขจรไปทั่วทุกทิศ เราจึงเข้าไปกราบลาท่านและปลีกตัวอยู่องค์เดียว เร่งความเพียร พยายามสืบเสาะหาว่า ท่านอาจารย์ขาวอยู่ที่ไหน เพราะท่านเป็นพระที่ท่านพระอาจารย์มั่นรับรองว่า เป็นพระถึงที่สุดแห่งธรรมแล้ว ได้ทำไว้ในใจว่า ถ้าทราบข่าวว่า ท่านอาจารย์ขาวอยู่ที่ไหน เราจะดั้นด้นเข้าไปกราบให้จงได้...

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-09-2012 เมื่อ 11:50
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #113  
เก่า 18-09-2012, 11:45
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

กรรมฐานน้ำตาร่วง

องค์หลวงตากล่าวว่า เมื่อครั้งไปอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้น จิตของท่านเคยคิดไปว่า องค์หลวงปู่มั่นจะสามารถทราบวาระจิตของท่านได้หรือไม่หนอ จากนั้นไม่นาน ท่านได้ขึ้นไปกราบพระประธานที่ศาลา เห็นหลวงปู่มั่นกำลังเย็บผ้าอยู่ จึงได้คลานเข้าไปเพื่อจะกราบขอโอกาสช่วยเย็บให้ ขณะนั้นเอง หลวงปู่มั่นแสดงอาการแปลกกว่าทุกครั้งที่เคยเป็นมา โดยจ้องมองมาที่ท่านอย่างดุ ๆ พร้อมกับปัดมือห้าม แล้วพูดขึ้นว่า
“หืย! อย่ามายุ่ง”


ในตอนนั้นท่านคิดในใจว่า “โอ๊ย ตาย กู...ตาย...” และหลังจากเงียบไปพักหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นก็กล่าวต่อว่า
ธรรมดาการภาวนากรรมฐานก็ต้องดูหัวใจตัวเอง ดูหัวใจตัวเองมันคิดเรื่องอะไร ๆ ก็ต้องดูหัวใจตัวเองสิ..ผู้ภาวนา อันนี้จะให้คนอื่นมาดูให้ รู้ให้ กรรมฐานบ้าอะไร!


จึงเป็นอันรู้เหตุรู้ผลชัดเจนทันทีว่า ที่หลวงปู่มั่นแสดงปฏิกิริยาดังกล่าวขึ้นเช่นนี้ ก็เพราะความคิดสงสัยของท่านนั่นเอง คราวนี้ท่านถึงกับหมอบราบในใจอย่างสุดซึ้งว่า
“ยอมแล้ว ๆ คราวนี้ขออ่อน ขอยอมแล้ว”


หลังจากนั้น ท่านจึงได้กราบขอโอกาสเข้าช่วยเย็บผ้าอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้องค์ท่านก็ไม่ได้ดุหรือห้ามอะไรอีก เพราะทราบดีว่า ลูกศิษย์ผู้นี้ได้ยอมแล้วอย่างสนิทใจ

กล่าวถึงการบำเพ็ญภาวนาของท่าน โดยปกติธรรมดาท่านใช้เวลาในการนั่งสมาธิครั้งละ ๓ - ๔ ชั่วโมง ตอนกลางวันพอฉันจังหันเสร็จ ล้างบาตร เช็ดบาตรเรียบร้อยแล้ว เอาบาตรไปวางที่ร้านแล้วเข้าทางจงกรมเลย ท่านจะเดินจงกรมไปตลอดจนถึงเวลาประมาณ ๑๑ โมง เป็นอย่างน้อยหรือถึงเที่ยงวันแล้วจึงพัก เมื่อออกจากพักแล้วก็นั่งภาวนาอีกราว ๑ ชั่วโมง แล้วก็ลงเดินจงกรมอีก ท่านทำอย่างนั้นอยู่เป็นกิจวัตรประจำ

แม้ทำความเพียรเป็นประจำอยู่เช่นนี้ตลอดพรรษา แต่ภาวะจิตของท่านกลับมีแต่เจริญกับเสื่อมทางด้านสมาธิ ต่อมาเมื่อเห็นว่าอยู่กับหลวงปู่มั่นพอสมควร ท่านจึงอยากทดลองทำความเพียรโดยลำพังอย่างเต็มที่ดูบ้าง ว่าจะเกิดผลดีเพียงใด

ครั้นพอออกพรรษาแล้วจึงได้ทดลองขึ้นไปภาวนาบนหลังเขา เพื่อความสงบสงัดและทำความเพียรได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อออกวิเวกจริง ๆ แล้ว ความเพียรกลับไม่ค่อยได้ผลเลย ต้องล้มลุกคลุกคลานอย่างหนัก จนหลายครั้งทำให้ท่านรู้สึกท้ออกท้อใจ แต่ด้วยใจที่ “สู้ไม่ถอย” ทำให้ท่านสามารถผ่านภาวะเช่นนี้ไปได้ในเวลาต่อมา ดังนี้

“...เข้าไปอยู่ในป่าในเขา ตั้งใจจะไปฟัดกับกิเลสเอาให้เต็มเหนี่ยวละนะคราวนี้ หลีกจากครูบาอาจารย์ออกไปเข้าไปอยู่ในภูเขา ป่ามันสงบสงัด ป่าไม่มีเรื่องอะไร แต่หัวใจมันสร้างเรื่องขึ้นมาละซิ วุ่นอยู่กับเจ้าของคนเดียว เป็นบ้าอยู่คนเดียว


‘โอ๊ย...อย่างนี้จะอยู่คนเดียวได้ ‘ยังไง’ นี่หนีจากครูบาอาจารย์ไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว’

สู้มันไม่ได้จนน้ำตาร่วง ไม่ได้ลืมนะ ... น้ำตาร่วง โอ้โห...สู้มันไม่ได้ ตั้งสติพับล้มผล็อย ๆ ตั้งเพื่อล้ม ไม่ใช่ตั้งเพื่ออยู่ ตั้งต่อหน้าต่อตา..นี่มันล้มต่อหน้าต่อตาให้เห็น ปัดทีเดียวตก ๕ ทวีปโน่น สมมุติว่าเราต่อยเข้าไปนี่ มันปัดแขนเรานี่ตก ๕ ทวีป อำนาจแห่งความรุนแรงของกิเลสมันแรงขนาดนั้นนะ อยู่ในหัวใจนี่... ก็เราตั้งหน้าจะไปสู้ มีแต่กิเลสชัด ๆ เรามัน ‘ยังไง’ กัน ได้เคียดแค้น น้ำตาร่วง ไม่ลืมนะ

อันนั้นละเป็นสาเหตุให้เกิดความเคียดแค้น มุมานะที่จะฟัดกับกิเลสให้ได้ เราจึงกล้าพูดซิว่า ความเคียดแค้นนี่... ลงออกถึงกูถึงมึงทีเดียว ซัดกับกิเลสนี่ ฟังซิว่ากูมึง กูมึงในใจ ไม่ใช่กูมึงออกมาข้างนอก

‘มึง ‘ยังไง’ มึงต้องพัง วันหนึ่งกูจะเอาให้มึงพังแน่ ๆ มึงเอากูขนาดนี้เชียวนะ... ‘ยังไง’ กูได้ที่แล้ว กูจะเอามึงเหมือนกัน ‘ยังไง’มึงต้องพัง มึงไม่พังวันนี้ มึงต้องพังวันหนึ่ง มึงไม่พังกูต้องพัง ต้องตายกัน


มาก็เอากันแหละ ซัดกันไม่ถอย... ต้องตายกัน ต่างคนต่างสู้กัน ไม่มีถอยกัน
‘เอ้า กิเลสกับเราเป็นคู่ต่อสู้กันนี้จนกระทั่งถึงวันตายไม่ให้เป็น เอาให้ตายด้วยกัน กิเลสไม่ตายเราก็ตายเท่านั้น’...


เหตุการณ์ในตอนนี้ ท่านเคยยกเอามาสอนพระว่า ตอนที่กองทัพกิเลสมีกำลังมากกว่านั้น ยังไม่สมควรที่จะอยู่คนเดียว ต้องเข้าหาครูบาอาจารย์ เพราะการอยู่กับครูบาอาจารย์ แม้จะยังไม่ก้าวหน้าอะไรแต่ก็เป็นที่อบอุ่นใจได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-09-2012 เมื่อ 11:59
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #114  
เก่า 19-09-2012, 09:41
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระสาวก... ครั้งพุทธกาล

พระโคธิกะ

“...พระโคธิกะ จิตท่านเสื่อมถึงหกครั้ง เจริญแล้วเสื่อม ๆ ถึงหกครั้ง ... พอครั้งที่หก ท่านเอามีดเฉือนคอตัวเองเลย แต่ท่านมีนิสัยนะ เอามีดเฉือนคอเลือดกระฉูดออกมา มองเห็นจึงพิจารณาอยู่นั้นบรรลุธรรม 'ปึ๋ง' เดี๋ยวนั้นเลย... ก็ได้บรรลุธรรมในขณะนั้นด้วย การปฏิวัติจิตเข้าสู่ธรรม ... แล้วมาเด่นตรงนี้

ตอนพญามารค้นหาจิตวิญญาณของพระโคธิกะจนควันตลบโลกธาตุ 'ว่างั้น' ในตำราฤทธิ์ของมารที่ค้นคว้าหาจิตวิญญาณของพระโคธิกะ พระพุทธเจ้าเลยตวาดเอาบ้างว่า

พญามาร..อันเพียงความรู้ของเธอนั้นน่ะ จะไปสามารถรู้จิตของพระโคธิกะลูกของเราได้ 'ยังไง' เพราะพระโคธิกะเธอเป็นพระอรหันต์และนิพพานไปแล้ว เธอก็มีวิสัยแค่จะดูสัตว์ที่ยังข้องอยู่ในกิเลสนี้เท่านั้นแหละ พระโคธิกะเราไม่ได้เป็นคนประเภทนั้น เป็นผู้พ้นแล้วจากอำนาจแห่งมาร เพราะฉะนั้น เธอจะค้นหมดทั้งโลกธาตุ หรือจะไปโลกธาตุไหนก็ไปเถอะ เธอจะตายทิ้งเปล่า ๆ นั้นแล’...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-09-2012 เมื่อ 15:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #115  
เก่า 21-09-2012, 11:16
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

บริกรรมพุทโธแก้ “จิตเสื่อม”

เมื่ออยู่กับหลวงปู่มั่นในพรรษา การภาวนาก็มีความสงบร่มเย็นบ้างและเสื่อมบ้าง ครั้นพอออกจากท่านกลับปรากฏว่ามีแต่ความฟุ้งซ่าน ท่านเล่าถึงภาวะจิตใจในขณะนั้นว่า

“...จิตมันยังไม่ได้เรื่องได้ราว ต้องฝึกฝนอย่างหนัก กิเลสมันถอยใครเมื่อไร พอจากพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นไปได้ ๒-๓ วัน จิตมันดีดมันดิ้นหาเขียงสับยำ เพื่อเป็นอาหารกิเลสอย่างเห็นได้ชัด ถึงขนาดได้ตำหนิตนเองว่า


‘อ๋อ! เรานี่ มันกาจับภูเขาทอง เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์จิตสงบร่มเย็น พอออกจากท่านมาแล้วไม่ได้เรื่องได้ราว ทำความเพียรก็เดินไปเฉย ๆ ไม่มีอุบายอะไรที่จะแก้กิเลสได้สักตัวเดียว มีแต่ความฟุ้งซ่านภายในใจ นับวันรุนแรงขึ้นทุกวัน ๆ ถ้าเป็นอย่างนี้ อยู่ห่างท่านไม่ได้ หนีจากครูบาอาจารย์ไม่ได้’

เมื่อเป็นแบบนี้ เรารีบกลับคืนไปหาท่านทันที แต่เดชะบุญเวลากลับคืนไป องค์ท่านไม่เคยตำหนิติเตียน ไม่เคยขับไล่ไสส่งเลย

บางคืนไม่ยอมหลับยอมนอนตลอดรุ่ง เพราะกลัวจิตจะเสื่อม ถึงอย่างนั้นก็ยังเสื่อมได้ เฉพาะอย่างยิ่งเวลาจิตเริ่มก้าวเข้าสู่ความสงบ ความเพียรก็ยิ่งรีบเร่ง เพราะกลัวจิตจะเสื่อมดังที่เคยเป็นมา แม้เช่นนั้น ก็ยังฝืนเสื่อมไม่ได้ ต่อมาก็เจริญขึ้นอีก แล้วก็เสื่อมลงอีก ความเจริญของจิตนั้นอยู่คงที่ได้เพียง ๓ วัน จากนั้นก็เสื่อมลงต่อหน้าต่อตา เจริญขึ้นไปถึงเต็มที่แล้วเสื่อมลง ๆ ...”

ท่านกล่าวถึงความพยายามในการต่อสู้กับความทุกข์ทรมาน และต้องทนอยู่ในภาวะจิตเสื่อมนี้นานถึง ๑ ปี ๕ เดือน ดังนี้
“...ถ้าว่าทางก็ไม่เคยเดิน จึงไม่รู้จักวิธีรักษาเข้มงวดกวดขัน แล้วงานที่จะทำให้จิตเสื่อมก็คือ มาทำกลดหลังหนึ่งเท่านั้นเอง การภาวนาไม่ค่อยติดค่อยต่อ ทีแรกมันก็แน่นปึ๋ง ๆ ของมัน ครั้นนานไปหลายวันไป รู้สึกมีลักษณะเปลี่ยนแปลง เข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง อ้าว... แปลกแล้ว


นี่ละ..จิตเราจะเสื่อมนะนี่นะ แล้วขยับเข้าใหญ่ รีบร้อยกลดให้เสร็จเรียบร้อย ดีไม่ดีช่างหัวมัน.. ออกปฏิบัติเลย ตั้งแต่นั้นเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ จนหมดเนื้อหมดตัวเลยนะ ไม่มีอะไรเหลือติดตัว นั่นแหละ.. ที่มีแต่ไฟล้วน ๆ สุมหัวใจ เสียดายก็เสียดาย ทำความพากเพียรเต็มเม็ดเต็มหน่วย บางคืนไม่นอนตลอดรุ่ง

พอจิตค่อยก้าวขึ้น ๆ ก็พยายามใหญ่เลย พอไปถึงขั้นที่มันเคยเสื่อมไป..อยู่นั้นได้เพียงสามวัน สามวันเท่านั้น แล้วก็เสื่อมมาต่อหน้าต่อตาอย่างรุนแรง หักห้ามต้านทานไม่ได้ ลงถึงขีดแห่งความหมดราค่ำราคา เหลือแต่ตัวเปล่า ๆ เอ้า.. ขยับขึ้นอีก ๑๔-๑๕ วันได้ ถึงที่นั่นแล้วลงอีก.. อยู่ได้เพียงสามวัน เป็นอย่างนี้มาเป็นเวลาปีกว่า มันเริ่มเสื่อมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ส่วน พ.ศ. เท่าไรก็จำไม่ได้ จำได้แต่ว่าเดือนพฤศจิกายนจิตเริ่มเสื่อม แล้วไปฟื้นขึ้นได้เดือนเมษายนปีหน้าโน้น พฤศจิกายนแล้วก็ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน เสื่อมถึงปีหนึ่งกับห้าเดือน นี่ละ..ได้รับความทุกข์ทรมานเอาอย่างมาก...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-09-2012 เมื่อ 12:13
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #116  
เก่า 25-09-2012, 10:17
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ความทุกข์ทรมานในครั้งนี้ ให้ท่านระลึกเทียบเคียงเข้ากับประวัติของพระโคธิกะ ซึ่งเป็นพระสาวกในครั้งพุทธกาลในสมัยที่เคยเรียนปริยัติ ดังนี้

“...ดังที่เคยพูดถึงเรื่องจิตเสื่อมมาเป็นปีกว่านั้น เสื่อมแล้วเจริญ ๆ หาบหามกองทุกข์ แบกกองทุกข์นี้ แหม...ไม่มีกองทุกข์ใด ที่จะมากยิ่งกว่าทุกข์ของจิตที่เจริญแล้วเสื่อม ๆ ซึ่งปรากฏกับหัวใจของเรา จนกระทั่งถึงความเข็ดหลาบเลย ถึงขั้นที่ว่า จิตพอได้หลักขึ้นมาเป็นสงบแล้วต้องเอาตายเข้าว่า


‘คราวนี้จิตจะเสื่อมไปไม่ได้ ถ้าจิตเสื่อมคราวนี้เราต้องตาย จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นั่นซิ มันอาจเป็นได้นะ’ สำหรับนิสัยเรานี้มันเด็ดขาดจริง ๆ

เราก็เทียบเอาพระโคธิกะนั่นมาเป็นตัวอย่าง ท่านฆ่าตัวตายเพราะจิตท่านเสื่อมในครั้งนั้น ท่านบอกว่าฌานเสื่อม ๆ ก็คือสมาธินั่นแหละเสื่อม ฌานก็แปลว่า ความเพ่งความเล็งอยู่จุดเดียว คือจุดแห่งความสงบนั้นมันเสื่อมไป ทีนี้ไม่มีจุดไหน ที่จะจับจะข้องจะแวะจะอาศัยพึ่งพิงได้ ที่นี้ก็มีแต่ความว้าเหว่ เสียดาย ความสุขที่เกิดขึ้นจากความสงบของฌานนั้นโดยถ่ายเดียว โดยไม่มีสิ่งตอบแทนคือสมหวังว่า เป็นความสงบตามความมุ่งหวังแล้วอย่างนี้ไม่มี นั่นละ.. กองทุกข์เกิดขึ้นเวลานั้น ท่านแสดงไว้มีถึง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง พอครั้งสุดท้าย ท่านก็เอามีดโกนมาเฉือนคอเลย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-09-2012 เมื่อ 12:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #117  
เก่า 26-09-2012, 10:18
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

อันนี้ในตำราพูดไว้ไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่เราก็เข้าใจ เวลามาปฏิบัติแล้วเข้าใจ เวลาอ่านตำราไม่ค่อยเข้าใจ ลักษณะเป็นมัว ๆ อยู่ ท่านพูดถึงเรื่องพระโคธิกะ ในภาคปฏิบัติของเรามันก็จับกันได้ทันที...”

เมื่อโอกาสอันควรมาถึง ท่านจึงเข้ากราบเรียนปรึกษาถึงภาวะจิตเสื่อม ว่าควรแก้ไขอย่างไร และด้วยกุศโลบายแยบยลของครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่นกลับแสดงเป็นเชิงเสียใจไปด้วยพร้อมกับให้กำลังใจศิษย์ว่า“...น่าเสียดาย..มันเสื่อมไปที่ไหนกันนา เอาเถอะ..ท่านอย่าเสียใจ จงพยายามทำความเพียรเข้ามาก ๆ เดี๋ยวมันจะกลับมาอีกแน่ ๆ มันไปเที่ยวเฉย ๆ พอเราเร่งความเพียรมันก็กลับมาเอง หนีจากเราไปไม่พ้น

เพราะจิตเป็นเหมือนสุนัขนั่นแล เจ้าของไปไหนมันต้องติดตามเจ้าของไปจนได้ นี่ถ้าเราเร่งความเพียรเข้าให้มาก จิตก็ต้องกลับมาเอง ไม่ต้องติดตามมันให้เสียเวลา มันหนีไปไหนไม่พ้นเราแน่ ๆ ...

จงปล่อยความคิดถึงมันเสีย แล้วให้คิดถึงพุทโธ ติด ๆ อย่าลดละ พอบริกรรมพุทโธถี่ยิบติด ๆ กันเข้า มันวิ่งกลับมาเอง คราวนี้แม้มันกลับมาก็อย่าปล่อยพุทโธ มันไม่มีอาหารกิน เดี๋ยวมันก็วิ่งกลับมาหาเรา

จงนึกพุทโธ เพื่อเป็นอาหารของมันไว้มาก ๆ เมื่อมันกินอิ่มแล้วต้องพักผ่อน เราสบาย.. ขณะที่มันพักสงบตัว ไม่วิ่งวุ่นขุ่นเคืองเที่ยวหาไฟมาเผาเรา ทำจนไล่มันไม่ยอมหนีไปจากเรา นั่นแลพอดีกับใจตัว หิวโหยอาหารไม่มีวันอิ่มวันพอ ถ้าอาหารพอกับมันแล้ว แม้ไล่หนีไปไหนมันก็ไม่ยอมไป ทำอย่างนั้นแล จิตเราจะไม่ยอมเสื่อมต่อไป...”

คำสอนดังกล่าวของหลวงปู่มั่น ทำให้ท่านตั้งคำมั่นสัญญาขึ้นว่า

“...อย่างไรจะต้องนำคำบริกรรมพุทโธมากำกับจิตทุกเวลา ไม่ว่าเข้าสมาธิ ออกสมาธิ ไม่ว่าจะที่ไหน อยู่ที่ไหน แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด หรือทำกิจวัตรต่าง ๆ จะไม่ยอมให้สติพลั้งเผลอจากคำบริกรรมนั้นเลย...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-09-2012 เมื่อ 02:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #118  
เก่า 02-10-2012, 14:49
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default




หลวงปู่มั่นถ่ายรูป

เมื่ออยู่กับหลวงปู่มั่นได้ระยะหนึ่ง ทำให้พอทราบถึงอุปนิสัยของท่านที่ไม่ยุ่งกับใคร หลวงปู่มั่นจะไปไหนก็ด้วยความจำเป็นจริง ๆ เมื่อทราบว่าวันนี้จะเป็นวันเผาศพของหลวงปู่เสาร์ (เดือนเมษายน) ท่านก็กำหนดไว้แล้วว่าน่าจะออกเดินทางวันนี้ จึงไปเตรียมรอรับท่านดังนี้

“...พอเราไปถึงบ้านน้ำก่ำ แถวนี้สามแยกน้ำก่ำ ทางนี้ไปพระธาตุพนม ทางนี้ไปอุบลฯ อีกทางมาทางอำเภอนาแก เรามาพักอยู่วัดป่าสามแยกนี่ เราถามโยมเขา ทราบว่าท่านมาเมื่อวานนี้


คือเราไปรับท่าน ท่านไปเผาศพหลวงปู่เสาร์มา กะว่าเผาวันนี้ วันนี้ท่านจะออก ตามธรรมดาท่านไม่ยุ่งกับใคร ท่านไปด้วยความจำเป็น เป็นอาจารย์ของท่าน ท่านไปเผาศพให้ท่าน ให้เราเฝ้าวัดอยู่ที่วัดนาสีนวน พอเผาศพวันนั้น กะวันนั้น เราก็ออกเดินทางจากวัดนาสีนวนไปเลย พองานศพหลวงปู่เสาร์เสร็จวันนั้น วันหลังนั้นท่านก็ออกมาเลย ท่านไปพักวัดอ้อมแก้ว เดี๋ยวนี้ดูไม่เรียกวัดอ้อมแก้วที่ธาตุพนม พอเราไปถึงสามแยกน้ำก่ำมาถามข่าวเขา ชื่อท่านไปที่ไหนก็ดังละ ถามพอดีได้ความเลย ท่านมาถึงแล้ว...มาที่ธาตุพนมแล้ว

พอเราทราบ เราก็บึ่งเข้าไปที่วัดอ้อมแก้ว ไปก็ไปเห็นท่าน เราก็ไปนิมนต์ท่านมา เรากราบเรียนท่านว่า
‘สถานที่นี้ไม่สะดวกสบาย รู้สึกว่าวุ่นวาย สู้สถานที่ที่ผมพักอยู่ไม่ได้ ที่นั่นเป็นวัดป่า เหมาะสมดีเหลือเกิน ที่บ้านฝั่งแดงเวลานี้เป็นวัดร้าง กระผมมาพักอยู่องค์เดียว ที่นั่นดี สงัดมากทุกอย่าง


ท่านว่า ‘ฮือ! อย่างนั้นหรือ ? ก็ไปสิ’

เพราะท่านเป็นไข้หวัดใหญ่มาจากโน้น ท่านเป็นไข้หวัดใหญ่ดูเหมือนอยู่นั่นสองคืนเท่านั้นละมั้ง ? เดินมา ๆ ท่านเป็นไข้หวัดใหญ่มาจากอุบลฯ เดินมาจากพระธาตุพนม มานี้ก็ประมาณสัก ๗-๘ กิโลเมตร เห็นจะได้นะ จากวัดอ้อมแก้วนี่ พระธาตุพนมอยู่ทางโน้น วัดอ้อมแก้วอยู่อีกทาง เป็นวัดท่านอาจารย์เสาร์เป็นผู้สร้างนะ พอตื่นเช้าวันหลัง ท่านไปเลย พอกราบเรียนท่านแล้ว.. ท่านเดินไปนะ

ออกจากนั้นมาก็มาพักบ้านฝั่งแดง ถ่ายรูปท่านั่ง-ท่ายืนที่วัดฝั่งแดงนี่ ที่มีต้นไม้อยู่ข้างหลังท่าน ท่านยืนอยู่ใต้ร่มไม้นั่น เราอยู่ที่นั่น ท่านอนุโลมให้ลูกศิษย์ของท่าน พวกธาตุพนมทั้งลูกทั้งหลานเต็มไปหมด มาขอถ่ายรูปกับท่าน ท่านไม่ให้ใครถ่ายง่าย ๆ นี่ท่านอนุโลมเต็มที่ เพราะเป็นลูกศิษย์เก่าของท่านตั้งแต่ท่านยังหนุ่มก็เลยให้ถ่าย ท่านอนุโลมให้ทั้งท่ายืน ท่านั่ง

ถ่ายท่านั่งขัดสมาธิ ท่ายืนพาดสังฆาฏิด้วย แกก็เห็น..นี่ละรูปท่านอาจารย์มั่นเรา หลวงปู่มั่นเรา เห็นยืนพาดสังฆาฏิ นั่งขัดสมาธิอยู่ที่บ้านฝั่งแดง ท่านเต็มใจให้ถ่าย เมตตาลูกศิษย์ของท่าน ธรรมดา..โหย...ใครจะไปถ่ายท่านได้ง่าย ๆ นี่เป็นลูกศิษย์เก่าแก่ของท่าน ท่านจึงให้ถ่าย จึงได้เห็นรูปของท่าน เพราะฉะนั้น เราถึงรู้ว่าท่านถ่ายรูปที่วัดสุทธาวาสหนหนึ่ง ขึ้นนั่งบนธรรมมาสน์ แล้วก็ถ่ายที่นี่อีกหนหนึ่ง นอกนั้นไม่เห็นมีเลย...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-10-2012 เมื่อ 17:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #119  
เก่า 03-10-2012, 10:25
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระสาวก... ครั้งพุทธกาล

นิสัยเดิมของพระสารีบุตร พระสันตกาย


“...อัครสาวกข้างขวาพระสารีบุตร นิสัยของท่านแต่ก่อนเคยเป็นลิง พอมาเห็นคลองเล็ก ๆ น้ำมันไหลไปมา โดดข้ามคลองนั้นแล้วโดดข้ามคลองนี้ไป พระสงฆ์ยกโทษท่านมาฟ้องพระพุทธเจ้าว่า พระสารีบุตรได้รับคำยกย่องมา ... แล้วทำไมพระสารีบุตรขนาดว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นอัครสาวกข้างขวาด้วย แล้วทำไมจึงทำตัวเป็นลิง ว่าอย่างนั้นนะ.. โดดกลับไปกลับมา ไปเห็นร่องน้ำเล็ก ๆ โดดไปโดดมา...

‘พระสารีบุตรเธอเคยเป็นลิงมาตั้ง ๕๐๐ ชาติ นิสัยเดิมของเธอเป็นอย่างนั้นแหละ ใจของเธอบริสุทธิ์แล้ว’

นี่ละ กิริยาที่มันแสดงออกสู่โลกธรรม ๘ มีตำหนิติเตียนไว้อย่างนี้ ส่วนธรรมชาตินั้นหมดโดยสิ้นเชิง... พระองค์ออกมารับเลย เธอเคยเป็นลิงมาจนเป็นนิสัย เพราะฉะนั้น กิริยาอันนี้ยกให้ลิงเสีย อัครสาวกที่เรียบร้อยนั้นยกให้พระสารีบุตรของเรา ส่วนลิงนั้นยกให้ลิงไปเสีย ท่านตอบกัน..ฟังซิน่ะ

นี่พระพุทธเจ้ายืนยันรับรองไว้ นี่หมายถึงว่าผู้ที่มีนิสัยอย่างไร หนักทางไหนไปทางนั้น... นิสัยพระสันตกายก็อีกเหมือนกันนะ ท่านไปไหนนี้เรียบหมดเลย พระสงฆ์ทั้งหลายในวัดนั้นน่ะ ค่อนข้างแน่ใจ เกือบจะทั่วทั้งวัดละว่าท่านเป็นพระอรหันต์ สันตกายคือว่าท่านมีกิริยามารยาทสวยงามมาก เคลื่อนไหวไปไหนปรากฏว่ามีสติทุกแง่ทุกมุม เหมือนว่าไม่พลั้งไม่เผลออะไรเลย ถามท่าน... ท่านก็บอกว่าท่านยัง เลยเอาเรื่องนี้ไปทูลถามพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าท่านก็สอน มีเครื่องรับรองอย่างนั้นนะ ที่จิตเรียบร้อยมาตลอดนี้ สันตกายเป็นผู้มีกาย วาจา ใจ อันสงบ... พระสันตกายนี้เธอเคยเป็นราชสีห์ติดกันมาหลายภพหลายชาติ ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นสัตว์อื่นเลย เป็นราชสีห์มา ธรรมดาราชสีห์มีสติสตังระมัดระวังตัวเหมือนเสือ เหมือนแมว ไม่ได้เผลอตัวง่าย ๆ นี่เธอก็มาจากสำนักราชสีห์ เพราะฉะนั้น กิริยาอาการของเธอเวลามาบวชจึงเรียบตลอด...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-10-2012 เมื่อ 10:32
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #120  
เก่า 04-10-2012, 10:55
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,550 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พรรษาที่ ๑๐

(พ.ศ. ๒๔๘๖) จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านนามน (วัดป่านาคนิมิตต์) ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร




กุฏิหลวงปู่มั่นที่เสนาสนะป่าบ้านนามนในปัจจุบัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-10-2012 เมื่อ 15:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 4 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:20



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว