#1
|
|||
|
|||
อุบัติเหตุคือเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน
อุบัติเหตุคือเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน
๑. “หลวงปู่สิม ท่านเคยสอนให้ซ้อมตายด้วยอุบัติเหตุ คือพุ่งจิตให้เข้าถึงพระนิพพานให้ได้ในขณะจิตเดียวเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยไม่สนใจกาย ไม่สนใจเวทนาของกาย เมื่อตอนซ้อมทำได้ดี แต่พอเจอของจริงกลับทำไม่ได้ เพราะคำว่า...อุบัติเหตุหมายถึงเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันหรือไม่บอกให้รู้ล่วงหน้า ดังนั้น ผู้ใดไม่หมั่นซ้อมให้ชำนาญ ก็ไม่มีทางสอบผ่านได้ จุดนี้ท่านฤๅษีจึงแนะนำให้มุดไว้ก่อนมันจะมา หมายถึงซ้อมอยู่เป็นปกติด้วยความไม่ประมาทในกิเลส เช่น ไฟราคะ-โทสะ-โมหะ ซึ่งรวมทั้งอุบัติเหตุด้วย” ๒. “เห็นหรือยังจิตที่ยังเกาะติดอยู่กับขันธ์ ๕ ในขณะที่ประสบอุบัติเหตุไฟช็อตขึ้นมา มองจุดนี้ให้ดี ๆ เพราะนั่นแหละคือของจริง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง และความตายของชีวิตไม่มีนิมิตเครื่องหมายจริง ๆ เพราะฉะนั้น พวกเจ้าพึงซ้อมจิตให้เกาะพระนิพพานเข้าไว้ และใช้ปัญญาพิจารณาขันธ์ ๕ ว่า มันไม่ใช่เรา ไม่เป็นของเรา ไม่มีในเราให้มาก ๆ จิตจักได้คลายความหน่วงเหนี่ยวในขันธ์ ๕ ลงได้ อย่าไปคิดว่าร่างกายมันจักตายดี ๆ เพราะกฎของกรรมปาณาติบาตอันพวกเจ้าได้สร้างมาแล้วในอดีตชาติ มันจักส่งผลเข้ามาเป็นระยะ ๆ ป่วยไข้ไม่สบายบ้าง ประสบกับอุบัติเหตุบ้าง ชีวิตของร่างกายก็มีโอกาสจักตายเลว ๆ ได้ คือหมายถึงไม่ใช่แก่ตาย แต่เป็นอายุสั้นพลันตายก็ได้ ขออย่าให้มีความประมาทในชีวิตก็แล้วกัน จดจำบทเรียนใกล้ตายหรือเกือบตายในครั้งนี้เอาไว้สอนใจ เตือนสติเอาไว้ให้ดี ๆ” ๓. “เมื่อเห็นธรรมดาแล้ว ก็จงอย่าไปสนใจจริยาของผู้อื่น และเมื่อเห็นธรรมดาของร่างกายอันจักตายได้ตลอดเวลา ก็พึงสนใจอารมณ์ของใจให้มาก ๆ เพราะการรู้อารมณ์ นั่นแหละ...ทำให้พ้นทุกข์ได้ เวลาปัจจุบันสำหรับนักปฏิบัตินั้นสำคัญมาก เพราะอดีต-อนาคตเป็นตัวฟุ้งออกไป ให้จิตอยู่ในปัจจุบันเป็นหลัก จักมีความสุขความสงบมาก การห่วงไปข้างหน้ารังแต่จักทำให้เกิดวิตกกังวล ไม่เกิดผลประโยชน์อันใด การคิดถึงอดีตที่ล่วงมาแล้ว ก็แก้ไขอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติให้ดูขณะจิตในปัจจุบันเข้าไว้ อย่าทิ้งการพิจารณากายคตาฯ มรณาฯ และอสุภกรรมฐาน เพราะสิ่งเหล่านี้พึงซ้อมอยู่ในกายทุกเมื่อเชื่อวัน พยายามพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง” ๔. “อย่าท้อใจไปกับอุปสรรคภายนอกให้ตัดทิ้งไป จงดูอุปสรรคภายในคือดูอารมณ์ของจิต พยายามคุมกำลังใจให้เข็มแข็งเข้าไว้ โดยการตรวจดูบารมี ๑๐ ทุกวัน จุดไหนบกพร่องให้พิจารณาจุดนั้นด้วยปัญญา อย่าคิดว่าทำไม่ได้ ให้อาศัยความใจเย็น ความสงบของจิตหรือการระงับนิวรณ์ ๔ ประการ ชั่วขณะหนึ่ง... เมื่อจิตหยุดจากกิเลสชั่วคราวดีแล้ว ก็ตั้งสติ มีสัมปชัญญะกำหนดรู้ในพฤติกรรมของตนเองว่า กาย-วาจา-ใจของตนเอง อยู่ในศีล-สมาธิ-ปัญญาหรือไม่ มีกำลังใจบกพร่องในบารมี ๑๐ ข้อไหนบ้าง ทุกวันนี้มองกันไม่เห็น เพราะโมหะมันขัง จิตตกเป็นทาสของนิวรณ์ ๕ ประการอยู่เรื่อยมา ให้รู้ตัวกันไว้เสียบ้าง จึงจักเห็นผลของการปฏิบัติ” ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 07-11-2011 เมื่อ 15:04 |
สมาชิก 74 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|