กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 23-04-2016, 11:50
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙

ให้ทุกคนขยับตัวนั่งในท่าที่สบายของตน ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ เมื่อครู่นี้ที่มีผู้ถามว่า เวลาปฏิบัติธรรมระยะหลัง ๆ เหมือนกับบังคับลมหายใจตนเอง ซึ่งลักษณะอย่างนั้นต้องไปศึกษาว่า การเข้าถึงสมาธิแต่ละขั้นตอนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วก็เทียบวัดกับอารมณ์ที่บังเกิดขึ้นกับตนเอง เราก็จะได้รู้ว่า การที่สมาธิของเราเริ่มละเอียดขึ้น แนบแน่นขึ้น ลมหายใจก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเองโดยอัตโนมัติ จนกระทั่งถ้าเรารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็จะคิดว่าเป็นการบังคับลมหายใจเข้าออก

อัปปนาสมาธิ คือ กำลังใจขั้นต้นของเรา ได้แก่ ปฐมฌานนั้น ประกอบไปด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคตารมณ์ คำว่า "วิตก" นั้นก็คือคิดอยู่ว่าเราจะภาวนา วิจารนั้นก็คือรู้อยู่ว่าตอนนี้เราดูลมหายใจเข้าออกอยู่ ลมหายใจจะแรง จะเบา จะยาว จะสั้น คำภาวนาว่าอย่างไร เราจะรู้พร้อมในขั้นตอนนี้

ถ้าอารมณ์ใจสามารถทรงตัว ต่อไปก็จะเกิดปีติ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ได้แก่ ขณิกาปีติ ก็คือรู้สึกว่าขนลุกเป็นพัก ๆ บางทีก็ไหวซู่ซ่าไปทั้งตัว บางทีก็รู้สึกคันยิบ ๆ ตามตัว เพราะว่าขนลุกเป็นบางส่วน หรือบางท่านก็จะพบกับขุททกาปีติ คือมีน้ำตาไหล อยู่ ๆ ก็รู้สึกน้ำตาไหลพราก ๆ เหมือนอย่างกับบังคับไม่ได้ แต่ความจริงจะบังคับให้หยุดก็ได้ แต่ถ้าอารมณ์ใจเข้าไปถึงตรงนั้นอีก น้ำตาก็ไหลอีก บางท่านก็พบกับโอกกันติกาปีติ ก็คือร่างกายโยกไปโยกมา ดิ้นตึงตังโครมครามเหมือนผีเจ้าเข้าสิงไปเลยก็มี
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-04-2016 เมื่อ 11:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 23-04-2016, 11:56
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แต่ถ้ารู้จักสังเกตจะเห็นว่า กำลังใจของเรานั้นทรงตัวแนบแน่นอยู่ข้างใน การเคลื่อนไหวเป็นไปแค่ภายนอกเท่านั้น เราไม่ต้องไปสนใจว่าร่างกายจะเป็นอย่างไร ให้สนใจอยู่กับคำภาวนาและลมหายใจเข้าออกของเราก็พอ บางท่านก็พบกับอุเพ็งคาปีติ ก็คือลอยขึ้นทั้งตัว บางทีก็ลอยวนไปรอบห้อง บางท่านก็ลอยออกไปไกล ๆ ก็มี ถ้าสมาธิทรงตัวอยู่ ไม่ตกใจ ไม่ตื่นเต้น ก็จะลอยอยู่เรื่อย ๆ จนกว่าสมาธิก้าวข้ามขั้นไป ร่างก็จะค่อย ๆ กลับคืนเข้าสู่ที่เดิมพอดี ๆ ในท่าเดิมก่อนที่เราจะภาวนา แต่ถ้าหากว่าท่านตกใจ สมาธิเคลื่อน ก็จะหล่นลงมา ถ้าหากว่าไปไกลหน่อยก็อาจจะต้องเดินกลับกันไกลนิดหนึ่ง

บางท่านก็พบกับผรณาปิติ คือรู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ใบหน้าใหญ่ บางคนก็รู้สึกว่าตัวรั่วเป็นรู มีอะไรไหลซู่ซ่าออกมาเต็มไปหมด บางท่านก็รู้สึกว่าตัวระเบิดเป็นผุยผงไปเลยก็มี บางท่านก็เห็นสีเห็นแสงต่าง ๆ เกิดขึ้นในระยะนี้ นี่เป็นเพียงขั้นตอนของสมาธิที่ยังก้าวไม่ถึงปฐมฌาน ถ้าหากว่านับแล้วก็เป็นอยู่ในขั้นของอุปจารสมาธิเท่านั้น

หลังจากนั้นกำลังใจสมาธิที่สูงขึ้นก็จะกด รัก โลภ โกรธ หลง ให้ดับลงชั่วคราว จิตใจจะมุ่งมั่นแน่วแน่อยู่ตรงหน้าของเรา ก็คืออยู่กับลมหายใจเข้าออกและคำภาวนา ลมหายใจจะละเอียดลง เบาลง คำภาวนาจะแนบแน่นทรงตัวโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับก็ภาวนา จะรู้สึกมีความเย็นกายเย็นใจอย่างบอกไม่ถูก ในบาลีเรียกขั้นตอนนี้ว่าสุข ก็คือมีความสุขเยือกเย็นอย่างที่เล่าเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้

ปกติเราโดนไฟใหญ่ ๔ กองคือ รัก โลภ โกรธ หลง เผาอยู่ตลอดเวลา พอกำลังใจสมาธิเริ่มสูงขึ้น กดไฟทั้ง ๔ กองให้ดับลงชั่วคราว คนที่โดนไฟเผาตลอดเวลา อยู่ ๆ ไฟดับไป มีความสุขความสบายอย่างไร ไม่สามารถพูดเป็นภาษาคนได้ พร้อม ๆ กันนั้นกำลังใจของเราก็จะตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจเข้าออกและคำภาวนา ไม่เกินเคลื่อนคลายไปไหน เรียกว่า เอกัคตารมณ์
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-04-2016 เมื่อ 15:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 24-04-2016, 12:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ฉะนั้น ถ้าเรารู้จักสังเกตอารมณ์ใจของตนเอง ก็จะรู้ว่าตอนนี้คือวิตก กำลังนึกอยู่ว่าจะภาวนา ตอนนี้คือวิจาร ลมหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น คำภาวนาว่าอย่างไรก็รู้อยู่ ตอนนี้คือปีติ มีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๕ อย่างปรากฏขึ้น ตอนนี้คือสุข มีความเยือกเย็นทั้งกายและใจบอกไม่ถูก ลมหายใจก็เบาลง ละเอียดลง คำภาวนาก็ทรงตัวเองโดยอัตโนมัติ ขั้นตอนนี้คือเอกัคตารมณ์ กำลังใจตั้งมั่นอยู่ภายใน ไม่ได้สนใจภายนอก ใครจะตะโกนกรอกหูก็ไม่ได้สนใจ มั่นคงอยู่กับการภาวนา สิ่งใดสิ่งหนึ่งปรากฏผ่านสายตา ก็เฉย ๆ ไม่ได้สนใจ มั่นคงอยู่กับการภาวนา

ถ้ารักษาอารมณ์ใจอย่างนี้เอาไว้ได้ โดยที่ไม่คิดดิ้นรนจะให้เป็นไปมากกว่านี้ และไม่คิดอยากจะให้หลุดพ้นจากสภาพนี้ สมาธิก็จะทรงตัวแนบแน่นขึ้นไปอีก ตัววิตกคือความคิดจะภาวนา ตัววิจารคือลมหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้นก็หายไป บางทีลมหายใจละเอียดจนไม่รู้สึกก็มี บางทีคำภาวนาก็หยุดไปเฉย ๆ ถ้ามาถึงขั้นนี้ท่านก็เข้าถึงทุติยฌาน คือกำลังสมาธิขั้นที่ ๒ แล้ว

ถ้าเราไม่ดิ้นรนอยากให้เป็น และไม่ดิ้นรนอยากออกจากสภาพนั้น กำหนดดูกำหนดรู้ไปเฉย ๆ ว่าตอนนี้ไม่หายใจ ตอนนี้ไม่ภาวนา บางทีก็จะรู้สึกมีความเย็นปรากฏขึ้นบริเวณจมูก ปาก หรือคางของเรา แล้วความเย็นก็ค่อย ๆ ขยายออกไปทั่วตัว รู้สึกว่าตัวแข็งเป็นหินไปเลยก็มี บางคนก็รู้สึกว่าความเย็นปรากฏขึ้นที่ปลายมือปลายเท้า ความแข็งปรากฏขึ้นที่ปลายมือปลายเท้าก่อน แล้วค่อย ๆ ลามไปทั้งตัว และท้ายที่สุดร่างกายก็เหมือนกับแข็งเป็นหิน หรือแข็งเกร็งอยู่กับที่ เหมือนกับถูกใครมัดติดอยู่กับหลัก กระดิกกระเดี้ยไม่ได้ ถ้ามาถึงขั้นนี้ก็คือสมาธิท่านเข้าสู่ตติยฌาน ก็คือฌานที่ ๓ แล้ว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-04-2016 เมื่อ 16:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 24-04-2016, 12:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเรายังสักแต่ว่ารู้เฉย ๆ ไม่ไปดิ้นรนให้พ้นสภาพนั้น และไม่อยากจะเป็นอย่างนั้น สมาธิก็จะดิ่งลึกเข้าไปอีก จะรู้สึกสว่างโพลงอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งในร่างกายของเรา อาจจะเป็นตรงหน้าก็ได้ ในอกก็ได้ ในส่วนไหนของร่างกายก็ได้ บางทีรู้สึกสว่างเหมือนอย่างกับใครเปิดไฟแรง ๆ ส่องหน้าเลยก็มี หรือบางทีสว่างเหมือนอย่างกับนั่งอยู่กลางแจ้งตอนกลางวันเที่ยง ๆ ก็มี แต่ว่าจะมีความรู้สึกเยือกเย็น มั่นคงแน่วแน่อยู่ภายใน

ตอนช่วงนี้จิตกับประสาทเริ่มแยกจากกัน ไม่สนใจรับรู้อาการภายนอก นิ่งสงบอยู่กับที่ความเย็นความนิ่งภายในของเรา ถ้าเข้าถึงตรงจุดนี้ได้ ก็คือจตุตถฌาน หรือฌาน ๔ ของเรา ถ้ามาถึงช่วงนี้ ให้ตั้งใจว่าเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง เป็นเวลา ๑ ชั่วโมง เราจะคลายกำลังสมาธิออกจากตรงนี้ ถ้าหากว่าไม่ตั้งใจเอาไว้ บางทีสมาธิปรากฏขึ้นวูบเดียว แต่ว่าเวลาภายนอกผ่านไปนานครึ่งค่อนวันก็มี

ดังนั้น ท่านทั้งหลายต้องรู้จักสังเกตอารมณ์ใจในแต่ละขั้นตอน ว่าตอนนี้ของเราเป็นอย่างไร ลักษณะที่ว่าบังคับลมหายใจนั้น แท้จริงแล้วเราบังคับลมหายใจหรือไม่ ? หรือว่าเป็นไปตามลำดับสมาธิดังที่ได้กล่าวมา ลำดับต่อไปให้ทุกท่านภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกา)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-04-2016 เมื่อ 16:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:42



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว