กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 20-07-2012, 13:09
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัว ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเราอยู่ที่ลมหายใจ หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลเข้าไปพร้อมกับลมหายใจ หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลออกมาพร้อมกับลมหายใจ จะเอาแค่ปลายจมูกจุดเดียวเป็นจุดที่รู้สึก หรือว่าต้องการ ๓ ฐาน จมูก อก ท้อง หรือต้องการ ๗ ฐาน หรือต้องการรู้ลมตลอดสายก็ได้ เพียงแต่อย่าให้ความรู้สึกหลุดไปจากลมหายใจเข้าออก ถ้าหลุดไปเมื่อไรให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจเข้าออกทันที

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ ที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นการปฏิบัติธรรมวันสุดท้ายของเดือนนี้ สองวันที่แล้วมาได้กล่าวถึงความดีเบื้องต้นคือศีล ความดีเบื้องกลางคือสมาธิ สำหรับวันนี้ขอกล่าวถึงความดีเบื้องปลาย คือปัญญา

ในไตรสิกขาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวถึงปัญญาไว้ในเบื้องปลาย เป็นการกล่าวถึงตามหลักการปฏิบัติ ถ้าหากศีลของเรามั่นคงสมาธิจะทรงตัว ถ้าสมาธิทรงตัวปัญญาจึงจะเกิด เมื่อปัญญาเกิดก็จะไปคุมศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ดังนี้

ดังนั้น..ปัญญาจึงมาทีหลัง แต่ถ้าในมรรค ๘ นั้น พระองค์ท่านขึ้นด้วยปัญญาก่อน ก็คือสัมมาทิฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง อย่างเช่นการเห็นในอริยสัจ สัมมาสังกัปปะ ความดำริที่ถูกต้อง เช่น ดำริต้องการจะพ้นทุกข์ ดำริในการไม่พยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น ดำริในการออกจากกาม เป็นต้น เมื่อเป็นดังนั้นเราจึงต้องมากล่าวถึงปัญญาในวันสุดท้าย เพราะเป็นการเรียงตามแบบของการปฏิบัติ

เมื่อทุกคนปฏิบัติในสมาธิจนทรงตัวแล้ว โดยธรรมชาติของสมาธิ เมื่อทรงตัวเต็มที่ก็จะคลายออกมาเองโดยอัตโนมัติ ตอนที่สมาธิคลายออกมา ถ้าเราไม่หาสิ่งที่เป็นคุณไว้ในการพิจารณาแล้ว กิเลสก็จะเอากำลังของสมาธินั้นไปฟุ้งซ่านอย่างเป็นหลักเป็นฐาน เป็นงานเป็นการ เพราะมีกำลังสมาธิหนุนเสริมอยู่

การที่เราจะพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญานั้น มีอยู่หลายแบบด้วยกัน แบบแรก ก็คือ พิจารณาตามแบบอริยสัจ ๔ อย่างเช่น กำหนดรู้ว่านี่คือทุกข์ นี่คือสาเหตุของการเกิดทุกข์ นี่คือการดับทุกข์ นี่คือหนทางเข้าไปสู่การดับทุกข์ เป็นต้น ต้องรู้เห็นให้ชัดเจน เมื่อรู้เห็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ชัดเจน เราก็อย่าไปสร้างสาเหตุนั้น ความทุกข์ก็จะดับลงได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-07-2012 เมื่อ 13:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 21-07-2012, 08:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หรือว่าเราจะพิจารณาตามแนวของไตรลักษณ์ คือลักษณะสามัญ ๓ อย่างที่คน สัตว์ วัตถุธาตุต่าง ๆ จะต้องประสบพบอยู่เสมอ ก็คือ

๑. อนิจจลักษณะ
มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด

๒. ทุกขลักษณะ
มีความทุกข์เป็นปกติ ระหว่างที่ดำรงอยู่ก็ต้องทนต่อสภาพกระทบทั้งภายในภายนอกทุกประการ

๓. อนัตตลักษณะ
คือความที่ไม่สามารถยึดถือเป็นตัวเป็นตนได้ เพราะสภาพร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี ประกอบขึ้นมาจากธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้อาศัยอยู่ตามบุญตามกรรมเพียงชั่วคราวเท่านั้น ถึงเวลาก็ต้องเสื่อมสลายตายพังไป

เมื่อเห็นชัดดังนี้ก็ไม่มีใครต้องการร่างกายที่เต็มไปด้วยความไม่เที่ยง เต็มไปด้วยความทุกข์ และไม่สามารถยึดถือเป็นตัวเป็นตนดังนี้ได้ ก็จะส่งกำลังใจไปสู่เส้นทางแห่งความหลุดพ้น คือพระนิพพาน

หรือว่าท่านทั้งหลายจะพิจารณาตามนัยของวิปัสสนาญาณ ๙ อย่าง เริ่มตั้งแต่อุทยัพพยญาณ คือ พิจารณาเห็นการเกิดดับ ทั้งของร่างกายตนเอง ของร่างกายคนอื่น ของร่างกายสัตว์อื่น เป็นต้น แม้กระทั่งลมหายใจเข้าออกของเราก็เกิดดับอยู่เป็นปกติ เริ่มต้นหายใจเข้าก็เกิดขึ้น ลมหายใจวิ่งผ่านกึ่งกลางอกไปก็ตั้งอยู่ เมื่อสุดลงที่ท้องก็ดับไป เป็นต้น หายใจออกจากท้องก็เกิดขึ้น ผ่านกึ่งกลางอกก็ตั้งอยู่ สุดที่ปลายจมูกก็ดับไป

จะพิจารณาเห็นการเกิดดับของทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่อัตภาพร่างกายของเรา เมื่อเห็นว่าหาสาระแก่นสารที่แน่นอนไม่ได้ จิตใจก็จะเบื่อหน่าย ปลดถอนออกมาจากความต้องการยึดถือในร่างกายนี้ หันไปเกาะพระนิพพานแทน

หรือภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ คือเน้นความเด่นชัดในความดับสูญทุกอย่าง ว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นร่างกายของเราก็ดี ร่างกายคนอื่นก็ดี ร่างกายสัตว์อื่นก็ดี วัตถุธาตุสิ่งของต่าง ๆ ก็ดี ล้วนแล้วแต่ต้องเสื่อมสลายตายพังไปทั้งสิ้น ในเมื่อต้องก้าวเข้าไปหาความดับสลายผุพังอยู่เป็นปกติ สภาพจิตก็จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หมดความต้องการยึดถือในร่างกายของเรา ในร่างกายคนอื่น ก็จะหันไปเกาะพระนิพพานแทน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-07-2012 เมื่อ 09:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 60 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 22-07-2012, 16:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลำดับการปฏิบัติต่อ ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณก็ดี นิพพิทาญาณก็ดี มุญจิตุกัมยตาญาณก็ดี ไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณและสัจจานุโลมิกญาณ ก็อยู่นัยเดียวกัน ก็คือพิจารณาไปจนกระทั่งเห็นว่าร่างกายนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ ร่างกายคนอื่นหาสาระแก่นสารไม่ได้

ปัญญาที่ได้รับการส่งเสริมจากสมาธิจะชัดเจนและแหลมคมเป็นพิเศษ เห็นชัดเจนไปทุกส่วน ว่าร่างกายของเราเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ ดำรงอยู่ก็ประกอบไปด้วยความทุกข์ ไม่มีอะไรยึดถือเป็นตัวเป็นตนได้แม้แต่น้อยนิด จิตใจก็จะปลดวางจากร่างกาย ไม่ปรารถนาการเกิดมามีร่างกายนี้อีก ก็จะมุ่งเข้าสู่หนทางหลุดพ้นคือพระนิพพาน การใช้ปัญญาพิจารณาให้พิจารณาอย่างนี้

หรือว่าท่านใดชอบพิจารณายาว ๆ จะดูในเรื่องของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ หรืออินทรีย์ ๒๒ ก็ได้ ทั้งหมดก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเช่นกัน ยึดถือมั่นหมายเมื่อไรก็ประกอบไปด้วยความทุกข์ ในเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีใครอยากได้ใคร่ดีในร่างกายนี้อีก ก็มุ่งสู่ทางหลุดพ้นคือพระนิพพาน

ท่านชอบใจตรงจุดไหน ส่วนไหน แบบไหน ให้พยายามนำมาคิดพิจารณาไว้บ่อย ๆ เพื่อที่จะได้ใช้กำลังสมาธิไปในทางที่ถูกต้อง หนุนเสริมในการที่จะห้ำหั่น ตัดละกิเลสต่าง ๆ ลง ถ้าหากว่าเราไม่นำสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มาให้คิด กิเลสก็จะชักจูงให้คิดไปในทางรัก โลภ โกรธ หลง และจะตีคืนได้ยาก เพราะกิเลสเอากำลังสมาธิไปคิด จึงมีความเข้มแข็งมากเป็นพิเศษ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-07-2012 เมื่อ 02:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 24-07-2012, 08:40
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,194 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..ท่านทั้งหลายที่ทำสมาธิ เมื่อทรงตัวแล้วจะคลายจิต คลายสมาธิ ออกมาคิดพิจารณาเองก็ได้ หรือจะเฝ้ารอจนกระทั่งสมาธิทรงตัวถึงที่สุด แล้วค่อย ๆ คลายออกมา เราค่อยมาพิจารณาก็ได้

เมื่อเห็นชัดเจนแล้ว เป้าหมายสุดท้ายของเราคือ เราไม่ต้องการเกิดอีก ในเมื่อไม่ต้องการเกิดอีกก็เอาจิตสุดท้ายของเราเกาะที่พระนิพพานเอาไว้ ตั้งใจว่าถ้าเราตายลงไปเพราะหมดอายุขัย หรือว่าตายลงไปเพราะอุบัติเหตุอันตรายใด ๆ ก็ตาม เราขออยู่ที่พระนิพพานนี้แห่งเดียวเท่านั้น

ให้ทุกคนคิดพิจารณา แล้วประคับประคองรักษาอารมณ์ใจดังนี้เอาไว้ จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕

(ถอดจากเสียงเป็นตัวอักษรโดยเถรีและรัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-07-2012 เมื่อ 18:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 21-12-2013, 15:09
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 259
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,227 ครั้ง ใน 1,280 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

สามารถรับชมได้ที่

http://www.sapanboon.com/vdo/demo.ph...ame=2555-07-01

ป.ล.
- สามารถชมบนไอโฟนและแอนดรอยด์ได้
- ห้ามคัดลอกไฟล์ไปเผยแพร่ที่อื่นเด็ดขาด !
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:53



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว