กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๔ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔

Notices

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 25-07-2021, 16:18
ตัวเล็ก's Avatar
ตัวเล็ก ตัวเล็ก is offline
กรรมการเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 10,624
ได้ให้อนุโมทนา: 216,927
ได้รับอนุโมทนา 747,629 ครั้ง ใน 36,412 โพสต์
ตัวเล็ก is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔


__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด
(-/\-) (-/\-) (-/\-)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 25-07-2021, 22:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,696
ได้ให้อนุโมทนา: 152,037
ได้รับอนุโมทนา 4,418,123 ครั้ง ใน 34,286 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

อิมัสมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ ติ


ณ บัดนี้ อาตมภาพรับหน้าที่วิสัชชนาในวัสสกถา กล่าวถึงเรื่องของวันเข้าพรรษา เพื่อเสริมสร้างสติปัญญา เพิ่มพูนบารมี เสริม
สร้างกุศลบุญราศีให้แก่ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ที่ได้มาร่วมกันทำบุญ ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้

ญาติโยมทั้งหลาย วันเข้าพรรษานั้นเป็นที่เข้าใจกันว่า พระภิกษุสงฆ์ต้องงดการเดินทาง ต้องอยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดูฝน แต่ตรงนี้อาจจะต้องทำความเข้าใจกันให้ชัดเจนขึ้น เพราะว่าแม้แต่กระทรวงวัฒนธรรมของเราก็ยังกล่าวว่า วันเข้าพรรษาคือวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานพรรษา ซึ่งถ้าว่ากันตามนี้ก็เป็นที่เข้าใจว่าถูกต้อง แต่ความจริงแล้วจักเป็นเช่นนั้นหรือไม่ ?

เนื่องเพราะว่าวัดท่าขนุนนั้น ได้ทำการอธิษฐานพรรษาไปตั้งแต่เมื่อวานแล้ว เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง ผู้เป็นครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า การที่เราจะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ต้องระมัดระวังไว้ว่า อย่าให้ขัดต่อข้อธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านกล่าวเอาไว้ในกฐินขันธกะว่า กฐินนี้สมควรแก่พระภิกษุผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสในสถานที่แห่งนั้น

คำว่า ถ้วนไตรมาส ก็คือ ๓ เดือนเต็ม เป็นที่เข้าใจกันว่า ๙๐ วันของฤดูฝนโดยประมาณ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-07-2021 เมื่อ 03:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 25-07-2021, 22:22
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,696
ได้ให้อนุโมทนา: 152,037
ได้รับอนุโมทนา 4,418,123 ครั้ง ใน 34,286 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้ถ้าท่านทั้งหลายมาเริ่มอธิษฐานพรรษาในวันเข้าพรรษา ซึ่งหลายวัดก็ไปอธิษฐานกันในช่วงทำวัตรเย็น ก็แปลว่าทำให้ไม่ครบถ้วนพรรษา เนื่องจากว่าขาดไปเกือบวันหนึ่งเต็ม ๆ..!

ดังนั้น..เพื่อป้องกันไม่ให้ผิดพลาดตรงจุดนี้ หลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุงจึงบอกกล่าวให้ลูกศิษย์ในสาย ทำการอธิษฐานพรรษาในวันอาสาฬหบูชา ก็คือหลังจากลงโบสถ์ฟังพระปาฏิโมกข์แล้วก็อธิษฐานพรรษา ขณะเดียวกันก็ให้รักษาผ้าครองไปจนกระทั่งได้อรุณของวันตักบาตรเทโว ก็คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไม่ใช่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา เพราะว่าวันนั้นจะเป็นวันสุดท้ายของการเข้าพรรษา ถ้าเราออกก่อนที่จะครบถ้วนก็ถือว่าวันนั้นไม่เต็มอีก

ในเมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลทั่วไปแม้จะเข้าใจว่าการอธิษฐานพรรษาก็คือทำในวันเข้าพรรษา และขณะเดียวกันการปวารณาพรรษาทำกันในวันออกพรรษา การอธิษฐานพรรษานั้น ถ้าหากว่าทำกันในวันเข้าพรรษาก็ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่วันปวารณาพรรษานั้น เราจะทำในวันออกพรรษาได้..ไม่เป็นไร

เรื่องนี้ถ้าไม่ชัดเจน ท่านทั้งหลายก็จะเข้าใจผิด โดยเฉพาะถ้าพระภิกษุเข้าใจผิด ก็อาจจะกระทำในสิ่งที่บกพร่องต่อพระธรรมวินัย กลายเป็นบุคคลที่ไม่พึงจักรับกฐิน แต่เมื่อถึงเวลาเราไปรับกฐิน อานิสงส์ของญาติโยมก็ไม่ได้ กลายเป็นถวายผ้าป่าไป

องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติหรือทรงสอนสิ่งหนึ่งประการใดก็ตาม เรื่องทั้งหลายเหล่านี้จะสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มีการขัดกัน ดังนั้น...บรรดาพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านจะทราบและเข้าใจ จึงได้ทำการในสิ่งที่สอดคล้องกับองค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-07-2021 เมื่อ 02:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 25-07-2021, 22:25
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,696
ได้ให้อนุโมทนา: 152,037
ได้รับอนุโมทนา 4,418,123 ครั้ง ใน 34,286 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ระยะนี้เป็นระยะในการจำพรรษา คำว่า จำพรรษา นั้น แต่ต้นมาแล้วพระพุทธศาสนาไม่มี สาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังคงเที่ยวไปแม้เป็นฤดูฝน ตนเองก็ต้องลำบาก เพราะว่าถึงเวลาผ้าผ่อนท่อนสไบเปียกฝน ก็ต้องหนาวบ้าง ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยบ้าง ผ้าผ่อนก็ชำรุดได้ง่ายบ้าง

แต่นักบวชศาสนาอื่น ๆ นั้น เขามีการจำพรรษากันมาแต่ต้น องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้อนุโลมตาม โดยการบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่งตลอด ๓ เดือนของฤดูฝน

ที่ใดที่หนึ่งที่พระองค์ท่านอนุญาตเอาไว้นั้น ได้มีบอกกล่าวไว้ชัดเจนว่า อยู่โคนไม้ก็ได้ อยู่ในโพรงไม้ก็ได้ อยู่ในถ้ำก็ได้ อยู่ในเรือนว่างก็ได้ อยู่ในอารามก็ได้ ก็แปลว่าสถานที่ไหนที่เหมาะสมต่อการอยู่ตลอด ๓ เดือน สถานที่นั้นก็เป็นที่จำพรรษาได้ แม้แต่กองเกวียนที่ต้องเดินทางไปค้าขายระหว่างเมือง ถ้าเป็นสมัยนี้คือค้าขายระหว่างประเทศ พระองค์ท่านก็ยังอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ที่ติดไปกับกองเกวียน สามารถจำพรรษาในกองเกวียนนั้นได้

คราวนี้การจำพรรษานั้น เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมบรรดาท่านผู้รู้หลายท่านถึงได้กล่าวเอาไว้ว่า การจำพรรษานั้นเกิดจากการที่ญาติโยมไปฟ้องร้องต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระภิกษุสงฆ์ได้ไปลุยผืนนา เหยียบย่ำข้าวกล้า ทำให้
ชาวบ้านเดือดร้อน ถึงได้ไปฟ้องร้อง และองค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาจึงสั่งให้พระภิกษุสงฆ์จำพรรษาในฤดูฝน

ตรงนี้อาตมภาพเองก็ได้คัดค้านไปว่า "พระไม่ใช่ควาย จะได้ลุยลงไปในนา" แม้กระทั่งสมัยอาตมภาพเด็ก ๆ ยังใช้ควายในการไถนาอยู่มาก ก็เห็นว่าควายนั้นฉลาดเรียบร้อยมาก ถึงเวลาก็เดินตามกันมา กินหญ้าเฉพาะที่อยู่บนคันนา แม้กระทั่งต้นข้าวที่ขึ้นเขียวน่ากินขนาดไหน ควายก็ไม่กินเพราะรู้ ดังนั้น..สาวกขององค์สมเด็จพระบรมครูย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะไปลุยนาเหยียบย่ำข้าวกล้าให้ชาวบ้านเขาเดือดร้อน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-07-2021 เมื่อ 02:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 25-07-2021, 22:27
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,696
ได้ให้อนุโมทนา: 152,037
ได้รับอนุโมทนา 4,418,123 ครั้ง ใน 34,286 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แต่ความเป็นจริงแล้วไซร้ ในสมัยนั้นเขามีปฏิสันถารคารวตา เมื่อนักบวชมาถึงเรือนของตน ก็วางงานทั้งปวง จัดอาสนะถวาย จัดน้ำใช้น้ำฉันถวาย จัดหาภัตตาหารมาถวาย ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ทำให้เขาเสียหน้าที่การงานที่ตัวเองทำอยู่ เพราะว่าฤดูฝนจำเป็นต้องเร่งรีบในการตกกล้าหรือว่าปลูกพืชผลการเกษตร ถ้าสาวกขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์หมุนเวียนไปมา ก็ทำให้เจ้าของไร่เจ้าของนาเขาเดือดร้อน เพราะว่าไม่มีเวลาที่จะทำมาหากิน เนื่องจากว่าต้องมาคอยปฏิสันถารต้อนรับ จัดหาสิ่งของมาถวาย

องค์สมเด็จพระจอมไตรพิจารณาเห็นโทษตรงนี้แล้ว จึงได้สั่งให้พระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ดังนั้น..ท่านทั้งหลายพึงทราบว่า ในสิ่งที่กล่าวกันมาตั้งแต่ต้นว่า สาเหตุหนึ่งของการจำพรรษา คือพระภิกษุสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้าน อาตมภาพขอบอกว่า ใช้หัวแม่เท้าคิดก็ยังรู้ว่าไม่ใช่...!

สำหรับการจำพรรษานั้นมีความดีหลายประการด้วยกัน ประการที่หนี่ง..เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์เที่ยวไปตามคามนิคมต่าง ๆ บางทีก็ไม่ได้วนเวียนกลับมายังบ้านนั้นอีกเป็นระยะเวลานาน ๆ หลายเดือนหรือเป็นปี สาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหญิงและชาย จะหาพระภิกษุสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญก็ยาก เมื่อพระจำพรรษาอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ได้รู้ชัดว่าอยู่ตรงนั้น เมื่อจะทำบุญก็ไปนิมนต์ได้โดยง่าย

ประการต่อไปก็คือ การที่อยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งไม่ต้องเที่ยวไป ทำให้มีเวลาปฏิบัติเพื่อตนเองอย่างหนึ่ง เพื่อศึกษาธรรมะที่ครูบาอาจารย์เมตตาสั่งสอนมาอย่างหนี่ง ได้ถวายการรับใช้พระอุปัชฌาย์อาจารย์ที่เราไม่มีโอกาสได้ทำในระหว่างที่จาริกไปนั้นอย่างหนึ่ง

และประการสุดท้ายก็คือ เมื่ออยู่ที่หนึ่งที่ใดไปนาน ๆ ญาติโยมศรัทธาขึ้นมาก็สร้างอารามถวาย สร้างวัดถวาย กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนาที่เจริญมั่นคงขึ้นมาได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 26-07-2021 เมื่อ 21:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 25-07-2021, 22:30
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,696
ได้ให้อนุโมทนา: 152,037
ได้รับอนุโมทนา 4,418,123 ครั้ง ใน 34,286 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น การจำพรรษาจึงมีอานิสงส์มาก แต่..ถึงแม้ว่าจะต้องอยู่ประจำในที่หนึ่งที่ใดก็ตาม ถ้าหากว่าพ่อป่วย แม่ป่วย อุปัชฌาย์อาจารย์ป่วย เพื่อนสหธรรมิกที่อยู่ต่างวัดจะสึก หรือว่าวัดพัง ต้องไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวัด องค์สมเด็จพระภควันต์ก็ยังทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้ไปได้ในระหว่างจำพรรษา แต่ต้องไม่เกิน ๗ วัน เรียกว่า อนุญาตินิวาสสัตตาหกรณียะ คือเมื่อมีเหตุจำเป็นก็ไปได้ แต่ต้องไม่เกิน ๗ วัน

คราวนี้เหตุจำเป็นนั้นก็ระบุชัดเอาไว้แล้วว่าพ่อป่วย แม่ป่วย ไปเพื่อรักษาพยาบาลได้ พระอุปัชฌาย์อาจารย์ป่วย ไปเพื่อรักษาพยาบาลได้ เพื่อนต่างวัดกระสันจะสึก ไปเพื่อช่วยห้ามปรามได้ วัดพัง..ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวัดได้ ทายกมีจิตศรัทธานิมนต์ ไปเพื่อเจริญศรัทธาได้

แต่ในปัจจุบันนี้มีพระสงฆ์จำนวนมากด้วยกัน ถึงเวลาอยากไปไหนก็ขออนุญาตไปโดยสัตตาหกรณียะ เราต้องพินิจพิจารณาให้ดีว่า อยู่ในขอบเขตที่องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตไว้หรือไม่ ? ถ้าหากว่าไม่ได้อยู่ในขอบข่ายนั้น ก็แปลว่าท่านขาดพรรษา..!

คราวนี้ในส่วนของพระภิกษุสงฆ์วัดท่าขนุนนั้น มีจำนวนมากที่ทั้งเรียนบาลี เรียนนักธรรม เรียนปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ถ้าหากว่ามีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับการเรียน ก็ลาไปโดยสัตตาหกรณียะ ตรงจุดนี้นั้นอาตมภาพบอกกล่าวไว้ชัดเจนว่าไปได้ ถามว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้อนุญาต ทำไมถึงไปได้ ? ก็เพราะว่าพระองค์ทรงประทานมหาปเทส ๔ คือข้ออ้างใหญ่ ๔ ประการที่ใช้ในการตัดสินพระธรรมวินัยว่าควรจะทำหรือไม่ควรทำ ซึ่งประกอบไปด้วยว่า
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-07-2021 เมื่อ 02:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 25-07-2021, 22:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,696
ได้ให้อนุโมทนา: 152,037
ได้รับอนุโมทนา 4,418,123 ครั้ง ใน 34,286 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สิ่งใดที่ไม่สมควร พิจารณาแล้วว่าไม่สมควร สิ่งนั้นย่อมไม่สมควร อย่างเช่นว่า พระองค์ท่านไม่ได้ห้ามในการเสพยาบ้า ยาไอซ์ ห้ามไว้เพียงเสพสุราเท่านั้น แต่เราพิจารณาแล้วว่า ยาบ้า ยาไอซ์ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควร ผิดทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลกก็คือทำลายร่างกายของบุคคล ในทางธรรมก็คือทำให้ขาดสติ ในเมื่อเป็นสิ่งที่ไม่สมควร พิจารณาแล้วว่าไม่สมควร สิ่งนั้นย่อมไม่สมควร

แต่ว่าการที่ไปเพื่อศึกษาเล่าเรียนนั้น เราพิจารณามหาปเทสข้อต่อไปว่า สิ่งใดที่ไม่สมควร เมื่อพิจารณาแล้วว่าสมควร สิ่งนั้นย่อมสมควร การไปเรียนของพระภิกษุสามเณรก็เพื่อให้เข้าใจพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถช่วยให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ดีขึ้น

แม้ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตเอาไว้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร แต่เมื่อพิจารณาแล้วว่า เรียนไปก็ช่วยสร้างเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญขึ้น ย่อมเป็นสิ่งที่สมควร ดังนั้น..เมื่อพิจารณาแล้วว่าสมควร ก็อนุญาตให้ไปได้โดยสัตตาหกรณียะ เป็นต้น

ประการต่อไปก็คือ พระภิกษุสามเณรที่เจ็บไข้ได้ป่วย อย่างเช่นช่วงนี้ก็มีโรคเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ อาละวาดอยู่ ถ้าหากว่าเจ็บป่วยแล้วไม่สามารถที่จะรักษาให้หายในวันเดียวอย่างแน่นอน ก็จำเป็นที่จะต้องไปอยู่โรงพยาบาล ในเมื่อจำเป็นต้องไปอยู่โรงพยาบาล เราพิจารณาว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้อนุญาตไว้ แต่ถ้าไม่รักษา..ตายแน่..!

เมื่อเห็นว่าเป็นสิ่งไม่สมควร แต่พิจารณาแล้ว ย่อมสมควรว่าไปรักษาตัวเองได้ แล้วถ้าหากว่าไปโดยสัตตาหกรณียะแล้ว รักษาครบ ๗ วันยังไม่หาย จำเป็นต้องรักษาต่อ ก็ให้นำเอาสงฆ์ในอาวาสนั้น ๆ ๔ รูป ไปเพื่อให้บอกกล่าวลาต่อได้อีก ๗ วัน เป็นต้น ไม่ต้องหอบสังขารที่เจ็บไข้ได้ป่วยหนักกลับมา เพื่อที่จะบอกลาอีกครั้งหนึ่ง แต่ให้สงฆ์ ๔ รูปในวัดนั้น หรือในสถานที่นั้นเป็นตัวแทนไปเพื่อรับฉันทะ บอกลาต่อได้อีก ๗ วัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-07-2021 เมื่อ 02:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 25-07-2021, 22:34
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,696
ได้ให้อนุโมทนา: 152,037
ได้รับอนุโมทนา 4,418,123 ครั้ง ใน 34,286 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ท่านเป็นสัพพัญญู องค์สมเด็จพระบรมครูจึงได้ประทานหลักในการพิจารณาพระวินัยเอาไว้อย่างชัดเจน ในเมื่อญาติโยมสงสัยขึ้นมาว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะผิดหรือไม่ ก็ควรที่จะสอบถาม เพื่อที่ท่านทั้งหลายจะได้ชี้แจงให้ชัดเจน

อย่างเช่น เมื่ออาทิตย์ก่อนมีหลวงพ่อรูปหนึ่งใช้รถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าออกบิณฑบาตที่จังหวัดอ่างทอง แล้วสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอ่างทอง สั่งห้ามไม่ให้หลวงพ่อท่านใช้ อาตมภาพพิจารณาแล้วว่าใช้ได้ เพราะว่าไม่ได้เสียสมณสารูปอะไร ท่านแค่ยืนนิ่ง ๆ อยู่บนรถ แล้วก็กดให้ไฟฟ้าทำงานพารถนั้นไป เมื่อถึงสถานที่ที่โยมรอใส่บาตร ก็หยุดรถ ถอดรองเท้า ลงมารับบาตร อวยชัยให้พรญาติโยมเสร็จ ก็สวมรองเท้ากลับขึ้นไป กดระบบให้รถทำงานไปต่อ

แล้วหลวงพ่อท่านต้องบิณฑบาตตั้ง ๖ กิโลเมตร ซึ่งถ้าหากว่าใช้การเดินเต็ม ๆ ก็ยังเป็นชั่วโมง นี่ต้องเดินไปแล้วก็หยุดรับบาตรไปด้วย กว่าจะไปถึงปลายทางก็ต้องรอกันนานมาก ถ้าญาติโยมที่มีศรัทธาจะใส่บาตรเกิดต้องรอกันเป็นชั่วโมง หากมีงานเร่งด่วนก็รออยู่ตรงหน้า ก็จะทำให้เขาเสียประโยชน์ไปได้

เมื่อพิจารณาแล้วว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้อนุญาตเอาไว้ แต่ญาติโยมทั้งหลายทุกคนที่นักข่าวไปสัมภาษณ์ล้วนแล้วแต่เห็นด้วย ไม่มีใครตำหนิติเตียนเลย ดังนั้น..เรื่องนี้ก็เป็นเรี่องที่ควรจะใช้ได้ แต่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอ่างทองทำเกินหน้าที่ เพราะว่าหน้าที่ของตนก็คือสนับสนุนการทำงานของพระภิกษุสงฆ์ ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ไม่ใช่มีหน้าที่ออกคำสั่งห้ามพระภิกษุสงฆ์

การกระทำของพระภิกษุสงฆ์นั้น เขาตัดสินกันด้วยพระธรรมวินัย เมื่อพระธรรมวินัยเป็นใหญ่แล้ว ไม่สามารถตัดสินให้ชัดเจนได้ ก็ยังมีกฎหมายบ้านเมืองรองรับ มีจารีตประเพณีรองรับ ถ้าตัดสินกันครบ ๓ สถานแล้ว ถึงจะชัดเจนว่าถูกหรือผิด ไม่ใช่นักข่าวเอาภาพมาลง ตัวเองกลัวว่าเจ้านายจะตำหนิ ก็ไปออกคำสั่งห้ามพระ โดยที่ไม่ได้รู้เรื่องของพระธรรมวินัยเลย เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 26-07-2021 เมื่อ 21:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 25-07-2021, 22:36
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,696
ได้ให้อนุโมทนา: 152,037
ได้รับอนุโมทนา 4,418,123 ครั้ง ใน 34,286 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น...บุคคลที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างญาติโยมทั้งหลาย ควรที่จะศึกษาพระธรรมวินัย และข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์เอาไว้ด้วย เราจะได้รู้ชัดเจนว่าสิ่งนี้ทำได้ สิ่งนี้ทำไม่ได้ เมื่อถึงเวลาจะได้ช่วยกันเป็นทนายแก้ต่างให้กับพระพุทธศาสนา ช่วยกันคัดเอาบุคคลที่ไม่สมควรจะอยู่ในพระพุทธศาสนาออกให้พ้นไป และขณะเดียวกันก็สนับสนุนผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบให้ได้มีที่ยืน ให้ได้มีที่กระทำความดี เพื่อเสริมสร้างพระพุทธศาสนาของเราให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

อาตมภาพรับหน้าที่วิสัชชนามาในวัสสกถาเกี่ยวกับการจำพรรษา ก็พอสมควรแก่เวลา ท้ายสุดแห่งพระธรรมเทศนา อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะและสังฆรัตนะเป็นประธาน มีบารมีของหลวงปู่สาย อคฺควํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนนี้เป็นที่สุด ได้โปรดอภิบาลรักษาญาติโยมทุกท่านให้อยู่รอดปลอดภัย ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ

แม้ว่าประสงค์จำนงหมายสิ่งหนึ่งประการใด หากเป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วยธรรมวินัย ขอให้ความประสงค์ของท่านทั้งหลายเหล่านั้นสำเร็จสัมฤทธิ์ผลลง สมดังมโนรสปรารถนาจงทุกประการ

รับประทานวิสัชชนามาในวัสสกถาก็สมควรแก่เวลา จึงขอสมมติยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 26-07-2021 เมื่อ 21:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:49



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว