ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 21-08-2009, 12:13
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,675 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Smile

เราจึงทำได้เพียงแค่วาดภาพและรำลึกถึงพระองค์อยู่ภายในจิตใจ ซึ่งพระองค์คงทรงทราบความนี้
จึงได้มีพระดำรัสกับพระอานนท์ ในกาลก่อนจะทรงพระปรินิพพาน
ดังปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๑๐ หน้า ๑๒๒ มีความว่า

“ อานนท์!

ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้ว

บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย

จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย

โดยกาลล่วงไปแห่งเรา”

จากพระพุทธพจน์นี้บอกเราให้ทราบว่า

เมื่อเรานำพระไตรปิฎกมาวางตรงหน้า แล้วนั่งลงสาธยายพระไตรปิฎกนั้น

ก็เสมือนหนึ่งว่าเรากำลังอยู่หน้าเบื้องพระพักตร์ของพระศาสดา


จิตใจเดิมอันร้อนรุ่ม วุ่นวาย ฟุ้งซ่าน ไม่มีที่ยึดเกาะเหมือนคนหลงทางได้สิ้นสุดลง

บัดนี้จิตใจของเราได้มีที่พึ่งแล้ว ไม่ต้องซัดเซพเนจรอีกต่อไป

พระศาสดาประทับอยู่เบื้องหน้า จะมีความปีติสุขใจอื่นใดมากไปกว่านี้อีกเล่า


แม้พระศาสดาก็เคยตรัสในเรื่องการสาธยายพระธรรมว่า

"เมื่อสาธยายอยู่ ปีติและความสุขในธรรมย่อมเกิดขึ้น

เมื่อทำกรรมฐานไว้ในใจอยู่ ความสุขอันสงบย่อมเกิดขึ้น"


(อรรถกถา ฉบับธรรมทานพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๔๑)

นอกจากนั้นพระพุทธองค์ยังได้ตรัสอีกว่า

"เมื่อภิกษุนั้นสาธยายอยู่ คิดอยู่ บอกอยู่ ประกาศอยู่ซึ่งพระไตรปิฎก
คือ พุทธพจน์ ด้วยสามารถแห่งอรรถ แห่งบาลี แห่งอนุสนธิ แห่งบทต้นและบทปลายอยู่
เมื่อนั้น กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ได้โอกาส"


(อรรถกถา ฉบับธรรมทานพระอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์ เล่มที่ ๗๘ หน้าที่ ๑๘๗)


และเมื่อเราได้เข้าเฝ้าผู้มีศักดิ์ใหญ่ สิ่งที่พึงกระทำคือ ต้องมีสติ มีความรู้สึกตัวในทุก ๆ การกระทำ
การมีสตินี้เองเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ เพราะเมื่อมีสติก็จะไม่ประมาท
และการไม่ประมาทคือธรรมข้อสุดท้าย ที่พระพุทธองค์ทรงประทานเป็นปัจฉิมโอวาท
ดังปรากฏในพระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑๒๔ ดังความว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"



การสาธยายพระไตรปิฎก จึงเป็นเหมือนการฝึกสติ
เมื่อเข้าร่วมสาธยายและสาธยายด้วยความตั้งใจ ก็จะเป็นการได้ฝึกสติจนเกิดความชำนาญ
ทำให้เป็นผู้มีสติดี ไม่หลงลืม ขาดสติ เลอะเลือน จนเกิดโทษกับตนเองและผู้อื่นในที่สุด
เพราะสติที่แข็งแรงจะเป็นรากฐานของสมาธิ และสมาธิที่แข็งแกร่งจะช่วยเสริมสร้างปัญญา
ที่จะพาเราให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่คับขันได้


__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 29-08-2009 เมื่อ 16:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 72 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา