กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 28-06-2019, 06:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๒

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราเอาไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหล ตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ เมื่อครู่นี้จากคำถามทำให้เห็นว่า หลายคนยังไม่เข้าใจว่าในส่วนของกรรมฐานนั้นเป็นอย่างไร กรรมฐาน เป็นคำรวม แปลว่า ที่ตั้งแห่งการกระทำ แต่ส่วนใหญ่แล้วหมายถึงการปฏิบัติสมาธิภาวนา เรียกว่าเป็นที่เข้าใจกันเช่นนั้น แต่จริง ๆ แล้วการกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจของเรา จัดเป็นกรรมฐานทั้งหมด

กรรมฐานแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ก็คือ สมถกรรมฐาน ปฏิบัติแล้วใจสงบสงัดจากกิเลสได้ชั่วคราว ยกเว้นว่าสามารถทรงได้ตลอดยาวนาน ก็จะสามารถตัดกิเลสได้ เรียกว่า เจโตวิมุตติ คือหลุดพ้นได้ด้วยการใช้กำลังใจกดกิเลสไว้จนดับไปเอง

อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน ปฏิบัติแล้วมีความรู้แจ้งเห็นจริงว่า ปกติธรรมดาของโลกนี้ ของร่างกายนี้มีสภาพอย่างไร แล้วยอมรับความจริงตามนั้น ถ้าหากว่าในส่วนนี้ปฏิบัติไปแล้วปัญญายอมรับ ก็จะเข้าถึงความดีตามลำดับไป จนกระทั่งกลายเป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพาน เรียกว่า ปัญญาวิมุตติ คือหลุดพ้นโดยการใช้ปัญญาพิจารณาธรรม
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-06-2019 เมื่อ 01:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 30-06-2019, 08:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้ทั้งในส่วนของเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตตินั้น เมื่อปฏิบัติไปจนเข้าถึงมรรคถึงผลแล้ว ท่านยังแบ่งออกอีกเป็น ๔ ประเภทด้วยกันก็คือ ประเภทที่หนึ่ง สุกขวิปัสสโก เป็นผู้ปฏิบัติแบบเรียบ ๆ ง่าย ๆ ถึงเวลาก็บรรลุมรรคบรรลุผลเลย โดยไม่มีคุณวิเศษอื่นเพิ่มเติม

ประเภทที่สองเรียกว่า เตวิชโช เรียกภาษาไทยง่าย ๆ ว่า วิชชา ๓ คือมีความรู้พิเศษเพิ่มขึ้นมา ๓ อย่าง ได้แก่
๑. ปุพเพนิวาสนุสติญาณ ระลึกชาติได้
๒. จุตูปปาตญาณ รู้ว่าคนและสัตว์ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วไปไหน
๓. อาสวักขยญาณ สามารถทำกิเลสให้สิ้นไปได้

ประเภทที่สามเรียกว่า ฉฬภิญโญ เรียกง่าย ๆ อีกอย่างว่า อภิญญา ๖ ประกอบไปด้วยกำลังใจของเราที่ปฏิบัติแล้วเกิดความสามารถพิเศษขึ้นมา ๖ อย่าง ก็คือ
๑. ทิพโสต มีหูทิพย์
๒. ทิพจักขุ มีตาทิพย์
๓. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
๔. จุตูปปาตญาณ รู้ว่าคนก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน หรือว่าสัตว์ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน
๕. ยถากัมมุตาญาณ รู้ว่าการกระทำดีชั่วแต่ละอย่างนั้น จะส่งผลอย่างไร
๖. อาสวักขยญาณ สามารถทำกิเลสให้สิ้นไปได้

เราจะเห็นว่า ในส่วนของอภิญญา ๖ นั้น ครอบงำวิชชา ๓ อยู่ภายใน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-06-2019 เมื่อ 12:32
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 30-06-2019, 08:16
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ส่วนสุดท้ายเรียกว่า ปฏิสัมภิทัปปัตโต บางคนเรียกง่าย ๆ ว่า ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ มีความสามารถครอบงำทั้ง ๓ ประเภทแรก และมีความรู้พิเศษเพิ่มขึ้นมา ๔ อย่าง ก็คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา รู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นเกิดจากอะไร
๒. ธัมมาปฏิสัมภิทา รู้ว่าผลทั้งหลายทั้งปวงนั้นเกิดจากเหตุอะไร
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีความคล่องแคล่วว่องไวในปฏิภาณไหวพริบมาก
๔. นิรุกติปฏิสัมภิทา มีความรู้พิเศษ สามารถเข้าใจภาษาต่าง ๆ ได้มาก ทั้งภาษาคน ภาษาสัตว์ ภาษาในโลกทิพย์ เป็นต้น

คราวนี้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ จะสามารถแบ่งสรรปันส่วนได้ ก็ต่อเมื่อเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า อย่างเช่นว่า ความเป็นสุกขวิปัสสโก จะเริ่มปรากฏก็ต่อเมื่อเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน ฉฬภิญโญ หรืออภิญญา ๖ จะเข้าถึงได้ก็ต่อเมื่อความเป็นพระโสดาบันปรากฏ ไม่เช่นนั้นก็ได้แค่อภิญญา ๕ เป็นต้น เพราะว่าอาสวักขยญาณ คือตัวทำให้กิเลสสิ้นไป ยังไม่ปรากฏ ส่วนปฏิสัมภิทาญาณนั้น กติกาหนักขึ้นไปอีก อย่างน้อยต้องเป็นพระอนาคามีขึ้นไป ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ ถึงจะปรากฏได้

แต่ว่าทั้ง ๔ หมวด ที่บอกว่าสุกขวิปัสสโกนั้น บรรลุง่าย ๆ โดยไม่มีความสามารถพิเศษ ความจริงแล้วบรรลุยากมาก ที่บรรลุยากเพราะว่าทั้ง ๔ หมวด ท้ายสุดก็ต้องมาใช้กำลังส่วนของสุกขวิปัสสโก คือพิจารณาธรรม เมื่อพิจารณาไปจนสภาพจิตยอมรับ เข้าถึงตามวาสนาบารมีของตน แล้วก็ส่วนประกอบที่สั่งสมมา อยู่ที่ว่าเราได้มากได้น้อยเท่าไร บางท่านก็ได้เป็นพระโสดาบัน บางท่านก็เป็นพระสกทาคามี บางท่านก็เป็นพระอนาคามี บางท่านก็สิ้นกิเลส เป็นพระอรหันต์ไปเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-06-2019 เมื่อ 12:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 30-06-2019, 08:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในส่วนนี้เราจะเห็นได้ว่า ท้ายสุดเราก็ต้องกลับมาใช้ปัญญาพิจารณา คราวนี้การที่เราจะใช้ปัญญาพิจารณาอย่างเดียวนั้น ไม่มีความมั่นคงแน่นอน เพราะว่าลำพังปัญญาเปรียบเหมือนอาวุธที่มีความคม ถ้าไม่มีกำลัง เราก็จะยกอาวุธไม่ขึ้น สมถภาวนาเปรียบเหมือนการเพาะกำลัง พอแข็งแรงแล้ว แต่ถ้าไม่มีอาวุธ จะตัดจะฟันอะไรก็ลำบาก จึงต้องปฏิบัติทั้งสองอย่างควบกัน คือภาวนาจนกำลังใจทรงตัวแล้วมาพิจารณา พอพิจารณาไป สมาธิจะเริ่มทรงตัวเองโดยอัตโนมัติ เราก็มาภาวนาต่อ

ดังนั้น..ที่ท่านทั้งหลายบอกว่า สุกขวิปัสสโกนั้น ไม่มีคุณวิเศษอะไรเลยนั้นไม่ใช่ การเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้านั้น ถือเป็นคุณวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว อีกส่วนหนึ่งก็คือสมาธิจิตที่สามารถเข้าถึงฌานสมาบัติได้ แต่เป็นการเข้าถึงโดยที่ท่านไม่รู้ตัว เพราะว่าพิจารณาธรรมไปเรื่อย ๆ สมาธิจิตก็ดิ่งลึกไปตามลำดับ ทรงเป็นฌานโดยที่ตัวท่านก็ไม่เข้าใจ ยิ่งทรงฌานได้สูงมากเท่าไร โอกาสตัดละเป็นพระอริยเจ้าก็มีมากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้น..ในส่วนของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เราจึงต้องทำควบกัน สลับกันไปสลับกันมา เพื่อให้เรามีกำลังและมีปัญญาในการใช้ตัดละกิเลส ถ้าหากว่าทำดี ทำถูก ก็เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้ง่าย แต่ถ้าหากว่าเน้นในเรื่องของสมถภาวนาอย่างเดียว หวังบรรลุโดยเจโตวิมุตติ ก็แปลว่าต้องกดกิเลสนิ่งสนิทเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก เหมือนกับใช้ของหนักทับหญ้าเอาไว้ ต้องทับให้นานพอ หญ้าถึงจะตายได้ เป็นต้น

ดังนั้น..เรื่องของเจโตวิมุตติจึงกล่าวได้ว่าเป็นความประมาทอย่างหนึ่งของนักปฏิบัติ ควรจะใช้ปัญญาพิจารณาให้มากขึ้น เพื่อจะได้มรรคได้ผลตามวาสนาบารมีของเรา

ลำดับต่อไปก็ขอให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๒

(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย นายกระรอก)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-06-2019 เมื่อ 12:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:57



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว