#101
|
||||
|
||||
พี่ทิดรัตน์ครับ "you are the man"
|
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ต้อมบางพูน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#102
|
||||
|
||||
"ผมดูทรงแล้ว.."งานนี้พี่นรินทร์ไม่คอหักก็คงบาดเจ็บสาหัสแน่ ๆ ครับ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พิชัยสงคราม : 12-02-2010 เมื่อ 17:38 |
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ พิชัยสงคราม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#103
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
เพราะกำลังคิดจะอัพเกรดโปรแกรม จาก 'แฟน ๗.๐'มาเป็น 'ภรรยา ๑.๐' ในปีหน้าครับ แฮ่!
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 13-02-2010 เมื่อ 00:29 |
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#104
|
|||
|
|||
"มงคลชีวิตกับของที่เขาบอกว่าอัปมงคล"
การไปกราบ-ทำบุญ ที่บ้านอนุสาวรีย์ในครั้งนี้ เหมือนไปโดยไม่ได้นัดหมาย ไม่ได้รับกำหนดการใด ๆ อยู่ ๆ เพื่อน ๆ และทางคณะสะพานบุญบอกให้ไปตัดชุด เพื่อไว้ใส่ทำงานสนองพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ในงานบุญต่าง ๆ หลังจากกราบรายงานตัวร่วมถวายสังฆทานแล้ว ก็ถึงเวลาไปหาลู่หาทางทำมาหากินต่อไป เดินหาข้อมูลจนขาลาก ร้อนจนแทบจะแก้ผ้าเดินกลางตลาด ธุรกิจจะร้อยล้านพันล้านหรือวันละแค่สองสามร้อยบาท ถ้ามันเป็นสัมมาอาชีวะ ก็นับเป็นมงคลแก่ชีวิต "อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยทำกิน" ของมือสองที่ต่อชีวิตผมและทำให้ครอบครัวมีความสุข มีงานทำเพิ่มขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น ถึงแม้ในความเชื่อของชาวบ้านที่ว่า ถ้าไปเอาของอะไรก็ตาม ที่คนอื่นเขาทำแล้วเลิกทำแล้วเจ๊ง มาทำมาหากินเราจะเจ๊งไปด้วย สำหรับผมมีคำตอบให้คำเดียวเท่านั้น คือต้องพิจารณาก่อนว่า เจ้าเก่าที่ทำกิจการแล้วเจ๊งเป็นเพราะอะไร แล้วถ้าเราทำมันจะเจ๊งหรือไม่ เริ่มต้นอย่างที่หลวงพ่อสอน คือไม่กู้เงินใครมาทำและหาความรู้ หาข้อมูลก่อนจะทำอะไร ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑.สัมมาทิฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง ๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต ๔.สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต ๕.สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต ๖.สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด ๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน ทุกวันนี้กระผมแทบจะกราบสิ่งของเหล่านี้ ที่ทำให้มีอาชีพเพิ่ม มีรายได้เพิ่ม มีการพัฒนากระบวนการคิดมีการสร้างสรรค์งาน
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย โอรส : 16-02-2010 เมื่อ 12:33 |
สมาชิก 66 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#105
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
ในวิกฤตก็ยังมีโอกาสครับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เด็กเมื่อวานซืน : 13-02-2010 เมื่อ 08:14 |
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เด็กเมื่อวานซืน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#106
|
|||
|
|||
ชอบมากครับ ว่าแต่ตัวจรวดที่เขาเอาไว้เติมก๊าซนี่ ผมไม่แน่ใจว่าหายไปไหนหรือเปล่าครับ เพราะดูในรูปไม่เห็นมี(ผมมองเห็นแต่แท่นที่น่าจะเป็นตัวเติมก๊าซน่ะครับ) ไว้วันหลังเผื่อผมมีโอกาสไปภูเก็ตจะลองแวะไปอุดหนุนครับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 24-02-2010 เมื่อ 08:12 |
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เด็กเมื่อวานซืน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#107
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
ทำไปได้ แต่ดีนะพี่ผมชอบ |
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ปิยะบุตร ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#108
|
|||
|
|||
อวตารว่าแน่แล้ว แต่เจอ The Hero เรื่องนี้แล้วจอดเลย
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 13-02-2010 เมื่อ 23:22 |
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#109
|
||||
|
||||
รอฉายรอบพิเศษ อำนวยการสร้างโดย
ท่านพี่ทิดรัตน์ แห่งแดนภูเก็ต |
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ปิยะบุตร ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#110
|
|||
|
|||
มีแต่จรวดของผมเอาหรือเปล่าละ ? เขากินกันที่รสชาติ ผมเองก็ตักเต็มที่ ไม่เห็นเจ๊งมีแต่ลูกค้าชอบใจ ติดใจ
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม |
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#111
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
ก๊าซดื่มมาก ๆ ไม่ดีต่อสุขภาพและขายแพงมากครับ ๑๐ บาทขาดตัวต่อแก้ว พูดถูกใจฟรี สาว ๆ ฟรี แต่ถ้าเป็นรุ่นป้าเม้าท์ แก้วละ ๑๐๐ บาท ไม่แถมหลอด จะเอาหลอดคิดค่าหลอด ๕๐ บาท
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 14-02-2010 เมื่อ 00:05 |
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#112
|
|||
|
|||
ส่งเครื่องบิน มาช่วยขนไปหน่อยนะครับ
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม |
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#113
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
ลูกผู้ชายตัวจริง |
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เด็กเมื่อวานซืน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#114
|
||||
|
||||
มีแต่เรือดำน้ำ โอเคไหมจ๊ะ วัดท่าขนุนอยู่ริมน้ำ น่าจะสะดวกกว่าเครื่องบินจ้ะ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#115
|
||||
|
||||
อยากกินน้ำจรวด >__<
__________________
เต้ย:ทำ(ยังไง)อย่างไรกับอารมณ์ที่อยู่ตรงกลาง ไม่สุข ไม่ทุกข์ หลวงตา:กำหนดรู้ว่ามันอยู่ตรงกลาง ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม |
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุรจิตร ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#116
|
|||
|
|||
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 14-02-2010 เมื่อ 19:29 |
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#117
|
|||
|
|||
"การจุดประทีปครั้งแรกในชีวิต"
ก่อนอื่นกระผมขอยกเนื้อเรื่องของอานิสงส์ในการจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชาของพระอนุรุทธเถระ ดังมีเนื้อเรื่องตามประวัติดังต่อไปนี้ ในอดีตชาติของพระอนุรุทธเถระนั้น ได้สั่งสมบุญบารมี บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าทั้งหลายตั้งแต่ปางก่อน สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เขาเป็นผู้มั่งคั่งร่ำรวยมีทรัพย์มหาศาล ได้ไปวิหารฟังธรรมของพระพุทธเจ้า พบเห็นพระศาสดาทรงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่ง ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านจักษุทิพย์ (ตาทิพย์) ก็บังเกิดความปรารถนาเป็นเช่นนั้นบ้าง จึงทำมหาทานตลอด ๗ วัน แด่พระศาสดาและหมู่ภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธะ เขาถวายประทีป(โคมไฟ) ตะเกียงน้ำมัน ๑,๐๐๐ ดวง แด่พระศาสดาซึ่งเข้าฌาน(อาการจิตแน่วแน่สงบจากกิเลส)อยู่ที่ควงไม้ ไฟลุกโพลงอยู่ตลอด ๓ วันแล้วดับไปเอง สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว เขาเป็นผู้ร่ำรวย อยู่ในนครพาราณสี ได้สร้างพระเจดีย์ทององค์ใหญ่สักการะแด่พระศาสดา แล้วถือถาดโคมไฟบรรจุด้วยน้ำมัน วางไว้บนศีรษะเดินเวียนรอบพระเจดีย์ บูชาแด่พระศาสดาตลอดทั้งคืน สมัยที่ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้าอุบัติ เขาได้เกิดในตระกูลคนยากจนเข็ญใจ ณ นครพาราณสี มีชื่อว่า อันนภาระ เลี้ยงชีพอยู่ได้ด้วยการรับจ้างทำงานต่าง ๆ มีอยู่วันหนึ่ง เขากับภรรยาได้พบเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่า อุปริฏฐะ บิณฑบาตอยู่ในเมือง ทั้งสองบังเกิดความเคารพเลื่อมใสยิ่งนัก จึงสละอาหารของตนที่เตรียมไว้กิน ใส่บาตรถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าหมดสิ้น ไม่เหลือเก็บไว้เลย เขาและภรรยา ไม่เพียงแต่ไม่หิว กลับรู้สึกอิ่มสุข ด้วยมีปีติแห่งบุญเป็นอาหาร ในชาติสุดท้ายนั้น ได้เกิดเป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ(พระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ) พระประยูรญาติขนานนามให้ว่า อนุรุทธะ เจ้าชายอนุรุทธะเป็นผู้พรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ(รูป-เสียง-กลิ่น-รส-สัมผัส อันน่ารื่นรมย์ใจ) ทั้งหญิงฟ้อนรำและขับร้อง มีดนตรีบรรเลงให้รื่นเริงบันเทิงใจทุกค่ำเช้า อยู่ในปราสาท ๓ หลังที่เหมาะแก่ ๓ ฤดู เสวยสุขดุจดังเป็นเทวดา แม้แต่อาหารที่เสวยก็ไม่เคยขาดพร่อง มีให้เสวยตลอดเวลา เตรียมไว้เสมอในถาดทองคำ ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พระมารดาของเจ้าชายอนุรุทธะทรงดำริขึ้นมาว่า "บุตรของเราอะไร ๆ ก็มีพรั่งพร้อมไปหมด จึงยังไม่รู้จักกับ "การไม่มี" ฉะนั้น..เราจะต้อง สอนเขา ให้รู้จักการไม่มีเสียบ้าง" จึงเอาถาดทองเปล่าใบหนึ่ง มาปิดฝาครอบไว้ แล้วให้คนนำไปให้แก่เจ้าชายอนุรุทธะ เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ชีวิต พบกับความขาดแคลนเอาไว้บ้าง จะได้อดทนและเข้มแข็ง ในกาลภายหน้า
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 07-01-2012 เมื่อ 03:57 |
สมาชิก 58 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#118
|
|||
|
|||
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวช แล้วบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศากยกุมารทั้งหลายพากันบวชตามพระศาสดา เจ้าชายอนุรุทธะไม่ยินดีในการครองเรือน อันมีการงานไม่หมดสิ้น ที่สุดของการงานไม่ปรากฏ จึงให้เจ้าชายมหานามะซึ่งเป็นเชษฐภาดา(พี่ชาย) อยู่ปกครองบ้านเมือง ส่วนตนเองขอออกบวชดีกว่า
ดังนั้นจึงได้บวชพร้อมกันกับพระเจ้าภัททิยะ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัต โดยให้อุบาลีซึ่งเป็นภูษามาลา(ช่างแต่งผม) ได้บวชก่อน เพื่อลดความถือตัวของความเป็นเชื้อสายกษัตริย์ให้เสื่อมคลายลง บวชแล้วก็ในพรรษานั้นนั่นเอง ภิกษุอนุรุทธะก็สามารถบำเพ็ญเพียรจนได้ทิพยจักษุ (ตาทิพย์) แสวงหาแต่ผ้าบังสุกุล(ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว) นำมาซักย้อมเอง แล้วนุ่งห่ม เป็นผู้มีสติ มักน้อย(ปรารถนาน้อย) สันโดษ(ยินดีตามแต่ฐานะของตน) ไม่มีความขัดเคืองใจ ยินดีในวิเวก(สงัดจากกิเลส) ปรารภความเพียรอยู่เป็นนิตย์ ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน ในแคว้นเจตีย์ กระทำสมณธรรม(ธรรมของผู้สงบระงับกิเลส )อยู่ที่นั่น โดยได้ตรึกตรองด้วยใจว่า "ธรรมนี้ ๑. เป็นธรรมของผู้มักน้อย มิใช่ของผู้มักมาก ๒. เป็นธรรมของผู้สันโดษ มิใช่ของผู้ไม่สันโดษ ๓. เป็นธรรมของผู้สงัด มิใช่ของผู้ยินดีคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๔. เป็นธรรมของผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของผู้เกียจคร้าน ๕. เป็นธรรมของผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่เป็นของผู้มีสติหลงลืม ๖. เป็นธรรมของผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของผู้มีจิตไม่มั่นคง ๗. เป็นธรรมของผู้มีปัญญา มิใช่ของผู้มีปัญญาทราม" ภิกษุอนุรุทธะตรึกตรองได้ ๗ ข้อนี้ ก็เกิดปริวิตก(คิดโดยทั่วทุกด้าน)ว่า "ธรรมะนี้เราพิจารณาถึงที่สุดแล้วหรือยัง" ขณะนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้วาระจิตในความปริวิตกของพระอนุรุทธะ จึงเสด็จมาโปรดเสริมให้ว่า "ดูก่อน..อนุรุทธะ เธอจงตรึกตรองในข้อที่ ๘ ว่า ธรรมะนี้เป็นธรรมของผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า" ในเวลาใดที่เธอตรึกตรองถึงมหาปุริสวิตก(ความนึกคิดของมหาบุรุษ) ๘ ประการนี้ ในเวลานั้นเธอจะหวังได้ทีเดียวว่า เธอจะเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนาได้โดย ไม่ยากไม่ลำบากในฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน พระอนุรุทธะยินดียิ่งในพระธรรมนั้น ปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดาด้วยความไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ได้บรรลุวิชชา ๓ ( ๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ = รู้ระลึกชาติได้ ๒. จุตูปปาตญาณ = รู้การเกิดและดับของสัตว์โลกได้ ๓. อาสวักขยญาณ = รู้ความหมดสิ้นไปของกิเลสตนได้) เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 07-01-2012 เมื่อ 03:59 |
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#119
|
|||
|
|||
ในเวลาต่อมา พระพุทธเจ้าองค์สมณโคดมนี้ประทับอยู่ท่ามกลางหมู่สงฆ์ ที่พระเชตวันมหาวิหาร ทรงแต่งตั้งพระอนุรุทธเถระไว้ในตำแหน่ง ผู้มีจักษุทิพย์เป็นเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลาย
แม้จะเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่พระอนุรุทธเถระก็ยังคงปฏิบัติตนเคร่งครัดในเรื่องการนอน ท่านได้ประกาศว่า "เราถือการไม่เอนกายนอนเป็นวัตร(ข้อปฏิบัติ) เป็นเวลาถึง ๕๕ ปีมาแล้ว เรากำจัด ความง่วงเหงา หาวนอนมาแล้ว เป็นเวลา ๒๕ ปี" ครั้นถึงคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีตาทิพย์ ภิกษุทั้งหลายจึงถามท่านว่า "บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วหรือยัง" พระอนุรุทธเถระจึงตอบเป็นลำดับให้รู้ "ลมหายใจออกและหายใจเข้า มิได้มีแก่พระศาสดาแล้ว แต่พระองค์ยังไม่ปรินิพพาน ทรงกำลังทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ คือเสด็จออกจากฌาน ๔ แล้วจึงจะเสด็จปรินิพพาน ด้วยพระหฤทัยอันเบิกบาน จิต(ความคิด)และเจตสิก(อารมณ์อาการของจิต) ทั้งหลาย จะไม่มีอีกต่อไป ชาติสงสาร(การเวียนว่ายตายเกิด)สิ้นไปแล้ว บัดนี้การเกิดในภพใหม่ มิได้มี" แม้ถึงกาละสุดท้ายของพระเถระนี้ ท่านก็ได้นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ(คือ ดับทั้งกิเลสสิ้น แล้วดับทั้งชีวิตร่างกายขันธ์ ๕ ด้วย ไม่มีการกลับมาเกิดร่างใหม่อีก) ภายใต้พุ่มกอไผ่ที่ใกล้บ้านเวฬุวคาม ในแคว้นวัชชี (พระไตรปิฎก เล่ม ๗ ข้อ ๓๓๗ พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ ข้อ ๑๒๐ พระไตรปิฎก เล่ม ๒๖ ข้อ ๓๙๓ พระไตรปิฎก เล่ม ๓๒ ข้อ ๖ อรรถกถาแปลเล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๕ อรรถกถาแปลเล่ม ๗๐ หน้า ๕๔๖) - สารอโศก อันดับที่ ๒๗๒ เดือน มิถุนายน ๒๕๔๗ -
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-02-2010 เมื่อ 03:46 |
สมาชิก 61 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#120
|
|||
|
|||
นับเป็นบุญของกระผมที่ได้ อ่านและระลึกนึกถึง อานิสงส์ของการจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระรัตนตรัย และโชคดีที่ได้เจอสถานที่และครูบาอาจารย์อีกท่าน ที่ท่านเมตตาชี้แนะ
ขออานิสงส์ผลบุญที่ข้าพเจ้าได้จุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ขอให้อานิสงส์แห่งการถวายประทีปเป็นพุทธบูชาดังนี้ ๑. ย่อมเป็นผู้รู้คุณของพระรัตนตรัย ทำให้มีศรัทธามั่นคง ๒. เป็นผู้มีความเคารพ มีสัมมาคารวะ ๓. เป็นผู้มีดวงตาสดใส สวยงาม มองได้ไกล ดวงตาบริสุทธิ์บริบูรณ์ ๔. ทำให้เป็นผู้มีทิพยจักษุ (ตาทิพย์) ๕. มีผิวพรรณผ่องใส มีจิตใจสดชื่นเบิกบาน ๖. มีรัศมีกายสว่างไสว มีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาทในชีวิต ๗. ทำให้มีปัญญาเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณว่องไว แตกฉานในสรรพวิชชาทั้งทางโลก และทางธรรม ๘. ย่อมไม่ไปเกิดในทุคติ ๙. ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นชัดเจนกิเลสตน บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เทอญ.
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 15-02-2010 เมื่อ 07:15 |
สมาชิก 66 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 4 คน ) | |
|
|