กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม

Notices

กระทู้ธรรม รวมข้อธรรมะจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติ

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 03-07-2009, 13:16
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Wink วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของไทย

อาสาฬหบูชา

ประวัติความเป็นมา
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อนวันเข้าพรรษา ๑ วัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์
อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘
ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง


หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน ๖ แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก
ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น ๔ ประเภท(บัว ๔ เหล่า) คือ


๑. อุคฆติตัญญู ได้แก่ ผู้ที่มีอุปนิสัยสามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สอนสั่ง
เปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานในเมื่อได้รับแสงพระอาทิตย์ในวันนั้น


๒. วิปัญจิตัญญู ได้แก่ ผู้ที่สามารถจะรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านขยายความย่อให้พิสดารออกไป
เปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จักบานในวันรุ่งขี้น


๓. เนยยะ ได้แก่ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้งจึงได้รู้ธรรมวิเศษ
เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ ได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำ แต่จะโผล่แล้วบานขี้นในวันต่อ ๆ ไป


๔. ปทปรมะ ได้แก่ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่อง แล้วก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้
เปรียบเหมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำติดกับเปือกตม รังแต่จะเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า


ทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง ๒ ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์
ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ
ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรมหรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งพระธรรมนั่นเอง มีความโดยย่อว่า

ที่สุด ๒ อย่างที่บรรพชิตไม่ควรประพฤติปฏิบัติคือ การประกอบตนให้อยู่ในความสุขด้วยกาม ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่สุด
อีกทางหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้เกิดความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

การดำเนินตามทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำดวงตาและญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และนิพพาน
ทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรค มีองค์แปด คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ

อริยสัจสี่ คือความจริงอันประเสริฐที่พระองค์ค้นพบ มี ๔ ประการได้แก่

ความทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความได้พบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น ว่าโดยย่อ อุปาทานในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

สาเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาความทะยานอยาก อันทำให้เกิดอีกความกำหนัด เพลิดเพลินในอารมณ์ คือกามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ภวตัณหา ความทะยานในภพ วิภวตัณหา ความทะยานอยากในความไม่มีภพ

ความดับทุกข์ โดยการดับตัณหาด้วยอริยมรรค คือ วิราคะ สละ ดับ ปล่อยไป ไม่พัวพัน

หนทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตมั่นชอบ

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า
นี้เป็นทุกข์ อันควรกำหนดรู้ และพระองค์ ได้กำหนดรู้แล้ว
นี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ ได้ละแล้ว
นี้เป็นความดับทุกข์ อันควรทำให้แจ้ง และพระองค์ ได้ทำให้แจ้งแล้ว
นี้เป็นหนทางดับทุกข์ อันควรเจริญ และพระองค์ ได้เจริญแล้ว


สรุปได้ว่า ปัญญาอันรู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ คือ
ขั้นที่ ๑. รู้ว่า อริยสัจแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร
ขั้นที่ ๒. รู้ว่าควรจะทำอย่างไรในอริยสัจแต่ละประการนั้น
ขั้นที่ ๓. พระองค์ได้กระทำตามนั้นสำเร็จเสร็จแล้ว

พระองค์ทรงเน้นว่า จากการที่พระองค์ทรงค้นพบ คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้
การที่พระองค์ทรงกล้าปฏิญญาว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เพราะพระองค์ได้รู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริง ในอริยสัจ ๔ มี รอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างหมดจดดีแล้ว

เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ได้มีการบันลือต่อ ๆ กันไปให้ทราบทั่วกันว่า
พระธรรมอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้

วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ ๔ ประการคือ

๑. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย

๒. เป็นวันแรกที่ทรงได้ปฐมสาวก บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ
ได้ดวงตาเห็นธรรมจึงทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทาในวันนั้น

๓. เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์


ปีนี้ วันอาสาฬหบูชาคือ วันอังคารที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ สำคัญมากด้วยค่ะ เพราะเป็นวันที่พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ จะทำพิธีพุทธาภิเษกพระขรรค์โสฬส


ซึ่งในรอบ ๑๐๐ ปีจึงจะมีฤกษ์ดีเช่นนี้สักครั้ง และเมื่อครบรอบ ๑๐๐ ปี ฤกษ์ดีมาถึงแล้ว ในช่วงเวลาขณะนั้น
จะมีครูบาอาจารย์ที่สามารถกระทำพิธีนี้ได้หรือไม่ก็ไม่รู้นะคะ

ครั้งนี้โอกาสที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตมาถึงแล้วรอช้าอยู่ทำไม? ไปวัดท่าขนุนกันนะคะ


__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 04-07-2009 เมื่อ 10:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 64 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 03-07-2009, 13:56
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Wink


วันเข้าพรรษา

เข้าพรรษา แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน
โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน
ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน


คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

เว้นแต่มีกิจธุระจำเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในวันเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน ๗ คืนเรียกว่า สัตตาหะ
หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร

แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิงเพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝนรวมกันหลาย ๆ องค์
ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร"แปลว่าที่อยู่สงฆ์
เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่าน ครั้นถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย

บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนักสร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน
และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน
และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในวันเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ
กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ
โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรมและความรู้ให้
และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์

การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น
ถวายแด่พระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด ๓ เดือน
มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส
ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ

พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น
อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง


กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา
๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร
๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
๔. อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา


ในวันเข้าพรรษานี้ตามประวัติ ชาวไทยเราได้ประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันเข้าพรรษา มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์
กิจกรรมที่กระทำก็มีการเตรียมเสนาสนะให้อยู่ในสภาพที่ดี สำหรับพระจะได้จำพรรษาอยู่ตลอด ๓ เดือน
จัดทำเทียนจำนำพรรษา เพื่อใช้จุดบูชาพระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมา พระปริยัติธรรม ตลอดทั้ง ๓ เดือน
ถวายธูป เทียน ชวาลา น้ำมันตามไส้ประทีปแก่พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในพระอาราม

สำหรับเทียนจำนำพรรษาจะมีการแห่เทียน ไปยังพระอารามทั้งทางบกและทางน้ำตามแต่หนทางที่ไปจะอำนวยให้
เพื่อนำเทียนเข้าไปตั้งในพระอุโบสถหรือพระวิหาร แล้วก็จะจุดเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย

สำหรับการปฏิบัติอื่น ๆ ก็จะมีการถวาย ผ้าอาบน้ำฝน การอธิษฐานตนว่าจะประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของศีลห้า ศีลแปด
ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามระยะเวลาที่กำหนดโดยเคร่งครัด ตามกำลังศรัทธาและขีดความสามารถของตน
นับว่าวันเข้าพรรษาเป็นโอกาสอันดีที่พุทธศาสนิกชน จะได้ประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของพระพุทธศาสนาได้เข้มข้นยิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง


ในปีนี้ วันเข้าพรรษาคือวันพุธที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒

__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 04-07-2009 เมื่อ 10:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 03-07-2009, 13:56
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Wink

การเวียนเทียน

พิธีการเวียนรอบปูชนียวัตถุหรือปูชนียสถานเพื่อเป็นการแสดงความเคารพนั้น ไทยได้รับคตินี้มาจากอินเดียพร้อมกับพระพุทธศาสนา
โดยปรากฏหลักฐานการแสดงความเคารพ โดยการเวียนเทียนในพระไตรปิฎก ซึ่งใช้คำว่าเวียนประทักษิณาวัตร คือเวียนขวา ๓ รอบ
เป็นเครื่องหมายถึงการแสดงออกซึ่งการเคารพบูชาต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างสูงสุด
วัดต่าง ๆ มักกำหนดให้เวียนรอบปูชนียสถานสำคัญของวัด เช่นโบสถ์หรือพระเจดีย์

ไทยได้รับคตินิยมนี้มาและปรับประยุกต์ให้เข้ากับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของไทย โดยนำมาใช้เป็นการแสดงความบูชาต่อพระรัตนตรัยมาตั้งแต่โบราณ
มีหลักฐานปรากฏเป็น "ฐานประทักษิณ" สำหรับการกระทำพิธีเวียนเทียน ในโบราณสถานทางศาสนา มาตั้งแต่สมัยทวารวดี
รวมทั้งปรากฏข้อความในพงศาวดารว่า มีการกระทำพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาสืบมาจนถึงปัจจุบัน


การเดินเวียนขวาในรอบแรก ตั้งจิตให้สงบ สำรวมใจ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบทอิติปิโส...

รอบที่สอง ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต...

และในรอบที่สาม ระลึกถึงพระสังฆคุณ... ด้วยการสวดสุปฏิปันโน


สวดอิติปิโส...สวากขาโต...สุปฏิปันโน...วนไปจนกว่าจะเวียนจบ ๓ รอบ เมื่อครบ ๓ รอบแล้ว นำดอกไม้ธูปเทียนไปวางบูชาไว้ตามที่ที่ได้เตรียมไว้
ต่อจากนั้นจึงเข้าไปประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถ วิหาร หรือศาลาการเปรียญ เริ่มทำวัตรเย็น และสวดมนต์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ อย่างพิธีกรรมวันธรรมสวนะธรรมดา
เสร็จแล้วมีเทศน์พิเศษที่เกี่ยวกับวันสำคัญนั้น ๆ ๑ กัณฑ์ เป็นอันเสร็จพิธี


การปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชนในการเวียนเทียน

การเวียนเทียนเป็นการบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา ควรปฏิบัติด้วยความสำรวม
เพื่อสร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้พบเห็น จึงควรปฏิบัติดังนี้


๑. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้เบิกบาน
๒. แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เหมาะสมกับสถานที่
๓. เตรียมเครื่องบูชาให้พร้อม เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน
๔. ควรเดินทางถึงวัดหรือสถานที่ประกอบพิธี ก่อนเวลาเริ่มเดินเวียนเทียน
๕. เมื่อถึงวัดควรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยเพื่อร่วมศาสนพิธีตามลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงออกมาเตรียมตัวด้านหน้าพระอุโบสถ


การปฏิบัติตนขณะเวียนเทียน

๑. เมื่อเริ่มเวียนเทียน ต้องสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย
๒. ควรรักษาระยะการเดินให้ห่างจากคนข้างหน้าพอสมควร เพื่อไม่ให้ธูป เทียนโดนผู้อื่น
๓. ควรเดินอย่างเป็นระเบียบ ไม่เร็วหรือช้าเกินไป
๔. เจริญภาวนาระลึกถึงพระพุทธคุณในรอบแรก พระธรรมคุณในรอบที่สอง และพระสังฆคุณในรอบที่สาม
๕. ไม่ควรหยอกล้อหรือพูดคุยกันในขณะเวียนเทียน เพราะเป็นการไม่เคารพต่อพระรัตนตรัยและสถานที่
๖. เมื่อเวียนครบ ๓ รอบ ให้นำดอกไม้ ธูป เทียนไปวางและปักบูชาในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้


__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 06-07-2009, 09:09
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Smile

พิธีทอดกฐิน


"เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระพรรษา

ชาวพาราเซ็งแซ่แห่กฐิน

ลงเรือเพียบพายยกเหมือนนกบิน

กระแสสินธุ์สาดปรายกระจายฟอง

สนุกสนานขานยาวฉาวสนั่น

บ้างแข่งขันต่อสู้เป็นคู่สอง

แพ้ชนะปะตาพูดจาลอง

ตามทำนองเล่นกฐินสิ้นทุกปี"


{นิราศเดือน โดยหมื่นพรหมสมพัตสร (นายมี)}

พิธีทอดกฐิน

เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็นกาลทาน แปลว่า "ถวายตามกาลสมัย"
มีช่วงเวลาจำกัดเพียงปีละ ๑ เดือน ระหว่าง แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เท่านั้น จึงถือกันว่าการทอดกฐินได้บุญมาก ได้อานิสงส์มาก


คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง
คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ
ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้

คำว่า "กฐิน" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้กว้างขวาง โดยรวมถึงกรรมวิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฐินตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนี้

"กฐิน น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ ไม้แบบสำหรับตัดจีวร
คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน
ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน
ในฤดูกาล เรียกว่า กฐินกาล (กะถินนะกาน) คือ ระยะเวลาตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึง กลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้ เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน (เทดสะกานกะถิน) ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี

ก่อนจะถึงกฐินกาล ผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใด จะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า
การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า "จองกฐิน"
การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน
พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้ครองกฐิน ผู้กรานกฐิน หรือองค์ครองกฐิน
เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน
ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน (บอริวานกะถิน)

เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน
ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน
การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธี อนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน
ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้กรานกฐิน (กรานกะถิน) ด้วย
ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน
ในทางวินัย สิทธิพิเศษ ๕ ประการ ซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน


เหตุที่จะเกิดมีการทอดกฐินกันนั้น
เรื่องมีอยู่ว่า ภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป (คือ พระภัททวัคคีย์ ๓๐ นั่นเอง) ได้เดินทางจากเมืองปาฐา
เพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่พอมาถึงเมืองสาเกตก็เป็นฤดูฝน เลยต้องพักจำพรรษาอยู่ที่นั่น
เมื่อออกพรรษาแล้วก็รีบเดินทางต่อไปยังเมืองสาวัตถี ต้องกรำฝนทนแดดไปตลอดทาง จีวรต่างชุ่มโชกไปด้วยน้ำฝนไปตาม ๆ กัน
พระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากตรากตรำของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุได้รับกฐินเสียก่อน

ทั้งนี้เพราะเหตุว่า แม้จะออกพรรษาแล้วแต่ฝนก็ยังไม่ขาดเสียทีเดียว ถ้าหากจะรั้งรอไปอีกเดือนหนึ่ง พอฤดูฝนหายขาดแล้ว พื้นดินก็จะไม่เป็นเปือกตมอีก การเดินทางย่อมสะดวกสบาย
ฉะนั้น พระองค์จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุจำพรรษาตลอดไตรมาสแล้ว ได้ยับยั้งอยู่เพื่อรับกฐินเสียก่อน
จะได้ไม่ต้องได้รับความลำบากในการเดินทางอีกต่อไป
ต่อมาเมื่อมีปัญหาว่าผ้าที่ทายกนำมาถวายนั้นไม่พอกับจำนวนภิกษุที่จำพรรษาอยู่
พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้มีจีวรเก่ากว่าเพื่อนและฉลาดในพระธรรมวินัยเป็นผู้รับกฐิน และให้ภิกษุนอกนั้นเป็นผู้อนุโมทนา ก็จะได้อานิสงส์ในด้านพระวินัยเท่ากัน.

ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน
การทำจีวรในสมัยโบราณ จะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว

เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ
แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้นมาถวายพระภิกษุสงฆ์
มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์
(ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้เพียงปีละ ๑ ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้
ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้


จองกฐิน
เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าวัดนั้น กราบเรียนท่านว่า ตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน
แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ
หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว
ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาน
ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้วจึงจะจองได้


เตรียมการ
ครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้วจะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น
ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอกติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผู้มาในการกฐิน


จัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี ๓ ไตร คือ องค์ครอง ๑ ไตร คู่สวดองค์ละ ๑ไตร)

วันงาน
พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น ๒ วัน
วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา
รุ่งขึ้นเป็นวันที่วัดทอด ถ้าไปทางบกก็มีแห่ทางขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น
ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวนเรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล


การทอดกฐิน
จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย
เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาละเทศะแห่งท้องถิ่น

อนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น
เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพล


การถวายผ้ากฐิน
การถวายผ้ากฐิน คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม ๓ จบ
แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน ๓ จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้ายสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน
เมื่อจับได้ทั่วถึงกันแล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้วพระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่ภิกษุเถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ
แล้วพระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา
เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้


__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 14-07-2009 เมื่อ 10:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 09-07-2009, 13:45
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Smile

การทอดกฐินในปัจจุบัน
ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่าประเภทของกฐินแยกเป็นประเภทใหญ่ ได้ดังนี้

๑. กฐินหลวง
๒. กฐินราษฎร์


กฐินหลวง

มีประวัติว่าเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย และประชาชนคนไทยที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในผืนแผ่นดินไทย ได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีของบ้านเมืองมาโดยลำดับ

พระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองบ้านเมืองได้ทรงรับเรื่องกฐินนี้ ขึ้นเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่งซึ่งทรงบำเพ็ญเป็นการประจำ เมื่อถึงเทศกาลทอดกฐิน
การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธีดังกล่าวนี้ เป็นเหตุให้เรียกกันว่า
กฐินหลวง

วัดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ หากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางผ้าพระกฐินแล้ว เรียกว่ากฐินหลวงทั้งสิ้นมิใช่กำหนดว่าทอดที่วัดหลวงเท่านั้นจึงจะเรียกว่ากฐินหลวง

แต่สมัยต่อมา เรื่องของกฐินหลวงได้เปลี่ยนไปตามภาวการณ์ของบ้านเมือง เช่น ประชาชนมีศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดิน
ได้รับพระมหากรุณาให้ถวายผ้าพระกฐินได้ตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเหตุให้แบ่งแยกกฐินหลวงออกเป็นประเภท ๆ ดังปรากฎในปัจจุบันดังนี้


๑. กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี
พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ วัดสำคัญ ๆ ซึ่งทางราชการกำหนดขึ้น
มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อย กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังออกหมายกำหนดการเป็นประจำปีจึงไม่มีการจองล่วงหน้า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง แต่มิได้เสด็จไปทั้ง ๑๖ วัดหลวง
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์หรือองคมนตรีหรือผู้ที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวายวัดหลวง ๑๖ วัด คือ


(๑) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กทม.
(๒) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กทม.
(๓) วัดสุทัศน์เทพวราราม กทม.
(๔) วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.

(๕) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม.
(๖) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.
(๗) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กทม.
(๘) วัดเทพศิรินทราวาส กทม.

(๙) วัดราชาธิวาส กทม.
(๑๐) วัดมกุฎกษัตริยาราม กทม.
(๑๑) วัดอรุณราชวราราม กทม.
(๑๒) วัดราชโอรสาราม กทม.

(๑๓) วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
(๑๔) วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา
(๑๕) วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ พระนครศรีอยุธยา
(๑๖) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก

๒. กฐินต้น
กฐินนี้เกิดขึ้นเพราะพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวง และมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางราชการหรืออย่างเป็นพระราชพิธี
แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

* เป็นวัดที่ยังไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินมาก่อน
* ประชาชนมีความเลื่อมใสในวัดนั้นมาก
* ประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไป จะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิดด้วย


๓. กฐินพระราชทาน
เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อไปถวายยังวัดหลวง
นอกจากวัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง ปัจจุบันก็เว้น ๑๖ วัดดังกล่าวมาแล้ว
เหตุที่เกิดกฐินพระราชทานก็เพราะว่าปัจจุบันวัดหลวงมีเป็นจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตลอดจนคณะบุคคลหรือบุคคลที่สมควร
รับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายได้ และผู้ที่ได้รับพระราชทานจะเพิ่มไทยธรรมเป็นส่วนตนโดยเสด็จพระราชกุศลด้วยตามกำลังศรัทธาก็ได้

ปัจจุบัน กระทรวง ทบวง กรม คณะบุคคลหรือบุคคลใดมีความประสงค์จะรับพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวาย ณ วัดหลวงวัดใดก็ติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการตามระเบียบ ซึ่งเท่ากับเป็นการจองกฐินไว้ก่อนนั่นเอง


กฐินราษฎร์
เป็นกฐินที่ราษฎรหรือประชาชนผู้มีศรัทธานำผ้ากฐินของตนไปทอด ณ วัดต่าง ๆ เว้นไว้แต่วัดที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องกฐินหลวง
การทอดกฐินของราษฎรตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันมีชื่อเรียกแตกต่างกันคือ

๑. กฐิน หรือ มหากฐิน
๒. จุลกฐิน
๓. กฐินสามัคคี
๔. กฐินตกค้าง


๑. กฐิน หรือ มหากฐิน
เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งซึ่งตนมีศรัทธาเป็นการเฉพาะกล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน ณ วัดใด
ก็นำผ้ากฐินจัดเป็นองค์กฐิน อาจถวายของอื่น ๆ ไปพร้อมกับองค์กฐินเรียกกันว่า บริวารกฐิน

ตามที่นิยมกันมีปัจจัย ๔ คือ เครื่องอาศัยของพระภิกษุสามเณร มีไตรจีวร บริขารอื่น ๆ ที่จำเป็น เป็นของที่สมควรแก่พระภิกษุสามเณรจะบริโภค
นอกจากนี้ ยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพจะต้องมีผ้าห่มพระประธาน และเทียนสำหรับจุดในเวลาที่พระภิกษุสวดพระปาติโมกข์ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่าเทียนปาติโมกข์จำนวน ๒๔ เล่ม
และมีธงผ้าขาวเขียนรูปจระเข้หรือสัตว์น้ำอื่น เช่น ปลา นางเงือก
สำหรับปักหน้าวัดที่อยู่ตามริมน้ำ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้วและมีธงผ้าขาวเขียนเป็นรูปตะขาบ ปักไว้หน้าวัดสำหรับวัดที่ตั้งอยู่บนดอยไกลแม่น้ำ
เพื่อแสดงให้ทราบว่าวัดนั้น ๆ ได้รับกฐินแล้วและอนุโมทนาร่วมกุศลด้วยได้

อนึ่ง ยังมีประเพณีนิยมอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเวลาของการทอดกฐินถ้าเป็นเวลาเช้าจะมีการ ทำบุญถวายอาหารเพลแก่พระภิกษุสามเณรในวัด


๒. จุลกฐิน
เดิมเรียกว่า กฐินแล่น เป็นกฐินที่ต้องทำด้วยความเร่งรีบ เจ้าภาพผู้ที่จะทอดกฐินเช่นนี้ได้ต้องมีพวกมากมีกำลังมาก

เพราะต้องเริ่มตั้งแต่การทำผ้าที่นำไปทอดตั้งแต่ต้น คือ เริ่มตั้งแต่นำฝ้ายที่แก่ใช้ได้แล้ว แต่ยังอยู่ในฝักมีปริมาณให้พอแก่การที่จะทำเป็นผ้าจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้
แล้วทำพิธีสมมติว่าฝ้ายจำนวนนั้นได้มีการหว่าน แตกงอกออกต้น เติบโต ผลิดอก ออกฝัก แก่ สุก แล้วเก็บมาอิ้วเอาเมล็ดออก

ดีดเป็นผง ทำเป็นเส้นด้าย เปียออกเป็นไจ กรอออกเป็นเข็ด แล้วฆ่าด้วยน้ำข้าว ตากแห้ง ใส่กงปั่นเส้นหลอด ใส่กระสวยเครือ แล้วทอเป็นแผ่นผ้าตามขนาดที่ต้องการ
นำไปทอดเป็นผ้ากฐิน เมื่อพระสงฆ์รับผ้านั้นแล้วมอบแก่พระภิกษุผู้เป็นองค์ครอง ซึ่งพระองค์ครองจะจัดการต่อไปตามพระวินัย

หลังจากนั้นผู้ทอดต้องช่วยทำต่อ คือนำผ้านั้นมาขยำทุบซักแล้วตากให้แห้ง นำมาตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง แล้วเย็บย้อม ตากแห้ง พับ รีดเสร็จเรียบร้อย แล้วนำไปถวายองค์ครองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านทำพินทุอธิษฐาน เสร็จแล้วจะมีการประชุมสงฆ์แจ้งให้ทราบ พระภิกษุทั้งหมดจะอนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี

ในกรณีผู้ทอดจุลกฐินไม่มีกำลังมากพอ จะตัดตอนพิธีการในตอนต้น ๆ ออกเสียก็ได้ โดยเริ่มด้วยการเอาผ้าขาวผืนใหญ่มากะประมาณให้พอที่จะตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง
แล้วนำไปทอด เมื่อพระภิกษุสงฆ์ท่านนำไปดำเนินการตามพระวินัยแล้วก็ช่วยทำต่อจากท่าน คือ ซัก ตัด เย็บ ย้อมให้เสร็จ
แล้วนำกลับไปถวายองค์ครองเพื่อพินทุอธิษฐานต่อไปเหมือนวิธีที่กล่าวมาแล้ว


อนึ่ง ข้อที่ควรกำหนดคือ จุลกฐินจะเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งก็ตาม จะต้องทำให้เสร็จในวันเดียว
เริ่มต้นตั้งแต่เวลาเช้าถึงย่ำรุ่งของวันรุ่งขึ้นคือ ต้องทำให้เสร็จก่อนรุ่งอรุณของวันใหม่ ไม่เช่นนั้นแล้ว กฐินนั้นไม่เป็นกฐินส่วนบริวารของจุลกฐิน
ผ้าห่มพระประธานและเทียนปาติโมกข์ ตลอดจนธงจระเข้ ธงตะขาบ ก็คงเป็นเช่นที่กล่าวมาแล้วในเรื่อง กฐินหรือมหากฐิน


๓. กฐินสามัคคี
เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน มักจะตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ดำเนินการแล้วมี หนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่นด้วย
เมื่อได้ปัจจัยมาเท่าไรก็จัดผ้าอันเป็นองค์กฐิน รวมทั้งบริวาร ปัจจัยที่เหลือก็ถวายวัดเพื่อทางวัดจะนำไปใช้จ่ายในทางที่ควร
กฐินสามัคคีนี้มักนำไปทอดยังวัดที่กำลังมีการก่อสร้างหรือกำลังบูรณปฎิสังขรณ์ เพื่อเป็นการสมทบทุนให้วัด


๔. กฐินตกค้าง
กฐินนี้มีชื่อเรียกอีกว่า กฐินตก กฐินโจร ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึง เหตุผลที่เกิดกฐินนี้ว่า

"แต่ที่ทำกันเช่นนี้ ทำกันอยู่ในท้องถิ่นที่มีวัดมาก ซึ่งอาจมีวัดตกค้างไม่มีใครทอดก็ได้ จึงมักมีผู้ศรัทธาไปสืบเสาะหาวัดอย่างนี้เพื่อทอดกฐิน
ตามปกติในวันใกล้ ๆ จะสิ้นหน้าทอดกฐินหรือในวันสุดท้าย คือวันก่อนแรมหนึ่งค่ำของเดือน ๑๒ ทอดกฐินอย่างนี้เรียกกันว่า กฐินตกค้าง หรือเรียกว่ากฐินตกบางถิ่นก็เรียก กฐินโจร

เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ ๆ ก็ไปทอดไม่บอกกล่าวล่วงหน้าไว้ให้วัดรู้ เพื่อเตรียมตัวกันได้พร้อมและเรียบร้อย
การทอดกฐินตกถือว่าได้บุญอานิสงส์แรงกว่าทอดกฐินตามธรรมดา บางทีเตรียมข้าวของไปทอดกฐินหลาย ๆ วัด แต่ได้วัดทอดน้อยวัด
เครื่องไทยธรรมที่ตระเตรียมเอาไปทอดยังมีเหลืออยู่ หรือทางวัดทอดไม่ได้ก็เอาเครื่องไทยธรรมเหล่านั้นจัดทำเป็นผ้าป่า เรียกกันว่า "ผ้าป่าแถมกฐิน"


การแก้ปัญหาเรื่องกฐินตกค้าง
ในกรณีที่วัดใดวัดหนึ่ง ไม่มีผู้จองกฐิน วิธีแก้ปัญหาคือ ใครก็ได้ที่มีศรัทธาและมีทุนไม่มาก ไปซื้อผ้าสำเร็จรูปผืนใดผืนหนึ่งนำมาถวาย ก็เรียกว่า ทอดกฐินแล้ว
หรือในกรณีที่บางวัดมีประเพณีให้ตัดเย็บ ย้อมให้เสร็จในวันนั้น ก็ซื้อผ้าขาวผืนเดียวมาถวายก็จัดเป็นการทอดกฐินที่สมบูรณ์ตามพระวินัย
เป็นอันแก้ปัญหาเรื่องกฐินตกค้างอย่างง่ายเพียงเท่านี้


ข้อเสนอแนะ
๑. พุทธศาสนิกชนควรทอดกฐินให้ถูกต้องตามความมุ่งหมายของกฐิน ได้แก่ การบำเพ็ญกุศลด้วยการถวายผ้ากฐิน แก่ภิกษุซึ่งอยู่จำพรรษาครบสามเดือนตามพุทธานุญาต

๒. การรวบรวมทุนที่มีผู้บริจาคเพื่อบำรุงวัดหรือสถานศึกษาในวัด ควรให้เป็นไปตามความ ศรัทธาของผู้บริจาค โดยมีเหตุผลอันสมควรเช่น ช่วยปฏิสังขรณ์วัดที่ทรุดโทรมให้มั่นคงถาวรสืบไป

๓. ในการเดินทางไปทอดกฐิน ณ วัดที่อยู่ห่างไกลซึ่งผู้จัดมักจะพ่วงวัตถุประสงค์ของการ ท่องเที่ยวไว้ด้วยนั้น ควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของผู้ที่จะเดินทางไปเป็นหมู่คณะ ทั้งนี้เพื่อความไม่ประมาท

๔. ควรงดเว้นการเลี้ยงสุราเมรัยในระหว่างเดินทางหรือระหว่างที่มีงานทอดกฐิน ทั้งนี้เพื่อให้การบำเพ็ญกุศลเป็นไปด้วยความมีระเบียบเรียบร้อย

๕. ควรงดการใช้จ่ายในสิ่งที่ฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็น โดยยึดถือการจัดให้ประหยัดเป็นหลักสำคัญ

๖. การฉลองหรือสมโภชกฐินก่อนทอดนั้น ควรทำเพียงเพื่อประโยชน์ของการนัดหมายให้พร้อมเพรียงกัน และเพื่อเป็นการส่งเสริมศรัทธาของผู้มาร่วมงานเท่านั้น
ไม่ควรมุ่งความสนุกสนาน อันมิใช่วัตถุประสงค์ของการทอดกฐิน ถ้ามีขบวนแห่เชิญผ้าพระกฐินไป ผู้เข้าขบวนควรแต่งกายให้เรียบร้อย
ถ้ามีขบวนฟ้อนรำควรเลือกการแต่งกายชุดสุภาพเพราะเป็นงานทางพระพุทธศาสนา

๗. การพิมพ์หนังสือแจกในงานกฐินนั้น จะมีหรือไม่ก็ได้ไม่เป็นการบังคับ แต่ถ้ามีควรเลือกพิมพ์หนังสือที่มีสาระประโยชน์

๘. ในการพิมพ์ใบบอกบุญหรือฎีกาเพื่อเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธามาร่วมทำบญนั้น ไม่ควรพิมพ์ชื่อ บุคคลเป็นกรรมการโดยไม่รับอนุญาตจากเจ้าของก่อน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 09-07-2009, 14:15
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Default

วิธีกรานกฐินของพระภิกษุสงฆ์

เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายกรานกฐินแล้ว ก็ได้ตรัสวิธีกรานกฐินด้วยว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา


เจ้าอาวาสเท่านั้นที่เป็นผู้กรานกฐินหรือ ?

ตามความนิยม โดยมากจะเลือกเจ้าอาวาสเป็นผู้กรานกฐิน เพราะเป็นพระมีพรรษามาก และเป็นผู้ปกครองภิกษุสามเณร
ในคัมภีร์ปริวารแสดงองค์ของภิกษุผู้กรานกฐิน๓ มีข้อความว่า

ภิกษุผู้กรานกฐินต้องประกอบด้วยองค์ ๘ จึงควรกรานกฐิน คือ

๑.รู้บุพพกรณ์

๒.รู้การถอนผ้า

๓.รู้การอธิษฐานผ้า

๔.รู้การกราน

๕.รู้มาติกา

๖.รู้ปลิโพธ

๗.รู้การเดาะกฐิน

๘.รู้อานิสงส์


องค์ ๘ ของภิกษุผู้กรานกฐิน

๑.บุพพกรณ์

ภิกษุรู้บุพพกรณ์ คือรู้การทำจีวรให้สำเร็จภายในวันนั้น จะเป็นผืนใดผืนหนึ่งในสามผืนก็ได้ ในคัมภีร์ปริวาร แสดงว่า บุพพกรณ์ สงเคราะห์ด้วยธรรม ๗ อย่างคือ
ซักผ้า ๑ กะผ้า ๑ เนาผ้า ๑ เย็บผ้า ๑ ย้อมผ้า ๑ ทำกัปปะ ๑ พินทุ ๑


๒.การถอนผ้า

ภิกษุรู้การถอนผ้า คือถ้าถอนผ้าสังฆาฏิ กล่าวว่า "อิมํ สงฺฆาฏึ ปจฺจุทฺธรามิ"๓ แปลว่า "เรายกเลิกผ้าสังฆาสังฏิผืนนี้"

ถ้าถอนผ้าอุตราสงค์ (จีวร) กล่าวว่า "อิมํ อุตฺตราสงฺคํ ปจฺจุทฺธรามิ" แปลว่า "เรายกเลิกผ้าอุตราสงค์ผืนนี้"

ถ้าถอนผ้าอันตรวาสก (สบง) กล่าวว่า "อิมํ อนฺตราวาสกํ ปจฺจุทฺธรามิ" แปลว่า "เรายกเลิกผ้าอันตรวาสกผืนนี้"

การกล่าวคำถอนผ้าดังกล่าว เป็นการถอนผ้าที่อยู่ในหัตถบาส คืออยู่ภายในที่ใกล้สองศอกคืบหรือศอก ๑ ในระหว่าง


๓. การอธิษฐานผ้า

ภิกษุรู้การอธิษฐานผ้า คือ เมื่อถอนผ้าสังฆาฎิเก่าแล้ว ก็อธิษฐานผ้าสังฆาฎิผืนใหม่ กล่าวว่า "อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺฐามิ" แปลว่า "เราตั้งผ้าผืนนี้เป็นสังฆาฏิ"

เมื่อถอนผ้าอุตราสงค์ผืนเก่าแล้ว ก็อธิษฐานผ้าอุตราสงค์ผืนใหม่ กล่าวว่า "อิมํ อุตฺตราสงฺคํ อธิฏฺฐามิ" แปลว่า "เราตั้งผ้าผืนนี้เป็นอุตราสงค์"

เมื่อถอนผ้าอันตรวาสกผืนเก่าแล้วก็อธิษฐานผ้าอันตรวาสกผืนใหม่ กล่าวว่า "อิมํ อนฺตรวาสกํ อธิฏฺฐามิ" แปลว่า "เราตั้งผ้าผืนนี้เป็นอันตรวาสก"

การกล่าวอธิษฐานผ้าดังกล่าวเป็นการอธิษฐานผ้าที่อยู่ภายในหัตถบาส ถ้าผ้าอยู่ภายนอกหัตถบาส ก็เปลี่ยนคำว่า "อิมํ" เป็น "เอตํ"


๔. การกราน
ภิกษุรู้การกราน คือ การเปล่งวาจา อธิบายการกรานกฐิน ในคัมภีร์ปริวารแสดงว่า คำว่า พึงรู้จักการกรานกฐินนั้นมีอธิบายว่า

ถ้าผ้ากฐินบังเกิดแก่สงฆ์ สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างไร
ภิกษุผู้กรานพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุผู้อนุโมทนาพึงปฏิบัติอย่างไร


สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินแก่ภิกษุผู้กรานกฐินด้วยญัตติทุติยกรรม

ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงซักขยำให้สะอาด แล้ว กะ ตัด เย็บ ย้อม ทำพินทุ กัปปะ แล้วกรานกฐินในวันนั้นเทียว
ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยสังฆาฏิ พึงถอนผ้าสังฆาฏิผืนเก่าเสีย พึงอธิษฐานผ้าสังฆาฏิผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า
"อิมาย สงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ"
ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิผืนนี้

ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้าอุตราสงค์พึงถอนผ้าอุตราสงค์ผืนเก่าเสีย พึงอธิษฐานผ้าอุตราสงค์ผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า
"อิมินา อุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ"
ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าอุตราสงค์ผืนนี้

ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้าอันตรวาสก พึงถอนผ้าอันตรวาสกผืนเก่าเสีย พึงอธิษฐานผ้าอันตรวาสกผืนใหม่เปล่งวาจาว่า
"อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ"
ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าอันตรวาสกผืนนี้

อันภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า
"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาถ"
ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด

ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า
"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม"
ผู้มีอายุกฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เราทั้งหลายอนุโมทนา

ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น เข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า
"อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทถ"
ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด

ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น พึงห่มผ้าอตุราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า
"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม"
ผู้มีอายุกฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เราทั้งหลายอนุโมทนา

ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า
"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาหิ"
ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านอนุโมทนาเถิด

ภิกษุผู้อนุโมทนานั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า
"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ"
ผู้มีอายุกฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าอนุโมทนา

จากข้อความดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าภิกษุผู้กรานกฐิน เมื่อกล่าวกับสงฆ์หรือภิกษุหลายรูป ผู้อนุโมทนาใช้คำว่า "ภนฺเต" นั้น
คงจะมีภิกษุผู้มีอายุพรรษามากกว่าภิกษุผู้กรานกฐินอย่างน้อยรูปหนึ่ง แต่เมื่อกล่าวกับภิกษุผู้อนุโมทนารูปเดียวนั้นใช้คำว่า "อาวุโส"
และภิกษุรูปเดียวซึ่งอนุโมทนาก็ใช้คำว่า "อาวุโส" เช่นเดียวกัน คงจะมีอายุพรรษาเท่ากันกระมัง
ขอให้ท่านผู้รู้โปรดวินิจฉัยใช้ให้เหมาะสมเถิด ในคัมภีร์บริวาร ๗ ได้อธิบายบุคคลผู้กรานกฐินขึ้นและบุคคลผู้กรานกฐินไม่ขึ้น และผ้านั้นวิบัติอย่างไร ข้อความว่า

ถามว่า
บุคคลพวกไหนกรานกฐินไม่ขึ้น บุคคลพวกไหนกรานกฐินขึ้น


ตอบว่า
บุคคล ๓ พวกกรานกฐินไม่ขึ้น บุคคล ๓ พวกกรานกฐินขึ้น


ถามว่า
บุคคล ๓ พวกไหน กรานกฐินไม่ขึ้น


ตอบว่า
บุคคลอยู่นอกสีมาอนุโมทนา ๑ เมื่ออนุโมทนาไม่เปล่งวาจา ๑ เมื่อเปล่งวาจาไม่ให้ผู้อื่นรู้ ๑ บุคคล ๓ พวกนี้กรานกฐินไม่ขึ้น


ถามว่า
บุคคล ๓ พวกไหนกรานกฐินขึ้น


ตอบว่า
บุคคลอยู่ในสีมาอนุโมทนา ๑ เมื่ออนุโมทนาเปล่งวาจา ๑ เมื่อเปล่งวาจาให้ผู้อื่นรู้ ๑ บุคคล ๓ พวกนี้กรานกฐินขึ้น



วัตถุวิบัติ เป็นต้น
ถามว่า
การกรานกฐินเท่าไหร่ไม่ขึ้น การกรานกฐินเท่าไหร่ขึ้น


ตอบว่า
การกรานกฐิน ๓ อย่างไม่ขึ้น การกรานกฐิน ๓ อย่างขึ้น


ถามว่า
การกรานกฐิน ๓ อย่างเหล่าไหนไม่ขึ้น


ตอบว่า
ผ้าเป็นของวิบัติโดยวัตถุ ๑ วิบัติโดยกาล ๑ วิบัติโดยการกระทำ ๑ การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ไม่ขึ้น


ถามว่า
การกรานกฐิน ๓ อย่างเหล่าไหนขึ้น


ตอบว่า
ผ้าเป็นของถึงพร้อมด้วยวัตถุ ๑ ถึงพร้อมด้วยกาล ๑ ถึงพร้อมด้วยการกระทำ ๑ การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ขึ้น


อรรถกถาอธิบาย ผ้าเป็นของวิบัติโดยวัตถุ ได้แก่เป็นผ้าที่ไม่ควรวิบัติโดยกาลคือ ผ้าที่พวกทายกถวายในวันนี้
สงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้กรานกฐินในวันพรุ่งนี้ วิบัติโดยการกระทำคือ ผ้าที่ตัดแล้วไม่ทำให้เสร็จในวันนั้นเอง


__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-10-2012 เมื่อ 03:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 09-07-2009, 14:57
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Talking

อานิสงส์กฐิน

อานิสงส์กฐินสำหรับพระ
ในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ ๕ คือ

๑. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน
๒. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้
๓. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
๔. เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น



อานิสงส์จากการทำบุญทอดกฐิน

๑. ทำให้เกิดมาในตระกูลที่ดีมีสัมมาทิฐิ
๒. ทำให้ได้ลักษณะที่งดงามสมส่วน
๓. ทำให้มีผิวพรรณงดงาม
๔. ทำให้มีทรัพย์สมบัติมาก ไม่ลำบากในการแสวงหาทรัพย์
๕. เมื่อละโลกแล้วย่อมไปบังเกิดในสวรรค์


หลวงพ่อพระราชพรหมยานอธิบายเรื่องอานิสงส์ของกฐิน

ผู้ถาม : "หลวงพ่อคะ การทอดผ้าป่า กับ การทอดกฐินอย่างไหนได้อานิสงส์มากน้อยกว่ากันคะ..?"

หลวงพ่อ : "ความจริง ผ้าป่า กับ กฐินเป็นสังฆทานด้วยกันทั้งคู่นะ
แต่ถ้าว่าอานิสงส์โดยเฉพาะกฐินได้มากกว่า เพราะว่ากฐินมีเวลาจำกัด จะทอดตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒
แต่อานิสงส์ได้ทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ทอดก็ได้ พระผู้รับก็ได้ พระผู้รับมีอำนาจคุ้มครองพระวินัยได้หลายสิกขาบท ทำให้สบายขึ้น

ต้นเหตุแห่งการทอดกฐินนี้ ก็มีนางวิสาขาเป็นคนแรก ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุชาวปาฐา ๓๐ รูปเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ในเวลานั้นพระสงฆ์ทั้งหลายมีผ้าจำกัดเพียง ๓ ผืนเท่านั้น เมื่อมาถึงในขณะที่นางวิสาขาเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่พอดี
เห็นพระมีผ้าสบงจีวรเปียกโชกด้วยน้ำฝนและน้ำค้าง จึงได้กราบทูลขอพรแด่พระพุทธเจ้าว่า

"หลังจากออกพรรษาแล้ว ขอบรรดาประชาชนทั้งหลายมีโอกาสถวายผ้าไตรจีวร แก่คณะสงฆ์ด้วยเถิด"

พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุมัติ ส่วนผ้าป่าก็เป็นสังฆทาน แต่อานิสงส์จะน้อยไปนิดหนึ่ง แต่ทั้งสองอย่างก็เป็นสังฆทานเหมือนกัน
แต่เป็นสังฆทานเฉพาะกิจ กับสังฆทานไม่เฉพาะกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าป่า ผู้ให้ก็ได้อานิสงส์ ผู้รับก็มีอานิสงส์แต่เพียงแค่ใช้
เป็นอันว่าทั้งสองอย่างนี้ถือว่าอานิสงส์การทอดกฐินมากกว่าผ้าป่า
แต่ว่าการทอดกฐินปีหนึ่งครั้งเดียว ผ้าป่าทอดได้หลายครั้ง อานิสงส์ผ้าป่าย่อมได้มากกว่านะ"


ผู้ถาม : "แล้วองค์กฐินที่แท้จริงเป็นอย่างไรคะ..?"

หลวงพ่อ : "องค์กฐินจริง ๆ คือ ผ้าไตร นอกนั้นเป็นบริวาร เวลากรานกฐินจริง ๆ เรากรานกันแต่ผ้า
การถวายก็ไม่ยาก เรามีผ้าจีวรผืนหนึ่งหรือว่าสบงผืนหนึ่ง หรือว่าสังฆาฏิผืนหนึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เขาเรียกว่า จุลกฐิน
หรือจะถวายไตรจีวรครบทั้งวัด เขาเรียกว่า มหากฐิน ฉะนั้น จะถวายมากก็ได้ ถวายน้อยก็ได้ อานิสงส์เหมือนกัน
โดยเฉพาะที่วัดท่าซุง จัดเป็นกฐินสามัคคี เป็นเจ้าภาพร่วมกันทุกคน ได้อานิสงส์เท่ากันหมด

สำหรับการทอดกฐินครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านเคยเทศน์คือพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระปทุมุตตระท่านเคยเทศน์วาระหนึ่ง
สมัยที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเป็น มหาทุคคตะ คำว่า มหาทุคคตะ นี้จนมาก เป็นทาสของท่านคหบดี
ได้ไปฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าว่าอานิสงส์กฐินนี้มีมาก ท่านจึงกลับไปชวนนาย แต่นายก็มอบหมายทรัพย์สมบัติให้ท่านเป็นผู้จัดการทุกอย่าง
ท่านมหาทุคคตะอยากมีส่วนร่วมในทานนี้ด้วย แต่ไม่มีอะไร มีแต่เสื้อผ้าเก่า ๆ ของตนที่มีติดตัวอยู่เพียงชุดเดียว
จึงนำไปแลกที่ร้านในตลาด มีด้าย ๑ กลุ่ม เข็ม ๑ เล่ม เอามาร่วมในการทอดกฐินกับเจ้านาย เพื่อปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล

พระองค์ทรงตรัสว่า คนถวายผ้ากฐิน หรือ ร่วมในการถวายกฐินทานครั้งหนึ่ง
จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็นพระอรหันต์ก็ได้

แต่ถ้าหากว่ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด อานิสงส์จะให้ผลแก่ท่านผู้นั้น เมื่อตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดา
แล้วก็จะลงมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ปกครองโลก ๕๐๐ ชาติ เมื่อบุญน้อยลงมาจะเป็นพระมหากษัตริย์ ๕๐๐ ชาติ
เป็นมหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ เป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ เป็นคหบดี ๕๐๐ ชาติ


แต่คนที่ทอดผ้ากฐิน หรือว่าร่วมในการทอดผ้ากฐินครั้งหนึ่งก็ดี
บุญบารมีส่วนนี้ยังไม่ทันหมดก็ปรากฏว่า ท่านเจ้าของบุญไปนิพพานก่อน
"




ที่มา http://www.putthapoom.com/answer/answer2.html
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 17-10-2009 เมื่อ 20:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 16-07-2009, 17:37
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Smile

วันออกพรรษา

นิยาม
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถานวันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์
มีสาเหตุเนื่องมาจาก "วันเข้าพรรษา" ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้งหลายอธิษฐาน
ตั้งใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาส คือ ๓ เดือน ตามพระพุทธบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้งใจอยู่ไว้
เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (เพ็ญเดือน ๑๑) ของทุกปี

วันออกพรรษา เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว

อนึ่ง มีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า
" วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา"
มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลาย ทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน
ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลีว่า


สงฺฆมฺภนฺเต ปวาเรมิ ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺ สามิ ฯ

แปลว่า ข้าพเจ้าขอปวารณาต่อพระสงฆ์ด้วยได้ยินก็ดี ได้ฟังก็ดี สงสัยก็ดี
ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าสำนึกได้จักทำคืนเสีย แล้วจักสำรวมระวังต่อไป (กล่าว ๓ ครั้ง)


การที่พระท่านกล่าวปวารณา (ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน) กันไว้ ในเมื่อต่างองค์ต่างต้องจากกันไปองค์ละทิศละทาง
ท่านเกรงว่าอาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น โดยตัวท่านเองรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมองไม่เห็นเหมือนผงเข้าตาตัวเอง
แม้ผงจะอยู่ชิดติดกับลูกนัยน์ตา เราก็ไม่สามารถมองเห็นผงนั้นได้ จำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่น ให้มาช่วยดูหรือต้องใช้กระจกส่องดู
เพราะฉะนั้น พระท่านจึงใช้วิธีการกล่าวปวารณาตัดไว้ เพื่อท่านรูปอื่นได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟัง เรื่องไม่ดีไม่งามอะไรก็ตาม
ให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้ โดยไม่ต้องเกรงใจกันทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย ด้วยเจตนาดีต่อกัน
คือ พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน
โดยที่พระผู้ใหญ่คือผู้มีอาวุโสท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง

การกล่าวปวารณา เท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดน้อย ๆ นี้
ที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มาก และลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดศูนย์ที่ใหญ่ได้
ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าการแก้ไขในภายหลัง

ตัวอย่างวันออกพรรษาหรือวันมหาปวารณา ที่พระภิกษุทั้งหลายกระทำเช่นนี้
เป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้
เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรือออกพรรษา
พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา

เมื่อออกพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์มีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี) คือ

๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
๓.ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
๔.มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของอานิสงส์นั้นออกไปอีก ๔ เดือน


__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 17-10-2009 เมื่อ 20:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 16-07-2009, 17:43
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Smile

ความมุ่งหมายของการปวารณากรรม

ปวารณากรรม มีความมุ่งหมายชัดเจนปรากฏอยู่ในคำที่สงฆ์ใช้ปวารณาซึ่งกันและกันดังนี้

- เป็นกรรมวิธีลดหย่อนผ่อนคลายข้อขุ่นข้องคลางแคลง ที่เกิดจากความระแวงสงสัยให้หมดไปในที่สุด

- เป็นทางประสานรอยร้าว ที่เกิดจากผลกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกัน ให้มีโอกาสกลับคืนดีด้วยการให้โอกาสได้ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน

- เป็นทางสร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ให้กลมเกลียวอยู่ร่วมกันอย่างสนิทใจ

- เป็นแนวปฏิบัติให้เกิดความเสมอภาคกัน ในการแสดงความคิดว่ากล่าวตักเตือนได้โดยไม่จำกัดด้วย ยศ ชั้น พรรษา วัย

- ก่อให้เกิด "ภราดรภาพ" รู้สึกเป็นมิตรชิดเชื้อปรารถนาดี เอื้อเฟื้ออาทรเป็นพื้นฐาน นำไปสู่พฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีงามคล้าย ๆ กันเรียกว่า สีลสามัญญตา


__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 17-07-2009 เมื่อ 17:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #10  
เก่า 15-10-2009, 13:39
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Talking

หน้ากฐินมาถึงแล้ว มาชวนเชิญไปทอดกฐินที่วัดท่าขนุนค่ะ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #11  
เก่า 26-05-2010, 18:27
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Smile

ภาพสวย ๆ บอกเล่าเรื่องราว เนื่องในวันวิสาขบูชาโลกค่ะ










รูป
ชนิดของไฟล์: jpg ๑.jpg (23.4 KB, 286 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๒.jpg (40.2 KB, 284 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๓.jpg (31.5 KB, 286 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๔.jpg (33.3 KB, 284 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๕.jpg (38.8 KB, 284 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๖.jpg (34.6 KB, 286 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๗.jpg (36.9 KB, 281 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๘.jpg (34.6 KB, 284 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๙.jpg (37.2 KB, 282 views)
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 26-05-2010 เมื่อ 18:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #12  
เก่า 26-05-2010, 18:36
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Default










รูป
ชนิดของไฟล์: jpg ๑๐.jpg (32.0 KB, 281 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๑๑.jpg (33.2 KB, 410 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๑๒.jpg (29.2 KB, 284 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๑๓.jpg (27.7 KB, 424 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๑๔.jpg (29.4 KB, 279 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๑๕.jpg (31.4 KB, 277 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๑๖.jpg (35.7 KB, 278 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๑๗.jpg (36.0 KB, 385 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๑๘.jpg (32.9 KB, 280 views)
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #13  
เก่า 26-05-2010, 18:43
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Default









รูป
ชนิดของไฟล์: jpg ๑๙.jpg (38.7 KB, 274 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๒๐.jpg (31.5 KB, 434 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๒๑.jpg (34.4 KB, 675 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๒๒.jpg (35.9 KB, 438 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๒๓.jpg (31.6 KB, 271 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๒๔.jpg (34.4 KB, 655 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๒๕.jpg (34.7 KB, 562 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๒๖.jpg (27.2 KB, 769 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๒๗.jpg (35.3 KB, 435 views)
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #14  
เก่า 26-05-2010, 18:49
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Default










รูป
ชนิดของไฟล์: jpg ๒๘.jpg (34.1 KB, 271 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๒๙.jpg (33.1 KB, 401 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๓๐.jpg (33.0 KB, 270 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๓๑.jpg (35.1 KB, 272 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๓๒.jpg (35.7 KB, 470 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๓๓.jpg (37.3 KB, 563 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๓๔.jpg (27.8 KB, 267 views)
ชนิดของไฟล์: jpg ๓๕.jpg (34.7 KB, 694 views)
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #15  
เก่า 30-10-2012, 01:39
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,765 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Wink

วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา


วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่ง เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา ๓ เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ปุริมพรรษา) จะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา ๓ เดือน ตามปฏิทินทางจันทรคติของไทย

เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัด เพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษา และตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาส และวันถัดจากวันออกพรรษา ๑ วัน (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลก กลับจากการไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ ๗ ลงมายังเมืองสังกัสสนคร พร้อมกับทรงแสดงปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-10-2012 เมื่อ 03:09
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:04



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว