ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 20-12-2009, 08:01
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 259
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,227 ครั้ง ใน 1,280 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

คำว่า "หนาน" หมายถึงผู้ที่สึกจากพระภิกษุ เหมือนกับภาษาภาคอีสานและภาษาภาคกลางว่า "ทิด" ส่วนผู้ที่สึกจากการบวชเป็นสามเณร ทางภาคเหนือเรียกว่า "น้อย" ทางภาคอีสานเรียกว่า "เซียงน้อย"

บิดาของหนูน้อยกองแก้ว มีผู้เรียกว่า "พ่อหนาน” หรือ "หนานพรหมเสน" ก็เพราะเคยบวชเรียนมาก่อนแล้วนั่นเอง ความรอบรู้ในข้ออรรถข้อธรรมในสมัยที่เป็นพระภิกษุ จึงถูกนำมาใช้อบรมสั่งสอนกุลบุตรทุกคน ในจำนวนพี่น้องทั้ง ๗ คนของหนูน้อยกองแก้ว ให้เคารพเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย

เรียนจบชั้นประถมปีที่ ๓ อายุ ๑๕ ปี หนูน้อยกองแก้วได้เข้าอบรมเป็นศิษย์วัดสันป่าสักอยู่ ๓ เดือน หัดท่องเรียนเขียนอ่านอักขระพื้นเมืองทางเหนือ เรียนสวดมนต์ รู้สิกขาของสามเณร จากนั้นจึงบวชเป็นสามเณรที่วัด"แม่สารบ้านตอง" มีเจ้าอธิการคำมูล ธมฺมวํโส เป็นพระอุปัชฌาย์

เป็นสามเณรได้หนึ่งพรรษา สามเณรกองแก้วใส่ใจในการปฏิบัติจิตเจริญกรรมฐานเป็นพิเศษ มีจุดประสงค์แน่วแน่อยู่เสมอมา เกี่ยวกับการเดินธุดงค์เข้าสู่ป่าเขาลำเนาไพร เฉกเช่นพระสงฆ์องค์ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่บวชเรียนแล้วนิยมจาริกธุดงค์เข้าสู่ไพรลึกเถื่อนถ้ำดงกันดาร บำเพ็ญตบะธรรมมุ่งหวังให้จิตบรรลุลึงธรรมวิเศษ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 02-01-2010 เมื่อ 21:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 161 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา