|
ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#401
|
|||
|
|||
![]() จิตตมัคโค “... จิตตมัคโค คือ ทางเดินของจิตที่จะรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ มันเหมือนกับทางเดินด้วยเท้าของเรา เราเดินด้วยเท้า เดินไปที่ไหนที่อยู่ ๒ ฟากทางมองเห็นหมด เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ทีนี้ทางเดินของจิต จิตก้าวเดินไปตามวิถีของธรรม เดินไปไหนสิ่งที่เป็นวิสัยของจิตซึ่งเป็นทางของจิตโดยแท้แล้ว มันจะเห็นบาป บุญ นรก สวรรค์ เปรต ผี อสุรกาย อะไรมันจะเห็น ๆ ของมัน...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-12-2018 เมื่อ 01:04 |
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#402
|
|||
|
|||
![]() ต่อสู้กิเลส.. ทุกข์แสนสาหัส ความซาบซึ้งและเห็นคุณค่าในธรรมดังกล่าวนี้ ทำให้ท่านสมัครใจที่จะเผชิญกับความทุกข์จากความเพียร.. ฝึกฝนจิตอย่างหนัก ดังที่ที่ท่านเคยกล่าวไว้อย่างเด็ดว่า “... ทุกข์ใด ๆ ที่โลกว่ากันว่าทุกข์หนักหนานั้น เราก็เคยผ่านโลกเห็นโลกมาก่อนพอสมควรถึง ๒๐ ปีเต็ม บางงานก็เหมือนกับว่าจะเหลือกำลังคือหนักมาก แต่เมื่อเทียบแล้วไม่มีงานใดที่จะหนักมากและทุกข์ยากลำบากยิ่งกว่างานต่อสู้กับกิเลส เพราะงานเหล่านั้นแม้จะหนักมากเพียงใด ก็ไม่เคยถึงขนาดสละชีวิตจิตใจกับงานนั้น แต่สำหรับงานฆ่ากิเลสนี้ ต้องยอมสละเป็นพื้นฐานเรื่อย ๆ เลย...” ตัวอย่างที่ชัดเจนอันหนึ่งของท่านก็คือ การตื่นนอน ท่านก็ยังอุตส่าห์ฝึกหัดดัดนิสัยกันเสียใหม่อย่างเข้มแข็งจริงจัง ดังนี้ “... พอรู้สึกจะดีดผึงเลย ตั้งแต่เรียนหนังสือไม่เคยที่จะลุกขึ้นมาธรรมดา เพราะความตั้งใจ ความฟิตตัวเอง เป็นจริงเป็นจังกับตัวเอง พอตื่นนี้..ดีดผึง ๆ ถ้ามีเพื่อนนอนอยู่ข้างด้วยนะ หมู่เพื่อนจะตื่นเพราะความสะดุ้งเวลาลุกตื่นนอน เรียนหนังสือก็เป็นแบบนั้น ตั้งแต่เป็นนาคเข้าเรียนก็เป็นแบบนั้นเรื่อยมา ฝึกเสียจนชินเป็นนิสัย... ทีนี้ยิ่งออกปฏิบัติด้วยแล้วยิ่งเก่ง แล้วไม่เคยนอนซ้ำอีกนะ ถ้าลงได้ดีดผึงไปแล้วเท่านั้น เว้นแต่วันถ่ายท้องไม่ได้หลับไม่ได้นอน นั่นเราก็ยกเว้นให้เฉพาะ ไม่ให้ลุกลาม... มันถ่ายท้องก็ลุกขึ้นไปถ่าย แล้วก็กลับเข้ามานอน อย่างนี้เรายกให้ เป็นกรณีอย่างนี้ นอกจากนั้นเป็นไปไม่ได้เด็ดขาดนะ..ว่างั้นเลย ทีนี้เมื่อทำตลอดตั้งแต่บวชมาจนกระทั่งออกปฏิบัติจนมันชินต่อนิสัย ไม่ต้องตั้งใจลุกอะไรนะ พอรู้สึกนั้นมันจะดีดผึงทันที จนกระทั่งพรรษา ๑๘ เราไม่ลืมนะ ที่เราฝึกหัดนิสัยใหม่ เพราะมันเป็นนิสัยแล้วแก้ไม่ตกง่าย ๆ นะ ... เวลาภาวนาเราเคยเสียใจให้เราอยู่ นั่งไป..หลับ พอตื่นขึ้นมามันหลับอยู่กับหมอนใบหนึ่ง โอ้..ตายนี่วะ ลุกคึกคักขึ้นเลย ออกเดินจงกรมเลย ไม่ยอมนอน ตั้งแต่ตอนนั้นไม่นอนเลย เอาจนตลอดสว่าง คือดัดกัน ... พรรษาที่ ๑๗ ล่วงไปแล้ว เราก็มาแก้นิสัยใหม่ คือการตื่นนอนแบบนั้นก็ถูกต้องแบบหนึ่ง เพราะอยู่ในเวลาเร่งความพากความเพียร... ให้ตื่นเนื้อตื่นตัวตลอดเวลา ก็ยอมรับว่าถูกต้อง แต่เวลานี้ควรจะต้องพักผ่อนธาตุขันธ์พอประมาณ ต่อไปนี้กำหนดสอนเจ้าของ รำพึงในเจ้าของ แล้วเวลาการตื่นนอนก็ควรจะให้รู้ทิศใต้ทิศเหนือที่นั่นที่นี่ แล้วค่อยลุกขึ้นมาธรรมดาด้วยความมีสติธรรมดา ต้องการอย่างนี้ ทีนี้เราจะฝึกให้มันพอรู้สึกตัวแล้วมองรู้ทิศทางแล้ว..ลุกขึ้นธรรมดาเรียบ ๆ ไม่ให้ตื่นปึ๋งปั๋งอย่างนั้น พยายามฝึก... เราก็พยายามฝึกมาร่วมปี.. ให้รู้สึกตัวแล้วลุกขึ้นมาธรรมดา ฝึกอยู่ร่วมปีจึงเปลี่ยนได้...” ท่านกล่าวถึงจุดนี้ ทำให้เราทราบชัดเจนว่า คนเรานี้ดีได้ด้วยการฝึก ฝึกหัดเช่นไรย่อมเป็นไปเช่นนั้น จะให้อยู่เฉย ๆ แล้วดีขึ้นมาเองย่อมเป็นไปไม่ได้ ท่านยังเล่าถึงความยากลำบากในการต่อสู้กับกิเลส ถึงขนาดต้องยอมเสียสละได้แม้กระทั่งชีวิตของตน เพื่อแลกกับธรรมอันสุดประเสริฐ ดังนี้ “... เมื่อถึงคลื่นที่จะฟัดกับกิเลสอย่างเต็มเหนี่ยวแล้ว ชีวิตนี้ไม่มีความหมายเลย เรียกว่าตายก็ยอมตาย เสียสละเอาชีวิตเข้าแลกเลย เพราะกิเลสถ้ามันไม่เก่งจริง ๆ แล้ว มันคงไม่สามารถครองหัวใจสัตว์โลกได้ตลอดมาทุกภพทุกชาติเช่นนี้ ครั้นพอจะต่อกรกับมัน ก็เลยต้องฟัดกันให้เต็มเหนี่ยว เรียกว่าทุกข์แสนสาหัส.. นี่ถึงกล้าพูดออกมาได้ เรากับกิเลสนี้มันผูกขึ้นมานะ เดี๋ยวนี้มันไม่เป็นอะไรแหละ มันเอาเรื่องที่เคยต่อสู้กันถึงพริกถึงขิง ถึงเป็นถึงตายมานั่นแหละ กิเลสกับเรานี้ไม่ทราบเป็นยังไง มันเป็นข้าศึกต่อกันอย่างยิ่ง สมมุติว่านั่งฉันจังหันอยู่นี้ว่ากองทัพกิเลสมาแล้ว.. ไหนทีเดียว บาตรนี้ทิ้งตูมเลย.. ใส่กันเปรี้ยงไม่มีคำว่ายกครู ‘เอ้า.. กิเลสตายแล้วถึงจะกลับมาฉันจังหันอีกทีหนึ่ง ถ้าเราตายแล้วก็ไม่ต้องมาฉัน ไม่ต้องมายุ่งมัน ให้กิเลสเผาศพไปเลย คำว่าถอยไม่มี’ เพราะมันเคียดแค้นถ้าพูดถึงความเคียดแค้นแบบโลก ๆ นะ นี่เรายกเอามาพูดให้เป็นข้อเปรียบเทียบกับโลกสมมุติที่มีว่าเคียดแค้น มันถึงใจถึงขนาดนั้นนะ รอไม่ได้เลย คำข้าวยังคาปากอยู่ก็ทั้งต่อยทั้งเคี้ยว หรือมันลืมเคี้ยวก็ไม่รู้แหละ เอากันเลย ปึ๋งเลยเทียว รอไม่ได้...” ท่านเคยเปรียบ... ความทุกข์ยากลำบากในการต่อสู้กับกิเลสกับการติดคุกติดตะรางไว้ดังนี้ “... ตั้งแต่บัดนั้น .. ขึ้นเวทีไม่มีการให้น้ำ ถ้าว่าให้น้ำก็ให้เวลาหลับ นอกนั้นไม่มี กรรมการไม่ต้อง ไม่มีกรรมการแยก มันจะตายช้าไป ใครเก่งให้อยู่บนเวที ใครไม่เก่งให้ตกเวที ระหว่างกิเลสกับธรรมฟัดกันบนหัวใจเรา เอ้า.. ใครเก่งให้อยู่บนเวที ใครไม่เก่ง เอ้า..ให้ตกเวที ... ติดคุกติดตะรางนี้ เราสมัครเลยนะ ความทุกข์ยากลำบากในการประกอบความพากเพียร เราหนักมากขนาดนั้น เขาว่าติดคุกติดตะรางนี้เป็นความทุกข์ความลำบาก เราจะสมัครไปติดคุกติดตะราง เพราะติดคุกติดตะรางกินข้าววันละ ๓ มื้อ จักตอกเหลาตอกได้วันละ ๕ เส้น ฆ่าเวลาไปวันหนึ่ง ๆ พอได้ถึงวันออก แต่ส่วนเราถ้ากิเลสไม่พังจากหัวใจเมื่อไร.. ไม่มีวันออก ต้องเอากันจนเป็นจนตาย มันก็หนักมากละซิ...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-10-2019 เมื่อ 17:32 |
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|