กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 14-12-2023, 20:03
พิชวัฒน์'s Avatar
พิชวัฒน์ พิชวัฒน์ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Aug 2014
ข้อความ: 335
ได้ให้อนุโมทนา: 3,307
ได้รับอนุโมทนา 18,302 ครั้ง ใน 808 โพสต์
พิชวัฒน์ is on a distinguished road
Default คัมภีร์เทศน์กัณฑ์ "ปธานปัจฉิมกถา : ว่าด้วยการสรุปความเพียร"

การแสดงพระธรรมเทศนา "ปักหมุดสุจริตธรรมในใจ คนไทยไม่โกง"
คัมภีร์เทศน์กัณฑ์ "ปธานปัจฉิมกถา : ว่าด้วยการสรุปความเพียร"


ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ พิชวัฒน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 16-12-2023, 08:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,799 ครั้ง ใน 34,093 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


สํวโร จ ปหานญฺจ ภาวนา อนุรกฺขนา เอเต ปธานา จตฺตาโร เทสิตาทิจฺจพนฺธุนาติ

ณ บัดนี้ อาตมภาพจักรับหน้าที่แสดงพระธรรมเทศนาในปธานปัจฉิมกถา ว่าด้วยเรื่องการสรุปเรื่องความเพียร เพื่อเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับสติปัญญาบารมี เพิ่มพูนกุศลบุญราศี แก่ท่านสาธุชนทั้งหลาย ผู้ตั้งใจมาสดับรับรสพระพุทธพจน์เทศนา

ขอท่านผู้มีจิตศรัทธา อุบาสกอุบาสิกา ผู้ใจบุญทุกท่าน โปรดตั้งโสตประสาทให้เป็นประหนึ่งภาชนะทอง เพื่อรองรับพระสัทธรรมเทศนา ให้เกิดธัมมัสสวนานิสงส์ ตรงความมุ่งหมาย ๕ ประการแห่งการฟังธรรม คือ

๑. อัสสุตัง สุณาติ ได้ความรู้ใหม่
๒. สุตัง ปะริโยทะเปติ ได้วิจัยของเก่า
๓. กังขัง วิหะนะติ ได้บรรเทากังขา
๔. ทิฏฐิง อุชุง กะโรติ ได้พัฒนาความคิด
และ ๕. จิตตะมัสสะ ปะสีทะติ ได้ยกจิตให้แจ่มใส ได้ยกใจให้เยือกเย็น

สมดังโบราณาจารย์ที่ท่านกล่าวว่า ถ้าฆ่าช้างก็ต้องการงา ฆ่าปลาก็ต้องการเนื้อ ฆ่าเสือก็ต้องการหนัง เมื่อสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา ก็ต้องให้ได้ปัญญานั่นเอง

ดำเนินความตามพระบาลีที่ได้ยกขึ้นเป็นอุเทศบท ณ เบื้องต้นว่า สํวโร จ ปหานญฺจ ภาวนา อนุรกฺขนา ฯลฯ เป็นต้นนั้น แปลเป็นใจความว่า ปธานทั้ง ๔ ประการนี้ คือสังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธานนั้น พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทรงได้แสดงไว้แล้ว

การแสดงพระธรรมเทศนาในวันนี้ เป็นพระธรรมเทศนาอันสืบเนื่องมาจากนโยบายของมหาเถรสมาคม ร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งท่านมองเห็นความสำคัญ ในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการประพฤติมิชอบของภาครัฐ ตลอดจนถึงประชาชนทั้งหลาย จึงได้จัดให้มีการเสริมธรรมเสริมปัญญาในครั้งนี้ขึ้นมา เพราะเล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริม ให้มีการนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ไปประพฤติปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น ในหน่วยงานรัฐและสังคมโดยรวม เพื่อความอยู่อย่างผาสุกของประชาชนในชาติ

โดยจัดให้มีการแสดงพระธรรมเทศนา อันเป็นหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา บูรณาการเข้ากับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา หรือ Anti - Corruption Education โดยนำกรอบศีลธรรมหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาแสดง คือหลักสัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียร ๔ ประการ ซึ่งได้จัดให้มีการแสดงมาตามลำดับหัวข้อธรรม รวม ๖ กัณฑ์ พระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ จัดเป็นปัจฉิมกัณฑ์ คือ กัณฑ์สุดท้าย จักสรุปใจความสำคัญของสัมมัปปธาน ๔ ดังมีอรรถาธิบายดังนี้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-12-2023 เมื่อ 17:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 16-12-2023, 08:47
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,799 ครั้ง ใน 34,093 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สัมมัปปธาน ๔ ประกอบด้วยองค์ธรรม ๔ ประการคือ คือ

๑.สังวรปธาน คือ เพียรระวัง
๒.ปหานปธาน คือ เพียรละ
๓.ภาวนาปธาน คือ เพียรเจริญ
และ ๔.อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษา

ข้อที่ ๑ สังวรปธาน หมายถึงเพียรระวังยับยั้งการทุจริตที่ยังไม่เกิดขึ้น มิให้เกิดขึ้นมาได้ มีวิธีป้องกันโดยการใช้หลักคิด แยกแยะ ระวังผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นไปที่การสำรวมระวังอินทรีย์ทั้ง ๖ ของตน คือระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ของตนให้ดี ไม่ให้ถูกยั่วยุจากสิ่งภายนอกทั้ง ๖ ประการ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและอารมณ์ทางใจ ดังนั้น..หากเราสามารถควบคุมอินทรีย์ทั้ง ๖ ของตนได้ดี ย่อมส่งผลให้เกิดการควบคุมความประพฤติที่ดีได้ ทั้งกาย วาจา และใจ

ข้อที่ ๒ ปหานปธาน หมายถึงเพียรพยายามละทุจริตที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นได้อีก กระบวนการลดละทุจริตทั้ง ๓ คือ ทุจริตทางกาย ทุจริตทางวาจา และทุจริตทางใจ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราต้องควบคุมเฝ้าระวังไม่ให้เกิดซ้ำอีก โดยใช้หลักเทวธรรม คือ เจริญหิริโอตัปปะ มีความละอายชั่ว เกรงกลัวต่อบาป และไม่ยอมอดทนต่อปัญหาทุจริตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างนิ่งเฉย ไม่ยอมเป็นผู้ที่นิ่งดูดายต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมแบบไม่รู้ร้อนรู้หนาว แต่ต้องทำหน้าที่เป็นหูตา คอยสอดส่องเฝ้าระวังภัย และแจ้งเหตุไม่พึงประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่ให้ทราบ เพื่อที่จะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้สงบระงับลงอย่างทันท่วงที

ข้อที่ ๓ ภาวนาปธาน หมายถึงเพียรพยายามทำสุจริตธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดมีอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการสร้างความดีให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้นไป จนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งความสุจริต โดยใช้หลักจิตพอเพียงต้านทุจริต เป็นแกนกลางในการพัฒนาจิตใจ ให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็งด้วยแนวคิด ตาม STRONG โมเดล : จิตพอเพียงต้านทุจริต อันเป็นหลักการที่ส่งเสริมความดี เพิ่มพูนสติปัญญาให้แก่ผู้คนในสังคม ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของเรา ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนสืบไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-12-2023 เมื่อ 17:07
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 16-12-2023, 10:55
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,799 ครั้ง ใน 34,093 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

STRONG โมเดลนั้น ประกอบไปด้วย

S (Sufficient) คือความพอเพียง โดยคำนึงถึงหลักประโยชน์ ๓ ในการทำงาน คือประโยชน์ส่วนตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ในทั้งสองสถาน
T (Transparent) คือความโปร่งใส คำนึงถึงประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นสำคัญ ไม่เห็นแก่ตัวเอง
R (Realize) คือความตื่นรู้ โดยยึดหลักสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบในเรื่องดีงามเป็นแกนกลาง
O (Onward) คือการมุ่งไปข้างหน้าโดยใช้หลักจักขุมา หรือว่าวิสัยทัศน์ในการทำงาน
N (Knowledge) คือความรู้ โดยใช้หลักวิธุโร หรือมีความฉลาดในการทำงาน
และสุดท้าย G (Generosity) คือความเอื้ออาทร โดยใช้หลักนิสสยสัมปันโน หรือความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานนั้น ๆ

เมื่อหลักทั้ง ๖ ประการดังกล่าวนี้เกิดขึ้น ย่อมส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งขึ้นในชุมชน องค์กร หน่วยงาน และประเทศ เพราะว่าการสร้างรากฐานแห่งความดีงาม ให้เข้มแข็งด้วยความซื่อสัตย์สุจริต นับได้ว่าเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง

ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งตรัสไว้ว่า ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดขึ้นในตัวเอง เพื่อจักได้เป็นคนดี มีประโยชน์ มีชีวิตที่สะอาดและเจริญมั่นคง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-12-2023 เมื่อ 17:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 16-12-2023, 10:57
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,799 ครั้ง ใน 34,093 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ข้อที่ ๔ อนุรักขนาปธาน หมายถึง ความเพียรพยายามทำสุจริตธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นกระบวนการรักษาความดีที่ทำมาทั้งหมด ให้มั่นคงยืนยาวต่อไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นเครือข่าย หรือเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีงามอย่างต่อเนื่อง สร้างพลเมืองดีที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมให้มากที่สุด เหมือนการเก็บกักรักษาน้ำฝนที่ไหลลงสระใหญ่ หากสระนั้นมีรูรั่วซึมอยู่มาก สระย่อมเต็มได้ช้า ในทางตรงกันข้าม หากสระนั้นไม่มีรูรั่วซึม ก็ย่อมเต็มด้วยน้ำในเวลาเร็ววัน

แนวทางการส่งเสริมให้เกิดอนุรักขนาปธาน ต้องนำเอาสุจริตธรรมนั้นมาใช้ในสังคม ในฐานะเป็นเครื่องมือป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นของสังคมไทย โดยสะท้อนผ่านหลักสุจริต ๓ ประการ คือ กายสุจริต วจีสุจริต และ มโนสุจริต ที่ประกอบด้วยหลักหิริโอตัปปะ อันเป็นหลักธรรมที่พัฒนาคนให้ขึ้นเป็นเทวดา พัฒนาธรรมให้ยั่งยืนแก่สังคม และประพฤติตามหลักสุจริตธรรม ๓ ประการคือ ไม่บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ละเว้นหน้าที่ และไม่ทุจริตต่อหน้าที่

หากทำเช่นนี้ได้ สังคมและประเทศชาติของเรา ก็จะประสบพบเจอแต่ความสุขความเจริญสืบไป ความเพียรพยายามรักษาความดีนี้ ตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า กรรมดีนั้น คนดีทำได้ง่าย แต่กรรมดีนั้น คนชั่วทำได้ยาก สอดคล้องกับสุภาษิตที่ว่า พึงรักษาความดี เหมือนเกลือที่รักษาความเค็ม

การทำความดีย่อมได้รับผลดีเป็นแน่แท้ แต่อาจต้องใช้เวลากับการรอคอย ให้ผลของความดีนี้สุกงอม ส่วนการทำความชั่วนั้น ย่อมได้รับผลชั่วเป็นแน่แท้ ไม่มีทางที่จะรับผลดีไปได้ เพียงแต่บางครั้งที่ยังเห็นว่าได้รับผลดีอยู่นั้น ก็เพราะผลของความชั่วยังไม่ส่งผลให้ ตรงกับบทประพันธ์ที่ว่า "การทำดีได้ดีนั้นมีแน่ ทำชั่วแต่ได้ดีมีที่ไหน ที่ทำชั่วเห็นดีอยู่จงรู้ไว้ มันเหมือนไฟใต้ถ่าน ไม่นานร้อน"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-12-2023 เมื่อ 17:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 16-12-2023, 17:05
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,799 ครั้ง ใน 34,093 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อพิจารณานำหลักปธาน ๔ ในพระพุทธศาสนา มาประยุกต์เข้ากับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาแล้วจะพบว่า การนำหลักสังวรปธาน และปหานปธานนี้ มาเป็นกระบวนการระงับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมในรูปแบบเก่า เป็นกระบวนการจัดการกับสารพันปัญหาทุจริตที่เกิดขึ้น ให้สงบระงับไป

โดยยึดหลัก ๓ ประการคือ ธมฺมํ จเร สุจริตํ เป็นการ
เพิ่มอำนาจให้คนดี บีฑาคนชั่ว และยึดหลักให้มีความละอายชั่วกลัวบาป ไม่ยอมอดทนต่อปัญหาทุจริตต่าง ๆ อย่างนิ่งเฉย กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า สังวรปธานก็คือกัน ปหานปธานก็คือแก้ เหล่านี้ทั้งหมดถือเป็นกระบวนการระงับดับทุจริตด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

กระบวนการต่อไปคือ กระบวนการสร้างวัฒนธรรมแห่งความสุจริต โดยใช้หลักภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธาน ซึ่งภาวนาปธานนั้นกล่าวว่าเป็นการสร้างสรรค์ อนุรักขนาปธานนั้นก็คือรักษา แปลว่าเราต้องมีทั้งกัน ทั้งแก้ ทั้งสร้างเสริม และการรักษา ถือเป็นกระบวนการสร้างสรรค์วัฒนธรรมแบบใหม่ที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้มี ให้เกิดขึ้น และรักษาเอาไว้ให้ได้ตลอดไป เพื่อให้เกิดสังคมที่เข้มแข็ง อุดมด้วยปัญญา ในการใช้หลักจิตพอเพียงมาต้านทุจริต ร่วมกับการพัฒนาจิตใจ

โดยการนำรูปแบบความเข้มแข็งแบบ STRONG โมเดลมาใช้ในสังคม มีหลักสุจริต ๓ คือ กายสุจริต วจีสุจริต และ มโนสุจริต สร้างเป็นเครือข่ายวัฒนธรรมแห่งความสุจริตอย่างต่อเนื่อง และสร้างพลเมืองดีที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมให้มากที่สุด ถือว่าเป็นกระบวนการสร้างวัฒนธรรมความสุจริต ด้วยหลักของภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธาน

ด้วยประการนี้ การนำเอาหลักปธาน ๔ ในพระพุทธศาสนา มาประยุกต์รวมกับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคม เพราะว่ากระบวนการทั้งสองประการ คือการระงับทุจริตด้วยหลักสังวรปธาน และปหานธาน กับกระบวนการสร้างวัฒนธรรมแห่งการสุจริต ด้วยหลักภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธานนั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-12-2023 เมื่อ 17:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 16-12-2023, 17:15
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,799 ครั้ง ใน 34,093 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หากเราทำเช่นนี้ได้ สังคมก็ปราศจากปัญหาทุจริตคอรัปชั่น เพราะว่าผู้คนในสังคมจะเป็นคนดี มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าจะคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตน เป็นผู้มีความละอาย ไม่ทนต่อปัญหาทุจริต เป็นผู้มีจิตพอเพียง ต้านทุจริต มีความสุจริตทั้ง กาย วาจา และใจ ส่งเสริมให้เกิดสังคมอุดมสุข อุดมปัญญา ตามหลักการที่ว่า สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้สัมผัส เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ผู้คนในสังคม ให้เกิดความตระหนักรู้ ในการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต สามารถแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคล และผลประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างถูกต้อง อันจะเกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองสืบไป

ดังได้แสดงมา ก็พอสมควรแก่เวลา เทสนาปริโยสาเน ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนานี้ รตนตฺตยานุภาเวน รตนตฺตยเตชสา ด้วยเดชะบารมีแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และบุญกุศลของท่านทั้งหลาย ซึ่งเกิดจากธัมมัสสวนมัย การได้ฟังธรรมในครั้งนี้

ขอจงมารวมกันเป็นตบะเดชะ พลวปัจจัย อำนวยอวยพรให้ท่านทั้งหลาย ปราศจากทุกข์ โศก โรค ภัย มีแต่ความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ในร่มธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจริญยิ่งด้วย อายุ วรรณะ พละ สุขะ ปฏิภาณ และธนสารสมบัติ ปรารถนาสิ่งใดที่ชอบ ประกอบด้วยธรรมแล้วไซร้ ขอความปรารถนาของท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงพลันสำเร็จ สมดังมโนรถมุ่งมาดปรารถนาจงทุกประการ

รับหน้าที่แสดงพระธรรมเทศนามา ในปธานปัจฉิมกถา ว่าด้วยการสรุปเรื่องความเพียร ก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมติยุติพระธรรมเทศนาลง คงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
คัมภีร์เทศน์กัณฑ์ "ปธานปัจฉิมกถา : ว่าด้วยการสรุปความเพียร"
วันพุธที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๖
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-12-2023 เมื่อ 19:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:08



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว