#21
|
||||
|
||||
ผู้เฝ้าดูจิตด้วยธรรม จักพ้นจากบ่วงมาร
หลวงปู่ครูบาพรหมา(พระสุพรหมยานเถร) วัดพระพุทธบาทตากผ้า แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนเก่า : 26-03-2009 เมื่อ 17:52 |
สมาชิก 115 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#22
|
||||
|
||||
คนดีชอบแก้ไข
คนจัญไรชอบแก้ตัว คนชั่วชอบทำลาย คนมักง่ายชอบทิ้ง คนจริงชอบทำ คนระยำชอบติ พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดเจดีย์หลวง |
สมาชิก 117 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#23
|
||||
|
||||
ดีที่ไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 117 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#24
|
||||
|
||||
ปกครองยาก สอนยาก ดื้อดึงที่สุด คือ ตัวของเราเอง
หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท วัดจุฬามณี
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 21-04-2009 เมื่อ 09:14 |
สมาชิก 125 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#25
|
||||
|
||||
รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน
หลวงพ่อเงิน พุทฺธโชโต วัดบางคลาน
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 23-04-2009 เมื่อ 00:04 |
สมาชิก 116 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#26
|
||||
|
||||
คิดอย่างไรเชื่ออย่างนั้น เชื่ออย่างไรทำอย่างนั้น ทำอย่างไรนิสัยอย่างนั้น นิสัยอย่างไรสันดานอย่างนั้น สันดานอย่างไรได้รับชะตากรรมอย่างนั้น
บุญต้องหาบ บาปต้องละ พระต้องสงบ รบต้องชนะ สละต้องกล้า ค้าต้องกำไร ใจต้องคิด ผิดต้องแก้ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 120 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#27
|
||||
|
||||
หลวงปู่บุดดา ถาวโร
วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.สิงห์บุรี อยู่กับธรรมะสิไม่มีทุกข์ ธรรมะไม่มีสัตว์ ไม่มีคน อยู่กับคนก็ทุกข์นะสิ อยู่หลายคนก็ทะเลาะกัน อยู่คนเดียวก็ทะเลาะกับตัวเอง ทะเลาะกับมิจฉาทิฐิ อยู่กับธรรมะไม่ทะเลาะกับใคร
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 121 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#28
|
||||
|
||||
ท่านทั้งหลาย การที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ มิได้มาตัวเปล่า
ต่างมีบุญและบาปที่ทำไว้ในอดีตติดมาทุกคน ต่างกันแต่มากบ้างน้อยบ้าง ไม่ช้าเราก็ต้องตายดอก อย่ามาแบกเอาบาปเพิ่มไปอีกเลย ลาภสักการะอันหมุนลงได้เป็นราคาเงินนั้น เป็นสมบัตินอกกาย ตายแล้วเอาไปไม่ได้ดอก มันเป็นของใช้สอยประจำโลก เราตายแล้วก็ตกเป็นของคนอื่น เขาอาศัยใช้ต่อไป ใครจะว่าเป็นของใครไม่ได้ทั้งนั้น โลกมนุษย์เป็นแหล่งกลางสำหรับอาศัยสร้างบุญ สร้างบาป โลกนรก โลกสวรรค์ เป็นเพียงโลกที่คอยรับรองผลบุญ - บาป เท่านั้น เราได้มาเกิดอยู่ในโลกอันเป็นแหล่งกลางเช่นนี้แล้ว นับว่าเราได้มีโอกาสที่จะเพิ่มบุญผ่อนบาปให้เบาลง ให้เบาลงกว่าที่เราแบกมาจากอดีตนั้นเถิด อย่าเติมเข้าไปอีกเลย ไหน ๆ เราก็ต้องตายแน่ อย่ามาหอบเอาบาปเพิ่มไปอีกเลย หลวงพ่อสด จนฺทสโร วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพ ฯ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 109 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#29
|
||||
|
||||
ทุกคนจงอย่าได้น้อยใจ ถ้าเข้ามาบำเพ็ญกุศลในทางพระพุทธศาสนาแล้ว
มันไม่ขาดทุนหรอก บุญกุศลมันก็ได้ ขออย่าได้ทำเล่นเท่านั้นแหละ ครั้นรักษาศีลจริง ๆ คือรักษากาย รักษาวาจาให้เรียบร้อย เว้นจากโทษทั้งห้า อานิสงส์มันก็ถึงใจ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก จ.นครพนม
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 15-08-2009 เมื่อ 00:25 |
สมาชิก 108 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#30
|
||||
|
||||
ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า... ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็น จะขาดเสียไม่ได้
ทั้งที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้ ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกาย เป็นผู้สั่งบัญชางานให้กายแท้ ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำความสะอาดหรือ? สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรฺหมฺรงฺสี วัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพมหานคร
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 15-08-2009 เมื่อ 00:25 |
สมาชิก 107 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#31
|
||||
|
||||
ผู้ไม่มีศีลเป็นพื้นฐาน สมาธิจะไม่เกิดหรือตั้งอยู่ไม่ได้
สมาธิมีแล้ว ปัญญาวิปัสสนาจึงจะเกิด ผู้ไม่มีสมาธิเป็นพื้นฐาน จะปรารถนาวิปัสสนา ก็เหมือนกับดักไซบนอากาศฉะนั้น หลวงปู่เทสก์ เทสรงฺสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ข้อมูล : หนังสือ "บันทึกธรรมภาษิต" โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 09-06-2009 เมื่อ 03:30 |
สมาชิก 103 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#32
|
||||
|
||||
หาคนดีมีศีลธรรมในใจ หายากยิ่งกว่าเพชรนิลจินดา
ได้คนเป็นคนดีเพียงคนเดียวย่อมมีค่ามากกว่าเงินเป็นล้าน ๆ เพราะเงินเป็นล้าน ๆ ไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ เหมือนได้คนดีทำประโยชน์... หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 105 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#33
|
||||
|
||||
ความมืดก็อยู่ที่นี่ ความสว่างก็อยู่ที่นี่ ความโง่ ความหลง
ก็อยู่ในตัวของเรานี้ ความรู้ความฉลาดก็อยู่ในใจของเรานี้ ใจดวงนี้จึงเป็นเหมือนเก้าอี้ตัวเดียว แต่คนรอนั่งบนเก้าอี้มีสองคน ถ้าคนหนึ่งเข้านั่ง อีกคนหนึ่งก็ต้องยืน ถ้าแบ่งกันนั่งก็ได้นั่งคนละซีก เช่นเดียวกับความโง่ ความฉลาดแทรกกันอยู่ในใจดวงเดียว จะว่าโง่จริง ๆ ก็รู้อยู่ จะว่าหลงจริง ๆ ก็ยังรู้อยู่ แต่ถ้าจะว่ารู้จริง ๆ ก็ยังมีความโง่ ความฉลาดแทรกอยู่ด้วย จีงเทียบกับเก้าอี้ตัวเดียวแต่คนนั่งสองคน ใจดวงเดียวแต่มีความโง่กับความหลงแทรกกันอยู่คนละซีก ถ้าใครมีกำลังมากกว่า คนนั้นก็ได้นั่งมาก... หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 99 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#34
|
||||
|
||||
"วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา
อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา" หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 104 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#35
|
||||
|
||||
"นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ
ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น " สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 105 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#36
|
||||
|
||||
พุทธะ อยู่ในกายมนุษย์
อีกจุดหนึ่งที่มนุษย์ไม่ยอมสนใจ คือไม่สนใจค้นในกายของตนเอง สิ่งหนึ่งที่เรียกว่าพุทธะนั้นอยู่ในกาย ถ้าจิตของผู้นั้นสามารถค้นเข้าไปถึงกายในกายอันบริสุทธิ์ สิ่งนี้ภาษาทางโลกเรียกว่าพลังชนิดหนึ่ง ที่ยอดเยี่ยมอยู่ในตัวเรา แต่เราไม่รู้จักค้นออกมาใช้ เพราะอะไรเล่า ทำไมเราจึงถามว่าเหตุใดองค์สมณะโคดมจึงสามารถระลึกชาติได้ เพราะมี ปุพเพนิวาสานุสสติญาน มีอนาคตญาณ หรือมีญาณอะไร สิ่งเหล่านี้เราไม่ต้องไปรับรู้ เราไม่ต้องยุ่ง เราไม่ต้องไปคิดถึงว่าเราจะได้ฌานโน้นฌานนี้ หลักของการปฏิบัติอันหนึ่งมีอยู่ว่า เราจะยึดอะไรเป็นสรณะของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คำว่า กรรมฐาน นั้นหมายถึงการกำหนดจิตของเราให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อรวมพลังจิตไม่ให้ฟุ้ง เมื่อรวมพลังจิตอันนั้นไม่ให้ฟุ้งแล้ว รวมอยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง รวมจนได้อารมณ์แห่งปีติ คือนิ่งเฉยแห่งจุดนั้น เมื่อนั้นให้ขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกแห่งอรหันต์ โลกแห่งโพธิสัตว์ โลกแห่งอนาคา อนาคามี โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา ทำอย่างไรเราถึงจะไปสู่จุดแห่งการเป็นอนัตตาได้ สมเด็จพระสังฆราชคุรูปาจารย์ หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด) พระเถระสมัยกรุงศรีอยุธยา
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 09-06-2009 เมื่อ 03:43 |
สมาชิก 96 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#37
|
||||
|
||||
ปฐมพุทธพจน์ : ความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย
เราเมื่อแสวงหาอยู่ ซึ่งนายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อยังไม่พบ จึงแล่นไป สู่สงสารเป็นอเนกชาติ การเกิดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์ นายช่างผู้สร้างเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักไม่ได้สร้างเรือนอีก โครงเรือนทั้งปวงของท่าน ถูกเราหัก พังสิ้นแล้ว จิตของเราได้สภาวธัมม์ซึ่งไม่ปรุงแต่ง เราได้ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย. หมายเหตุ “ความสิ้นไปแห่งตัณหา” เป็นปฐมพุทธพจน์ คือ... พุทธพจน์บทแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุทานในพระหฤทัย เมื่อทรงตรัสรู้สัจจธรรม ณ ใต้ต้นโพธิ์ ริมฝั่งน้ำเนรัญชรา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายะ ธัมมปทปาฬิ เล่ม ๑๘
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 10-06-2009 เมื่อ 11:10 |
สมาชิก 92 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#38
|
||||
|
||||
การทำสมาธินั้น บางคนเป็นสมาธิง่ายมาก แต่บางคนทำตั้ง ๒-๓ ปีจึงจะเป็นก็มี
เรื่องนี้ถ้ารู้ว่าบุญบารมีวาสนาของเรายังอ่อน ไม่ได้สร้างสมมาแต่บุรพชาติหนหลัง นึกรู้อย่างนี้แล้วอย่าท้อใจ ถ้ารู้ตัวว่า...ตนเองวาสนาอ่อน อินทรีย์อ่อน จะปล่อยให้แก่เองไม่ได้หรอก ต้องปฏิบัติเอาจึงจะได้ เหมือนผลไม้ในสวน เจ้าของต้องปรนนิบัติ ใส่ปุ๋ย รดน้ำ พรวนดิน ระวังดูแลรักษาไม่ให้เป็นอันตราย มันก็ค่อยเจริญงอกงามขึ้นเอง ไม่เสียผลหรอก ถ้าเราทำเหตุ ผลก็ต้องได้รับ ถ้าเราไม่ทำสิ่งใด เราย่อมไม่ได้สิ่งนั้น เหมือนสมบัติภายนอก ต้องการสิ่งใดก็ต้องขวนขวายหามาไว้ ความปรารถนาที่จะทำบุญให้ทานหรือรักษาศีลพอให้มีได้ แต่ความปรารถนาความสงบอยากให้จิตรวมนั้น เป็นข้าศึกแก่สมาธิอย่างยิ่ง ขอแนะนำไว้...ถ้าเกิดความอยากขึ้น มักจะเกิดท้อใจ ทุกข์ใจ เดือดร้อน เกิดความร้อนใจ โกรธให้ตนเอง ถ้าความอยากมันเกิดขึ้น ให้เอาจิตเพ่งความอยาก แต่อย่าถือว่าเป็นจิตของเรา ให้กำหนดรู้ว่า... ความอยากเป็นเพียงอาการของใจ ความอยากเป็นความนึกคิดของใจเท่านั้น หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่นิมิต จ.เลย
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 10-06-2009 เมื่อ 11:08 |
สมาชิก 90 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#39
|
||||
|
||||
ไม่ต้องหนีไปไหน หัดเปลี่ยนตัวหลงเป็นตัวรู้เข้าไป
เอาตั้งแต่รู้นี่ไปเลย ค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทำเรื่อยไป นี่กรรมฐาน มันเป็นวิปัสสนา บรรลุเพื่อ มรรค ผล นิพพานแท้ ๆ หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ วัดป่าสุคโต จ.ชัยภูมิ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 10-06-2009 เมื่อ 11:08 |
สมาชิก 88 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#40
|
||||
|
||||
คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
ธรรมประจำใจ พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์ ละได้ย่อมสงบ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ สันดาน ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้งซึ่งไม่เหมือนกัน ย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก ชีวิตทุกข์ การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้านก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย บรรเทาทุกข์ การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเองและเราจะต้องวินิจฉัย ในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่าสิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ยากกว่าการเกิด ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย ไม่สิ้นสุด แม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำฉันใด กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุดฉันนั้น ยึดจึงเดือดร้อน ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโน่น ยึดนี่ ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรม สากลจักรวาลโลกมนุษย์นี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก สัตว์โลกทุกคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ อยู่ให้สบาย ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์ เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง ธรรมารมณ์ การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่าง ๆ แล้ว ถ้าสิ่งต่าง ๆ ไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจ น้อยใจ เป็นทุกข์ กรรม ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง มารยาทของผู้เป็นใหญ่ " ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง " มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ โลกิยะหรือโลกุตระ คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้ คนที่เดินทางโลกิยะย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชาไม่ดีหรือ แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน เราต้องตัดสินใจ ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง ศิษย์แท้ พิจารณากาย ในกาย พิจารณาธรรม ในธรรม พิจารณาวิญญาณ ในวิญญาณ นั่นแหละคือสานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้ซึ้ง ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุ จึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา ใจสำคัญ การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จะต้องทำด้วยความศรัทธา ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้น เกินความคาดหมาย หยุดพิจารณา คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำ อยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน และถ้าภาวะนั้น ตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อย ๆ คือหยุดพิจารณาแล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้ บริจาค ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอก การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ การบริจาคภายในย่อมได้กุศลมากกว่าการบริจาคภายนอก นี่คือเรื่องของนามธรรม ทำด้วยใจสงบ เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้วปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก มีสติพร้อม จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผลมาอยู่เหนือความจริง เตือนมนุษย์ มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีงานทำในไม่ช้า มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า พิจารณาตัวเอง คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก ๕ นาที หรือ ๑๐ นาที ไม่ติดต่อกับใคร ให้นั่งเฉย ๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวัน ๆ ว่าที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง จากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ หลวงปู่ทวด
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 14-06-2009 เมื่อ 00:38 |
สมาชิก 84 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน ) | |
|
|