กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 07-07-2020, 13:35
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default เทศนาวันเข้าพรรษา วันจันทร์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓

เทศน์วันเข้าพรรษา ๒๕๖๓
วันจันทร์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓

เชิญรับชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/YmD-CuxFmBo


นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

อิมัสมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมีติ


ณ บัดนี้..อาตมภาพรับหน้าที่วิสัชนาในวัสสกถา เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา เพิ่มพูนบารมี เสริมสร้างกุศลบุญราศีแก่ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ที่ได้พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษา ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้

ญาติโยมทั้งหลายการที่เรามาทำบุญเข้าพรรษา ซึ่งจัดว่าเป็นประเพณีทางพระพุทธศาสนา ที่ได้รับการสืบทอดมายาวนานตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งก่อนหน้านั้นในสมัยพุทธกาลของเรายังไม่มีการเข้าพรรษา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 15-07-2020 เมื่อ 22:56
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 07-07-2020, 13:37
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

เมื่อถึงเวลาหน้าฝน พระภิกษุสงฆ์จาริกไปตามคามนิคมต่าง ๆ ก็ได้รับความลำบากจากการเดินทาง เพราะว่าต้องเปียกฝน ต้องลุยน้ำลุยโคลนไป จึงทำให้เกิดความยากลำบากเป็นยิ่งนัก

ต่อมาเมื่อได้เห็นบรรดาปริพาชกต่าง ๆ ซึ่งกำหนดให้นักบวชของตนนั้นเข้าพรรษา ก็คืออยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งในฤดูฝน องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา จึงมีพระบรมพุทธานุญาต ให้พระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้อยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่งตลอด ๓ เดือนในฤดูฝนเช่นกัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:27
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 07-07-2020, 13:39
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

คราวนี้การอยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่งนั้น สมัยก่อนก็ไม่ได้มีวัดวาอารามที่เป็นหลักเป็นฐานอย่างปัจจุบันนี้ อารามต่าง ๆ มีน้อย ส่วนใหญ่พระของเราก็อยู่โคนต้นไม้บ้าง อยู่เรือนว่างบ้าง คำว่า เรือนว่าง ก็คือ บ้านร้าง นั่นเอง อยู่ในป่าช้าบ้าง อยู่ในป่าชัฏบ้าง แม้กระทั่งอยู่ในโพรงไม้ก็มี บางท่านก็อาศัยกองเกวียนที่เดินทางไปค้าขายยังเมืองต่าง ๆ จำพรรษาอยู่ในกองเกวียนก็มี เป็นต้น

องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบัญญัติให้พระต้องอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งตลอดช่วงเข้าพรรษา ส่วนใหญ่แล้วก็เพื่อเอื้อประโยชน์ให้เกิดแก่ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:09
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 07-07-2020, 13:40
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

เนื่องจากว่าสมัยนั้นคนให้ความเคารพนับถือพระเป็นอย่างมาก เมื่อถึงเวลาพระเดินทางไปถึงเรือนชานบ้านช่องของตน ก็ต้องทิ้งหน้าที่การงานมาต้อนรับขับสู้ มาปูอาสนะ มาถวายน้ำใช้น้ำฉัน จัดหาภัตตาหารมาถวาย เป็นต้น ก็ทำให้ญาติโยมทั้งหลายต้องทิ้งหน้าที่การงาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คือการทำไร่ทำนา มาคอยดูแลพระภิกษุสงฆ์ ทำให้เกิดความลำบากในการทำอาชีพของตนประการหนึ่ง

อีกประการหนึ่งก็คือ พระเมื่อถึงเวลาแล้วก็จาริกไปยังคามนิคมต่าง ๆ ไม่ได้อยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง เมื่อเกิดอยากจะทำบุญทำกุศลขึ้นมาก็หาพระให้ทำบุญไม่ได้

แต่เมื่อถึงเวลาพระอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ตัวเองรู้เข้าถ้าไม่ไกลจนเกินไป ก็เดินทางไปนิมนต์พระมารับภัตตาหาร มาฉลองงานบุญที่บ้านของตัวเองได้ หรือว่าจะนำข้าวปลาอาหารไปถวายถึงที่วัดวาอารามเหล่านั้นก็ได้เช่นกัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 07-07-2020, 13:42
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

และขณะเดียวกัน เมื่อพระภิกษุผู้เถระอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง บรรดาพระภิกษุผู้ที่เป็นมัชฌิมะคือ ปานกลางบ้าง นวกะคือ ผู้ใหม่บ้าง ก็จักได้เดินทางไปหาเพื่อศึกษาข้อธรรม หรือจำพรรษาอยู่ร่วมกัน รับการเทศนาสั่งสอนจากท่าน จะได้ประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง

เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ทำให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งฝ่ายพระและฝ่ายฆราวาส คือฆราวาสเมื่อพระอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ตนเองก็อุปถัมภ์อุปัฏฐาก สามารถสร้างกองบุญการกุศลได้ง่าย

ส่วนพระของเราเมื่ออยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ไม่ต้องไปไหน ก็มีเวลาศึกษาเล่าเรียนประพฤติปฏิบัติในหลักธรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เมื่อเกิดประโยชน์แก่ตนแล้ว ก็นำไปสั่งสอนแก่ญาติโยมต่อไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 07-07-2020, 13:46
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

ทว่าเมื่ออยู่จำพรรษาแล้ว ก็ยังมีกิจจำเป็นอะไรบางอย่างเกิดขึ้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงประทานพระบรมพุทธานุญาต ให้พระสามารถไปกิจการงานนั้น ๆ ไม่ต้องอยู่จำพรรษา แต่ว่าอย่าไปเกิน ๗ วัน เรียกว่า “สัตตาหะกรณียะ” คือ เมื่อมีเหตุจำเป็นให้ไปได้ไม่เกิน ๗ วัน เป็นต้นว่า

พ่อป่วย แม่ป่วย พระอุปัชฌาย์อาจารย์ป่วย ไปเพื่อช่วยดูแลรักษาพยาบาลได้
สหธรรมิก คือ เพื่อนพระด้วยกัน ที่อยู่ต่างวัดไกล ๆ คิดจะสึก ไปเพื่อช่วยกันห้ามปรามไม่ให้ท่านสึกได้
วัดพัง สมมุติว่าโดนพายุฤดูร้อน พายุฤดูฝน โดนไม้ใหญ่หักพังทับกุฏิ ต้องไปเที่ยวหาทัพสัมภาระต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบจาก เป็นใบตองตึง เป็นเถาวัลย์ เป็นไม้ในป่า เพื่อที่จะมาซ่อมมาแซม ก็สามารถที่จะไปได้
ได้รับกิจนิมนต์จากทายกต่าง ๆ บางทีเขาอยู่ไกลถึงต่างตำบล ต่างอำเภอ ก็สามารถที่จะเดินทางไปได้ด้วยเหตุนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 07-07-2020, 13:50
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

แต่ว่าเหตุอื่น ๆ ที่จะให้ไปได้นั้น องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานข้ออ้างที่เรียกว่า มหาปเทส ๔ ประการไว้ ที่กล่าวไว้ว่า

“สิ่งใดไม่สมควร ถ้าพิจารณาแล้วว่าไม่สมควร สิ่งนั้นย่อมไม่สมควร”
“สิ่งใดไม่สมควร ถ้าพิจารณาแล้วว่าสมควร สิ่งนั้นย่อมสมควร”
เป็นต้น


เมื่อองค์สมเด็จพระทศพลพระราชทานวิธีวินิจฉัยพระวินัยให้มา อย่างในปัจจุบันนี้พระภิกษุวัดท่าขนุนจำนวนนับ ๑๐ รูป ต้องเดินทางไปศึกษาเล่าเรียน คือ เรียนวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ ครั้งละ ๓ วัน ถ้าหากว่า ๑ ใน ๓ วันนั้นตรงกับวันพระ การเรียนก็ต้องเลื่อนไปเป็นวันพฤหัสบดี

จึงทำให้ต้องอาศัยสิ่งที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ประทานเอาไว้ให้ มาเปรียบเทียบดูว่า การไปศึกษาเล่าเรียนนั้นไม่ได้มีพุทธานุญาตเอาไว้ แปลว่าไม่สมควร แต่ว่าสิ่งที่ไม่สมควร ถ้าพิจารณาแล้วว่าสมควร ก็ทำได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 07-07-2020, 13:51
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

อย่างเช่นว่าการไปศึกษาเล่าเรียนนั้น ก็เพื่อให้เรารู้ข้อธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงเวลาจะได้นำไปเผยแผ่ นำไปบอกกล่าวกับญาติโยม นำไปสั่งสอนญาติโยมได้อย่างเต็มที่ ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งที่ไม่สมควร เพราะว่าไม่ได้อนุญาตไว้ แต่เมื่อพิจารณาแล้วว่าเป็นการส่งเสริมการประกาศพระพุทธศาสนา สิ่งนั้นก็ย่อมสมควร เป็นต้น

อีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อถึงเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยหนักขึ้นมา ถ้าหากว่าไม่ไปโรงพยาบาลรักษา ตนก็อาจจะถึงแก่ชีวิต การไปนั้นก็อาจจะต้องไปค้างวันค้างคืน ที่ภาษาหมอเขาเรียกว่า admit ก็คือ อยู่ประจำ ถ้าหากว่าไม่เกิน ๗ วัน ก็อาศัย สัตตาหะกรณียะ ไปได้เช่นกัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 07-07-2020, 13:54
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

ส่วนในการที่อยู่ประจำในวัดใดวัดหนึ่งนั้น ท่านก็กำหนดเขตจำพรรษาเอาไว้ ภาษาบาลีเรียกว่า “ติจีวะราวิปปะวาส” คือ เขตที่อยู่ได้โดยปราศจากไตรจีวร

อย่างของวัดท่าขนุนของเรา ด้านเหนือก็กำหนดเอาทางเข้าหมู่บ้านวังท่าขนุนของเรา ทางด้านตะวันออกก็กำหนดเอาถนนใหญ่หน้าพระใหญ่หน้าวัด ทางด้านใต้ของเรากำหนดเอาลำรางสาธารณะ หรือลำห้วย ทางด้านตะวันตกของเราง่ายมาก เอาแม่น้ำแควน้อยเป็นเขต

เมื่อมีขอบเขตชัดเจนเช่นนี้ ถ้าหากว่าพระที่จำพรรษาอยู่มีกิจธุระเร่งด่วนประการใด ออกจากกุฏิพ้นไป กลับมาไม่ทันอรุณ ก็คือตะวันขึ้น หรือแสงเงินแสงทองขึ้นเสียก่อน แต่ว่าตัวเรายังไม่ได้อยู่ในสถานที่กุฏิของเราที่จำพรรษาอยู่ ก็ไม่ถือว่าขาดพรรษา ไม่ถือว่าผ้าครองที่รักษานั้นขาดครอง ก็เพราะว่าคณะสงฆ์ได้กำหนดเขตที่ชัดเจนเอาไว้แล้วว่า จะอยู่โดยปราศจากไตรจีวรในบริเวณใดบ้าง เป็นต้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #10  
เก่า 07-07-2020, 13:56
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

สิ่งเหล่านี้องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว และในขณะเดียวกันแบบธรรมเนียมอีกอย่างหนึ่งที่ท่านทั้งหลายนิยมกระทำกันก็คือ เมื่อเวลาเข้าพรรษาก็มักจะเห็นว่าพระตั้งใจทำความดีอย่างเต็มที่ สาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์อย่างเราท่านทั้งหลายก็ตั้งใจเช่นกัน อย่างเช่นบางคนตั้งใจว่าจะฟังเทศน์ให้ได้ครบทุกธรรมาสน์ตลอดพรรษา

วัดท่าขนุนของเราในช่วงพรรษา ทุกวันพระ ไม่ว่าจะวันพระใหญ่ หรือวันพระเล็กก็ตาม มีการแสดงพระธรรมเทศนาทั้งกลางวันและกลางคืน กลางวันก็ช่วงเวลา ๙ โมงเช้าอย่างเช่นวันนี้ กลางคืนก็เวลาประมาณทุ่มครึ่งหลังการทำวัตรเย็นไปแล้ว

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 20:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #11  
เก่า 07-07-2020, 19:17
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

บางท่านก็ตั้งใจว่าทุกวันพระ เราจะรักษาศีล ๘ ให้ได้ตลอดพรรษา บางท่านก็ตั้งใจว่า ตลอด ๓ เดือนจะเว้นสุราเมรัย เป็นต้น สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ถือว่าอาศัยกาลโอกาสอันเหมาะสม ช่วยกำหนดให้ท่านทั้งหลายได้กระทำความดีอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน

ขณะเดียวกันถ้าท่านทั้งหลายตั้งใจเอาไว้ว่า จะปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเต็มที่ตลอดพรรษา ก็แปลว่าท่านทั้งหลายจักต้องทุ่มเทความพยายาม เนื่องจากว่าการทำความดีทุกประเภทนั้น ย่อมมีมารมาขวาง คำว่ามารนั้นเป็นได้ทั้งคน เป็นได้ทั้งสัตว์ เป็นได้ทั้งสิ่งของ

เพราะว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้บางทีก็ไม่มีชีวิตจิตใจ แต่ถึงเวลามาขวางไม่ให้เราทำความดีได้ อย่างเช่นว่าคนที่เรารัก พอเห็นเราถือศีล ๘ ก็ถามว่า จะถือไปทำไม ? อายุยังน้อยอยู่เลย รอให้แก่กว่านี้ก่อนแล้วค่อยถือศีล ๘ เป็นต้น ถ้าสาวกขององค์สมเด็จพระทศพลของเรา ไม่มีความเข้มแข็งพอ ก็จะเห็นคล้อยตาม ทำให้ขาดประโยชน์ของตนเองไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #12  
เก่า 07-07-2020, 19:17
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

สัตว์ทั้งหลายก็อาจจะทำให้เราขาดการทำความดีไปได้เช่นกัน อย่างเช่นบางคนเลี้ยงหมาเลี้ยงแมว รักเหมือนลูก ถึงเวลาหมาแมวเจ็บไข้ได้ป่วย ตรงกับวันพระที่จะไปวัด ก็ไม่สามารถที่จะละไปได้ เพราะว่าต้องคอยดูแลหมาแมวที่ป่วยอยู่ หมาแมวที่รักของเราก็กลายเป็นตัวขวางไม่ให้เราทำความดีเสียอย่างนั้น เป็นต้น

สิ่งของบางอย่างก็ไม่น่าจะขวางเราไม่ให้ทำความดี แต่ก็ขวางได้ อยากจะไปวัดในช่วงเช้า รถมอเตอร์ไซค์ก็สตาร์ทไม่ติด ระยะทางก็หลายกิโลเมตร เดินไม่ไหว อย่าเลย..วันพระนี้เราไม่ต้องไปวัดก็ได้

ญาติโยมทั้งหลายจะเห็นว่า ไม่ว่าคน ไม่ว่าสัตว์ ไม่ว่าสิ่งของก็ตาม มารสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขวาง ไม่ให้เราทำความดีได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เรารักเราเคารพมากที่สุด อาจจะทำให้เราได้รับการกระทบกระเทือนใจมากที่สุด แล้วก็ทำให้เราห่างจากความดีไปได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #13  
เก่า 07-07-2020, 19:19
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

ทำให้ท่านทั้งหลายจำเป็นต้องที่ใช้ปัญญาในการกระทำความดี พินิจพิจารณาดูแล้วว่าถ้าสามารถแก้ไขด้วยเหตุอื่น ด้วยวิธีอื่นได้ เราก็แก้ไขไปตามเพลง อย่างเช่นว่า เราจะรักษาศีล ๘ แต่เกรงว่าคนอื่นจะรู้แล้วห้ามปราม ถึงเวลาไม่ได้กินข้าวเย็น เขาถามว่า “ทำไมไม่กิน ?” เราก็อาจจะบอกว่า “อ้วนแล้ว ของดอาหารเย็นสักมื้อหนึ่ง” ไม่จำเป็นที่จะต้องไปบอกว่า รักษาศีล ๘ ก็เลยไม่กินข้าวเย็น เป็นต้น

หรือถ้าหากว่าสัตว์ทั้งหลายเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา สมมุติว่าเราจะต้องไปวัด ก็หอบหิ้วใส่ตะกร้าไปด้วย ถึงเวลาก็พาหมาไปฟังเทศน์ฟังธรรม อย่างน้อย ๆ กำลังใจที่เกาะเสียงพระ เสียงสวดมนต์ ถ้าหากว่าสัตว์เลี้ยงของเราตายลงไปตอนนั้น ก็ได้ไปดีอย่างแน่นอน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #14  
เก่า 07-07-2020, 19:19
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

สมมุติว่ารถยนต์ของเราเกิดมาเสียหายในวันพระ ไม่สามารถจะไปทำบุญได้ สมัยนี้ก็ส่งไลน์หรือโทรศัพท์บอกเพื่อนที่จะไปทำบุญว่า “ผ่านมา..ช่วยแวะมารับฉันด้วย” ก็แปลว่าถ้าเราใช้ปัญญาเพิ่มขึ้นมานิดเดียว เรื่องทั้งหลายเหล่านี้จะสามารถแก้ไขได้ทั้งสิ้น

ดังนั้นในเรื่องของการปฏิบัติในทาน ในศีล ในภาวนา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีปัญญาประกอบไปด้วยทุกครั้งไป เมื่อญาติโยมทั้งหลายตั้งใจทำความดีตลอด ๓ เดือน เช่นเดียวกับพระที่ตั้งใจจำพรรษาเพื่ออยู่ประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ตลอด ๓ เดือน ถ้าสามารถทำให้กำลังใจทรงอยู่ในความดีได้แล้ว ก็น่าจะที่จะกระทำต่อไปเป็นระยะยาว โดยไม่ต้องจำกัดเวลาเลย

เพราะถ้าหากว่ารอให้ ๓ เดือนเข้าพรรษาแล้วค่อยทำความดี เกิดท่านมีอันหมดอายุขัยตายลงไปก็ดี หรือเกิดอุบัติเหตุอันตรายถึงแก่ชีวิตไปเสียก่อน ท่านก็อาจจะไม่ได้ทำความดีตามที่ตั้งใจเอาไว้

โดยเฉพาะในเรื่องของความดีนั้น เหมือนอย่างกับเราขึ้นสู่ที่สูง ถ้าหากว่าเราไม่เร่งทำให้ไปจนถึงที่สุด ถึงเวลาพลั้งพลาดขึ้นมาก็อาจจะตกลงที่ต่ำก็ได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #15  
เก่า 07-07-2020, 19:20
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

ดังนั้นเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงการประมวลหลักธรรมว่า เราต้องทรงความไม่ประมาทให้เป็นปกติ ก็แปลว่า ท่านทั้งหลายเมื่อออกพรรษาแล้ว สิ่งหนึ่งประการใดที่เราทำได้ตามปกติ

ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน คือ ตั้งใจใส่บาตรทุกวันก็ดี การรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ ตลอดทุกวันก็ดี หรือว่าการเจริญภาวนาสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ ทุกวันตลอดพรรษาก็ตาม ถ้าท่านทำได้ก็ถือว่าเป็นสมบัติอยู่ในมือของเรา ก็ควรที่จะเร่งขวนขวายกระทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป


ในขณะเดียวกันพระภิกษุสามเณรของเราที่อยู่ประจำพรรษา ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นลูก เป็นหลาน เป็นญาติ เป็นโยม ท่านทั้งหลายเมื่อถึงเวลาก็ไปสงเคราะห์ลูกหลานญาติโยมด้วยการใส่บาตร อาตมาเห็นแล้วบางทีก็ขำ ก็คือบางบ้านไม่เคยใส่บาตรเลย พอถึงเวลาลูกมาบวชก็ใส่บาตรตลอดพรรษา อีกไม่กี่วันลูกสึก โยมก็หายหน้าไปพร้อมกับลูกที่สึกด้วย..!

ถ้าหากว่าเป็นลักษณะอย่างนี้แปลว่าเราทำความดีแบบไม่สม่ำเสมอ ถึงเวลาความดีมาสนอง เราก็จะมีความสุข ความสะดวกสบายในช่วงนั้น แต่ถ้าความดีขาดช่วงลงไปเมื่อไร เราเองก็อาจจะได้รับความทุกข์ยาก ความลำบาก เพราะว่าเราเป็นคนทำบ้าง ไม่ทำบ้าง นั่นเอง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 08-07-2020 เมื่อ 12:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #16  
เก่า 07-07-2020, 19:22
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

ได้วิสัชนามาก็พอสมควรแก่เวลา ท้ายสุดแห่งพระธรรมเทศนา อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐานอ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะเป็นประธาน มีบารมีของหลวงปู่สาย อคฺควํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนเป็นที่สุด

ขอได้โปรดดลบันดาลให้ญาติโยมทั้งหลายประสพแต่ความสุขความเจริญ มีความปรารถนาที่สมหวังจงทุกประการ

รับประทานวิสัชนามาในวัสสกถาก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมติยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์วันเข้าพรรษา ณ วัดท่าขนุน
วันจันทร์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓
(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยหยาดฝน)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 08-07-2020 เมื่อ 23:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:35



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว