กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 01-10-2009, 11:52
ฅนเมืองพริบพรี
Guest
 
ข้อความ: n/a
Default วิธีแก้ปากเสีย

หลวงพ่อ (หลวงพ่อฤๅษีหรือพระราชพรหมยานมหาเถระ) มาสอนวิธีแก้ปากเสีย (วจีกรรม ๔) โดยให้หลักไว้ดังนี้

โรคปากเสีย คือ โรคชอบต่อกรรม เมื่อถูกกระทบทางทวารทั้ง ๖ (ประตูทั้ง ๖ , อายตนะ ๖)
(ประตูทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อายตนะสัมผัส ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่มากระทบผิวกายและธรรมารมณ์) เพราะอุเบกขาหรือวางเฉยไม่เป็น เบรกจึงแตกอยู่เป็นปกติ มีผลให้ทำกรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔ ไม่เต็มสักที (กรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔ มี ไม่พูดโกหก , ไม่พูดคำหยาบ , ไม่พูดส่อเสียดหรือพูดนินทาผู้อื่น และไม่พูดเรื่องไร้สาระไม่เกิดประโยชน์)

วิธีปฏิบัติ

๑) พยายามคิดเสียก่อนจึงค่อยพูด

๒) พยายามคิดอยู่ตลอดเวลาที่ฟังคนอื่นเขาพูด

๓) พยายามดึงจิตอย่าไปไหวตามคำพูดของผู้อื่น (โดยฟังอย่างเดียว ห้ามปรุงแต่งธรรมนั้น ๆ )

๔) พยายามฟังแล้วกรองเอาสาระจากคำพูดนั้น ๆ ของเขา ว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ (ด้วยปัญญา)

๕) เวลาคนอื่นเขาพูด จะยาวหรือสั้น ปล่อยเขาพูดให้จบก่อน เราใช้ความคิดฟังไปแล้วจะรู้ว่า คำพูดนั้น ๆ มีสาระหรือไม่มีสาระ ควรพูดหรือไม่ควรพูดต่อ หรือควรวาง ควรตัด ก็รู้ได้ด้วยความคิด ไม่ใช่ประโยคไหนมากระทบหูแล้ว กูอยากจะพูดก็ว่าไปเรื่อย ๆ โดยไร้ความคิดพิจารณา

๖) หากทำตาม ๕ ข้อแรกแล้ว คิดอยากพูดบ้าง ก็ให้พิจารณาว่า พูดแล้วเป็นคุณหรือโทษ มีสาระหรือไม่มีสาระ ยิ่งเป็นสาระธรรมในพระพุทธศาสนายิ่งสำคัญ จะต้องมั่นใจเสียก่อนว่าเป็นความจริง ไม่ผิดศีล ไม่ผิดพระวินัย ไม่ผิดพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ผิดก็พูดได้

สรุปว่าต้อง นิสสัมมะ กรณัง เสยโย หรือใคร่ครวญด้วยปัญญาเสียก่อนจึงค่อยพูด เพราะแม้ว่าจะเป็นจริงแต่พูดแล้วคนฟังไม่เชื่อไม่ศรัทธา ก็ไร้ประโยชน์ที่จะพูด

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ฅนเมืองพริบพรี : 01-10-2009 เมื่อ 11:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 01-10-2009, 11:54
ฅนเมืองพริบพรี
Guest
 
ข้อความ: n/a
Default

สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตาแนะนำต่อและสั่งสอนต่อ มีความสำคัญโดยย่อดังนี้

๑) "วาจาเป็นเหตุให้เกิดศัตรู และสร้างศัตรู ผู้รู้พึงกล่าววาจาด้วยความตริตรองเสียก่อน เพื่อยังประโยชน์ให้แก่ตนเอง แต่ผู้ไร้สติสัมปชัญญะขาดปัญญาจักกล่าววาจาให้เกิดโทษแก่ตนเองแลผู้อื่นอยู่เนือง ๆ เพราะฉะนั้นให้รู้สำรวมวาจาให้มาก ๆ โดยการพิจารณาเสียก่อนจึงพูด"

๒) "กำลังใจของคนไม่เท่ากัน จงอย่าไปตำหนิใคร เพราะทำไปหรือตำหนิไปก็รังแต่จักเพิ่มกิเลสขึ้นในจิต และสร้างศัตรูให้เกิดขึ้นแก่จิตของผู้อื่น ดังนั้นจึงควรสงบถ้อยคำไว้เป็นดีที่สุด แม้จักกล่าวว่า ด้วยความหวังดีก็ตาม มันก็เป็นเนื่องด้วยกิเลสอยู่ดี"

๓) "สังขารุเปกขาญาณ เป็นธรรมเบื้องสูงของผู้ถึงจุดสุดยอดแห่งมรรคผลนิพพาน ขอให้พวกเจ้าหมั่นซ้อมหมั่นปฏิบัติเข้าไว้ วางอุเบกขาให้ถูกลักษณะของมัชฌิมาปฏิปทา โดยอาศัยศีลเป็นพื้นฐานที่ตั้งของสมาธิและปัญญา ตัวสังขารุเปกขาญาณก็จักเกิดขึ้นได้ไม่ยาก หมั่นอัตตนา โจทยัตตานัง สอบจิต สอบกาย สอบวาจาเข้าไว้ว่า คิดเช่นนี้ ทำเช่นนี้ พูดเช่นนี้ มันผิดหรือถูกในหลักธรรมที่ตถาคตได้สั่งสอนมา พิจารณาให้มาก ๆ ถ้าผิดก็จงอย่าทำเป็นอันขาด ถ้าถูกก็จงรีบทำด้วยความมั่นใจ ขยันพากเพียรเข้าไว้ มรรคผลที่ได้จากการกระทำของตนเองนั้นเป็นของแท้ ดีกว่าฟังคนอื่นพูดหรือเล่าว่า เขาทำเช่นนั้นได้ผลเช่นนี้"

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ฅนเมืองพริบพรี : 01-10-2009 เมื่อ 12:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 01-10-2009, 12:31
ฅนเมืองพริบพรี
Guest
 
ข้อความ: n/a
Default

๔) "มาเถิดเจ้า เข้าสู่หลักปฏิบัติธรรม อันเข้าสู่โลกุตรธรรมเบื้องสูงอย่างแท้จริง ตั้งใจไปเลยทิ้งทวนของชีวิตเสี้ยวที่เหลือนี้ให้แก่พระธรรม ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป จงหมั่นคุมสติกำหนดรู้กริยาของกาย วาจา ใจ ให้แน่วแน่มั่นคง อานาปานุสสติกับคำภาวนา อย่าทิ้งเป็นอันขาด ใครจักพูดอะไร ขอให้มีสติฟังให้ดี ๆ พิจารณาเข้าอิงพระธรรมคำสั่งสอน กลั่นกรองหาสาระให้ได้ แล้วเวลาที่จักพูด ก็จงคิดพิจารณาให้ดีว่ามีสาระหรือไม่ ถ้าไม่มีจงอย่าพูด อย่าทำเช่นนั้นเป็นอันขาด"

(หลวงปู่บุดดา)
"ไอ้คนเรานี้มันก็แปลก ชอบเอาลมปากเผากัน เอาไฟกิเลส โมหะ โทสะ ราคะเผากัน เผาตนเองเผากายเผาใจตนเองยังไม่พอ ชอบเผื่อแผ่ไปเผาชาวบ้านชาวช่องเขาด้วย เผาจิตเผากายของเขามันสนุกหรืออย่างไร วิสัยชาวโลก ชอบนินทา สรรเสริญ ไฟร้อน ไฟเย็น ก็เผาได้เผาดี"

ที่มา : หนังสือ "ระลึกถึงความดีของหลวงพ่อในอดีต" เล่ม ๒ หน้า ๑๗๗ - ๑๘๐
หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง (พระราชพรหมยานมหาเถระ)
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 02-11-2012 เมื่อ 17:03
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:32



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว