กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องบูรพาจารย์ > ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน

Notices

ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #501  
เก่า 06-07-2020, 22:01
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ข้อวัตรปฏิปทาในพ่อแม่ครูอาจารย์ฯ

(ส่วนหนึ่งของบทบันทึกเพื่อเป็นคติแก่อนุชนรุ่นหลัง)

ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน” แห่งวัดป่าบ้านตาด หรือที่พวกเราเรียกองค์ท่านว่า “พ่อแม่ครูอาจารย์” กิตติศัพท์กิตติคุณของท่านได้แผ่ขจรขจายไปแล้วอย่างกว้างขวาง และยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือนในยุคปัจจุบัน คำกล่าวขานเกี่ยวกับองค์ท่านนั้นมีมากมาย ดังเช่น ท่านเป็นพระอรหันต์สำเร็จกิจในพระพุทธศาสนาแล้วบ้าง ท่านเคร่งครัดในธรรมในวินัยบ้าง ท่านดุบ้าง เหล่านี้เป็นต้น ก็จริงอย่างนั้น แม้กิตติศัพท์ของท่านจะฟังดูแล้วน่าเกรงขามจนมิกล้าเข้าใกล้ แต่กลับยิ่งทำให้ผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้บูชาคุณของท่านอย่างมากมาย แม้พระเณรก็เข้าไปศึกษาอยู่กับท่านภายในวัดป่าบ้านตาดอย่างเนืองแน่น จนแต่ละพรรษาไม่มีกุฏิเพียงพอให้พระเณรอยู่จำพรรษาได้ครบดังใจหวัง

เพราะเหตุแห่งความที่ท่านเป็น “จอมปราชญ์” นี้แล องค์ท่านจึงมีความลึกซึ้ง สุขุมคัมภีรภาพ ในอันที่จะปกป้องพระเณรให้อยู่รอดปลอดภัย เพื่อความสงบร่มเย็นในการบำเพ็ญเพียรภาวนา บรรดาคลื่นโลกธรรมที่หลั่งไหลโถมทะลักเข้ามายังวัดป่าบ้านตาด ตลอดจนมลพิษทางใจ..อันจะเป็นเหตุกระทบกระเทือนจิตใจของพระเณรให้ขัดข้องเรื่องภาวนา จะต้องมาปะทะกับองค์ท่านก่อน และหลายสิ่งหลายอย่างถูกพ่อแม่ครูอาจารย์ใช้พลังธรรมภายในอันแข็งกร้าวตีโต้ จนแตกกระจัดกระจายถอยร่นไปอย่างไม่เป็นขบวน กิจนิมนต์ไปทำบุญในที่ต่าง ๆ ไม่รับ (เว้นเฉพาะงานศพที่พระไปปลงธรรมสังเวชได้) กิจอื่นถ้าจำเป็นก็ไปตามลำพังท่านองค์เดียว (กล่าวถึงสมัยที่ท่านกำลังเคี่ยวเข็ญพระเณรอย่างเต็มที่) มีผู้จะนำไฟฟ้าเข้ามาในวัดก็ไม่ให้เข้า โทรศัพท์ก็ไม่เอา กุฏิหรู ๆ ก็ไม่ให้สร้าง โบสถ์หลังงาม ๆ ก็ไม่ให้ทำ ข้าวของเครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่จำเป็นถูกกีดกันออกไปหมด เปิดโล่งไว้ทางเดียวคือ ให้พระเณรได้ทำความเพียรภาวนากันอย่างเต็มที่ ไม่ให้มีอะไรมากวนจิตกวนใจ จนกลายเป็นพิษเป็นภัยขึ้นมา

ฝ่ายพระเณรผู้เป็นศิษย์ เมื่อได้มาฝึกวิชากับครูบาอาจารย์ชั้นนี้ ซึ่งเปรียบเป็นครูมวยต่อสู้กับกิเลสชั้นเยี่ยมสุดยอดแล้ว ที่ไหนจะมายอมกิน ยอมนอนอยู่บนเขียงให้กิเลสมันสับยำแต่เพียงฝ่ายเดียว ครูมวยบอกเตะเป็นเตะ บอกต่อยเป็นต่อย แม้ไม่บอกพระเณรในวัดก็ยังอยากจะลุกออกไปต่อสู้กับมันอยู่นั่นเอง เพราะกิริยาอาการของครูมวยแสดงออกมาให้เห็น แม้ไม่พูดก็มีแต่ความเด็ดเดี่ยวจริงจังทั้งสิ้น พระเณรวัดป่าบ้านตาดจึงพลอยได้ซึมซับความจริงจังอย่างนั้นติดตัวมาบ้าง ดังปรากฏในช่วงที่มาศึกษาอยู่กับท่าน ความเพียรของพระเณรแทบทุกรูปดูช่างอาจหาญ บางองค์อดอาหารคราวหนึ่ง ๑๐ วันบ้าง ๒๐ วันบ้าง ๓๐ วันบ้าง จนร่างกายผอมโซ บางองค์อดนอนตลอดทั้งคืน หรือหลาย ๆ คืน บางองค์นั่งสมาธิตลอดรุ่ง บางองค์เดินจงกรมตลอดรุ่ง ต่างองค์ต่างก็ทำความเพียรกันอยู่อย่างเงียบ ๆ ที่กุฏิของตน ไม่ไปสุงสิงกับใคร แม้ทำกิจวัตรปัดกวาดก็มีแต่เสียงปัดกวาดเท่านั้น เสียงพูดคุยกันไม่มีเลย จนโยมที่มาวัดพากันสงสัยและไม่เข้าใจว่า ทำไมพระวัดนี้จึงไม่ยอมพูดคุยกับญาติโยม ขยับจะถามอะไรสักหน่อยท่านก็เดินเลี่ยงหนีไปเสีย แม้กับพระด้วยกันก็ไม่เห็นท่านคุยกัน แท้ที่จริงแล้วท่านพยายามใช้วิชามวยต่อสู้กับกิเลส ด้วยการรักษาสติเจริญภาวนาอยู่ภายในเงียบ ๆ หากมัวแต่พูดคุยกัน..คงโดนคู่ต่อสู้เล่นงานจนหมดรูปเป็นแน่

สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ครูอาจารย์ย้ำนักย้ำหนาก็คือ การที่ไม่ให้พระเณรคลุกคลีกัน ไม่ให้ไปมาหาสู่กันระหว่างกุฏิโดยไม่จำเป็น ให้เคร่งครัดตามหลักแห่งสัลเลขธรรม ให้ต่างองค์ต่างอยู่ด้วยความสงบ ปรารภความเพียรภาวนาอยู่ในที่ของตน แม้ในการพบปะพูดคุยกับญาติโยม ก็อนุญาตให้แต่เฉพาะพระเวรประจำศาลาเพียงหนึ่ง หรือสององค์ที่ได้รับการฝึกแล้วเท่านั้น ห้ามไม่ให้พระองค์หนึ่งองค์ใดเที่ยวเพ่นพ่านอยู่บริเวณศาลา โรงน้ำร้อน หรือตามที่ต่าง ๆ โดยไม่มีความจำเป็น หากพ่อแม่ครูอาจารย์เดินไปพบเห็น ดูเกะ ๆ กะ ๆ ขวางหูขวางตา ขวางอรรถธรรมเข้าอย่างน้อยสองหรือสามครั้ง พระเณรผู้นั้นเป็นต้องได้ถูกคาดโทษทัณฑ์เป็นแน่แท้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-07-2020 เมื่อ 11:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #502  
เก่า 06-07-2020, 22:07
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

มีให้พระเณรเพ่นพ่านแถวศาลา

คราวหนึ่งในฤดูหนาว องค์ท่านคาดคั้นเอากับพระเวรศาลารูปหนึ่ง เมื่อเห็นพระองค์หนึ่งออกมาเที่ยวเพ่นพ่านอยู่แถวโรงน้ำร้อน นอกจากนี้ยังมีลักษณะเหมือนกับจะออกมาผิงไฟ เพื่อบรรเทาอาการหนาวอีกด้วย เพราะอยู่ใกล้บริเวณเตาเผาไฟ องค์ท่านคาดคั้นเอาอย่างหนักว่า
“เมื่อสักครู่นี้ เราเห็นพระมาเที่ยวเพ่นพ่านแถวโรงน้ำร้อน ดู ๆ จะมาผิงไฟนะ เราสั่งไว้ รู้กันแล้วไม่ใช่เหรอ ห้ามพระเณรออกมาเที่ยวเพ่นพ่านแถวศาลาโดยไม่จำเป็น และห้ามออกมาผิงไฟ เป็นพระหนุ่มเณรน้อยอยู่แท้ ๆ เพียงเท่านี้ก็ไม่มีความอดทน เหยาะ ๆ แหยะ ๆ ไม่จริงจัง หาแต่ความสะดวกสบาย.. ปรนเปรอแต่กาย แต่ภายในใจกลับไม่มีสติ ไม่มีทีท่าแห่งการต่อสู้กับกิเลสในใจตนเลย พระที่เราเห็นนี้เป็นใคร บอกมานะ บอกให้หนีนะ ให้ออกจากวัดเราเดี๋ยวนี้”


ที่องค์ท่านเอาจริงเอาจังมากถึงเพียงนี้ ก็เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้บอกเตือนไว้หลายครั้งหลายคราแล้ว เมื่อออกมาพบเห็นพระทำผิดคำสั่งด้วยองค์ท่านเองเช่นนี้ ท่านจึงกล่าวอย่างเผ็ดร้อนขึ้นในทันที หากผู้ใดพบเห็นกิริยาของท่านในเวลานั้น จะเห็นประหนึ่งว่าพระเวรศาลาผู้นั้นกำลังถูกดุว่าอย่างรุนแรง แต่เมื่อได้กราบเรียนเหตุผลความจริงต่อองค์ท่านว่า ที่เห็นพระรูปนั้นออกมาโรงน้ำร้อนท่านมิได้ออกมาผิงไฟ ท่านออกมาทำข้อวัตรช่วยงานพระเวรศาลาเป็นครั้งคราว พอกราบเรียนเช่นนั้น องค์ท่านก็คลายการคาดโทษพระรูปนั้นทันที

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-07-2020 เมื่อ 11:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #503  
เก่า 06-07-2020, 22:18
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

การพูดคุยกับโยมผู้หญิง

ในบางคราว มีพระองค์หนึ่งพูดคุยกับโยมผู้หญิงที่ใต้ถุนศาลา แม้ไม่ใช่อยู่ในที่ลับตา แต่อาจอยู่ในข่ายเป็นที่ลับหูได้ จะด้วยเหตุบังเอิญหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ ทุกวันก็ไม่ปรากฏเห็นพ่อแม่ครูอาจารย์ในเวลานั้น แต่ในวันนี้องค์ท่านมาพบเห็นเข้าพอดี ธรรมดาผู้หญิงย่อมถือว่าเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์อยู่แล้ว ในธรรมท่านก็สอนให้ระมัดระวังอย่างยิ่งยวด ถึงขนาดว่าไม่ให้เห็นเสียเลยนั่นแหละเป็นดี ถ้าจำเป็นต้องเห็นก็อย่าพูดด้วย ถ้าจำเป็นต้องพูดด้วยก็ให้มีสติ.. อย่าให้ผิดธรรมผิดวินัย การที่พระคุยกับโยมผู้หญิง ธรรมวินัยท่านเปรียบเฉกเช่นการไปเล่นกับอสรพิษร้าย หากเป็นการพูดคุยที่ล่อแหลมต่อการผิดพระวินัยด้วยแล้ว คืออยู่ในบริเวณนั้นเพียงสองต่อสอง แม้จะมีพระองค์อื่นอยู่ห่างออกไปไม่ลับตา แต่หากเมื่อพูดคุยไม่มีใครได้ยินก็อาจเข้าข่ายเป็นที่ลับหูได้ เมื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ออกมาพบเห็นการกระทำลักษณะใกล้เคียงนี้ ก็เหมือนกับเป็นการอาราธนาให้เทศน์ดี ๆ นี่เอง ดังนี้
“ท่านองค์นี้ ชอบประจบประแจงญาติโยม มันมีสมบัติอะไรของท่านนักหนา อยู่ที่ใต้ถุนศาลานั่น”


ถ้าเรื่องไม่เลวร้ายนัก ท่านก็จะคาดโทษไว้ก่อน ถ้าเป็นเรื่องรุนแรงก็ถึงขั้นไล่ออกจากวัดไปเลย อุบายทรมานพระเณรของพ่อแม่ครูอาจารย์นั้น ต้องยอมรับว่าองค์ท่านเป็นจอมปราชญ์โดยแท้ การคาดโทษของท่านในครั้งนั้นทำให้พระองค์นั้นต้องรีบขอโอกาสขึ้นไปที่กุฏิองค์ท่าน เพื่อไปกราบเรียนแก้ตัวโดยให้เหตุผลว่า
“ที่ไปคุยก็เพราะว่าโยมผู้หญิงเป็นคนบ้านเดียวกัน” ท่านให้เหตุผลเช่นนี้เพราะนึกว่ามีน้ำหนักเพียงพอ.. อีกทั้งด้วยความกลัวว่าจะถูกลงโทษหนัก


ผลที่ได้รับผิดคาดหมายเลยยิ่งถูกองค์ท่านขนาบเข้าให้อีกว่า
ท่านองค์นี้ ผิดแล้วให้รู้จักผิด อย่ามาแก้ตัว แม้ในพรรษาก็กระเด็นออกจากวัดได้นะ คนในบ้านตาดก็เป็นคนบ้านเดียวกับผมทั้งนั้น ท่านเคยเห็นผมไปคุยกับใครแบบนั้นหรือ


เมื่อเจอเข้าไปแบบนี้ พระองค์นั้นก็ได้แต่นั่งก้มหน้านิ่งยอมรับผิดแต่โดยดี ที่ถูกต้องนั้นหากมีความจำเป็นต้องพูดคุยกับโยมผู้หญิงจริง ๆ ต้องมีพระเณรหรือโยมผู้ชายคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อนตลอดระยะเวลาที่สนทนา สถานที่ที่เหมาะสมก็คือบนศาลาวัดป่าบ้านตาด พูดคุยธุระการงานเท่าที่จำเป็นเท่านั้นแล้วรีบเลิกลา และแม้วิธีการถูกต้องก็ไม่ควรทำเช่นนี้บ่อยครั้ง เพราะจะผิดธรรม ผิดข้อวัตรปฏิบัติของวัดอีก

อันที่จริงหากครูบาอาจารย์ตำหนิ ก็ต้องยอมรับอย่างเดียวเท่านั้น การแก้ตัวนั้นกลับเป็นการทำร้ายตัวเองหนักเข้าไปอีก เพราะนอกจากจะดูไม่เชื่อฟังคำสอนแล้ว ยังเท่ากับไปถกเถียง หรือท้าทายท่านอีกต่างหาก ซึ่งในทางกรรมฐานถือเป็นการขาดความเคารพต่อครูบาอาจารย์ของเราอย่างมาก อย่างไรก็ดี ความยอดเยี่ยมของพ่อแม่ครูอาจารย์ไม่หยุดเพียงแค่นั้น พอรุ่งเช้าอีกวันหนึ่ง พระองค์นี้จะเข้าไปทำข้อวัตรอยู่ใกล้ชิดองค์ท่าน เช่น การรับประเคนอาหาร หรือการจัดอาหารถวาย แต่ปรากฏว่าพ่อแม่ครูอาจารย์ไล่หนี ไม่ยอมให้เข้าใกล้อีกเลย กว่าจะเร่งภาวนาทำความดี.. จนท่านผ่อนคลายโทษทัณฑ์ลงได้สำหรับพระองค์นี้ ต้องใช้เวลานานถึงสองหรือสามปีเลยทีเดียว องค์ท่านจึงยอมให้เข้ามาปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดได้อีก นี่แหละ..พ่อแม่ครูอาจารย์ ผู้เป็นจอมปราชญ์แห่งกรรมฐาน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-07-2020 เมื่อ 11:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #504  
เก่า 07-07-2020, 22:24
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

การแจกจ่ายอาหารของพระเณร

แล้ววันหนึ่ง พระอีกองค์หนึ่งซึ่งเคยไปสัพยอกพระองค์ที่ถูกคาดโทษไว้ ก็เจอธรรมเผ็ดร้อนเข้ากับตนบ้าง เรียกว่ากรรมสนองทันตาเห็น เนื่องจากปกติในเวลาแจกอาหารตอนก่อนฉันจังหัน ในสมัยนั้นยังใช้ศาลาชั้นบนเป็นที่ฉันจังหันอยู่ พระทุกองค์ก็ช่วยกันแจกอาหาร บางองค์ก็จัดใส่ถ้วยใส่ถาดไว้ แล้วจัดแยกเป็นชุด ๆ ส่งให้ญาติโยมที่มาพักปฏิบัติธรรมในโรงครัวบ้าง ตามกุฏิต่าง ๆ บ้างอย่างทั่วถึง พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านจะคอยสำรวจตรวจตราดูแลอาหารการกิน ของพวกญาติโยมที่มาพำนักปฏิบัติธรรมภายในวัดด้วย ว่ามีมากน้อยเพียงพอหรือไม่อย่างไร ผู้ที่จะจัดอาหารเข้าไปในโรงครัวนั้น จะทำสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้เด็ดขาด เรียกว่า ต้องรู้จักจัดประเภทของอาหารให้พอดีและเหมาะสม เขาจะต้องรับประทานได้ด้วย เหตุการณ์คราวนี้กรรมก็มาตามสนองพระองค์ที่ไปสัพยอกเขาไว้บ้าง คือขณะที่กำลังถือหม้อแกงแจกอาหารเข้าในบาตรพระอยู่นั้น เสียงพ่อแม่ครูอาจารย์ก็ดังขึ้นสั่นศาลาเลยทีเดียว ท่ามกลางผู้คนมากมาย
“ใครไปหิ้วหูพระองค์นี้หูเดียวให้ดูหน่อยซิ หิ้วหูพระองค์นี้หูเดียวดูซิ จะเป็นยังไง


พระองค์ที่ถูกว่านั้นยังยืนงง .. ทำอะไรไม่ถูก ไม่เข้าใจความหมายว่า อยู่ ๆ ทำไมจะมาหิ้วหูท่าน หูเดียวแล้วก็ยังไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ที่แท้พระองค์นั้นกำลังใช้มือข้างซ้ายถือหูหม้อหูเดียว โดยใช้มือข้างขวาถือทัพพีตักแกงใส่บาตรพระ และขณะที่ท่านกำลังยืนงงอยู่นั้น พระอีกองค์ต้องเข้ามาช่วยกู้สถานการณ์โดยเข้าไปถือหม้อแกงนั้นแทนท่าน แต่ใช้สองมือจับหูหม้อแกงทั้งสองหู แล้วเอาหม้อแกงวางกับพื้นจึงค่อยเอาทัพพีตักแกงใส่บาตร พอตักแล้วก็ยกหม้อแกงเดินแจกอาหารต่อไป แต่ใช้สองมือจับหูหม้อสองหู เวลาจะตักใส่บาตรก็วางหม้อแกงลงกับพื้นเสียก่อน เรื่องก็เลยยุติไปแต่พระองค์ที่โดนเทศน์ รู้สึกว่าวันนั้นทำเอาฉันข้าวแทบไม่ลงเลยทีเดียว

เป็นเรื่องแปลกแต่จริง จะว่าเป็นแรงบันดาลใจจากอะไรก็ตาม พระเณรในวัดป่าบ้านตาด.. ถ้าได้ทำอะไรต่อหน้าพ่อแม่ครูอาจารย์จิตใจรู้สึกคึกคัก บางทีก็ดูเหมือนจะกล้า แต่บางทีก็ดูเหมือนจะกลัว ยิ่งถ้าตัวเองกำลังทำอะไรที่ดี ๆ อยู่.. ยิ่งนึกอยากให้ท่านมาเห็น ท่านกลับไม่เคยเหลือบตาแลดูสักที แต่ตอนที่ทำอะไรผิด ๆ พลาด ๆ ไม่ค่อยจะดี ท่านกลับเป็นส่งสายตาแวบมาทุกครั้งไป ยิ่งถ้าแอบทำอยู่ตามกุฏิ เช่น จับกลุ่มคุยกันไม่นานก็มักจะเจอองค์ท่านมาเยี่ยมแบบไม่รู้ตัว พอพระเณรเหลือบไปเห็นองค์ท่านเข้าเท่านั้น ทุกองค์ทุกท่านจะรับรู้ในโทษความผิดของความเหลาะแหละเหลวไหลของตนโดยทันที ถึงเวลานั้นจึงไม่รู้ว่าใครเป็นใครด้วยความละอายต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ ต่างพากันวิ่งป่าราบเลยทีเดียว ทุกองค์ทุกท่านยอมรับในความผิด ไม่คิดถกเถียง หรือโกหกพ่อแม่ครูอาจารย์แต่อย่างใด และต่างก็จดจ่อคอยฟังเทศนากัณฑ์ใหญ่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วยความระทึกใจ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-07-2020 เมื่อ 03:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #505  
เก่า 07-07-2020, 22:41
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

อุบายขู่พระเณรให้รู้ทันจิตตน

อีกคราวหนึ่ง ครูบาอีกองค์หนึ่งท่านอธิษฐานจิตว่า หากท่านทำอะไรผิด.. ขอให้พ่อแม่ครูอาจารย์อย่าด่าท่านต่อหน้าผู้คนเลย ท่านว่าท่านอายคน ท่านรับไม่ได้ ขอให้บอกกับท่านดี ๆ ก็เป็นเรื่องที่แปลกนัก ท่านทำจานใส่อาหารตกแตกในศาลาเสียงดังเพล้งเลยทีเดียว เป็นความผิดพลาดครั้งร้ายแรงนักสำหรับพระกรรมฐาน.. ผู้จักต้องมีสติระมัดระวัง สำรวมอยู่เป็นนิตย์ แต่ความผิดในครั้งนั้นพ่อแม่ครูอาจารย์เพียงแค่หันมามอง

พอท่านเห็นแล้วก็เฉย ๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านว่าท่านไม่เคยถูกพ่อแม่ครูอาจารย์ดุด่าต่อหน้าญาติโยมเลย แต่ดุด่าในที่เฉพาะก็มีบ้าง

มีเณรองค์หนึ่งไม่ทราบว่าภาวนาดีอย่างไร เข้าใจว่าตัวเองสำเร็จธรรมแล้ว จึงพยายามจะขึ้นไปกราบเรียนพ่อแม่ครูอาจารย์ ครูบาที่เป็นเวรศาลา เห็นอาการของเณรก็รู้แล้วว่าแท้จริงเป็นเช่นไร คิดพยายามจะช่วยเหลือจึงกล่าวว่า
นี่เณร ลองเล่าให้ครูบาฟังหน่อยซิ มันเป็นยังไง ไม่ต้องไปกราบเรียนพ่อแม่ครูอาจารย์ก็ได้หรอก ครูบาพอแนะนำได้อยู่น้า


เณรก็พูดขึ้นว่า “ถึงเล่าให้ครูบาฟังก็ไม่รู้เรื่องหรอก ของอย่างนี้มันเป็นปัจจัตตัง”

สุดท้ายครูบาเห็นเณรตั้งท่าจะขึ้นไปกราบเรียนพ่อแม่ครูอาจารย์ให้ได้ ก็เลยปล่อยตามความประสงค์ เณรจึงก้าวขึ้นกุฏิของพ่อแม่ครูอาจารย์อย่างอาจหาญ มิหนำซ้ำยังบังอาจเคาะประตูกุฏิท่านอย่างไม่สะทกสะท้านอีกด้วย ทันใดนั้นเณรก็เห็นพ่อแม่ครูอาจารย์เปิดประตูออกมา เณรจึงรีบกราบเรียนว่า “พ่อแม่ครูอาจารย์ครับ ผมสำเร็จแล้วครับ”

ว่าดังนั้นแล้วยังไม่ทันที่เณรจะกราบเรียนว่าอย่างไรต่อ เสียงพ่อแม่ครูอาจารย์ก็ดังขึ้น ไม่ผิดอะไรกับอสนีบาตฟากลงที่ข้างหู
เณรนี่ มันจะเป็นบ้าแล้วหรือ ? หนีเดี๋ยวนี้นะ” เท่านั้นเอง เณรก็เหมือนมีปาฏิหาริย์.. กระโจนพรวดพราดลงจากกุฏิไวกว่าสายฟ้าแลบเสียอีก วิ่งกระหืดกระหอบออกมา ก็พอดีมาพบครูบาซึ่งคอยสังเกตการณ์อยู่ตลอด


จากนั้นครูบาก็พูดยิ้ม ๆ กับเณรว่า
“เป็นไงบ้างล่ะเณร ของอย่างนี้มันเป็นปัจจัตตัง ไม่เจอกับตัวเองก็ไม่รู้หรอกเนอะ ครูบาบอกแล้วก็ไม่เชื่อ”


ผลปรากฏว่าอาการที่สำคัญตนเช่นนั้นก็ระงับลงไป และองค์ท่านก็มิได้ไล่หนี หรือเอาเรื่องนี้มากล่าวดุด่าอะไรอีกเลย

อีกคราวหนึ่ง ครั้งนี้เป็นพระคือ ครูบาอีกองค์หนึ่งท่านภาวนาแล้วเกิดสำคัญผิดว่า ตัวเองมีหูทิพย์ขึ้นมา เพราะได้ยินเสียงลึกลับอะไรต่าง ๆ มากมาย ครั้งหนึ่งท่านได้ยินเสียงนกร้อง แล้วท่านก็เข้าใจไปว่า นกมันบอกว่าฝนกำลังจะตกแล้ว ท่านก็รีบไปเก็บถ้วยเก็บจานชามที่ตากแดดเอาไว้ พอเก็บเสร็จไม่นาน ฝนก็ตกลงมาจริง ๆ ยิ่งทำให้ท่านหลงเชื่อเสียงที่ได้ยินหนักเข้าไปอีก ครั้นปรึกษาครูบาองค์ไหนก็ไม่เป็นที่ลงใจ สุดท้ายแม้จะเกรงกลัวเพียงใดก็ต้องยอมเสี่ยงเข้าหาพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ความจริงได้เหตุผล.. ผิดถูกเอามาสอนตน พอก้าวเท้าขึ้นบันไดกุฏิ ท่านเห็นพ่อแม่ครูอาจารย์อยู่ข้างบนจ้องมองดูท่านด้วยแววตาดุ ๆ ท่านก็ชักไม่ค่อยจะกล้าแล้ว จากนั้นจึงเอามือชี้มาที่หูของตัวเองแล้วพูดขึ้นว่า “พ่อแม่ครูอาจารย์ครับ หูผม”

ครูบาองค์นี้กล่าวยังไม่ทันจะจบ กำลังว่าจะพูดอะไรต่อไปอีก ปรากฏว่าพ่อแม่ครูอาจารย์ก็ขนาบเข้าให้ในทันทีว่า “ท่านนี่.. ระวังจะเป็นบ้านะ

พอครูบาได้ยินดังนั้น ก็หันหลังลงจากกุฏิเปิดแน่บไปเลย ตอนหลังพ่อแม่ครูอาจารย์ก็เมตตาเทศน์สอนให้บริกรรมพุทโธถี่ ๆ และอย่าไปยุ่งกับเสียงที่ได้ยินอีก เรื่องหูทิพย์ที่วาดภาพไว้ก็เลยจืดจางหายไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-07-2020 เมื่อ 03:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #506  
เก่า 08-07-2020, 12:41
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เดินบิณฑบาตทำข้อวัตรปัดกวาดให้สมเป็นพระหนุ่ม

อีกเรื่องหนึ่ง ครูบาองค์หนึ่งท่านเดินจงกรมกางร่มสู้ฝน จนทางจงกรมแฉะเป็นเลนเป็นโคลน พอฝนหยุดท่านเห็นพ่อแม่ครูอาจารย์เดินผ่านมา ครูบารีบล้างเท้าหลบขึ้นกุฏิแอบดูอยู่ เพราะถ้าพ่อแม่ครูอาจารย์เห็นพระเดินจงกรม ท่านจะเดินเลี่ยงเข้าป่า นัยหนึ่งไม่ต้องการให้พระรู้ว่าท่านมาดู นัยสองไม่เป็นการรบกวนพระทำความเพียร พ่อแม่ครูอาจารย์มองเห็นทางจงกรมก็รู้ทันทีว่า มีพระเดินจงกรมในระหว่างฝนตก เย็นวันนั้นพ่อแม่ครูอาจารย์สั่งตีฆ้องเรียกประชุมเพื่อเทศน์อบรม และท่านก็เทศน์ให้กำลังใจว่า “ฝนตก ๆ ก็ยังมีพระเดินจงกรมอยู่”

ทำให้ครูบาท่านนี้ปลาบปลื้มใจมาก วันหนึ่งครูบาเกิดท้องเสียอย่างรุนแรง ตอนเช้าเดินไปบิณฑบาตเกือบไม่ไหว แต่ก็แข็งใจไปและวันนั้นก็ช่างแปลกประหลาดเสียเหลือเกิน อยู่ ๆ พ่อแม่ครูอาจารย์ก็ใช้ให้พระองค์หนึ่งเอาผลไม้ไปใส่บาตรครูบาพร้อมกับพูดว่า “ผลไม้นี้ช่วยแก้โรคถ่ายท้องได้นะ

ครูบาเพียงได้ยินเท่านี้ ยังไม่ทันได้ฉันผลไม้นั้น.. โรคมันก็ทำท่าจะหายไปเสียแล้ว นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่หยิบยกมา พระเณรที่อยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์ต่างองค์ต่างประสบพบเห็นความเมตตาขององค์ท่านในหลายลักษณะไม่ซ้ำแบบกัน

พอรุ่งเช้าครูบาก็ออกไปบิณฑบาตตามปกติเช่นที่เคยปฏิบัติมา แต่ตอนขากลับจากบิณฑบาตนั้น พระเณรต้องเดินผ่านพ่อแม่ครูอาจารย์ในช่วงใกล้ ๆ จะถึงประตูวัด อันนี้ก็เป็นอุบายอันชาญฉลาด.. ที่พ่อแม่ครูอาจารย์คอยสอดส่องพระเณรในยามบิณฑบาตไปในตัว ถ้าหากเห็นพระหนุ่มองค์ไหนเดินบิณฑบาตมาช้ากว่าหมู่พวกเป็นประจำ บางทีก็อาจจะได้ของแถมเป็นเทศน์เด็ด ๆ ตามมา ยกตัวอย่างเช่น

ครูบาท่านหนึ่งได้เดินแซงพ่อแม่ครูอาจารย์ตอนใกล้ ๆ จะถึงประตูวัด ในขณะที่กำลังจะแซงท่านไปนั้น ก็ได้ยินเสียงองค์ท่านพูดขึ้นเบา ๆ พอให้ได้ยินว่า
พระหนุ่ม ๆ หัวเท่ากำปั้น เดินบิณฑบาตยังกะคนแก่อายุ ๘๐ มันใช้ไม่ได้นะ


นอกจากนี้ องค์ท่านได้เคยเทศน์สอนเกี่ยวกับการครองผ้าออกบิณฑบาตว่า “ถ้าใครไม่ซ้อนผ้าสังฆาฏิออกไปบิณฑบาต ให้ไล่หนีออกจากวัด ถ้าไม่กล้าบอกให้มาบอกเรา เว้นไว้แต่วันที่ฝนจะตก”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-07-2020 เมื่อ 02:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #507  
เก่า 08-07-2020, 13:11
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

การปฏิบัติครูอาจารย์ให้สังเกต รู้จักคิดอ่านให้รอบคอบ

พระเณรที่เคยอยู่กับองค์ท่านทุกรุ่นต่างยอมรับเป็นเสียงเดียวกัน.. ในความเป็นจอมปราชญ์ของพ่อแม่ครูอาจารย์ว่าสุดฉลาดแหลมคม ท่านรอบรู้ทั้งภายนอกและภายใน.. เต็มเปี่ยมด้วยกระแสแห่งเมตตาธรรม แม้ในการทำข้อวัตรหยาบทางภายนอก หากเกิดความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย พ่อแม่ครูอาจารย์ก็ไม่ยอมปล่อยปละละเลยให้เกิดเป็นความเสียหายแก่ศิษย์ อย่างเช่นเหตุการณ์ในคราวนี้

ครั้งหนึ่ง ขณะที่พ่อแม่ครูอาจารย์จะนั่งรถออกไปทำธุระข้างนอก องค์ท่านใช้ให้พระเวรศาลาไปเอากระโถนเล็กมาให้ พระก็ไปหยิบเอากระโถนผิด.. เป็นกระโถนใบใหญ่มา จะด้วยความรีบร้อนไม่ทันคิดให้รอบคอบว่าท่านสั่งอย่างไร หรืออาจคิดเองว่ากระโถนอะไรก็ใช้ได้เหมือนกัน หรือเพราะไม่รู้ขนาดของกระโถน จึงไม่ใส่ใจทำตามที่ท่านบอก ซึ่งโดยปกติกระโถนเล็กจะใช้เป็นกระโถนสำหรับบ้วนคำหมาก ส่วนกระโถนใหญ่จะใช้ทิ้งเศษอาหารในช่วงเวลาฉันตอนเช้า เรียกได้ว่าเป็นของใช้ในกิจที่แตกต่างกัน และพระเณรทุกองค์น่าจะรู้เป็นอย่างดีแล้ว แต่สำหรับพระองค์นี้ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงหยิบฉวยมาผิด มิหนำซ้ำ ตอนปิดประตูรถถวายท่าน ก็ยังปิด ๆ เปิด ๆ ดูโลเลโลกเลก ต้องปิด ๆ เปิด ๆ ถึงสองทีสามทีกว่าจะล็อคประตูได้ พ่อแม่ครูอาจารย์จึงต้องได้ทั้งดุทั้งปลอบ ดังนี้

“ท่านองค์นี้มันยังไงกัน บอกให้ไปเอากระโถนเล็ก ก็ไปเอากระโถนใหญ่มา ปิดประตูรถก็ปิดตั้งสองทีสามที ยังปิดไม่เข้า ทำไมจะเซ่อซ่าเอานักหนา การทำข้อวัตรปฏิบัติครูบาอาจารย์มันต้องได้ศึกษาคิดอ่านให้รอบคอบถึงหน้าที่ การงานที่เกี่ยวข้องในทุกด้านที่ตนเองต้องกระทำ เพื่อปฏิบัติหน้าที่นั้น ๆ ให้เหมาะสมและถูกกับอัธยาศัยของครูบาอาจารย์ ไม่ใช่ทำแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว ไม่ใช้ความคิดความอ่าน อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ขาดความเอาใจใส่ในกิจการงานที่ควร ย่อมไม่สมควรแก่นักปฏิบัติผู้มุ่งหวังความหลุดพ้น

และอีกกรณีหนึ่ง ขณะที่องค์ท่านกำลังจะเดินขึ้นรถที่จอดรออยู่หน้ากุฏิ ระหว่างนั้นโยมได้นำน้ำปานะมาถวายอย่างรีบร้อนตรงประตูด้านคนขับ โดยยืนอยู่และได้ยื่นถวายพระ.. ที่นั่งอยู่บนรถด้านซ้ายของคนขับด้วยความเร่งรีบ องค์ท่านเห็นกิริยาเหล่านั้นในท่ามกลางผู้คนมากมาย พอองค์ท่านขึ้นนั่งบนรถ ก็เอ็ดขึ้นเลยว่า
“พระรับประเคนไม่มีธรรม ไม่มีวินัย เราดูไม่ได้นะ.. เอาลงไป รับประเคนใหม่


สาเหตุที่โดนดุ ก็เนื่องจากกิริยาที่โยมยื่นปานะถวายพระนั้น.. เป็นอาการขาดความเคารพ พระก็ยังไปรับเสียอีก จะกระทำด้วยความรีบร้อนหรืออย่างไรก็แล้วแต่.. โยมก็ควรน้อมเข้ามาถวาย ซึ่งก็อยู่ในองค์ประเคน ๕* ตามพระวินัยนั่นเอง หากว่าโยมประมาท ขาดความรอบคอบ .. พระก็ควรบอกกล่าว ซึ่งองค์ท่านได้พยายามพร่ำสอนพระโดยตลอด.. เกี่ยวกับการสงวนรักษาพระธรรมวินัย

อีกเหตุการณ์หนึ่ง มีหมอเส้นมาจับเส้นถวาย และได้ขอให้องค์ท่านนั่งขัดสมาธิเพื่อจะจับเส้นตะโพก องค์ท่านจึงพูดขึ้นว่า “นั่งสมาธิจับเส้น เราไม่ค่อยสนิทใจ ถ้านั่งขัดสมาธิก็นั่งภาวนาไปเลย

อีกคราวหนึ่ง องค์ท่านได้รับนิมนต์ไปรับผ้าป่าในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร ทางวัดได้จัดที่นอนจับเส้นไว้หน้าธรรมาสน์ของ หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป องค์ท่านเลยดุขึ้นว่า “พระไม่ดูธรรม ดูวินัย ไม่รู้เหรอ อาวุโสภันเต มาปูหน้าหลวงปู่จันทร์ศรีได้อย่างไร ธรรมวินัยอยู่ตรงไหน.. องค์ศาสดาอยู่ที่นั่น ย้ายออกไปที่อื่น”

=======================

องค์ประเคน ๕ ประกอบด้วย

๑. ของที่ประเคนต้องไม่ใหญ่โตและหนักเกินไป (เพราะต้องยกให้พ้นจากพื้น)

๒. ผู้ประเคนต้องอยู่ในหัตถบาส (ช่วงแขนห่างจากพระประมาณ ๑ ศอก)

๓. ผู้ประเคนน้อมสิ่งของที่จะประเคนนั้นด้วยมือก็ได้ หรือเกี่ยวเนื่องด้วยกายก็ได้ เช่น ใช้ทัพพีตักถวาย

๔. ผู้ประเคนน้อมสิ่งของที่จะประเคนนั้นเข้ามาด้วยอาการเคารพนอบน้อม

๕. สำหรับผู้ชาย พระรับประเคนด้วยมือ แต่ถ้าผู้หญิง พระจะใช้ผ้าทอดรับ ใช้บาตรหรือจานแทน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-07-2020 เมื่อ 02:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #508  
เก่า 10-07-2020, 15:16
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

บริขารของพระป่า

เกี่ยวกับเรื่องบริขารที่จำเป็นต้องใช้นั้น ในปฏิปทาของพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็มีแบบอย่างที่ท่านพาปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงวันนี้ โดยมากท่านก็ยึดถือปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด ไม่ค่อยจะมีอะไรแปลกประหลาด หรือพิสดารแหวกแนว ออกนอกลู่นอกทาง ปกติพ่อแม่ครูอาจารย์ไม่ค่อยจะส่งเสริมให้พระเณรในวัดป่าบ้านตาด มาหมกมุ่นเกี่ยวกับการจัดทำบริขารต่าง ๆ มากนัก เพราะองค์ท่านเองเคยทำกลดเพียงคันหนึ่ง แล้วเป็นเหตุให้จิตเสื่อมไปเป็นปี กว่าจะรื้อฟื้นจิตใจให้มีสมาธิกลับคืนมาได้ดังเดิม ก็ต้องผ่านความทุกข์ทรมานเพราะจิตเสื่อมมาอย่างสุดแสนสาหัส

เพราะเหตุนั้น องค์ท่านจึงต้องเข้มงวดกวดขัน และคอยป้องกัน ไม่ให้มีการงานใด ๆ มาเป็นภัยต่อจิตภาวนาของพระเณร อันจะเป็นเหตุทำให้จิตใจเหินห่างจาก “พุทโธ” และอีกอย่างหนึ่ง สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานของสมาธิจิตมั่นคงดีแล้ว ก็ยังเป็นเหตุให้สมาธิเสื่อมได้ เพราะการทำบริขารแม้เพียงการทำกลดคันเดียว ยังไม่ทันแล้วเสร็จ.. สมาธิที่เคยเข้าได้ตลอดเวลา ก็เริ่มปรากฏเข้าได้บ้าง ไม่ได้บ้าง จนถึงขั้นสมาธิอันตธานไม่หลงเหลือเลย ดังที่องค์ท่านได้เผชิญมาแล้ว และเห็นโทษของความที่จิตเสื่อมอย่างถึงใจ

แต่ถึงกระนั้น องค์ท่านก็ไม่ได้ห้ามมิให้พระเณรจัดทำบริขารเสียเลยทีเดียว เพราะความสำคัญเกี่ยวกับบริขารที่จำเป็นต้องใช้ก็ยังคงมีอยู่ และเป็นสิ่งที่พระเณรต้องพึ่งพาอาศัยไปตลอดชีวิตนักบวช ดังนั้น การศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจ และฝึกหัดทำบริขารให้เป็นด้วยตนเอง ก็นับว่ามีความจำเป็น ปรารภว่า “พระเณรควรศึกษาและฝึกหัดทำบริขารให้เป็นบ้าง อย่างน้อยก็คนละอย่างสองอย่างก็ยังดี เพื่อช่วยกันรักษาแบบอย่างบริขารที่ถูกต้อง และปฏิปทาอันดีงามของครูบาอาจารย์ ให้กุลบุตรผู้มาสุดท้ายภายหลัง ได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาในภายภาคหน้าต่อไป หากพระเณรพากันทอดธุระเสียแล้ว ต่อไปใครจะมาทำบริขารที่ถูกต้องให้พระเณรได้ใช้กัน

ก็จริงอย่างนั้นทีเดียว หากพระเณรทำบริขารกันเองไม่ได้แล้ว ก็คงจะต้องไปพึ่งบริขารจากร้านค้า ซึ่งก็ทำมาผิดบ้าง ถูกบ้าง ใช้ได้บ้าง ใช้ไม่ได้บ้าง อย่างที่เห็น ๆ กันอยู่ เพราะคนทำก็ทำมาเพียงเพื่อขอให้ขายได้ บางเจ้าก็ทำดี บางเจ้าก็ทำไม่ดี ส่วนคนซื้อก็สักแต่ว่าซื้อ เพียงเพื่อให้มีของได้ถวายพระ เรียกว่ามีศรัทธาเต็มเปี่ยม แต่ขาดปัญญาใคร่ครวญ ส่วนผู้ใช้คือพระเณรก็ไม่ได้ซื้อหามาเอง เขาเอามาถวายก็จำต้องฉลองศรัทธากันไปตามมีตามได้.. ใช้ได้บ้าง ใช้ไม่ได้บ้าง ก็ทน ๆ กันไป เรื่องมันก็เข้าตำราว่า “คนซื้อก็ไม่ได้ใช้ คนใช้ก็ไม่ได้ซื้อ คนทำก็สนุกขายกันไปเรื่อย ๆ” นี่คือความจริงในยุคปัจจุบัน

ดังนั้น การที่พ่อแม่ครูอาจารย์ไม่ถึงกับส่งเสริมพระเณรในเรื่องนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่ต้องฝึกหัดทำบริขารให้เป็น แม้องค์ท่านเอง พวกลูกศิษย์ก็ทราบกันดีว่า องค์ท่านมีฝีมือในการตัดเย็บจีวรที่ทั้งรวดเร็วและสวยงามไม่ธรรมดาเลย ดังนั้น การที่องค์ท่านไม่ส่งเสริม แต่ก็ไม่ถึงกับห้าม และยังชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการจัดทำบริขารอีกด้วย จึงน่าจะเป็นอุบายที่มุ่งสอนให้พระเณรรู้จักรักษาตนเอง มิให้เรื่องบริขารอันเป็นของภายนอก มาทำลายสาระสำคัญทางด้านภายในคือจิตภาวนานั่นเอง

จะเห็นได้จากการที่วัดป่าบ้านตาดรับกฐินในแต่ละปี พ่อแม่ครูอาจารย์จะพาพระเณรกรานกฐิน และอนุโมทนากฐินทุกครั้งไป การกรานกฐินนั้น ต้องได้เอาผ้ากฐินมา กะ ตัด เย็บ ย้อม ให้ได้สีและเสร็จทันในวันนั้น ให้เป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง โดยมากก็ใช้เย็บเป็นสบง เพื่อให้ทันกับเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด และต้องได้ภิกษุผู้มีความสามารถ มีความชำนาญการ กะ ตัด เย็บ ย้อม จึงจะสำเร็จประโยชน์ ใช้ได้ทันกับเวลา

เมื่อกรานกฐินแล้ว ก็เป็นช่วงที่พระเณรจะออกเดินธุดงค์ เพื่อหาที่สงบสงัดบำเพ็ญเพียรภาวนาในป่าในเขาตามอัธยาศัย การกรานกฐินจะอยู่ในช่วงจีวรกาลสมัย สำหรับภิกษุที่ต้องการจีวรผืนใดผืนหนึ่ง ก็ต้องช่วยกันตัดเย็บจีวร ในครั้งพุทธกาลนั้น ถือว่าการตัดเย็บจีวรแต่ละครั้ง เป็นงานใหญ่ที่พระเณรต้องช่วยกันทั้งวัดเลยทีเดียว ในครั้งพุทธกาล แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังได้เสด็จมาช่วยพระภิกษุสงฆ์ทำจีวรในครั้งนั้นด้วย

ส่วนที่วัดป่าบ้านตาดนั้น เมื่อรับกฐินแล้ว พ่อแม่ครูอาจารย์ก็อนุญาตให้พระเณรตัดเย็บจีวรกันได้ โดยใช้ศาลาด้านใน ชั้นบน แต่องค์ท่านก็เข้มงวดกวดขันให้ตัดเย็บเป็นเวล่ำเวลา พอถึงเวลาทำข้อวัตรปัดกวาดก็ต้องหยุดทันที และหากมีทีท่าว่าจะยืดเยื้อไปนานหลายวัน ก็จะพูดเตือนสติให้พระเณรได้คิด และรู้จักความพอเหมาะพอดีในการจัดทำบริขาร เพื่อไม่ให้พระเณรเหินห่างจากจิตภาวนานานมากเกินไป

สำหรับพระป่านั้น เรื่องบริขารท่านมักจะจัดทำกันเอง เพราะจะมีพระที่เก่งในการทำบริขารแต่ละอย่างตามจริตนิสัย บางองค์ก็เก่งเย็บจีวร บางองค์ก็เก่งทำขาบาตร บางองค์ก็เก่งทำกลด เป็นต้น ซึ่งบริขารแต่ละอย่างนั้นกว่าที่จะทำได้สำเร็จ ก็ต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกหัดมาเป็นอย่างดี และต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมากมายเลยทีเดียว สำหรับผู้ที่มีฝีมือในการทำบริขาร ส่วนใหญ่ท่านมักทำถวายครูบาอาจารย์ หรือสงเคราะห์แก่หมู่คณะที่ขาดแคลนตามโอกาสอันควร และถ่ายทอดวิชาสืบต่อกันมาในวงกรรมฐานด้วยกัน

สำหรับบริขารที่พระป่านิยมทำกันเองนั้นก็มี การตัดเย็บสบง จีวร สังฆาฏิ ผ้าอังสะ ผ้าปูนั่ง ผ้าอาบน้ำ การทำถลกบาตร (สบบาตร) ขาบาตร กลด มุ้งกลด และเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น การทำไม้สีฟัน (ไม้เจีย) ทำไม้กวาดสำหรับกวาดลานวัด เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งบางอย่างจำเป็นต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัย และบางอย่างก็จำเป็นต้องศึกษากรรมวิธีเป็นการเฉพาะ และมีครูบาอาจารย์เป็นผู้ถ่ายทอด จึงจะสามารถทำได้โดยถูกต้องและเหมาะกับการใช้งาน ดังนั้น หากพระเณรไม่ตั้งอกตั้งใจศึกษากันอย่างจริง ๆ จัง ๆ ก็ไม่อาจจะรักษาปฏิปทาในส่วนนี้ไว้ได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-07-2020 เมื่อ 17:04
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #509  
เก่า 11-07-2020, 00:46
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ในลำดับนี้ ก็จักแสดงบริขารต่าง ๆ ที่นิยมทำกันในสายพระป่า พอให้เป็นแนวทางปฏิบัติโดยสังเขป และเป็นแบบอย่างแก่กุลบุตรผู้มาสุดท้ายภายหลังได้เรียนรู้ และสืบทอดปฏิปทาอันดีงาม ถูกต้องตามพระวินัย ดังต่อไปนี้

การกะ ตัด เย็บ ย้อม จีวร

จีวร เป็นบริขารที่สำคัญของพระที่จำเป็นต้องมี และต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัย ด้วยสำหรับใช้นุ่งห่มปกปิดร่างกาย ประกอบด้วยผ้า ๓ ผืน เรียกว่าไตรจีวร ดังนี้

๑. สังฆาฏิ คือ ผ้าพาดหรือผ้าทาบไหล่ (สำหรับธรรมยุต ใช้ผ้า ๒ ชั้น)

๒. อุตราสงค์ คือ ผ้าสำหรับห่ม ที่เราเรียกว่า จีวร

๓. อันตรวาสก คือ ผ้านุ่ง ที่เรียกกันว่า สบง

สำหรับงานตัดเย็บจีวรนั้น ค่อนข้างเป็นงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรทีเดียว หากมิได้ตั้งใจศึกษา ฝึกหัดกันอย่างจริง ๆ จังแล้ว.. คงทำสำเร็จได้ยากมาก

เริ่มต้นจากการกะขนาดให้นุ่งห่มได้พอดีเสียก่อน ซึ่งก็มีมาตรฐานของแต่ละบุคคลดังนี้ ให้ผู้สวมใส่งอข้อศอกตั้งฉาก แล้ววัดจากส่วนปลายข้อศอกถึงปลายนิ้วกลาง ว่ายาวเท่าไร

สมมติว่า ศอกยาว ๔๕ ซม.
ขนาดมาตรฐานของสบง คือ ยาว ๕ ศอก กับ ๑ คืบ (๑ คืบ = ๓๐ ซม.) จะได้ขนาดของสบง คือ ยาว (๔๕ x ๕) + ๓๐ = ๒๕๕ ซม. (คำว่า ศอกในที่นี้ คือความยาวศอกของผู้ใช้) ส่วนกว้างมาตรฐาน ๒ ศอก ก็จะได้ส่วนกว้าง คือ ๔๕ x ๒ = ๙๐ ซม.


ขนาดมาตรฐานของจีวร คือ ยาว ๖ ศอก กับ ๑ คืบ ก็จะได้ขนาดของจีวร คือ ยาว (๔๕ x ๖) + ๓๐ = ๓๐๐ ซม. ส่วนกว้าง (สูง) มาตรฐาน = ๔ ศอก กับ ๑/๒ คืบ (ครึ่งคืบ = ๑๕ ซม.) ก็จะได้ความกว้าง (สูง) ของจีวร = (๔๕ x ๔) + ๑๕ = ๑๙๕ ซม.

ส่วนสังฆาฏินั้น ใช้ขนาดเท่ากับจีวร โดยมากเมื่อตัดเย็บเสร็จแล้ว สังฆาฏิจะขนาดใหญ่กว่าจีวรเล็กน้อย เผื่อเวลาเดินไปบิณฑบาตต้องซ้อนจีวรเข้ากับสังฆาฏิแล้ว จีวรจะไม่เลยสังฆาฏิออกไป

ขนาดมาตรฐานคือ รูปร่างคนปกติ ไม่อ้วนใหญ่เกินไป หรือสูงเกินไป ถ้าคนอ้วนใหญ่จะต้องเพิ่มด้านยาวออกไปอีก ส่วนคนสูงก็ต้องเพิ่มด้านกว้าง (สูง) ให้มากขึ้น

เมื่อรู้จักขนาดมาตรฐานของจีวรดังนี้แล้ว จากนั้นจึงทำการคำนวณ หรือที่เรียกว่ากะขนาด โดยจีวรจะมีขนาดตั้งแต่ ๕, ๗, ๙ หรือ ๑๑ ขัณฑ์สูงสุด แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ จีวร ๙ ขัณฑ์เป็นมาตรฐาน

ดังนั้น หากจะตัดจีวร ๙ ขัณฑ์ ก็ต้องคำนวณให้ได้ว่า แต่ละขัณฑ์จะกว้างเท่าไร และยาวเท่าไร เมื่อเย็บเข้ากันเป็นจีวรแล้ว จะต้องได้จีวรขนาดที่นุ่งห่มได้พอดี

สำหรับการคำนวณขนาดของแต่ละขัณฑ์ ก็มีหลายวิธีแล้วแต่ว่าใครจะถนัดแบบไหน ขอให้ตัดเย็บออกมาแล้ว ได้ตามขนาดที่ต้องการก็เป็นอันใช้ได้ เมื่อคำนวณได้ขนาดของขัณฑ์จีวรเท่าไรแล้ว บวกเพิ่มเข้าไปอีกขัณฑ์ละ ๒ ซม. ก็จะเป็นขนาดขัณฑ์ของสังฆาฏิ เมื่อเย็บเสร็จแล้ว ก็จะได้สังฆาฏิขนาดพอดีกับจีวร โดยมากสังฆาฎิจะใหญ่กว่าจีวรเล็กน้อย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-07-2020 เมื่อ 02:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (11-07-2020)
  #510  
เก่า 11-07-2020, 01:18
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

โครงสร้างจีวร ขนาด ๙ ขัณฑ์

กรอบสี่เหลี่ยมโดยรอบเรียก อนุวาต โดยมาตรฐานนิยมใช้ กว้าง ๑๕ ซม. ที่เห็นเป็นเส้นคู่คั่นตามแนวตั้งของแต่ละขันธ์ เรียก กุสิ (หรือกุสิยาว) และที่เป็นเส้นคู่ คั่นขวาง ขนานกับด้านยาวของจีวรทั้งข้างบนและข้างล่างสลับกัน เรียก อัฑฒกุสิ (หรือกุสิขวาง) ทั้งกุสิ และอัฑฒกุสิ ขนาดมาตรฐานนิยมใช้ กว้าง ๖ ซม.

วิธีการคำนวณ

สมมติ ผู้ใช้จีวร ศอกยาว ๔๕ ซม. ต้องการจีวร ๙ ขัณฑ์ ความยาวจีวรมาตรฐานก็คือ ๖ ศอก กับ ๑ คืบ ดังนั้น จะได้ ความยาวจีวรที่ต้องการ = (๔๕ x ๖) + ๓๐ = ๓๐๐ ซม. (เผื่อรอยเย็บและเผื่อผ้าหดแล้ว)

เมื่อจะคำนวณขนาดของแต่ละขัณฑ์ ก็ให้เอาความยาวของจีวร หักด้วยความกว้างของอนุวาตทั้งสองด้าน ๆ ละ ๑๕ ซม. (๑๕ x ๒) = ๓๐ ซม. และหักความกว้างของ กุสิยาว ซึ่งมีทั้งหมด ๘ กุสิ ๆ ละ ๖ ซม. (๘ x ๖) = ๔๘ ซม. ออกไปก่อน ก็จะเหลือพื้นที่สุทธิสำหรับคำนวณขนาดของแต่ละขัณฑ์ คือ ๓๐๐ - ๓๐ - ๔๘ = ๒๒๒ ซม.

ฉะนั้น จีวร ๙ ขัณฑ์ จะแบ่งได้พื้นที่สุทธิไม่รวมกุสิ ไม่รวมอนุวาต ออกเป็น ๙ ชิ้น = ๒๒๒ หารด้วย ๙ ได้ชิ้นละ ๒๔.๖๗ ปัดเศษเป็น ๒๕ ซม. เพื่อให้ง่ายต่อการตัดผ้า จากนั้นก็บวกกุสิและอนุวาต กลับคืนเข้าไป ดังนี้

ขัณฑ์กลาง ๑ ขัณฑ์ มี ๒ กุสิ..... จะได้ ขัณฑ์กลาง กว้าง = ๒๕ + ๖ + ๖ = ๓๗ ซม.

ขัณฑ์ริม ๒ ขัณฑ์ ๆ ละ ๑ อนุวาต จะได้ ขัณฑ์ริม... กว้าง = ๒๕ + ๑๕ = ๔๐ ซม.

ขัณฑ์เล็ก ๖ ขัณฑ์ ๆ ละ ๑ กุสิ... จะได้ ขัณฑ์เล็ก.. กว้าง ๒๕ + ๖ = ๓๑ ซม.

ก็จะได้ขนาดกว้างของแต่ละขัณฑ์ ตามต้องการ
รูป
ชนิดของไฟล์: jpg 1.jpg (264.5 KB, 3 views)
ชนิดของไฟล์: jpg 2.jpg (300.1 KB, 1 views)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-07-2020 เมื่อ 02:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (11-07-2020)
  #511  
เก่า 11-07-2020, 01:34
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เมื่อคำนวณขนาดของแต่ละขัณฑ์ได้แล้ว ก็ขีดเส้นกุสิและอัฑฒกุสิ ให้ได้ตามรูปโครงสร้างจีวร การขีดอัฑฒกุสิ หรือที่เรียกว่ากุสิขวางนั้น ก็ขีดเป็นเส้นคู่ขนานห่างกัน ๖ ซม. ให้ได้แนวตรงกันทุกขัณฑ์ โดยมากจะใช้วิธีพับสามส่วน แล้วขีดอัฑฒกุสิเข้าหากึ่งกลางของแต่ละขัณฑ์ หรือขีดออกไปทางด้านริมผ้าก็ได้ หรือใช้วิธีพับครึ่ง แล้ววัดจากกึ่งกลางแต่ละขัณฑ์ แบ่งให้ได้ระยะอัฑฒกุสิ.. ด้านบน ด้านล่าง สลับให้เท่า ๆ กัน ตามรูปโครงสร้างจีวรก็ได้ จากนั้นจึงลงมือตัดผ้าออกเป็น ๙ ชิ้น โดยต้องกำหนดหมายไว้ด้วยว่า ชิ้นไหนเป็นขัณฑ์ไหน เสร็จแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการเย็บ โดยเอาแต่ละขัณฑ์มาต่อกัน โดยเย็บแบบล้มตะเข็บหรือล้มดูก ซึ่งต้องมีความชำนาญไม่ใช่น้อย จึงจะเย็บได้สวยงาม

ส่วนความกว้าง (สูง) ของจีวร เมื่อตัดเย็บแต่ละขัณฑ์ต่อกันเสร็จแล้ว ก่อนเข้าอนุวาตก็ขึงเชือกตัดริมด้านบน และด้านล่าง ให้ได้ตามขนาดความกว้างมาตรฐานที่คำนวณไว้ โดยมากนิยมเว้าตรงขัณฑ์กลางเข้ามาประมาณ ๑ นิ้ว จากนั้นจึงเย็บเข้าอนุวาตก็สำเร็จเป็นจีวร ขั้นตอนสุดท้ายก็ติดรังดุมชายจีวร และติดรังดุมคอทั้งด้านบนและด้านล่าง เพื่อให้นุ่งห่มสลับกันได้ทั้งสองด้าน ก็เป็นอันจบสิ้นขั้นตอนการเย็บที่สมบูรณ์

สำหรับการติดรังดุมคอทั้งด้านบน ด้านล่าง และห่มคลุมจีวรสลับกัน วันหนึ่งเอาด้านบนขึ้น อีกวันหนึ่งเอาด้านล่างขึ้น ก็เป็นปฏิปทาที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์มาในยุคปัจจุบัน เหตุผลก็คือ เมื่อห่มคลุมสลับกันทั้งสองด้าน ย่อมทำให้จีวรเปื่อยขาดพร้อมกันทั้งสองด้าน ไม่ใช่เปื่อยขาดอยู่เพียงด้านเดียว เป็นเหตุยืดอายุจีวรให้ใช้ได้นานยิ่งขึ้นไปอีก ก็เป็นความจริงอย่างนั้น หากท่านผู้ใดเคยใช้จีวรจนถึงขั้นเปื่อยขาด และเย็บปะไปเรื่อย ๆ แล้วก็จะเห็นความจริงในข้อนี้ และเกิดความซาบซึ้งอย่างถึงใจทีเดียว

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-07-2020 เมื่อ 02:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (11-07-2020)
  #512  
เก่า 11-07-2020, 01:47
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

เมื่อผ่านขบวนการเย็บเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำไปสู่การย้อมแก่นขนุน โดยใช้เตาต้มแก่นขนุนขนาดใหญ่ เคี่ยวแก่นขนุนจนได้น้ำออกเป็นสีแดงคล้ำ จากนั้นจึงผสมสีย้อมผ้าโดยใช้ สีทอง สีกรัก สีแก่นขนุน สีแดง หรือใช้น้ำที่ฝนจากหินแดง ต้องผสมให้ได้สัดส่วนกันพอดี

สำหรับปริมาณการผสมนั้น ขึ้นอยู่กับผ้าที่จะย้อมว่าจะย้อมกี่ผืน ผ้าหนาหรือผ้าบาง ปริมาณการผสมก็แตกต่างกันไป ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์จึงจะสามารถผสมสี และย้อมออกมาได้สีมาตรฐานตามที่ใช้กัน หากผสมไม่เป็นก็อาจทำให้จีวรเสียสีได้ การผสมสีจึงกล่าวได้ว่า มีความสำคัญมิใช่น้อย สำหรับสีจีวรที่ใช้กันในวงพระป่านั้น จะออกเป็นสีเหลืองแกมแดง (สีเหลืองหม่น) หรือไม่ก็สีวัวโทนซึ่งเป็นสีที่ถูกต้อง และตรงตามปฏิปทาที่พ่อแม่ครูอาจารย์พาปฏิบัติแต่เดิม

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า กว่าจะทำการ กะ ตัด เย็บ ย้อม ให้สำเร็จเป็นจีวรแต่ละผืนได้นั้น.. ต้องผ่านขั้นตอนมากมายและต้องใช้ฝีมือ.. บวกกับความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดเลยทีเดียว ฉะนั้น การที่พระเณรจะได้มีโอกาสนุ่งห่มจีวร ที่ผ่านการ กะ ตัด เย็บ ย้อม เช่นนี้ได้นั้นจึงไม่ใช่ของง่าย เพราะต้องอาศัยภิกษุผู้ฉลาด และมีความสามารถอย่างยิ่งจริง ๆ หากท่านผู้ใดมีโอกาสได้นุ่งห่มผ้าจีวรเช่นนี้แล้ว ก็ถือเป็นความภาคภูมิใจได้เลยทีเดียว

และที่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด สิ่งนี้คือการสืบทอดปฏิปทาดั้งเดิมแห่งวงพระกรรมฐาน ที่พ่อแม่ครูอาจารย์ได้พาปฏิบัติมา หากยังมีภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ตราบใด ปฏิปทาเหล่านี้ย่อมไม่มีวันเสื่อมสลายไปอย่างแน่นอน ดังนั้น พระเณรจึงควรเห็นความสำคัญ และสืบทอดปฏิปทาในข้อนี้ไว้ ไม่ควรลืมตัว และมักง่าย หวังพึ่งแค่บริขารจากร้านค้าโดยถ่ายเดียว

จริงอยู่ แม้ในยุคปัจจุบัน โรงงานทอผ้าสำเร็จรูป สามารถย้อมสีผ้าจากโรงงานได้ใกล้เคียงกับสีผ้าจีวรที่พระกรรมฐานใช้อยู่ ด้วยเทคโนโลยีที่ดีกว่า.. ทำให้สีติดทนนานกว่า และสามารถซักได้แม้กับน้ำเย็น หรือกับเครื่องซักผ้าสมัยใหม่ โดยที่สีไม่ตก ไม่ต้องมาต้มเคี่ยวแก่นขนุน ซัก ย้อม.. ให้ยากลำบาก ซึ่งก็เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับพระเณรได้ไม่ใช่น้อย ซึ่งก็น่าที่พระเณรจะควรยินดี แต่ในขณะเดียวกัน บนความสะดวกสบายเช่นนั้น ก็ไม่ผิดอะไรกับการเอาระเบิดนิวเคลียร์นิวตรอน.. มากวาดล้างทำลายปฏิปทาในฝ่ายกรรมฐาน ให้แตกทำลายอย่างพินาศย่อยยับ ไม่เหลือซากเลยทีเดียว
รูป
ชนิดของไฟล์: jpg 3.jpg (291.4 KB, 4 views)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-07-2020 เมื่อ 02:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (11-07-2020)
  #513  
เก่า 12-07-2020, 12:59
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

การบ่มบาตร*

บาตร คือ บริขารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของภิกษุ ใช้ภิกขาจารบิณฑบาตอาหารจากชาวบ้านในชีวิตประจำวัน และหากถึงคราเดินธุดงค์สู่พงไพร พระกรรมฐานก็ใช้บาตรต่างกระเป๋าเดินทาง ใส่บริขารต่าง ๆ เช่น สังฆาฏิ ผ้าอาบน้ำ ที่กรองน้ำ เป็นต้น

พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ใช้บาตรดินและบาตรเหล็ก ปัจจุบันนิยมใช้บาตรสเตนเลส เป็นเหล็กที่ทนทานไม่เป็นสนิม และกำหนดให้ภิกษุมีบาตรได้เพียงใบเดียว โดยต้องอธิษฐานเป็นของใช้ส่วนตัว

บาตรที่สามารถอธิษฐานได้ คือผ่านการบ่มด้วยไฟเสียก่อน ซึ่งมีวิธีการดังนี้

- ทำความสะอาดบาตรให้เรียบร้อย ล้างด้วยผงซักฟอก เช็ดให้สะอาดแห้งสนิท ไม่ให้มีรอยนิ้วมือและคราบสกปรกติดอยู่

- เตรียมถังแก๊ส ปีบใหญ่ หรือถังน้ำมันที่ใส่บาตรเข้าไปได้ และไม่สูงจากบาตรเกินกว่า ๑ ฟุต

- เตรียมหาฟืน ไม้ไผ่ ไม้รวก และไม้อื่น ๆ ที่ให้ความร้อนสม่ำเสมอ ถ้าไม่มีใช้ฟาง ใบไม้แห้ง กาบมะพร้าว หรือวัสดุอื่นที่หาง่ายในท้องถิ่นนั้น ๆ

- ใช้สังกะสีรองที่พื้นดินกันความชื้น และสัตว์ในดินไม่ให้ได้รับอันตรายจากไฟ

- ขนทรายใส่บนแผ่นสังกะสีเกลี่ยให้ทั่ว เอาอิฐมาวาง ๓ ก้อนเป็นสามเส้า

- วางสังกะสี ทราย อิฐ ที่เตรียมไว้ให้ถูกต้องเรียบร้อย

- นำบาตรที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วคว่ำลงบนอิฐสามเส้านั้น

- ครอบปีบหรือถังแก๊สลงตรงบาตร ระวังอย่างให้บาตรเคลื่อนที่

- ตั้งฟืนรอบ ๆ ถังแก๊ส ระวังอย่าให้กระทบถังแรง จะทำให้เคลื่อนที่ถูกบาตรล้ม

- จุดไฟเผาให้ได้ความร้อนที่สม่ำเสมอ ปล่อยให้ไฟไหม้ฟืนจนหมด

- เมื่อฟืนหมด เขี่ยถ่านและขี้เถ้าออกห่างถัง รอสักครู่ แล้วนำบาตรออกมา ขณะที่บาตรยังอุ่นอยู่.. ใช้ผ้าชุบน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว เช็ดให้ทั่ว

- เมื่อบาตรเย็นสนิทแล้ว นำบาตรมาล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง บาตรที่บ่มแล้วจะมีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ สีน้ำเงิน สีม่วง สีทอง สีปีกแมลงทับ (เขียว) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้อนและระยะเวลาในการบ่ม

============================

* บ่มบาตร บางแห่งใช้ระบมบาตร หรือรมบาตร คือการรมบาตรให้ดำเป็นมันเพื่อกันสนิม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 13-07-2020 เมื่อ 13:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 7 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (12-07-2020)
  #514  
เก่า 12-07-2020, 13:20
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

การทำขาบาตร

ขาบาตรเป็นบริขารจำเป็นที่พระเณรต้องใช้คู่กับบาตร เป็นที่รองบาตร พระวินัยไม่ได้กำหนดรูปแบบบังคับ ว่าขาบาตรจะต้องเป็นอย่างนั้น จะต้องเป็นอย่างนี้เหมือนบาตร หรือจีวร เพราะฉะนั้น ขาบาตรจึงค่อนข้างมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นกับว่า.. ใครจะมีความสามารถในการทำอย่างไร แต่สำหรับในวงพระกรรมฐานนั้น ก็มีรูปแบบอันเป็นปฏิปทาที่ครูบาอาจารย์ถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ

โดยมากนิยมใช้ไม้ไผ่ดงที่เนื้อแห้งสนิท นำมาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ ๙ นิ้ว แล้วผ่าเหลาให้เป็นเส้นกลม นำมาดึงรูดผ่านรูเหล็ก เพื่อบังคับให้ได้ขนาดที่เท่ากันตามต้องการ ขาบาตรที่นิยมทำกันโดยมาตรฐาน จะใช้ลิ่วไม้ไผ่จำนวนประมาณ ๒๗๐ – ๒๘๐ ลิ่ว แต่ในยุคหลัง ๆ มีการพัฒนาวัสดุที่ใช้ บางทีก็หันไปใช้ก้านลานซึ่งเหนียวกว่า หรือบางท่านก็เขยิบไปนิยมไม้เนื้อแข็งจำพวกไม้พยุง ไม้มะค่า หรือใช้แก่นมะขามกันไปเลย เนื่องจากเป็นไม้ที่มีลวดลายสวยงามตามธรรมชาติ มีความแข็งแรงทนทาน แต่ก็หาได้ยาก ทำได้ยาก และมีน้ำหนักมากกว่า

ขาบาตรจะสวยงามหรือไม่ ก็อยู่ที่การคัดไม้และเหลาไม้ การหลาบให้กิ่วตรงกลาง ลาดเอียงไปหาส่วนปลายทั้งสองด้าน โดยต้องได้ระดับความลาดเอียงเท่ากันหมดทุกลิ่ว ปัจจุบันสามารถทำบล็อกแล้วใช้ลูกหมู*ขัด ก็จะทำให้ได้ขนาดลิ่วเป็นมาตรฐานเท่ากันหมด

การร้อยถักขาบาตรด้วยเชือกให้เป็นแนวเดียวกัน และได้ระยะวงรอบที่ห่างเท่ากัน การออกแบบลายถัก และการเล่นระยะห่างลายถักรอบขาบาตรให้สวยงาม กลมกลืนกันทั้งด้านบนและด้านล่าง จะช่วยขับให้ขาบาตรดูเด่นและประณีตยิ่งขึ้น ผสานกับการพ่นสีย้อมเนื้อไม้ให้ดูภูมิฐานและสง่างาม ซึ่งต้องใช้ฝีมือและความชำนาญอย่างมากเลยทีเดียว และที่สำคัญ.. ตรงเอวขาบาตรต้องได้ขนาดพอดี ไม่ดูเล็กหรือใหญ่เกินไป

เมื่อถักร้อยขอบขาบาตร เสร็จสวยงามดีแล้ว ต้องใช้ล้อบังคับขันด้วยน็อต.. ให้ได้ส่วนสูงตามที่ต้องการ และขีดเส้นรัศมีโดยรอบเป็นวงกลม เพื่อตัดลิ่วทุกลิ่วให้ได้ขนาดวงกลมตามที่ต้องการ ปัจจุบันสามารถใช้ลูกหมูเจียช่วย ก็ทำให้งานได้มาตรฐานดีขึ้นกว่าเดิม

เมื่อตัดและเจียรอบเป็นวงกลมได้ที่แล้ว ก็จะถักเชือกตะกรุดเบ็ดรัดปลาย และเข้าขอบด้วยไม้ไผ่ที่ขดยาวเป็นวงกลมรอบขาบาตร งานขั้นตอนนี้ต้องใช้ฝีมือและประสบการณ์ความชำนาญอย่างมาก จึงจะสามารถเข้าขอบได้เรียบ และเป็นวงกลมสวยงามเท่ากันหมด ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยที่ขาบาตรไม่เบี้ยวหรือเอียง ส่วนด้านที่ต้องวางกับพื้น ก็จะใช้หวายถักรองกันสึก หรือสมัยใหม่นี้เปลี่ยนมาใช้สายไฟถักรองกันสึกแทน ซึ่งก็ดูสวยงามดี

เมื่อเข้าขอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้ขาบาตร โค้ง เว้า เป็นวงกลม ได้สัดส่วนพอเหมาะพอดี จากนั้นก็ใช้ไหมพรมเนื้อดี ถักถลกขาบาตรอีกครั้งหนึ่ง ส่วนจะถักลวดลายแบบใด ให้สวยงามแค่ไหน ก็อยู่ที่ผู้ใช้ต้องการแบบไหน อีกทั้งผู้ถักมีความชำนาญ และมีความเพียรมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถศึกษาเรียนรู้และฝึกหัดทำได้ทุกอย่าง

ขาบาตรที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมด้วยความงามอันวิจิตรประณีต.. ทั้งดูภูมิฐานและดูมีสง่าเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสุขุมคัมภีรภาพ และความเพียรอันยิ่งยวดของผู้ทำเลยทีเดียว อีกทั้งเป็นการสร้างสมบุญบารมีในอีกแขนงหนึ่งด้วย แม้ผู้มีโอกาสได้ใช้ขาบาตรที่มีความงามพร้อมเช่นนี้ หากเป็นการที่ได้มาเองโดยธรรม ย่อมแสดงถึงบุญบารมีที่สั่งสมมาแล้วมากเช่นกัน แต่ต้องมิใช่การดิ้นรนแสวงหามาด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา ดังนั้น ปฏิปทาที่พ่อแม่ครูอาจารย์พาดำเนินมาเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น ก็มุ่งหวังมิให้บริขารกลายมาเป็นโทษแก่พระเณรนั่นเอง ท่านสอนให้พระเณรรู้จักทำบริขารให้ “เป็น” คือรู้จักประมาณในการทำ และใช้บริขารให้ “เป็น” คือ ไม่ให้ยึดติดจนกลายมาเป็นภัยกับตัวเอง

============================

* ลูกหมู หรือลูกหนู เป็นเครื่องเจียชนิดหนึ่ง
รูป
ชนิดของไฟล์: jpg 4.jpg (297.9 KB, 5 views)
ชนิดของไฟล์: jpg 5.jpg (291.5 KB, 3 views)
ชนิดของไฟล์: jpg 6.jpg (254.6 KB, 4 views)
ชนิดของไฟล์: jpg 7.jpg (291.1 KB, 4 views)
ชนิดของไฟล์: jpg 8.jpg (289.9 KB, 5 views)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 13-07-2020 เมื่อ 13:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 8 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (12-07-2020)
  #515  
เก่า 13-07-2020, 13:44
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ครูบาอาจารย์พระกรรมฐาน ที่เกี่ยวข้องกับองค์หลวงตา*

องค์หลวงตาเทิดทูนบูชาคุณธรรมพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่นแบบสุดจิตสุดใจด้วยเหตุผลหลายประการ เฉพาะข้อวัตรปฏิปทาของหลวงปู่มั่นประจำองค์เพียงเรื่องเดียว ก็ไม่อาจพรรณนาได้หมดสิ้นและยากจะมีผู้ใดเสมอเหมือน หลวงปู่มั่นยังสามารถนำพาศิษยานุศิษย์ พระเณรให้ก้าวเดินตามรอยท่านได้อีกเป็นจำนวนมาก แต่ในระยะต่อมา.. ครูบาอาจารย์เหล่านั้นก็ค่อยล่วงลับดับขันธ์ไป ภาระการแนะนำสั่งสอน จึงตกมาสู่องค์หลวงตาหนักขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในเรื่องนี้องค์หลวงตาได้กล่าวไว้เช่นกันว่า
“... หลวงปู่มั่นบุกเบิกกรรมฐาน ท่านเป็นองค์แรกไปเลย เราเดินตามท่าน ท่านเป็นกรรมฐาน ท่านเดินหน้า.. ทุกข์ยากลำบากทุกอย่างอยู่กับท่านหมดนั่นแหละ นั่นละ.. ได้ธรรมมาสอน แล้วใครที่จะทำที่จะกระจายไปกว้างแสนกว้างเหมือนหลวงปู่มั่น


หลวงปู่มั่นจึงเป็นโรงงานใหญ่สำหรับผลิตลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลาย.. ทางด้านอรรถด้านธรรมให้กระจายออกไป ทุกวันนี้ก็ออกจากหลวงปู่มั่น เทศนาว่าการสั่งสอนบรรดาลูกศิษย์ไปประพฤติปฏิบัติ.. ได้มรรคได้ผลขึ้นมา ธรรมะกระจายออกไป เหล่านี้มีตั้งแต่ลูกศิษย์ท่านอาจารย์มั่นทั้งนั้นนะ ที่แผ่กระจายทั้งฝ่ายธรรมยุตและมหานิกาย เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นทั้งนั้นแหละ องค์ท่านนิพพานไปแล้ว.. ชื่อเสียงนี้กระฉ่อนทั่วประเทศ ทั่วโลก

เฉพาะองค์ท่านเอง ท่านไม่ค่อยไปสอนใครละ ถ้าสอนก็สอนพระ พระอยู่กับท่านไม่กี่องค์ ในป่าในเขายิ่งแล้ว.. ท่านไม่รับใคร ตอนท่านแก่นี้ ท่านคงจะสงสารบ้างก็เลยรับพระมา แต่ก่อนไม่นะ พระไปอยู่กับท่านไม่ได้

ลูกศิษย์ของท่านองค์ไหน ๆ ที่ปรากฏชื่อลือนามเหล่านี้ มีแต่เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นทั้งนั้นนะ อย่างท่านอาจารย์ขาว อาจารย์คำดี อาจารย์อะไรต่ออะไร ๆ ตลอดอาจารย์ตื้อ ที่ไหน.. ใช่หมดเลย เป็นลูกศิษย์ของท่านทั้งนั้น กระจายออกไปนี้ก็เพราะลูกศิษย์ของท่าน โรงงานใหญ่อยู่ที่นั่น.. ผลิตธรรมให้ลูกศิษย์ลูกหา แล้วก็นำธรรมนี้ออกไปกระจายทั่วโลกเวลานี้ ก็เพราะหลวงปู่มั่นองค์เดียว

ปฏิปทานี้เป็นแบบฉบับไม่เคลื่อนคลาดอะไรเลย เดี๋ยวนี้ค่อยหดย่นเข้ามา ๆ ภาคปฏิบัติก็ยังเหลือแต่เรา ที่ว้อ ๆ อยู่นี้กับพระกับเณรทั้งหลาย พระเณรจุดศูนย์กลางจะมาอยู่กับเราเวลานี้นะ ไม่บอกก็เป็นเอง อยู่กับเราคอยฟังเสียงเรา แต่ก่อนทั้งหลายก็อยู่กับหลวงปู่มั่น ทีนี้ท่านล่วงไปแล้ว ก็ถัดลงมาที่ยังเป็นคนเป็นตัวอยู่ก็คือเรา ก็ทราบแล้วว่าเราเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ทีนี้ก็มายึดมาเกาะตรงนี้ละ เรื่อยมา...

==============================

* พระภิกษุสามเณรครูบาอาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับองค์หลวงตามีเป็นจำนวนมาก ทั้งฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุตจากทุกภาคทั่วประเทศ รุ่นอาวุโสสูงมาจากการเรียนปริยัติหรือศึกษาภาคปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น รุ่นอาวุโสรองลงมา มาจากการพบกันระหว่างการเที่ยววิเวกในสถานที่ต่าง ๆ และสำหรับศิษยานุศิษย์ขององค์หลวงตามาจากการมีโอกาสได้อยู่จำพรรษาด้วย หรือการเป็นพระอาคันตุกะมาศึกษาในสำนักขององค์ท่านเป็นระยะ ๆ แต่มิได้จำพรรษา หรือพระเณรที่ได้เคยอุปถัมภ์อุปัฏฐากองค์ท่านในแง่มุมและในวาระต่าง ๆ ตลอดถึงพระเณรที่ได้เสียสละร่วมแรงร่วมใจกันในงานรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งมีอยู่จำนวนมากมายนับเป็นหมื่นรูปขึ้นไป และอื่น ๆ

คณะกรรมการผู้จัดพิมพ์ฯ ขอมีส่วนและขออนุโมทนาสาธุการในกุศลผลบุญ ของพระภิกษุสามเณรครูบาอาจารย์ทุกรูปมา ณ โอกาสนี้ และกราบขออภัย / ขออภัยเป็นอย่างสูง หากข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้นต้องตกหล่น หรือขาดความสมบูรณ์ไปด้วยข้อจำกัดหลายประการ ทำให้รายชื่อพระภิกษุสามเณรย่อมมีโอกาสตกหล่นไปได้ แต่ความสมบูรณ์ในคุณความดีของท่านทั้งหลายที่มีต่อองค์หลวงตานั้น.. มิได้ตกหล่นไปด้วยแม้แต่น้อย อนึ่ง การเก็บบันทึกข้อมูลบุคคลของวัดเพิ่งเริ่มจัดทำขึ้นในระยะหลังไม่กี่ปีนี้.. ตามความจำเป็นที่พระเณรเข้ามาขออยู่ศึกษามากขึ้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-07-2020 เมื่อ 20:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 6 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (13-07-2020)
  #516  
เก่า 13-07-2020, 13:48
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ยุคบ้านห้วยทราย
(พ.ศ. ๒๔๙๔ – ๒๔๙๘)

เป็นพระกรรมฐานที่จำพรรษากับองค์หลวงตาในยุคก่อนสร้างวัดป่าบ้านตาด และเป็นระดับครูบาอาจารย์ในสมัยปัจจุบัน มีรายนามดังนี้

พระอาจารย์สม โกกนุทโท, พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, พระอาจารย์นิล ญาณวีโร, หลวงปู่บัว สิริปุณโณ, หลวงปู่หล้า เขมปัตโต, หลวงปู่ศรี มหาวีโร, หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ, หลวงปู่เพียร วิริโย, พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม, พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต, พระอาจารย์สีหา, หลวงปู่ลี กุสลธโร, พระอาจารย์สวาท, หลวงปู่คำตัน ฐิตธัมโม, หลวงพ่อชาลี โชติปาโล ฯลฯ

มีสามเณร ๔ รูปคือ สามเณรชื่อน้อย ๒ รูป, สามเณรบุญยัง และสามเณรโส

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-07-2020 เมื่อ 20:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 6 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (13-07-2020)
  #517  
เก่า 13-07-2020, 14:00
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ยุควัดป่าบ้านตาด
(พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๕๔)

ตั้งแต่องค์หลวงตาสร้างวัดป่าบ้านตาด พระเณรก็เริ่มหลั่งไหลมาอยู่ศึกษากับท่านมากขึ้น ซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในระยะแรก ท่านจำกัดจำนวนพระเณรจำพรรษาไว้เพียง ๑๗ – ๑๘ องค์ และคงจำนวนไว้เช่นนั้นหลายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ มาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๒๕๒๐

ครั้นออกพรรษา จะมีพระเณรอาคันตุกะจำนวนมาก.. สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาพักชั่วคราว หากพระแก่ขยับขยายออกไปแล้วไม่กลับมาก่อนวันวิสาขบูชา พระเณรอาคันตุกะเหล่านี้ก็จะเข้าจำพรรษาแทนที่กันต่อไป โดยมากจะถือเกณฑ์เรียงลำดับมาก่อนหลังเป็นหลัก ระยะต่อมาเมื่อครูบาอาจารย์องค์สำคัญ ๆ ล่วงลับไป พระเณรจำนวนมากไม่มีที่เกาะที่ยึด องค์ท่านก็อนุโลมผ่อนผันรับพระเข้าจำพรรษามากขึ้น ดังนี้
“... บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายที่ไปอบรมอยู่วัดป่าบ้านตาดทั่วประเทศไทย.. ไม่ใช่น้อย ๆ ถ้าพูดตามความสัตย์ความจริงแล้ว หลวงตาบัวนี้มีลูกศิษย์ฝ่ายพระนี้มากที่สุด .. เราไม่อยากรับพระรับเณรก็ดังที่ว่านี่แหละ รับเป็นภาระแล้ว.. ดูแลแนะนำสั่งสอนตลอดเลย กลางค่ำกลางคืนต้องออกไปสังเกต ดูพระดูเณรประกอบความพากเพียรอย่างไรหรือไม่ ตั้งหน้าตั้งตามา.. มาแล้วมาอยู่ยังไง เคยไล่ออกจากวัดหลายองค์นะ ที่มารับไว้แล้ว.. มาแล้วไม่เป็นท่าซิ นอนไม่รู้จักตื่น เวลานอนยังไม่ถึง ๔ ทุ่มเลย.. นอนหลับครอก ๆ แล้ว ‘เอ๊.. มันยังไงกัน’


นั่น เอาละนะ พอเที่ยงคืนไปดูอีกแล้ว ตี ๓ – ๔ ไปดูอีก วันหลังสังเกตอีก ก่อนที่จะไล่ออกจากวัด.. ไม่ใช่ไล่เฉย ๆ นะ ทดสอบดูรู้นิสัย จริตนิสัยขี้เกียจขี้คร้าน ท้อแท้ อ่อนแอ หรือขยันหมั่นเพียร.. หมดเรียบร้อยแล้ว ที่ไล่ออกจากวัดก็ผู้ขี้เกียจ ไปดูจับเอาทุกระยะ ๆ แน่ใจแล้วบอกเลย.. ท่านให้ไป ไม่มีมาคัดค้านเรา เราจับได้หมดแล้ว เพราะฉะนั้น จึงไม่อยากรับพระรับเณร รับมาก็เป็นภาระ

ปีแรกมาอยู่นี่ ๑๒ องค์ เรารับจำกัด ๑๘ องค์ ... อย่างวัดนี้อย่างมากที่สุด ไม่เลย ๑๘ องค์.. เรียกว่ามากที่สุด ตอนนั้นมีครูบาอาจารย์หลายองค์ท่านยังมีชีวิตอยู่ พระเณรทั้งหลายก็ได้ไปอาศัยอยู่กับท่าน ๆ .. ทีนี้พอองค์นั่นล่วงไป องค์นี้ล่วงไป.. ก็ไหลเข้ามาหาเรา จาก ๑๘ รับ ๒๐ จาก ๒๐ เตลิดเลยเป็น ๕๐ กว่าตลอดมา ครูบาอาจารย์แต่ก่อนอย่างหลวงปู่ขาว.. พระเณรก็ไปเต็มอยู่นั่น หลวงปู่ฝั้น.. เต็มอยู่นั่น หลวงปู่อ่อน เหล่านี้เต็มทั้งนั้นล่ะ พอองค์นั่นล่วงไป องค์นี้ล่วงไป.. ไหลเข้ามา ๆ .. ไม่มีที่ยึดที่เกาะก็ไหลเข้ามาละซิ จึงได้รับเพิ่มขึ้น รับพระรับเณรเป็นภาระหนักมากอยู่นะ รับต้องรับผิดชอบทุกอย่างด้วย สังเกตสังกา แนะนำสั่งสอน จึงไม่รับง่าย ๆ ...”

เทศนาเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ แสดงถึงความเมตตาศิษย์เป็นล้นพ้น แม้จะชราภาพมากอายุจวนจะ ๙๓ ปีแล้วก็ตาม ท่านยังสู้อุตส่าห์ออกเดินตรวจตรา ดูทางจงกรม ดูความพากเพียร ของพระของเณรในยามค่ำคืนดึกดื่น ดังนี้
กลางคืนผมเดินดู ไม่เห็นพระลงเดินจงกรม กลางคืนเงียบ ๆ ไม่เห็นนะ นี่พึ่งมาพูดวันนี้ ไปดูเป็นประจำนะ ท่านทั้งหลายว่าผมไม่ไปดูเหรอ มันขี้เกียจอะไรนักหนา ถ้าขี้เกียจให้หนีจากวัดนี้.. อย่าอยู่ นี่ไปเที่ยวเดินดูหมด กลางค่ำกลางคืนไม่เห็นพระออกมาเดินจงกรม.. หย็อก ๆ แหย็ก ๆ เลย ท่านทั้งหลายว่าผมไม่ดูเหรอ ผมไปดูตลอดนะ นี่ล่ะ.. วันนี้ออกพูดเสียบ้าง นาน ๆ พูดทีหนึ่ง ๆ


นี่ล่ะ .. การปกครองหมู่เพื่อน รับหมู่เพื่อน.. รับจริงรับจัง แนะนำสั่งสอน สังเกตสังกาทุกแง่ทุกมุม.. ให้พากันเอาจริงเอาจัง อย่ามาเหลาะแหละให้เห็น ตั้งแต่ดูธรรมดานี้ก็ขวางตาพอแล้ว แบบหลับหูหลับตาไปกับหมู่กับเพื่อน นี่ไม่ได้คุยนะ ความเพียรดูหมู่เพื่อนดูไม่ได้ ถ้าเราทำอย่างนี้ เราก็ตายไปนานแล้วแหละ นี่ไม่ได้ทำอย่างนี้”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-07-2020 เมื่อ 20:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 6 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (13-07-2020)
  #518  
เก่า 13-07-2020, 14:03
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

บ้านตาดยุคแรก (พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๑๑)

เป็นยุคที่องค์หลวงตาเน้นการสอนพระเป็นพิเศษ ครูบาอาจารย์ที่อยู่จำพรรษาร่วมกันในเวลานั้น ก็มีทั้งที่ตามมาจากยุคห้วยทราย อาทิ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ, หลวงปู่เพียร วิริโย, พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม, หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต, หลวงปู่ลี กุสลธโร, พระสุกันต์, พระอาจารย์คำผิว สุภโณ, พระผัน, พระสมนึก และสามเณรเสริฐ

ครูบาอาจารย์ที่มาจำพรรษาด้วย หรืออยู่ศึกษาใหม่มีรายนามดังนี้ หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท, หลวงปู่ผาง ปริปุณโณ, หลวงปู่สอ พันธุโล, พระอาจารย์ทอง จันทสิริ, หลวงปู่ฟัก สันติธัมโม, พระอาจารย์แสวง โอภาโส, พระอาจารย์บุญกู้ อนุวัฑฒโน, พระอาจารย์น้อย ปัญญาวุโธ, หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม, หลวงปู่บุญยัง ผลญาโณ, พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญโญ, พระอาจารย์ปีเตอร์ ปัญญาวัฑโฒ, พระอาจารย์จอร์จ (เชอรี่) อภิเจโต เป็นต้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-07-2020 เมื่อ 20:32
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 6 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (13-07-2020)
  #519  
เก่า 13-07-2020, 14:08
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

บ้านตาดยุคสอง (พ.ศ. ๒๕๑๒ – ๒๕๒๘)

เป็นยุคที่องค์หลวงตาเกี่ยวข้องกับประชาชนและพระเณรมากขึ้น ครูบาอาจารย์ที่อยู่จำพรรษาร่วมกันมีรายนามดังนี้

พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก, พระอาจารย์ทองฮวด ฐานวโร, พระอาจารย์สุชาติ, พระอาจารย์เอียน อริเยสโก, พระอาจารย์ประยูร, พระอาจารย์จ้อน, พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม, พระอาจารย์คลาด ครุธัมโม, พระอาจารย์นิพนธ์ อภิปสันโน, พระอาจารย์บุญทัน ฐิตสีโล, พระอาจารย์เยื้อน ขันติพโล, พระอาจารย์ณรงค์ อาจาโร, พระอาจารย์สม ขันติโก, พระอาจารย์โกวิท ฐานยุตโต, พระอาจารย์มาลา ญาโณภาโส, พระอาจารย์มหาณรงค์ ฐิตญาโณ, พระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน, พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต, พระอาจารย์บุญจันทร์ กตปุญโญ, พระอาจารย์บุญช่วย ปัญญวันโต, พระอาจารย์ฟิลลิป, พระอาจารย์แพท, พระอาจารย์บุญมี ธัมมรโต, พระอาจารย์จำรัส จันทโชโต, พระอาจารย์วงศ์สิน, พระอาจารย์ดิ๊ค สีลรตโน, พระอาจารย์วิศิษฐ์ สันติกโร, พระอาจารย์มานะ เทวธัมโม, พระอาจารย์เฉลิม ธัมมธโร, พระอาจารย์ชิต ฐิตจิตโต, พระอาจารย์มงคล, พระอาจารย์วุฒิชัย สุตาวุโธ, พระอาจารย์น้อย (สุรินทร์), พระอาจารย์วันชัย วิจิตโต, พระอาจารย์นพดล นันทโน, พระอาจารย์ภูษิต ขันติธโร, พระอาจารย์พิมพา จาคจิตโต, พระอาจารย์ทวีป กมโล, พระอาจารย์สงบ ปภาโส, พระอาจารย์แดง, พระอาจารย์สมเดช สิริจันโท, พระอาจารย์สุพัฒน์ ธัมมวโร, พระอาจารย์ศานิตย์, พระอาจารย์สมยศ, พระอาจารย์มานะ ฉันทสาโร, พระอาจารย์ชูชาติ, พระอาจารย์ธีรยุทธ ธีรยุทโธ, พระอาจารย์สุนทร ฐิติโก, พระอาจารย์ประยูร, พระอาจารย์ประสิทธิ์, หลวงพ่อณัฐ, พระฌาณ, พระอาจารย์บำรุง นวพโล, พระอาจารย์บุญเติม ฐิโตภาโส, พระอาจารย์กฤษฎา สุรวังโส, พระอาจารย์สุลาน ปภัสสโร, พระอาจารย์สมบูรณ์ ฐิตญาโน ฯลฯ


================================

หมายเหตุ

การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับกาลเวลา สถานที่และบุคคล มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงในเชิงประวัติศาสตร์แต่พอสังเขป มีรายละเอียดที่ควรทราบ ดังนี้

๐ รายนามข้างต้นนี้ ไม่รวมถึงครูบาอาจารย์ที่ไม่เคยจำพรรษากับองค์หลวงตา แม้อาจได้ช่วยเหลือหน้าที่การงาน หรือมีความเกี่ยงข้องอย่างลึกซึ้งกับองค์หลวงตา

๐ ในยุคแรก ๆ ยังไม่มีการบันทึกการจำพรรษาของภิกษุสามเณร ทำให้ข้อมูลในช่วงเวลาดังกล่าวอาจตกหล่นหรือขาดหายไป

๐ รายนามข้างต้นนี้ รวมถึงพระภิกษุผู้เคยเข้ามาศึกษากับองค์หลวงตาระยะหนึ่ง และได้ลาสิกขาแล้ว นอกจากข้อมูลที่นำมาแสดงข้างต้น ยังมีภิกษุสามเณรที่หมุนเวียนมาศึกษากับองค์หลวงตาในช่วงออกพรรษา เป็นจำนวนมากยิ่งกว่าในพรรษา จึงไม่สามารถนำมาแสดงได้ทั้งหมด

๐ มีฆราวาสในสายอาชีพต่าง ๆ รวมถึงบุคคลสำคัญ ๆ เข้ามาบวชศึกษาชั่วคราวทั้งจำพรรษา หรือบวชนอกพรรษาอีกเป็นจำนวนมากในช่วงที่องค์หลวงตาดำรงขันธ์อยู่

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-07-2020 เมื่อ 20:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 6 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (13-07-2020)
  #520  
เก่า 13-07-2020, 14:12
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,545 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

บ้านตาดยุคสาม (พ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๔๐)

เป็นยุคที่เปิดกว้างสู่สาธารณชน องค์หลวงตาอนุโลมให้มีพระเณรในพรรษาเพิ่มมากขึ้น อ้างอิงตามข้อมูลของวัดเก็บบันทึกไว้ มีดังนี้
ปี ๒๕๓๓ จำนวน ๔๔ องค์
ปี ๒๕๓๘ จำนวน ๔๖ องค์
ปี ๒๕๓๙ จำนวน ๔๘ องค์
ปี ๒๕๔๐ จำนวน ๔๘ องค์


ครูบาอาจารย์ที่จำพรรษาร่วมกันมีรายนาม ดังนี้
พระอาจารย์สุทธิ ธัมมสาโร, พระอาจารย์พิพัฒน์ ธัมมวโร, พระอาจารย์สถาพร, พระอาจารย์สมภพ อภิวัณโณ, พระอาจารย์บัณฑิต ธีรธัมโม, พระอาจารย์นรา กตรักโข, พระอาจารย์วิทยา กิจจวิชโช, พระอาจารย์วีระศักดิ์ ติกขวีโร, พระอาจารย์ชวน ฐิติธัมโม, พระอาจารย์สุริยัน วรคุโณ, พระอาจารย์ภาสกร ภาสกโร, พระอาจารย์ไพรินทร์ ปัญญาพโล, พระอาจารย์มหาตี๋ ปิยสีโล, พระอาจารย์กองคำ เปมสีโล, พระอาจารย์สมพงษ์ ขันติโก, พระอาจารย์สมหมาย อุปติสโส, พระอาจารย์สุทธิชัย สุทธิชโย, พระอาจารย์ประภาส กตปัญโญ, พระอาจารย์ชูชาติ ชยธัมโม, พระอาจารย์ถาวร ขันติโก, พระอาจารย์มหาสำรวย สุภวิสสุโภ, พระอาจารย์ชาตรี นิสโภ, พระอาจารย์เรืองเดช ฉินนาลโย, พระอาจารย์วิเชียร อิฏฐาโน, พระอาจารย์สำรวย อารัญโญ, พระอาจารย์กนก กนโก, พระอาจารย์อมร ติกขญาโณ, พระอาจารย์อำนวย กันตธัมโม, พระอาจารย์พรหม กิตติวัณโณ, พระอาจารย์นพรัตน กันตธัมโม, พระอาจารย์ปรัชญา โอภาโส, พระอาจารย์โสภา สมโณ, พระอาจารย์สาธิต ชยสาธิโต, พระอาจารย์ทศพล กิตติวโร, พระอาจารย์โกศิล ปัญญากโร, พระอาจารย์สกริน จิตตปัญโญ, พระอาจารย์ปราโมทย์ สิรินันโท, พระอาจารย์ประสบ กุสโล, พระอาจารย์สุทธิพงษ์ สุทธิพุทโธ, พระอาจารย์ธนพิบูลย์ รตนปัญโญ, หลวงพ่อจิตติ จิตตวชิโร, พระอาจารย์สมพงษ์ ฐิตวังโส, พระอาจารย์รัฐวีร์ ฐิตวีโร, พระอาจารย์ศรณรงค์ ธีรปัญโญ, พระอาจารย์นิคม ปัญญาธโร, พระอาจารย์ประสพ วรจิตโต, พระอาจารย์สมหมาย ฐานุตตโร, พระอาจารย์จิว อภิปุญโญ, พระอาจารย์แก่น, พระอาจารย์มหาธีรนาถ อัคคธีโร, พระอาจารย์ณฤทธิ์ อิทธิโชโต, พระอาจารย์สมพร ยโสธโร, พระอาจารย์นิรุจน์ อลีโน, พระอาจารย์วิชาญ อัคคจิตโต, พระอาจารย์มหาสมควร รตนปัญโญ, พระอาจารย์มาร์ติน ปิยธัมโม, พระอาจารย์บารมี สุทธจิตโต, พระอาจารย์คณิต โชติธัมโม ฯลฯ


จำพรรษาในระหว่างเป็นสามเณร ไม่ทราบสถานภาพปัจจุบัน
สามเณรสนอง หรเพลิด, สามเณรรัศมี ก้านจักร, สามเณรนิโก ขันธรักษ์, สามเณรไพฑูรย์ นุตตะกุล, สามเณรมานะ เทียมราช, สามเณรสมชาย ทองราช, สามเณรอุทัย ทองราช

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-07-2020 เมื่อ 20:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 6 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (13-07-2020)
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 16:54



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว