|
ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#381
|
||||
|
||||
![]() ว่างในสมาธิ ว่างในขั้นอรูปธรรม ว่างอกาลิโก “.. ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น เมื่อปัญญาพิจารณารอบคอบแล้วก็ดับไปในขณะนั้น จิตก็ลงสู่ความสงบได้อย่างเต็มที่ ในระยะเช่นนี้จะว่าจิตว่างก็ได้อยู่ แต่ว่างในสมาธิ พอจิตถอยออกมา ความว่างก็หายไป จากนั้นก็พิจารณาไปอีก และพิจารณาต่อไปเรื่อย ๆ จนจิตมีความชำนาญในด้านสมาธิ ขอสรุปความให้ย่อลงเพื่อให้พอดีกับเวลา เมื่อสมาธิมีกำลังทางด้านปัญญา ก็เร่งพิจารณาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจนรู้เห็นชัด และสามารถถอดถอนอุปาทานของกายได้โดยสิ้นเชิง จากนั้นจิตก็จะเริ่มว่าง แต่ยังไม่แสดงความว่างอย่างเต็มที่ ยังมีนิมิตภายในแสดงภาพปรากฏอยู่กับใจ เพราะในระยะนี้ใจว่างจากกายและวัตถุภายนอก แต่ยังไม่ว่างจากนิมิตภายในของตัวเอง จนกว่าจะมีความชำนาญโดยอาศัยการฝึกซ้อมไม่ลดละ นิมิตภายในใจก็นับวันจางไป สุดท้ายก็หมด ไม่ปรากฏนิมิตทั้งภายนอกภายในใจ นั่นท่านเรียกว่าจิตว่าง ว่างชนิดนี้เป็นเรื่องว่างประจำนิสัยของจิต ที่มีภูมิธรรมประจำขั้นแห่งความว่างของตน นี่ไม่ใช่ว่างสมาธิและไม่ใช่ว่างในขณะที่นั่งสมาธิ ขณะที่นั่งสมาธิเป็นความว่างของสมาธิ แต่จิตที่ปล่อยวางจากร่างกายเพราะความรู้รอบด้วยนิมิตภายในก็หมดสิ้นไป เพราะอำนาจของสติปัญญารู้เท่าทันด้วย นี่แลชื่อว่าว่างตามฐานะของจิต เมื่อถึงขั้นนี้แล้วจิตว่างจริง ๆ แม้กายจะปรากฏตัวอยู่ก็สักแต่ความรู้สึกว่ากายมีอยู่เท่านั้น แต่ภาพแห่งกายหาได้ปรากฏเป็นนิมิตภายในจิตไม่ ว่างเช่นนี้แลเรียกว่า ว่างตามภูมิของจิตและมีความว่างอยู่อย่างนี้ประจำ ถ้าว่างเช่นนี้ว่าเป็นนิพพาน ก็เป็นนิพพานของผู้นั้นหรือของจิตนั้นขั้นนั้น แต่ยังไม่ใช่นิพพานว่างของพระพุทธเจ้า ถ้าผู้จะถือสมาธิเป็นความว่างของนิพพาน ในขณะจิตที่ลงสู่สมาธิก็เป็นนิพพานของสมาธิแห่งโยคาวจรผู้ปฏิบัติผู้นั้นเสียเท่านั้น ความว่างทั้งสองประเภทที่กล่าวมานี้.. ไม่ใช่เป็นนิพพานว่างของพระพุทธเจ้า เพราะเหตุใด ? เพราะจิตที่มีความว่างในสมาธิ จำต้องพอใจและติดในสมาธิ จิตที่มีความว่างตามภูมิของจิต จำต้องมีความดูดดื่มและติดใจในความว่างประเภทนี้ จำต้องถือความว่างนี้เป็นอารมณ์ของใจจนกว่าจะผ่านไปได้ ถ้าผู้ถือความว่างนี้เป็นนิพพาน ก็เรียกว่าผู้นั้นติดนิพพานในความว่างประเภทนี้โดยเจ้าตัวไม่รู้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความว่างประเภทนี้จะจัดว่าเป็นนิพพานได้อย่างไร ถ้าไม่ต้องการนิพพานขั้นนี้ ก็ควรกางเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกตรวจตราดูให้ชัดเจนและละเอียดถี่ถ้วน เพราะความว่างที่กล่าวนี้เป็นความว่างของเวทนา คือสุขเวทนามีเต็มอยู่ในความว่างนั้น สัญญาก็หมายว่าง สังขารก็ปรุงแต่เรื่องความว่างเป็นอารมณ์ วิญญาณก็ช่วยรับรู้ทางภายใน ไม่เพียงจะรับรู้ภายนอก.. เลยกลายเป็นนิพพานของอารมณ์ ถ้าพิจารณาสิ่งเหล่านี้ให้ชัดและความว่างให้ชัด โดยเห็นเป็นเรื่องของสังขารธรรม คือสิ่งผสมนั่นแล จะมีช่องทางผ่านไปได้ในวันหนึ่งแน่นอน เมื่อพิจารณาตามที่กล่าวนี้ ขันธ์ทั้งสี่และความว่างซึ่งเป็นสิ่งปิดบังความจริงไว้ ก็จะค่อยเปิดเผยตัวออกมาทีละเล็กละน้อยจนปรากฏได้ชัด จิตย่อมมีทางสลัดตัวออกได้ แม้ฐานที่ตั้งของสังขารธรรมที่เต็มไปด้วยสิ่งผสมนี้ ก็ทนต่อสติปํญญาไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งเกี่ยวโยงกัน สติปัญญาประเภทค้นแร่แปรธาตุจะฟาดฟันเข้าไป เช่นเดียวกับไฟได้เชื้อลุกลามไปไม่หยุด จนกว่าจะขุดรากเหง้าของธรรมผสมนี้ขึ้นได้เสียเมื่อใด.. เมื่อนั้นจึงจะหยุดการรุกการรบ เวลานี้มีอะไรที่เป็นข้าศึกต่อนิพพาน ว่างตามแบบของพระพุทธเจ้า คือสิ่งที่ติดใจอยู่ในขั้นนี้และขณะนี้แลเป็นข้าศึก สิ่งที่ติดก็ได้แก่ความถือว่าใจของเราว่างบ้าง สบายบ้าง ใสสะอาดบ้าง ถ้าจะเห็นว่าใจมันว่าง แต่มันอยู่กับความไม่ว่าง ใจมันเป็นสุขแต่มันอาศัยอยู่กับทุกข์ ใจใสสะอาดแต่มันอยู่กับความเศร้าหมองโดยไม่รู้สึกตัว ความว่าง ความสุข ความใส.. นั่นแลเป็นธรรมปิดบังตัวเอง เพราะธรรมทั้งนี้คือเครื่องหมายของภพชาติ ผู้ต้องการตัดภพตัดชาติจึงควรพิจารณาให้รู้เท่าทันและปล่อยวางสิ่งเหล่านี้ อย่าหวงไว้เพื่อก่อไฟเผาตัว ถ้าปัญญาขุดค้นลงตรงที่สามจอมกษัตริย์แห่งภพปรากฏอยู่ นั้นแลจะถูกองค์การใหญ่ของภพชาติและจะขาดกระเด็นออกจากใจทันที ที่ปัญญาหยั่งลงถึงฐานของเขาตั้งอยู่ เมื่อสิ่งทั่งนี้สิ้นไปแล้วเพราะอำนาจของปัญญา นั่นแลเป็นความว่างอันหนึ่ง เครื่ีองหมายของสมมติใด ๆ จะไม่ปรากฏในความว่างนั้นเลย นี่คือความว่างที่ผิดกับความว่างที่ผ่านมาแล้ว ความว่างประเภทนี้ เราจะว่าเป็นความว่างของพระพุทธเจ้าหรือความว่างของใครนั้น ผู้แสดงไม่สามารถจะเรียนให้ทราบได้ว่าจะควรเป็นความว่างของใคร นอกจากจะเป็นความว่างที่รู้เห็นกันอยู่ด้วยสันทิฏฐิโกของผู้บำเพ็ญเท่านั้น ความว่างอันนี้ไม่มีกาลสมัย เป็นอกาลิโกอยู่ตลอดกาล ความว่างในสมาธิมีความเปลี่ยนแปลงไปได้ ทั้งด้านความเจริญและความเสื่อม ความว่างในขั้นอรูปธรรม ซึ่งกำลังเป็นทางเดินก็แปรสภาพหรือผ่านไปได้ แต่ความว่างในตนเองโดยเฉพาะนี้ ไม่มีความเปลี่ยนแปลง เพราะตนไม่มีอยู่ในความว่างนั้น และไม่ถือความว่างนั้นว่าเป็นตน นอกจากนี้ ยถาภูตัง ญาณทัสสนัง เห็นตามเป็นจริงในหลักธรรมชาติแห่งความว่างนั้น และเห็นตามเป็นจริงในสภาวธรรมที่ผ่านมาเป็นลำดับ และที่มีอยู่ทั่วไปเท่านั้น แม้ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นธรรมเครื่องแก้ไขก็รู้เท่าและปล่อยวางไว้ตามเป็นจริง ไม่มีสิ่งใดจะเข้าไปแฝงอยู่ในธรรมชาติแห่งความว่างในวาระสุดท้ายนั้นเลย โปรดนำความว่างทั้งสามประเภทนี้ไปพิจารณา และพยายามบำเพ็ญตนให้เข้าถึงความว่างทั้งสามนี้ เฉพาะอย่างยิ่งความว่างในวาระสุดท้ายซึ่งเป็นความว่างในหลักธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดและสมมติใด ๆ อาจเอื้อมเข้าไปทำการเกี่ยวข้องได้อีกต่อไป ความสงสัยนับแต่ขั้นต้นแห่งธรรม จนถึงความว่างอย่างยิ่ง จะเป็นปัญหาที่ยุติกันลงได้ ด้วยความรู้ความเห็นของตนเป็นผู้ตัดสินเอง...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-10-2017 เมื่อ 01:40 |
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#382
|
||||
|
||||
![]() พระโมฆราช “... พระพุทธเจ้าทรงสอนพระโมฆราชว่า สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต อตฺตานุทิฏฺฐึ อูหจฺจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ. ดูก่อนโมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พิจารณาโลกให้เป็นของสูญเปล่า ว่างเปล่า ถอนอัตตานุทิฏฐิ ที่ถือว่าเป็นเขาเป็นเรา ซึ่งเป็นเหมือนกับก้างขวางคอนี้ออกเสีย จะพึงข้ามพ้นพญามัจจุราชเสียได้ พญามัจจุราชจะตามไม่ทัน มองไม่เห็นผู้พิจารณาโลกเป็นของว่างเปล่าอยู่อย่างนี้ พระโมฆราชก็บรรลุธรรมขึ้นในธรรมบทนี้ละ เป็นพระอรหันต์ขึ้นมา...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-12-2017 เมื่อ 20:18 |
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#383
|
||||
|
||||
![]() โลกธาตุสะเทือนสะท้าน สลดสังเวชการเวียนว่ายตายเกิด ผลแห่งความพากเพียรปฏิบัติธรรมจนถึงที่สุดของท่านในคืนนั้น ทำให้เกิดความสลดสังเวชใจในการเวียนว่ายต่ายเกิดของตน ดังนี้ “... จนถึงคืนวันดับนั้นถึงได้ตัดสินใจกันลงได้ด้วยความประจักษ์ใจ... หายสงสัยทุกสิ่งทุกอย่างเรื่องภพเรื่องชาติ เรื่องความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เรื่องกิเลสตัณหา อาสวะทุกประเภท ได้ขาดกระเด็นออกไปจากใจในคืนวันนั้น ใจได้เปิดเผยโลกธาตุให้เห็นอย่างชัดเจน เกิดความสลดสังเวช น้ำตาร่วงตลอดคืน ในคืนนั้นไม่ได้หลับนอนเลย เพราะสลดสังเวชความเป็นมาของตน สลดสังเวชเรื่องความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะอำนาจแห่งกิเลสมันวางเชื้อแห่งกองทุกข์ฝังใจไว้ ไปเกิดในภพนั้นชาตินี้ มีแต่แบกกองทุกข์ หามกองทุกข์ ไม่มีเวลาปล่อยวาง จนกระทั่งถึงตายไปแล้วก็แบกอีก ๆ คำว่าแบกก็คือใจเข้าสู่ภพใดชาติใด จะมีสุขมากน้อย.. ทุกข์ต้องเจือปนไปอยู่นั่นแล จึงได้เห็นโทษ เกิดความสลดสังเวช แล้วก็มาเห็นคุณค่าแห่งจิตใจซึ่งแต่ก่อนไม่เคยคิด ว่าจิตใจจะมีคุณค่ามหัศจรรย์ถึงขนาดนั้น การไม่นอนในคืนนั้นเพราะความเห็นโทษอย่างถึงใจ และความเห็นคุณอย่างถึงจิตถึงธรรม ในตอนท้ายแห่งความละเอียดอ่อนของจิต เราก็เห็นว่าอวิชชาเป็นของดีและประเสริฐไปอย่างสนิทติดจมไปพักหนึ่ง... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-12-2017 เมื่อ 20:20 |
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#384
|
||||
|
||||
![]()
หลงอวิชชาอยู่เป็นเวลา ๘ เดือนไม่เคยลืม เพราะรักสงวนอวิชชาซึ่งเป็นตัวผ่องใส ตัวสง่าผ่าเผย ตัวองอาจกล้าหาญ จึงรักสงวนอยู่นั้นเสีย... ทั้ง ๆ ที่สติปัญญาก็มีเต็มภูมิ แต่ไม่นำมาใช้กับอวิชชาในขณะนั้น เมื่อได้นำสติปัญญาหันกลับมาใช้กับอวิชชาอย่างเต็มภูมิ เรื่องอวิชชาจึงแตกกระจายลงไป ถึงได้เห็นความอัศจรรย์ขึ้นมาภายในจิตใจนั้นแหละ จึงเป็นความอัศจรรย์อย่างแท้จริง ไม่อัศจรรย์แบบจอมปลอมดังที่เป็นมา...”
โลกธาตุสะเทือนสะท้านหวั่นไหวเกิดขึ้น ในขณะที่ธรรมภายในใจของท่านกระจ่างแจ้งขึ้นมาดังนี้ “... อยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ หมี่นโลกธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ มีความสะเทือนสะท้านทั่วถึงกันหมดเลยไปหมื่นโลกธาตุนี้ อำนาจอานุภาพความสว่างไสวของเทวดาทั้งหลายทั้งแดนโลกธาตุนี้ ไม่มีอานุภาพของเทวดาตนใดจะเสมอเหมือนอานุภาพแห่งธรรมของพระพุทธเจ้า.. ตรัสรู้แล้วกระจ่างแจ้งขึ้นมาในเวลานั้น แต่เมื่อธรรมนั้นกระจ่างขึ้นมาภายในใจเราซึ่งเป็นธรรมประเภทเดียวกัน.. รู้อย่างเดียวกัน เห็นอย่างเดียวกันแล้วจะไปทูลถามผู้ใดแม้พระพุทธเจ้าประทับอยู่ข้างหน้า พูดแล้ว.. สาธุ ! ไม่กราบทูลหรือไม่ทูลถามท่านให้เสียเวลา เพราะคำว่า สันทิฏฐิโก ที่รู้เองเห็นเองนั้นเป็นธรรมที่ประกาศด้วยความเลิศเลอสุดยอดแล้ว ‘นี่เราก็ไปเจอเข้าแล้วประจักษ์ใจ ประหนึ่งว่าแดนโลกธาตุนี้ไหวไปหมด’ ในขณะที่กิเลสตัวกดถ่วงมาตั้งกัปตั้งกัลป์ ตัวพาให้เกิดให้ตาย เพียงเราคนเดียวนี้ การเกิดตายของเรา หากว่าเอาประเทศไทยเป็นป่าช้าแล้วน่ะ ร่างกายของเราเพียงคนเดียวนี้ ไม่มีที่ใดที่จะเก็บจะวางศพของตัวเอง ‘มากไหม พิจารณาสิ !’ เพราะมันเกิดมันตาย มันเกิดมันตายมาไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลาย จนกระทั่งคืนวันนั้นเป็นวันตัดสินขาดสะบั้นไป.. ระหว่างป่าช้าคือความเกิดตายกับใจของเราที่บริสุทธิ์หลุดพ้นแล้วจากความเกิดตาย ‘ใจกระจ่างแจ้งขนาดนั้นแล้ว โลกธาตุจะไม่หวั่นไหวได้ยังไง กิเลสมันหนักขนาดไหน ฟังซิ’ หลังจากนั้นแล้ว ความสว่างจ้าครอบโลกธาตุกลับปรากฏขึ้นในใจดวงเดียวที่เคยมืดบอดมากี่กัปกี่กัลป์ นี่แหละ..ความสว่างกระจ่างแจ้งขึ้นมาโดยไม่ต้องไปทูลถามพระพุทธเจ้าเลย เพราะหายสงสัยทุกอย่าง นี้เรียกว่าจิตมีความกระจ่างแจ้งครอบโลกธาตุแล้ว...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-02-2018 เมื่อ 20:14 |
สมาชิก 15 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#385
|
||||
|
||||
![]() น้ำตาร่วง สลดสังเวชและอัศจรรย์ในธรรม ความรู้เห็นประจักษ์ใจบนดอยธรรมเจดีย์นี่เอง ทำให้ท่านถึงกับน้ำตาร่วงด้วยเหตุผลสองประการ ท่านเล่าไว้ดังนี้ “... ร่วงสองอย่าง ร่วงด้วยความสลดสังเวชภพชาติแห่งความเป็นมาของตนหนึ่ง เพราะความอัศจรรย์ในพระพุทธเจ้า สาวกทั้งหลายที่ท่านหลุดพ้นไปแล้ว ท่านก็เคยเป็นมาอย่างนี้หนึ่ง เราก็เป็นมาอย่างนี้ คราวนี้เป็นความอัศจรรย์ในวาระสุดท้ายได้ทราบชัดเจนประจักษ์ใจ เพราะตัวพยานก็มีอยู่ภายในจิตนั้นแล้ว แต่ก่อนจิตเคยมีความเกี่ยวข้องพัวพันกับสิ่งใด บัดนี้ไม่มีสิ่งใดจะติดจะพัวพันอีกแล้ว.. เกิดความอัศจรรย์ในธรรมที่ปรากฏขึ้นโดยปราศจากสมมุติใด ๆ เข้าไปเจือปนในจิตดวงนั้น ถึงกับทำให้เกิดความขวนขวายน้อย ไม่คิดจะสอนผู้หนึ่งผู้ใด เพราะคิดในเวลานั้นว่าสอนใครก็ไม่ได้ ถ้าลงธรรมกับใจเป็นของอัศจรรย์เหลือล้นถึงขนาดนี้แล้ว ไม่มีใครที่จะสามารถรู้ได้เห็นได้ในโลกอันนี้ เพราะเหลือกำลังสุดวิสัยที่จะรู้ได้ เบื้องต้นที่เป็น ทั้งนี้เพราะจิตยังไม่ได้คิดในแง่ต่าง ๆ ให้กว้างขวางออกไปถึงปฏิปทาเครื่องดำเนิน จึงได้ย้อนกลับมาพิจารณาทบทวนกันอีก ทั้งฝ่ายเหตุคือปฏิปทา ทั้งฝ่ายผลที่ปรากฏในปัจจุบันว่า ถ้าธรรมชาตินี้เป็นสิ่งที่สุดวิสัยที่คนอื่น ๆ จะรู้ได้แล้ว เราทำไมถึงรู้ได้ เราก็เป็นคน ๆ หนึ่งเหมือนกับมนุษย์ทั่ว ๆ ไป เรารู้ได้เพราะเหตุใด ก็ย้อนเข้ามาหาปฏิปทา พิจารณากระจายออกไปจนได้ความชัดเจนว่า ‘ถ้ามีปฏิปทาคือข้อปฏิบัติแล้ว ก็จะต้องได้รู้อย่างนี้’ ท่านผู้ใดบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติให้สมบูรณ์เต็มภูมิ ดังที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้แล้ว ธรรมชาตินี้ไม่ต้องมีใครมาบอก จะรู้เองเห็นเองเพราะอำนาจแห่งมัชฌิมาปฏิปทา เป็นเครื่องบุกเบิกทำลายสิ่งที่รกรุงรังพัวพันอยู่ภายในใจ จนแตกกระจายออกไปหมด เหลือแต่ธรรมล้วน ๆ จิตล้วน ๆ ที่เป็นจิตบริสุทธิ์..” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-03-2018 เมื่อ 16:10 |
สมาชิก 11 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
![]() |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|