กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)

Notices

พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 17-08-2010, 15:15
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เรานับถือศาสนาพุทธแท้จริงหรือไม่?

มีโยมเอาพระนาคปรกมาถวายสังฆทาน จึงนึกขึ้นมาได้ว่า บรรดานักวิชาการเขามีข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องพระนาคปรกหลายแนวด้วยกัน

แนวคิดที่หนึ่ง พญานาคตั้งใจที่จะมาแผ่พังพานปรกพระพุทธเจ้า ก็มีคนเสนอเป็นแนวคิดว่า ถ้าพญานาคคืองูใหญ่ทั่ว ๆ ไป ไม่น่าจะตั้งใจมาแผ่พังพานเพื่อป้องกันฝนให้พระพุทธเจ้า หากแต่ว่าฝนที่ตกหนักทำให้น้ำท่วม และงูก็ไหลตามน้ำมา ด้วยความที่เจออะไรก็เอาหางเกี่ยวไว้ก่อน พอเจอพระพุทธเจ้าท่านนั่งสมาธิอยู่ ก็เลยเอาหางเกี่ยวเอาไว้ เพื่อไม่ให้ตนไหลตามน้ำไป ในเมื่อขดรัดจนกระทั่งมั่นใจว่าไม่ลอยตามน้ำไปแล้ว ก็ชูหัวขึ้นเพื่อสำรวจภูมิประเทศ เขาคิดกันแบบนี้

แนวคิดที่สอง เขาว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้นั่งอยู่บนขนดพญานาค น่าจะเป็นพญานาคขดล้อมองค์ท่านไว้ แล้วก็แผ่พังพาน แนวคิดนี้เชื่อว่าพญานาคขึ้นมาแผ่พังพานกันฝนให้จริง ๆ แต่ไม่น่าจะอยู่ในลักษณะพระพุทธเจ้านั่งอยู่บนขนดพญานาค น่าจะเป็นพญานาคโอบรอบพระพุทธเจ้าเอาไว้

แนวคิดนี้ทางด้านประเทศไทยของเราก็มี จนมีการสร้างพระพุทธรูปโดยมีพญานาคโอบรอบพระพุทธเจ้าอยู่ครึ่งองค์ ถ้าไม่เคยเห็นให้ไปดูที่วัดบวรนิเวศวิหาร มีอยู่ ๑ องค์

แนวคิดที่สาม เขาคิดว่าเป็นการที่บุคคลกล่าวสรรเสริญศาสดาตนเองว่ามีฤทธิ์ โดยที่เนื้อเรื่องหาความเป็นจริงไม่ได้ แนวคิดนี้เขาค้านโดยตรงเลย

ฉะนั้น เรื่องแนวคิดต่าง ๆ สำหรับนักศึกษารุ่นหลังนั้น เกิดจากการขาดความศรัทธา เมื่อเช้าได้กล่าวไปแล้วว่า ศรัทธาเป็นที่เริ่มต้นของความเชื่อทุกอย่าง โดยเฉพาะความเชื่อในศาสนา ถ้าไม่มีศรัทธาก็จะไม่บังเกิดความเชื่อ

ศรัทธานั้นพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่ามี

๑) กัมมสัทธา ความเชื่อในกรรม ก็คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๒) วิปากสัทธา เชื่อผลของการส่งการกระทำนั้น ๆ ไม่ว่าจะทำดีทำชั่ว ทำแล้วได้ผลแน่ ๆ
๓) กัมมัสสกตาสัทธา คือเชื่อว่าแต่ละคนมีกรรมเป็นของตน ใครจะดีหรือชั่ว ก็เพราะการกระทำของตนเอง ไม่มีใครหรือสิ่งใดมาบันดาลให้เป็นไป
๔) ตถาคตโพธิสัทธา ข้อนี้สำคัญ ต้องมีความศรัทธาเชื่อมั่นในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีศรัทธาตรงจุดนี้ อย่างที่ท่านสอนในเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว เราก็จะพลอยไม่เชื่อไปด้วย

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ ตัวศรัทธาเสื่อมถอยไปมาก ทำให้คนเอาวิชาการสมัยใหม่จากโลกตะวันตก ถ้านับไปแล้วก็ล้าหลังกว่าศาสนาพุทธเป็นพัน ๆ ปี เอามาจับเข้ากับหลักของพระพุทธศาสนา แล้วก็เลือกเชื่อเป็นส่วน ๆ ไป

ส่วนไหนที่บุคคลทั่วไปทำได้เขาก็เชื่อ ส่วนไหนที่ทำได้แค่บางหมู่คณะ ส่วนบางหมู่คณะทำไม่ได้ ก็ละไว้ก่อนว่ายังไม่เชื่อ ส่วนไหนที่คนทั่ว ๆ ไป ทำไม่ได้เลย อย่างเรื่องของฤทธิ์อภิญญา ก็ไม่เชื่อเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 128 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 17-08-2010, 15:26
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเรื่องของวิชาการต่าง ๆ ถือเป็นอันตรายต่อศาสนาของเราหรือไม่ ? จะว่าไปแล้วก็ไม่เป็นอันตรายต่อศาสนาของเรา เพราะว่าถ้าเป็นของแท้ต้องพิสูจน์ได้

แต่สำคัญที่ว่าพุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มีความสามารถที่แท้จริงเท่าไร ? ถ้าหากเราสามารถที่จะปฏิบัติจนเข้าถึงหลักธรรมได้จริง ๆ สามารถที่จะกล่าวแก้ต่างคำตู่ของคนนอกศาสนาได้จริง เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ก็จะไม่เป็นอันตรายต่อศาสนาของเราเลย

แต่ถ้าความสามารถของเราไม่ถึง ตอนนี้จะอันตราย เพราะถ้าเขาท้าพิสูจน์ เราไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ ต้องนึกถึงที่บรรดาเดียรถีย์ประกาศจะแสดงฤทธิ์แข่งกับพระพุทธเจ้า บรรดาภิกษุและภิกษุณีต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่อาสาว่า ขอพระพุทธองค์ไม่ต้องทรงแสดงฤทธิ์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะยังให้เหล่าเดียรถีย์พ่ายไปด้วยฤทธิ์อำนาจที่ตนเองมีอยู่

ทั้งภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี ล้วนแต่อาสา พูดง่าย ๆ ว่าเด็กก็พร้อมที่จะท้าพิสูจน์ ผู้ใหญ่ก็พร้อมที่จะท้าพิสูจน์ แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า การแสดงยมกปาฏิหาริย์เป็นพุทธประเพณี พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ต้องทำอย่างนี้ เพราะฉะนั้น..จึงเป็นหน้าที่ของตถาคต ไม่ใช่หน้าที่ของพวกเธอ

ตรงจุดนี้เราจะเห็นว่า บุคคลสมัยก่อนท่านมีความสามารถที่แท้จริง พร้อมที่จะท้าพิสูจน์ได้ โดยเฉพาะอย่างพระโมคคัลลานะ ถึงเวลาก็ไปเที่ยวนรกเที่ยวสวรรค์ แล้วก็นำเอาเรื่องของญาติโยมต่าง ๆ ที่ล่วงลับไปแล้วมาบอกกล่าวแก่บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่

บอกชื่อ บอกฉายา บอกลักษณะท่าทาง บอกการตาย บอกสิ่งที่เขาชอบในขณะที่มีชีวิตอยู่ได้ คนก็ต้องเชื่อว่าไปพบมาจริง สั่งความมาถึงใคร มีอะไรอยู่ที่ไหนที่ญาติเขายังไม่รู้ สามารถบอกได้หมด คนก็เชื่อและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก

เรื่องนี้เราต้องไปดูใน เปตวัตถุ และ วิมานวัตถุ ในขุททกนิกาย แต่อาจจะงงเพราะคำว่า เปตะ เรามักจะคิดว่าเป็นเปรต อันนี้เราเข้าใจผิด เปตชน เขาหมายถึงบุคคลที่ตายไปแล้ว เราจะเห็นว่าเรื่องมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรก็อยู่ในเปตวัตถุเช่นกัน

เปตะ แปลว่า ผู้ตายไปแล้ว แต่ในวิมานวัตถุจะเป็นเรื่องของเทวดานางฟ้าทั้งนั้น ไปเปิดอ่านได้ พระโมคคัลลานะพอไปถึงก็จะชมเขาก่อน ว่าท่านทำบุญอะไรมาถึงได้มีวิมานสวยงาม มีรัศมีผ่องใสยิ่งนัก มีอทิสมานกายสวยอย่างนั้นอย่างนี้ พอถามถึงบุรพกรรม ท่านเหล่านั้นก็เล่าให้พระโมคคัลลานะฟัง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 121 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 18-08-2010, 06:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อคนสมัยก่อนมีความสามารถ ศาสนาอื่นที่ลงรากปักฐานมาก่อนศาสนาพุทธมีเป็นจำนวนมากและคนเคารพเชื่อถือ ศาสนาพุทธก็ยังสามารถที่จะเบียดแทรกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นหนึ่งในศาสนาหลักได้

แต่ในปัจจุบันถ้าความสามารถของเรายังไม่พอ ไม่สามารถจะพิสูจน์ให้คนอื่น ศาสนาอื่นหรือบุคคลที่มากล่าวตู่พระพุทธศาสนา ได้รู้เห็นและแจ้งชัดในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า หรือความสามารถที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ ศาสนาของเราจะง่อนแง่นและอันตรายมาก

เราจะไปภูมิใจว่าประชากรประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ของเรานับถือศาสนาพุทธ อย่าลืมว่า"เราเป็นพุทธแต่ทะเบียนบ้าน"กันเยอะมาก ส่วนที่เหลืออาจจะ ๕๐-๖๐ เปอร์เซ็นต์ บางคนพอถึงเวลาบอกว่าผมนับถือศาสนาพุทธ แต่งัดปลัดขิกออกมาโชว์ ซึ่งความจริงคือศิวลึงค์ของศาสนาพราหมณ์

เพราะฉะนั้น..เราจะต้องทราบด้วยว่าอะไรเป็นอะไร ไม่อย่างนั้นประกาศว่าเราเป็นศาสนาพุทธ แต่พกปลัดขิกสามสี่ตัวรอบเอว ถ้าอย่างนี้ศาสนาอื่นก็โจมตีเราได้ว่าไม่ใช่พุทธแท้ ขณะเดียวกันศาสนาพุทธสอนอะไรยังไม่รู้เลย ยังมีการหลงงมงาย เป็นต้น

ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า พวกเราต้องใช้ความพยายามให้มากกว่านี้ เพราะว่าสิ่งที่เราทำอยู่ ปฏิบัติอยู่ ตัวเราเองยังไม่พออาศัยเลย แล้วจะไปให้คนอื่นอาศัยได้อย่างไร เราต้องทุ่มเทชนิดตายเป็นตาย ทำให้เกิดผลให้ได้ ถ้าเกิดผลเมื่อไร คราวนี้เราก็พูดได้เต็มปากเต็มคำ ว่าเรานับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราเห็นดีเห็นงาม เห็นคุณค่าของพระศาสนาจริง ๆ แล้ว

ไม่ใช่เรานับถือศาสนาพุทธแค่ตามทะเบียนบ้าน หรือเรานับถือศาสนาพุทธตามพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แต่ว่าเรานับถือศาสนาพุทธเพราะเราเห็นคุณประโยชน์ เห็นความดีของศาสนาพุทธจริง ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 108 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 18-08-2010, 07:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การศึกษาเล่าเรียนในพระพุทธศาสนา ที่บอกว่าเราต้องทำให้เกิดผลนั้น จริง ๆ แล้วแบ่งออกเป็นสามอย่างก็ได้ แบ่งออกเป็นสองอย่างก็ได้ ถ้าแบ่งออกเป็นสองก็คือ คันถธุระกับวิปัสสนาธุระ ถ้าแบ่งออกเป็นสามก็คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ

ในส่วนของคันถธุระ เกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน เกี่ยวกับหน้าที่การงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบูรณะซ่อมสร้าง ทำการสงเคราะห์ญาติโยมในด้านอื่น ๆ ในเรื่องของวิปัสสนาธุระ ก็คือ ปฏิบัติให้เกิดผล แล้วนำเอาไปสั่งสอนญาติโยมเขา

ในส่วนของปริยัติ คือการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎก โดยเฉพาะการทรงจำเพื่อที่จะสืบทอดเนื้อหาที่ถูกต้องต่อ ๆ ไป ถามว่ามีความสำคัญไหม ? มีความสำคัญมาก เพราะถ้าขาดหลักปริยัติ นักปฏิบัติก็ไม่รู้ว่าจะเอาข้อมูลที่ไหนมาใช้ในการปฏิบัติ

ส่วนในการปฏิบัตินั้น ต้องทุ่มเท ลงไม้ลงมือทำเลย จนกระทั่งเกิดผลขึ้นมา สิ่งใดที่ข้องขัดก็ไปสอบทานกับปริยัติ เพราะฉะนั้น..จริง ๆ แล้ว ปริยัติกับปฏิบัติต้องไปด้วยกัน แยกจากกันไม่ได้

ตั้งแต่มีประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนของเรา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยาลงมา ถึงธนบุรี รัตนโกสินทร์ ทางการศึกษาของพระเรานั้น ศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติคู่กันมาตลอด เพิ่งจะมาโดนแยกออกจากกัน ตอนที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กำหนดหลักสูตรนักธรรมบาลีออกมา ก็เลยแยกออกมาว่านี่เป็นส่วนที่ต้องศึกษา ก็คือ ปริยัติล้วน ๆ ในส่วนของปฏิบัติ ใช้คำว่าแล้วแต่ศรัทธา

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการปฏิบัติก็เริ่มตกต่ำ แรก ๆ ก็ยังไม่ตกต่ำชัดเจนนัก เพราะหลวงปู่หลวงพ่อครูบาอาจารย์ที่มีความสามารถ ยังมีเต็มบ้านเต็มเมือง แต่ในส่วนที่ตกต่ำชัดเจนก็คือ บรรดาผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนปริยัติ ทั้งนักธรรมและบาลี จะได้รับการสนับสนุนให้เป็นฝ่ายปกครอง

คนที่อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากมียศมีตำแหน่ง จึงต้องดิ้นรนศึกษาให้จบนักธรรมชั้นเอก ให้จบเปรียญเก้าประโยค เพื่อที่จะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งในการปกครอง จึงทิ้งการปฏิบัติไปหมด ทุ่มเทให้กับปริยัติอย่างเดียว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 101 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 19-08-2010, 10:40
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พอมาถึงยุคสมัยของเรา หลักสูตรต่าง ๆ ก็ยังเป็นหลักสูตรตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วางรูปแบบมา ยังเรียนเหมือนเดิมทุกประการ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย การเรียนก็ยากขึ้น ที่ยากขึ้นเพราะว่าคนเราในปัจจุบันความอดทนมีน้อย

ประการที่สอง สมาธิสั้น ประการที่สาม หลักสูตรค้านกับหลักการศึกษาปัจจุบันทั่วไป ปกติอย่างหลักสูตรทั่ว ๆ ไป พอทำข้อสอบ อาจารย์เขาจะตรวจว่าถูกเท่าไร แล้วก็ให้คะแนน แต่ของบาลีเขาตรวจว่าผิดเท่าไร ถ้าผิดครบ ๑๒ แห่ง ต่อให้ที่เหลือถูกหมดก็ตกแล้ว

ฉะนั้น..บาลีมีโอกาสผิดได้ไม่เกิน ๑๒ คำ ตีเสียว่าส่วนอื่นได้คะแนนเต็ม ก็แปลว่าต่อให้ได้คะแนน ๘๘ เต็ม ๑๐๐ แต่ก็ต้องตก เพราะฉะนั้น..หลักการบาลีก็เลยสวนทางกับทางโลก

ผู้ที่จบประโยค ๙ ในปัจจุบันก็เลยกลายเป็นอะไรที่ประหลาด ๆ อยู่หน่อย คือ เรื่องที่ไม่น่าทำได้ เขาก็ทำได้ ความจริงแล้วถ้าเป็นความเห็นของอาตมา ปริยัติในปัจจุบันควรจะปรับปรุงได้แล้ว ปรับในลักษณะที่ว่า ใครเรียนนักธรรมตรีก็ให้เรียนควบประโยค ๑-๒ ไปเลย เรียนนักธรรมโทก็ประโยค ๓ , ๔ , ๕ ควบไป เรียนในลักษณะเก็บสะสมคะแนนแบบหน่วยกิต

เรียนแล้วทิ้งไปเลย ท่านใดก็ตามที่ต้องการใช้งานในส่วนของปริยัติเกี่ยวกับการแปลจริง ๆ ให้ไปเรียนเป็นการเฉพาะ ชำนาญเป็นการเฉพาะทางไป แล้วการเรียนบาลีจะง่ายขึ้น ง่ายขึ้นเพราะเก็บสะสมหน่วยกิตได้ เพราะว่าการเรียนนั้น ส่วนใหญ่ก็เรียนเพียงเพื่อรู้ว่ามีอะไรบ้าง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 93 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 19-08-2010, 10:45
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อเรื่องปริยัติของเราก็เอาตัวไม่รอด พยายามจะรักษาข้อมูลต่าง ๆ ให้ฝ่ายปฏิบัติ คนเขาก็เห็นประโยชน์น้อย เพราะว่าพระปฏิบัติมักจะไม่มียศ ไม่มีตำแหน่ง จึงไม่ถูกอารมณ์เขา ก็เลยกลายเป็นว่า ปัจจุบันนี้เขาเรียนปริยัติกันมากกว่า

ทำให้บุคคลที่จะเข้าถึงการปฏิบัติจริง ๆ ในลักษณะที่จะเป็นทนายแก้ต่างให้พระพุทธศาสนาได้ก็เลยมีน้อย ในเมื่อปริยัติตกต่ำ ปฏิบัติตกต่ำ โอกาสที่จะเข้าถึงปฏิเวธ คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาและปฏิบัติก็ยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่

โดยเฉพาะปัจจุบัน พระนักเรียนที่เรียนด้านของบาลี เรียนจบประโยค ๙ แล้ว เขาเทียบวุฒิเท่ากับปริญญาตรีเท่านั้น ประโยค ๙ ถ้ายอดฝีมือเรียนแบบไม่ตกเลยก็ต้องเรียนถึง ๘ ปี ถ้าตกก็นานกว่านั้น ถ้ายิ่งท่านเจ้าคุณพระราชสิทธิเวที ประโยค ๙ ชั้นเดียว ท่านตกถึง ๑๔ ปี..!

ประโยคเก้าคนต้องเรียนอย่างน้อยถึง ๘ ปี น่าจะเทียบวุฒิให้มากกว่านั้น แต่เขาให้เท่าปริญญาตรี และถ้าจะเทียบ เขาให้ไปศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมด้วย ต้องไปเรียนคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฯลฯ วิชาทางโลกหลัก ๆ เพิ่มเข้ามาอีก ไม่อย่างนั้นเขาไม่เทียบให้

พระผู้ใหญ่ของเราน่าจะผลักดันว่า การเรียนบาลีเป็นการเรียนเฉพาะทาง อย่างในลักษณะเอกภาษาจีน เอกภาษาไทย เอกภาษาอังกฤษ ของเราก็ให้เป็นเอกภาษาบาลี แต่ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เขายังไม่กล้าแตะต้อง เพราะเขาเชื่อว่าหลักสูตรเก่า ๆ ขลัง สอบพันกว่าคน ได้ ๒๐ คน รู้สึกว่าขลังมากเลย..! หรือใครเอ่ยปากขึ้นมา ก็อาจจะโดนดองเค็ม ก็เลยยังไม่มีใครกล้าไปลุยตรง ๆ เสียที

บรรดานักศึกษาบาลีส่วนใหญ่จะท้อถอย แล้วก็เลิกเรียนบาลี หันมาเรียนพุทธศาสตรบัณฑิตแทน พุทธศาสตรบัณฑิตแม้ว่าจะเรียนยากกว่าทางโลก แต่ง่ายกว่าบาลีเยอะ คือถ้าหากคุณตั้งใจเรียนอย่างไรก็จบแน่ ส่วนบาลีถึงคุณตั้งใจเรียนก็อาจจะตกแน่..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 96 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 20-08-2010, 09:11
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อีกจุดหนึ่งที่ทำให้ศาสนาของเราอยู่ในลักษณะที่เสื่อมถอย ก็คือ บุคคลากรที่จะมาบวชมีน้อย อย่าลืมที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า เกิดมาเป็นมนุษย์ก็แสนยาก กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การจะดำรงชีวิตอยู่รอดไปจนกระทั่งบวชก็แสนยาก กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ กว่าจะมีอายุถึง ๒๐ ปี โอกาสตายก็มีเยอะเลย กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ การจะได้ฟังธรรมนั้นแสนยาก กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้านั้นยากที่สุด

ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ยาก แล้วคนในปัจจุบันยังติดข้องอยู่กับกระแสบริโภค โดยเฉพาะในส่วนของหน้าที่การงานต่าง ๆ ไม่อำนวยให้ลาบวชนาน ๆ อย่างเก่งก็ลาได้ ๗ วัน ๑๕ วัน ราชการยังดีอนุญาตให้ลาได้ ๑๒๐ วัน แต่ก็ให้คนละครั้งเดียวตลอดชีวิต..!

ในเมื่อบุคคลากรที่จะเข้ามาบวชมีน้อย แล้วจะให้ศาสนาเจริญรุ่งเรืองจึงเป็นไปได้ยาก อย่างของวัดท่าขนุนปีนี้ส่งรายชื่อพระเณรจำพรรษาทั้งหมด ๓๔ รูป วัดอื่นเขาเห็นเป็นของประหลาด วัดบ้านนอกเอาพระเณรจากที่ไหนมาเยอะขนาดนั้น ? ส่วนใหญ่จะมีให้ครบ ๕ รูปเพื่อรับกฐินก็ยากแล้ว

พอการเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะในระดับปริญญา ไม่ว่าจะเป็นศาสนศาสตรบัณฑิตหรือพุทธศาสตรบัณฑิต ได้รับการรับรองและกำหนดขั้นเงินเดือนโดย ก.พ. ขึ้นมา พระเณรก็สึกไปทำงานกันเสียมาก จากที่เราเคยภูมิใจว่า ประเทศไทยมีพระเณรอยู่ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูป ปรากฏว่าตอนนี้มีอยู่ประมาณ ๑๒๕,๐๐๐ รูปเท่านั้น หายไปเกินครึ่ง

คราวนี้เรามาดูว่า การสำรวจประมาณปี ๒๕๓๐ บ้านเรามีพระเณรประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ รูป ตอนนี้ปี ๒๕๕๓ ตีเสียว่า ๒๐ ปีเหลือประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วถ้าเราคิดเทียบบัญญัติไตรยางค์ อีก ๒๐ ปีข้างหน้าจะเหลือเท่าไร ? ก็น่าจะเหลือไม่ถึงแสน..!

ถามว่าในเมื่อการศึกษาทำให้พระสึกหาลาเพศไปเยอะ เราจะไม่สนับสนุนการศึกษาหรือ ? ไม่ใช่..จำเป็นต้องสนับสนุน เพราะถ้าหากความรู้ไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถที่จะออกไปทำมาหากินได้ พระศาสนาของเราถือว่าเปิดกว้างสำหรับทุกคน การเปิดกว้างก็อยู่ในลักษณะว่า คุณจะเข้ามาบวช มีศรัทธาเท่าไรเราก็ไม่ว่า บวชยาวก็ยินดีต้อนรับ บวชสั้นก็ยินดีต้อนรับ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 89 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 20-08-2010, 09:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,971 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ย้อนกลับมาตรงที่กล่าวเอาไว้ว่า พวกเราปฏิบัติแล้วยังไม่เกิดผลจริง ถ้าเราปฏิบัติแล้วเกิดผลจริง เราก็จะยืนยันได้ว่าหลักปริยัติธรรมนั้นถูกต้อง การปฏิบัติเห็นผลเกิดเป็นปฏิเวธ คือผลลัพธ์เฉพาะของแต่ละคนขึ้นมา ถ้าทุกคนสามารถทำได้ ศาสนาเราจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกวาระหนึ่ง

ปัจจุบันนี้แล้วน่ายินดีมาก ที่บรรดาแม่ชีและฆราวาสจำนวนมาก กลายเป็นที่ยึดเหนี่ยวของญาติโยมได้ แม่ชีเองยังอยู่ในสถานภาพของนักบวช แต่ฆราวาสที่ปฏิบัติจนกลายเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้อื่นได้ ต้องถือว่าสุดยอดฝีมือจริง ๆ เรียกว่า Born To Be เกิดมาเพื่อเป็นอย่างนั้น

ยกตัวอย่าง คุณแม่สิริ กรินชัย ลูกศิษย์เต็มบ้านเต็มเมือง แต่ละปีเปิดการอบรมวิปัสสนากรรมฐานเป็นสิบ ๆ ครั้ง และยังมีบรรดาอาจารย์ท่านอื่น ๆ อีกเยอะแยะ จนกระทั่งมีประโยคที่ทำให้ชอกช้ำระกำใจว่า "อยากรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ให้ถามพระ อยากรู้เรื่องธรรมะให้ถามโยม"

บรรดาแม่ชีต่าง ๆ อย่างแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เจ้าของเสถียรธรรมสถานและสาวิกาสิกขาลัย เปิดการเรียนการสอนถึงในระดับปริญญาตรี

แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม ก็เป็นที่พึ่งให้แก่ญาติโยมเขา เงินทองไหลมาเทมา แม่ชีเอาไปเลี้ยงพระหมด เอาไปก่อสร้างหมด โดยเฉพาะท่านเลี้ยงพระที่ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา กี่รุ่นต่อกี่รุ่นแม่ชีเหมาเลี้ยงหมด

นอกจากนี้ยังมีแม่ชีมโนราห์อีก บรรดาแม่ชีต่าง ๆ จะว่าไปแล้ว สามารถให้ความใกล้ชิดและเข้าใจต่อญาติโยมที่เป็นอุบาสิกาได้ดีกว่า บางรายก็ไปกอดแม่ชีร้องไห้ อาตมาก็ยืนดู เออ..โชคดีที่เราไม่มีเวรกรรมอย่างนี้ ไม่อย่างนั้นคงได้ซักจีวรกันวันละหลายรอบ..!

เวลาแม่ชีเขาไปเลี้ยงพระ ตอนที่อาตมาไปปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามกติกาของมหาวิทยาลัย แม่ชีเขาทิ้งงานหมดเลยนะ ไปอยู่เลี้ยงพระ แต่ญาติโยมเขาไม่ยอมทิ้งแม่ชี ขับรถตามไปเป็นกลุ่ม ๆ ๑๐-๒๐ คน แม่ชีทำกับข้าวเลี้ยงพระเหนื่อยแทบตาย มีเวลานิดหนึ่งก็ยังต้องมารับฟังความทุกข์ของเขาอีก

ในจุดนี้เราจะเห็นว่า เรื่องของพระศาสนา ที่พระพุทธเจ้าฝากไว้กับพุทธบริษัททั้ง ๔ นั้น ถูกต้องเลย เพียงแต่ว่าภิกษุมีอยู่ แต่ภิกษุณีถ้านับสายเถรวาทไม่มีแล้ว อย่างภิกษุณีธัมมนันทา ที่วัตรทรงธรรมกัลยาณี ก็บวชของสายมหายาน ในส่วนของอุบาสกอุบาสิกาเรายังมีเป็นปกติ แต่อุบาสกอุบาสิกาที่เป็นหลักยึดให้แก่คนอื่นได้ในหลักธรรมก็มีน้อย คงต้องฝากความหวังไว้กับพวกเราทั้งหมดนี่แหละ..!


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงเย็น ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันเสาร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2015 เมื่อ 19:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 101 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:45



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว