กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > เรื่องธรรมะ และการปฏิบัติ > ฝากคำถามถึงหลวงพ่อ

Notices

ฝากคำถามถึงหลวงพ่อ คุณสามารถตั้งคำถาม และทีมงานจะรวบรวม และคัดกรองเพื่อนำไปถามหลวงพ่อในตอนเย็นวันอาทิตย์ที่หลวงพ่อมารับสังฆทาน

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 30-10-2018, 23:14
ตัวเล็ก's Avatar
ตัวเล็ก ตัวเล็ก is offline
กรรมการเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 10,530
ได้ให้อนุโมทนา: 215,928
ได้รับอนุโมทนา 736,964 ครั้ง ใน 35,905 โพสต์
ตัวเล็ก is on a distinguished road
Default มีหลักทางธรรมใดใช้รักษาการเหล่านี้ได้บ้าง

กระผมรบกวนถามหลวงพ่อครับ จากอาการเหล่านี้ มีหลักทางธรรมหรือหลักปฏิบัติใด สามารถใช้รักษาเยียวยาอาการเหล่านี้ได้บ้างครับ

๘ สัญญาณเตือนของ"โรคจิต"

เมื่อพูดถึงคำว่า"โรคจิต" ในความหมายของคนทั่วไป เรามักใช้กับคนที่มีพฤติกรรมที่ดูแปลก ๆ คนที่ชอบทำอะไรไม่เหมาะสม หรืออาจใช้กับคนที่มีความหมกมุ่นทางเพศแบบแปลก ๆ แต่ในทางจิตเวชและทางการแพทย์แล้ว "โรคจิต" เป็นคำเรียกสั้น ๆ ของ "โรคจิตเภท" (Schizophrenia) หรือย่อมาจากชื่อของ "กลุ่มโรคจิต" (Psychotic Disorders) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชกลุ่มหนึ่ง ที่มีอาการหลักคือการสูญเสียการรับรู้ความเป็นจริง (Impaired Reality Testing) รวมทั้งมีอาการต่าง ๆ เช่น อาการหูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด แสดงพฤติกรรมหรือคำพูดไม่เหมาะสม หรือมีพฤติกรรมด้านลบ เช่น เก็บตัว ขี้เกียจ ไม่ดูแลตนเอง ไม่ทำอาชีพใด ๆ


๘ สัญญาณเตือนที่ต้องเฝ้าระวังภาวะโรคจิต

๑. มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงหรือแปลกไป (Unusual behavior) เช่น เริ่มมีการสะสมของบางอย่าง มีลักษณะการแต่งกายแปลก ๆ ไป หรือ การดูแลตนเองลดลงไปเรื่อย ๆ

๒. มีปัญหาในการสื่อสาร/มีความยากลำบากในการเข้าใจความหมายของคนอื่นหรือสังคม (Problems with communication and perception)

๓. มีความคิดแปลก ๆ ไม่เหมือนเดิม เริ่มเชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นจริง (Unusual thoughts)

๔. หูแว่ว เห็นภาพหลอน (Hallucinations)

๕. มีความยากลำบากในการคิด/ตัดสินใจ (Difficulty making choices)

๖. หลงลืม/สนใจอะไรได้ไม่นาน/ไม่มีสมาธิ (Problems with concentration and attention)

๗. แยกตัว เก็บตัวมากขึ้น (Social withdrawal)

๘. เริ่มมีความถดถอยในการดำเนินชีวิตประจำวัน/การเรียน/การทำงาน
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด
(-/\-) (-/\-) (-/\-)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-10-2018 เมื่อ 03:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 05-01-2019, 08:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,063 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : คนที่มีอาการโรคจิต เช่น อาการหูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด แสดงพฤติกรรมหรือคำพูดไม่เหมาะสม หรือมีพฤติกรรมด้านลบ เช่น เก็บตัว ขี้เกียจ ไม่ดูแลตนเอง ไม่ทำอาชีพใด ๆ มีหลักทางธรรมหรือหลักปฏิบัติใด สามารถใช้รักษาเยียวยาอาการเหล่านี้ได้บ้างครับ ?
ตอบ : บังคับให้ปฏิบัติภาวนาจนทรงฌานให้ได้ ถ้าทรงฌานได้อาการเหล่านี้หายหมด ลักษณะอย่างนั้นเขาเรียกว่าสภาพจิตฟุ้งซ่านเลื่อนลอย หาจุดยึดเกาะไม่ได้ จำเป็นต้องใช้สมาธิเข้ามาช่วย ไม่เช่นนั้นก็จะฟุ้งซ่านไปเรื่อยเปื่อย โดยเฉพาะคิดอะไรเกี่ยวกับการสงสารตัวเองหรืออยากได้โน่น อยากเป็นนี่ แต่เป็นได้แค่ความคิด โดยไม่ได้พยายามทำให้เป็นจริง เพราะว่ากำลังใจไม่เพียงพอ จึงต้องบังคับให้ภาวนาจนกว่าจะทรงฌานได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 16 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:20



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว