กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 22-06-2011, 11:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,963 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๔

ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัวเอง ตั้งกายให้ตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจ หายใจเข้าให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออกให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๔ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานวันแรกของเดือนมิถุนายน ระยะนี้ไม่ว่าจะเดินทางไปไหน ก็จะเห็นแต่ป้ายหาเสียงเต็มไปหมด แต่ละป้ายต่างก็ชูคนดีของพรรคตนขึ้นมาให้เราทุกคนได้เลือกเป็นผู้แทนเข้าไป

คำจำกัดความว่า "คนดี" นั้น ส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เฉพาะตน ดังนั้น..คนดีในความหมายของแต่ละคน อาจจะมีความประพฤติที่ไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน เราจึงควรจะยึดคนดีในความหมายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแทน

คนดีในความหมายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง เป็นผู้ทำความดีถึงพร้อม เป็นผู้ชำระจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส เมื่อเป็นดังนี้ คนดีในความหมายของพระพุทธเจ้า ถ้าจะเป็นนักการเมืองในสังคมปัจจุบัน คนอื่นจะไม่ยินดีต้อนรับ โดยเหตุผลว่าคุณดีเกินไป..!

แต่แม้สังคมเขาจะไม่ต้อนรับอย่างไรก็ตาม เราที่เป็นผู้ปฏิบัติก็ต้องเป็นคนดีของพระพุทธเจ้าให้ได้ เนื่องจากว่าพระพุทธเจ้านั้นไม่ได้บอกว่าใครดีใครชั่ว พระองค์ท่านเห็นแต่คนที่เป็นไปตามกรรม เพียงแต่ว่าการแยกสมมติดีชั่วนั้น เป็นการมาแยกแยะกันในภายหลัง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-06-2011 เมื่อ 19:48
สมาชิก 84 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 22-06-2011, 11:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,963 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การจะเป็นคนดีในความหมายของพระพุทธเจ้านั้น นอกจากต้องละเว้นความชั่วทั้งปวงแล้ว ยังต้องทำความดีให้ถึงพร้อม จะว่าไปแล้วทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นเหรียญเดียวกันแต่คนละหน้าเท่านั้น

การเว้นจากความชั่วทั้งปวงก็คือ การเว้นจากการทำชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ที่เรียกว่า กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เราต้องเว้นจากทุจริตทั้ง ๓ นี้

การทำความดีให้ถึงพร้อมนั้น ก็คือการทำความดีด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็คือการประพฤติปฏิบัติในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

ดังนั้น..ถ้าหากว่าเราเว้นความชั่วก็ดี หรือทำความดีก็ตาม ไม่ว่าจะทำด้านใดด้านหนึ่งก็เท่ากับได้อีกด้านหนึ่งไปด้วย เพราะอย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า ๒ ข้อนี้เป็นเหรียญเดียวกัน แต่คนละหน้าเท่านั้น

เพื่อความเคยชินจะกล่าวถึงการปฏิบัติเฉพาะในส่วนของความดี เพราะว่าถ้าเราทำดี ก็คือเราเว้นชั่วโดยอัตโนมัตินั่นเอง การทำความดีด้วยกายสุจริตนั้น ก็คือการเว้นจากการฆ่าสัตว์ การทรมานสัตว์ให้ลำบากโดยเจตนา เว้นจากการลักขโมย หยิบฉวยสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ไม่ละเมิดของรักของผู้อื่น ไม่ละเมิดคนรักของผู้อื่น

การประพฤติในวจีสุจริตนั้น คือการเว้นจากการโกหก เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดวาจาที่ไร้ประโยชน์
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-06-2011 เมื่อ 19:49
สมาชิก 84 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 23-06-2011, 09:40
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,963 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การปฏิบัติในมโนสุจริตนั้น คือไม่คิดโลภอยากได้จนเกินพอดี ต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องหามาให้ถูกต้องตามศีลตามธรรม เว้นจากการโกรธเกลียดอาฆาตพยาบาทผู้อื่น แม้มีความโกรธเป็นปกติก็อย่าให้ความโกรธนั้นฝังใจ จนถึงขนาดอาฆาตพยาบาทต้องเอาคืนให้ได้

และมีความเห็นเป็นสัมมาทิฐิ คือเห็นว่าในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเรามาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญานั้น เป็นความดีที่เราพึงจะต้องกระทำให้ครบถ้วนสมบูรณ์

ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเว้นจากการประพฤติทุจริต และประกอบสุจริตครบถ้วน ก็แปลว่าท่านมีส่วนเป็นคนดีของพระพุทธเจ้าได้ แต่ก็ยังดีไม่ครบ เพราะว่ายังต้องมีการชำระจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลสด้วย

กิเลสใหญ่ที่กินใจเราตลอดเวลามี ๓ ตัว คือรัก โกรธ หลง บางท่านอาจจะคิดว่ากิเลสมี ๔ ตัว คือมีโลภด้วย แต่ความจริงแล้วรักกับโลภเป็นตัวเดียวกัน เพราะยินดีจึงอยากมีอยากได้ กิเลสทั้ง ๔ ตัวใหญ่นี้เราจะต้องชำระสะสางให้หมดไปจากจิตใจของเราให้ได้ ก็ต้องมาแยกให้ชัดว่าเราต้องจัดการกับราคะ คือความรักระหว่างเพศอย่างไร

อันดับแรกก็ตีกรอบด้วยศีลก่อน คือยินดีเฉพาะคู่ครองของตน ถ้ากำลังใจสูงขึ้นมาอีกก็ใช้ศีล ๘ เว้นจากการอยู่ร่วมกันฉันคู่ผัวตัวเมีย

ถ้าหากว่ากำลังสูงขึ้นไปกว่านั้น ก็ใช้สมาธิข่มกลั้นไว้ ก็คือการทรงฌานระดับใดระดับหนึ่งตั้งแต่ปฐมฌานละเอียดขึ้นไป ถ้าเป็นปฐมฌานหยาบ ยังไม่มีอำนาจรั้งในเรื่องของความรัก ความโกรธได้

และท้ายสุดใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ว่าสิ่งทั้งหลายนี้เป็นเครื่องร้อยรัดเราให้ติดอยู่ในวัฏสงสาร พิจารณาให้เห็นว่าราคะนั้นไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง แต่เป็นสิ่งที่แฝงไว้ด้วยความทุกข์อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการมีคู่ครอง การมีครอบครัว การมีบุตร ล้วนแล้วแต่นำทุกข์มาให้เราทั้งสิ้น ถ้าหากว่าเรารู้แจ้งเห็นจริง เกิดการคลายกำหนัด จิตใจปล่อยวางลงได้ ตัวราคะก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-06-2011 เมื่อ 10:24
สมาชิก 75 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 23-06-2011, 21:44
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,963 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อันดับถัดไป ราคะอีกรูปแบบหนึ่งก็คือโลภะ ความโลภอยากได้ เพราะเกิดราคะ ยินดี จึงเกิดโลภะ อยากมีอยากได้ ให้ตัดด้วยการให้ทาน ซึ่งพวกเราทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอามิสทานก็ดี หรือว่าธรรมทานก็ดี คือเราไม่ตระหนี่ถี่เหนียวในทรัพย์สินยังไม่พอ ยังไม่ตระหนี่ในความรู้ด้วย

และท้ายที่สุดเป็นอภัยทาน ก็คือไม่ตระหนี่ในอารมณ์ใจของตนเอง ไม่เก็บเอาสิ่งที่ไม่ดีไว้ในใจ รู้จักให้อภัยผู้อื่น ถ้าท่านสามารถทำอย่างนี้ได้จนเป็นปกติ เรื่องของโลภะก็จะไม่มีอำนาจเหนือจิตใจของเราได้

ส่วนในเรื่องของโทสะนั้น แก้ไขโดยการทรงพรหมวิหาร ๔ ให้เป็นปกติ เมื่อปฏิบัติภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ให้ซักซ้อมแผ่เมตตาไว้เสมอ แรก ๆ ก็ส่งให้คนที่เรารักก่อน พอคล่องตัวมากแล้วก็ให้คนที่เรารักน้อย ให้คนที่เราไม่รักไม่เกลียด ให้คนที่เราเกลียดน้อย ให้คนที่เราเกลียดมากไปตามลำดับ ถ้าไปให้คนที่เราเกลียดมากหรือให้ศัตรูทีเดียว กำลังใจจะไม่ยอมรับแล้วเกิดการต่อต้านขึ้นมา

ถ้าหากว่าเรารักเขาเสมอด้วยตัวเรา เราก็จะเกิดการสงสาร ไม่โกรธไม่เกลียดใคร ถ้าหากว่ากำลังใจไม่ชอบในการแผ่เมตตา ก็ให้ใช้กสิณทั้ง ๔ ก็คือ วรรณกสิณ อันประกอบไปด้วย โอทาตกสิณ การเพ่งสีขาว โลหิตกสิณ การเพ่งสีแดง ปีตกกสิณ การเพ่งสีเหลือง และนีลกสิณ การเพ่งสีเขียว กสิณสีทั้ง ๔ อย่างนี้มีอำนาจพิเศษก็คือ ถ้าทำได้ทรงตัวจะช่วยระงับโทสะได้ดี
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-06-2011 เมื่อ 02:39
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 24-06-2011, 11:39
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,963 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การที่เราจะระงับโทสะนั้น ต้องใช้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ในเรื่องของศีล ถ้าเรามีเมตตาพรหมวิหารเป็นปกติ รักเขาเสมอตัวเรา ก็จะไม่ล่วงละเมิดศีล คือไม่คิดฆ่า ไม่คิดด่า ไม่คิดทำร้ายใคร ในเรื่องของสมาธินั้น จิตใจก็ต้องทรงตัว ไม่ว่าจะโดยการแผ่เมตตาจนทรงตัว หรือว่าการปฏิบัติในวรรณกสิณจนทรงตัว

ส่วนในเรื่องของปัญญานั้นต้องพิจารณาให้เห็นว่า ไม่ว่าเขาหรือเราก็ประกอบไปด้วยความทุกข์อยู่แล้ว เราจะโกรธจะเกลียดเขาหรือไม่ก็ตาม เขาก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น และตัวเราเองก็ทุกข์ด้วย เรามีความทุกข์เช่นเดียวกับเขา ถ้าเราปล่อยให้ใจของเรามีความโกรธความเกลียดอีก เท่ากับว่าเราไปแบกความทุกข์มาเพิ่มเติมไว้ โดยที่ผู้อื่นอาจจะไม่รับรู้เลย แต่เราเองรับทุกข์ไว้เต็ม ๆ แล้ว

ถ้าปัญญาเราสามารถเห็นจริงในตรงจุดนี้ จิตใจก็จะเริ่มปล่อยวาง คลายความโกรธลงได้ ถ้ากำลังใจทรงตัวในระดับฌาน ๔ คล่องตัว แล้วมีปัญญารู้เห็น จิตใจก็จะตัดละวางความโกรธลงไปได้

ส่วนในเรื่องของโมหะความหลงนั้น ถ้าเราก้าวเข้ามาเป็นนักปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญาเช่นนี้ ความหลงของเราก็มีน้อยมากแล้ว เหลืออยู่อย่างเดียวคือความหลงยึดว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา

ต้องพยายามแยกแยะให้เห็นชัดว่า ร่างกายนี้เป็นเพียงส่วนประกอบขึ้นมาจากธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้เราอาศัยอยู่ชั่วคราวเพื่อปฏิบัติความดีเท่านั้น ถ้าหากว่าเราไม่ใช้ร่างกายนี้ในการปฏิบัติความดี นอกจากไม่สามารถที่จะนำตนให้หลุดพ้นแล้ว เรายังอาจอาศัยร่างกายนี้ไปปฏิบัติความชั่ว สร้างเวรสร้างกรรมจนกระทั่งเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จบก็ได้

ดังนั้น..ร่างกายซึ่งเราอาศัยอยู่ชั่วคราว มีสภาพเหมือนเสื้อผ้าที่เราใช้อยู่ทุกวัน หรือเหมือนกับรถยนต์ที่เราอาศัยขับ นำพาเราไปสู่เป้าหมาย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-06-2011 เมื่อ 12:38
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 25-06-2011, 16:50
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,963 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเราเห็นชัดดังนี้ จิตก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย เห็นความทุกข์ที่ปรากฏกับร่างกายนี้เป็นปกติ เห็นความทุกข์ที่ปรากฏกับร่างกายคนอื่นเป็นปกติ เห็นความทุกข์ที่ปรากฏกับสัตว์ทั้งหลายเป็นปกติ ก็จะหมดอยาก ไม่มีความอยากดี อยากมี อยากได้ในร่างกายนี้อีก จิตใจก็จะปล่อยวาง กำลังใจสุดท้ายก็จะเกาะอยู่ที่พระนิพพานเท่านั้น

ดังนั้น..ถ้าท่านทั้งหลายปฏิบัติตนเพื่อเป็นคนดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องดีพร้อมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจดังที่กล่าวมานี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงจะภาคภูมิใจในความเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรสของเราทั้งหลาย

ลำดับต่อจากนี้ไปก็ให้ทุกท่าน กำหนดภาพพระของตนเอาไว้ให้มั่นคง ถ้าหากว่ายังมีลมหายใจอยู่ ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยังมีคำภาวนาอยู่ ให้กำหนดรู้คำภาวนาไปด้วย ถ้าไม่มีลมหายใจไม่มีคำภาวนา ก็กำหนดภาพพระของเราไว้อย่างเดียว ตั้งใจว่า..ถ้าตายเมื่อไรขอไปอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น ให้ตั้งใจทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๔
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-06-2011 เมื่อ 18:44
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 10-04-2012, 23:21
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,191 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

สามารถรับชมได้ที่

http://www.sapanboon.com/vdo/demo.ph...ame=2554-06-03

ป.ล.
- สามารถชมบนไอโฟนและแอนดรอยด์ได้
- ห้ามคัดลอกไฟล์ไปเผยแพร่ที่อื่นเด็ดขาด !
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 16:35



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว