|
เก็บตกจากบ้านอนุสาวรีย์ เก็บข้อธรรมจากบ้านอนุสาวรีย์มาฝาก สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไป |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#21
|
||||
|
||||
หลังจากที่พระอาจารย์ให้พรญาติโยมที่ทำสังฆทาน ท่านก็พูดขึ้นว่า "พวกเราน่าจะฟังภาษาบาลีออก เวลาที่พระสวดมนต์ เวลาที่พระให้พร จริง ๆ แล้วเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น ทีนี้เราฟังไม่ออกก็กลายเป็นว่าขลังศักดิ์สิทธิ์ ความจริงพรจะขลังและศักดิ์สิทธิ์ก็ต่อเมื่อเราทำตาม
พระองค์ท่านตรัสว่า อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ ผู้มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ทรงศีลนั้น วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ ย่อมเป็นผู้ที่เจริญไปด้วยธรรมะสี่ประการ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ เจริญด้วยอายุ เจริญด้วยวรรณะ เจริญด้วยความสุข เจริญด้วยกำลัง พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ทั้งนั้น ทีนี้พวกเราฟังไม่ออก ไม่รู้แปลว่าอย่างไร รับไปขลัง ๆ เท่านั้น เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะถ้าฟังออกจะรู้ว่ามีอะไรดี ๆ เยอะมาก พระพุทธเจ้ากล่าวถึงธรรมะของพระองค์ท่านว่า มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว ท่านมาพบเข้าจึง วิวรติ วิภชติ เอามาจำแนก เอามาแยกแยะ อาจิกฺขติ เทเสติ เอามาบอกกล่าว เอามาแสดง ปญฺญเปติ ปฏฺฐเปติ เอามาบัญญัติ เอามาก่อตั้ง อุตฺตานีกโรติ ทำของลึกให้ตื้น (ทำของยากให้ง่าย) สมัยหลัง ๆ นี่คนเขาชอบสอนของยากให้ยากยิ่งขึ้น คนก็เลยเข้าถึงธรรมได้น้อย ความจริงพระพุทธเจ้าท่านสอนธรรม ท่านสอนในระดับเด็กอนุบาลเลย ถ้าใครไปอ่านพระไตรปิฎกฉบับเต็ม ๆ อาจจะรำคาญ เพราะพระองค์ท่านย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีกในหัวข้อนั้น จริง ๆ ก็คือเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่กำลังใจผู้ฟัง แต่ว่าของเราไปอ่านแล้วรู้สึกว่า อ้าว..ซ้ำอีกแล้ว พูดง่าย ๆ ว่าย้ำแทบทุกคำ พระองค์ท่านสอนง่ายจริง ๆ เช่น ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว อย่างไรเล่าภิกษุทั้งหลาย ? ภิกษุมีความสำคัญว่า รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วา รูปนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยงเล่า ? อนิจจัง ภันเต ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ ก็ถ้าไม่เที่ยงแล้วเป็นสุขหรือทุกข์เล่า ? ทุกขัง ภันเต ทุกข์พระเจ้าข้า พระองค์ท่านถามตอบทีละประโยคเหมือนกับถามเด็ก พูดง่าย ๆ ว่าอารมณ์ใจของเราถ้าหากน้อมตามไปทีละขั้นนี่ จะไม่บรรลุก็ไม่ได้แล้ว เพราะว่าง่ายจริง ๆ เพียงแต่ว่าสมัยหลัง ๆ เขาเอาของยากมาสอนให้ยากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นเพราะว่าเรียนมาก กลัวเขาจะไม่ชมว่าเก่ง เลยต้องสอนให้ยาก ๆ เข้าไว้ก็เป็นได้"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2011 เมื่อ 16:50 |
สมาชิก 141 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#22
|
||||
|
||||
พระอาจารย์กล่าวถึงพระที่วัดท่าขนุนว่า "ไม่แน่ใจว่าพระรุ่นนี้จะเป็นโชคหรือเป็นเคราะห์ของเขา เพราะอาตมาดันมีเวลาว่าง เนื่องจากเรียนจบแล้ว ฉะนั้น..ทุกวันนี้เขาจะได้ยินอาจารย์บ่นวันละสามเวลา
บางทีการที่เราฝึกฝนเขา เขาก็ไม่รู้ว่ากำลังศึกษาอะไรอยู่ จริง ๆ แล้วก็คือหลักมหาสติปัฏฐาน ให้เขาสังเกตการออกบิณฑบาต ถ้าหากเกิดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ในช่วงนั้น จะสามารถคงสภาพจิตของตนเองไม่ให้ยินดียินร้ายได้หรือไม่ ? อย่างเช่นว่าเดินอยู่ท้ายแถว บังเอิญโยมเขามาใส่บาตร แล้วกับข้าวหนักมาก แต่เด็กวัดดันไปเดินอยู่หัวแถว ไม่ได้สนใจที่จะมาเก็บกับข้าวไป เพราะเขาไม่ได้มองกลับหลังมา เราจะถือบาตรเดินไปโดยดีหรือจะด่าพ่อด่าแม่เด็กวัดดี ? ตรงนี้ก็คือพวกจิตในจิต ธรรมในธรรม มีบ้านของโยมคนหนึ่งที่เขาเป็นอัมพฤกษ์ แล้วเขาลุกนั่งไม่ได้ เวลาไปบิณฑบาตที่บ้านเขา บันไดจะชันมาก ๆ ขึ้นลงต้องระวังมากกว่าปกติหลายเท่า โดยเฉพาะตอนฝนตก ถ้าลื่นนี่เป็นเรื่องแน่นอน อาตมาบอกว่าให้ทุกคนสังเกตตัวเอง ขณะที่เดินอยู่ตามพื้นปกติกับตอนที่เดินขึ้นบันได ความรู้สึกต่างกันแค่ไหน ? ทำอย่างไรที่เราจะรักษาความมีสติรู้ระวัง เหมือนกับตอนขึ้นบันไดตรงนั้นให้ได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น..พระรุ่นนี้ถ้าหากเขาทำได้อย่างที่ต้องการ ก็คงจะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติมาก แต่ถ้าคนไหนทำไม่ได้ก็จะโดนทิ้งห่างมากเลย ตามพวกไม่ทัน ตอนนี้ก็เลยถือเป็นภาระว่า ตอนอยู่วัดอย่างน้อย ๆ ตอนเช้า ตอนเพล หรือตอนทำวัตรเย็น ต้องมีการพูดคุยอะไรบางอย่างที่เป็นประโยชน์แก่พวกเขา รู้สึกว่าอยากทำ เพราะรุ่นนี้มีพระหลายต่อหลายรูปที่เขาตั้งใจปฏิบัติกันจริง ๆ รุ่นนี้เขายอมลำบาก ถึงเวลาฉันเพลเสร็จ ขออนุญาตเดินทางไปถ้ำทะลุโดยเท้า ระยะทางไม่ไกลเท่าไรหรอก ๒๕ กิโลเมตรเท่านั้น ไปกลับก็ ๕๐ กิโลเมตร บางรูปก็ขออนุญาตไปภาวนาอยู่คนเดียวในป่าที่ลึก ๆ สามวันบ้าง หนึ่งวันบ้างแล้วแต่กำลังใจ อาตมาก็อนุญาตทั้งหมด แต่เตือนพวกท่านเอาไว้ว่า บวชใหม่ ๆ อย่าเพิ่งห่างครูบาอาจารย์ ตอนที่เป็นฆราวาสเราจะเก่งขนาดไหนก็ตาม อารมณ์ใจในตอนบวชจะไม่ใช่อย่างนั้น และโดยเฉพาะในเรื่องของศีล โอกาสพลาดเรามี พลาดเมื่อไรก็มีโทษเมื่อนั้น นี่กำลังรอผลอยู่ว่าถ้าออกพรรษารับกฐินแล้ว ถ้าท่านสึกกันเกลี้ยงแสดงว่าทนอาตมาไม่ไหว แต่ถ้าท่านอยู่ต่อได้แสดงว่ามีความก้าวหน้า"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 25-05-2015 เมื่อ 08:39 |
สมาชิก 137 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#23
|
||||
|
||||
แล้วท่านก็พูดถึงเรื่องการฉันข้าวว่า "ช่วงบวชใหม่ ๆ เวลาพระฉันอาหารถ้าขาดสติ ช้อนจะกระทบกับจานเสียงดัง พอเตือนพวกท่านไป เสียงจะเงียบไปอึดใจเดียว แล้วต่อมาเสียงจะดังกว่าเดิม ที่ดังกว่าเดิมเพราะเวลาตั้งใจระวัง จะเกิดอาการเกร็ง เวลาพลาดจึงดังกว่าเดิม
การฝึกสติลักษณะนี้ก็ดีไปอีกอย่างหนึ่ง เพราะได้ลองกับของจริง ในขณะเดียวกันถ้าเกร็งมาก ๆ ก็เป็นเรื่องเหมือนกัน"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2011 เมื่อ 16:56 |
สมาชิก 137 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#24
|
||||
|
||||
พระอาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่องการถ่ายทอดความรู้ว่า "หลายคนมีความสามารถ เรียนรู้ได้เก่งมาก ผ่านการทดสอบด้วยคะแนนที่น่าเชื่อถือ แต่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ของตนเองให้คนอื่นเขาเข้าใจได้ ตรงนี้ขาดอะไรไปใครรู้บ้าง ?
สมัยก่อนเวลาบรรยายร่วมกับ ดร.โกมล แพรกทอง อาตมาต้องแปลไทยเป็นไทยอีกที เพราะท่านจะบรรยายในแบบที่ท่านรู้ โดยไม่ได้ดูว่าคนฟังเป็นใคร ท่านขึ้นสูงแล้วลงไม่เป็น ถามว่าดร.โกมล เก่งไหม ? เก่งมาก..ความรู้แน่นเลย ประเภทพูดได้หลาย ๆ ชั่วโมงโดยไม่ต้องเปิดตำราดูแม้แต่นิดเดียว แต่ชาวบ้านฟังไม่รู้เรื่อง ก็เลยมักจะมีปัญหา ทำอย่างไรเราจะถ่ายทอดสิ่งที่เรารู้ให้คนอื่นรู้ ในลักษณะที่ว่าง่ายสำหรับเขา ตรงจุดนี้แหละที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทำของลึกให้ตื้น ทำของยากให้ง่าย ส่วนพวกเรานี่ถนัดในการทำของยากให้ยากยิ่งขึ้น"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 25-05-2015 เมื่อ 08:46 |
สมาชิก 139 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#25
|
||||
|
||||
ถาม : ในกรณีที่พระยืมเงินฆราวาสหรือยืมเงินพระด้วยกัน แล้วมีการรับปากว่าจะใช้หนี้ ปรากฏว่าหายไปไม่ได้ติดต่อกัน ตรงนี้จะเป็นอย่างไร ?
ตอบ : ถ้าหากท่านเจตนาโกง แต่ญาติโยมยังไม่ทอดธุระ คือ ยังติดตามอยู่ ท่านยังไม่โดนอาบัติ แต่ถ้าหากญาติโยมทอดธุระ ตัดใจว่าไม่เอาแล้ว ถ้าเกินแม้แต่หนึ่งบาท ก็ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระไปเลย จริง ๆ แล้วพระไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินขนาดนั้น แต่ก็แปลกใจที่มีการกู้ยืมอยู่ตลอดมา อาตมาไปอยู่ที่เกาะพระฤๅษีไม่นาน ก็มีคนมาขอกู้เงิน รายแรกเป็นผู้ใหญ่บ้าน รายถัดไปเป็นเจ้าแม่เงินกู้อยู่แถว ๆ นั้น เขาจะเอาเงินไปปล่อยให้ชาวบ้าน เขาบอกไว้เสร็จสรรพเลย จะเอาไปปล่อยร้อยละ ๗ เขาจะให้อาตมาร้อยละ ๓ ก็บอกเขาไปว่าให้กู้ไม่ได้หรอก เป็นพระแล้วมาปล่อยเงินกู้ได้อย่างไร เขาบอกว่าพระนี่แหละที่หนูยืมมาเยอะแล้ว..! ตั้งแต่นั้นมาใครมาขอกู้เงิน อาตมาไม่เคยปฏิเสธเลย มาเลยจะเอาเท่าไร ทำสัญญามาเลย คิดดอกร้อยละ ๑๒๐ หักดอกไว้เลย ปรากฏว่าไม่เห็นมีใครมาเอาสักคน..! ถ้าเขายืมเราสักหมื่นหนึ่ง เราก็ได้หมื่นสองแถมเขายังต้องติดหนี้เราอีกหมื่นหนึ่งด้วย ไม่อยากปฏิเสธเดี๋ยวเสียน้ำใจ ยินดีให้กู้ทุกราย"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2011 เมื่อ 17:00 |
สมาชิก 132 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#26
|
||||
|
||||
พระอาจารย์ได้บอกว่า "อีกห้าปีข้างหน้าจะมีงานร้อยปีหลวงปู่สาย ครั้งนี้จะมีศิษย์เก่าคืนสู่เหย้า
วันก่อนตอนประชุมคณะกรรมการวัด บอกว่างานร้อยปีหลวงปู่สาย พวกลูกศิษย์เก่าจะแก่แค่ไหนต้องมา ถ้ารวมได้ไม่ถึงร้อยถือว่าไม่รักหลวงปู่จริง เพราะตั้งใจจะบวชพระถวายหลวงปู่สักร้อยรูป"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2011 เมื่อ 17:00 |
สมาชิก 128 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#27
|
||||
|
||||
ถาม : มีฌานใช้งานแล้ว มีวิปัสสนาแบบใช้งานหรือไม่คะ?
ตอบ : มี ถาม : รู้สึกอารมณ์ใจเบากว่าเมื่อก่อน ไม่หนัก..แต่ว่าก็ยังกระเพื่อมอยู่ ตอบ : กระเพื่อมไม่เป็นไร รู้ตัวก็รีบหนี เหมือนกับโผล่หัวออกมาจากรู เห็นว่าสถานการณ์ไม่ดีก็ผลุบกลับไปใหม่ รู้จักเต่าใช่ไหม ? นั่นเลย โผล่หัวมาเจออันตรายก็ผลุบเข้ากระดองไป ใส่เกราะเอาไว้ก่อน จะได้ไม่เจ็บตัว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2011 เมื่อ 17:02 |
สมาชิก 129 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#28
|
||||
|
||||
พระอาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการปฏิบัติว่า "การปฏิบัติจริง ๆ เขาเอาแค่เพียงอย่างเดียว บางทีเราไปทำหลายอย่างก็ทำให้ช้าได้ ถ้าหากว่าทำอย่างเดียวจนกำลังใจทรงตัวแล้ว เอากำลังนั้นไปใช้ในการพิจารณาตัดกิเลสก็จะง่าย ถ้าทำถึงที่สุดแล้ว วิสัยเดิม ๆ จะกลับมา ไม่ต้องไปเสียเวลาฝึกหลายอย่าง
อันความรู้รู้กระจ่างเพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2011 เมื่อ 17:02 |
สมาชิก 127 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#29
|
||||
|
||||
พระอาจารย์บอกว่า "เวลาทำอะไรอย่าทำแบบเป็ด เพราะเป็ดทำได้ทุกอย่าง แต่ทำดีได้ยาก โบราณเขาบอกว่า
แม้นจะขันขันได้ไม่เหมือนไก่ บินก็ได้แต่ไม่ทันพรรณปักษา ว่ายน้ำได้ก็ไม่ทันเหล่าพรรณปลา เหมือนวิชารู้หลายสิ่งไม่จริงจัง เคยได้ยินเป็ดขันไหม ? ขันไม่ได้เรื่องเลยทีเดียว เขาบอกว่า อย่าเอาเป็ดไปขันประชันไก่ เพราะอย่างไรก็สู้ไม่ได้ ก็หมายความว่า อย่าเอาคนที่ไม่ถนัดไปทำงานแข่งกับคนที่ถนัด ส่วนเป็ดที่บินแต่ก็บินสู้นกไม่ได้ เพราะว่าเป็ดต้องบินเป็นช่วง ๆ แล้วต้องพัก แต่นกนี่บินยาวได้เลย ส่วนเป็ดนี่ดำน้ำได้ แต่มันดำได้ครึ่งค่อนตัวเท่านั้นแหละ เขาถึงได้บอกว่า ทำอะไรอย่าทำแบบเป็ด เพราะเป็ดทำเป็นทุกอย่าง แต่ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ในเรื่องกรรมฐานเหมือนกัน เอาให้จริงให้ได้สักกองหนึ่งแล้ว ใช้กำลังนั้นไปตัดกิเลส แต่ถ้าไปหยิบหลาย ๆ กองแล้วจะเป็นแบบเป็ด"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2011 เมื่อ 17:05 |
สมาชิก 129 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#30
|
||||
|
||||
พระอาจารย์สอนเรื่องการเลี้ยงลูกว่า "เลี้ยงลูกอย่ารักลูกมาก ปล่อยให้เขาทำอะไรด้วยตัวเองให้เร็วที่สุด ถึงเวลาเกิดปุ๊บปั๊บเขาไม่มีเรา เขาจะได้อยู่ได้ ไปตามปกป้อง ไปตามดูแล ไปตามสงเคราะห์ ถ้าหากเราตายก่อน เขาจะทำอะไรไม่เป็น เราซวยหนักเข้าไปอีก เคยอ่านเรื่องพ่อแม่รังแกฉันบ้างไหม ? ที่เขาว่า...
มีซินแสแก่เฒ่าได้เล่าไข ถึงเรื่องงิ้วว่าเล่นกันเช่นไร มีข้อใหญ่นั้นก็เป็นเช่นละคร แต่ข้อหนึ่งแกเล่าเขาประสงค์ มุ่งจำนงในข้างเป็นทางสอน ชี้ทางธรรม์มรรยาทแก่ราษฎร เหมือนละครสุภาษิตไม่ผิดกัน เราบวชนาคโกนจุกในยุคก่อน มีกล่าวกลอนเพราะพริ้งทำมิ่งขวัญ การขันหมากยุคเก่าท่านเล่ากัน มีสวดฉันท์เรียกว่าสวดมาไลย์ เค้าก็คือท่านหวังจะสั่งสอน แต่ผันผ่อนตามนิยมสมสมัย มีเฮฮาพาสนุกเครื่องปลุกใจ สมกับได้มีงานการมงคล ฯลฯ ลองไปหาอ่านดู เรื่องพ่อแม่รังแกฉัน ของพระยาอุปกิตศิลปสาร"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2011 เมื่อ 17:06 |
สมาชิก 129 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#31
|
||||
|
||||
พระอาจารย์ท่านบอกว่า "ในเรื่องของการปฏิบัติธรรม ต้องวางอารมณ์ให้พอดี ถ้าไม่พอดี เกินหรือขาด โอกาสที่จะเข้าถึงเป้าหมายจะยาก แล้วที่ทุกคนจะต้องเจออยู่จุดหนึ่งก็คือ พอทำ ๆ ไปช่วงหนึ่งแล้วตัน ไปต่อไม่ได้ อันนั้นไม่ได้หมายความว่าเราทำแล้วไม่ได้ผล หากแต่ว่าเกิดจากว่าสติ สมาธิ ปัญญาของเราที่สั่งสมมา ยังไม่พอที่จะก้าวพ้นจุดนั้นได้ ดังนั้น..จึงไม่ใช่เลิกทำ แต่ว่าต้องย้ำแล้วย้ำอีก ทำแล้วทำอีก พิจารณาแล้วพิจารณาอีก ในลักษณะนั้นจะเบื่อไม่ได้
พอถึงเวลาแล้วไม่ได้อย่างใจ ความต้องการที่จะได้อย่างใจ ก็จะทำให้เราหงุดหงิด เบื่อ เซ็ง บางคนก็ประชดชีวิตเลิกทำไปเลย เราจะเบื่อไม่ได้ ให้รู้ไว้ด้วยว่านั่นเกิดจากการสั่งสมของศีล สมาธิ ปัญญายังไม่ได้ในระดับหนึ่ง ต้องซักซ้อมใหม่ ย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ตอกหัวตะปูเข้าไป เดี๋ยวก็จมมิดไปเอง ถ้ากำลังพอแล้ว ถึงเวลาเมื่อเราก้าวล่วงไปแล้ว หันไปดู อ้าว...คราวที่แล้วโง่ฉิบหายเลย เสือกโง่เอง เหมือนกับว่า นักโทษเจาะกำแพง เจาะไป ๆ มุดเข้าไปทั้งตัวแล้วยังไม่ทะลุสักที เบื่อ ถอยกลับ ทั้งที่เหลือกำแพงหนาแค่นิ้วเดียวเท่านั้น แต่หมดกำลังใจ ท้อถอย เลิกทำเสียก่อน น่าเสียดายมาก"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-06-2020 เมื่อ 03:18 |
สมาชิก 132 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#32
|
||||
|
||||
พระอาจารย์สอนว่า "กรรมฐานให้เริ่มจากกองที่เราถนัด พอเราทำที่ถนัดจนอารมณ์ใจทรงตัวสูงสุดแล้ว เราค่อยถอยลงมาเริ่มของใหม่ที่เราจะทำ แต่ถ้าเรามาถึงแล้วก็ไปเริ่มใหม่ มาถึงก็ไปเริ่มใหม่ ก็จะ ก.ไก่ ข.ไข่อยู่เรื่อย"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-06-2020 เมื่อ 03:18 |
สมาชิก 136 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#33
|
||||
|
||||
พระอาจารย์บอกว่า "ในการจารตระกรุดมหาสะท้อน กำลังใจต้องได้ชนิดที่ว่าจารเสร็จใช้งานได้เลย"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-06-2020 เมื่อ 19:48 |
สมาชิก 123 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#34
|
||||
|
||||
พระอาจารย์บอกว่า "ที่เราเจอมา บางทีสิ่งที่เราสอนมันเป็นดาบสองคม ดังนั้น..ในเรื่องการปฏิบัติสำคัญที่สุดก็คือเป้าหมาย เราต้องทบทวนไตร่ตรองอยู่เสมอ ๆ คือ ตัววิมังสาในอิทธิบาท
เราทำเพื่ออะไร? ตอนนี้ทำถึงไหน? ยังตรงเป้าหมายหรือเปล่า? เหลืออีกใกล้ไกลเท่าไหร่? ถ้าหากเราไม่ทวนตรงนี้บ่อย ๆ ก็จะหลุดเป้า แล้วเดี๋ยวจะเตลิดเปิดเปิงไปตามที่เขาหลอก"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-06-2020 เมื่อ 19:48 |
สมาชิก 120 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#35
|
||||
|
||||
ในเรื่องความกลัวนั้น พระอาจารย์บอกกับพระลูกศิษย์ว่า "ถ้าหากเข้าใจว่าความตายเป็นเรื่องปกติแล้ว เราจะหมดความกลัวทุกอย่างเลย
ผมตามดูมาเป็นปี ๆ เรื่องกลัวตาย เช่น กลัวผี ผีหลอกแล้วจะทำอย่างไร ? ก็บีบคอเราแล้วเราจะเป็นอย่างไร ? เราก็ตาย หรือเข้าป่ากลัวงูกัด กัดแล้วเป็นอย่างไร ? เดี๋ยวก็ตาย ท้ายสุดมาลงที่ตายหมดเลย เพราะฉะนั้น..ผมเลยมาสรุปว่าความกลัวทั้งหมด ไม่ว่ากลัวจากภายในหรือภายนอกก็คือกลัวตายอย่างเดียว กลัวแล้วไปปรุงแต่ง ผมไปนั่งกรรมฐานในป่าช้า พอดึก ๆ เสียงอะไรดังจะได้ยินชัดมาก ผมก็ฟัง..เสียงดังขนาดนี้เหมือนเสียงงูตัวเล็กเลื้อย ก็ถือไฟฉายไปส่อง ที่ไหนได้ยังไม่ทันได้ส่องเลย ใจไปแวบว่า "ตัวขนาดนั้น ถ้ามีพิษเราโดนกัดก็ตายนะ" คราวนี้คิดไปใหญ่เลย "ตัวอาจจะใหญ่กว่าขนาดที่เราคิดไว้" คิดไปเรื่อย ประมาณชั่วโมงเดียวงูตัวนั้นใหญ่เท่าเสาเลย..! ก็คือปรุงแต่งเพิ่มขนาดไปเรื่อย ในสถานการณ์จริงสิ่งที่เราซ้อมมายังใช้ไม่ได้ ยังเป็นแค่เราจำได้ ยังไม่ใช่ทำได้ เพราะฉะนั้น..ทำอย่างไร เราก็สมมติสถานการณ์และก็ไปซ้อมบ่อย ๆ ครูบาอาจารย์ท่านถึงได้บอกว่าต้องออกธุดงค์ ต้องเข้าป่า ต้องนอนป่าช้า ซ้อมให้จิตเคยชินเอาไว้ พอมาเจอสภาพแบบนั้นจริง ๆ จะได้ไม่กลัว ผมเองก็อยากรู้ที่โบราณเขาบอกว่า เข้าป่าธุดงค์อย่าไปปักกลดขวางทางสัตว์ ผมก็ปักเลย อยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คราวนี้ขวางทางเดินประจำของเขา ก็เป็นเรื่องสิครับ เสือจะลงกินน้ำ ผมขวางอยู่เสือก็ไม่กล้าลง เสือก็กลัวนะ ไม่ใช่ไม่กลัว ก็เดินวน ๆ เดี๋ยวก็คำรามไปเรื่อย เมื่อเห็นผมไม่ไปแน่ ก็ตะกุยต้นไม้แคว่ก ๆ รุ่งเช้าไปดู โอ้โห..ต้นไม้แหกอย่างกับซอยมะละกอจะทำส้มตำ..! ต้องหัดให้ได้อย่างนี้ก็คือ ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ไหนก็ให้สติอยู่ตรงหน้า รู้อยู่ว่าความตายเป็นของธรรมดา ร่างกายที่เรารักนักรักหนานี้ไม่ใช่ของเราหรอก เหมือนกับรถยนต์คันหนึ่ง เราเหมือนกับคนขับรถ เวลารถพังถ้าเปิดประตูได้ก็ลงไปหารถคันใหม่ ถ้าเห็นเป็นธรรมดาเราจะไม่กลัวตาย แต่ถ้าเราไปเห็นว่าเราไม่ใช่คนขับรถ ตัวเราเป็นรถยนต์ ที่นี้จะกลัวเป็นบ้าเป็นหลังเลย ใครเข้าใกล้นี่ก็กลัว เดี๋ยวใครเขาจะชนจะเฉี่ยวเอา ทีนี้กว่าจะเห็นว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา ก็ต้องมานั่งแยกรูปแยกธาตุ กว่าจะเห็นว่าเป็นธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลมได้ ต้องแยกแล้วสลายออก แยกแล้วรวมเข้า แยกแล้วแยกอีก จนในยอมรับจริง ๆ ว่าไม่ใช่ของเรา ความกลัวตายจะลดลงจนหายไปเอง ก่อนหน้านี้ตอนเด็ก ๆ ผมกลัวผี แล้วห้องน้ำก็ไม่ได้อยู่ข้างในบ้าน ส้วมหลุมอยู่ข้างนอกบ้านไกลมาก ต้องเดินผ่านป่าไปด้วย มืดตื๋อเลย กลัวผีมาก จนต้องอั้นขี้อั้นเยี่ยวอยู่จนสว่าง แต่พอเข้าใจแล้วก็สามารถไปได้ เพราะว่าไม่กลัวแล้ว"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-06-2020 เมื่อ 19:48 |
สมาชิก 109 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#36
|
||||
|
||||
พระอาจารย์บอกว่า "ในการปฏิบัติธรรมต้องรู้จักสังเกตอารมณ์ตัวเอง
การสังเกตแยกแยะก็คือ ตัวธัมมวิจยะในสัมโพชฌงค์ ต้องแยกแยะได้ ว่าเกิดจากอะไร ถ้าสิ่งที่ดีเกิดก็พยายามทำต่อไป จะได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าสิ่งที่ไม่ดีเกิด ต้องดูว่าเกิดจากอะไร แล้วพยายามเลิกทำสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น..เราต้องสังเกต สังเกตไปสังเกตมา จะเป็นตัวมหาสติปัฏฐานสูตร จิตในจิต ธรรมในธรรม จะเข้าใจมากขึ้นไปเรื่อย ๆ "
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-06-2020 เมื่อ 02:47 |
สมาชิก 122 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#37
|
||||
|
||||
ถาม : อารมณ์ปีติ?
ตอบ : ต้องปล่อยให้เต็มที่ ถ้าเกิดขึ้นต้องปล่อยให้เต็มที่ไปทีเดียวเลย อาการจึงจะเลิก แต่ถ้าเราไปรั้งไว้เพราะอายคน เพราะกลัวคน ก็ยังคาอยู่ แต่ถ้าเราสังเกตดู ถึงแม้ว่าจะดิ้นตึงตังโครมคราม น้ำตาไหล หรือลอยไปทั้งตัว อะไรก็ตาม ใจเราก็ยังนิ่งอยู่ข้างใน ในเมื่อใจนิ่ง ร่างกายอยากดิ้นก็ปล่อยให้ดิ้นไป ถ้าเต็มที่แล้วก็จะเลิกไปเอง แต่ถ้าหากเราไปห้ามไว้ กำลังใจถึงตรงนั้นเมื่อไร กำลังใจลงล็อกเมื่อไร จะเป็นอย่างนั้นทุกที จะเป็นไม่เลิกหรอก เพราะว่าเราไม่ยอมปล่อยจนก้าวผ่าน ฉะนั้น..ถ้าหากเป็นต้องปล่อยให้เต็มที่ ไม่ต้องไปปรุงอะไร แค่เราตามดูเฉย ๆ อาตมาดิ้นตึงตังโครมครามมาสองเดือนกว่า ก็ตามดูไปเรื่อย อ๋อ "ใจเรานิ่ง" ถ้าใจนิ่งตัวอยากดิ้น..ก็ดิ้นไปเถอะ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-06-2020 เมื่อ 15:35 |
สมาชิก 123 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#38
|
||||
|
||||
พระอาจารย์บอกว่า "สำคัญที่สุดก็คือ อย่าทิ้งอานาปานสติ เรื่องของการดูลมหายใจเข้าออก ถ้าหากเราไม่ทิ้งตรงนี้ กำลังใจจะทรงตัวจะมีกำลังพอ ถึงเวลารัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นมาจะมีกำลังในการยั้งคิด ในเมื่อยั้งคิดแล้ว แรก ๆ ก็อาจจะอกแตกตาย พอโกรธขึ้นมาก็อยากด่า แต่เราจะมีกำลังพอที่จะห้ามกิเลสได้
หลังจากนั้นพอฝึกซ้อมมากขึ้น ๆ จะเจอวิธีลดความโกรธนั้นลง ลดความโลภลง ลดราคะลง ทำไปท้ายสุดก็จะมีความแตกฉาน แล้วก็จะคว้าขึ้นเอามาใช้ได้เหมาะสมกับสถานการณ์จริง ๆ ที่อยู่ตรงหน้า แต่กว่าจะเป็นอย่างนั้นหกล้มหกลุกทุกราย พูดง่าย ๆ ถ้าเป็นนักรบก็แผลทั้งตัว กิเลสไม่เคยปรานีเราหรอก ถ้าเห็นเราจะหนีก็ตีตายเลย เพราะฉะนั้น..มีทางเดียวคือต้องสู้กันจริง ๆ"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-06-2020 เมื่อ 19:50 |
สมาชิก 130 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#39
|
||||
|
||||
พระอาจารย์บอกว่า "จริง ๆ ถ้าทำไปถึงจุดหนึ่งแล้ว หลับกับตื่นจะเท่ากันหมด ถ้าหากหลับกับตื่นอารมณ์ใจเท่ากัน กิเลสจะกินเราไม่ได้ แต่แรก ๆ จิตจะไม่ละเอียดพอ เมื่อสติขาด ก็จะตัดหลับไปเลย
บาลีเขาว่า พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ก็คือหลับกับตื่นรู้เท่ากัน หลับก็รู้อยู่ว่าหลับ จะตื่นก็บอกตัวเองว่าพร้อมจะตื่นหรือยัง ถ้าพร้อมแล้วต้องทำอะไรบ้าง จะบอกทีละขั้นเลย บอกทีละขั้นเหมือนกับหุ่นยนต์ เรารู้สึกว่าช้ามาก แต่คนอื่นเขาจะเห็นเราดีดตัวลุกขึ้นยืนเลย แต่ความละเอียดและความไวของจิตจะเห็นตอนนั้นช้ามาก ๆ แล้วถ้าเกิดขั้นตอนไหนผิดพลาดก็จะแก้ไขระหว่างนั้นได้ทัน ถ้าจิตมีความเร็วขนาดนี้ถึงจะสู้กิเลสได้ ไม่เช่นนั้นกิเลสเกิดเร็วแล้วเราระวังไม่ทัน อาตมาเองทำมายาก แล้วก็รู้ด้วยว่าถ้าเขาทำแบบอาตมา บางทีเขาอาจจะท้อและเลิกไปเลย เพราะฉะนั้น...ใครมาถามอาตมาไม่ปิดไม่บังเลย อาตมาบอกหมด ให้เขาทำได้จริง ๆ เถอะ ญาติโยมเขามาตรงนี้ เขาถามอะไรอาตมาบอก บางขั้นตอนเป็นปี ๆ ต้องซ้อมแล้วซ้อมอีก ย้ำแล้วย้ำอีก จนกว่าจะเกิดความชำนาญก้าวผ่านไป ถ้าคนถาม..ถามแล้วเอาไปปฏิบัติและมีความเชื่อตามนั้น เดี๋ยวเดียวเขาก็ได้แล้ว ไม่ต้องไปเสียเวลานาน ๆ คนเสียเวลานานมักจะท้อแท้และหมดอารมณ์"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-06-2020 เมื่อ 19:49 |
สมาชิก 125 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#40
|
||||
|
||||
พระอาจารย์ได้กล่าวกับพระว่า "จริง ๆ ทุกท่านได้เปรียบคนอื่น เราเรียนบาลี โอกาสที่จะเข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้าได้ตรงกว่าคนอื่นมันมี เพราะสามารถแปลได้เอง
แต่ว่าการแปลเป็นในส่วนที่เป็นภาษาหนังสือ การปฏิบัติมีส่วนที่เป็นภาษาใจ ส่วนของภาษาใจนี่แหละ ที่เราไม่สามารถจะพูดออกมาได้ เพราะว่าภาษาเขียน ภาษาหนังสือมันหยาบเกินที่จะอธิบายได้ เขาถึงได้ใช้คำว่า ปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน อย่างเช่นไฟมันร้อน เราก็เขียนคำว่าร้อน ทุกคนก็รู้หมดว่าไฟมันร้อน แต่มันรู้ตามหนังสือ จะรู้จริง ๆ ก็ตอนไหม้แล้วร้องโอ๊ย อ๋อ..ที่เขาบอกว่าร้อนอาการมันเป็นอย่างนี้ แต่ก่อนหน้านี้เราพูดว่ารู้ตามหนังสือยังไม่ใช่รู้จริง ๆ เพราะฉะนั้น..สิ่งที่เราศึกษามันเป็นพื้นฐาน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง แปลได้ไม่ผิดพลาด แต่หลังจากนั้นแล้วต้องทำให้เกิด โดยเฉพาะเรียนบาลีอย่าท้อ ถ้าหากว่าทำสมาธิได้ควรจะทำ ถ้าสมาธิไม่ทรงตัว เรียนไปแล้วยาก เราจะท้อหมดกำลังใจ ถ้าสมาธิทรงตัว จิตที่กระเพื่อมตลอดเวลามันจะนิ่ง เหมือนกับน้ำนิ่ง ตอนน้ำกระเพื่อมมันใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ตอนที่น้ำมันนิ่ง มันสะท้อนเห็นทุกอย่าง เวลาที่มันนิ่ง สมาธิมันได้ที่ ฟังอาจารย์แค่ครั้งเดียวก็จำได้หมด"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 22-03-2011 เมื่อ 14:36 |
สมาชิก 118 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|