กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 26-01-2014, 18:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,541 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๗

ให้ทุกคนขยับนั่งในท่าที่ถนัดของตน เพียงแต่ว่าตั้งกายให้ตรงไว้ เพื่อที่เลือดลมจะได้เดินสะดวก สมาธิจะทรงตัวได้ง่าย หายใจเข้าออกยาว ๆ สัก ๒ - ๓ ครั้ง เพื่อระบายลมหยาบออกให้หมดเสียก่อน หลังจากนั้นค่อยปล่อยลมหายใจให้เป็นไปตามปกติ เอาความรู้สึกทั้งหมดของเราจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา ให้ใช้คำภาวนาที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นการปฏิบัติกรรมฐานวันสุดท้ายในเดือนมกราคมของพวกเรา ดังที่เมื่อครู่ได้กล่าวไปแล้วว่า ในเรื่องของสมาธินั้น สามารถระงับกายสังขาร ทำให้อาการเจ็บไข้ได้ป่วยที่เป็นอยู่เหมือนกับไม่ได้เป็น เนื่องจากว่าเมื่อสมาธิทรงตัว จิตกับประสาทจะแยกเป็นคนละส่วนกัน ไม่รับรู้อาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนั้น อาการป่วยหนักก็เหมือนกับเป็นเบา อาการป่วยถ้าเบาก็เหมือนกับไม่ได้เป็นอะไร

จึงเป็นเรื่องที่พวกเราทั้งหลายควรจะซักซ้อมให้คล่องตัวไว้ เผื่อว่าถึงเวลาทุกขเวทนากำเริบกล้าขึ้นมา ถ้ากำเริบหนักถึงขนาดสามารถบีบคั้นสังขารร่างกายให้แตกดับได้ ถ้าเราไม่มีความคล่องตัวในเรื่องของสมาธิ เราอาจจะพลาดจากความดี เพราะจิตใจจะไปกังวลกับอาการทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น

การฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญนั้น เราต้องฝึกซ้อมทั้งการเข้าสมาธิ การออกจากสมาธิ การเข้าสมาธิตามลำดับฌาน การเข้าสมาธิสลับไปมาระหว่างฌาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ชนิดที่แค่เสี้ยววินาทีก็ต้องเข้าสมาธิให้ได้ ถ้าทำจนคล่องตัวขนาดนั้นแล้ว สภาพจิตของเราจึงพอที่จะรับมือกับกิเลสได้ ไม่อย่างนั้นแล้วเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส เราก็มักจะเกิดความยินดียินร้ายขึ้นเสียก่อน

เมื่อเกิดความยินดีขึ้น ไฟราคะก็ครอบงำจิตใจของเรา ถ้าเกิดความยินร้ายขึ้น ไฟโทสะก็ครอบงำจิตใจของเรา ก็แปลว่าเราขาดทุนทั้งขึ้นทั้งล่อง จึงต้องซักซ้อมสมาธิให้คล่องตัว เมื่อถึงเวลาเกิดผัสสะ (การกระทบ) ขึ้น สมาธิจิตจะได้ป้องกันตนเองได้ทัน เหมือนกับคนที่ใส่เกราะอยู่ ย่อมเป็นอันตรายจากอาวุธได้น้อยกว่า ส่วนบุคคลที่ไม่ได้ใส่เกราะ ถ้าออกรบก็ย่อมเกิดอันตรายจากอาวุธได้มาก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-01-2014 เมื่อ 18:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 31-01-2014, 11:47
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,541 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เรื่องของสมาธิจริง ๆ เป็นคำตอบเกือบทั้งหมดของการปฏิบัติธรรม ยกเว้นในส่วนของปัญญาที่เป็นช่วงท้าย ถึงจะตัดละเข้าหามรรคหาผล แต่ก็ต้องอาศัยพื้นฐานของสมาธิเป็นกำลังในการตัดกิเลสอยู่ดี พวกเราจึงจำเป็นที่จะต้องทบทวนตนเองว่า เราสามารถเข้าสมาธิได้ทุกเวลาที่ต้องการหรือไม่ ? เมื่อเวลาที่เราหิวมาก ๆ เหนื่อยมาก ๆ เจ็บไข้ได้ป่วย เราสามารถทรงสมาธิได้เหมือนเวลาปกติหรือไม่ ?

ถ้าเราไม่สามารถทำได้ ก็ต้องเร่งซักซ้อมให้มากไว้ เพื่อที่ถึงเวลาแล้ว จะได้อาศัยกำลังของสมาธิในการช่วยตนเอง รักษาตนเอง ป้องกันไม่ให้รัก โลภ โกรธ หลง เกาะกินใจของเราได้ การที่เราจะรักษาสมาธิของเราให้ทรงตัวได้ จิตใจของเราต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจเข้าออก สภาพจิตของเราต้องแนบชิดอยู่กับลมหายใจเข้าลมหายใจออก อยู่กับการภาวนาเป็นปกติ ยกเว้นท่านที่มีความคล่องตัวแล้ว จะส่งจิตไปกราบพระบนพระนิพพาน หรือว่าจะเอาจิตของเราเกาะพระหรือเกาะพระนิพพานไว้ก็ได้ ให้ซักซ้อมเอาไว้ทุกวัน ๆ จนสามารถที่จะเข้าสมาธิเมื่อไรก็ได้ตามที่ต้องการ

ถ้าทำดังนั้นได้ เราจึงจะมีกำลังเพียงพอ ที่จะระมัดระวังป้องกันไม่ให้กิเลสกินใจของเราได้ ลำดับต่อไปขอให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันอาทิตย์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๗

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยรัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-01-2014 เมื่อ 16:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 05-04-2014, 15:18
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 261
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,689 ครั้ง ใน 1,293 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

สามารถรับชมได้ที่

http://www.sapanboon.com/vdo/demo.ph...ame=2557-01-05

ป.ล.
- สามารถชมบนไอโฟนและแอนดรอยด์ได้
- ห้ามคัดลอกไฟล์ไปเผยแพร่ที่อื่นเด็ดขาด !
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:52



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว