กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๗ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 10-02-2024, 18:01
พิชวัฒน์'s Avatar
พิชวัฒน์ พิชวัฒน์ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Aug 2014
ข้อความ: 349
ได้ให้อนุโมทนา: 3,307
ได้รับอนุโมทนา 19,016 ครั้ง ใน 827 โพสต์
พิชวัฒน์ is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗


ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ พิชวัฒน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 11-02-2024, 00:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,685
ได้ให้อนุโมทนา: 151,964
ได้รับอนุโมทนา 4,417,381 ครั้ง ใน 34,275 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๐กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ สุขภาพของกระผม/อาตมภาพค่อนข้างที่จะชำรุด เนื่องเพราะว่าพักผ่อนไม่พอ มาลาเรียลงกระเพาะ ทำให้ต้องวิ่งถ่ายทั้งคืน ๕ - ๖ รอบ แล้วในระหว่างที่เดินทางขึ้นไปยังจังหวัดลำพูน ก็ยังต้องแวะห้องน้ำเป็นระยะ ตรงจุดนี้ทำให้นึกถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง ซึ่งท่านก็มาลาเรียลงกระเพาะเช่นกัน แต่จะอาเจียนทุกวันตอน ๔ โมงเย็น

ในตอนแรกนั้นมาลาเรียลงกระเพาะก็ทำให้กระผม/อาตมภาพจะอาเจียนเช่นกัน แต่ด้วยความที่ตอนนั้นยังเป็นคนหนุ่ม ร่างกายแข็งแรงมาก จึงได้กลั้นเอาไว้ ไม่ยอมอาเจียน เพราะทราบดีว่าถ้าอาเจียนมาก ๆ แล้วร่างกายจะหมดกำลัง แล้วทำอะไรไม่ได้เลย

แต่ว่าโรคภัยไข้เจ็บ ในเมื่อเข้ามาแล้ว เขาก็ต้องหาทางไปจนได้ เมื่อขึ้นข้างบนไม่ได้ ก็เปลี่ยนเป็นลงข้างล่าง จึงกลายเป็นว่า กระผม/อาตมภาพนั้น ถ้ามาลาเรียลงกระเพาะ ก็จะถ่ายหนักมาก ซึ่งบางทีก็ไม่มีอะไรให้ถ่ายเลย นอกจากลมเท่านั้น แต่ก็จะปวดท้อง บิดไปบิดมาอยู่เช่นนั้น

ทั้งยังเป็นมาลาเรียเชื้อรวมด้วย ก็คือจะขึ้นสมองก่อน เมื่อความดันขึ้นจนถึงที่สุดแล้ว ก็จะเปลี่ยนไปลงกระเพาะ ซึ่งความจริงไม่ได้เปลี่ยนหรอก หากแต่ว่าเชื้อขึ้นสมอง ทำหน้าที่เต็มที่แล้วก็หลบไป ปล่อยให้เชื้อลงกระเพาะได้ทำหน้าที่แทนบ้าง

เมื่อเดินทางไปจนถึงวัดพระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่ ก็ปรากฏว่าขณะที่ลากสังขารจะเข้าที่พักนั้น ก็มีท่านเต็ง (พระอนัน ปภสฺสโร) พระวัดท่าขนุน ซึ่งออกไปตระเวนโลกกว้าง ขอเข้ามาทำวัตร แต่กระผม/อาตมภาพปฏิเสธไป ซึ่งเรื่องพวกนี้ถ้าหากว่าหลายท่านคิดไม่ถึง ก็มักจะไม่นึกว่าเป็นการรบกวนครูบาอาจารย์อย่างแรง กระผม/อาตมภาพออกเดินทางตั้งแต่ตี ๓ กว่าที่จะไปถึงวัดพระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่ ก็เลยครึ่งวันไปแล้ว แต่ท่านทั้งหลายไม่ได้คิดว่า ครูบาอาจารย์ทั้งแก่ทั้งป่วย จะเอาแต่ธุระของตนเท่านั้น..!

หลายท่านที่มาถึงก็รีบบอกเจตนารมณ์ของตน อย่างเช่นว่าในช่วงที่กระผม/อาตมภาพรับสังฆทานอยู่ที่บ้านวิริยบารมีก็ดี ที่บ้านเติมบุญก็ตาม เป็นระยะเวลาหลายวันที่ต้องกรำกับญาติโยมตั้งแต่เช้ายันค่ำ เมื่อกลับไปถึงวัดก็หมดสภาพแล้ว

แต่ว่าก็มีพระเณรหลายรูปรีบเข้ามา บอกกล่าวธุระของตน อย่างเช่นว่าขอเบิกเงินรายการโน้น รายการนี้ กระผม/อาตมภาพต้องดุไปหลายครั้งว่า ถ้าไม่ถึงขนาดคอขาดบาดตาย รอให้กระผม/อาตมภาพได้พักก่อนจะดีกว่าไหม ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-02-2024 เมื่อ 01:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 11-02-2024, 00:38
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,685
ได้ให้อนุโมทนา: 151,964
ได้รับอนุโมทนา 4,417,381 ครั้ง ใน 34,275 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะว่าไปแล้วก็ขาดความรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง ที่กระผม/อาตมภาพเคยบอกกล่าวหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า เราต้องฝึกฝนตนเองจนมีสติครบถ้วน เมื่อขยับตัวก็รู้ว่าศีลจะขาดหรือไม่ ? ไม่เช่นนั้นแล้วก็ยังถือว่าใช้ไม่ได้..!

อย่างเมื่อวานนี้ในช่วงบ่าย กระผม/อาตมภาพทำการประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมิ และคณะกรรมการชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ เนื่องจากว่าตอนที่กำหนดวันประชุมนั้น ในโทรศัพท์ไม่ได้ระบุว่าเป็นวันโกน-วันพระ ครั้นทำหนังสือเรียกประชุมไปแล้ว มารู้ว่าเป็นวันพระใหญ่ที่ต้องลงปาฏิโมกข์ จะเปลี่ยนก็ไม่ทันแล้ว เนื่องเพราะว่าหลายท่านก็ลงตารางเวลาของตนไป ถ้าหากว่าเราไปเปลี่ยนแปลง ก็จะไปกระทบต่อผู้อื่น จึงต้องมอบฉันทะให้พระภิกษุส่วนที่เหลือไปลงปาฏิโมกข์ ส่วนตนเองและพระภิกษุรูปอื่นก็เข้าร่วมการประชุมต่อไป

แต่ปรากฏว่าเมื่อพระเริ่มแสดงพระปาฏิโมกข์ เสียงที่ผ่านเครื่องกระจายเสียง ก็รบกวนออกมาถึงที่ประชุม เพราะว่าศาลา ๑๐๐ ปี หลวงปู่สาย วัดท่าขนุน กับอุโบสถนั้น ห่างกันไม่ถึง ๕๐ เมตรเท่านั้น กระผม/อาตมภาพจึงได้บอกผ่านเครื่องกระจายเสียงไปว่า ให้ภายในอุโบสถปิดเครื่องเสียง แล้วสวดปากเปล่าไป แต่ว่าภายในอุโบสถก็คงไม่มีใครฟังเสียงข้างนอก ท่านพีม (พระกวีวัธน์ สทฺธาธิโก) ซึ่งเข้าประชุมอยู่ ก็ลุกเพื่อที่จะเดินไปบอกที่อุโบสถ กระผม/อาตมภาพต้องรีบเรียกท่านให้หยุดเอาไว้ บอกว่าให้โทรศัพท์เข้าไป

ถ้าหากว่าท่านเดินไปที่อุโบสถ บอกเขาเสร็จสรรพเรียบร้อยแล้วเดินออกมา ถือว่าเป็นการคัดค้านสังฆกรรม การทำสังฆกรรมครั้งนั้นก็จะไม่มีผล แม้ว่าเราไม่ได้คัดค้าน แต่อาจมีผู้อ้างเลศในการกล่าวว่า เราเดินออกจากสังฆกรรม เป็นการคัดค้าน เรื่องราวก็จะวุ่นว่ายไปใหญ่โต

แม้กระทั่งเลขาฯ จุก (พระมหาอินทรปกรณ์ ฐิตสุโภ ป.ธ.๔) เลขานุการเจ้าคณะตำบลลิ่นถิ่น เขต ๒ ซึ่งนั่งอยู่อีกด้านหนึ่งก็ยังบอกว่า "ผมลืมไปเลยว่า การเดินออกจากสังฆกรรมเท่ากับเป็นการคัดค้าน" ในเมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเป็นเรื่องที่เราท่านทั้งหลายที่จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างสูง

กระผม/อาตมภาพเองเสียใจเป็นอย่างมากว่า ตลอดระยะเวลาของชีวิตฆราวาส ๑๑ ปี และชีวิตของพระภิกษุอีก ๗ พรรษา ซึ่งอยู่ภายใต้ร่มเงาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุงนั้น ตนเองยังกอบโกยความรู้ความสามารถต่าง ๆ มาไม่ได้ส่วนเสี้ยวขององค์ท่านเลย จึงทำให้ทุกวันนี้ยังไม่กล้าประมาท ทำอะไรก็พยายามรักษารอยของครูบาอาจารย์เอาไว้ แต่ก็ยังไม่กล้าประกาศออกมาอย่างชัดเจน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-02-2024 เมื่อ 01:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 11-02-2024, 00:44
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,685
ได้ให้อนุโมทนา: 151,964
ได้รับอนุโมทนา 4,417,381 ครั้ง ใน 34,275 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แม้แต่การสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุงนั้น กระผม/อาตมภาพก็ยังต้องเอาไปไว้ที่หมู่เรือนไทยชั้นบนสุด ของศาลา ๑๐๐ ปี วัดท่าขนุน เนื่องเพราะว่าถ้าเป็นวัดท่าขนุนแล้ว ก็ต้องเป็นหลวงปู่สายเท่านั้น ถ้าหากเราเอารูปครูบาอาจารย์อื่นไปตั้ง ก็อาจจะมีการกระทบกระทั่งจิตใจของบุคคลบางท่าน ถ้าเขาคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี ขึ้นมา ก็จะเป็นเหตุให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นต้องเกิดโทษหนักขึ้นเสียเปล่า ๆ

แต่ว่าลูกศิษย์ของกระผม/อาตมภาพสมัยนี้ ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมั่นใจในตนเองเกินไป ถึงเวลาก็ออกไปตระเวนโลก โดยไม่ได้คิดว่า การไปตามสำนักต่าง ๆ นั้น ตนเองเอาความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงไปอวดเขา หรือว่าเอาความผิดพลาดพระธรรมวินัยหรือกิเลสของตนไปอวดเขากันแน่..?!

แม้กระทั่งทุกวันนี้ กระผม/อาตมภาพก็ยังไม่กล้าบอกใครอย่างเต็มปากเต็มคำ ว่าตนเองเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง นอกจากศึกษาปฏิปทาของท่านและพยายามปฏิบัติตามเท่านั้น โชคดีที่ได้บวชอยู่กับท่านมา ๗ พรรษา แต่ว่าหลายต่อหลายคนก็ไม่ได้คิดถึงตรงนี้ ว่าสิ่งที่เราทำไป ถ้ามีข้อบกพร่องเขาก็ตำหนิมาถึงครูบาอาจารย์ แต่ว่าถ้าเป็นส่วนดีแล้ว ก็ไม่ได้รับการชมเชยสักเท่าไร เนื่องเพราะว่าบรรดาเสือสิงห์กระทิงแรดในวงการมีมาก ท่านทำดี เขาถือว่าเป็นปกติที่ท่านต้องทำ แต่ถ้าท่านพลาดเมื่อไร ก็แปลว่าท่านโดนยำเละอยู่ตรงนั้นเอง..!

อีกส่วนหนึ่งก็คือวันนี้มีผู้ส่งภาพพระธุดงค์ ซึ่งกำลังเดิน ได้ยินว่าจากจังหวัดปทุมธานีจะออกไปภาคอีสาน แล้วมีโยมท่านหนึ่งนิมนต์ขึ้นรถ นำไปส่ง ครั้นถึงจุดที่ตนเองต้องแยกกับท่านแล้ว ถวายปัจจัยให้ท่านก็ไม่รับ แล้วก็มีการสรรเสริญกันใหญ่โต ว่านี่จึงเป็นการธุดงค์อย่างแท้จริง นี่จึงเป็นพระแท้ กระผม/อาตมภาพได้ยินแล้วก็ถอนใจ บรรดา "นักธุดงค์ถนนหลวง" เหล่านี้ ถ้าไม่สร้างความเสียหายให้กับพระพุทธศาสนา อย่างเช่นว่าไปไถเงินชาวบ้าน ก็ไปสร้างความเข้าใจผิดให้กับญาติโยมแบบนี้

ในเรื่องของธุดงควัตรนั้น คือองค์คุณเครื่องขัดเกลากิเลส ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นว่าไม่เป็นการทรมานตนจนเกินไป จึงได้กำหนดขึ้นมา มีทั้งหมด ๓ หมวด ๑๓ ข้อด้วยกัน

หมวดที่ ๑ เรียกว่าจีวรปฏิสังยุตต์ เกี่ยวกับเรื่องของจีวร ได้แก่ ๑. การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือเสาะหาผ้าเก่าที่เขาทิ้งแล้ว นำมาซักมาย้อม แล้วเย็บเป็นจีวรใช้งาน โดยไม่รับคหปติจีวร ก็คือจีวรใหม่ที่มีผู้ถวายทั้งชุด หรือว่าทั้งผืน ดังนั้น..
การที่พระภิกษุบางรูปที่เอาผ้าสารพัดสีมาเย็บเป็นจีวร ห่มแบบนั้นมาหลายปี แล้วได้รับการสรรเสริญถึงความสมถะ ท่านกำลังทำผิดพระวินัย..! เนื่องเพราะว่าจะต้องย้อมให้เป็นสีเดียวกัน ไม่ให้ห่มผ้าลายพร้อย เพื่อให้คนอื่นเขาเห็นแล้วไปเข้าใจว่านุ่งห่มผ้าบังสุกุล
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-02-2024 เมื่อ 01:51
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 11-02-2024, 00:50
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,685
ได้ให้อนุโมทนา: 151,964
ได้รับอนุโมทนา 4,417,381 ครั้ง ใน 34,275 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

๒. ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร อันได้แก่ สบง จีวร และสังฆาฏิเท่านั้น ในปัจจุบันนี้จะมีเพิ่มเติมขึ้นมาก็คืออังสะ เพราะว่าเป็นผ้าซับเหงื่ออยู่ภายในอีกผืนหนึ่ง กระผม/อาตมภาพเองก็เคยถือแบบนั้นมาหลายปี แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังถือแบบนี้อยู่

หมวดที่ ๒ เรียกว่าปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ เกี่ยวข้องกับการบิณฑบาต หาอาหารเลี้ยงชีพ ประกอบไปด้วย ๑. การถือบิณฑบาตเป็นวัตร ก็คือบริโภคอาหารเฉพาะที่ออกบิณฑบาตแล้วได้รับมาเท่านั้น ไม่รับกิจนิมนต์ไปฉันตามบ้าน

๒. ถือบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร ไม่เลือกที่รังมักที่ชัง ไม่เลือกบ้านคนรวยคนจน ไม่ว่าอาหารจะดีหรือไม่ดี ใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป

๓. ถือการฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร ก็คือแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อฉันเสร็จแล้วก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีก นอกจากน้ำดื่ม ซึ่งปัจจุบันนี้บางทีพูดกันให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า "ฉันเอกา"

๔. ถือฉันในบาตรเป็นวัตร ได้แก่ นำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภค มาคลุกเคล้ารวมกันในบาตรแล้วฉัน เพื่อไม่ให้ติดในรสชาติของอาหาร กระผม/อาตมภาพปฏิบัติมาหลายปี ขอยืนยันว่าอาหารที่คลุกรวมกันนั้น กลับอร่อยกว่าปกติเสียอีก..!

๕. ถือการห้ามภัตที่มาภายหลังเป็นวัตร ได้แก่ เมื่อรับอาหารจนมากพอแล้ว ก็จะไม่รับอาหารอะไรเพิ่มอีก ภายหลังมีใครนำอะไรมาถวาย แม้ว่าจะเป็นของอร่อยเพียงไหน ก็จะไม่รับเพิ่มขึ้นมา ดังนั้น..ในส่วนนี้ก็เกี่ยวข้องกับภัตตาหารเลี้ยงชีพเท่านั้น

หมวดที่ ๓ ก็คือเสนาสนปฏิสังยุตต์ เกี่ยวข้องกับที่อยู่ที่อาศัย ก็คือ ๑. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จะไม่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเลย ไปอาศัยตามหลืบเขา ตามเงิบผาบ้าง ตามถ้ำบ้าง หรือว่าใต้ต้นไม้บ้าง

๒. ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร จะอาศัยเฉพาะโคนไม้เท่านั้น ไม่อยู่ภายใต้สิ่งที่มีหลังคาสร้างมุงบังขึ้นมา แต่ว่าถ้าถือข้อนี้ในฤดูฝนก็จะลำบากมาก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-02-2024 เมื่อ 01:59
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 11-02-2024, 00:52
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,685
ได้ให้อนุโมทนา: 151,964
ได้รับอนุโมทนา 4,417,381 ครั้ง ใน 34,275 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

๓. ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ไม่เข้าสู่ที่มุงที่บังใด ๆ แม้แต่โคนไม้ เจตนาก็คือไม่ให้ยึดติดในที่อยู่ที่อาศัย ไปถึงจะพักที่ไหน ก็อยู่เฉพาะที่โล่งกลางแจ้ง ข้อนี้พระเดชพระคุณครูบาเจ้าเกษม เขมโก สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง เคยอยู่ในป่าช้ากลางแจ้งเป็นเดือน ๆ โดนแดดเผาจนผิวหนังลอกเป็นแผ่น ๆ ถ้าไม่ใช่ทรงฌานทรงสมาบัติอย่างสุดยอด จนตัดร่างกายได้แล้ว จะไม่สามารถทำได้เลย

๔. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร งดจากที่พักอันสุขสบาย เข้าไปอาศัยปักกลดในป่าช้าบ้าง อยู่แถวเชิงตะกอนบ้าง เพื่อที่จะได้อาศัยระลึกถึงความตาย เพื่อที่จะได้ไม่ประมาทบ้าง เพื่ออาศัยความข่มการกลัวผีให้ได้บ้าง เป็นต้น

๕. ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้เป็นวัตร ใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักไว้อย่างไร ก็พักไปตามนั้น ไม่ว่าจะถูกใจหรือไม่ถูกใจ ถ้าหากว่าเขาขอให้สละที่พัก ก็พร้อมที่จะสละไปได้ทันที จะได้ไม่ยึดติดในสิ่งทั้งหลายเหล่านี้

๕. ถือการนั่งอย่างเดียวเป็นวัตร งดเว้นอิริยาบถนอน พูดง่าย ๆ ก็คือ ยืน เดิน นั่ง แต่จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมาก ก็ใช้การนั่งหลับเท่านั้น ถ้าหากว่ามีการนั่งพิง บางทีก็ถือว่าบกพร่องในธุดงควัตรข้อนี้เช่นกัน

โดยเฉพาะการธุดงค์นั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ ท่านได้แบ่งเอาไว้คร่าว ๆ ว่า มีการเดินภาวนาอย่างหนึ่ง ซึ่งกระผม/อาตมภาพถนัดแบบนี้ ในแต่ละวันกระผม/อาตมภาพจะเดินประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ถ้าหากว่าเร่ง ๆ ก็จะเดินมากกว่านั้น เพราะว่าเดินไปภาวนาไป ทำให้ไม่รู้สึกเหนื่อย อีกประการหนึ่งก็คือเดินหาสถานที่อันเหมาะสมถูกใจตนเอง แล้วก็ไปพักปฏิบัติภาวนาอยู่ที่นั่น บางท่านก็อยู่กันเป็นพรรษาไปเลยก็มี
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-02-2024 เมื่อ 01:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 11-02-2024, 00:54
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,685
ได้ให้อนุโมทนา: 151,964
ได้รับอนุโมทนา 4,417,381 ครั้ง ใน 34,275 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติมา เพื่อขัดเกลาพวกเราให้มีกิเลสลดน้อยถอยลง หรือพยายามต่อต้านกิเลส ซึ่งถ้าหากว่าอยู่ในสถานที่อันสะดวกสบายแล้ว โอกาสที่เราจะสู้เพื่อชนะกิเลสนั้นก็แทบจะไม่มีเลย

แต่ว่าปัจจุบันนั้น การเดินธุดงค์มักจะเป็นการเดินตามถนนหลวงบ้าง เดินตามเมืองต่อเมืองบ้าง ซึ่งควรที่จะเป็นการเดินเข้าป่าไปเพื่อที่จะชำระกิเลสมากกว่า การเดินแบบนี้ก็ดี หรือว่าการเดินธุดงค์โดยมีคนโปรยดอกไม้ไปก็ตาม ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์มากนัก แต่ว่าก็ยังดีกว่าที่ทำตัวเหมือนพระธุดงค์ มีกลด มีบาตรรุงรัง แต่ว่าไปเที่ยวโบกรถเพื่อขอสตางค์ ถ้าแบบนั้น มีแต่จะสร้างความเสียหายใหญ่ในพระพุทธศาสนา

กระผม/อาตมภาพเห็นข้อผิดพลาดเหล่านี้มามากต่อมากด้วยกัน วันนี้จึงนำมาบอกกล่าวให้ชัดเจนว่า ธุดงควัตร ๑๓ ประการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ได้บัญญัติให้ต้องยึดถือทั้ง ๑๓ ข้อ แต่ว่าให้ท่านยึดถือเพื่อฝึกฝนขัดเกลาตนเองเพียงบางข้อก็ได้ อย่างกระผม/อาตมภาพเองก็ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร ถือการบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านเป็นวัตร การถือผ้าสามผืนเป็นวัตร เป็นต้น สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็เป็นคุณแก่ตน แต่ถ้าหากว่าปฏิบัติผิดพลาด นอกจากเป็นโทษแล้ว ก็อาจจะสร้างความเสียหายให้กับพระพุทธศาสนาได้มาก

สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายแก่พระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันเสาร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-02-2024 เมื่อ 01:59
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:17



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว