กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 17-03-2017, 15:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๐

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ตามที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ อยากจะพูดถึงสำหรับผู้ที่ปฏิบัติใหม่ เนื่องจากว่ามีหลายท่านที่มาสอบถามเกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติ แล้วสรุปได้ว่าแม้แต่ลมหายใจเข้าออกก็จับไม่ได้

ลมหายใจเข้าออกนั้นเป็นพื้นฐานใหญ่ของกองกรรมฐานทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออกไปควบคู่ด้วย กรรมฐานกองนั้นจะตั้งอยู่ไม่ได้นาน การที่เราจะตัดกิเลสต้องมีกำลังสมาธิที่สูงพอ จึงจะสามารถตัดกิเลสในระดับต่าง ๆ ได้ ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออกไปควบคู่ด้วย สมาธิก็ไม่ทรงตัว ย่อมไม่มีกำลังที่จะไปต่อสู้กับกิเลสได้

ดังนั้น...ในการปฏิบัติของเราทุกครั้งจะทิ้งลมหายใจเข้าออกไม่ได้ มีหลายท่านบอกว่าการปฏิบัติแบบวิปัสสนายานิกะ คือการคิดพิจารณาไปเรื่อย ๆ ก็สามารถทำให้บรรลุมรรคผลได้ นั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามตำรา แต่ในการปฏิบัติจริง ๆ นั้นจะเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะว่าสภาพจิตของเราขาดสมาธิที่จะหนุนเสริม การพินิจพิจารณาย่อมไม่ปรากฏความชัดเจน

ในเมื่อไม่ปรากฏความชัดเจน ก็จะสร้างความฟุ้งซ่านให้เกิดได้ง่าย เมื่อจิตใจฟุ้งซ่านขึ้นมา รัก โลภ โกรธ หลง ก็ย่อมแทรกเข้ามาทันที ดังนั้น...วิปัสสนาล้วน ๆ จึงเป็นเรื่องที่ยากเหลือเกินที่จะบรรลุหรือประสบความสำเร็จ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-03-2017 เมื่อ 15:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 19-03-2017, 12:39
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลมหายใจเข้าออกของเรานั้น ช่วยให้จิตใจของเรามั่นคงอยู่เฉพาะหน้า ไม่ฟุ้งซ่านไปในอดีต ไม่ฟุ้งซ่านไปในอนาคต อยู่กับปัจจุบันธรรมนี้เท่านั้น ถ้าเราหยุดใจอยู่กับลมหายใจเข้าออก กรรมใหม่ที่เราสร้างก็ไม่มี เหลือแต่กรรมเก่าอย่างเดียว ถ้าเราขัดเกลาไปเรื่อย ๆ ก็ย่อมมีโอกาสที่สภาพจิตจะผ่องใสจากกิเลสได้สักวันหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น เรื่องของลมหายใจเข้าออกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดซึ่งเราจะละทิ้งไม่ได้

แต่การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ต้องไม่เป็นการบังคับลมหายใจ ลมหายใจจะแรงจะเบา จะยาวจะสั้น ให้ปล่อยเป็นไปตามธรรมชาติ เรามีหน้าที่แค่เอาสติของเรารับรู้ตามไปเท่านั้น

ถ้าถามว่าสติคืออะไร ? คือความรู้สึกทั้งหมดของเรา ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราแนบชิดติดกับลมหายใจเข้าไปจนสุด แนบชิดติดกับลมหายใจออกมาจนสุด ถ้าเผลอสติคิดถึงเรื่องอื่นเมื่อไร ก็ให้ดึงสติกลับมาหาลมหายใจของตนใหม่

ตอนแรกก็ต้องมีการต่อสู้ยื้อแย่งกันระหว่างกิเลสกับเรา บางทีหายใจเข้าไม่ทันจะหายใจออกก็เผลอไปคิดเรื่องอื่นแล้ว ฟุ้งซ่านไปไกลแล้ว แต่ถ้าเราใช้ความเพียรพยายามโดยไม่ย่อท้อ พยายามกำหนดลมหายใจของเราไป ระยะเวลาที่เราจะทรงได้ก็จะนานขึ้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-03-2017 เมื่อ 14:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 19-03-2017, 12:41
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สำหรับบางท่านแล้วถ้ารู้สึกว่าไม่ไหวจริง ๆ เพราะสภาพจิตฟุ้งซ่านมาก ก็ให้ตั้งสติอยู่เฉพาะหน้า ดูว่าจิตของเราคิดอะไร ถ้าเราจดจ่อคอยดูอยู่ สภาพจิตของเราจะคิดได้ไม่นาน เพราะว่าตัวรู้ที่ลงไปปรุงแต่งเหลือน้อย เมื่อตัวรู้กลายเป็นผู้จับจ้องดูว่าเราคิดอะไร สภาพจิตก็ไม่สามารถที่จะปรุงแต่งต่อไปได้นาน ก็จะยอมสงบนิ่ง ยอมอยู่กับลมหายใจในที่สุด

การกำหนดลมหายใจนั้น เราจะจับจุดกระทบฐานเดียว ๓ ฐาน ๗ ฐาน ก็แล้วแต่เราถนัด ถ้าการปฏิบัติใหม่ ๆ รู้สึกวาการจับลม ๓ ฐาน ๗ ฐานเป็นเรื่องยาก เราก็เอาฐานเดียว อย่างเช่นว่าจับอยู่เฉพาะที่ปลายจมูก ลมหายใจเข้ารู้สึกว่าหายใจเข้าผ่านจมูก ลมหายใจออกรู้สึกว่าหายใจออกผ่านจมูก หรือจะจับตรงส่วนของท้องซึ่งเป็นที่สุดของลมหายใจ ลมหายใจเข้าไปจนสุดที่ท้อง รู้อยู่ว่าลมหายใจเข้าไปจนสุดที่ท้อง ลมหายใจออกจากท้อง รู้อยู่ว่าออกจากท้องมาแล้ว

คำภาวนาก็อย่าใช้คำภาวนาที่ยาวมาก เพราะถ้าไม่มีความคล่องตัวแล้ว การใช้คำภาวนายาว ๆ จะลำบากในการจับลมหายใจไปด้วย เมื่อไม่มีความชำนาญ คำภาวนาลงตัวกับลมหายใจได้ยาก การภาวนามีการสะดุดหยุดยั้งเป็นระยะ ก็อาจจะเบื่อหน่าย รำคาญ ฟุ้งซ่านจนภาวนาไม่ได้ก็มี ให้ใช้คำภาวนาสั้น ๆ อย่างเช่น พุทโธหรือนะมะพะธะ หรือพองหนอ ยุบหนอก็ได้ เพียงแต่ว่าสติของเราต้องจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจและคำภาวนาเท่านั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-03-2017 เมื่อ 14:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 21-03-2017, 09:48
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อผ่านไประยะหนึ่งลมหายใจละเอียดขึ้น เราจะจับอาการกระทบได้น้อยลง จึงรู้สึกว่าลมหายใจเบาลง ไม่ต้องไปพยายามหายใจใหม่ให้แรงเท่าเดิม ปล่อยให้เบาไปตามธรรมชาติอย่างนั้น เมื่อลมหายใจละเอียดไปกว่านั้น เราอาจจะจับไม่ได้ จนรู้สึกว่าลมหายใจหายไป แต่ความจริงไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่จิตกับประสาทแยกจากกัน เราจึงไม่รับรู้อาการกระทบของลม ก็ให้กำหนดใจรู้อยู่ว่า ตอนนี้ลมหายใจเบาลง หรือว่าลมหายใจหายไป

ถ้าหากว่าสภาพจิตไปถึงจุดจริง ๆ ความนิ่งที่เกิดขึ้น จะทำให้แม้แต่คำภาวนาก็ไม่ต้องการ คำภาวนาก็จะหายไปด้วย เรามีหน้าที่กำหนดดูกำหนดรู้ว่า ตอนนี้ลมหายใจเบาลง ตอนนี้ลมหายใจหายไป ตอนนี้คำภาวนาหายไป อย่าไปดิ้นรนหายใจใหม่ อย่าไปดิ้นรนภาวนาใหม่ เพราะจะเป็นการย้อนไปที่จุดเริ่มต้น และในขณะเดียวกันก็อย่าอยากให้เข้าไปถึงสภาพอย่างนั้น เพราะตัวอยากทำให้ฟุ้งซ่าน สภาพจิตย่อมไม่ทรงตัว

สำหรับท่านที่กำหนดได้ยาก ก็ให้กำหนดลมหายใจแล้วนับเป็นคู่ หายใจเข้าจนสุดพร้อมกับคำภาวนา หายใจออกจนสุดพร้อมกับคำภาวนา นับเป็น ๑ คู่ หายใจเข้าจนสุดพร้อมกับคำภาวนา หายใจออกจนสุดพร้อมกับคำภาวนา นับเป็น ๒ คู่ โดยที่ตั้งใจเอาไว้ว่าเราจะนับลมหายใจเข้าออกให้ได้สัก ๑๐ คู่หรือ ๒๐ คู่ โดยที่ไม่คิดเรื่องอื่น

ถ้าเราเผลอสติไปคิดเรื่องอื่น รู้ตัวเมื่อไรก็ให้ย้อนกลับไปนับหนึ่งใหม่ ถ้าเราตั้งใจภาวนาแค่ ๑๐ คู่ ต่อให้นับไปจนถึง ๘ หรือ ๙ แล้ว ถ้าคิดเรื่องอื่นเมื่อไร ก็ย้อนกลับไปนับหนึ่งใหม่ สภาพจิตที่โดนทรมานอย่างนี้หลาย ๆ รอบ ก็จะรู้ว่าถ้าไม่ยอมสงบเราไม่ยอมเลิกแน่ สภาพจิตที่เหน็ดเหนื่อยแล้วก็จะยอมนิ่งลงไปเอง ยอมอยู่กับลมหายใจเข้าออกไปเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-03-2017 เมื่อ 11:32
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 21-03-2017, 09:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อภาวนาไปจนอารมณ์ใจทรงตัวเต็มที่ รู้สึกว่าไปต่อไม่ได้แล้ว เมื่อกำลังคลายใจตัวออกมา ให้รีบหาวิปัสสนาญาณมาพิจารณา อย่างเช่นว่าการดูว่าร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง และสลายตัวไปในที่สุด

ระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ก็มีแต่ความทุกข์ ท้ายสุดก็ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา เสื่อมสลายตายพัง กลับคืนเป็นสมบัติของโลกไปตามเดิม ถ้าเราไม่หาวิปัสสนาญาณให้คิด สภาพจิตที่มีกำลังจากการภาวนา จะเอากำลังเหล่านั้นไปฟุ้งซ่าน และจะทำฟุ้งซ่านไปใหญ่โตชนิดหยุดไม่ได้ ห้ามไม่อยู่

ดังนั้นทุกครั้งที่ภาวนาแล้ว เมื่อคลายกำลังใจออกมาให้พิจารณาไว้เสมอ เมื่อพิจารณาจนสภาพจิตทรงตัว ก็ย้อนกลับไปภาวนาใหม่ ต้องทำอย่างนี้สลับกันไปสลับกันมา จึงจะมีความก้าวหน้าตามที่เราต้องการ

ลำดับต่อไปให้ทุกคนภาวนาหรือพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันเสาร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๐

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยคะน้า)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-03-2017 เมื่อ 11:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:30



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว