กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องบูรพาจารย์ > ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน

Notices

ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #321  
เก่า 29-01-2016, 14:31
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

คิลานุปัฏฐากหลวงปู่มั่นสุดหัวใจ

การป่วยครั้งนี้ของหลวงปู่มั่นเป็นจริงทุกอย่างตามที่ท่านพูด ตั้งแต่เริ่มป่วยในเดือน ๔ สุมไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะออกพรรษา และเมื่อถึงวาระที่หลวงปู่มั่นป่วยหนักมากแล้ว องค์หลวงตากล่าวว่า ถ้าองค์ท่านไม่นอนทั้งคืน ท่านก็ไม่นอนทั้งคืนด้วยเช่นกัน และถึงแม้จะต้องได้นั่งอยู่กับที่นานมากเข้า ๆ จนเริ่มรู้สึกเจ็บเอวมาก แต่เพราะความเคารพรักหลวงปู่มั่น แม้จะเจ็บมากเพียงไร ก็ไม่ถือเป็นอารมณ์ยิ่งกว่าการคอยเฝ้าดูแลองค์หลวงปู่มั่นอย่างใจจดใจจ่อที่สุด ดังนี้

“เวลาพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นท่านป่วยหนักเข้าเท่าไร เราปฏิบัติต่อท่านเหมือนว่าเรานอนอยู่งีบเดียวเท่านั้นนะ รีบตื่นไปดูทุกอย่างก็รู้สึกว่าท่านเมตตาเรามาก ท่านจวนเข้าไปเท่าไร (หมายถึงอาพาธหนักขึ้น) เรายิ่งติดแนบตลอด หนีไปไหนไม่ได้ คอยดู คอยสังเกต คอยเตือนพระเณรให้ปฏิบัติต่อท่าน ให้เป็นความสงบร่มเย็นเฉพาะท่าน ไม่ให้มีอะไรมากระทบกระเทือน เราต้องเอาอย่างหนักทีเดียว


เมื่อองค์ท่านงีบหลับไปบ้าง ท่านก็ถือโอกาสนั้นออกไปเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง ด้วยการไปเดินจงกรมในบริเวณใกล้เคียง โดยไม่ลืมที่จะให้พระที่ไว้ใจได้ คอยดูแลองค์ท่านอยู่เงียบ ๆ ตลอดเวลาแทนท่าน บอกพระองค์นั้นไว้ด้วยว่า

“หากมีอะไรให้รีบบอกทันทีและคอยสังเกตดูว่า ถ้าองค์ท่านมีทีท่าว่าจะตื่นขึ้นก็ให้รีบบอกทันทีเช่นกัน”


การที่พระผู้เฝ้าไข้องค์ท่านต้องคอยบอกท่านอยู่เสมอ ๆ เพราะต่างก็สังเกตพบว่าเวลาองค์ท่านตื่นขึ้น เมื่อลืมตาขึ้นมามักจะถามขึ้นว่า “ท่านมหาไปไหน ? ๆ

พระผู้เฝ้าไข้ก็จะรีบวิ่งไปบอกท่านทันทีในจุดที่นัดหมายกันไว้แล้ว ท่านเองก็รีบมาทันทีเช่นกัน ท่านเล่าถึงความหวงความห่วงใยที่มีต่อหลวงปู่มั่นโดยเฉพาะเวลาป่วยหนักว่า

“... เราเคยคิดเกี่ยวกับท่าน เวลาท่านป่วย เอาท่านมาบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคมแล้วอยู่นั่น ตอนดึก ๆ ไม่มีใคร มีแต่เราอยู่กับท่าน พระเณรก็อยู่ข้างนอก ผู้หลับก็มี ผู้ไปพักก็มี แต่สำหรับเรานั้นอยู่ในมุ้งเป็นประจำ สมมุติว่าท่านหลับทั้งคืน เราก็ไม่นอนทั้งคืนเลย คือเราไม่ยอมให้ใครเข้าไปเกี่ยวข้องกับท่าน ขนาดนั้นนะ ความหวงของเรานะ


หวงพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น หวงขนาดนั้นนะ มันหากเป็นในหัวใจนิสัยสันดานเรานี่นะ คือหวงท่าน.. ไม่อยากให้ใครไปแตะต้องท่านเลย คือกลัวเขาจะไปจับพิรุธท่าน ท่านไม่ดีอย่างนั้น จะไปตำหนิท่านอย่างนั้นอย่างนี้ คือเรามันเทิดทูนท่านสุดหัวใจแล้ว ยิ่งถ่ายหนักถ่ายเบาด้วยแล้ว เราจะไม่ยอมให้ใครเข้าไปยุ่งเลย เราจะทำหน้าที่คนเดียวหมด...

เวลาเงียบ ๆ ท่านนอนมีลักษณะเหมือนครวญคราง เสียงร้อง อี้ ๆ อี้ ๆ เราก็ฟัง

ทีนี้มันก็วิตกขึ้นมา แต่ความวิตกนี้ระวังนะ ไม่ใช่ปล่อยให้มันวิตก ให้มันคิดขึ้นมาโดยอิสระ คือมีเครื่องระงับกันอยู่นี่ คอยมีสิ่งที่คอยตบคอยตีกันอยู่นะ พอมันปรุงขึ้นมาว่า ‘ขณะที่ท่านแสดงลักษณะอย่างนี้นั้น ท่านจะเผลอบ้างหรือไม่นะ’ เท่านั้นล่ะนะ

มันเหมือนกับว่ามีอันหนึ่งมาตบตีกันเลย ถ้าอยู่ในมือก็เรียกว่าหลุดมือไปเลยนะ ตกทันทีเลย ไม่คิดต่อไปอีก แต่ก็ไม่ลืมนะความคิดที่แย็บออกมา ท่านไม่แสดงมากนะ พอนิด ๆ ๆ เท่านั้นนะ ตามธรรมดาของขันธ์มันก็แสดงเต็มตัวของมันละ ธรรมดาของคนทั่ว ๆ ไปแต่นั่นท่านพอระงับได้ ท่านก็ระงับของท่านไป..”

ดังนั้นในยามที่หลวงปู่มั่นป่วยหนักเช่นนี้ ท่านจะเป็นผู้ทำธุระต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์ท่านด้วยตัวเองทั้งหมด เฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายหนักถ่ายเบาขององค์ท่าน เหตุผลที่เป็นเช่นนี้องค์หลวงตาเมตตาอธิบายว่า

“...เราทำต่อท่านด้วยความจงรักภักดีเทิดทูนขนาดไหน ไม่ให้ใครเข้าไปยุ่งเลย และท่านก็ไม่เคยตำหนิอะไร เราทำกับท่านถึงจะโง่หรือฉลาด เราขอถวายทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ท่านไม่เคยตำหนิเรา จะถ่ายหนักถ่ายเบาอะไร.. เราจัดการเองหมด ไม่ให้ใครมายุ่ง กลัวใครจะไปคิดไม่ดีในเรื่องอะไร ๆ ที่เป็นอกุศลต่อท่านเพราะปุถุชนเป็นได้นี่นะ


เราถึงเป็นปุถุชนก็ตาม แต่เรามันไม่ใช่อย่างนั้น เรามอบหมดแล้วนี่มันต่างกันตรงนี้นะ สติปัญญาที่เรานำมาใช้กับท่านก็เรียกว่าเต็มกำลังของเรา...

เวลาถ่ายหนักนี่สำคัญมาก ไม่ให้ใครเห็นด้วยนะ เราทำของเราไม่ให้ใครมองเข้าไปเห็นเลยนะ เอาร่างกายเอาตัวของเราบังไว้หมดเลย ทำคนเดียวของเรา แต่ก่อนไม่มีกระดาษ ไม่มีถุงพลาสติก มีแต่กระโถนกับผ้าขี้ริ้ว ผ้าอะไร กระดาษก็มีแบบกระดาษห่อพัสดุ

เวลาท่านถ่าย เราก็เอามือรองที่ทวารท่านเลย หย่อนปั๊บใส่ปุ๊บ หย่อนปั๊บใส่ปุ๊บ เสร็จแล้วเอาผ้าคอยเช็ดตรงนั้น ให้ท่านถ่ายลงกับมือเราเลยนะ ไม่ให้ใครเข้าไปยุ่งเลย...

เราก็เอามือเรานี่กอบโกยอุจจาระใส่กระโถน เสร็จเรียบร้อยแล้วเราถึงจะยื่นออกไป ผู้ที่คอยรับอยู่ข้างนอกเต็มอยู่แล้วนะ แต่ไม่มีใครกล้าเข้ามา เพราะเราไม่ให้เข้า...

เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราทำความสะอาดเอง ทำเองเสร็จแล้วเราก็รีบออกมา เพราะพระอยู่ข้างนอกเต็มหมด อยู่ในนั้นมีแต่เราคนเดียว...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-01-2016 เมื่อ 08:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #322  
เก่า 04-02-2016, 18:09
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เป็นตายไม่ว่า เพื่อหลวงปู่มั่น

ในระยะที่หลวงปู่มั่นไอด้วยโรควัณโรคซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ผู้เข้าไปใกล้ชิดติดพันด้วยย่อมมีโอกาสที่จะติดเชื้อสูงมาก และจะต้องเสียชีวิตแน่นอน ดังนี้

“...โรควัณโรคสมัยนั้นแก้ไม่ตก ใครเป็นแล้วต้องตายเท่านั้น พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นท่านป่วยเป็นวัณโรค แต่เดชะบุญอันหนึ่งที่มันก็คิดคาดไม่ถูกเหมือนกัน เพราะวัณโรคนี้ใครเป็นเข้าไปแล้วมันก็ต้องติดวัณโรค


เราอยู่กับท่านคลอเคลียกันอยู่เหมือนพ่อกับลูก พอตกตอนเย็นเขาจะเอาสำลีนั้นมาวางไว้ใส่กาละมัง ท่านจะไอ ไอแล้วขากเสลดไม่ออก เราก็ต้องช่วยเอาสำลีนี้ห่อมือกว้านช่วยท่าน กว้านอยู่ตลอด หนาวเท่าไรยิ่งไอ

คำว่า วัณโรค ก็รู้อยู่ แต่เราก็ไม่เคยไปสนใจกับวัณโรค มีแต่สนใจกับท่านอย่างเดียว ใครก็บอกว่า ‘โอ้ย ! เวลาคลุกคลีกับท่านมาก ๆ จะทำให้เป็นวัณโรค’

‘จะเป็นอะไรวะ ? เราไม่สนใจ’

จนกระทั่งทุกวันนี้ เราอยู่มาปกติไม่มีอะไร...”

นอกจากจะไม่กังวลกับการติดเชื้อวัณโรคจากหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านยังต้องอยู่คลอเคลียใกล้ชิดติดพันกับองค์ท่านอยู่ตลอด แม้เวลาไอ.. ท่านก็เอาสำลีกว้านเสลดออกด้วย และยิ่งในเดือน ๑๑ – ๑๒ อากาศหนาวเย็นเข้ามา องค์ท่านก็จะไอหนักขึ้น ถ้าคืนไหนไม่ได้นอน ท่านก็ไม่นอนด้วย เพราะต้องช่วยกว้านอยู่ตลอดคืน ท่านว่าสำลีที่ใช้แล้วนี้ถึงกับล้นพูนกะละมังเลย เพราะต้องกว้านออกเรื่อย ๆ เหตุการณ์ในตอนนี้ท่านก็เคยเล่าไว้ว่า

“ถ้าวันไหนท่านไม่หลับ เราก็ไม่ได้หลับ ถ้าวันไหนท่านได้หลับบ้าง เราก็ออกไปเดินจงกรม กลางวันไม่ไอ.. ท่านจะอยู่สบาย ก็ให้พระที่พอไว้ใจได้องค์ใดองค์หนึ่งอยู่แอบ ๆ ท่าน อยู่ข้าง ๆ แต่ไม่ได้เข้ามุ้งกับท่าน เราก็ได้พักในตอนนั้น ถ้ากลางคืนนี้ เตรียมพร้อมตลอดเวลา


ถ้าพูดถึงพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น เราเทิดทูนสุดหัวใจ เรามอบหมดทุกอย่าง ไม่มีอะไรเหลือติดเนื้อติดตัวเรา เรามอบหมดเลย ความลำบากลำบนเราไม่สนใจ เรามอบหมดเลย”

ที่หลวงปู่มั่นคอยถามถึงท่านมหาอยู่เสมอ นี่ไม่ใช่เพิ่งจะมีขึ้นในระยะนี้เท่านั้น ก่อนหน้านี้ก็มี และแม้ในคราวที่ท่านออกเที่ยววิเวกหลายต่อหลายวันเข้า องค์ท่านก็เริ่มถามกับพระเณรขึ้นแล้วว่า

“... เอ ท่านมหาไปไหนนา ? ไปหลายวันแล้วนะ...”


ครั้นเมื่อท่านกลับมาถึงวัด หลวงปู่มั่นก็ไม่พูดอะไร แต่พระเณรก็แอบเอาเรื่องนี้ไปเล่าให้ท่านฟัง ท่านก็ทำเหมือนกับไม่รู้อะไร แต่พอท่านได้ออกเที่ยวอีกหลายวัน หลวงปู่มั่นก็ได้ถามพระเณรขึ้นอีก เช่นว่า

“เออ...มหาไปหลายวันแล้วนะ...ไม่เห็นนะ”


ความเมตตาอย่างน่าประทับใจที่ครูบาอาจารย์มอบให้นี้ ก็คงด้วยเพราะองค์ท่านล่วงรู้ถึงหัวใจของท่าน ที่ยอมมอบทุกอย่างชนิดไม่มีอะไรเหลือ เพื่อเทิดทูนเคารพบูชาคุณอย่างสุดหัวใจต่อองค์ท่านนั่นเอง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 05-02-2016 เมื่อ 15:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #323  
เก่า 12-02-2016, 18:25
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default


ดวงประทีปใกล้สิ้นแสง หลวงปู่มั่นสั่งไว้

เหตุการณ์ในระยะที่หลวงปู่มั่นอาพาธหนักเข้า ๆ นี้ หลวงปู่หล้าก็ได้บันทึกไว้เช่นกันว่า

“...ครั้นล่วงเวลามา ๒๔๙๒ ปวารณาออกพรรษาแล้ว องค์หลวงปู่ก็ชรา อาพาธทวีเข้า พระอาจารย์มหาก็ได้จัดพระเณร เปลี่ยนวาระเข้าเฝ้ารอบ ๆ ใต้ถุน และรอบกุฏิขององค์หลวงปู่ แต่ครูบาวัน ครูบาทองคำ และข้าพเจ้าไม่ได้เปลี่ยน เพราะได้ถูกให้นอนเฝ้าที่ข้างบนระเบียงกุฏิองค์ท่าน และก็มีงานประจำตัวคนละกระทง ข้าพเจ้ามีงานประจำตัวคือรักษาไฟอั้งโล่ และคอยชำระอาจมของหลวงปู่


วันหนึ่งตอนกลางวันประมาณสี่โมงเช้ากว่า ๆ หลวงปู่องค์ท่านสั่งข้าพเจ้าว่า

ถ้าเราตายรีบพากันเผาโดยด่วนเน้อ’ ปรารภแบบเย็น ๆ เบา ๆ


‘ถ้าเผาแล้ว จงส่งข่าวไปหาท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์และญาติของเรา’

กล่าวสั้น ๆ เบา ๆ แล้วองค์ท่านหลวงปู่ก็
นอนนิ่งภาวนา ไม่รู้จะกราบเรียนอย่างไร เพราะอ้ายกิเลสน้ำตามันออกมาแล้ว ทั้งเอี้ยวคอไปแลดูครูบาวัน ครูบาวันก็แลดูประสบสายตากัน แต่ต่างคนก็ต่างนิ่งอยู่เงียบ ๆ

อีกสักครู่หลวงปู่องค์ท่านบอกเย็น ๆ ว่า ‘เอาไฟไปดับเสีย เพราะร้อนบ้างแล้ว พากันไปพัก จะอยู่องค์เดียวไปสักพักก่อน’ แล้วพากันเก็บสิ่งของเงียบ ๆ ไม่ให้กระเทือนก๊อก ๆ แก๊ก ๆ กราบเล้วก็พากันลงมาพร้อมกัน

ครูบาวันก็ขึ้นกุฏิของท่าน ส่วนข้าพเจ้ายังไม่ขึ้นกุฏิของตน ทอดสายตาแลดูกุฏิของพระอาจารย์มหา (บัว) เห็นองค์ท่านพักอยู่ธรรมดา ก็ขึ้นไปกราบองค์ท่าน พร้อมทั้งประนมมือขอโอกาสกราบเรียนว่า

‘วันนี้องค์หลวงปู่กล่าวว่า ถ้าเราตายรีบพากันเผาโดยด่วนเน้อ ปรารภแบบเย็น ๆ เบา ๆ ถ้าเผาแล้วจงส่งข่าวไปหาท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์และญาติของเรา แล้วองค์หลวงปู่ก็
นอนนิ่งภาวนา พออีกสักครู่ก็บอกให้เอาไฟออก เพราะร้อนแล้ว แล้วก็บอกให้พวกกระผมลง ว่าจะพักอยู่องค์เดียวสักพักก่อน ดังนี้ พวกกระผมเก็บของเรียบร้อยแล้ว ก็ลงมาพร้อมกันกับครูบาวัน กระผมก็ไม่ได้พูดกับครูบาวันอันใดเลย ต่างคนก็ต่างนิ่ง แต่มองดูหน้ากันอยู่เงียบ ๆ ขอรับ’

พระอาจารย์มหาถามว่า ‘ในเวลาองค์หลวงปู่สั่งนั้น คุณอยู่ที่ไหน ?’

เรียนว่า ‘เฝ้าไฟอยู่ใกล้เตียงขององค์หลวงปู่ เพียงหัวเข่าหลวงปู่”

องค์ท่านถามต่อไปว่า ‘ท่านวันอยู่ไกลใกล้ขนาดไหน และทำอะไรอยู่ ?’


เรียนว่า ‘ครูบาวันอยู่ห่างหลวงปู่ประมาณวากว่า ๆ มีธุระเลือกยาอยู่เงียบ ๆ’

องค์ท่านถามต่อไปอีกว่า ‘ท่านวันได้ยินหรือไม่ ?’

เรียนตอบว่า ‘ได้ยิน เพราะกระผมได้เอี้ยวคอไปแลดูครูบาวัน ประสบตากันอยู่ ครูบาวันก็ไม่พูดอะไร กระผมก็ไม่พูดอะไร ต่างคนก็ต่างเงียบ แล้วการสั่งเสียขององค์หลวงปู่จะเป็นความจริงหรือประการใดขอรับ’

พระอาจารย์มหาตอบว่า ‘จริงทีเดียว’

กราบเรียนว่า ‘ถ้าเป็นความจริง ไฉนจึงสั่งกระผมเป็นคำฝากไปหาครูบาวันในตัว เพราะครูบาวันนั่งอยู่ใกล้องค์หลวงปู่มากกว่ากระผม และกระผมเล่าก็เป็นผู้น้อยพรรษา และไฉนจึงไม่สั่งพระอาจารย์มหาซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่องค์สำคัญขอรับ’

พระอาจารย์มหาตอบว่า ‘ไม่เป็นอย่างนั้นดอก เพราะองค์ท่านมองเห็นว่า พระองค์นี้เป็นพระอ่อนพรรษาก็จริง แต่แก่อายุ ทั้งยอมตัวเข้าใกล้เราด้วย ขณะนี้เราไม่ต้องการพูดมากหลายคำ ถ้าหากว่าเราพูดกับพระผู้ใหญ่ มันจะตอกเราหลายคำ เธอหากจะนำคำอันนี้ไปเล่าให้พระผู้ใหญ่ฟังเอง เพราะเธอเป็นผู้สนใจอยู่แล้ว อันนี้เป็นเพียงเริ่มธรรมาสน์เฉย ๆ ดอกหล้า พรุ่งนี้จะพูดดังกว่านี้ให้คณะสงฆ์ได้ยินหมดละ เผง ๆ ทีเดียวละ’

ครั้นเป็นวันใหม่ ฉันเสร็จแล้ว คณะสงฆ์ขึ้นไปมากจนหมดวัด (องค์ท่านหลวงปู่มั่น) ก็ปรารภขึ้นดัง พร้อมทั้งบรรยายกว้างขวางออกไปละเอียด อย่างที่พระอาจารย์มหาทายไว้ ไม่ผิดเลย องค์ท่านหลวงปู่บรรยายออกไปว่า

ถ้าเอาเราไว้นานก็จุกจิกมาก ลูก ๆ หลาน ๆ จะจุก ๆ จิก ๆ ขาดจากวิเวก จะมีแต่วิวุ่นและสัตว์ก็จะตายมาก และพระองค์เจ้าก็ ๗ วันเท่านั้น.. ถวายพระเพลิง ถึงกระนั้น มัลลกษัตริย์ เขาก็เอาไฟไปถวายพระเพลิงตั้งแต่วันที่ ๓ แล้ว แต่ไฟไม่ติดถึง ๓ ครั้ง เพราะเทวดาบันดาลไม่ให้ไฟติด เพราะคอยพระมหากัสสปะ กำลังเดินทางมาพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ นี้ เราเป็นขี้เล็บขี้เท้าของพระองค์เจ้า เก็บเราเอาไว้ก็คอยพระมหากัสสปะเหม็นเท่านั้น’ ดังนี้ สั่งซ้ำ ๆ ซาก ๆ ด้วย


ผู้เขียนมิได้มีความสงสัยในองค์หลวงปู่ ว่าจะมักใหญ่ใฝ่สูงในเรื่องฌาปนกิจอันใดเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะได้เห็นด้วยตาเต็มตา เห็นด้วยใจเต็มใจ และพยานอันสำคัญคือพระอาจารย์เนียม ๑๘ พรรษา พระอาจารย์สอก็ ๙ พรรษา ๒ ศพปีเดียวกัน สิ้นลมปราณวันไหนก็เผาวันนั้นอีกด้วย ที่องค์หลวงปู่อยากจะเผาลูกศิษย์แบบหนึ่ง แล้วอยากจะให้ทำให้ท่านแบบหนึ่งนั้น.. เป็นไม่มีเลย เป็นเรื่องของผู้อยู่ข้างหลังต่างหากที่เอาไว้ช้า เพราะมีมติจะสร้างโบสถ์ไว้ให้เป็นปูชนียสถานทางวัตถุ เพื่อให้ถึงใจแก่ประชาชนผู้หนักไปในทางวัตถุ พระปฏิบัติเลยกลายเป็นปัญหาโบสถ์มาจนทุกวันนี้ละเอ๋ย...

องค์หลวงปู่มั่นผู้ชราพาธเพิ่มหนักเข้า ออกพรรษาแล้ว ครูบาอาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าจำพรรษาอยู่ต่างทิศ ต่างจังหวัด ต่างอำเภอ ต่างตำบล ก็ทยอยกันเข้ามาเฝ้าองค์หลวงปู่ที่วัดป่าบ้านหนองฝือ ต่างก็ออกความเห็นมติตามเจตนาแต่ละองค์ ๒๔๙๒ เดือนพฤศจิกายนนั้นเอง เป็นข้างขึ้นของเดือนนั้น

มีพระอาจารย์เทสก์ (หลวงปู่เทสก์ในปัจจุบัน) สมัยนั้นองค์ท่านจำพรรษาอยู่เขาน้อย ท่าแฉลบ จ. จันทบุรี มีหลวงปู่อ่อน สมัยนั้นองค์ท่านจำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านหนองโคก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร มีหลวงปู่ฝั้น สมัยนั้นองค์ท่านจำพรรษาอยู่วัดป่าธาตุนาเวง ที่เรียกว่าวัดภูธรพิทักษ์ อ.เมือง จ.สกลนคร มีพระอาจารย์กงมา หรือหลวงปู่กงมา สมัยนั้นองค์ท่านจำพรรษาอยู่วัดดอยธรรมเจดีย์ แต่กำลังเริ่มก่อสร้างอยู่ยังไม่ทันกว้างขวาง ไปบิณฑบาตบ้านนาสีนวล แต่องค์ท่านไป ๆ มา ๆ อยู่วัดป่าบ้านโคก เพราะวัดเดิมอยู่นั้นถูกขึ้น อ.เมือง จ.สกลนคร มีพระอาจารย์กู่หรือหลวงปู่กู่ก็ว่า จำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านโคกมะนาว อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร มีพระอาจารย์มหาทองสุก วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร และสมัยนั้นวัดป่าบ้านหนองฝือ องค์หลวงปู่มั่นก็ขึ้นบัญชีพระประจำปีกับวัดสุทธาวาสอยู่ มีพระอาจารย์สีโห สมัยนั้นองค์ท่านจำพรรษาอยู่นครราชสีมา เป็นวัดใดสงสัยจำไม่ชัด มีพระอาจารย์กว่า สมัยนั้นองค์ท่านจำพรรษาบ้านนาหัวช้าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนครนั้นเอง ให้เข้าใจว่า พระอาจารย์กู่ก็ดี พระอาจารย์กว่าก็ดี หลวงปู่ฝั้นก็ดี เป็นเครือญาติใกล้ชิดกันในฝ่ายตระกูลวงศ์ แต่พระอาจารย์กู่มีพรรษาเหนือกว่าหลวงปู่ฝั้น ได้สิ้นลมปราณไปหลังหลวงปู่มั่นพรรษาหนึ่งเท่านั้น มีพระอาจารย์วิริยังค์ สมัยนั้นองค์ท่านจำพรรษาอยู่วัดป่าใน อ.ขลุง จ.จันทบุรี และก็ไป ๆ มา ๆ อยู่วัดป่ากงสีไร่ อันเป็นอำเภอขลุงนั้นเอง จึงเขียนไว้เป็นที่ระลึก...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-02-2016 เมื่อ 01:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #324  
เก่า 17-02-2016, 17:49
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

มาฆบูชา

วันมาฆบูชา คล้ายกับวันปลงพระชนมายุสังขารของพระพุทธเจ้า ที่จะทรงลาโลกลาสงสาร หรือลาเรือนจำแห่งวัฏจักร สละธาตุขันธ์ทิ้ง เพราะเป็น “ภารา หเว ปัญจักขันธา” มาเป็นเวลาแปดสิบพรรษาแล้ว ซึ่งเป็นภาระที่หนักมาก ทรงแบกมาถึง ๘๐ ปี หนักตลอดเวลา ไม่เคยเบาเลยคือธาตุขันธ์นี้แล อย่างอื่นยังมีเบาบ้างหนักบ้าง พอได้หายใจโล่ง ข้าว น้ำ เราหาบหิ้วมาหนัก ๆ นี่ เราคดกินไป รินไป ใช้อย่างอื่นไปก็หมดไป หมดไปแล้วก็เบาไป ส่วนธาตุขันธ์แบกมาตั้งแต่วันเกิดไม่เคยเบา หนักมาเรื่อย ๆ ยิ่งเฒ่ายิ่งแก่ กำลังวังชาที่จะแบกจะหามไม่พอ ก็ยิ่งปรากฏว่าหนักขึ้นไปโดยลำดับ ท่านจึงว่า “ภารา หเว ปัญจักขันธา” ขันธ์ทั้งห้านี้เป็นภาระอันหนักมาก”

แบกรูป แบกกายหนักแล้วยังไม่กลัว ยังแบกทุกขเวทนาที่มีอยู่ในกาย แบกสัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งล้วนแต่เป็นของหนัก และยังทิ่มแทงหัวใจเราอีกด้วย ไม่เพียงแต่หนักเฉย ๆ มันยังมีหนามอันแหลมคมเสียบแทงเข้ามาภายในใจอีก

พระพุทธเจ้า ท่านทรงอดทนแบกธาตุขันธ์นี้มาจนถึง ๘๐ พรรษา วันนี้พูดง่าย ๆ ก็ว่า

“โอ๊ย ! ขันธ์นี้เหลือทนแล้ว ลาเสียทีเถอะ !” อันเป็นการปลงพระทัยว่าจะทรงปลงพระชนมายุสังขาร จากนี้ไปอีกสามเดือนจะทรงสลัดปัดทิ้งภูเขาภูเรานี่เสียที ทรงตรึกในวันเพ็ญเดือนสามเช่นนี้ ในวันเพ็ญเดือนสามนั้นเองปรากฏว่า ยังมีพระสาวก ๑,๒๕๐ องค์ ต่างองค์ต่างมาด้วยอัธยาศัยน้ำใจของตัวเอง ซึ่งไม่ต้องถูกเชื้อเชิญนิมนต์มาแม้แต่องค์เดียว มารวมกันในวันนั้นโดยพร้อมเพรียง จึงได้ประทานพระโอวาท เป็น วิสุทธิอุโบสถ ขึ้น ให้บรรดาสาวกอรหันต์ทั้งหลายเป็นเครื่องรื่นเริงในธรรมของพระพุทธเจ้าที่ประทานในวันนั้น ในบทความย่อ ๆ ว่า


สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาป ความเศร้าหมองอันเป็นความทุกข์ทั้งปวง หนึ่ง ... จะทำด้วยวิธีใด ใจจึงจะไม่เศร้าหมอง ? กุสะลัสสูปะสัมปะทา จงยังความฉลาดให้ถึงพร้อม เพื่อจะแก้ไข เพื่อซักฟอกความเศร้าหมอง คือ “บาป” นั้นออกจากใจ แล้วกลายเป็น สะจิตตะปะริโยทะปะนัง ขึ้นมา คือใจจะผ่องใส... นี่คือพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ อะนูปะวาโท อย่าไปกล่าวไม่ดีกับผู้หนึ่งผู้ใด อะนูปะฆาโต อย่าฆ่า อย่าทำลาย หรือทำร้ายสัตว์ มนุษย์ ไม่ดี ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร สำรวมอยู่ในข้ออรรถข้อธรรมที่จะเป็นเครื่องถอดถอนกิเลส มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง ให้รู้จักประมาณในการกินอยู่พูวาย อย่าให้ฟุ่มเฟือยจนเกินเหตุ สำหรับนักปฏิบัติให้รู้จักประมาณในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับตน ปันตัญจะสะยะนาสะนัง ให้แสวงหาที่นั่งที่นอนอันสงัด เพื่อกำจัดกิเลสด้วยความวิเวกนั้น ๆ อะธิจิตเต จะ อาโยโค พึงประกอบจิตให้ยิ่งในอรรถธรรม ด้วยสติปัญญาไปโดยลำดับ

นี่เป็นพระโอวาทที่ประทาน เป็นเครื่องรื่นเริงแก่บรรดาพระสาวกอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ในเวลาบ่ายซึ่งคล้ายกับวันนี้ พระโอวาททั้งหมดนั้นเป็นเครื่องรื่นเริงสำหรับสาวกอรหันต์เหล่านั้น ไม่ใช่แสดงเพื่อให้ท่านเหล่านั้นยึดเป็นเครื่องมือ เพื่อซักฟอกกิเลส หรือนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสาสวะออกจากจิตใจแต่อย่างใด เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ล้วน ๆ แล้วทั้งนั้น จึงเรียกว่า “วิสุทธิอุโบสถ” ที่ประทานพระโอวาทในท่ามกลางพระสาวกอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์นี้ก็เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ปรากฏอีกเลยในศาสนาของพระพุทธเจ้า ทั้งตอนที่ยังทรงพระชนม์อยู่และเวลาที่ปรินิพพานไปแล้ว และตลอดไปคงไม่มีซ้ำอีก

ที่เราระลึกถึงท่านเหล่านั้น ก็เพราะท่านเป็น “อัจฉริยบุคคล” เป็นบุคคลอัศจรรย์ ในท่ามกลางแห่งมนุษย์ทั่วโลกที่ล้วนเป็นผู้มีกิเลสโสมม หมักหมมอยู่ภายในใจ ไม่ปรากฏแม้คนหนึ่งจะบริสุทธิ์อย่างท่าน

เมื่อขยายความออกก็มีเท่านี้ นี่เป็นพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่ประทานไว้ ...

ถึงวันเพ็ญเดือนหก ก็เป็นวันปลงสังขารตามที่ทรงประกาศไว้ ตั้งแต่วันเพ็ญเดือนสามซึ่งคล้ายกับวันนี้ จากนั้นมาเรื่องธาตุเรื่องขันธ์สิ่งบังคับก่อกวน ก็หมดสิ้นไปจากพระพุทธเจ้า เป็น “อนุปาทิเสสนิพพาน” ล้วน ๆ หมดความกังวล หมดความรับผิดชอบในสมมุติทั้งปวง ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย นี่เรียกว่า “ธรรมเหนือโลก” “ธรรมสุดส่วน”...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 19-02-2016 เมื่อ 09:58
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #325  
เก่า 24-02-2016, 14:53
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default


วัดแตกสาแหรกขาด

หลวงปู่หล้าเล่าเหตุการณ์ครั้งสำคัญในระยะนั้นโดยละเอียดต่อไปว่า

“ ...เมื่อองค์ท่านพระเถระเหล่านี้ต่างก็มีศรัทธา มารวมกันในยามออกพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือดังกล่าวแล้ว ในเรื่องหลวงปู่.. องค์ท่านชราพาธเพิ่มทวีขึ้นก็ประชุมปรึกษากัน ส่วนหลวงปู่กงมายืนยันทางเดียวด้วยน้ำใสใจจริงว่า ‘ควรนิมนต์หลวงปู่พักวิเวกวัดป่าบ้านม่วงไข่ก่อน’ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่เป็นหลายครั้ง


ส่วนองค์หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่อ่อน หลวงปู่ฝั้น พระอาจารย์กู่ พระอาจารย์มหาทองสุก พระอาจารย์มหาบัว พระอาจารย์กว่าเหล่านี้ ตามพฤติการณ์ไม่ได้จ้ำจี้จ้ำไช กราบเท้าเรียนแล้วแต่องค์หลวงปู่จะสะดวก แต่ก็ไม่ขัดขวางหลวงปู่กงมาด้วยประการใด ๆ อะไรนัก ตกลงองค์หลวงปู่มั่นก็รับไปแบบจำใจ

ตื่นขึ้นเป็นวันใหม่ไปบิณฑบาตแต่เช้า ฉันเสร็จแล้วก็เตรียมตัวโกลาหล แล้วลูกศิษย์ที่ขอนิสัยด้วยประจำวัดหลวงปู่มั่นก็แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกที่ไปก่อนให้ไปก่อนแต่เฉพาะผู้มีข้อวัตรจำเป็นอันเว้นไม่ได้ซึ่งเกี่ยวกับองค์หลวงปู่ ให้ไปสามองค์ก่อนคือ ๑. ครูบาวัน ๒. ข้าพเจ้า ๓. พระสีหา เท่านั้น ในข้อนี้พระอาจารย์มหาบัวเป็นผู้แต่ง เพราะพระเถระนอกนั้นจำพรรษาอยู่ต่างถิ่น พระอาจารย์มหาบัวและหลวงตาทองอยู่ ให้ควบคุมหมู่ผู้อยู่ข้างหลังไปพลางก่อน เพราะการตัดเย็บจีวรก็ยังไม่เสร็จสิ้นเท่าไรนัก เพราะจุก ๆ จิก ๆ กับงานฉุกเฉินหลายด้าน วัดแตกสาแหรกขาด

ฝ่ายพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่มาต่างทิศก็ยกทัพไปพร้อมกองหน้าหมด เงียบเหงาเย็นเงียบ ออกเดินทาง ๓ โมงเช้า เอาแคร่มาหามหลวงปู่ทั้งพระทั้งโยมประมาณ ๒๐๐ คน หามไปตามทางเกวียนผ่านบ้านหนองผือไปทางทิศตะวันตก ค่อยเดินไปเท้าต่อเท้าแล้วเลี้ยวขวาโค้งตรงไป อ. พรรณานิคม

อนิจจาเอ๋ย.. บ้านหนองผือเศร้าโศกโศกา น้ำตาหลั่งไหล เพราะเอาองค์มิ่งขวัญเขาหนีไกลไปจากถิ่นบ้านเขา สารพัดผู้จะคร่ำครวญรำพันพิไรเสมือนพากันตายไป.. เงียบไปทั้งบ้าน

พอผ่านบ้านหนองผือไปประมาณ ๒ กิโลเมตร องค์หลวงปู่พูดเย็น ๆ ขึ้นว่า ‘พากันหามไปปิ้งไปเผาที่ไหนหนอ !’ ..

(ในตอนนั้น) ครูบาวันและคุณสีหาได้กระติกน้ำองค์ละลูกสะพายออก (ไป) ก่อน พวกที่หามแคร่ไปไกลกันกว่า ๑๐ วา ครูบาอาจารย์ทั้งหลายก็เดินออกหน้า พวกที่หามแคร่ไปไกลกว่านั้นเป็นลำดับ ส่วนพวกตามหลังแคร่ไปก็เป็นระยะ ๆ เป็นทิวแถว ส่วนพวกเกวียนที่ขนของก็ตามหลัง บาตรบริขารโยมสะพายเอาหมดแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้แทรกแซงโยมเข้าใกล้ที่หามได้

ข้าพเจ้าไม่ได้หามใส่บ่าหรอก เป็นเพียงเอามือขวาจับชู เอียงตัวซิกแซ็กเดินไป โยมเขาหาม.. เขาเอาผ้าผูกเป็นงวงสะพายบ้าง เอามือจับคนละมือบ้างเพราะมากคน บางแห่งก็หย่อนลง บางแห่งก็ยกขึ้นเพราะดินสูงต่ำ ที่ไหนหญ้ารกปกคลุมทางเพียงเข่าและแข้งขาก็เรียบร้อยไปหมด เพราะคนนั้นเหยียบบ้าง คนนี้เหยียบบ้าง ..

ได้ทางพอควรก็พักดื่มน้ำ องค์หลวงปู่ดื่ม ๒ – ๓ จิบแล้วนอนตะแคงข้างขวาอยู่บนแคร่ที่ปลงวางไว้.. พักประมาณสิบหรือสิบห้านาทีโดยคาดคะเนก็เดินทางต่อ พอถึงทุ่งนาแห่งหนึ่งเป็นหนทางมีตมโคลนเลอะเทอะ และจวนแจจะค่ำมืด ไม่มีทางเว้น แต่ที่นาเขา.. ข้าวเขากำลังจะพอเกี่ยว เขามีศรัทธาไขรั้ว รื้อรั้วออกให้ฝ่าเหยียบข้าวไป

คนทั้ง ๒๐๐ กว่าฝ่าตะลุยข้าวไปจนสุดทุ่งนาเขา จึงได้ลัดใส่หนทางอันพ้นโคลนตม ข้าวก็ล้มไปเรียบร้อยพร้อมทั้งหล่น พร้อมทั้งขาด นับว่าศรัทธาเขาเกิดขึ้นสด ๆ แก้ปัญหาซึ่งหน้าได้โดยสุจริตใจ จะหาได้ยากในสมัยนี้และเป็นข้าวที่กอโตและเป็นรวงโต เมล็ดโตด้วย การเสียหายอย่างน้อยก็ไม่ต่ำว่าหกร้อยกิโลกรัม เรียกว่าบุญองค์หลวงปู่เป็นปาฏิหาริย์อยู่ในตัวแล้ว ..

ขณะที่กำลังจะแวะผ่านข้าวเขานั้น พระมหาเถระได้พูดกันว่า ‘ไม่ควรเอาองค์หลวงปู่ไปพักม่วงไข่ เพราะเป็นวัดร้างมาหลายปี มีต้นไม้ทึบมาก อากาศไม่โปร่ง และเดี๋ยวนี้ก็ค่ำแล้ว และองค์หลวงปู่เล่าอาการก็หนักเข้า เพราะจะอ่อนเพลียในการหามมาข้ามป่าโคกดง ก๊อก ๆ แก๊ก ๆ’

จึงตกลงแวะบ้านกุดก้อม (ดงภู่ก็ว่า) เป็นวัดป่าพระอาจารย์กู่ พอถึงที่นั่นก็หนึ่งทุ่มกว่า ๆ โดยประมาณ อาการหลวงปู่ก็หนักขึ้นทวีมาก ต่อรุ่งเช้าจึงเบาลงบ้าง

ในวันนั้นฉันจังหันแล้ว มีพระองค์หนึ่งจะไปตัดช่องกระดานศาลาใกล้ที่พักป่วยขององค์หลวงปู่ เพื่อให้เป็นช่องขององค์หลวงปู่ถ่ายอาจม องค์หลวงปู่ปรารภดัง ๆ ขึ้นว่า ‘อย่ามาทำเลย ท่านหล้าเธอกำกับของเธอประจำอยู่ มาทำแล้วก็ไม่ถูกความประสงค์ของเธอดอก’

ในระหว่างพักอยู่วัดป่ากุดก้อม คือบ้านภู่หรือว่าดงบ้านภู่ก็เรียกกันหลายอย่าง มีพระเถระมาเพิ่มขึ้นอีกคือ ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ จ. อุดรฯ พระอาจารย์สีลา วัดป่าบ้านวา อ. วานรนิวาส จ. สกลนคร รวมพระเณรทั้งหมด ๔๐ รูป และมาพักได้ ๓ คืน พระอาจารย์มหาบัวก็ทิ้งบ้านหนองผือมา และหมู่ทั้งหลายก็ทยอยจากมา จากบ้านหนองผือได้ ๑๑ วัน ครูบาทองคำก็มากับหมู่อีก เหลือแต่หลวงตาทองอยู่องค์เดียว ส่วนองค์หลวงปู่มั่นก็ป่วยหนักเข้า ๆ พักอยู่ที่นั้นได้ ๑๑ คืน ...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-02-2016 เมื่อ 18:58
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #326  
เก่า 02-03-2016, 14:41
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พาผมไปสกลนครให้จงได้

กล่าวถึงเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลังจากองค์หลวงตากลับจากวิเวกมาถึงวัดแล้วนั้น หลวงปู่มั่นได้เล่าให้ฟังว่า ท่านเริ่มป่วยตั้งแต่ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ท่านว่าเริ่มป่วยคราวนี้ไม่เหมือนกับคราวใด ๆ ซึ่งแต่ก่อนเวลาท่านป่วย ถ้ามีผู้นำยาไปถวายท่าน ท่านก็ฉันให้บ้าง มาคราวนี้ท่านห้ามการฉันยาโดยประการทั้งปวงแต่ขึ้นเริ่มแรกป่วย โดยให้เหตุผลว่า การป่วยคราวนี้ไม่มีหวังได้รับประโยชน์อะไรจากยา เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ตายยืนต้นอยู่เท่านั้น ธาตุขันธ์ที่แก่ชราภาพขนาดนี้แล้วย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกัน.. หยูกยาจึงไม่เป็นผลอะไรกับโรคคนแก่ ดังนี้

“... ท่านว่า แม้ท่านจะห้ามยามิให้นำมาเกี่ยวข้องกับท่าน แต่ก็ทนต่อคนหมู่มากไม่ไหว คนนั้นก็จะให้ท่านฉันยานั้น คนนี้ก็จะให้ท่านฉันยานี้ คนนั้นจะฉีด คนนั้นจะฉัน หนักเข้าท่านก็จำต้องปล่อยตามเรื่อง มีคนมากราบเรียนถามเรื่องยาถูกกับโรคของท่านหรือไม่... ท่านก็นิ่ง ไม่ตอบโดยประการทั้งปวง เมื่ออาการของท่านหนักจวนตัวเข้าจริง ๆ ท่านก็บอกกับคณะลูกศิษย์ ทั้งพระและญาติโยมว่า

จะให้ผมตายในวัดป่าหนองฝือนี้ไม่ได้ เพราะผมน่ะตายเพียงคนเดียว แต่ว่าสัตว์ที่ตายตามเพราะผมเป็นเหตุจะมีจำนวนมากมาย เพราะฉะนั้น ขอให้นำผมออกจากที่นี้ไปจังหวัดสกลนคร เพื่อให้อภัยแก่สัตว์ซึ่งมีจำนวนมาก อย่าให้เขาพลอยทุกข์และตายไปด้วยเลย ที่โน้นเขามีตลาดซึ่งมีการซื้อขายกันอยู่แล้ว ไม่มีทางเสียหายซึ่งเนื่องจากการตายของผม


พอท่านพูดและให้เหตุผลอย่างนั้น ทุกคนต้องยอมทำตามความเห็นของท่าน จึงเตรียมแคร่ที่นอนมาถวาย และอาราธนานิมนต์ท่านขึ้นนอนบนแคร่ แล้วพร้อมกันหามท่านออกไปในวันรุ่งขึ้น พอถึงวัดป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครแล้ว ก็พาท่านพักแรมค้างคืนอยู่ที่นั้นหลายคืน ท่านก็คอยเตือนเสมอว่า

‘ทำไมพาผมมาพักค้างคืนที่นี่ล่ะ ผมเคยบอกแล้วว่าจะไปจังหวัดสกลนคร ก็ที่นี่ไม่ใช่สกลนคร’


ท่านว่าเมื่อจวนตัวเข้าจริง ๆ ในสามคืนสุดท้าย ท่านไม่ค่อยจะพักนอนแต่คอยเตือนให้รีบพาท่านไปสกลนครเสมอ เฉพาะคืนสุดท้ายไม่เพียงแต่ไม่หลับไม่นอนเท่านั้น ยังต้องบังคับว่า ‘ให้รีบพาผมไปสกลนครในคืนวันนี้จงได้ อย่าขืนเอาผมไว้ที่นี่เป็นอันขาด

ท่านพูดย้ำแล้วย้ำเล่าอยู่ทำนองนั้น แม้ที่สุดท่านจะนั่งภาวนา ท่านก็สั่งว่า ‘ให้หันหน้าผมไปทางจังหวัดสกลนคร’

ที่ท่านสั่งเช่นนั้นเข้าใจว่า เพื่อให้เป็นปัญหาอันสำคัญแก่คณะลูกศิษย์ จะได้ขบคิดถึงคำพูดและอาการที่ท่านทำอย่างนั้น ว่ามีความหมายแค่ไหนและอย่างไรบ้าง ? พอตื่นเช้าจะเป็นเพราะเหตุไรก็สันนิษฐานยาก เผอิญชาวจังหวัดสกลนครซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน พร้อมกันเอารถยนต์มารับท่าน ๓ คัน แล้วอาราธนานิมนต์ให้ท่านไปจังหวัดสกลนคร ท่านก็เมตตารับทันทีเพราะท่านเตรียมตัวจะไปอยู่แล้ว ก่อนจะขึ้นรถยนต์ หมอได้ไปฉีดยานอนหลับให้ท่าน จากนั้นท่านก็นอนหลับไปตลอดทาง จนถึงวัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร…”

เหตุการณ์ในตอนนี้ หลวงปู่หล้าได้บันทึกไว้ว่า

“...ตื่นเช้าชาวสกลนครตลอดถึงคุณหมอ แพทย์ใหญ่ในสกลนครก็มาถึงแต่เช้าตรู่ ชาวสกลนครกราบเท้าเรียนถวายวิงวอนว่า ‘ขอนิมนต์ให้ไปพักวัดป่าสุทธาวาส’


นิมนต์วิงวอนถึง ๓ – ๔ ครั้งติด ๆ กัน องค์หลวงปู่ปรารภว่า ‘เออ หามศพตกป่าช้าหนอ ไม่มีวันได้หามคืน บัดนี้มาถูกเราแล้ว’

องค์หลวงปู่กล่าวต่อไปว่า ‘ถ้าไปก็ลำบากอีกละ’ เพราะลูกศิษย์ก็มาต่างทิศ มากเข้า ๔๐ องค์รวมทั้งเก่าใหม่ เขากราบเรียนว่า ‘มากน้อยเท่าไรก็ตามขอรับ จะเอารถขนวันยันค่ำนั่นแหละ’

แท้จริงสมัยนั้นมีรถวิ่งไปมาจากสกลนคร – อุดรธานี ๒ – ๓ คัน กับรถกรมทางคันหนึ่ง หนทางก็เป็นหินลูกรังปูถี่ ๆ ห่าง ๆ ลัก ๆ ลั่น ๆ ยังไม่เรียบร้อยได้...”

การที่หลวงปู่มั่นเร่งให้พาเข้าสกลนครโดยเร็ว แต่ครั้นเมื่อแพทย์และชาวสกลนครมากราบนิมนต์วิงวอนถึงองค์ท่านเองแล้ว หลวงปู่มั่นท่านก็มีทีท่านิ่ง ๆ แต่กลับมีลักษณะห่วงใยพระเณร ฆราวาส ศิษย์ผู้ติดตามทั้งหลาย ว่าจะเดินทางกันอย่างไรได้ครบถ้วน และทันกับปัจฉิมกาลของท่านอีกด้วย เพราะสมัยนั้นขาดแคลนรถบริการ การรับส่งพระ ฆราวาสขนาดนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าเดินไปก็คงต้องใช้เวลาอีกยาวนาน อาจไม่ทันการณ์ เมื่อหลวงปู่มั่นกล่าวขึ้นในลักษณะนี้ คณะชาวสกลนครจึงขานรับในทันที ความมุ่งหมายของหลวงปู่มั่นจะไปสกลนครให้จงได้ จึงบรรลุผลทันกาลพร้อมลูกศิษย์ทั้งมวล หลวงปู่หล้ากล่าวถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ต่อไปว่า

“... แล้วก็กราบเท้าเรียนถวายให้องค์หลวงปู่ฉันอาหาร องค์หลวงปู่ก็นั่งฉันได้อยู่ ไม่ได้พยุงชู ฉันประมาณ ๕ – ๖ คำเล็กแห่งอาหารเหลว ๆ ที่ซดด้วยช้อน ครั้งเสร็จแล้วคุณหมอใหญ่ จ. สกลนครก็ฉีดยานอนหลับให้ ด้วยการขออนุญาต ๔ – ๕ ครั้ง องค์หลวงปู่ก็ยอมให้ฉีดแบบฝืน ๆ แล้วก็เตรียมตัวออกเดินทางโกลาหล


.. แล้วเอาแคร่มาหามองค์หลวงปู่ข้ามทุ่ง องค์หลวงปู่นอนตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกัน หามข้ามทุ่งไปสู่ถนน ไกลประมาณเกือบกิโลเมตรจึงถึงถนน แล้วเอาองค์หลวงปู่ขึ้นรถกรมทาง เอานอนด้านหน้า

ครูบาวัน อาจารย์วิริยังค์ ข้าพเจ้า คุณสีหา ก็ไปขบวนกองหน้า ส่วนหลวงปู่ก็นอนนิ่งไม่กระดิกพลิกไหวตัวอะไรเลย ปรากฏแต่ลมเข้าออกแบบเบา ๆ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-03-2016 เมื่อ 20:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #327  
เก่า 04-03-2016, 18:22
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พอถึงวัดป่าสุทธาวาสแล้ว ก็หามองค์หลวงปู่ขึ้นกุฏิพิเศษหลังหนึ่งอันมีระเบียงรอบทั้งสี่ด้าน มุงกระดานกั้นฝา มีประตูเข้าห้องนอนสองทาง มีหน้าต่างบริบูรณ์ รอบ ระเบียงนอกมีลูกกรง ห้องนอนนั้นกว้างประมาณ ๓ เมตร ปริมณฑลระเบียงโดยรอบสามด้านนั้น กว้างประมาณ ๒.๕๐ เมตร ส่วนด้านหน้านั้นกว้างประมาณ ๔ เมตรหรือ ๕ เมตรนี้แหละ เพราะเป็นกุฏิ ๒ ห้อง แล้วก็มีระเบียงรอบสี่ด้าน แล้วกั้นห้องหนึ่งเป็นห้องนอน

แล้วครูบาอาจารย์ต่างทิศก็แตกตื่นกันมาเป็นระยะ ๆ องค์หลวงปู่สิงห์ โคราช หลวงปู่บุญหลาย หลวงปู่สาร พระอาจารย์เกิ่ง พระอาจารย์สิม ตลอดพระหนุ่มเณรน้อย ฝ่ายปฏิบัติหลั่งไหลเข้ามาเป็นลำดับ ไม่สามารถจะบอกชื่อลือนามได้

แล้วก็เอาองค์หลวงปู่เข้าห้องนอนตะแคงข้างขวา พอตกเวลาประมาณ ๖ โมงเย็น หลวงปู่กงมาบอกว่า ‘ท่านทองคำ ท่านหล้า ท่านสีหา พากันบอบโบยหิวนอนมานานแล้ว จงพากันรีบนอนอยู่ระเบียงนี้แต่หัวค่ำเสีย พระอาจารย์ฝั้นกับผมจะช่วยเฝ้าในห้ององค์หลวงปู่ ส่วนท่านวัน เขาพักกุฏิหนึ่งกับวิริยังค์กับท่านเนตรแล้ว ส่วนท่านมหาบัวพักรุกขมูลร่มไม้ในวัด เธอเร่งความเพียร เกรงหลวงปู่จะสิ้นลมก่อน’ ..”

องค์หลวงตาได้เล่าถึงเหตุการณ์สำคัญในช่วงนี้ต่อไปว่า “...เวลา ๐๑.๐๐ น. ท่านก็เริ่มตื่น พอตื่นจากหลับแล้ว จากนั้นท่านก็เริ่มทำหน้าที่เตรียมลา ภารา หเว ปัญจักขันธา ขันธ์ห้าเป็นภาระหนัก จะมรณภาพ...

ก่อนหน้า (มรณภาพ) ประมาณ ๒ ชั่วโมงเศษ ท่านนอนท่าตะแคงข้างขวา แต่เห็นว่าท่านจะเหนื่อยมาก เพราะนอนท่านี้มานาน จึงพากันเอาหมอนที่หนุนอยู่หลังท่านถอยออก เลยกลายเป็นท่านอนหงายไป พอท่านทราบก็พยายามขยับตัวหมุนกลับ จะนอนท่าตะแคงข้างขวาตามเดิม พระเถระผู้ใหญ่ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านก็พยายามเอาหมอนหนุนหลังท่านเข้าไปอีก ท่านเองก็พยายามขยับ ๆ เช่นเดียวกัน เมื่อเห็นอาการของท่านอ่อนเพลียมาก และหมดเรี่ยวแรงก็เลยหยุดไว้แค่นั้น

ดังนั้นการนอนของท่านจะว่านอนหงายก็ไม่ใช่ จะว่านอนตะแคงข้างขวาก็ไม่เชิง เป็นอาการเพียงเอียง ๆ อยู่เท่านั้น ทั้งเวลาของท่านก็จวนเข้ามาทุกที บรรดาศิษย์ก็ไม่กล้าแตะต้องกายท่านอีก จึงปล่อยท่านไว้ตามสภาพ คือท่านนอนท่าเอียง ๆ จนถึงเวลา ซึ่งเป็นความสงบอยู่ตลอดเวลา

ในวาระสุดท้ายนี้ ต่างก็นั่งสังเกตลมหายใจของท่านแบบตาไม่กะพริบไปตาม ๆ กัน การนั่งของพระที่มีจำนวนมากในเวลานั้นต้องนั่งเป็นสองชั้น คือชั้นใกล้ชิดกับท่าน และชั้นถัดกันออกมา ชั้นในก็มีพระผู้ใหญ่ มีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นต้น ชั้นนอกก็เป็นพระที่มีพรรษาน้อย แล้วถัดกันออกไปก็เป็นพระนวกะและสามเณร บรรดาพระ ทั้งพระเถระและรองลำดับกันลงมาจนถึงสามเณร

ในขณะนั้น รู้สึกจะแสดงความหมดหวังและหมดกำลังใจไปตาม ๆ กัน แต่ไม่มีใครกล้าปริปากออกมา นอกจากมีแต่อาการที่เต็มไปด้วยความหมดหวังและความเศร้าสลดเท่านั้น เพราะร่มโพธิ์ใหญ่มีใบหนาซึ่งเคยเป็นที่อาศัยและร่มเย็นอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน กำลังถูกพายุจากมรณภัยคุกคาม จะหักโค่นพินาศใหญ่ขณะนั้นอยู่แล้ว การทำหน้าที่ของท่านก็กำลังเป็นไปแบบมองดูแล้วหลับตาไม่ลงทั้งท่านผู้อื่นและเรา

ขณะที่ท่านจะสิ้นลมจริง ๆ รู้สึกว่าอาการทุกส่วนของท่านอยู่ในความสงบ และละเอียดมากจนไม่มีใครจะสามารถทราบได้ว่า ท่านสิ้นลมไปในขณะใดนาทีใด เนื่องจากลมหายใจของท่านละเอียดเข้าเป็นลำดับ จนไม่ปรากฏว่าท่านสิ้นไปเมื่อไร เพราะไม่มีอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งแสดงอาการในวาระสุดท้ายพอให้ทราบได้ว่าท่านสิ้นไปในวินาทีนั้น แม้จะพากันนั่งสังเกตอยู่เป็นเวลานานก็ไม่มีใครรู้ขณะสุดท้ายของท่าน

ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ซึ่งเป็นประธานอยู่ในที่นั้นเห็นท่าไม่ได้การ จึงพูดขึ้นว่า ‘นี่ไม่ใช่ท่านสิ้นไปแล้วหรือ ?’

จากนั้นท่านก็ดูนาฬิกาเป็นเวลา ๐๒.๒๓ น. จึงได้ยึดเอาเวลานั้นเป็นเวลามรณภาพของท่าน...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2016 เมื่อ 19:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #328  
เก่า 14-03-2016, 17:15
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เหตุการณ์ในครั้งนั้น องค์หลวงตาเองพยายามสอดศีรษะเข้าไป เพื่อเฝ้าสังเกตดูภาพหลวงปู่มั่นนิพพานอย่างละเอียดลออในขณะที่จวนเจียนเต็มที่แล้วดังนี้

“...พระอรหันต์นิพพานนี้ไม่รู้นะ ดูพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นเราละจ้อใหญ่ ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ก็มี เช่นอย่างหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เทสก์ไปอยู่ข้างใน เราเอาหัวสอดเข้าดูท่าน เวลาท่านจะสิ้นลม.. ตาเราไม่กระพริบถึงขนาดนั้นน้ำตาพุ่งเลย สลดสังเวช


คุณพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นมีคุณเหลือล้นพ้นประมาณจริง ๆ น้ำตาร่วงเลย พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นล่วงไปขนาดนั้นเลย มันไม่ทราบขาดสะบั้นลงหมดเลยนะ ตัวเองเหมือนไม่มีความดี ความดีเหมือนอยู่กับท่านหมด พอท่านสิ้นลมปั๊บเหมือนว่าโลกธาตุจมไปตาม ๆ กันเลยนะ

อำนาจคุณเหลือล้นพ้นประมาณ .. เวลาท่านจะล่วงไปอีกก็เอาอีก ดูจ้ออยู่อย่างนี้ เราตาไม่กระพริบเลย หัวจ่อดูท่าน เวลาท่านจะไปจริง ๆ ลมหายใจมาสองสามงาบ พองาบที่สามอ่อนลง จากนั้นก็เบาลง ๆ ลมหายใจเบาลง ๆ ๆ และหายเงียบเลยนะ ไม่รู้ขณะท่านสิ้นเมื่อไร ไม่รู้ รู้ตั้งแต่ตอนต้น หายใจปากงาบ ๆ สามพักเท่านั้นละ จากนั้นก็อ่อนลงแล้วเงียบไป.. ไปเลย เราเห็นต่อหน้าต่อตา แหม.. น้ำตาเพราะอำนาจแห่งคุณของท่าน

แต่ก่อนท่านไม่เคยพูดนะ อยู่ด้วยกันมาสักกี่ปีท่านไม่เคยพูดว่าจะอยู่หรือไม่อยู่ พอตอนวาระสุดท้ายนี่แหละ ‘ไปคราวนี้จะไม่กลับนะ’

เท่านั้นละ.. สะดุดเลย เราก็ดีนะ ท่านไม่เคยพูดนะ.. ไปคราวนี้จะไม่กลับล่ะ ท่านว่าไม่กลับก็คือว่าไปเลย สิ้นแล้ว

ผู้สิ้นกิเลสดับ ก็หมายถึงพระอรหันต์ดับ ไปคราวนี้จะไม่กลับ ท่านว่าเท่านั้น คำพูดคำเดียวนี่.. สะดุดจนกระทั่งทุกวันนี้...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-03-2016 เมื่อ 03:32
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #329  
เก่า 18-03-2016, 17:48
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลวงปู่มั่นมรณภาพ หัวใจแทบสลาย

ท่านมีโอกาสอยู่จำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่นโดยลำดับ ดังนี้ บ้านโคก ๑ พรรษา บ้านนามน ๑ พรรษา และแห่งสุดท้ายที่บ้านหนองผือ ๕ พรรษา สำหรับวันมรณภาพของหลวงปู่มั่นตรงกับเวลา ๒ นาฬิกา ๒๓ นาที ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร สิริรวมอายุได้ ๘๐ ปี องค์หลวงตากล่าวถึงความรู้สึกในคืนที่หลวงปู่มั่นได้ถึงแก่มรณภาพดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานดังนี้

“... ในคืนนั้นท่านมรณภาพ เวลานั้นเกิดความโกลาหลอลหม่านแบบไม่มีใครช่วยใครได้ อย่างลึกลับในสมาคมมหาวิปโยคพลัดพรากในยามดึกสงัด ต่างองค์ต่างงุ่มง่ามลูบคลำไปตามความเซ่อซ่า ลืมสติสตัง มิได้กำหนดทิศทางมืดแจ้งอะไรเลย เพราะอำนาจความเสียใจไร้ชิ้นดี ที่เกิดจากความพลัดพรากแห่งดวงประทีป ที่เคยให้ความสว่างไสวมาประจำชีวิตจิตใจได้ดับวูบสิ้นสุดลง ปราศจากความอบอุ่นชุ่มเย็นเหมือนก่อนมา


บางท่านเป็นลมราวจะสลบล้มลงสิ้นใจไปพร้อมกับขณะท่านสิ้นลม เหมือนอะไร ๆ ก็สิ้นสุดไปตามท่านเสียสิ้น ราวกับทุกสิ่งได้ขาดสะบั้นหั่นแหลกเป็นจุลวิจุณไปเสียสิ้น ราวกับโลกธาตุนี้ไม่มีอะไรเป็นสาระ พอเป็นที่เกาะของจิตผู้กำลังกระหายที่พึ่ง ได้อาศัยเกาะพอได้หายใจแม้เพียงวินาทีหนึ่งเลย

ปรากฏแต่ท่านองค์เดียวเป็นชีวิตจิตใจเพื่อฝากอรรถฝากธรรม และฝากเป็นฝากตายทุกขณะลมหายใจเอาเลย ส่วนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวก ใจก็ไม่ปรากฏว่าประมาท หากแต่ท่านอยู่ลึกตามความรู้สึกในขณะนั้น ไม่สามารถอาจเอื้อมรื้อฟื้นขึ้นมาเป็นที่พึ่ง และเป็นสักขีพยานได้อย่างใจหวัง เหมือนท่านซึ่งอยู่ตื้น ๆ ทั้งเห็น ๆ และซึมซาบถึงจิตใจอยู่ทุกขณะ ที่ท่านอบรมชี้แจงข้ออรรถข้อธรรมในเวลาสงสัยเรียนถามท่าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาชนิดใดที่ตนไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง พอท่านเมตตาอนุเคราะห์ชี้แจงให้เท่านั้น เป็นตกไปในทันทีทันใด มิได้เผาลนหัวใจอยู่ต่อไปนานเลย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-03-2016 เมื่อ 21:56
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #330  
เก่า 22-03-2016, 18:25
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

‘นี้เป็นจุดที่สลักลึกลงในหัวใจ.. ทำให้เกิดความกระเทือนใจมากเวลาท่านพลัดพรากไป นั่งรำพึงแบบคนตายที่ยังหายใจอยู่ ในชีวิตพระเพิ่งมีครั้งนี้ในชีวิต’

ตาชำเลืองไปเห็นองค์ท่านที่นอนปราศจากลมหายใจและความรู้สึกใด ๆ ด้วยความสงบทีไร.. น้ำตาร่วงพรู น้ำตาร่วงพรูอย่างไม่เป็นท่าทุกที ทางภายในลมสะอึกสะอื้นในหัวอกหนุนให้เกิดความตื้นตันขึ้นมาปิดคอหอยแทบจะไปเสียในขณะนั้น มีสติระลึกขึ้นมาชั่วขณะว่า ‘เราจะไม่ขาดใจตายไปกับท่านเดี๋ยวนี้เชียวหรือ ?’

พยายามพร่ำสอนตนว่า ท่านตายไปด้วยความหมดห่วงอาลัยอันเป็นเรื่องของกิเลสโดยสิ้นเชิง แต่เราตายไปด้วยความห่วงอาลัย.. จะเป็นข้าศึกต่อตนเอง ด้วยอาลัยเสียดาย และความตายของเราไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่เราและแก่ท่าน

เวลาท่านมีชีวิตอยู่ก็มิได้สั่งสอนให้เราคิดถึงท่านและตายกับท่านแบบนี้ แบบนี้เป็นแบบที่แฝงอยู่กับโลกที่เขาใช้กันตลอดมา

พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า ‘ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคต ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต’ ฉะนั้น ความคิดถึงแบบนี้จึงยังไม่เข้ากับธรรมเหล่านี้ได้สนิท

สิ่งที่จะเข้ากันได้สนิท คือการปฏิบัติตนตามคำสอนที่ท่านสอนไว้แล้วอย่างไรด้วยความถูกต้องแม่นยำ นั่นเป็นความคิดถึงท่านโดยถูกต้อง

แม้จะตายเพราะการฝึกทรมานตนตามหลักธรรม ก็ชื่อว่าตายอย่างถูกต้อง ควรคิดและปฏิบัติตนตามแบบนี้ จะสมกับว่าเรามาศึกษากับท่านเพื่อเหตุเพื่อผล

จึงพอได้สติสตัง คิดน้อมเอาธรรมมายับยั้งชโลมใจที่กำลังถูกมรสุมพัดผันทั้งดวง และพอมีชีวิตรอดมาได้ ไม่จมลงแบบไม่เป็นท่าเสียแต่ครั้งนั้น...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-03-2016 เมื่อ 21:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #331  
เก่า 28-03-2016, 16:12
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default


ผู้มีพระคุณสูงสุดจากไป.. อาลัยอาวรณ์สุดประมาณ

ด้วยสมาธิที่แน่นหนาและด้วยความเพียรด้านปัญญาอย่างจริงจัง ทำให้ท่านสามารถถอดถอนกิเลสออกได้เป็นลำดับ ๆ ไป จนก้าวเข้าถึงความละเอียดอ่อนของจิต และเห็นอวิชชาในจิตเป็นของอัศจรรย์ เป็นของน่ารัก.. น่าสงวน น่าติดข้อง น่าเฝ้ารักษาอยู่อย่างนั้น เป็นอัศจรรย์ทั้งวันทั้งคืน ระยะนี้อยู่ในช่วง ๔ เดือนก่อนหน้าที่หลวงปู่มั่นจะมรณภาพ

ถึงแม้สติปัญญาจะเป็นอัตโนมัติหมุนตลอดทั้งวันทั้งคืน หรือแม้จิตจะละเอียดเพียงใดแต่ยังมีภาระทางงานทางใจอยู่ ยังต้องการครูบาอาจารย์ที่เป็นที่ลงใจ และสามารถช่วยชี้แนะจุดสำคัญที่กำลังติดอยู่นี้ให้ผ่านพ้นไปได้ การมรณภาพของหลวงปู่มั่นจึงทำให้เกิดความสลดสังเวชแก่ท่านอย่างเต็มที่ ดังนี้

“... วันท่านอาจารย์มั่นมรณภาพ ได้เกิดความสลดสังเวชอย่างเต็มที่ จากความรู้สึกว่าหมดที่พึ่งทางใจแล้ว เพราะเวลานั้นใจก็ยังมีอะไร ๆ อยู่ และเป็นความรู้ที่ไม่ยอมจะเชื่ออุบายของใครง่าย ๆ ด้วย


เมื่อชี้ไม่ถูกจุดสำคัญที่เรากำลังติดและพิจารณาอยู่ได้อย่างท่านอาจารย์มั่นเคยชี้ ซึ่งเคยได้รับผลจากท่านมาแล้ว ทั้งเป็นเวลาเร่งความเพียรอย่างเต็มที่ด้วย

ฉะนั้น เมื่อท่านอาจารย์มั่นมรณภาพแล้วจึงอยู่กับหมู่คณะไม่ติด คิดแต่จะอยู่คนเดียวเท่านั้น จึงพยายามหาที่อยู่โดยลำพังตนเองและได้ตัดสินใจว่า จะอยู่คนเดียวจนกว่าปัญหาของหัวใจทุกชนิดจะสิ้นสุดลงจากใจโดยสิ้นเชิง จึงยอมรับและอยู่กับหมู่เพื่อนต่อไปตามโอกาสอันสมควร...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-03-2016 เมื่อ 21:58
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #332  
เก่า 31-03-2016, 18:09
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เมื่อการมรณภาพของหลวงปู่มั่นผ่านไป ผู้คนที่อยู่แวดล้อมเรือนร่างองค์หลวงปู่มั่นก็เริ่มเบาบางลง

โอกาสเช่นนั้น ท่านจึงเข้าไปกราบที่เท้า และนั่งรำพึงรำพันปลงความสลดใจสังเวช.. น้ำตาไหลนองอยู่ปลายเท้าเกือบ ๒ ชั่วโมง พร้อมทั้งพิจารณาธรรมในใจของตนเองกับโอวาทที่หลวงปู่มั่นให้ความเมตตา.. อุตส่าห์สั่งสอนมาเป็นเวลาถึง ๘ ปีที่อาศัยอยู่กับท่านว่า

“... การอยู่เป็นเวลานานถึงเพียงนั้น แม้คู่สามีภรรยาซึ่งเป็นที่รักยิ่ง หรือลูก ๆ ผู้เป็นที่รักของพ่อแม่ อยู่ด้วยกัน ก็จะต้องมีข้อข้องใจต่อกันเป็นบางกาล แต่ท่านอาจารย์กับศิษย์ที่มาพึ่งร่มเงาของท่าน เป็นเวลานานถึงเพียงนี้ ไม่เคยมีเรื่องใด ๆ เกิดขึ้น


ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งเป็นที่เคารพรักและเลื่อมใสหาประมาณมิได้ ท่านก็ได้จากเราและหมู่เพื่อนผู้หวังดีทั้งหลายไปเสียแล้วในวันนั้น

อนิจจา วต สังขารา เรือนร่างของท่านนอนสงบนิ่งอยู่ด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสและอาลัยยิ่งกว่าชีวิต จิตใจซึ่งสามารถสละแทนได้ด้วยความรักในท่านกับเรือนร่างของเราที่นั่งสงบกาย.. แต่ใจหวั่นไหวอยู่ด้วยความหมดหวัง และหมดที่พึ่งต่อท่านผู้จะให้ความร่มเย็นต่อไป

ทั้งสองเรือนร่างนี้รวมลงในหลักธรรมคือ อนิจจา อันเดียวกัน ต่างก็เดินไปตามหลักธรรมคือ อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เกิดแล้วต้องตาย จะให้เป็นอื่นไปไม่ได้

ส่วนหลวงปู่มั่น ท่านเดินแยกทางสมมติทั้งหลายไปตามหลักธรรมบทที่ว่า เตสัง วูปสโม สุโข ท่านตายในชาติที่นอนสงบ ให้ศิษย์ทั้งหลายปลงธรรมสังเวชชั่วขณะเท่านั้น

ต่อไปท่านจะไม่มาเป็นบ่อแห่งน้ำตาของลูกศิษย์เหมือนสมมติทั่ว ๆ ไป เพราะจิตของท่านที่ขาดจากภพชาติ เช่นเดียวกับหินที่หักขาดจากกันคนละชิ้น จะต่อให้ติดสนิทกันอีกทีไม่ได้ ฉะนั้น...”

ท่านนั่งรำพึงรำพันอยู่ด้วยรู้สึกหมดหวังในใจว่า “ปัญหาทั้งหมดภายในใจที่เคยปลดเปลื้องกับท่าน บัดนี้เราจะไปปลดเปลื้องกับใคร ? และใครจะมารับปลดเปลื้องปัญหาของเราให้สิ้นซากไปได้เหมือนอย่างท่านอาจารย์มั่นไม่มีแล้ว

เป็นกับตายก็มีเราคนเดียวเท่านั้น เช่นเดียวกับหมอที่เคยรักษาโรคเราให้หายไม่รู้กี่ครั้ง ชีวิตเราอยู่กับหมอคนเดียวเท่านั้น แต่หมอผู้ให้ชีวิตเรามาประจำวันก็ได้สิ้นไปแล้วในวันนี้ เราจึงกลายเป็นสัตว์ป่าเพราะหมดยารักษาโรคภายใน”

เมื่อนั่งอาลัยอาวรณ์ถึงหลวงปู่มั่นด้วยความเคารพรักและเลื่อมใส พร้อมทั้งรู้สึกหมดหวังที่พึ่งทางใจระคนกันไป แต่แล้วท่านก็กลับได้อุบายต่าง ๆ ขึ้นมาในขณะนั้นว่า
“... วิธีการสั่งสอนของท่านเวลามีชีวิตอยู่.. ท่านสั่งสอนอย่างไร ? ต้องจับเงื่อนนั้นแลมาเป็นครูสอน และท่านอาจารย์มั่นเคยย้ำว่า ‘อย่างไรอย่าหนีจากรากฐาน คือผู้รู้ภายในใจ เมื่อจิตมีความรู้สึกแปลก ๆ ซึ่งจะเกิดความเสียหาย ถ้าเราไม่สามารถพิจารณาความรู้ประเภทนั้นได้ ให้ย้อนจิตเข้าสู่ภายในเสีย อย่างไรก็ไม่เสียหาย’ …”


หลวงปู่มั่นสอนไว้อย่างนี้ ท่านก็จับเอาเงื่อนนั้นไว้ แล้วนำไปปฏิบัติต่อตนเองจนเต็มความสามารถ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-04-2016 เมื่อ 03:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #333  
เก่า 07-04-2016, 11:47
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ข่าวหลวงปู่มั่นกระจายทั่วประเทศ

ท่านเล่าถึงบรรยากาศในช่วงเตรียมงานฌาปนกิจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะความดีงามและความพร้อมเพรียงสามัคคีของพี่น้องชาวสกลนคร ทำให้ท่านฝังลึกลงสู่จิตใจอย่างไม่มีวันหลงลืมได้เลย ดังนี้

“... พอรุ่งเช้า ทั้งพระผู้ใหญ่ ทั้งข้าราชการทุกแผนกในตัวจังหวัด ทราบข่าวมรณภาพของท่านอาจารย์ ต่างก็รีบออกมากราบเยี่ยมศพท่าน และปรึกษาหารือกิจกรรมเกี่ยวกับศพท่าน ว่าจะควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อความเหมาะสม และเป็นการถวายเกียรติโดยควรแก่ฐานะท่าน
ที่เป็นพระอาจารย์องค์สำคัญ ที่ประชาชนเคารพเลื่อมใสมากแทบทั่วประเทศไทย พร้อมกับนำเรื่องท่านไปออกข่าวทางวิทยุและหนังสือพิมพ์ เพื่อประชาชนที่เป็นลูกศิษย์และผู้ที่เคารพเลื่อมใสท่าน ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกลได้ทราบโดยทั่วกัน

พอข่าวท่านมรณภาพกระจายไปถึงไหน ทั้งประชาชนและพระเณรทั้งใกล้และไกล ต่างพากันหลั่งไหลมากราบเยี่ยมศพท่านถึงที่นั้นมิได้ขาด นับแต่วันมรณภาพจนถึงวันถวายฌาปนกิจศพท่าน ทั้งที่มากลับและมาค้างคืน โดยมากที่มาจากทางไกลก็จำต้องค้างคืน เพราะการคมนาคมไม่ค่อยสะดวกเหมือนทุกวันนี้ ... ศพท่านทั้งฝ่ายพระผู้ใหญ่ และข้าราชการเห็นต้องกันว่า ควรเก็บไว้จนถึงเดือนสามข้างขึ้น คือต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ค่อยถวายฌาปนกิจศพท่าน ด้วยเหตุนี้จึงได้พร้อมกันจัดหีบถาวรเพื่อบรรจุศพท่าน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-04-2016 เมื่อ 18:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #334  
เก่า 08-04-2016, 18:09
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ในวันต่อมาเวลาบ่าย ๔ โมง ประชาชน พระเณรจำนวนมากมายพร้อมกันสรงน้ำศพท่าน เสร็จแล้วเอาผ้าขาวพับห่อพันองค์ท่านหลายชั้น ภายนอกจีวรที่ครองถวายเรียบร้อย แล้วอาราธนาเข้าในหีบศพถาวร หลังจากนั้นคณะศรัทธามากท่าน มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์เป็นประธาน ปรึกษากันตกลงจัดให้มีการสวดมนต์ถวายท่านทุกคืน และมีการแสดงธรรมด้วยในวาระเดียวกัน ส่วนหีบศพท่านด้านหน้าปิดด้วยกระจก เพื่อท่านผู้มาแต่ไกลยังไม่เห็นองค์ท่าน ประสงค์อยากดูย่อมเป็นความสะดวก.. ไม่เสียใจว่ามาถึงแล้วไม่ได้เห็นท่าน

การสวดมนต์ถวายท่าน มีประชาชนและพระเณรมาร่วมพิธีวันละมาก ๆ งานคราวนี้ได้เห็นน้ำใจที่พี่น้องชาวสกลนครเรา ทั้งท่านข้าราชการทุกแผนก ตลอดจนพ่อค้าประชาชนทั่วหน้ากัน ที่มีศรัทธาแข็งแรงและห้าวหาญในการบริจาคและเอาการเอางานในธุระหน้าที่ ไม่มีความย่อท้ออ่อนแอเลย นับแต่วันท่านอาจารย์ไปถึงและมรณภาพ จนถึงวันงานถวายฌาปนกิจศพท่าน พี่น้องชาวสกลนครเราต่างวิ่งเต้นขวนขวาย ที่จะให้พระเณรได้รับความสะดวกในปัจจัยสี่ และกิจการใหญ่โตที่ขวางหน้าอยู่ให้สำเร็จไปด้วยดีและมีเกียรติ โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยและสิ้นเปลืองใด ๆ ทั้งสิ้น

พระมากมายที่มากราบนมัสการเยี่ยมศพท่านอาจารย์ ในระหว่างก่อนจะถึงวันงานเป็นเวลาสามเดือน และพระเณรอยู่ประจำเพื่อดูแลกิจการจำนวนเป็นร้อยขึ้นไป พี่น้องทั้งหลายมิได้ย่อท้อ ทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยต่างพร้อมใจกันมีศรัทธาใส่บาตรจนกว่าพระเณรจำนวนมากจะผ่านไปหมดทุกองค์.. แทบเป็นลม แม้เช่นนั้นก็ไม่ยอมลดละความเพียร คงพร้อมกันพยายามโดยสม่ำเสมอ อาหารบิณฑบาตไม่เคยบกพร่องเลย มีแต่เหลือเฟือตลอดสาย ไม่ว่าพระเณรจะมาเพิ่มมากเพียงไร ไม่มีวิตกวิจารณ์ว่าอาหารจะบกพร่องขาดเกิน ... ผู้เขียนไม่นึกไม่ฝันว่าจะได้เห็นความอดทน ความทนทาน ความเสียสละทุกด้านของพี่น้องดังกล่าวขนาดนี้ พอเห็นแล้วถึงใจ.. จำติดตาติดใจไม่ลืมเลย จึงขอจารึกไว้ในใจตลอดจนอวสาน ไม่มีวันหลงลืมเลย ..

พระเณรที่มาช่วยดูแลงานที่ควรทำ เพื่อเตรียมรับท่านที่มาในงานโดยมีฆราวาสญาติโยมเป็นแรงงาน ก็น่าเห็นใจทั้งสองฝ่าย เพราะเพียงระหว่างที่ยังไม่ถึงวันงานก็มีพระเณรมากอยู่แล้ว ยิ่งถึงวันงานเข้าจริง ๆ ได้กะการกันไว้ว่า ทั้งพระเณรและฆราวาสที่จะมาในงานนี้ต้องเป็นจำนวนหมื่นขึ้นไป ฉะนั้นจำต้องพากันเตรียมจัดทำปะรำต่าง ๆ ทั้งที่พักทั้งโรงครัวไว้มากเท่าที่จะมากได้...

พอจวนวันงานจะมาถึง พระเณรและประชาชนนับวันหลั่งไหลมาทุกทิศทุกทางทั้งใกล้ทั้งไกล ... งานนี้ไม่มีมหรสพคบงันใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเป็นงานกรรมฐานล้วน ๆ เครื่องไทยธรรมที่ประชาชนต่างมีศรัทธานำมาสมโภชโมทนาช่วยเหลือในงานนี้ อยากจะพูดว่ากองเท่าภูเขาลูกย่อม ๆ เรานี่เอง ... อาหารมีมากจนเหลือเฟือ ตลอดงานไม่มีอดอยากขาดแคลนเลย ไม่เคยปรากฏว่ามีการดื่มเหล้าเมาสุรา ทะเลาะวิวาทฆ่าตี และฉกลักขโมยปล้นจี้สิ่งของของกันและกันเลย ..

ตอนกลางคืนราว ๒ ทุ่ม มีการสวดมนต์และมาติกาบังสุกุลถวายท่านทุกคืน และมีการแสดงธรรมทุกคืน ตอนเช้าหลังจากเสร็จแล้วมีการมาติการบังสุกุลไปเรื่อย ๆ ไม่ค่อยมีกำหนดเวลาตายตัวนัก เพราะศรัทธาและพระเณรมีมาก .. รายชื่อของพระเณรที่มาในงานทางกองบัญชีพระได้จดชื่อ และฉายาท่านไว้พร้อมแล้วแต่ขณะท่านมาถึงวัดทีแรก ...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-04-2016 เมื่อ 20:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #335  
เก่า 11-04-2016, 16:35
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default


๖. เข้าถึงธรรมธาตุ


สภาวจิตขั้นละเอียดขององค์หลวงตา ทำให้ท่านต้องหลีกเร้นออกจากหมู่คณะ เพื่อหาสถานที่บำเพ็ญขั้นอุกฤษฎ์ จนถึงกระทั่งค่ำคืนอันเงียบสงัด บนเทือกเขาภูพาน จิตของท่านก็สามารถปล่อยวางภาระ.. สิ้นเครื่องผูกพัน หลุดพ้นจากอาสวกิเลส เป็นสอุปาทิเสสนิพพานสมความตั้งใจ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-04-2016 เมื่อ 20:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #336  
เก่า 12-04-2016, 17:13
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

มหาสติมหาปัญญา


“ของกลาง” มัดตัว

เมื่อได้อาราธนาศพหลวงปู่มั่นไว้ที่วัดป่าสุทธาวาสแล้ว ท่านก็หลบไปหาภาวนาอยู่ตามป่าตามเขา ตามธรรมดาจะไปคนเดียว แต่ครั้งนี้มีพระติดตามด้วยองค์หนึ่ง ไม่ว่าจะไล่อย่างไรก็ไม่กลับ เลยติดตามไปจนได้ ดังนี้

“... เป็นพรรษาที่ ๑๖ นะ นั่นละตอนที่เรากำลังหมุนติ้ว ใครติดตามไม่ได้ ท่านสีทาแอบตามไปจนได้ เราไล่ไปอยู่โน่น.. คนละฟากป่าโน่น เราอยู่ที่นี่ให้เหมือนอยู่คนเดียว เรียกว่าไม่ให้พบกันเลยทั้งวัน บิณฑบาตท่านก็ไปสายหนึ่ง เราก็ไปสายหนึ่งไม่เห็นกัน... ไปบิณฑบาตมันก็หมุนของมันตลอด ๆ ใครใส่บาตรไม่ทราบผู้หญิงผู้ชาย ไม่สนใจนะ จิตจะทำงานนี้ตลอด ๆ ได้มาฉันเพียงพอมีชีวิตให้อยู่เป็นไปเท่านั้น แม้เวลาฉันจังหันจิตก็ไม่ได้อยู่กับอาหารการกินนะ มันจะหมุนของมันระหว่างกิเลสกับธรรมฟัดกัน นี่ละเวลาธรรมมีกำลังแล้ว.. กิเลสอยู่ที่ไหนมันตามเผาตามฟันกันแหลก ๆ ..


มาพบกันเวลาฉัน นอกนั้นไม่พบกันเลยเพราะเราต้องการอยู่คนเดียว อันนี้แอบติดตามเราเหมือนปลิงมันเกาะติดนั่นเอง จึงบังคับให้ไปอยู่ทางโน้น กลางค่ำกลางคืนเวลาไหนห้ามไม่ให้มาหาเรา เราบอกกันอย่างนี้ .. เราหลบหนีขนาดไหนวิ่งตามเราไปได้ ..

‘ถ้ายังเห็นเราอยู่ที่ร้านนี้เมื่อไร อย่าเข้ามานะ ถ้าจะมาทำอะไรก็ให้มาตอนเราไปเดินจงกรม’


เราบอกอย่างนั้น เพราะทางจงกรมของเราอยู่ในป่า .. เราก็อยู่ทางนี้ พระองค์นั้นอยู่ทางโน้น พอดีอันนี้เป็นเขื่อนลำน้ำอูนนี่นะ นี่มันอยู่ข้าง ๆ ที่เราพักน่ะ ที่เราพักนั้นก็เหมาะดี ภาษาอีสานเรียกว่าไม้บง ไม้ไผ่บง อู้ย ! ร่มเย็น เราก็เดินจงกรมตรงนี้สบาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-04-2016 เมื่อ 20:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #337  
เก่า 27-04-2016, 11:17
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ที่นี้เขาก็มาทอดแหตรงที่มันเป็นคุ้งน้ำ เราเห็นเขาทอดแห.. เสียงอึกทึกครึกโครมเราก็เลยหนีไปอยู่ในป่าลึก ๆ เราไปเดินจงกรมอยู่โน่น จนกระทั่งมืดเราถึงมา

อันนี้เรื่องถึงบทมันนะ ไอ้เณรนั่นจำชื่อมันได้จนกระทั่งบัดนี้ ชื่อ “เณรแปลง” มาจากบ้านหนองโคก เณรแปลงมันมีผ้าเช็ดตัวผืนหนึ่ง มันออกเข้าไปวัดป่าหนองบัว ก็เดินผ่านป่าของเราที่พักอยู่นั่นไป

เวลาไปนั้น เณรแปลงมันไปเผลออย่างไรไม่ทราบ ผ้าที่พาดบ่ามานี้ตกหล่นลงข้างทางที่ชาวบ้านเขาขึ้นมาจากห้วยอูน ขากลับมาเณรไม่เห็นผ้าจึงพูดให้พระฟังว่า ‘โอ๊ย ! ผ้าผมหาย’ พูดกับพระองค์ที่มากับเราฟัง

ทีนี้พวกที่เขาตกปลาเสร็จแล้วก็ขึ้นมา เห็นผ้านี้ตกอยู่ ผู้เห็นทีแรกนั้นไม่ได้ว่าแผ่ปลาล่ะ บอก ‘ครูบาวัดนี้ทำผ้าตก’ จึงเอาผ้าไปพาดไว้

พอผู้มาทีหลังเห็น จึงนึกว่าเป็นสัญลักษณ์ว่าพระแผ่ปลา (ขอบิณฑบาตปลา) เขาจึงร้อยปลาเป็นพวงแล้วก็แขวนไว้ข้าง ๆ ร้านเราที่เราพัก ไอ้เราไม่รู้เรื่อง เราอยู่ในป่าโน้น

นี่สิ ! ที่ว่าเหตุผลมันถูกมัดใช่ไหมล่ะ มันหากเป็นของมันเองอย่างนี้แหละ ทีนี้พอตอนเช้าเราออกบิณฑบาตกลับมา ชาวบ้านเขามาคอยอยู่แล้ว เขาก็ร้อยปลามา.. นี่เป็นครูบาองค์ที่ไปแผ่ปลาเขาเมื่อวานใช่ไหม ?

‘โยม ! ทำไมว่าอย่างงั้น’ เราก็ว่าอย่างนี้

‘ก็เห็นเอาผ้าเหลืองผืนหนึ่งพาดไว้นั้น เขาก็ร้อยปลาแล้วก็แขวนไว้ตรงจุดเดียวกันนั้น’

‘แล้วกัน ยังไงกันนี่ ไหนไปเรียกพระองค์นั้นมาดูสิ’

ก็เรียกพระอีกองค์นั้นมา มาก็มาถาม ‘ท่านรึเปล่า ไปแผ่ปลาเขาเมื่อวานนี้’ เราว่าอย่างนั้นนะ ‘ฮึ แผ่ตอนไหน อ้าว ! ไม่ได้แผ่’ พระองค์นั้นก็งงอีกเหมือนกันนั่นแหละ

‘ไม่แผ่จะเป็นใคร มันก็มีเรา ๒ คนเท่านั้นในป่านี้ ต้องจับเรา ๒ คนเท่านี้’ นี่เห็นไหม เหตุผลของกลางมันมัดแล้วใช่ไหมล่ะ มันก็มีเรา ๒ คนนี่ พระที่ไหน จะมาอยู่ที่นี่ เรา ๒ คนเท่านั้นจะติดคุกติดตะราง แล้วก็ซักพระองค์นั้น พระองค์นั้นก็หน้าเสียหมด พองงไปงงมาเลยระลึกได้

‘อ้อ ! เมื่อวานนี้เณรแปลงมันมานี่ บอกผ้าหาย ผ้าหายไม่ทราบหายตรงไหน ถ้างั้นอาจจะใช่ ไหน...มาดูผ้าดีกว่า เอาผ้ามาดู’

พอเริ่มหัวเราะกันได้บ้างล่ะที่นี้นะ เพราะมันมีช่องออกได้แล้วนี่ ให้ตามไปหาเณรแปลงบ้านหนองโคกนะ ให้โยมนี่ไป ไปถามว่า ‘ผ้านี้เป็นผ้าของเณรแปลงจริงไหม’

พอเณรเห็น เณรก็หัวเราะแย้ก ๆ ‘โอ๊ย ! ใช่แล้ว ผ้าของผมเอง’ (หัวเราะ) ‘โอ๊ย ! ผ้านรก ผ้าอเวจี ผ้าเทวทัต มันไปทำลายเราอยู่ในป่า เอาเผาไฟนะ ผ้านี้มันไม่ได้เป็นมงคลแล้วผ้านี้เราก็บอกอย่างนั้น...”

เรื่องนี้เป็นข้อคิดว่า หากบังเอิญ “ของกลาง” ไปเกี่ยวข้องพาดพิงด้วยพยานหลักฐานต่าง ๆ แบบสมเหตุสมผลแล้ว อาจมัดตัวคนดีให้ติดคุกติดตะรางได้ แม้ไม่ได้ทำผิดเลย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-04-2016 เมื่อ 21:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #338  
เก่า 04-05-2016, 17:29
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

“ปัญญาปริภาวิตัง จิตตัง

สัมมเทว อาสเวหิ วิมุจจติ


จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #339  
เก่า 09-05-2016, 12:47
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ไตรลักษณ์อย่างหยาบ กลาง ละเอียด


“... เมื่อจิตยังไม่สงบ เราจะพิจารณาสิ่งใดก็ไม่ชัดเจน แม้จะพิจารณาทางปัญญาก็กลายเป็นสัญญาไปเสียโดยมาก นี้หมายถึงสัญญาที่จะก่อเหตุเป็นสมุทัย สะสมเป็นกิเลสขึ้นภายในใจ เพราะความรู้ความเห็นที่มาผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อใจได้รับความสงบแล้ว จะพิจารณาสภาวธรรมก็เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เช่นเดียวกับบุคคลที่กำลังหยุดนิ่งอยู่ มองดูอะไรก็เห็นชัด ฉะนั้น สมาธิพระองค์ก็ได้ทรงบำเพ็ญมา คำว่า “สมาธิ” นี้ หมายถึงความสงบของใจ หรือความแน่นหนามั่นคงของใจ เมื่อใจได้รับความสงบแล้ว ความสุขจะปรากฏขึ้นมาในขณะนั้น ถ้ายังไม่สงบก็ยังไม่ปรากฏเป็นความสุขขึ้นมา เมื่อมีความสงบสุขแล้ว.. เราพอมีช่องทางจะพิจารณาทางปัญญา

คำว่า “ปัญญา” หมายถึงความสอดส่อง มองดูเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ทะลุปรุโปร่งเป็นลำดับ หรือความแยบคาย ออกจากใจอันเดียว สัญญา คือความจำ ปัญญา คือความคลี่คลายในสิ่งที่ตนจดจำไว้นั้น เช่นเดียวกับเรามัดไม้หลายกิ่งหลายแขนงเข้าเป็นมัด ๆ สัญญาเช่นเดียวกับตอกหรือลวดที่เรามัดไม้เป็นกำไว้ ปัญญาเป็นผู้คลี่คลายไม้ที่เรามัดไว้นั้น ให้เห็นว่ามีกี่ชิ้นด้วยกัน มีไม้อะไร และชื่อว่าอะไรบ้าง เรื่องของปัญญาจึงเป็นธรรมชาติ.. คลี่คลายดูสภาวธรรมซึ่งเป็นของมีอยู่ในตัวของเรา

อนึ่ง คำว่า “สมาธิ” การทำใจให้มีความสงบเยือกเย็น ท่านผู้ฟังทั้งหลายคงจะเคยได้ทราบแล้วว่ามีหลายขั้น ขณิกสมาธิ จิตที่รวมลงเพียงขณะเดียวแล้วถอนขึ้นมาเสีย อุปจารสมาธิ คือสมาธิที่รวมสงบแล้วถอนออกมาเล็กน้อยแล้วออกรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มาสัมผัสใจในขณะนั้น จะเป็นเรื่องสัตว์ บุคคล หรือภูติผีก็ตาม จัดเข้าในวงอุปจารสมาธินี้ ส่วนอัปปนาสมาธิ จิตที่หยั่งลงแล้วมีความสงบอย่างเต็มที่ และรวมอยู่ได้เป็นเวลานาน ๆ คำว่า “อัปปนาสมาธิ” นี้มีความหมายกว้างขวางมาก จิตรวมอยู่ได้นานด้วยมีความชำนิชำนาญในการเข้าออกของสมาธิด้วย ต้องการเวลาใดได้ตามความต้องการด้วย

แต่เราผู้บำเพ็ญในทางปัญญานั้น ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้วจึงจะต้องพิจารณาทางปัญญา เรื่องของสมาธิ คือความสงบ จะสงบมากน้อยพึงทราบว่า เป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนาคือปัญญาเป็นขั้น ๆ ไป เพราะปัญญามีหลายขั้น ขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียด สมาธิในขั้นหยาบก็เป็นบาทฐานของวิปัสสนาขั้นหยาบได้ ขั้นกลาง ขั้นละเอียดก็เป็นบาทฐานของปัญญาขั้นกลาง ขั้นละเอียดได้ และในขณะเดียวกันพึงทราบว่า สมาธิกับปัญญานั้นเป็นธรรมคู่เคียงโดยจะแยกจากกันไม่ออก ควรใช้ปัญญาคู่เคียงกันไปกับสมาธิตามโอกาสอันควร คือถ้าเราจะดำเนินในทางสมาธิโดยถ่ายเดียว ไม่คำนึงถึงเรื่องปัญญาเลยแล้ว จะเป็นเหตุให้ติดสมาธิคือความสงบ

เมื่อจิตถอนออกมาจากสมาธิแล้ว ต้องพิจารณาในทางปัญญา เช่นพิจารณาธาตุขันธ์โดยทางไตรลักษณ์ วันนี้ก็พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วันหน้าก็พิจารณาอนิจจา ทุกขัง อนัตตา ไตร่ตรองอยู่เช่นนี้ทุกวันทุกคืนไป ไม่ต้องสงสัยว่าจะไม่ชำนาญในทางปัญญา ต้องมีความคล่องแคล่วชำนาญเช่นเดียวกันกับทางสมาธิ ปัญญาในเบื้องต้นต้องอาศัยการบังคับให้พิจารณาอยู่บ้าง ไม่ใช่จิตเป็นสมาธิแล้วจะกลายเป็นปัญญาขึ้นมาทีเดียว ถ้าจิตเป็นสมาธิแล้วกลายเป็นปัญญาขึ้นมาเอง โดยผู้บำเพ็ญไม่ต้องสนใจมาพิจารณาทางด้านปัญญาเลยแล้ว จิตก็ไม่มีโอกาสจะติดสมาธิ ดังที่เคยปรากฏดาษดื่นในวงนักปฏิบัติ ความจริงเบื้องต้นต้องอาศัยมาพิจารณา ปัญญาจะมีความคล่องแคล่วและมีความสว่างไสว ทั้งรู้เท่าทันกับสิ่งที่มาเกี่ยวข้องเป็นลำดับ จะเป็นไตรลักษณ์ที่หยาบก็จะเห็นในทางปัญญา

ไตรลักษณ์อย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณา เช่นเราพิจารณาในส่วนร่างกายจัดว่าเป็นไตรลักษณ์ส่วนหยาบ พิจารณาในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จัดเป็นไตรลักษณ์ส่วนกลาง พิจารณาเรื่องจิตที่เป็นรากเหง้าแห่งวัฏฏะจริง ๆ แล้ว นั่นคือไตรลักษณ์ส่วนละเอียด เมื่อจิตได้ก้าวเข้าสู่ไตรลักษณ์ส่วนหยาบ ไตรลักษณ์ส่วนกลาง ไตรลักษณ์ส่วนละเอียด จนผ่านพ้นไตรลักษณ์ทั้งสามนี้ไปแล้ว ธรรมชาติที่ปรากฏขึ้นในอันดับต่อไปอย่างไม่มีปัญหาใด ๆ นั้น จะเรียกว่า อัตตาก็ตาม อนัตตาก็ตาม ไม่เป็นไปตามความสมมุตินิยมใด ๆ ทั้งนั้น เพราะอัตตากับอนัตตาเป็นเรื่องของสมมมุติซึ่งโลกก็มีอยู่ด้วยกัน ธรรมชาติอันนั้นไม่ใช่สมมุติ โลกทั้งหลายจึงเอื้อมถึงได้ยาก เมื่อมีอัตตาและอนัตตาเป็นเครื่องเคลือบแฝงอยู่ในใจ ...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-05-2016 เมื่อ 14:25
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #340  
เก่า 17-05-2016, 19:14
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ตื่นผี “อะแอ้ม”

เหตุการณ์อีกเรื่องหนึ่งอยู่ในที่บ้านเดียวกัน แต่ท่านไม่ได้ระบุช่วงเวลา ท่านว่าทำให้เห็นถึงความกลัวตาย กลัวผีของคนทั้ง ๆ ที่ถูกสอนให้ไม่เชื่อว่าผีมีจริง ดังนี้

“... เรื่องความกลัวตาย นี้มันทำให้ลืมศาสนาได้เหมือนกันนะ ... เขาเรียกบ้านแร่บ้านเร่ออะไร เราก็เคยไปอยู่ที่นั่นไปพักภาวนา มีบึงใหญ่ บึงนี้มีจระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งประจำอยู่ในบึงนั้น ถ้าถึงหน้าน้ำจริง ๆแล้ว น้ำอูนนี่แหละ เวลาน้ำล้นฝั่งมาก ๆ นี้ จระเข้ก็ออกจากบึงลงไปน้ำอูนนี่ไปเที่ยว พอจวนน้ำลดลงไปแล้วมันก็ปีนขึ้นมาอยู่ในบึง เพราะลำน้ำอูนกับบึงนี้ห่างกันดูเหมือนจะประมาณสักเพียง ๒ เส้น
(๘๐ เมตร) เท่านั้นละมั้ง ?

บึงใหญ่มันอยู่ทางด้านนู้น แม่น้ำมันผ่านไปนี้ จระเข้ตัวนี้มันอยู่นี่ มันเคยเข้าเคยออกไปมาอยู่ตลอด มันรู้ทิศทางดี ถึงหน้าฝนนี่มันก็ลงเที่ยวไปตามลำน้ำอูนไปเรื่อย ไปที่ไหนมันก็ไป พอจวนน้ำจะลดลง ๆ จะสิ้นฤดูฝนแล้วมันก็มานี้แหละ ขึ้นเข้าบึงนี่ บึงนั้นเขาบอกว่าแรงมาก แรงจริง ๆ ใครไปทำอะไรไม่ได้ ภาษา (อีสาน) ทางเรานี่เรียกว่า มันเข็ดมันขวางมาก ทางนี้เขาเรียกว่ามันแรงมาก มันจะแสดงให้เห็นแปลก ๆ ต่าง ๆ แล้ววันนั้นก็อีตาสม (ท่านสม) ไปภาวนาอยู่ที่นั่น (หัวเราะ) ...

เขาบอกว่า ‘โอ๊ย.. อยู่ที่นี่มันแรงนะ มันจะแรงอะไร มันสู้ธรรมได้เหรอ’ นี่ละความโม้ความคุยมันเป็นกิเลสนะ กิเลสกับธรรมก็ฟัดกันล่ะซิ พอไปให้เขาทำทางจงกรมให้ ทำร้านอยู่สูงดูเหมือนจะขนาดนี้ละมั้ง (ชี้ไปที่ระดับใต้ถุนศาลา) เราก็ไม่เห็นไอ้ร้านบ้านั่นนะ ร้านท่านสมอยู่ ... เพราะเราไปพักทีหลัง เขาทำร้านไว้ คือเดินจงกรมแถวนี้ไม่ได้ น้ำเต็มอยู่ ต้องไปเดินบนฝั่งโน้น ให้เขาทำทางจงกรมให้บนฝั่ง นี่มันแปลกไหมล่ะ ? กำลังคนทำทางจงกรมอยู่มาก ๆ นี่นะ ชาวบ้านเขาไปทำทางจงกรมให้เรียบร้อย อยู่ ๆ หมาก็ไล่หมู่ป่ามา เห็นกันทั้งบ้านจะปฏิเสธกันได้อย่างไร ร่ำลือกันทั้งบ้าน (บ้านกุดละโฮง) ‘อู๊ย ผีบึง’

บึงนี้เขาเรียกกุดละโฮง เขาว่าผีบึงนี้แรงแท้ ๆ เห็นชัดเจนวันนี้ ก็เห็นกันทั้งบ้าน เขาไปทำทางจงกรม อยู่ ๆ หมาที่ไปทำงานกับเขานั้นแหละ ไปกับเจ้าของเขา มันก็ไล่หมูใหญ่มา โอ้โห.. หมูทอกโทนใหญ่โตวิ่งมา หมาก็เห่าว้อก ๆ ๆ ไล่กันมา หมา ๒ ตัว ๓ ตัว

ได้หมูตัวนั้นก็วิ่งบึ่งเข้ามาหาคน หมาก็ตามไล่มา พอมาถึงคนนี้วิ่งเข้ากอไผ่ห่าง ๆ นี้หายเงียบเลย หมูตัวนั้นไม่ทราบไปไหน ทีแรกก็เห็นเป็นหมูร้อยเปอร์เซ็นต์วิ่งมา คนก็แตกฮือล่ะซี หมาไล่มันมา มันก็วิ่งมา ๆ พอมาถึงนี้ ไปนี้เข้ากอไผ่ห่าง ๆ นะ หายเงียบไปเลย ต่างคนก็ต่างก็งงงันอั้นตู้ แล้วมันไปไหน ๆ ก็ไม่ทราบไปไหนก็ดูกันอยู่นี้

‘เอ๋ มันไปยังไงน้า’ ไอ้หมาก็เลยโลเล มาถึงที่นั่นหมาก็เลยโลเล หมูไปแล้วไม่ทราบไปที่ไหน


‘โธ่ ทำไมมันเตรียมท่าสู้เราแต่หัวปีนักนา ผีตัวนี้มันคงแรงจริง ๆ ตั้งแต่ทำทางจงกรมอยู่ มันก็ยังแสดงฤทธิ์อย่างนี้ ตอนกลางคืนนี้กับเราคงฟัดกันแน่ ๆ ละ’ เพิ่นว่านะ อีตาสมนี่มันคิดบ้าของมันคนเดียวนั่นแหละ ..

พอดีหกโมงเย็นจวนจะมืด ทางนี้ก็เตรียมท่าอยู่แล้ว คงจะฟัดกับผีนั่นแหละ พอดีกับคนคริสตศาสนาอยู่บ้านแร่ใกล้ ๆ กันนั้นแหละ มันไม่เชื่อว่าผีมี พวกนี้ไม่เชื่อว่าผีมี เขาก็ถือตามนั้นมา ทีนี้มันมาแขวนเบ็ดล่ะซี ตอนค่ำมาแขวนเบ็ดหรือปักเบ็ด ทางนี้ก็นั่งภาวนาอยู่ พอค่ำสักเดี๋ยวได้ยินเสียงเดินจ๋อมแจ๋ม ๆ ๆ มา

‘เอ๊ มันเริ่มแต่หัวค่ำนักนา’ (หัวเราะ) ไอ้อยู่ข้างบน (ท่านสม) นี่ ‘โธ่ มันเริ่มแต่หัวค่ำนะนี่ นี่ยังไม่มืดนะ’ มอง.. ลืมตาดูมันยังไม่มืด ‘มันทำไมมาแต่หัวค่ำนักนา” (หัวเราะ)


ทางนั้นพอปักเบ็ดเป็นพัก ๆ เขาก็หยุด พอปักเบ็ดตรงนั้นเสร็จ เขาก็จ๋อม ๆ มาเรื่อย มาปักตรงนี้แล้วก็จ๋อม ๆ มา ‘โถ ใกล้เข้ามาแล้ว’ (หัวเราะ) ใกล้เข้ามาทุกที ทางนี้ก็เสกคาถา ว่าอย่างนั้นนะ ท่านว่าชัด วิรูปักเขฯ จบ กรณีฯ จบว่างั้นนะ (หัวเราะ) มันยังจ๋อม ๆ เข้ามาเรื่อย ๆ ‘โธ่ มันจะเอาจริง ๆ นะ’

มีแต่จะเอาจริง ๆ เรื่อย ๆ เข้ามา เห็นท่าไม่ได้การณ์คือมาใกล้ ๆ นี่ มันจะปักเบ็ดผ่านไปนี่ละเรื่องมัน พอมาถึงที่นี่แล้ว มาถึงนี้ เห็นท่าไม่ไหวกลัวมันจะปีนขึ้นไปหา ไม่ใช่อะไรนะ คาถาอะไรก็ไม่ได้เรื่องแล้ว ทางนี้เห็นไม่ไหวก็เลยสู้แบบกระแอมขึ้นว่า ‘อะแอ้ม’

พอกระแอม ‘อะแอ้ม’ ปรากฏว่าทางนั้นก็วิ่งเอาตายว่าเลย วิ่งเอาตัวรอด ฟังเสียงน้ำนี่แตกกระเจิงไปเลย วิ่งหนีตาย เข้าใจไหม นี่ละศาสนาคริสต์.. เขาว่าผีไม่มี ไม่มีเข้าใจไหม บทเวลากลัวผี โอ๋ย.. ไม่มีใครสู้ เลยเป็นไข้อยู่ ๓ วัน ไอ้ผีไม่มีเป็นไข้อยู่ถึง ๓ วัน มันวิ่งไปถึงบ้าน

‘โอ๊ย ใครจะว่าผีไม่มีอย่าไปเชื่อ เราเห็นด้วยตัวของเราเองแล้ว เสียงกระแอมเหมือนเสียงคนเทียวละ ผีมันอยู่บนหัวเราด้วยนะ’ ว่างั้นนะ

ก็ร้านเขาตั้งอยู่นี้ ไอ้นี้ก็หนีตายอย่างว่าละ ทางนี้ อะแอ้ม ขึ้นเลย ทางนั้นก็นึกว่าเป็นผี มันก็วิ่งเสียงน้ำแตกกระเจิงเลย ไปถึงบ้าน ใครว่าผีไม่มีอย่าไปเชื่อ เราเห็นด้วยตาเราเอง เสียงกระแอมเหมือนเสียงคนเชียวละ ที่แท้ (ท่านสม) กระแอม ทางนั้นก็วิ่งไปเป็นไข้ถึง ๓ วันนะ ไอ้กลัวผีเป็นไข้ถึง ๓ วัน

พอตอนเช้ามีท่านสมอยู่ที่นี่ องค์หนึ่งอยู่นู้น หัวบึงไกล ๆ โน่นนะ ตื่นเช้ามาก็โดดลงจากนี้ไปหาองค์นั้น ‘โถ พิลึกจริง ๆ มันฟัดผมตั้งแต่หัวค่ำ ผีนี่สำคัญมาก มันฟัดผมตั้งแต่หัวค่ำเลย’ ‘มันเป็นยังไงว่าซินะ’

‘ก็มาทีแรก มานี่เสียงจ๋อม ๆ เหมือนเสียงคน มาเป็นระยะ ๆ คาถาเสกเรื่อย เสกคาถาไหนก็ไม่มีความหมาย ๆ เข้ามาจนกระทั่งถึงใต้ร้านผมนี่แหละ ผมไม่มีทางสู้ก็เลยกระแอม บทเวลามันวิ่งนี้ แหม.. ผีตัวนี้สำคัญมากนะ เวลามาเดิมจ๋อม ๆ เหมือนเสียงคน เวลาไปเหมือนเสียงช้าง วิ่งน้ำแตกกระเจิงเลย ไปใหญ่เลย’

‘มันใช่เหรอ’ องค์นั้นว่า ‘ไม่ใช่ยังไง เมื่อคืนนี้ผมนอนไม่หลับเลยคอยต่อสู้มันอีก’

‘มันไม่ใช่นา ไม่ใช่คนหรอกเหรอ’

‘มันจะคนอะไร เสียงผีแท้ ๆ แต่มามันเหมือนเสียงคน เดิมจ๋อม ๆ บทเวลามันไปนี้ ผีร้อยเปอร์เซ็นต์เลย’

‘มันใช่เหรอ ไหนพาไปดูน่ะ ผมยังไม่เชื่อ ไม่ใช่เขามาหาปลาเหรอ ไม่ใช่เขามาแขวนเบ็ดเหรอ’ องค์นั้นว่างั้น ทีนี้ชักอ่อนลง ท่านสมนี่ ‘เอ ก็ไม่แน่ละ’ จึงไปดูกัน

พอไปดูแล้ว โอ๋ย.. คน รอยมันวิ่งตามมานี้ กระโดดขึ้นเนินเล็ก ๆ นี้ รอยมันแหลกหมดเลย ‘นี่เห็นไหมดูเสีย ทำอะไรไม่พินิจพิจารณาเป็นอย่างนี้ นี่จะไปโกหกชาวบ้านเขานะ ว่าผีเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ให้ดูเอานี่’

‘โอ๋ คนจริง ๆ แหละ’ ยอมรับ

เบ็ดนี้ปักไว้เป็นแห่ง ๆ เห็นเป็นพยาน มันวิ่งหนีแล้ว ไอ้ทางนั้นไข้ยังไม่หาย ๓ วัน นี่ศาสนาฝรั่งว่าผีไม่มี ๆ บทเวลามันได้กลัวเป็นไข้ ๓ วัน มันกลัวผีเห็นไหม.. นั่นละเวลากลัวตาย ศาสนาหมดเลย ศาสนาสอนว่าไม่มีผี.. หมดเลยวันนั้น ความกลัวตายพาเผ่นไปใหญ่ เป็นไข้ถึง ๓ วัน นี่พูดถึงเรื่องศาสนาว่าไม่มีผี ๆ ไม่มียังไง มันมีมาแต่โคตรแซ่ของพวกนี้ยังไม่เกิด ผีมีทุกแห่งทุกหน แต่นี่เป็นผีคนเท่านั้นแหละ ผีจริง ๆ มันก็มีอยู่อย่างนั้น...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-05-2016 เมื่อ 13:22
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 17 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:13



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว