#1
|
|||
|
|||
มรณานุสติยังอ่อนอยู่
มรณานุสติยังอ่อนอยู่
สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนเรื่องมรณานุสติยังอ่อนอยู่ มีความสำคัญดังนี้ ๑. “ในเมื่อรู้จิตตนเองว่า ยังอ่อนเรื่องการนึกถึงความตายอยู่ก็ต้องเร่งรัดตนเอง เช่น คิดถึงเรื่องในพระสูตร คือ ท่านปฏาจาราเถรีที่พิจารณาว่า ความตายมีได้ทั้งปฐมวัย-มัชฌิมวัยและปัจฉิมวัย แล้วหวนนึกถึงคำสั่งสอนขององค์สมเด็จปัจจุบัน ตรงที่ทรงตรัสว่าเมื่อความตายเข้ามาถึงเรา คนที่เรารักมีบิดา-มารดา สามี-บุตร-ธิดา เป็นต้น ก็ไม่สามารถจักช่วยเราได้ มีแต่จิตของเราเอง จักต้องไปตามกฎของกรรมแต่เพียงผู้เดียว แม้ในขณะเดียวกันคนที่เรารัก มีบิดา-มารดา-สามี-บุตร-ธิดา จักตาย เราก็ช่วยเขาไม่ได้เช่นกัน เขาก็จักต้องไปตามกรรมของเขา” ๒. “ถ้าพวกเจ้าเอามาพิจารณา ว่าหากจิตของตนเองกำหนดรู้อยู่ถึงความตาย พฤติการณ์ของบุคคลใดเล่า จักมีประโยชน์แก่จิตของเราที่พึงจักไปสนใจ มีแต่กรรมของเราเท่านั้นที่พึงควรจักสนใจ เพราะเมื่อตายไปแล้ว มีแต่เราเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งแห่งตน จุดนี้จักทำให้ไม่ประมาทในชีวิต และวางเรื่องของคนอื่นลงได้อย่างสนิทใจ” ๓. “ให้พยายามถามจิตตนเองบ่อย ๆ ว่าหากตายตอนนี้ ในขณะจิตนี้จักไปไหน กำหนดจิตให้รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพานไว้เสมอ จิตจักมั่นคงอยู่ในอานาปาฯ มรณาฯ และอุปสมานุสติอยู่เสมอ ๆ จัดเป็นการซ้อมตาย และพร้อมที่จักตายอยู่ตลอดเวลาด้วยความไม่ประมาท มีเป้าหมายที่จักต้องไปจุดเดียวคือพระนิพพาน พยายามทำบ่อย ๆ ให้ชิน จิตก็จักเป็นฌานในการกำหนดรู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน เป็นอัตโนมัติได้ในที่สุด ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของจิต เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งแห่งตน หรือจักต้องไปตามกฎของกรรมแต่เพียงผู้เดียว” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-11-2011 เมื่อ 12:02 |
สมาชิก 130 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
๔. “ดังนั้น การพิจารณาศีล-สมาธิ-ปัญญา โดยเอาสังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดอารมณ์ของจิตอยู่เสมอ บวกกับมีบารมี ๑๐ เป็นตัวเสริมการพิจารณา จักเป็นทางเข้าถึงพระนิพพานได้ง่ายขึ้น และอย่าลืมเพียรพิจารณาขันธ์ ๕ ให้มาก ๆ โดยเอนกปริยายแล้ว จักละเอียดในธรรมมากขึ้น เพราะการไปพระนิพพานตามประสงค์ จักต้องตัดหรือละจากขันธ์ ๕ ก็จักต้องพิจารณาขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีทางอื่นไปได้ โดยพิจารณาร่างกายนี้ ให้เห็นชัดตามสภาพของความเป็นจริง ไม่ว่ารูปอันประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ เป็นอาการ ๓๒ เข้ามาประชุมกัน ให้เห็นความไม่เที่ยงอันเป็นที่ตั้งของรูป มีความเสื่อม มีความสลายตัวไปในที่สุด แล้วให้พิจารณาตามอันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ไม่เที่ยง มีเกิดขึ้นแล้ว ก็มีความเสื่อม มีความสลายตัวไปในที่สุดเช่นกัน ให้เห็นสภาพขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง จิตก็จักเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ และละขันธ์ ๕ ได้ในที่สุด”
๕. “อย่าใช้แต่ความจำ คือสัญญา จำแต่ตัวหนังสือนั้นใช้ไม่ได้ การเจริญพระกรรมฐาน ถ้าจักให้ผลดีให้ผลทรงตัว จักต้องใช้จิตน้อมลงไปยอมรับกฎของความเป็นจริงของขันธ์ ๕ นั่นแหละ จึงจักเป็นการถูกต้องของการปฏิบัติ ให้ทบทวนเรื่องอุบัติเหตุ คือ เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันประกอบ จักได้ไม่ประมาทในชีวิต ลืมคิดว่าความตายอาจมีเข้ามาได้เสมอ จึงควรอย่างยิ่งที่จักเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้ถึงขั้นตัดความห่วงอาลัยในชีวิต หมั่นพิจารณาขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา พยายามให้จิตยอมรับความจริงเอาไว้เสมอ เช่น สุขภาพไม่ดีก็ให้พิจารณาลงตรงธาตุ ๔ อาการ ๓๒ นั้นไม่เที่ยง เป็นปกติของมัน เราห้ามมันไม่ได้ แล้วมันก็มีความตายไปในที่สุด ให้หมั่นพิจารณาให้จิตยอมรับ แล้วพยายามเอาจิตจับพระนิพพานให้มาก พิจารณาไป สภาวะอย่างนี้จักไม่มีกับเราอีก ขึ้นชื่อว่าทุกข์อื่นใดจักเท่ากับทุกข์ในขันธ์ ๕ นั้นไม่มี หมั่นทำบ่อย ๆ แล้วจักละขันธ์ ๕ ได้ อย่าปล่อยวางความเพียรทิ้งไปก็แล้วกัน” ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com |
สมาชิก 104 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
กราบขออนุญาตเผยแผ่ในเฟสบุ๊คค่ะ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-08-2012 เมื่อ 12:23 เหตุผล: ช่วยแก้ไขให้ เนื่องจากได้รับการลงโทษไปแล้ว |
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|