|
ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
ประวัติเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ)
ชีวิตเมื่อวัยเด็กจนกระทั่งรับราชการ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี วันเสาร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีระกา ตรงกับวันมาฆะบูชา คือวันเกิดของบุตรชายคนหัวปีของพระนรราชภักดี (ตรอง จินตยานนท์) นายอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี และนางนรราชภักดี (พุก จินตยานนท์) ยังความโสมนัสให้แก่ผู้เป็นบิดามารดาเป็นอย่างยิ่ง ท่านนายอำเภอบางปลาม้าได้ตั้งชื่อบุตรชายคนหัวปีของท่านว่า "ตรึก" เมื่อทารกผู้ได้นามว่า "ตรึก" นี้เจริญวัยขึ้น ในฐานะเด็กน้อยเรือนร่างแบบบางผิวพรรณละเอียดอ่อนเปล่งปลั่งเป็นน้ำเป็นนวล อันเป็นลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็นผู้มีบุญวาสนาสูง เมื่อถึงวัยสมควรเล่าเรียนหนังสือก็ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนในพระนคร วันหนึ่งได้มีงานเลี้ยงเป็นพิธีในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นงานใหญ่ที่จำนวนมหาดเล็กเด็กชามีไม่พอ สำหรับตำแหน่งพนักงานเดินโต๊ะและรับใช้อื่น ๆ นักเรียนรัฐศาสตร์ที่มีหน้าตาและหน่วยก้านดี จึงถูกเกณฑ์ไปช่วยในหน้าที่ดังกล่าว นักเรียนรัฐศาสตร์ที่ถูกเกณฑ์ไปในครั้งนี้ ก็ได้มีนายตรึกรวมอยู่ด้วยผู้หนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้ทอดพระเนตรเห็นรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ และหน่วยก้านของหนุ่มน้อยตรึกเข้า ก็ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงรับสั่งให้เข้าเฝ้า แล้วทรงไต่ถามถึงเหล่ากอพงศ์พันธุ์ เมื่อพระองค์ทราบจะแจ้งดีแล้วก็ดำรัสว่า "เมื่อเรียนจบแล้วมาอยู่กับข้า"
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 30-08-2009 เมื่อ 23:24 |
สมาชิก 68 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
เด็กชา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เด็กชา คือบุคคลที่ทำงานรับใช้เจ้านายในรั้วในวัง มักเรียกขานตำแหน่งแบบควบรวมว่า มหาดเล็กเด็กชา ซึ่งแท้จริงแล้วตำแหน่งมหาดเล็กและเด็กชาเป็นตำแหน่งที่แยกจากกัน แต่ทำงานอยู่ในกองเดียวกัน หน้าที่คล้ายกัน คือรับใช้พระมหากษัตริย์และเจ้านายในพระราชวัง เด็กชาคือข้าราชการชั้นผู้น้อย ที่ทำงานรับใช้อยู่ในสังกัดกรมมหาดเล็กนั่นเอง
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 01-09-2009 เมื่อ 11:24 |
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
ดูเหมือนยังมีคำว่ามหาดเล็กไล่กาอีก ที่เป็นตำแหน่งให้เด็ก ๆ ได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาท
|
สมาชิก 55 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
นาย"ตรึก"ได้ศึกษาชั้นประถม ที่โรงเรียนวัดโสมนัส
ชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ชั้นอุดมศึกษา ที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือนหอวัง (ต่อมาได้ยกฐานะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้รับประกาศนียบัตรในวิชารัฐศาสตร์ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ได้เข้าซ้อมรบเสือป่าที่ค่ายหลวง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรและพอพระราชหฤทัย จึงโปรดเกล้าฯ รับสั่งชวนให้เข้ารับราชการในราชสำนักนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเหตุนี้เองเมื่อหนุ่ม ตรึก เรียนสำเร็จรัฐศาสตร์แล้ว แทนที่จะได้เป็นข้าราชการกระทรวงมหาดไทยตามวิชาที่เรียนสำเร็จ ตามความประสงค์ของบิดาผู้เป็นนักปกครอง แต่กลับไปเป็นข้าราชสำนักสังกัดกระทรวงวัง ในตำแหน่ง ต้นห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าที่ของท่านคืออยู่รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ในที่รโหฐานและเป็นผู้บังคับบัญชามหาดเล็ก ท่านได้ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ถวายชีวิตและความสุขส่วนตัว เพื่อพระองค์ท่านด้วยความจงรักภักดีและความกตัญญูเป็นที่ยิ่ง ด้วยความเอาใจใส่ต่อราชการ จึงทำให้ท่านก้าวหน้าในหน้าที่ราชการอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ก็ทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก และพระราชทานนามสกุลให้ว่า จินตยานนท์ หนุ่ม ตรึก รับราชการอยู่ใต้เบื้องยุคบาทเพียงไม่ทันถึงปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ก็พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น หลวงศักดิ์นายเวร ต่อมาไม่ช้ามินานก็ได้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าหมื่นศรีสรรเพชร พออายุ ๒๕ ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้ากรมห้องพระบรรทมเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น พระยาพานทอง ราชทินนามว่า "นรรัตนราชมานิต" เรียกขานกันว่าพระยานรรัตนราชมานิต เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ซึ่งเป็นพระยาที่หนุ่มที่สุดในสมัยนั้น และต่อมาได้เป็นองคมนตรีในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๖๗
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
เป็นพนักงานคอยช่วยไล่กาขณะที่ทรงบาตร จึงเกิดมหาดเล็กขึ้นอีกประเภทหนึ่ง ครั้งนั้นเรียกกันว่ามหาดเล็กไล่กา ที่มา http://www.monnut.com/board/index.ph...action=search2
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
||||
|
||||
พร้อมกับที่พระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาพานทองให้นี้ ได้พระราชทานที่ดินเพื่อให้ปลูกบ้านอยู่อาศัยแทนเช่าอยู่
ที่ดินที่พระราชทานให้นั้นมีจำนวนถึง ๔ ไร่ อยู่ตรงเชิงสะพานราชเทวี ตรงที่มีซอยชื่อ ซอยนรรัตน ปัจจุบันนี้ ขณะที่รับราชการอยู่ใต้เบื้องยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระยานรรัตนราชมานิตก็มิได้ปล่อยเวลาว่างให้ผ่านไปได้ค้นคว้าศึกษาวิชาต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่นวิชาลัทธิโยคี ทางดูลายมือและรูปร่างลักษณะบุคคล สั่งตำราจากอังกฤษ อเมริกามาค้นคว้า จนมีความชำนิชำนาญทางด้านดูลายมือและรูปลักษณะบุคคล เป็นผู้หนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญและทำนายทายทักได้อย่างแม่นยำมาก แต่เป็นที่น่าเสียดาย ต่อมาภายหลังพระยานรรัตนราชมานิตได้เผาตำหรับตำราโหราศาสตร์จนหมดเกลี้ยง เป็นเพราะได้ทำนายทายทักผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ให้แก่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมรัชกาลที่ ๖ เพียงครั้งเดียวเท่านั้น พระยานรรัตนราชมานิตจึงเลิกทำนายทายทักแต่นั้นเป็นต้นมา นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสจากมองซิเออร์เอ.เค.จนกระทั่งแตกฉาน สามารถแปลตำราภาษาฝรั่งเศสได้อย่างแคล่วคล่อง ส่วนทางด้านภาษาอังกฤษนั้น พระยานรรัตนราชมานิตท่านมีความชำนิชำนาญเป็นพิเศษอยู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ จึงทรงโปรดปรานมาก และทรงชุบเลี้ยงเป็นอย่างดี พระองค์ทรงยื่นพระหัตถ์เอาเป็นธุระ เรียกสถาปนิกฝีมือเยี่ยมจากอิตาลีผู้หนึ่งมาออกแบบ เพื่อทรงสร้างที่อยู่ให้แก่พระยานรรัตนราชมานิต ซึ่งปล่อยที่ดินที่พระราชทานให้รกร้าง หญ้าพงขึ้นเต็มที่ดิน มิเหมือนกับพระยาคนอื่น ๆ พอได้รับพระราชทานที่ดิน ก็เริ่มก่อสร้างที่พักเสียจนหรูเพื่อประดับเกียรติอย่างเช่น ท่านพระยารามราฆพ ก็ได้สร้างคฤหาส์นอันโอ่อ่าด้วยหินอ่อนอิตาเลียน แล้วตั้งชื่อคฤหาส์นหลังนั้นว่า บ้านนรสิงห์ (ปัจจุบันเป็นทำเนียบของรัฐบาล) พระยาอนิรุธเทวาก็ได้สร้างขึ้นอย่างโอฬารเหมือนกัน แล้วตั้งชื่อว่า บ้านบรรทมสินธุ์ (ปัจจุบันเป็นบ้านสำหรับรองรับแขกเมืองของรัฐบาล) พระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) อดีตอธิบดีกรมชาวที่ (ดั้งเดิมจะเรียกว่า จางวางกรมชาวที่) ผู้มีหน้าที่ดูแลพระราชฐานที่ประทับทั้งหมด ได้สร้างขึ้นอย่างโอ่อ่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อบ้านนี้ว่า มนังคศิลา อันหมายถึงที่ประทับ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์) มีแต่พระยานรรัตนราชมานิตผู้เดียวเท่านั้น ที่มิได้ยินดียินร้ายต่อที่ดินที่พระองค์ท่านพระราชทานให้เลย พระองค์ท่านจึงยื่นพระหัตถ์เอาเป็นธุระ แต่พระยานรรัตนราชมานิตกลับปฏิเสธในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ โดยสิ้นเชิง ถึงแม้พระองค์จะทรงกริ้วก็สุดแล้วแต่พระกรุณา พระยานรรัตนราชมานิตได้กราบบังคมทูลขอให้ยับยั้งพระราชประสงค์ หากทรงสร้างคฤหาสน์ขึ้นบนที่ดินที่พระองค์ทรงพระราชทานให้ แม้จะเอาตัวท่านไปประหารชีวิต ท่านก็จะทูลเกล้าฯ ถวายคืนทั้งคฤหาสน์และที่ดินที่พระองค์ทรงพระราชทานให้ ล้นเกล้าฯ จึงต้องตามใจพระยานรรัตนราชมานิต หมายเหตุ อ้างอิง:
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 12-10-2009 เมื่อ 20:07 |
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
||||
|
||||
พระยานรรัตนราชมานิตเป็นผู้ที่เคร่งครัดต่อหน้าที่การงาน ยากที่ใครเสมอเหมือนได้
และเป็นผู้ที่ทำอะไรทำจริง ไม่ถือตัว และไม่แบ่งชั้นวรรณะ แม้แต่เครื่องแต่งกายก็สวมใส่อย่างธรรมดา คือ เสื้อขาว กางเกงขาว มักจะชอบเดินไปไหนมาไหนเสมอ พระยานรรัตนราชมานิตให้ข้อคิดในการเดินว่า นั่นคือการออกเอ็กเซอไซส์ไปในตัว บางครั้งพระยานรรัตนราชมานิตก็จะนั่งรถลาก หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "รถเจ๊ก" สมัยนั้นคนจีนมีอาชีพรับจ้างลากรถเป็นส่วนมาก และถ้าวันไหนเกิดอารมณ์ดี นึกครึ้มอกครึ้มใจขึ้นมา ขณะที่พระยานรรัตนราชมานิตนั่งอยู่บนรถลากมองเห็นคนจีนลากรถเหนื่อยหอบ ท่านเจ้าคุณก็จะลงมาสับเปลี่ยนกับคนจีน ลากรถแทนคนจีนลากรถเสียเองก็ยังมี ทำความแปลกใจให้แก่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่และผู้ที่พบเห็นทุกคน เลยกลายเป็นเสียงซุบซิบเล่าสู่กันฟังจนหนาหู แต่พระยานรรัตนราชมานิตก็มิได้สนใจต่อข่าวลือที่เป็นมงคล และอัปมงคลแต่ประการใดเลย พระยานรรัตนราชมานิตได้รับใช้ใต้เบื้องยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ด้วยความจงรักภักดีเรื่อยมา จนกระทั่งล้นเกล้าฯ เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ก็ขึ้นเถลิงราชสมบัติสืบต่อมา ก็มีพระราชประสงค์อยากจะได้ตัวพระยานรรัตนราชมานิตไว้ในราชการ จึงรับสั่งให้เจ้าคุณไพชยนเทพ (ทองเจือ ทองใหญ่) ไปติดต่อเพื่อขอชุบเลี้ยงเยี่ยงรัชกาลที่ ๖ แต่พระยานรรัตนราชมานิต ผู้ยึดมั่นในคติที่ว่า "ข้าสองเจ้าบ่าวสองนายนั้นไม่ดีแน่" จึงได้กราบบังคมทูลแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ไปว่า "ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงชุบเลี้ยงมา เหมือนกับเอาตะกั่วมาชุบให้เป็นทอง ถึงล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๗ จะทรงชุบเลี้ยงให้ดีปานใด ก็เปรียบเหมือนกับเอาทองคำไปลงยาฝังเพชรเท่านั้น" ถึงแม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ จะทรงให้ใครมาติดต่อกับพระยานรรัตนราชมานิตหลายครั้งหลายหน แต่พระยานรรัตนราชมานิตก็มิได้ตอบตกลงสักครั้งเดียว จนกระทั่งถึงวันถวายพระเพลิงพระมหาธีรราชเจ้ารัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ พระยาท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตจึงได้สละทรัพย์สมบัติ มอบที่ดิน ๔ ไร่และทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดแก่วัดเทพศิรินทราวาส และอุปสมบทเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) เป็นพระอุปัชฌาชย์ ได้รับฉายาทางสมณเพศว่า "ธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ" และได้ครองสมเพศตลอดมาจนถึงมรณภาพ หมายเหตุ ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ สุธรรม ที่จริงข้อความช่วงนั้นไม่ครบครับ ท่านเจ้าคุณนร ฯ ถวายพระพรว่า "ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงชุบเลี้ยงมา เหมือนกับเอาตะกั่วมาชุบให้เป็นทอง ถึงล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๗ จะทรงชุบเลี้ยงให้ดีปานใด ก็เปรียบเหมือนกับเอาทองคำไปลงยาฝังเพชรเท่านั้น"
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 17-09-2009 เมื่อ 12:15 |
สมาชิก 55 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
||||
|
||||
พระยานรรัตนราชมานิตได้บอกว่าตำแหน่งของท่านนี้ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตก็จะบวชถวายพระราชกุศล
มีตัวอย่างมาเสมอ แต่ไม่มีใครบวชถวายตลอดชีวิตตั้งแต่หนุ่มเหมือนท่าน เหตุใดท่านจึงได้มาบวชที่วัดเทพศิรินทราวาสก่อน ในเมื่อบ้านท่านก็อยู่ใกล้วัดโสมนัส และท่านเองก็เรียนที่วัดโสมนัส ท่านมีอะไรเกี่ยวข้องกับวัดเทพศิรินทราวาสมาก่อนหรือ ตอนนี้แหละที่วิชาดูลายมือ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของท่าน เมื่อท่านตัดสินใจแน่วแน่ที่จะบวชแล้ว ท่านพิจารณาเห็นว่า การบวชนี้ก็เท่ากับว่าได้เกิดในเพศใหม่ มีพระอุปัชฌาย์เป็นพ่อ ฉะนั้นท่านก็ควรจะเลือกพ่อให้ดีที่สุด ในเมื่อท่านมีสิทธิ์จะเลือกได้ วิธีเลือกของท่านนั้น ท่านได้อาศัยวิชาดูลายมือและวิชาดูลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ โดยท่านได้นำภัตตาหารไปถวายพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เวลาจะประเคนท่านแอบดูลายมือขณะที่พระรับประเคนของบ้าง ขอดูมือบ้างเมื่อมีโอกาสสมควรและไม่ขาดคารวะ ท่านทำดังนี้อยู่หลายวัด จนกระทั่งถึงวัดเทพศิรินทราวาส ท่านได้เห็นลายมือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ตลอดจนเห็นลักษณะทุกอย่างแล้วท่านก็ปลงใจว่า จะเลือกสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพ่อในการเกิดเป็นพระภิกษุในครั้งนี้ ท่านจึงได้มาขอบวชที่วัดเทพศิรินทราวาส ได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ มีอายุครบ ๒๘ ปี โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) เป็นอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ธมฺมวิตกโกภิกขุ ท่านธมฺมวิตกฺโกเป็นผู้สุขุมละเอียดอ่อนมากในการจะตัดสินใจทำอะไร โดยมากท่านจะคิดวางโครงการเป็นขั้นเป็นตอนว่า จะทำอะไรและทำให้ได้เพียงใดก่อนเสมอ ส่วนเรื่องที่ท่านไม่ได้คิดบวชจนตลอดชีวิตมาแต่แรก เพราะตามโครงการของท่านนั้น ท่านได้วางไว้ว่า จะบวชถวายพระราชกุศลเพียงหนึ่งพรรษา แล้วหลังจากนั้น ท่านจะแต่งงานแล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่อเมริกา แล้วจะกลับมารับใช้ชาติต่อไป แต่เมื่อบวชครบพรรษาแล้ว ท่านกลับไม่คิดลาสิกขา เพราะได้กัลยาณมิตรในทางธรรมแล้ว คือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระอุปัชฌาย์ของท่านเอง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้สอน เรื่องอริยสัจสี่แก่ท่าน จนท่านเห็นความทุกข์ที่แทรกซ้อนอยู่ในความสุข จนกล่าวได้ว่าไม่มีความสุขใดในชีวิตฆราวาส ที่จะไม่มีความทุกข์ซ้อนอยู่ในความสุขนั้น และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตของท่านที่ผ่านมาท่านก็เห็นได้ชัดเจนว่า ชีวิตเป็นทุกข์อย่างแท้จริงและอยากจะใฝ่หาทางพ้นทุกข์ อย่างไรก็ดี ท่านยังไม่ตัดสินใจจะบวชตลอดชีวิต แต่จะบวชไปก่อน การบวชไปก่อนของท่านนั้นไม่ได้บวชอย่างขอไปที หรือบวชอย่างคนที่ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะลาสิกขาหรือไม่ ซึ่งการบวชดังกล่าวนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บวชแต่อย่างใด นอกจากจะอยู่ไปวันหนึ่ง ๆ แต่สำหรับท่านธมฺมวิตกฺโก ท่านไม่ได้ปล่อยให้เวลาล่วงไปวันหนึ่ง ๆ อย่างเปล่าประโยชน์ ท่านบวชและเจริญสมาธิอย่างเข้มงวดในช่วงระยะเวลานี้ เพียงแต่ยังไม่ได้ตั้งใจจะบวชจนตลอดชีวิตเท่านั้น และจากการปฏิบัติของท่านนี้ ก็เกิดผลให้ท่านสมดังใจ ทำให้ท่านตัดสินใจได้ภายหลัง หลังจากบวชแล้วประมาณ ๖ ปี ขณะนั้น ท่านเกิดเบื่อหน่ายทุกสิ่งทุกอย่าง มีความบันเทิงแต่ในทางธรรมเพียงอย่างเดียว และเห็นความเป็นอนิจจังของบ้านเมือง จนเล็งเห็นว่าแม้ท่านจะลาสิกขาออกไป ท่านก็ไม่อาจจะไปใช้ชีวิตดังเดิมได้ ในเมื่อจิตใจของท่านเบื่อหน่ายต่อชีวิตการครองเรือน มองเห็นแต่ความทุกข์ หากลาสิกขาบทไปก็เท่ากับไปใช้ชีวิตอย่างเดิมอีก ในเมื่อท่านได้ก้าวออกมาจากชีวิตนั้นแล้ว เป็นอิสระแล้ว จะย้อนกลับไปใช้ชีวิตเช่นนั้นอีกทำไมเล่า เหมือนก้าวขึ้นมาจากโคลนตมแล้วกลับกระโดดลงไปอีกฉะนั้น ส่วนที่ท่านบอกว่า เห็นความเป็นอนิจจังของบ้านเมืองจนคิดเบื่อหน่ายนั้นก็คือ เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ ทรงตั้งสมาคมเจ้า และท่านปรีดี พนมยงค์ ตั้งสมาคมราษฎร์ขึ้นมา ท่านจึงพิจารณาเห็นว่าท่านไม่อาจไปใช้ชีวิตฆราวาสได้อีกอย่างแน่นอน เพราะชีวิตฆราวาสเป็นชีวิตที่ต้องต่อสู้โดยไม่รู้ว่าต่อสู้ไปทำไม เพื่ออะไร ในเมื่อชีวิตนี้เป็นทุกข์ควรจะต่อสู้เพื่อให้พ้นทุกข์มิดีกว่าหรือ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 24-09-2009 เมื่อ 11:26 |
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
||||
|
||||
ก่อนที่ท่านธมฺมวิตกฺโกจะบวชนั้น ท่านมีทรัพย์สินมากพอจะเป็นเศรษฐีในสมัยนั้นได้ เมื่อท่านบวชแล้ว
ท่านก็ได้บริจาคทรัพย์สินที่ท่านมีอยู่ ให้เป็นสมบัติแก่พระศาสนา โดยท่านได้บริจาค ๑.ที่ดินที่จังหวัดนครปฐม จำนวน ๗ ไร่ ได้ถวายให้แก่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๐ ๒.ที่ดินที่ตำบลพญาไท อำเภอดุสิต นครหลวงฯ (พระนคร) จำนวนเนื้อที่ดิน ๕ ไร่ ๖๗ ตารางวา ได้ถวายให้แก่วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๕ ในด้านคู่ครองท่านก็มีคู่หมั้นอยู่ก่อนที่จะบวชคือ คุณชุบ มานะเศวต นับว่าชีวิตของท่านในทางฆราวาสไม่ขาดตกบกพร่อง หากท่านไม่บวช ท่านก็สามารถใช้ชีวิตของฆราวาสได้อย่างสบายไม่เดือดร้อน และไม่อดตายอย่างที่ใคร ๆ เขาว่าท่าน แต่ท่านกลับสละทรัพย์สมบัติ และคนรักจนหมดสิ้น ท่านบอกว่าคุณหญิงซึ่งเป็นพี่สาวคุณชุบบอกว่า คุณชุบหมั้นกับใครก็ไม่หมั้น มาหมั้นกับพระยานรรัตนฯ บ้า ๆ หมั้นเขาแล้วกลับบวชไม่สึก ท่านเลือกคุณชุบ เพราะคุณชุบไม่สวยและดื้อเหมือนกับท่าน และอีกอย่างหนึ่งคุณชุบเป็นลูกคุณหลวง ท่านบอกว่าท่านรักและเคารพคุณพ่อของท่าน ไม่ต้องการแต่งงานกับผู้หญิง ที่บิดามีฐานะเหนือกว่าคุณพ่อของท่าน ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นคุณพระ เพราะท่านเกรงว่าจะไม่ให้ความเคารพคุณพ่อของท่าน ปัจจุบันนี้คุณชุบก็ยังมีชีวิตอยู่และเป็นหญิงใจเดียว คุณชุบ มานะเศวต ครองตัวเป็นโสดตลอดมา โดยไม่ได้แต่งงานกับใคร นับว่าเป็นยอดหญิงที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อท่านธมฺมวิตกฺโกมรณภาพ คุณชุบก็มาเคารพศพอยู่เสมอ และทำบุญอุทิศให้แก่ท่านตามกำลังความสามารถ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
||||
|
||||
หลังจากท่านบวชแล้วคุณชุบก็บวชบ้าง โดยไปเป็นอุบาสิกาถือศีลอยู่ที่วัดโสมนัส
ตลอดเวลาที่ท่านบวชท่านห้ามมิให้คุณชุบมาเยี่ยมเยียนท่าน เว้นแต่มีธุระจำเป็น ท่านเกรงจะเป็นที่ครหาของผู้อื่น คุณชุบถือศีลอยู่หลายปี จึงมาหาท่านบอกว่าจะขอลาสึก เพราะเห็นว่าชีวิตของอุบาสิกาไม่สู้จะทำประโยชน์ให้แก่ใครมากนัก หากสึกแล้วไปเป็นครูสอนหนังสือดูจะเป็นประโยชน์มากกว่า ซึ่งท่านก็อนุญาต ท่านธมฺมวิตกฺโกเคยพูดถึงคุณชุบตอนนี้ว่าเขาเก่งเหมือนกัน ท่านธมฺมวิตกฺโกท่านชอบพูดอะไรตรง ๆ ไม่อ้อมค้อม ท่านบอกว่า "อาตมาพูดจาไม่ค่อยอ่อนหวาน เป็นคนขวานผ่าซาก" แม้เมื่อรับราชการอยู่ในวังท่านก็พูดตรงจุดตรงเป้าเสมอ หากประสงค์จะให้ผู้ฟังเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ท่านสอนเสมอว่าเมื่อทำผิดแล้วไม่ต้องเสียใจ แต่ให้พยายามจำไว้เป็นบทเรียนว่าจะไม่ทำผิดเช่นนั้นอีก และท่านจะยกคำกลอนในอุทานธรรมมาสอนว่า ปิ้งปลาหมองอแล้วกลับนี่คำขำ เจ็บแล้วจำใส่กระบาลนี่ขานไข ผิดแล้วแก้กลับตัวเปลี่ยนหัวใจ จะหาใครมาวอนไม่สอนตน คำกลอนในอุทานธรรมนี้ ท่านธมฺมวิตกฺโก ท่านจำได้หมดและมักจะยกมาพูดเมื่อเกี่ยวกับเรื่องที่ท่านพูดถึง ผู้แต่งอุทานธรรม คือ ท่านเจ้าคุณสาสนโสภณ (แจ่ม จตฺตสลฺโล ) ได้เอาคำกลอนนี้มาให้ท่านระหว่างสงคราม และท่านก็ท่องจำได้แต่นั้นมา
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 14-09-2009 เมื่อ 00:12 |
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
||||
|
||||
ใครก็ตามที่เคยพบท่านจะต้องเคยได้ยินท่านให้พรว่า
"จงเลือกทำแต่กรรมที่ดี ๆ นะ" ซึ่งก็มีที่มาจากอุทานธรรมเช่นกัน โดยมีบทเต็มว่า รักษาตัวกลัวกรรมอย่าทำชั่ว จะหมองมัวหม่นไหม้ไปเมืองผี จงเลือกทำแต่กรรมที่ดี ๆ จะได้มีความสุขพ้นทุกข์ภัย คำให้พรของท่านที่ว่า จงเลือกทำแต่กรรมที่ดี ๆ นั้น โดยปกติแล้วคนใจแข็งต้องเว้นจากกรรมชั่วเลือกทำแต่กรรมดีได้ และท่านได้เมตตาบอกถึงลักษณะของคนใจแข็งว่าจะต้องประกอบด้วย ๑.ไม่บ่น ๒.ไม่ร้องทุกข์ ๓.ไม่อยากรู้ความลับของใคร ๔.ไม่บอกความลับของตนแก่ใคร ๕.ไม่สนใจใครว่าจะเห็นตนเป็นอย่างไร ๖.ไม่กลัวความทุกข์ยาก ๗.รู้จักเอาความทุกข์ยากมาเป็นประโยชน์สร้างความก้าวหน้าในชีวิต
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#12
|
||||
|
||||
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผู้คนในกรุงเทพฯ ได้อพยพออกไปอยู่บ้านนอกกันเป็นส่วนมาก
ไม่ยกเว้นแม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้า พระในวัดเทพศิรินทราวาสก็อพยพ แต่ท่านธมฺมวิตกฺโกไม่ได้ไปไหนเลย ท่านอยู่ที่กุฎิของท่านตลอดระยะเวลาสงครามครั้งนี้ ท่านได้เล่าเหตุการณ์ว่า ทางด้านหลังวัดซึ่งปัจจุบันเป็นบริเวณสุสานหลวง ได้มีทหารญี่ปุ่นมาพักเต็มไปหมด และอาบน้ำในสระของวัดซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นสระเต่า ที่หน้ากุฏิของท่านเดิมเป็นศาลาใหญ่ ปัจจุบันได้รื้อออกแล้วสร้างเป็นโรงเรียนปริยัติธรรม ที่ศาลานี้ในระหว่างสงครามโลก ได้มีญี่ปุ่นเอาเครื่องรับวิทยุมาตั้ง โดยเห็นว่าเป็นวัดไม่เป็นที่สงสัย และมีเจ้าหน้าที่มาคอยควบคุมเครื่องส่งวิทยุนี้ วันหนึ่งมีผู้มาบอกท่านว่า จะมีเครื่องบินเอาระเบิดมาทิ้งเครื่องวิทยุที่ตั้งอยู่ที่ศาลา ให้ท่านหลบไปเสีย ท่านเล่าว่าท่านไม่ยอมหลบแต่กลับนั่งรอคอยอย่างสงบ เวลาประมาณหลังเที่ยงวันมีเสียงเครื่องบินผ่านมา ท่านก็เปิดหน้าต่างออกมาดูเห็นเครื่องบินวนอยู่หลายรอบ และที่สุดก็ทิ้งระเบิดลงมา ท่านได้ร้องถามในใจว่า "Do you kill me, my friend?" แล้วก็มองดูลูกระเบิด ปรากฏว่าลูกระเบิดได้ผ่านศาลาและกุฏิท่านไป ลูกแรกไปตกข้างโบสถ์ ถัดจากนั้นก็ไปตกถูกตึกโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์และตึกที่ทำการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ผลปรากฏว่าโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ คือ ตึกแม้นนฤมิต และตึกของการรถไฟฟังพินาศ ส่วนลูกที่ตกข้างโบสถ์นั้นไม่ระเบิด ภายหลังได้ติดต่อเจ้าหน้าที่มาขุดเอาไป ท่านบอกว่าพระเชียงแสนและพระประธานในโบสถ์ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าลูกระเบิดที่ตกนั้นระเบิดขึ้นมา โบสถ์ก็คงพังเสียหายมาก สำหรับท่านเองท่านไม่กลัวความตาย จึงไม่อพยพหนีไปไหน ท่านบอกว่าความตายคือมิตรที่ดีที่สุด นำความสงบมาให้ และเป็นมิตรที่ซื่อตรง จะมาถึงทุกคนอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะมั่งมียากจนดีหรือชั่ว จะต่างกันก็แต่ช้าหรือเร็วเท่านั้น นอกจากนี้การระลึกถึงความตายเป็นอนุสติอีกด้วย ถึงตอนนี้ท่านธมฺมวิตกฺโกก็ยกเอากลอนในอุทานธรรมมากล่าวว่า ระลึกถึงความตายสบายนัก มันหักรักหักหลงในสงสาร ทั้งมืดมนโมหันต์อันธกาล ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 17-09-2009 เมื่อ 12:55 |
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#13
|
||||
|
||||
ท่านธมฺมวิตกฺโกอยู่ในวัดเทพศิรินทราวาสตลอดระยะสงครามโดยปลอดภัย
เวลากลางคืนท่านก็ลงจำวัดในหีบศพที่โยมพ่อต่อเอามาให้ แล้วใช้จีวรคลุมบนหีบศพต่างมุ้ง ท่านบอกว่าหากพลาดพลั้งระเบิดตกลงมา เวลาคนมาเก็บศพก็ไม่ลำบาก ท่านไม่ยอมออกจากวัดจริง ๆ การไม่ยอมออกจากวัดนี้ เป็นความตั้งใจเด็ดขาดของท่านเอง แม้เมื่อโยมพ่อและโยมแม่เสียชีวิตท่านก็ไม่ยอมออกไปเยี่ยมศพ เพียงแต่สั่งการให้ใครทำอะไร และทำอย่างไรเท่านั้น นอกจากนี้ท่านบอกว่าท่านได้นั่งสวดอุทิศส่วนกุศลไปให้ ท่านธมฺมวิตกฺโกมีหนังสือไว้สำหรับแจกผู้ที่ไปหาท่าน ชื่อหนังสือ สันติวรบท โดยมีคำสอนของท่าน ๙ ข้อ นอกจากนั้นก็เป็นบทสวดมนต์และอื่น ๆ มีคำสอนหนึ่งท่านให้ชื่อว่าดอกมะลิ ตอนนั้นยังไม่พิมพ์รวมในเล่มเดียวกัน แต่ท่านพิมพ์ในแผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม พร้อมกับกระดาษอีกแผ่นหนึ่ง เป็นรูปดอกบัวมีแปดกลีบ และมีรูปเพชร ๓ เม็ดอยู่บนดอกบัวนั้น ท่านได้อธิบายให้ฟังว่า ดอกบัวที่มีแปดกลีบหมายถึงอริยมรรคอันมีองค์แปด และเพชรหมายถึงพระรัตนตรัย นอกจากนี้ดอกบัวเป็นดอกไม้อันเกิดมาแต่โคลนตมแต่น้ำ แต่ดอกบัวก็ไม่ติดโคลนติดน้ำ เพชรเกิดมาแต่หิน แต่เพชรก็ไม่ติดหิน ฉันใดก็ดี คนเราที่เกิดมาในโลกก็ไม่ควรติดโลกฉันนั้น ส่วนคำสอนที่มีชื่อว่าดอกมะลิ ต่อมาท่านได้พิมพ์รวมในหนังสือสันติวรบท ท่านพลโทเฉลิมชัย จารุวัสตร์ ได้พิมพ์ถวาย และคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นคนตรวจแก้ถวาย ขอให้เก็บให้ดีเอาไว้ที่หัวนอนเวลานอนจะได้อ่าน จะได้เอาธรรมะเป็นเพื่อนนอน เวลาท่านจะให้ใคร ถ้าเป็นผู้ชายท่านจะเอาใส่กระเป๋าเสื้อให้ ถ้าเป็นผู้หญิงท่านจะวางให้บนศีรษะ ถ้าเสื้อใครไม่มีกระเป๋าบางครั้งท่านก็ไม่ให้โดยบอกว่าวันหลังค่อยมาเอา ท่านจะสั่งว่าให้ไปทำปกให้ดีอย่าปล่อยให้ชำรุดเสียหาย ถ้านิยมความศักดิ์สิทธิ์ก็ให้ถือเอารูปพระที่หน้าปกหนังสือ ถ้ามีศรัทธาในเรื่องกรรมก็ให้ถือเอาคำสั่งสอนในหนังสือนั้นไปประพฤติปฏิบัติ เพราะผู้ใดปฏิบัติธรรมแล้วธรรมจะรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติไว้ ไม่ให้ตกต่ำเป็นของแน่นอนยิ่งกว่าความศักดิ์สิทธิ์ใดในโลกนี้
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 28-09-2009 เมื่อ 17:13 |
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#14
|
||||
|
||||
การทำสมาธิของท่านธมฺมวิตกฺโก
ท่านได้ฝึกทำมาแต่ครั้งยังเป็นฆราวาส เมื่อท่านบวชท่านได้ฝึกต่อไปโดยตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมติดไว้ข้างฝาห้อง นั่งเพ่งจนกระทั่งท่านเห็นภาพนี้ชัด ไม่ว่าจะหลับตาหรือลืมตา เป็นภาพที่ติดอยู่ในจิตเป็นภาพนิมิต และต่อมาท่านได้ขยายภาพนิมิตนี้ในจิต ให้ใหญ่ให้เล็กได้ตามความประสงค์ หรือจะทำให้ภาพวงกลมนี้มีมากมายหลายภาพจนนับไม่ถ้วนก็ได้ การที่ท่านเลือกรูปวงกลมมาเป็นภาพสำหรับกำหนดจิต แทนที่จะเป็นพระพุทธรูปหรืออย่างอื่น ก็เพราะว่าท่านเห็นรูปวงกลมนี้เหมือนกับสังสารวัฏที่หมุนเวียนอยู่เสมอ ต่อมาเมื่อท่านเห็นว่าท่านมีกำลังจิตแรงกล้าพอแล้ว ท่านได้ทดลองอำนาจกำลังจิตของท่าน โดยเอาหัวกะโหลกผีมาตั้งเรียงไว้ ๔ หัว ข้างที่นอนของท่าน เมื่อเตรียมการเสร็จแล้วก็รวบรวมอำนาจจิต นั่งสมาธิอยู่หน้าหัวกะโหลกผีเหล่านั้น โดยเอาหัวกะโหลกผีเป็นจุดกรรมฐาน เมื่อนั่งใหม่ ๆ ภาพที่เกิดในนิมิตปรากฏอย่างแปลกประหลาดพิศดาร โดยหัวกะโหลกเหล่านั้นได้หลอกหลอนท่าน ลอยเข้ามาหาท่านบ้าง ห่างไปบ้าง ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แต่ภายหลังเมื่อท่านได้กำหนดอารมณ์ให้ภาพเหล่านี้ผ่านเลยไปแล้ว ท่านก็ได้เห็นหัวกะโหลกเหล่านั้นในสภาพที่เป็นจริง ไม่มาหลอกหลอนท่านอีกต่อไป ซึ่งยังความปลาบปลื้มยินดีให้แก่ท่านมากขึ้น นี่เป็นเพียงการทดลองอำนาจจิตที่ฝึกไว้ของท่านเท่านั้น
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#15
|
||||
|
||||
ท่านธมฺมวิตกฺโกศึกษาปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
หลังจากบวชในพรรษาแรก ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ไปตามท้องถนนเยี่ยงพระนวกะทั่วไปจนครบหนึ่งพรรษา ครั้นย่างเข้าพรรษา ๒ ท่านธมฺมวิตกฺโก จึงงดบิณฑบาตโปรดสัตว์แต่นั้นเป็นต้นมา และเริ่มฉันจังหันเพียงมื้อเดียวเท่านั้น โดยมีญาติเป็นผู้นำปิ่นโตมาถวาย อาหารที่ท่านธมฺมวิตกฺโก ฉันนั้น ก็ล้วนเป็นอาหารเจทั้งสิ้น คือไม่มีเนื้อสัตว์ และสิ่งที่ขาดเสียมิได้ก็คือ มะขามเปียกกับกล้วยน้ำว้า ครั้นพรรษาต่อไปท่านธมฺมวิตกฺโกจึงได้งดฉันจังหันในวันพระทุกวันพระอีกด้วย ซึ่งท่านปฏิบัติเรื่อยมาเป็นประจำจนกระทั่งได้มรณภาพลง กิจวัตรที่ท่านธมฺมวิตกฺโกจะขาดเสียมิได้ นั่นก็คือการลงอุโบสถทำวัตร เช้า-เย็นเป็นประจำ ท่านบอกกับภิกษุสงฆ์ในวัดเสมอว่า “ถ้าท่านขาดทำวัตรครั้งใด นั่นก็หมายความว่า ท่านต้องอาพาธหนัก หรือได้มรณภาพไปแล้ว” และมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ท่านธมฺมวิตกฺโกได้ขาดลงอุโบสถ เพราะท่านเดินมาลงโบสถ์และเหยียบถูกงูเห่า งูจึงกัดที่เท้าท่าน แต่ท่านธมฺมวิตกฺโกก็ยังลงโบสถ์ทำวัตรต่อไป โดยมิยินดียินร้ายต่อเขี้ยวของอสรพิษแต่อย่างใด ถ้าเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ก็จะต้องรีบเข้าสถานเสาวภาอย่างไม่มีปัญหา แต่ท่านธมฺมวิตกฺโกกลับเห็นเป็นเรื่องธรรมดา โดยมิต้องวิ่งไปหาหมอหรือหาหยูกหายามาฉันเลยแม้แต่อย่างเดียว กระแสจิตอันแก่กล้าของท่านเท่านั้น ที่ดับพิษร้ายของงูเห่าไม่ให้ทำอันตรายต่อองค์ท่านได้ แต่ถึงกระนั้น ก็เล่นเอาท่านแทบแย่เหมือนกัน เท้าข้างที่ถูกงูกัดบวมเต่งตึง จะนั่งจะลุกก็แสนจะลำบาก เมื่อเวลาทำวัตรสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ทรงเห็นเข้า จึงได้ขอร้องให้งดลงทำวัตรจนกว่าเท้าจะหายบวม ด้วยความเกรงใจและระลึกเคารพต่อผู้มีพระคุณฝังจิตใจอยู่นั้น ท่านธมฺมวิตกฺโกจึงได้งดลงโบสถ์ ๑ วัน รุ่งขึ้นเท้าข้างที่บวมเต่งตึงก็อันตรธานหายไปอย่างปลิดทิ้ง เกิดความมหัศจรรย์แก่ผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง เสียงโจษจันเล่าลือจึงระบือไปทั่วว่า ท่านธมฺมวิตกฺโกมีกระแสจิตแก่กล้า สามารถระงับพิษให้เหือดหายไปเอง โดยไม่ต้องไปหาหมอและฉันยาแต่อย่างใดเลย และเคล็ดลับการปฏิวัติร่างกายให้แข็งแรง ต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บนั้นก็ได้มีผู้ทราบว่าท่านธมฺมวิตกฺโก เมื่อครั้งเป็นฆราวาส ได้ปฏิบัติทางโยคะศาสตร์ จนสามารถระงับโรคภัยไข้เจ็บมิให้เกิดขึ้นได้ หลังจากที่ท่านธมฺมวิตกฺโกอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ผ่านไปเพียง ๑ พรรษา จึงได้เขียน หนังสือวิธีปฏิบัติทางโยคะศาสตร์ ถวายแด่อุปัชฌาย์ท่านเจ้าคุณพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยมีใจความดังต่อไปนี้
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 28-09-2009 เมื่อ 17:17 |
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#16
|
||||
|
||||
๒๕ มิถุน ๒๔๖๙
ขอประทานกราบเรียน พระคุณเกล้าฯ ขอประทานถวายวิธีบริหารร่างกายประจำวัน ซึ่งเกล้าฯ มั่นใจว่า ถ้าไม่มีอดีตกรรมตามสนองแล้ว การบริหารร่างกายที่ถูกต้องตามกฎของธรรมดาโดยสม่ำเสมอจริง ๆ จะช่วยส่งเสริมให้รูปขันธ์นี้เป็นเรือนอันแข็งแรงมั่นคงและทนทาน เป็นที่อาศัยของนามขันธ์ได้อย่างวัฒนาถาวร ห่างจากโรคาพยาธิ มีโอกาสใช้ชีวิตช่วยยังประโยชน์ให้แก่โลกได้ยืดยาวจนสุดเขตขัยแห่งอายุ เกล้าฯ เป็นเด็กขี้โรคมาแต่เดิม โยมผู้หญิงผู้ชายขี้โรค ทั้งเกล้าฯ ได้เคยกรากกรำอดหลับอดนอน จนร่างกายทรุดโทรมมาครั้งหนึ่งแล้วในระหว่างรับราชการ ถึงกับเป็นโรคเส้นประสาทอ่อน (Neurasthenia) มีร่างกายผอมซีดสามวันดีสี่วันไข้ จนสมเด็จพระบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้ารัชกาลที่ ๖ ทรงออกพระโอษฐ์ว่า "เกรงจะเป็นฝีในท้อง Consumption เสียแล้ว" เกล้าฯ ต้องถูกส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่การรักษาด้วยวิธีแลยาต่าง ๆ หลายอย่างหลายชนิดไม่เป็นผลเลย เกล้าฯ ได้พยาบาลบริหารร่างกายด้วยหันเข้าหากฎของธรรมดา ตามวิธีที่กราบเรียนถวายมานี้โดยสม่ำเสมออย่างที่เรียกว่า “เมื่อจะทำอะไรต้องทำกันจริง ๆ” จนได้รับผลดี มีร่างกายสงบสบายเรื่อยมาจนบัดนี้ไม่ต้องใช้ยา ไม่ต้องไต่ถาม หรือปรึกษาหมอในเรื่องโรคภัยส่วนตัวอีกเลยฯ กำหนดบริหารร่างกายประจำวัน ๑. ตอนตื่นลุกขึ้นจากที่นอน ดัดตน ๔ ท่าดังนี้ ๑.๑ ยืด (stretch) ๑.๒ แขม่วท้อง (Pumping) ๑.๓ เตะขึ้น (Kick up) ๑.๔ บดท้อง (Ehuming) ๒. ลุกขึ้นจากที่นอนแล้ว ไปยืนที่หน้าต่างที่เปิดตรงช่องลม หายใจยาวสุดอากาศสด ๆ (Fresh Air) เข้าปอดให้เต็มที่ ๔ ท่าดังนี้ ๒.๑ อัดลม (Paching) ๒.๒ หายใจยาวสูดลมเข้าปอดตอนบน (Upper Chest Breathing) ๒.๓ หายใจยาวอัดลมดันให้ท้องโป่งพอง (Abdominal Breathing) ๒.๔ หายใจยาวสูดลมเข้าอกให้ซี่โครงกาง (Bostal Breathing) ในขณะที่ทำท่าเหล่านี้ควรหลับตา และตั้งใจเป็นสมาธิอยู่ในท่าที่กำลังกระทำอยู่นั้น เมื่อจบท่าแล้วจึงลืมตา เวลาลืมตานั้นต้องลืมจริง ๆ คือเพ่งมองไป แล้วค่อย ๆ หลับกลอกไปกลอกมา ขึ้นข้างบน ลงข้างล่าง กลอกข้างซ้ายกลอกขวา และกลอกเป็นวงกลม นี่เป็นการบริหารลูกตาอีกส่วนหนึ่งฯ ๓. ดื่มน้ำ ๑ ถ้วยแก้วเต็ม ๆ น้ำที่จะใช้ดื่มนี้ สำหรับผู้ที่จะมีอายุล่วงเข้าเขตปัจฉิมวัยแล้วไม่ควรดื่มน้ำเย็น ในตอนตื่นตอนเช้า ๆ ท้องว่าง ๆ ควรดื่มน้ำต้มเดือดแล้วอุ่น ๆ ถ้าดื่มน้ำเปล่า ๆ ไม่ได้ควรเลือกเจือชานิดหน่อยพอมีกลิ่นชวนให้ดื่มได้ แต่อย่าให้มากนัก เพราะมีธาตุที่ให้โทษแก่ร่างกายอยู่บ้าง ไม่เหมาะสำหรับดื่มในเวลาท้องว่างตื่นนอนใหม่ ๆ ตอนเช้า ๔. ไปถ่ายอุจจาระ ถ้าเราเกรงจะเสียเวลาช้าไป ควรเอาหนังสือติดมือไปอ่านด้วย ต่อไปนี้ลงมือทำงาน (Work) ได้ ๕ เมื่อหยุดงานแล้ว ก่อนรับประทานอาหารควรดัดตน ๓ ท่าดังนี้ ๕.๑ ยืนกางแขนบิดตัว เอามือแตะปลายเท้าทีละข้าง (Tickle toe) ๕.๒ เขย่าตัว (Pep hop) ๕.๓ จ้องดาวและบิดคอ (Star Gazer และ Hen peck) แล้วดื่มน้ำ ๑ ถ้วยแก้ว ก่อนรับประทานอาหารสัก ๑๕ นาที เมื่อรับประทานอาหารแล้วใหม่ ๆ ไม่ควรอ่านหนังสือหรือใช้สมองคิดเลย ควรคุยหรือเดิน หยิบโน่นหยิบนี่นิด ๆ หน่อย ๆ เป็นดี และไม่ควรดื่มน้ำ รอไว้จนกว่าอาหารย่อยเรียบร้อยจนเบาท้อง แล้วจึงดื่มน้ำให้มาก ๆ ๖. ก่อนจะอาบน้ำเข้านอนตอนกลางคืน ควรดัดตนอีกครั้งหนึ่ง ๗ ท่า ดังนี้ ๖.๑ ยืด (Stretch) ๖.๒ แขม่วท้อง (Pumping) ๖.๓ เตะขึ้น (Kick up) ๖.๔ บดท้อง (Ehuming) ๖.๕ ยืดกางแขนบิดตัวเอามือแตะปลายเท้าทีละข้าง (Tickle toe) ๖.๖ เขย่าตัว (Pep Hop) ๖.๗ จ้องดาวและบิดคอ (Star gazer และ Hen Peck) ท่าดัดตนเหล่านี้ ถ้าทำให้มากเกินไปก็ให้โทษหรือไม่ให้คุณ ที่จะให้คุณจริง ๆ คือพอควรอยู่ระหว่างกลาง ไม่ไปทางที่สุดโด่งทั้งสองข้าง ควรมิควรประการใดสุดแล้วแต่จะโปรด เกล้าฯ ธมฺมวิตกฺโก
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 02-10-2009 เมื่อ 22:14 |
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#17
|
||||
|
||||
เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ได้รับจดหมายรายงานการปฏิบัติแบบโยคะศาสตร์ของท่านธมฺมวิตกฺโกแล้วก็ได้นำไปปฏิบัติ เมื่อสงสัยในข้อหนึ่งข้อใดแล้ว ก็ทรงเรียกท่านธมฺมวิตกฺโกเข้าไปสอบถามเป็นส่วนตัว และฝึกหัดตามท่านธมฺมวิตกฺโกไปด้วย ผลที่สุดท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ก็เห็นผลปรากฏจากหลักวิธีโยคะศาสตร์ ที่สามารถช่วยขจัดโรคภัยต่าง ๆ ได้จริง ๆ ถ้าทำให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ ถือสันโดษ ท่านธมฺมวิตกฺโกตัดกิเลสหมดทุกอย่าง แม้แต่เงินตราที่ใช้แลกเปลี่ยนตามกฏหมาย ก็มิเคยเห็นและแตะต้อง เครื่องตกแต่งเพื่อประดับบารมีภายในกุฏิก็หามีสิ่งมีค่ามาตั้งโชว์ให้รกหูรกตาแม้แต่สิ่งเดียวไม่ สิ่งที่ประดับบารมีของท่าน ก็คือตำรับตำราและหนังสือธรรมวินัยต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ส่วนที่เป็นที่จำวัดนั้น ก็เป็นที่เฉพาะองค์ท่านเท่านั้น โดยมีผ้าจีวรเก่า ๆ ปูกับพื้นเพียง ๒-๓ ผืน และมีมุ้งหลังเล็ก ๆ อยู่หลังเดียวเท่านั้น สิ่งที่สะดุดตาและเตือนใจแก่ผู้พบเห็น คือโครงกระดูกและหีบศพ ๑ หีบ ที่วางไว้ให้เป็นเครื่องขบคิด โครงกระดูกที่ท่านนำเข้าไปไว้ในกุฏิของท่าน ก็เพื่อไว้นั่งพิจารณาและปลงอนิจจัง ว่าสังขารของมนุษย์เรานั้นมันไม่เที่ยงแท้ มี เกิด แก่ เจ็บ ตาย ผลที่สุดก็เหลือแต่โครงกระดูก แล้วก็กลายเป็นเถ้าถ่านไปในที่สุด ส่วนหีบศพนั้นเล่า ท่านธมฺมวิตกฺโกได้สั่งให้ญาติซื้อมาไว้เมื่อบวชได้พรรษา ๒ และท่านได้บอกกับญาติโยมให้ทราบว่า การที่สั่งให้ต่อหีบศพมาไว้นั้นก็เพื่อที่จะไว้ใส่ตัวท่านเอง เมื่อเวลาดับขันธ์ จะมิต้องทำความยุ่งยากลำบากให้แก่ผู้อยู่ข้างหลัง และหีบศพใบนี้ท่านเคยลงไปทำวิปัสสนากรรมฐานบ่อยครั้งนัก นับเป็นสถานที่ที่สงบแห่งหนึ่งที่ท่านปฏิบัติธรรม ในกุฏิของท่านจะหาไฟฟ้าใช้แม้แต่ดวงเดียวก็ไม่มี แม้แต่น้ำที่ท่านใช้ดื่มฉันอยู่ทุกวันก็เป็นแต่น้ำฝนทั้งสิ้น ภาชนะที่ท่านใช้ก็เป็นกะลามะพร้าวขัด ท่านชี้แจงว่าของสิ่งนี้เป็นของสูง ไม่มีมลทินอะไรติดอยู่เลยแม้แต่นิดเดียว ท่านได้ให้เหตุผลว่า “ธรรมชาติได้สร้างให้มนุษย์เราเป็นที่พอเพียงอยู่แล้ว จะวุ่นวายกันไปทำไม ยิ่งเป็นภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติอยู่ในธรรมวินัยก็ยิ่งลำบาก น้ำฝนเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ดื่มฉันก็เกิดอาบัติน้อยมาก ยิ่งไฟฟ้าด้วยแล้วก็ถือว่าไม่เป็นที่สำคัญเลย เพราะดวงอาทิตย์ได้ให้แสงสว่างแก่โลกมุนษย์เราตั้งแต่ ๖ โมงเช้าถึง ๖ โมงเย็น เราจะทำอะไรก็ควรรีบ ๆ ทำเสีย เมื่อพระอาทิตย์สิ้นแสงแล้วก็หมดเวลาที่เราจะทำอย่างอื่น นอกเสียจากทำสมาธิ เจริญวิปัสสนากรรมฐานแต่อย่างเดียวเท่านั้น” ด้วยเหตุนี้เอง กุฏิของท่านจึงปิดเงียบมืดมิดผิดกว่ากุฏิพระภิกษุสงฆ์องค์อื่น ๆ ท่านภิกษุผู้เคร่งครัดต่อธรรมวินัยรูปนี้ได้มีประชาชนจำนวนมาก เลื่อมใสศรัทธาใคร่อยากจะพบปะสนทนาด้วย ท่านธมฺมวิตกฺโกก็มิได้รังเกียจ เปิดโอกาสให้ญาติโยมพบปะสนทนาเป็นอย่างดี เฉพาะตอนที่ท่านลงทำวัตรเช้าและเย็นเสมอชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะไม่ยอมให้ใครเข้าพบเป็นอันขาดที่กุฏิของท่าน ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หรือกระยาจกยากจนเข็ญใจคนใดทั้งสิ้น
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 09-10-2009 เมื่อ 23:15 |
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#18
|
||||
|
||||
ท่านท่านธมฺมวิตกฺโกไม่ออกนอกวัดเพื่อไปในงานหรือกิจการใด
ไม่พบปะพูดคุยกับผู้ใดนัก นอกจากการสนทนาธรรม ซึ่งท่านยินดีจะให้คำตอบและอธิบายอย่างเต็มใจเท่าที่สามารถกระทำได้ และเนื่องจากท่านเป็นสมณะที่เคร่งครัด อุดมไปด้วยศีลาจารวัตรที่งดงาม จึงมีผู้คนไปขอพรท่านเป็นจำนวนมาก จนท่านได้เขียนโอวาทไว้ว่า "ทำดี ดีกว่าขอพร" คือให้ทุกคนตั้งใจพยายามทำแต่กรรมดี โดยไม่มีความเกรงกลัวหวั่นไหวต่ออุปสรรคใด ๆ เลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความสุขและมีความเจริญสำเร็จสมประสงค์ ตลอดระยะเวลาที่ท่านอยู่ในสมณเพศเป็นระยะเวลา ๔๖ ปีเต็ม นับได้กว่า ๑๕,๐๐๐ วัน ไม่มีวันใดเลยที่ท่านจะว่างเว้นจากการกรวดน้ำ อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านธมฺมวิตกฺโก จะงดเว้นการฉันอาหาร ๑ วัน และนั่งกระทำสมาธิตลอดคืน เพื่อน้อมจิตอุทิศถวายกุศลผลบุญที่ได้ปฏิบัติมาโดยตลอดแด่พระองค์ท่าน และได้บำเพ็ญกุศลต่าง ๆ เพื่อน้อมอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลอีกเป็นอเนกประการ ส่วนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระอุปัชฌาย์นั้น ท่านธมฺมวิตกฺโกมีความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านเป็นพระเถระที่สงบเคร่งครัดต่อการประพฤติปฏิบัติ และมีเมตตาสูง ท่านธมฺมวิตกฺโกได้เพียรพยายามประพฤติปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนอย่างเคร่งครัด และรับใช้ใกล้ชิดในสิ่งที่พึงปฏิบัติได้ ครั้นเมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ถึงแก่มรณภาพ งานบำเพ็ญกุศลวันคล้ายวันมรณภาพวันที่ ๘ มิถุนายน เวียนมาถึงแต่ละปี ตอนเช้าท่านธมฺมวิตกฺโก จะเดินส่งอัฐิที่อัญเชิญเข้าประดิษฐานในพระอุโบสถเป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด และรับเป็นเจ้าภาพเครื่องไทยธรรมสำหรับถวายพระสวดมนต์และพระเทศน์เป็นประจำตลอดชีวิต นอกจากนี้ท่านธมฺมวิตกฺโกยังมีความกตัญญูกตเวที โดยเฉพาะกับบุพการีและผู้มีพระคุณเป็นอย่างยิ่ง เมื่อครั้งที่ยังรับราชการ ทุกคราวที่มาถึงบ้านและกลับไปเข้าวัง จะต้องมากราบคุณแม่และคุณยายทั้งขามาและขากลับ เงินเดือนที่ได้รับจากการทำงานจะนำมามอบให้คุณแม่ทั้งหมด แล้วขอไปใช้ส่วนตัวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อีกทั้งอบรมสั่งสอนให้น้อง ๆ ช่วยเหลือดูแลคุณพ่อ คุณแม่และคุณยายเพื่อตอบแทนพระคุณ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 12-10-2009 เมื่อ 18:56 |
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#19
|
||||
|
||||
ต่อมาท่านธมฺมวิตกฺโกได้ถูกโรคร้ายเข้าคุกคาม
คือโรคมะเร็ง ท่านธมฺมวิตกฺโกเป็นโรคมะเร็งกรามช้างจนเน่าเฟะ แต่ท่านก็มิได้แสดงความเจ็บปวดรวดร้าว ให้ปรากฏแก่สายตาภิกษุสงฆ์ และประชาชนที่พบเห็นเลยแม้แต่น้อย ท่านมีอาการเป็นปกติธรรมดาเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านลงอุโบสถทำวัตรเช้า-เย็นเป็นประจำเสมอมิได้ขาดเลย แต่แล้วอยู่ ๆ โรคร้ายที่เกาะกุมท่านธมฺมวิตกฺโกก็อันตรธานหายไปเอง โดยท่านมิได้ไปหาแพทย์ให้รักษาหรือฉันหยูกยาแต่ประการใดเลย โรคมันเกิดขึ้นมาเอง มันก็ต้องหายไปเองได้เช่นกัน ท่านธมฺมวิตกฺโกพูดอยู่เสมอ ยิ่งนับวันเสียงลือเสียงเล่าอ้างทางด้านอภินิหารต่าง ๆ ของท่านก็แพร่สะพัดไปทั่วทุกสารทิศว่า ท่านท่านธมฺมวิตกฺโกเป็นพระภิกษุสงฆ์รูปเดียวในปัจจุบันนี้ที่สำเร็จอรหันต์แล้ว จึงมีประชาชนจำนวนมากใคร่อยากจะเข้าพบเพื่อนมัสการ แต่ก็หาเวลาพบท่านได้เพียง ๒ เวลาเท่านั้น คือตอนทำวัตรเช้าและเย็น ซึ่งก็มีเวลาสนทนากันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนมากท่านจะคุยเรื่องธรรมะและอบรมสั่งสอนให้ประกอบและประพฤติในทางดีทั้งสิ้น ผู้ใดได้เข้าพบปะสนทนากับท่านธมฺมวิตกฺโกแล้ว ผู้นั้นจะรู้สึกจิตใจสดชื่นเบิกบานแจ่มใสอย่างบอกไม่ถูก เสียงลือเสียงเล่าอ้างนี้เองที่ล่วงรู้ถึงหูชาวจีนผู้หนึ่ง ซึ่งยากจนมากอยากจะเข้าพบนมัสการท่านธมฺมวิตกฺโก บ้าง พยายามเพียรมาพบที่พระอุโบสถหลายครั้ง แต่ก็เข้าไม่ถึงองค์ท่านเลยสักครั้ง จีนผู้นั้นจึงได้ตัดสินใจมาดักพบที่กุฏิตอนเช้า ก่อนที่ท่านจะลงทำวัตรเช้า เมื่อพบท่านชาวจีนผู้นั้นก็ก้มลงกราบที่หน้าประตูและกล่าวว่า อยากจะมาขอพร เพราะยากจนเหลือเกิน ทำมาค้าขายก็มีแต่ขาดทุน ท่านธมฺมวิตกฺโกได้ฟังชาวจีนพูดจบลงแล้ว ท่านจึงเอากะลาขัดตักน้ำมาพรมให้ชาวจีน และพูดว่า "ไปได้ คราวนี้จะรวยใหญ่" และเป็นจริงอย่างที่ท่านให้พรทุกประการ เพราะหลังจากนั้นเป็นต้นมา ชาวจีนผู้นั้นก็ทำมาค้าขายเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#20
|
||||
|
||||
ตั้งแต่ท่านธมฺมวิตกฺโกอุปสมบท ไม่เคยปรากฏว่าท่านแสดงธรรมเทศนาที่ใด แม้โอวาทของท่านก็มีเพียงสั้น ๆ
ธรรมเทศนาของท่านธมฺมวิตกฺโกจึงค่อนข้างจะหาได้ยาก เพราะท่านถนัดในการปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างมากกว่าการเทศน์ให้ฟัง ธรรมที่ท่านแสดงไว้เมื่อพิมพ์แล้วเป็นเพียงสมุดเล่มเล็ก ๆ มีเนื้อความเพียง ๒๒ หน้ากระดาษ และเป็นเรื่องสั้น ๆ ๙ บท ดังนี้ โอวาทของธมฺมวิตกฺโกภิกขุ วัดเทพศิรินทราวาส ๑. Personal magnet ๒. เมตตา ๓. สบายใจ ๔. สันติสุข ๕. ทำอะไรไม่ผิดเลย....ก็คือไม่ทำอะไรเลย ๖. สติสัมปชัญญะ ๗. อานุภาพของ....ไตรสิกขา ๘. ดอกมะลิ ๙. ทำดี ดีกว่าขอพร ๑. Personal magnet เรื่องที่มีคนเมตตากรุณาเห็นอกเห็นใจนั้นเป็นเพราะ คุณธรรมความดีของตนเองหลายประการด้วยกัน เป็นต้นว่ามี วิริยะ อุตสาหะ บากบั่น เข้มแข็ง แรงกล้า และจิตใจเมตตากรุณา ไม่เย่อหยิ่งจองหอง เป็นเหตุให้ผู้ที่แวดล้อมอยู่ เกิดความเมตตา กรุณารักใคร่เห็นอกเห็นใจ คิดที่จะช่วยเหลือ คนซึ่งมีกิริยามารยาทอ่อนโยนสุภาพนิ่มนวล ย่อมเป็นที่เสน่หารักใคร่ของคนที่ได้พบเห็นและพยายามที่จะช่วยเหลือ นี่เป็น Personal Magnet คือ เสน่ห์ในตัวเอง เพราะฉะนั้นจงพยายามรักษาคุณสมบัติดังกล่าวนี้ไว้ จะเป็น เครื่องช่วยตัวเองให้บรรลุความสำเร็จสมประสงค์ทุกประการทุกกาลเวลา ทั้งปัจจุบันและอนาคต ๒. เมตตา อย่ากลัว จงรักษาตัวให้บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรทำอันตรายได้ จงจำไว้ว่าถ้าปรารถนาความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น ก็ควรส่งกระแสใจที่ประกอบด้วยความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจไปยังท่านเหล่านั้นแล้ว ก็จะได้รับความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากท่านเหล่านั้นเช่นเดียวกัน นี่เป็นกฎของจิตตานุภาพ แล้วความสำเร็จทั้งหลายที่ปรารถนาก็จะบังเกิดแก่ตน สมประสงค์ทุกประการเป็นแน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
Tags |
เจ้าคุณนร, ธัมมวิตกโก |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|