กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 01-09-2019, 18:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,552 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๒

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราเอาไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมด ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมด ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ จากช่วงก่อนกรรมฐานที่ได้กล่าวว่า นักปฏิบัติของเรามักจะติดดี ซึ่งอาตมาใช้คำว่า กิเลสของนักปฏิบัติ หรือที่บางท่านกล่าวว่า “วิปัสสนาขี้โกรธ สันโดษขี้ขอ อุเบกขาบ้ายอ”

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติในช่วงแรก ๆ ทั้งสิ้น วิปัสสนาขี้โกรธ ก็คือเราปฏิบัติแรก ๆ เป็นการเก็บกดอารมณ์เอาไว้ ถ้าโดนสะกิดก็จะปะทุออกมาได้ง่าย สันโดษขี้ขอ ประกาศตัวว่าเรายินดีพอใจกับสิ่งที่เรามีอยู่ แต่เจอหน้าใครก็ขอเขาดะไปหมด เห็นโน่นก็อยากได้ เห็นนี่ก็อยากได้ อุเบกขาบ้ายอ ก็คล้ายคลึงกัน ก็คือปล่อยแล้ววางแล้ว แต่พอบุคคลอื่นยอก็ลอยทั้งตัว

ซึ่งเรื่องทั้งหลายเหล่านี้เราต้องคอยระมัดระวัง เพราะว่าโลกธรรมทั้ง ๘ ก็คือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เกิดกับเราอยู่ตลอดเวลาทุกวัน คราวนี้การที่เราเกิดกิเลสนักปฏิบัติก็คือ ถือว่าเราดีกว่าเขา เกิดจากสังโยชน์ใหญ่ ๒ ตัว ก็คือ สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ยึดมั่นในตัวกูของกู และตัวมานะสังโยชน์ ซึ่งเป็นกิเลสใหญ่ในระดับปลาย เรียกว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์

ทั้งสองตัวนี้ จะชักนำเราให้คิดผิด พูดผิด ทำผิดได้ เพราะด้วยการยึดมั่นว่าตัวเราดีแล้ว ถูกแล้ว ถ้าไม่ใช่อย่างนี้...คนอื่นผิด สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นจะแก้ไขอย่างไร ? ก็ต้องตั้งสติคอยระมัดระวัง มีความรู้ตัวอยู่เสมอว่า ตราบใดที่เรายังไม่เข้าสู่พระนิพพานอย่างแท้จริง ตราบนั้นยังหาความดีไม่ได้ เพราะว่ายังต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับร่างกายนี้ อยู่กับโลกนี้เป็นปกติ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-09-2019 เมื่อ 02:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 04-09-2019, 19:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,552 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้การที่เราจะมีปัญญาขนาดนั้นได้ ก็ต้องมีสติ สมาธิที่แหลมคม ว่องไว ระลึกได้ รู้ตัวอยู่เสมอ คอยตักเตือนตัวเองอยู่เสมอ ๆ ดังที่บาลีว่า อัตตนา โจทยัตตานัง ให้กล่าวโทษโจทย์ตนเองไว้เสมอ หรือจะพิจารณาว่า กาย วาจา ใจ ที่ดีกว่านี้ยังมีอยู่ เราต้องทำกาย วาจา ใจ เหล่านั้นให้ได้ ไม่เช่นนั้นแล้วเราก็ไม่แคล้วที่จะไปพระนิพพานไม่ได้ เพราะว่าการที่จะไปพระนิพพานได้นั้น เราต้องไม่ยึด ไม่เกาะทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ชั่ว

บุคคลที่ทำถึงระดับนั้น กำลังใจของตนจะไม่ตำหนิใครแล้ว ก้าวพ้นความดีความชั่วไปแล้ว เพียงแต่เห็นว่าบุคคลที่ทำความชั่วก็คือ ตกอยู่ในกระแสสีดำที่พาไหลลงต่ำ บุคคลที่ทำความดีตกอยู่ในกระแสสีขาว พาไหลขึ้นสูง แต่ว่าไม่ว่าจะฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว ฝ่ายไหลลงต่ำหรือฝ่ายไหลขึ้นสูง ฝ่ายดำหรือว่าฝ่ายขาวก็ตาม เราก็ยังติดอยู่ในกระแสนั้น ไปไหนไม่ได้ จนกว่าเราจะข้ามกระแสขึ้นสู่ฝั่งได้ ก็คือไม่เอาทั้งดีและชั่ว

สรุปง่าย ๆ ว่า รู้ว่าดีก็ทำ เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้คนเรายึดถือว่าเป็นความดี รู้ว่าชั่วก็ละ เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้คนประณามหยามเหยียดว่าเป็นความชั่ว แต่เราไม่เกาะทั้งดีทั้งชั่ว เพราะว่าการที่เราจะไปยังเป้าหมายที่ใดที่หนึ่ง ไม่ว่าเราจะเกาะฝั่งดีหรือเกาะฝั่งชั่ว เราก็ติดอยู่ตรงจุดที่เกาะ ไปไหนไม่ได้ เราจึงต้องปล่อย

แต่ว่าหลายท่านก็ไปติดการปล่อยอีก โดยบางทีก็ไปตำหนิคนอื่นว่าคุณยังยึดอยู่ คุณยังเกาะอยู่ คุณยังปล่อยไม่ได้ แต่ตัวเราเองนั่นแหละ ไปติดอยู่ตรงที่ต้องปล่อย ก็แปลว่าเราไปแบกตัวปล่อยอยู่เต็ม ๆ โดยที่ตัวเราก็ไม่รู้

บุคคลที่จะไปพระนิพพานได้นั้น รู้ว่าดีก็ทำ รู้ว่าชั่วก็ละ ไม่เกาะทั้งดีทั้งชั่ว มีกาย วาจา ใจ ที่ไม่ตำหนิใคร ถ้าไม่ใช่บุคคลที่พึงสอนได้ จำต้องใช้อุบายแล้ว ก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร ในเมื่อปล่อยวางทั้งดีทั้งชั่ว จึงสามารถที่จะหลุดพ้นเข้าพระนิพพานได้

ฉะนั้น...พวกเราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องฝึกฝน สติ สมาธิ ปัญญา ของเราให้แกล้วกล้า แหลมคม ว่องไวกว่านี้ ให้เห็นโทษของตนเองอยู่เสมอ ไม่ยึดเกาะทั้งร่างกายนี้ ไม่ยึดเกาะทั้งโลกนี้ ถ้าเป็นเช่นนั้น เราก็ไม่ยึดถืออะไร ๆ ทั้งหมด ดังที่บาลีกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ เราไม่ยึดอะไร ๆ แม้แต่น้อยหนึ่งในโลกนี้ ถ้าเป็นเช่นนั้นท่านถึงจะสามารถหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพานได้

ลำดับต่อไปก็ขอให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒

(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย น้องผักชี)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-09-2019 เมื่อ 18:03
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:42



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว