#1
|
||||
|
||||
เก็บตกงานหล่อพระ วัดเขาวง ๓๐ เมษายน- ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓
ช่วงคืนวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๓ (พิธีพุทธาภิเษก)
ปัญญาที่เกิดจากปัญญาวิมุติ ก็คือ การหลุดพ้นด้วยการใช้ปัญญาพิจารณา จนเป็นบุคคลที่ทรงฌาน ไม่เหมือนกับบุคคลที่ทรงสมาธิตั้งแต่แรกเริ่ม นั่นเขาเรียกว่า ฌานลาภีบุคคล อันเกิดจากเจโตวิมุตติ คือการหลุดพ้นด้วยการใช้กำลังใจในการตัดกิเลสโดยตรง จริง ๆ แล้วทั้งสองอย่าง ท้ายสุดต้องมาใช้แบบเดียวกัน บุคคลที่ฝึกฌานสมาบัติมา ก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาตัดกิเลสโดยอาศัยกำลังฌาน บุคคลที่ฝึกวิปัสสนามา ก็ต้องอาศัยกำลังฌานในการช่วยตัดกิเลส โดยการพิจารณาจนจิตดิ่งลึกเข้าสู่องค์ฌานได้สำเร็จ ทั้งสองอย่างต้องไปด้วยกัน เลือกเอาอย่างเดียวไม่ได้
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 15-05-2010 เมื่อ 16:08 |
สมาชิก 136 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
อีกส่วนหนึ่งของหลวงปู่มหาอำพัน ก็คือบุญฤทธิ์
เมื่อสภาพจิตที่เข้าถึงความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงแล้ว ตัดสิ่งวุ่นวายรอบข้างหมดแล้ว เหมือนกับท่อน้ำประปาที่ไม่มีท่อแยก วิ่งตรงอยู่ท่อเดียว ย่อมมีกำลังเหลือเฟือ ในเมื่อกำลังระดับนั้น คิดจะให้เป็นอย่างไรก็เป็นแล้ว ถ้ามาฝึกอภิญญาก็คาดว่าไม่เกิน ๗ วัน ทุกอย่างต้องได้ครบถ้วนสมบูรณ์แน่นอน แต่พระระดับนั้นหมดอยากเสียแล้ว อภิญญาจึงเป็นแค่เรื่องเด็กเล่น ใหม่ ๆ ก็มาเล่นทอยกอง เป่ากบ เล่นหมากเก็บ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ไม่มีอารมณ์จะเล่นแล้ว พระอริยเจ้าตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป ตั้งหน้าตั้งแต่มุ่งตัดกิเลส บางท่านอาจจะยังเพลิน ยังสุขอยู่ในองค์ธรรมที่ตนเองทรงไว้ได้ ก็เพลินอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าหลุดจากจุดของความเพลินเมื่อไร ก็จะมุ่งหน้าตัดกิเลสตอนนั้น ไม่มานั่งเล่นให้เสียเวลาแล้ว อภิ แปลว่ายิ่งกว่า บวกกับอัญญา คือความรู้ กลายเป็นอภิญญา ความรู้ที่ยิ่งกว่าสิ่งใด ไม่มีอะไรรู้ยิ่งไปกว่าการตัดกิเลส ดังนั้น..ถ้าจะกล่าวไปแล้ว บุคคลที่ตัดกิเลสได้ตั้งแต่ระดับโสดาบันขึ้นไป คืออภิญญาบุคคลทั้งหมด
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-05-2010 เมื่อ 02:27 |
สมาชิก 146 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
ท่านอาจารย์หยุดฟังเสียงท่านเอ๊ดประชาสัมพันธ์ จนจบแล้วจึงกล่าวว่า "พระมีศีลอยู่ข้อหนึ่งว่า ห้ามแสดงธรรมพร้อมกัน ภิกษุแสดงธรรมพร้อมกันปรับอาบัติปาจิตตีย์ ศีลขาดฟรี ๆ
คำว่าแสดงธรรมพร้อมกัน จริง ๆ แล้วก็คือแข่งกันพูด จนโยมไม่รู้จะฟังใครกัน เพราะฉะนั้นในเรื่องของศีล ถ้าหากว่าญาติโยมทั้งหลายยังปฏิบัติไปถึงระดับที่ว่า ขยับตัวเมื่อไรรู้ว่าศีลจะขาดหรือไม่ ถ้ายังทำไม่ถึงระดับนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ แต่ถ้าทำมาถึงระดับว่า ขยับตัวเมื่อไรรู้ว่าศีลเราจะขาดหรือไม่ ก็พอจะอาศัยได้ แต่ยังไม่แน่ว่าจะรอด อย่าลืมว่าศีลเป็นบทเริ่มต้นของการปฏิบัติ ในสิกขา ๓ สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเพื่อไม่ให้เราหลงทาง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ สรุปลงเหลือ ศีลสิกขา การศึกษาและปฏิบัติในเรื่องศีล จิตตสิกขา การศึกษาและปฏิบัติในสมาธิ และปัญญาสิกขา การศึกษาและปฏิบัติตามหลักปัญญาพิจารณา เพราะฉะนั้น..นี่เป็นการบ้านใหญ่ที่ฝากพวกเราไว้ ทำอย่างไรที่เราจะมีสติระลึกรู้อยู่ ไม่ว่าจะยืน เดิน นอน นั่ง ดื่ม กิน คิด พูด ทำ ที่เรียกว่า นวจริยา หมายเหตุ : นวจริยา คือ อิริยาบถ ๙ อย่าง ได้แก่ ยืน เดิน นอน นั่ง ดื่ม กิน คิด พูด ทำ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 11-01-2011 เมื่อ 12:47 |
สมาชิก 116 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
ถ้าหากว่าในนวจริยาของเรา ทำแล้วมีสติรู้ไม่รอบ แปลว่ายังมีช่องให้กิเลสกินเราอีกเยอะ
แม้กระทั่งหลวงพ่อฤๅษีของพวกเรา ท่านหัดวิ่งจงกรม อย่าคิดว่าวิ่งแล้วภาวนาไม่ได้นะ อาตมาทำมาแล้ว ซ้ายพุท-ขวาโธ ลงตัวพอดีเลย วิ่งแปดกิโล-สิบกิโล ไม่รู้สึกว่าเหนื่อยเลย เพราะว่าทรงสมาธิไว้ ดังนั้น..ในอิริยาบถไหนก็ตาม จำเป็นต้องมีสติสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะพระพุทธเจ้า เรียกว่า ธรรมมีอุปการะมาก คือเป็นหลักธรรมที่หนุนเสริมหลักธรรมทุกบทเลย ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะหนุนเสริมอยู่ ไปไม่รอด โดยเฉพาะยิ่ง ถ้าต้องการก้าวเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า สติสัมปชัญญะยิ่งต้องละเอียดกว่าผู้อื่นหลายเท่า ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะรู้ไม่เท่าทันกิเลส ในเมื่อรู้ไม่ทันก็รับมือไม่ได้
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-05-2010 เมื่อ 19:53 |
สมาชิก 113 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
พวกเราศึกษาหลักธรรม อย่าไปจับยอดโดยลืมโคน
ใครอ่านหนังสือของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีวัดท่าซุงเมื่อไร หรือฟังเทป ฟังซีดีเมื่อไร จะต้องจับประโยคสำคัญ ๆ ให้ได้ อย่างที่ท่านบอกว่า เมื่อจะปฏิบัติกรรมฐานกองใหม่ ให้ย้อนทวนของเก่าให้คล่องตัวก่อนทุกครั้ง ถามจริง ๆ เถอะใครย้อนบ้าง ? พออารมณ์ลงปึ้กเดียวก็ขึ้นไปกราบพระข้างบนกันหมดแล้ว เก่งเกิน..! นั่น..ดูบายศรีนั่น เห็นยอดบายศรีไหม ? สวยเด่นสง่า ถ้าไม่มีฐานนี่ยอดอยู่ได้ไหม ? เพราะฉะนั้นในเรื่องหลักการปฏิบัติ หลักพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นศีล เป็นสมาธิอะไรก็ตาม ทิ้งไม่ได้เด็ดขาด ดังนั้นหลักสติสัมปชัญญะจึงเป็นธรรมะบทแรก ๆ ที่พระพุทธเจ้ามอบให้พวกเรา แต่ว่าพวกเราไม่ค่อยได้ใช้กัน สติไปอยู่ที่ไหนไม่รู้เลย พาสตางค์หมดไปด้วย..! ท่านบอกไม่มีสติก็ไม่มีสตางค์ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า พระปฏิบัติพอสติมากขึ้นแล้วสตางค์มาเอง มีแต่โยมถวาย อันนี้ต้องเชื่อนะ ไม่เชื่อไม่ได้ เมื่อครู่อาตมาเดินผ่านได้เงินมากระสอบหนึ่ง เขาเรียกว่าอวดตัวเอง เชื่อได้ไหมเล่า ?
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-05-2010 เมื่อ 19:54 |
สมาชิก 117 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
||||
|
||||
ฉะนั้น..หลักธรรมทุกบท เราจำเป็นที่จะต้องค่อย ๆ ศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติ แต่จริง ๆ แล้ว ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ พระองค์ท่านสรุปรวมไว้ในวันที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ไปดูในมหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย พระสุตตันตปิฎก อย่าถามว่าเล่มไหน หน้าไหน บรรทัดไหนนะ เดี๋ยวบอกจริง ๆ แต่บอกแล้วถ้าไม่ไปเปิดดูจะตีให้ตายเลย..!
พระองค์ท่านสรุปเอาไว้ว่า อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ถ้าประโยคยาว ๆ ก็คือ ขอเธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด ตัวเองประมาทไม่ได้ คนอื่นก็ประมาทไม่ได้ มีหน้าที่ก็คือ ต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-05-2010 เมื่อ 15:17 |
สมาชิก 93 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
||||
|
||||
เดี๋ยวเราจะได้ดูภาพพี่น้องนั่งหลังชนกัน เวลาหันหลังพิงกันส่วนมากก็ตอนตะลุมบอนกับข้าศึก แต่นี่ถึงเวลาจุดเทียนชนวน ยังให้พี่น้องหันหลังชนกัน ประเภทนี้โบราณเรียกว่า ไปตายเอาดาบหน้า
คำว่า ตายเอาดาบหน้า เกิดจากสภาพศึกสงครามสมัยก่อน ตายเอาดาบหน้า ก็คือสู้สุดชีวิต ตรงนี้กูยังไม่ยอมตาย ไปข้างหน้าแล้วไม่รอดค่อยว่ากัน นั่นคือไปตายเอาดาบหน้า ดาบนี้อย่างไรกูต้องไปให้ได้ ฉะนั้น..ในการปฏิบัติธรรม ถ้าเราปฏิบัติตามหลักไปตายเอาดาบหน้า ก็แปลว่า ที่เราปฏิญานตนไว้ อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจัจชามิ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราปฏิญานจริง ๆ แต่ถ้ายังไม่ทำถึงระดับไปตายเอาดาบหน้า ก็แปลว่ายังปฏิญานตนไม่จริง ถ้าปฏิญานตนไม่จริง สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ สัจจะบารมียังพร่องอยู่ บารมีทั้งสิบข้อ ข้อใดข้อหนึ่งพร่องอยู่ แปลว่าอีกเก้าข้อก็พร่องไปด้วย
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-05-2010 เมื่อ 15:19 |
สมาชิก 98 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
||||
|
||||
ฉะนั้น..คำโบราณทุกคำมีที่มา ความหมายปัจจุบันนี้มักจะผิดไปเยอะ ลองไปถามเด็กรุ่นใหม่ สำนวนที่ว่า เอามือไปซุกหีบเป็นอย่างไร ? เด็กส่วนใหญ่นึกถึงภาพ เปิดฝาหีบแล้วเอามือแหย่เข้าไป เหมือนกับงอมืองอเท้าไม่ยอมทำอะไร ความหมายจึงเปลี่ยนไป
แต่ความจริง เอามือไปซุกหีบของคนโบราณ แปลว่า อย่าหาเรื่องเดือดร้อนโดยใช่เหตุ ใครเคยเห็นเขาคั้นน้ำอ้อยไหม ? เครื่องคั้นน้ำอ้อยเขาเรียกว่าหีบ ลองเอามือแหย่เข้าไปแทนอ้อยดูสิ เดือดร้อนแน่ ๆ คำว่า หีบ ของคนโบราณก็คือ หนีบ บด อัด ไม่ใช่หีบห่อใส่ของ เพราะฉะนั้นคำว่า อย่าเอามือไปซุกหีบ ก็คืออย่าหาเรื่องเดือดร้อนโดยไม่จำเป็น จะบอกว่าจริง ๆ แล้วอาตมาเองถ้าจับไมค์ขึ้นมา แล้วมีคนคอยสะกิดอยู่ข้าง ๆ สามารถพูดได้ทั้งคืน คำว่าสะกิด ก็คือ ให้ถามสักนิดหนึ่ง เพราะมีข้อมูลที่บันทึกอยู่ในศีรษะตัวเองอยู่หนึ่งห้องสมุด ตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้น ป. ๒ ตอนอยู่ชั้น ป.๒ อาตมาอ่านหนังสือหมดไปหนึ่งห้องสมุด ตอนนั้นไม่ได้คิดจะจำ อ่านเอาความแตกฉานเท่านั้น สมัยนั้นท่านบอกว่าอ่านหนังสือให้แตก แต่คราวนี้ไม่รู้สมองทำด้วยอะไร ดันจำได้หมด อาตมาปีนี้อายุ ๕๑ เต็มขึ้น ๕๒ แล้ว อีกไม่กี่วันจะไปรับปริญญา เพราะเขาบังคับให้เรียนตอนแก่ ๆ ปริญญาตรีของพระเขาบังคับให้เรียน ๔ ปี บวกปฏิบัติธรรมอีก ๑ ปี แต่อาตมากวาดเรียบภายใน ๒ ปี ๑๑ เดือน ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งของทุกสาขา แปลว่าไม่มีใครได้เยอะกว่านี้อีกแล้ว นี่เป็นแค่ส่วนเดียวเท่านั้นของสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเรา คือ สมาธิ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-05-2010 เมื่อ 15:20 |
สมาชิก 102 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
||||
|
||||
ถ้าสมาธิของเราทรงตัว สภาพจิตจะนิ่งเหมือนกับน้ำนิ่ง น้ำที่นิ่งจะสะท้อนเงาทุกอย่างรอบข้างลงไปได้ เห็นทุกอย่างชัดเจน สิ่งที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะเห็นชัดเจนมาก สิ่งใดที่ทำให้ธรรมะเจริญเราก็ประคองรักษาสิ่งนั้นไว้ สิ่งใดที่จะทำให้อธรรมเจริญเราก็ขับไล่ออกไป
พระพุทธเจ้าท่านสอนเราเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน คือ ถ้าจิตใจเราสงบนิ่ง จะมีความสุข มีความเยือกเย็นมาก ประโยชน์ในอนาคต คือ ถ้ากำลังใจของเราทรงตัว ไปสุคติ ไปเป็นเทวดาเป็นพรหมแน่นอน ประโยชน์สูงสุด ถ้าปัญญาถึง เห็นความไร้แก่นสารของร่างกายนี้และโลกนี้ ตลอดจนกระทั่งโลกความเป็นทิพย์ทั้งปวง ถอนความต้องการออกไปได้ ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด คือ หลุดพ้นไปนิพพาน
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 88 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
||||
|
||||
พระพุทธเจ้าสอนเราโดย ๓ สถานะนี้เท่านั้น คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในอนาคต และประโยชน์สูงสุด ถ้าจะเอาบาลีก็ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ที่เราเรียกประโยชน์ในชาติปัจจุบัน ว่าไปแล้วแปลผิด ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ แปลว่าประโยชน์ที่เห็นทันตา ทิฏฐะหรือทิฏฐิ คือ ความเห็น แต่เขาแปลเอาง่าย ๆ ว่าประโยชน์ในปัจจุบัน
สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในโลกหน้า เขาไปแปลว่าประโยชน์ในอนาคต และปรมัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์สูงสุด อันนี้แปลตรง แต่ความหมายยังไม่ถึง จึงต้องมาแปลว่า หลุดพ้นไปนิพพาน เราจะเห็นได้ว่าการเรียนปริยัติอย่างที่อาตมาเรียน ต่อให้ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งก็ตาม ก็ยังยัดไม่เต็มอย่างที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านบอกไว้ เพราะว่าสักแต่ยัด ๆ เข้าไปเต็มท้องโดยที่ไม่ได้ย่อยเลย เอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-05-2010 เมื่อ 11:49 |
สมาชิก 88 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
||||
|
||||
ในช่วงพิธีพุทธาภิเษก พระสงฆ์ได้นำสวดอิติปิโส ๒๑ จบ ตามกำลังวัน(วันศุกร์) เมื่อสวดจบแล้ว พระอาจารย์ได้ขอโอกาสคณะสงฆ์ เพื่อบอกกล่าวกับญาติโยม ดังนี้
ความจริงในส่วนของพุทธานุภาพ ที่แผ่ปกคลุมมายังวัตถุมงคล เต็มครบถ้วนสมบูรณ์บริบูรณ์ ตั้งแต่ตอนที่เราสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยจบที่เจ็ดแล้ว แต่องค์พระปัจเจกพุทธเจ้าต้องการให้พวกเราทุกคน เข้าใจถึงวิธีในการเจริญภาวนาคาถาเงินล้าน เพื่อให้เกิดผลสูงสุด ที่จะพึงมีพึงได้ตามวาสนาบารมีของแต่ละคน ดังนั้นขอให้ทุกท่านตั้งกายให้ตรง แต่ไม่ใช่เกร็ง เวลาหายใจเข้า นึกถึงคาถาเงินล้านที่เราภาวนา ไหลตามลมหายใจเข้าไป จนสุดลมหายใจของเรา ให้อยู่ตรงนั้น นั่นคือศูนย์กลางกาย ให้ทุกคนขยับโยกหน้าโยกหลัง หาความตรงพอดี ๆ ให้เป็นศูนย์กลางของเรา เสร็จแล้วคำภาวนาทั้งหมดของเรา ให้กำหนดจดจ่อลงตรงนั้น โดยใช้สมาธิเพียงเบา ๆ ท่านที่ทรงสมาธิในระดับใช้งานได้จะเข้าใจตรงจุดนี้เลย แต่ถ้าหากว่าท่านที่ยังไม่เข้าใจ ให้รู้สึกเหมือนลมหายใจแตะแผ่ว ๆ อยู่ตรงศูนย์กลางกาย แล้วภาวนาคาถาเงินล้านของเราไปเรื่อย ๆ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-05-2010 เมื่อ 11:56 |
สมาชิก 101 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#12
|
||||
|
||||
องค์พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า ถ้าใครสามารถทำอย่างนี้ได้ต่อเนื่องกัน วันละประมาณ ๑ ชั่วโมง จะมีความคล่องตัวมาก จะทำงานใหญ่ขนาดไหน เงินทองก็จะไม่ขาดมือ ยิ่งถ้าเป็นบุคคลที่เริ่มด้วยทานบารมีมาตั้งแต่อดีต ทรัพย์สินเงินทองจะไหลมาเทมามากเป็นพิเศษ
ดังนั้น..ให้ทุกคนขยับหาจุดกึ่งกลางของเราที่พอดี โดยไม่ต้องเกร็งตัวเอง กำหนดความรู้สึกทั้งหมด พร้อมลมหายใจและคาถาเงินล้านของเรา ให้ลงไปที่กึ่งกลาง ให้ออกมาจากกึ่งกลาง โดยให้สัมผัสเพียงเบา ๆ เท่านั้น ให้รักษาอารมณ์ใจอย่างนี้ไว้จนกว่าจะได้ยินเสียงสัญญาณบอกหมดเวลา
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 12-05-2010 เมื่อ 12:15 |
สมาชิก 108 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|